Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2565

สโตนเฮนจ์ คือ ปฏิทินสุริยคติขนาดยักษ์

 สโตนเฮนจ์ คือ ปฏิทินสุริยคติขนาดยักษ์ 












สโตนเฮนจ์ คือ ปฏิทินสุริยคติขนาดยักษ์ และตอนนี้นักวิทยาศาสตร์รู้แล้วว่ามันทำงานอย่างไร


นักโบราณคดีเชื่อกันมานานแล้วว่า สโตนเฮนจ์ อนุสรณ์สถานหินยุคก่อนประวัติศาสตร์ขนาดใหญที่อยู่ในประเทศอังกฤษ เป็นปฏิทินสุริยคติโบราณมาอย่างยาวนาน เนื่องจากมันสอดคล้องกับวันครีษมายัน (วันที่มีช่วงกลางวันยาวนานที่สุด) ทั้งในฤดูร้อนและฤดูหนาว


แต่ไม่มีใครทราบว่าทำงานอย่างไร จนในที่สุด ทิโมธี ดาร์วิลล์ (Timothy Darvill) ศาสตราจารย์ด้านโบราณคดีที่มหาวิทยาลัย Bournemouth ในสหราชอาณาจักรเชื่อว่าพบวิธีการดังกล่าวแล้ว


"นักวิชาการได้เห็นมานานแล้วในองค์ประกอบอันน่าเกรงขามของสโตนเฮนจ์สำหรับการคำนวณเวลาก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นปฏิทินยุคหินใหม่ อย่างไรก็ตาม ปฏิทินดังกล่าวทำงานอย่างไรยังคงไม่ชัดเจน" ศ. ดาร์วิลล์กล่าว


เขาเชื่อว่าคำตอบคือการเพิ่มตัวเลขเข้าไปในสโตนเฮนจ์ “30, 5 และ 4 เป็นตัวเลขที่น่าสนใจในแง่ของปฏิทิน” ดาร์วิลล์กล่าว “เสา 30 ตัวที่อยู่รอบวงแหวนซาร์เซนหลักที่สโตนเฮนจ์เข้ากันได้ดีกับวันต่างๆ ของเดือน” เขาอธิบายและเสริมว่า “คูณมันด้วย 12 แล้วคุณจะได้ 360 เพิ่มอีก 5 จากไตรลิธตอนกลาง คุณจะได้ 365”


ซาร์เซน (Sarsen) คือหินรอบนอกที่นอนอยู่บนหินสองก้อนที่ค้ำอยู่ มีที่หมด 30 ก้อนวางเรียงเป็นวงกลม ในขณะที่ไตรลิธตอน (Trilithons) คือก้อนหิน 10 ก้อนที่วางคู่กันกลายเป็น 5 คู่ในวงกลมด้านใน


นอกจากนี้ยังมีหินอีก 4 ก้อนด้านนอกที่วางเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ครอบวงกลมสโตนเฮนจ์ไว้ที่เรียกว่า สถานีหิน (Station Stone) เพื่อรองรับการเพิ่มวันอธิกสุรทิน (ปีที่มีการเพิ่มอีกหนึ่งวัน)


“เป็นปฏิทินถาวรที่ปรับเทียบใหม่ทุกคราวที่ดวงอาทิตย์ตกในฤดูหนาว” เขากล่าว สิ่งนี้ทำให้คนโบราณที่อาศัยอยู่ใกล้กับสโตนเฮนจ์ในเมืองวิลต์เชียร์ ประเทศอังกฤษ สามารถติดตามวัน เดือน และฤดูกาลของปีได้


ปฏิทินสุริยคติได้รับการพัฒนาขึ้นในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกราว 3000 ปีก่อนคริสตกาล และถูกนำมาใช้ในอียิปต์เป็นปฏิทินพลเรือนเมื่อประมาณ 2700 ปีก่อนคริสตกาล จากนั้นก็ใช้กันอย่างแพร่หลายประมาณ 2600 ปีก่อนคริสตกาล


ดาร์วิลล์ไม่แน่ใจว่าปฏิทินสุริยคตินี้พัฒนาขึ้นอย่างไรและทำไม บางทีปฏิทินสุริยคติอาจเดินทางมายังสหราชอาณาจักรผ่านเส้นทางการค้าทางไกล นอกจากนี้ ยังเป็นไปได้ว่าผู้คนในสหราชอาณาจักรพัฒนาปฏิทินสุริยคติขึ้นมาเองโดยปราศจากความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาที่คล้ายคลึงกันในตะวันออกกลาง


สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล

CR  ::   National Geographic Thailand 



รับปรึกษา จัดทำเอกสารเพื่อการสมัครเป็น British Citizenship 
การขอสัญชาติอังกฤษ การขอPassport  การต่อPassport การทำ CV


สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  🙏🙏🙏 

โทร  ::      07568327223
Line ID  ::   pla-prapasara
 





http://line.me/ti/p/~pla-prapasara

 




#BritishCitizenship  #การขอสัญชาติอังกฤษ  #การขอPassport   #การต่อPassport  #การทำCV

สโตนเฮนจ์ อนุสรสถานลึกลับ (Stonehenge)

 

สโตนเฮนจ์ อนุสรสถานลึกลับ (Stonehenge)












สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) มีลักษณะเป็นกลุ่มหินขนาดใหญ่ยักษ์ลึกลับอันน่าประหลาดใจ หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลาง และมรดกโลก(UNESCO)ที่ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถไขคำตอบเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการสร้าง วิธีการการสร้างหรือแม้แต่อายุและความเก่าแก่ของสิ่งนี้ได้อย่างแน่นอน บ้างก็ว่า 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช  บ้างก็ว่าเก่าแก่ถึง 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช


สำหรับการเยี่ยมชมนั้น นักท่องเที่ยวโดยทั่วไปมักจะเลือกการนั่งรถไฟไปลงที่สถานีรถไฟของเมือง Salisbury ที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 13 กิโลเมตร จากนั้นก็นั่งรถบัสไปที่ลงที่ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวซึ่งอยู่ห่างจาก สโตนเฮนจ์(Stonehenge) จริงออกไปอีกประมาณ 2.5 กิโลเมตร โดยจะมีรถชัตเทิลบัสคอยให้บริการรับส่งอยู่ หรือจะเลือกเดินเอาก็ได้ เพราะระหว่างทางก็จะมีวิวทุ่งหญ้ากว้างไกล กับทิวทัศน์ชนบทอังกฤษสวยๆให้ชม ส่วนที่บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยวก็ยังมีพิพิธภัณท์ที่เกี่ยว Stonehenge ไว้ให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษากันก่อนไปชมของจริงกันด้วย


Stonehenge  เป็นอนุสรณ์สถานที่เกิดขึ้นในยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณทางตอนใต้ของเกาะอังกฤษตรงกลางทุ่งของที่ราบอันกว้างใหญ่ Salisbury Plain ในเขตเมือง Amesbury เป็นอนุสรณ์สถานยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก  ถูกสร้างขึ้นในหลายขั้นตอน  อนุสาวรีย์แรกในอนุสรณ์สถานคือ henge ที่เริ่มต้นสร้างเมื่อประมาณ 5,000 ปีที่ผ่านมาและวงกลมหินที่ไม่ซ้ำกันที่เชื่อกันว่าถูกสร้างขึ้นในช่วงยุค Neilithic ประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช  ในช่วงแห่งยุคสำริดหลายแห่งถูกฝังอยู่ใกล้ๆ ด้วยความน่าประหลาดใจในหลายๆ เรื่องนี้เองที่เป็นหัวใจสำคัญทำให้ Stonehenge และพื้นที่โดยรอบได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางในปี ค.ศ. 1986


อนุสรณ์สถานนั้นประกอบไปด้วยแท่งหินขนาดยักษ์มากมายถึง 112 ก้อนที่ตั้งเรียงรายกันอยู่มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลมซ้อนกันสามวง  แท่งหินบางอันวางนอนในระนาบเดียวกับพื้น แท่งหินบางอันก็ตั้งขึ้น  แถมบางอันก็ยังถูกวางซ้อนอยู่ตำแหน่งด้านบนอีกด้วย  มีโครงสร้างที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักกันในบริเวณใกล้ๆ คือสี่หรือห้าหลุมทั้งสามแห่งที่ดูเหมือนจะมีไม้สนขนาดใหญ่ของแท่งเทียมที่คาดการว่าน่าจะถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ยุคหินระหว่าง 8,500 และ 7,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช  แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเสาเหล่านี้นั้นเกี่ยวข้องกับอนุสรณ์สถาน Stonehenge ที่ถูกสร้างขึ้นในภายหลังหรือไม่ จะสังเกตได้ว่าบริเวณโดยรอบของภูมิทัศน์ของอนุสรณ์สถานแห่งนี้นั้นส่วนที่เหลือนอกจากพื้นที่ของ Stonehenge ส่วนที่เหลือของภาคใต้ของเกาะอังกฤษนั้นล้วนถูกปกคลุมด้วยป่าไม้ชอล์ก  จึงเป็นไปได้ว่านี่อาจเป็นเหตุผลว่าทำไมมันจึงกลายเป็นอนุสรณ์สถานยุคหินยุคแรกๆ เช่นเดียวกับสิ่งก่อสร้างที่ซับซ้อนที่ล้อมรอบด้วยแม่น้ำ Robin Hood’s Ball อนุสรณ์สถานสองแห่งของเมืองซัสทัสหรือกำแพงสี่เหลี่ยมผืนผ้าและอีกหลายแห่งที่มีอายุยาวนานมากกว่า 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชที่การปรากฏตัวของอนุสรณ์สถานเหล่านี้ล้วนมีอิทธิพลต่อตำแหน่งที่ตั้งของ Stonehenge


จากการศึกษาค้นคว้าของเหล่านักโบราณคดีโดยการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันรังสีเพื่อคำนวณหาอายุของหินทำให้พวกเค้าเชื่อกันว่ากลุ่มกองหินเหล่านี้ถูกสร้างจากที่ไหนซักแห่งเมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช  โดยพบว่าหินก้อนแรกนั้นถูกวางตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,200-2,400 ปีก่อนคริสต์ศักราช  และยังมีทฤษฎีอื่นๆ ที่ระบุว่ากลุ่มหินเหล่านี้อาจถูกวางตั้งแต่ก่อนหน้านั้นมาจนถึง 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช  นอกจากเรื่องเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการสร้างที่ชวนให้สงสัยแล้ว  อีกหนึ่งข้อสงสัยที่ยังคงสร้างความงุนงงให้กับนักวิทยาศาสตร์และเหล่านักโบราณคดีคือคนในสมัยก่อนนั้นสามารถนำแท่งหินขนาดใหญ่ซึ่งมีน้ำหนักหลายสิบตันนั้นขึ้นไปวางเรียงกันได้อย่างไร  เพราะค่อนข้างจะมั่นใจได้ว่าในสมัยก่อนนั้นไม่มีเครื่องทุ่นแรงให้เช่นอย่างในปัจจุบันอย่างแน่นอน  รวมไปถึงบริเวณที่ราบดังกล่าวก็ไม่มีก้อนหินขนาดใหญ่ขาดนี้ด้วย จึงสันนิษฐานได้ว่าต้องลากหินจากที่อื่นซึ่งอยู่ห่างไปหลายสิบกิโลเมตรอีกด้วย



CR  ::   https://www.talontiew.com/stonehenge/


รับปรึกษา จัดทำเอกสารเพื่อการสมัครเป็น British Citizenship 
การขอสัญชาติอังกฤษ การขอPassport  การต่อPassport การทำ CV


สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  🙏🙏🙏 

โทร  ::      07568327223
Line ID  ::   pla-prapasara
 





http://line.me/ti/p/~pla-prapasara

 




#BritishCitizenship  #การขอสัญชาติอังกฤษ  #การขอPassport   #การต่อPassport  #การทำCV

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ในหลวง ร. 9: ครบรอบ 60 ปี ของการเสด็จเยือนสหราชอาณาจักร

 

ในหลวง ร. 9: ครบรอบ 60 ปี ของการเสด็จเยือนสหราชอาณาจักร

ในหลวง ร. 9: ครบรอบ 60 ปี ของการเสด็จเยือนสหราชอาณาจักร "พระราชกรณียกิจทางการทูตที่สำคัญ"


Getty Images

11:15 น. ของวันที่ 19 ก.ค. 2503 เครื่องบินพระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ร่อนลงที่ท่าอากาศยานแกตวิค สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นประเทศที่ 2 ของการเสด็จประพาสครั้งใหญ่ 14 ประเทศ

นั่นคือจุดเริ่มต้นของการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหราชอาณาจักรของทั้ง 2 พระองค์ ระหว่างวันที่ 19-23 ก.ค. 2503


สหราชอาณาจักรคือ 1 ใน 14 ประเทศที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงตอบรับคำกราบบังคมทูลเชิญให้เสด็จพระราชดำเนินเยือน พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

การเสด็จประพาส 14 ประเทศ กินเวลาถึง 7 เดือน นับแต่วันที่เสด็จพระราชดำเนินออกจากไทยเมื่อ 14 มิ.ย. 2503 จนถึงวันเสด็จพระราชดำเนินนิวัตประเทศไทยเมื่อ 18 ม.ค. 2504 โดยช่วงเวลาดังกล่าวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์


    เสด็จประพาส
    Getty Images

    "ผูกน้ำใจกันไว้ให้ดี"

    ก่อนเสด็จพระราชดำเนินออกนอกประเทศในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานพระราชดำรัสอำลาประชาชน โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า

    "ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย เมื่อปีใหม่ข้าพเจ้าได้แจ้งให้ทราบแล้วว่า ประเทศต่าง ๆ ได้เชิญให้ไปเยี่ยมเป็นทางราชการ บัดนี้ถึงกำหนดที่ข้าพเจ้าและพระราชินีจะได้ไปประเทศเหล่านั้น พรุ่งนี้จะออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาก่อน แล้วจะไปประเทศอื่น ๆ ในยุโรปอีก 13 ประเทศ

    การไปต่างประเทศคราวนี้ ก็ไปเป็นทางราชการแผ่นดิน เป็นการทำตามหน้าที่ของข้าพเจ้า ในฐานะเป็นประมุขของประเทศ เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าในสมัยนี้ ประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กต้องพึ่งพาอาศัยกันอยู่เสมอ จะว่าชนทุกชาติเป็นญาติพี่น้องกันก็ว่าได้ จึงควรพยายามให้รู้จักนิสัยใจคอกัน ทั้งต้องผูกน้ำใจกันไว้ให้ดีอีกด้วย"


      เสด็จประพาส
      Getty Images

      จากสงครามโลก สู่ "สงครามเย็น"





      นักวิชาการและนักการทูตไทยเห็นพ้องว่าการเสด็จเยือนสหรัฐฯ และยุโรปในครั้งนั้น เป็นพระราโชบายและพระปรีชาสามารถของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทำให้ไทยผ่านมรสุม "สงครามเย็น" มาได้ และผลักดันให้สถาบันพระมหากษัตริย์กลายเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติมาถึงปัจจุบัน

      ในงานเสวนาหัวข้อ "เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม: เบื้องหลังพระราชกรณียกิจรัชกาลที่ 9 ในนานาประเทศ" เมื่อ ก.ย. 2560 ไกรฤกษ์ นานา นักวิชาการอิสระ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ยุโรป อธิบายถึงบริบทการเมืองโลกในขณะนั้นว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้ชนะสงครามพยายาม "จัดระเบียบโลกใหม่" พร้อมกับรุกคืบ-กินแดนของหลายประเทศในยุคแห่งการแสวงหาเอกราชจากประเทศเจ้าอาณานิคม จึงปะทะกับขบวนการท้องถิ่นปลดแอกที่รับอุดมการณ์คอมมิวนิสต์มาใช้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้ ส่วนประเทศในเอเชียที่เพิ่งพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกต่างพะวักพะวน และตกลงกันไม่ได้ว่าจะใช้ระบอบการปกครองแบบไหน

      แม้บริบทไทยต่างจากชาติอื่น ไม่ต้องต่อสู้เพื่อเอกราชจากเจ้าอาณานิคม แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 กระทบเสถียรภาพทางการเมืองของไทยอย่างยิ่งยวด ระหว่างกลุ่มการเมืองที่ยืนเคียงฝ่ายสัมพันธมิตร นำโดยปรีดี พนมยงค์ กับกลุ่มที่สนับสนุนฝ่ายอักษะ นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม

      ทว่าความขัดแย้งของฝ่ายปรีดี-จอมพล ป. ถูกสกัดด้วยการยึดอำนาจของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2500 นำไปสู่การกวาดล้างผู้สนับสนุนของทั้งสองฝ่าย และการกระชับสัมพันธ์กับสหรัฐฯ

      ขณะเดียวกันภาพลักษณ์ไทยในสายตาโลกตะวันตกยังไม่สู้ดีนัก ซึ่งไกรฤกษ์ชี้ว่า "เป็นเพราะไม่มีใครอยากเปิดบ้านต้อนรับไทยในฐานะพันธมิตรของญี่ปุ่น" แต่ขณะเดียวกัน "สยามก็ไม่เคยประกาศสงครามกับสหรัฐฯ มาก่อน"





      เสด็จประพาส
      Getty Images

      ในปี 2503 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จประพาสครั้งใหญ่ 14 ประเทศ เริ่มจากสหรัฐฯ และตามด้วยประเทศในแถบยุโรป

      ไกรฤกษ์อธิบายว่า เหตุที่สหรัฐฯ เป็นประเทศแรกที่ทรงเสด็จฯ เยือน เพราะในเวลานั้นสหรัฐฯ ถือเป็น "พี่ใหญ่" เป็นอภิมหาอำนาจ มีความสำคัญสูงสุดในเชิงสัญลักษณ์ และกลายเป็น "ใบเบิกทาง" ไปสู่ยุโรป

      นอกจากนี้ ไทยเป็นพันธมิตรทางสนธิสัญญาชาติแรกของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้ และเป็นการฟื้นฟูความสัมพันธ์ที่ขาดหายไปถึง 29 ปี นับจากในหลวงรัชกาลที่ 7 เสด็จประพาสในปี 2474 ที่สำคัญเป็นการประกาศว่าไทยเป็นประเทศที่อยู่ในค่ายของโลกเสรีอย่างเต็มที่





      "บริบทของการเสด็จฯ เยือนสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่าไทยเป็นชาติพันธมิตรของสหรัฐฯ และโลกเสรี ท่ามกลางสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญกับสงครามเย็น" เตช บุนนาค อดีต รมว. ต่างประเทศ และอดีตที่ปรึกษาสำนักราชเลขาธิการให้สัมภาษณ์มติชนเมื่อ ต.ค. 2559

      เสด็จประพาส
      Getty Images

      จากสหรัฐอเมริกามาสหราชอาณาจักร

      สหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่ 2 ของการเสด็จฯ เยือนและเป็นประเทศแรกของทวีปยุโรป ทั้งสองพระองค์ทรงได้รับการถวายการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ

      หมายกำหนดการพระราชกรณียกิจแบ่งออกเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนอย่างเป็นทางการระหว่าง 19-21 ก.ค. และส่วนพระองค์ระหว่าง 22-23 ก.ค.

      ก่อนเที่ยงของ 19 ก.ค. เมื่อเครื่องบินพระที่นั่งลงจอดที่สนามบินแกตวิค ทั้งสองพระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟพระที่นั่งขบวนพิเศษไปถึงสถานีรถไฟวิคตอเรีย โดยมี สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และดยุคแห่งเอดินบะระ พร้อมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ทรงรับเสด็จ

      หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และดยุคแห่งเอดินบะระ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถม้าพระที่นั่งไปยังพระราชวังบักกิงแฮม

      เสด็จประพาส
      Getty Images

      ทั้งสองพระองค์ทรงเสด็จเยือนสถานที่สำคัญในกรุงลอนดอน ได้แก่ โบสถ์เวสต์มินสเตอร์ พระตำหนักแคลเรนซ์เฮาส์ พระราชวังเซนต์เจมส์ กิลฮอลด์

      ตอนหนึ่งของพระราชดำรัสตอบสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในงานถวายเลี้ยงพระราชวังบักกิงแฮม เมื่อ 19 ก.ค. 2503 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงตรัสถึงความชื่นชมของราชวงศ์ไทยต่อชาวอังกฤษ

      "ในประเทศของหม่อมฉัน ลักษณะนิสัยของชาวอังกฤษนั้นเป็นที่ชื่นชมมาก ความตรงไปตรงมา ความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รวมทั้งความอดทนไม่ย่อท้อนั้นถือเป็นคุณสมบัติที่ดึงดูดใจและสร้างแรงบันดาลใจ ด้วยเหตุนี้จึงเหมาะสมอย่างยิ่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระอัยกาของหม่อมฉันทรงเลือกสหราชอาณาจักร เป็นประเทศแรกในการส่งนักเรียนไทยกลุ่มแรกมาศึกษาในต่างประเทศ"

      เสด็จประพาส
      Getty Images

      อีกตอนหนึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงตรัสว่า

      "แม้ประชาชนชาวไทยจะไม่สามารถมาเยี่ยมเยือนประเทศแห่งนี้ได้ทุกคน แต่หม่อมฉันรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ได้เป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทยในการนำไมตรีจิตและความปรารถนาดีมามอบให้ฝ่าพระบาทผู้ทรงเป็นประมุขของประเทศ หม่อมฉันหวังว่าการมาเยือนของหม่อมฉันในครั้งนี้จะส่งผลให้ความสัมพันธ์ของราชวงศ์ของเราทั้งสองมีความใกล้ชิดมากขึ้น และจะช่วยเสริมสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างสองประเทศที่มีมาอย่างยาวนานให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน"

      เสด็จประพาส
      Getty Images

      สิ้นสุดการเยือน

      เที่ยงวันของ 23 ก.ค. 2503 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปยังสนามบินเพื่อเสด็จฯ ไปสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนการเสด็จพระราชดำเนินเยือนอย่างเป็นการประเทศที่ 3 คือ เยอรมนี

      ก่อนการเสด็จเยือนเยอรมนี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชสาส์นเพื่อพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยเนื่องในโอกาสเสด็จฯ เยือนอังกฤษ เป็นภาษาอังกฤษ แปลเป็นไทยได้ดังนี้

      "เราได้เดินทางออกจากประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมแล้ว และจะไปเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในวันที่ 25 กรกฎาคม การเยือนประเทศอังกฤษครั้งนี้ ประสบผลเป็นที่พอใจยิ่ง สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ ดยุคแห่งเอดินบะระ และสมาชิกพระราชวงศ์อื่น ๆ ตลอดจนรัฐบาลอังกฤษ ได้ให้การต้อนรับเราด้วยความกรุณาและเปี่ยมด้วยไมตรีจิตอย่างที่สุด ประชาชนชาวอังกฤษช่างดีเหลือเกินทั้ง ๆ ที่ฝนตกและมีพายุ ได้พากันมาชุมนุมอย่างคับคั่งไม่ว่าเวลาใด เพื่อแสดงความยินดีและต้อนรับพวกเราทุกหนทุกแห่งที่เราผ่านไป เรารู้สึกว่าการไปเยือนประเทศอังกฤษครั้งนี้ทำให้พระราชวงศ์ทั้งสองมีความใกล้ชิดสนิทสนมยิ่งขึ้นเป็นอันมาก และทำให้ประชาชนชาวอังกฤษปัจจุบันนี้รู้จักและมีความสนใจในประเทศเรามากขึ้น ด้วยเหตุนี้ การเยือนปะเทศอังกฤษจึงประสบผลสำเร็จเป็นอันมาก บรรดาคนไทยและนักเรียนไทยจากแหล่งต่าง ๆ ทั่วประเทศอังกฤษได้พากันมาต้อนรับเราเป็นจำนวนมาก พระราชินีและข้าพเจ้า รวมทั้งลูก ๆ สบายดี จิตใจของเรายังคงแนบแน่นอยู่กับท่านทั้งหลายเสมอ และเราหวังว่า ท่านทั้งหลายก็อยู่ด้วยความสุขสบายดีด้วย"

      เสด็จประพาส
      Getty Images

      หมายเหตุ: ที่มาของข้อมูลการเสด็จเยือนสหราชอาณาจักรมาจาก "สมุดภาพที่ระลึก เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี การเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหราชอาณาจักรฯ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ" จัดทำโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน 2553




      CR  ::   https://news.trueid.net/detail/EYkrxkmgl7jQ



      รัชกาลที่ 9 บนหน้าสื่อต่างประเทศ

       

      รัชกาลที่ 9 บนหน้าสื่อต่างประเทศ


      HIGHLIGHTS



      • ลอนดอน ปารีส และหมู่บ้านเล็กๆ อย่างปุยดูในเมืองโลซานน์ คือสามเมืองหลักที่ THE STANDARD หยิบยกเรื่องราวของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชครั้งเสด็จฯ เยือนประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป เมื่อปี 1960 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการทูตของไทยและบรรดาชาติตะวันตก

           พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ด้วยพระราชจริยวัตรที่งดงามและพระอัจฉริยภาพทางด้านต่างๆ ที่เป็นเลิศ โดยเฉพาะด้านการต่างประเทศ จึงทำให้พระองค์ได้รับสมญานามว่าเป็น ‘พระมหากษัตริย์นักการทูต’ อย่างแท้จริง

           ตลอดรัชสมัยของพระองค์ได้เสด็จฯ เยือนประเทศต่างๆ กว่า 28 ประเทศ และ 1 นครรัฐ โดยไล่เรียงจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามใต้ อินโดนีเซีย และเมียนมา ในช่วงปลายปี 1959 คาบเกี่ยวต้นปี 1960 ก่อนที่พระองค์จะเสด็จฯ เยือนต่างประเทศครั้งใหญ่ โดยเฉพาะประเทศในทวีปอเมริกาและทวีปยุโรปรวม 14 ประเทศ และ 1 นครรัฐวาติกันในช่วงเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน ปี 1960 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับนานาชาติให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น

           ต่อจากนี้คือเรื่องราวบางส่วนของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ถูกถ่ายทอดบนหน้าสื่อต่างประเทศ ขณะเสด็จฯ เยือนต่างประเทศพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เมื่อกว่า 60 ปีก่อนที่ THE STANDARD ขอหยิบยกมาเล่าสู่กันฟัง

       

       

      เกาะอังกฤษ: ความประทับใจมิลืมเลือนครั้งเสด็จฯ เยือนอย่างเป็นทางการ

           หนังสือพิมพ์ The Times ของเกาะอังกฤษ ฉบับวันที่ 20 กรกฎาคม ปี 1960 ได้รายงานข่าวการเสด็จฯ เยือนของพระมหากษัตริย์และพระราชินีของไทยอย่างเป็นทางการ โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระคอยเฝ้ารับเสด็จฯ อย่างสมพระเกียรติ ก่อนที่ทั้งสี่พระองค์จะทรงรถม้ามุ่งหน้าสู่พระราชวังบักกิงแฮม พลเมืองชาวอังกฤษและบรรดาผู้เข้าเฝ้ารับเสด็จต่างเปล่งเสียง ‘ไชโย’ สดุดีต่อการเสด็จฯ เยือนของทั้งสองพระองค์อย่างกึกก้องตลอดสองข้างทาง

       

       

           พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีรับสั่งกับสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และบรรดาแขกผู้มีเกียรติกว่า 160 คนในงานเลี้ยงต้อนรับพระราชอาคันตุกะ ณ พระราชวังบักกิงแฮม ใจความว่า

           “ในประเทศของหม่อมฉัน บุคลิกลักษณะของคนอังกฤษได้รับความเคารพชื่นชมเป็นอย่างมากทั้งในเรื่องของความยุติธรรม ความมีชีวิตชีวา และความอดทน คุณลักษณะต่างๆ เหล่านี้ช่างมีเสน่ห์และน่าดึงดูด

           “ด้วยเหตุนี้ เสด็จปู่ของหม่อมฉัน (รัชกาลที่ 5) จึงตัดสินพระทัยเลือกอังกฤษเป็นประเทศแรกที่จะส่งกลุ่มนักเรียนไทยมาศึกษายังต่างแดน ซึ่งนักเรียนไทยกลุ่มนี้ได้เลือกศึกษาในสาขาวิชาที่แตกต่างกันตามแต่ที่พวกเขาสนใจ โดยพวกเขาได้อุทิศตนให้แก่ความสมัยใหม่ ความก้าวหน้า และความเจริญวัฒนาที่ยังประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติของพวกเขาทุกคน”

           สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ได้ตรัสขอบคุณและทรงรู้สึกเป็นเกียรติที่ในหลวงและพระราชินีของไทยเสด็จเยือนในครั้งนี้ “หม่อมฉันยินดีต้อนรับฝ่าพระบาท (และพระราชินี) ในฐานะประเทศพันธมิตรเก่าแก่ของเรา ซึ่งไทยและสหราชอาณาจักรมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันมาอย่างยาวนานหลายยุคหลายสมัย

           “สนธิสัญญาแรกที่ทั้งสองประเทศมีต่อกันได้รับการลงนามมานานกว่า 130 ปี โดยเริ่มจากพ่อค้าชาวอังกฤษที่เดินทางไปยังแผ่นดินสยามในศตวรรษที่ 17 ก่อนจะเริ่มทำการค้าระหว่างกันจนความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศในวันนี้ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ในเฉพาะด้านการค้าอีกต่อไป”

           ก่อนที่จะเสร็จสิ้นการเสด็จฯ เยือนสหราชอาณาจักร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชหัตถเลขาต่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ความตอนหนึ่งว่า “พระราชินีและหม่อมฉันไม่สามารถที่จะจากประเทศอังกฤษไปโดยมิได้แสดงความรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณและความชื่นชมยินดีต่อฝ่าพระบาท ความเป็นมิตรที่ฝ่าพระบาทและดยุกแห่งเอดินบะระ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์และพสกนิกรชาวอังกฤษได้ทรงแสดงต่อหม่อมฉันและพระราชินีนั้นเป็นที่ประทับใจยิ่ง และจะคงอยู่ในความทรงจำของหม่อมฉันและพระราชินีเสมอมิลืมเลือน”

           การเสด็จฯ เยือนสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการในครั้งนั้น นับเป็นจุดเริ่มต้นและหมุดหมายสำคัญที่ราชวงศ์ของทั้งสองประเทศ ซึ่งในระยะเวลาต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีนาถที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลกได้กระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันจวบจนถึงปัจจุบัน

       

       

      ปารีส: เมื่อรักแรกพบของฉันเกิดขึ้นที่นี่

           หนึ่งในมหาอำนาจตะวันตกที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ เยือนอย่างเป็นทางการคือฝรั่งเศส สื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่นอย่าง France-Soir และ L’Aurore ฉบับเดือนตุลาคม ปี 1960 ได้บันทึกการเสด็จฯ เยือนในครั้งนั้นไว้อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นบรรดาประชาชนผู้รอรับเสด็จ เมนูอาหาร ฉลองพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินี รวมถึงเครื่องแต่งกายของประธานาธิบดีชาร์ล เดอ โกล และภริยา ขณะร่วมในงานเลี้ยงต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองของฝรั่งเศสที่จัดขึ้นอย่างสมพระเกียรติ ณ โรงโอเปราใจกลางกรุงปารีส

       

       

           การเสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสในครั้งนี้ไม่ได้เป็นเพียงการกระชับความสัมพันธ์อันดีของทั้งสองประเทศเท่านั้น แต่ยังเป็นการเน้นย้ำจุดยืนของไทยที่เชื่อมั่นในเสรีภาพและความเป็นประชาธิปไตย โดยเฉพาะในช่วงที่แนวความคิดสังคมนิยมคอมมิวนิสต์เริ่มแพร่กระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก (ไทยและฝรั่งเศสเป็น 2 ประเทศจากสมาชิกทั้งหมด 8 ประเทศขององค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ SEATO ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อป้องกันภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ในช่วงสงครามเย็น)

           นอกจากนี้ กรุงปารีสเองยังเป็นสถานที่สำคัญที่ทำให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (พระอิสริยยศขณะนั้น) เมื่อพระชนมายุเพียง 20 พรรษา ได้มีโอกาสพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร บุตรสาววัย 15 ปีของเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีสเป็นครั้งแรก และสายสัมพันธ์ของทั้งสองพระองค์เริ่มต้นที่นี่

       

       

           เพื่อนในกลุ่มน้อยคนนักที่จะทราบว่าสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชกำลังมีความรู้สึกพิเศษกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ พระองค์หมั่นเอาใจและแสดงความรู้สึกอันดีต่อหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ผ่านบทกวีและบทเพลงที่พระองค์ทรงนิพนธ์ขึ้นเพื่อเธอโดยเฉพาะ หนึ่งในนั้นคือบทเพลง ‘ฉันเฝ้าฝันถึงเธอ’ (I Dream of You) ที่ใช้สะท้อนความรู้สึกทั้งหมดที่พระองค์มีต่อหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์

           หลังจากนั้น 1 ปี สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์พระที่นั่งจนได้รับบาดเจ็บสาหัสและต้องพักรักษาพระวรกายอยู่เป็นเวลานาน ทั้งนี้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เองก็ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าเยี่ยมพระอาการของพระองค์อยู่บ่อยครั้ง จึงทำให้สายสัมพันธ์ของทั้งสองพระองค์ยิ่งใกล้ชิดแนบแน่นนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

           สื่อท้องถิ่นของกรุงปารีสรายงานว่า ภายหลังจากพิธีการต่างๆ เสร็จสิ้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมักจะหามุมที่สวยงามถ่ายภาพและบันทึกวิดีโอของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ในพระอิริยาบถต่างๆ เสมอ

           การเสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการในครั้งนี้นอกจากจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ด้านการต่างประเทศแล้ว ยังช่วยทำให้ทั้งสองพระองค์รำลึกถึงความรู้สึกแรกพบที่เคยเกิด ณ มหานครแห่งนี้อีกด้วย

       

       

      ปุยดู: หมู่บ้านเล็กๆ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงตอบรับ

           อีกหนึ่งประเทศที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ เยือนอย่างเป็นทางการคือสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศที่พระองค์เคยใช้เวลาส่วนใหญ่ในการศึกษาหาความรู้ในศาสตร์ต่างๆ จากสถานศึกษาของประเทศแห่งนี้จนถึงระดับอุดมศึกษา

           สื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่นของสวิตเซอร์แลนด์อย่าง Feuille d’Avis de Lausanne Magazine ฉบับเดือนพฤศจิกายน ปี 1960 โดย Jean-Pierre Krauer ได้ถ่ายทอดเรื่องราวอันน่าประทับใจเมื่อครั้งทั้งสองพระองค์เสด็จฯ เยือนหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในเมืองโลซานน์ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของประชาชนและผู้นำท้องถิ่นในหมู่บ้านปุยดู (Puidoux) ซึ่งการเสด็จฯ เยือนในครั้งนี้อยู่นอกเหนือหมายกำหนดการที่พระองค์ทรงวางเอาไว้ และทำให้ประชาชนในหมู่บ้านที่ทราบข่าวต่างรู้สึกปลื้มปีติยินดีต่อการเสด็จฯ เยือนของในหลวงและพระราชินีของไทยเป็นอย่างมาก และเร่งจัดพิธีการต้อนรับทั้งสองพระองค์อย่างสมพระเกียรติที่สุดเท่าที่หมู่บ้านเล็กๆ ในเมืองโลซานน์จะทำได้

           เมื่อเวลาสำคัญมาถึง ประชาชนที่อยู่ริมหน้าต่างเหนือจัตุรัสต่างร้องตะโกนส่งสัญญาณบอกให้ทุกคนเตรียมตัวให้พร้อมว่า “ในหลวงและพระราชินีเสด็จฯ แล้ว” ก่อนที่ดนตรีพื้นบ้านจะเริ่มบรรเลง ขนมปังลูกเกดและไวน์ชั้นเลิศถูกนำมาทูลเกล้าฯ ถวายให้แก่ทั้งสองพระองค์ คนในหมู่บ้านต่างทยอยมาเฝ้ารับเสด็จกันเป็นจำนวนมาก เด็กๆ ต่างแข่งกันเบียดตัวเข้าไปในฝูงชนเพื่อยลพระพักตร์ของทั้งสองพระองค์ หนึ่งในเด็กชายคนหนึ่งร้องตะโกนว่า “ซูเนียร์ เธอขยับไปหน่อย พวกเราจะได้มองเห็น” โดยครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทรงใช้เวลาประทับอยู่ที่หมู่บ้านแห่งนี้นานกว่า 1 ชั่วโมง 20 นาที ซึ่งมากกว่ากำหนดการเดิมที่วางไว้ถึง 45 นาที

           การตอบรับคำกราบบังคมทูลเชิญของผู้นำหมู่บ้านเล็กๆ ในปุยดูสะท้อนถึงความใส่ใจที่ทั้งสองพระองค์มีต่อประชาชนในทุกระดับ ส่งเสริมภาพลักษณ์และการรับรู้ของผู้คนทั่วโลกเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น และระบอบการเมืองของไทยที่มีเสถียรภาพและความมั่นคง

       

       

      27 ปีที่ว่างเว้นจากการเสด็จฯ เยือนต่างประเทศ และเหตุผลที่ไม่ทรงเสด็จฯ ไปเยือนต่างแดนอีกเลย

           กลางปี 1967 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จฯ เยือนประเทศแคนาดาอย่างเป็นทางการ ก่อนที่จะว่างเว้นจากการเดินทางไกลไปเกือบ 27 ปี ซึ่งการเสด็จฯ เยือนต่างประเทศครั้งสุดท้ายของพระองค์มีขึ้นในปี 1994 เพื่อร่วมพิธีเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว สะพานแรกสุดที่เชื่อมพรมแดนของทั้งสองประเทศเข้าด้วยกัน พร้อมด้วยนายหนูฮัก พูมสะหวัน ประธานประเทศลาวขณะนั้น

           เหตุผลสำคัญที่ทำให้พระองค์มิได้เสด็จฯ เยือนต่างประเทศบ่อยครั้งเหมือนช่วงก่อนหน้า อาจจะเป็นเพราะเสียงของราษฎรคนหนึ่งที่เคยตะโกนว่า “ในหลวง อย่าทิ้งประชาชน” ครั้งที่พระองค์จะเสด็จฯ กลับไปศึกษาต่อยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์ยังคงดังกึกก้องอยู่ในพระราชหฤทัยของพระองค์เสมอมา พร้อมทั้งปฏิบัติตามคำมั่นที่พระองค์ให้ไว้กับประชาชนว่า “ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้”

           และถึงแม้ว่านับตั้งแต่ปี 1994 พระองค์จะมิเคยเสด็จฯ เยือนต่างประเทศอีกเลย แต่การเป็นพระมหากษัตริย์นักการทูตของพระองค์ยังไม่ได้สิ้นสุดลงตามไปด้วย โดยตลอดรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทรงต้อนรับพระราชอาคันตุกะจำนวนมากที่เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ พร้อมกันนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯ แทนพระองค์ในการเสด็จฯ เยือนต่างประเทศในวาระโอกาสที่สำคัญต่างๆ อีกด้วย

       

      Photo: AFP


      CR  ::   https://thestandard.co/kingrama9-in-international-media/

      ร. 9 เสด็จฯ เยือนประเทศในโลกตะวันตก

       

      ร. 9 เสด็จฯ เยือนประเทศในโลกตะวันตก

      เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 1960 (พ.ศ.2503) ประชาชนกว่า 7.5 แสนคน (จากการประเมินของเจ้าหน้าที่ตำรวจ) ได้มาเฝ้ารอรับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ซึ่งประทับรถยนต์พระที่นั่งเปิดประทุนมาพร้อมกับขบวนพาเรด บนถนนโลเวอร์บรอดเวย์ (Lower Broadway) นครนิวยอร์ก

      หากเอ่ยถึงการเสด็จประพาสต่างประเทศแล้ว หลายท่านมักนึกถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นึกถึงการเสด็จประพาสยุโรปที่มีการกล่าวถึงว่าเป็นการแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองขณะในยุคของการล่าอาณานิคม นึกถึงพระราชนิพนธ์ไกลบ้าน ฯลฯ

      แต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศเช่นกัน ซึ่งเป็นการจากเมืองไทยนานถึง 6 เดือน (14 มิถุนายน พ.ศ.2503-17 มกราคม พ.ศ.2504) เพื่อเสด็จพระราชดำเนินเยือนมิตรประเทศในทวีปอเมริกาและทวีปยุโรปจำนวน 13 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, เยอรมนี, โปรตุเกส, อิตาลี, สวิตเซอร์แลนด์, เดนมาร์ก, นอร์เวย์, สวีเดน, เบลเยี่ยม ฯลฯ

      พระฉายพระบรมฉายาลักษณ์อย่างเป็นทางการของราชวงศ์ไทย-อังกฤษ

      ในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้มีกระแสพระราชดำรัสอำลาประชาชน ว่า

      “ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย

      เมื่อปีใหม่ข้าพเจ้าได้แจ้งให้ทราบแล้วว่า ประเทศต่างๆ ได้เชิญให้ไปเยี่ยมเป็นราชการ บัดนี้ถึงกำหนดที่ข้าพเจ้าและพระราชินีจะไปประเทศเหล่านั้น พรุ่งนี้จะออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังสหรัฐอเมริกาก่อน แล้วจะไปประเทศอื่นๆ ในยุโรปอีก 13 ประเทศด้วยกัน

      การไปต่างประเทศคราวนี้ ก็ไปเป็นราชการแผ่นดิน เป็นการทำตามหน้าที่ของข้าพเจ้า ในฐานะเป็นประมุขของประเทศ

      เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ในสมัยนี้ประเทศต่างๆ ไม่ว่าใหญ่หรือเล็กต่างต้องพึ่งพาอาศัยกันอยู่เสมอ จะว่าชนทุกชาติเป็นญาติพี่น้องกันก็ว่าได้ จึงควรพยายามให้รู้จักนิสัยใจคอกัน ทั้งต้องผูกน้ำใจกันไว้ให้ดีด้วย

      การผูกน้ำใจกันไว้นั้น ธรรมดาญาติพี่น้องก็ไปเยี่ยมถามทุกข์สุขซึ่งกันและกัน แต่สำหรับประเทศนั้นประชาชนนับแสนนับล้าน จะไปเยี่ยมกันก็ยาก เขาจึงยกให้เป็นหน้าที่ของประมุข ในการไปเยี่ยมประเทศต่างๆ ข้าพเจ้าก็จะแสดงต่อประชาชนของประเทศเหล่านั้นว่า ประชาชนชาวไทยมีมิตรจิตมิตรใจต่อเขา และข้าพเจ้าจะพยายามเต็มที่เพื่อให้ฝ่ายเขารู้จักเมืองไทย และให้เกิดมีน้ำใจดีต่อชาวไทย

      ข้าพเจ้าจะลาท่านไปเป็นเวลาราว 6 เดือน ก็เป็นธรรมดาที่นึกห่วงใยบ้านเมือง จึงใคร่จะตักเตือนท่านทั้งหลายว่า ขอให้ตั้งหน้าทำการงานของท่านให้เต็มที่ในทางที่ชอบที่ควร ตั้งตัวตั้งใจให้อยู่ในความสงบ จะได้เกิดผลดีแก่ตัวท่านเอง และแก่บ้านเมืองซึ่งเป็นของเราด้วยกันทุกคน

      ขออวยพรให้มีความสุขสวัสดีทั่วกัน”

      ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ แห่งสหรัฐ ถวายการต้อนรับ ณ ท่าอากาศยาน กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (ภาพจากปกเอกสารของสำนักข่าวสารอเมริกัน กรุงเทพฯ)

      การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้นได้รับความสนใจจากสื่อต่างประเทศอย่างมาก แม้บางรายจะมีทีท่าไม่เป็นมิตร แต่พระองค์มีพระราชดำรัสตอบที่นุ่มนวลและชาญฉลาด เช่น

      วันที่ ๒๑ มิถุนายน อันเป็นวันที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐฯ เป็นทางการ ได้เสด็จฯ เยี่ยมฮอลลี่วู้ด มีพระราชดำรัสตอบหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ที่กราบบังคมทูลถามว่า การเสด็จฯ มาครั้งนี้จะทรงขอความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ อย่างไรหรือไม่ว่า “เราไม่ได้มาเพื่อขอความช่วยเหลือจากท่านแต่อย่างใดทั้งสิ้น แต่เราเป็นผู้นำเอามิตรภาพและความปรารถนาดีของประชาชนชาวไทยมาให้แก่ท่าน”

      หรือการเสด็จไปยังทำเนียบขาวในวันที่ 29 มิถุนายน ได้มีพระราชดำรัสต่อหน้ารัฐสภา ซึ่งเป็นที่ชื่นชมต่อผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง ดังจะขอยกมาเป็นบางตอนที่ว่า

      “…เมื่อท่านประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้กรุณาเชื้อเชิญให้ข้าพเจ้ามาเยือนประเทศนี้ ข้าพเจ้าก็ยินดีรับการเชิญนี้ และพอใจที่ได้เดินทางครึ่งโลกเพื่อมาปรากฏ ณ ที่นี้ เหตุผลของข้าพเจ้ามีอยู่สามประการ ซึ่งข้าพเจ้าใคร่จะบอกกับท่านอย่างสั้นๆ และกับประชาชนชาวอเมริกันโดยผ่านท่าน

      ประการที่หนึ่งก็คือ นานมาแล้ว ข้าพเจ้าประสงค์ที่จะได้เห็นและได้เรียนรู้ประเทศของท่านให้มากยิ่งขึ้น เมื่อข้าพเจ้าได้ทราบถึงความไม่อดกลั้นและความกดขี่ที่มีอยู่ในหลายภาคของโลก ข้าพเจ้าใคร่จะทราบว่า ไฉนในประเทศนี้ ประชาชนเป็นล้านๆ คน ซึ่งมีเผ่าพันธุ์ ประเพณี และความเชื่อถือในศาสนาแตกต่างกัน จึงมีชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างเสรี และปรองดองกันอย่างผาสุก และไฉนประชาชนเป็นล้านๆ คนเหล่านี้ซึ่งอยู่กระจายกันทั่วดินแดนอันกว้างขวางนี้ จึงเห็นพ้องต้องกันในกรณีสำคัญๆ เกี่ยวกับกิจการที่สลับซับซ้อนของโลก และเมื่อกล่าวสั้นๆ ก็คือว่า ไฉนจึงต่างอดกลั้นให้แก่กันได้

      ประวัติศาสตร์

      0:47/0:50

      ประการที่สอง ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะนำคำอวยพรและสันถวไมตรีของประชาชนของข้าพเจ้ามาให้ท่านด้วยตนเอง แม้ว่าชาวไทยและชาวอเมริกันจะอยู่คนละซีกโลกก็ตาม แต่ว่าก็มีสิ่งเป็นธรรมดา และนั่นก็คือ ความรักในเสรีภาพ และแน่ทีเดียวคำว่า ‘ไทย’ ที่จริงก็หมายความว่าเสรี การรับรองดังที่ข้าพเจ้าได้รับในประเทศนี้ทำให้ข้าพเจ้าสามารถนำมิตรภาพ และไมตรีจิตของท่านกลับไปให้ประชาชนของข้าพเจ้าได้เป็นอย่างดียิ่ง มิตรภาพของรัฐบาลหนึ่งที่มีต่ออีกรัฐบาลหนึ่งนั้นย่อมมีความสำคัญ แต่ว่ามิตรภาพของประชาชนของชาติหนึ่งที่มีต่อประชาชนของอีกชาติหนึ่งต่างหาก ที่เป็นประกันอย่างแน่แท้สำหรับสันติภาพและความก้าวหน้า

      ประการที่สามก็คือว่า ข้าพเจ้ามีความปรารถนาตามธรรมชาติของมนุษย์ที่จะได้เห็นสถานที่เกิดของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าคาดว่า พวกท่านบางคนที่อยู่ ณ ที่นี้คงจะเกิดที่บอสตันเหมือนกัน หรือไม่ก็คงได้ศึกษาเล่าเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ดเช่นเดียวกับสมเด็จพระราชบิดาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ารีบขอแสดงความยินดีแด่ผู้ที่มีโชคดีเช่นนั้นด้วย ข้าพเจ้าเชื่อว่าบุคคลดังกล่าวคงจะมีจิตใจเหมือนข้าพเจ้า เพราะเราต่างก็มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งในความสำเร็จด้านการศึกษาและวัฒนธรรมของนครที่น่าพิศวงนั้นเช่นเดียวกันกับสมัยโบราณ ถนนทุกสายต่างมุ่งไปกรุงโรม ฉันใดก็ฉันนั้น ในปัจจุบันนี้ถนนทุกสายต่างก็มุ่งไปยังวอชิงตัน…”



      ทั้งสองพระองค์เสด็จฯ ทอดพระเนตรศาลาไทยที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างไว้ ณ เมืองบาดแฮมเบอร์ก เยอรมนี (28 กรกฎาคม 2503)

      การเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศของพระมหากษัตริย์ไทยที่ผ่านมานั้น มิได้เป็นเพียงการเสด็จประพาสเพื่อความสำราญ หากแต่มีกุศโลบายอื่นๆ เพื่อประเทศอยู่เบื้องหลัง

      ดังเห็นได้จากการเสด็จประพาสยุโรปในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2440 และ พ.ศ.2450 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มี “การล่าอาณานิคม” การเสด็จประพาสยุโรปครั้งนั้นจึงเป็นเครื่องมือแก้ไขสถานการณ์ ด้วยการดำเนิน “ยุทธศาสตร์กันชน” แฝงนโยบายเข้าไว้ในพระราชกรณียกิจต่างๆ ในการเสด็จประพาส

      เมื่อแนวคิดทางการเมืองของโลกเปลี่ยนเป็น “สงครามเย็น” (พ.ศ.2490-2534) ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและกลุ่มพันธมิตรในโลกเสรีนิยม กับสหภาพโซเวียตที่ใช้ระบบคอมมิวนิสต์ แม้อุดมการณ์ทางการเมืองของทั้ง 2 ฝ่ายจะแตกต่างกัน หากทั้ง 2 ฝ่ายต่างเลือกไม่ทำสงครามกันโดยตรง เเต่สนับสนุนให้ประเทศพันธมิตรของตนเข้าทำสงครามเเทน

      สถานการณ์การเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังกลับไปสู่สภาพเดียวกับเมื่อสมัยพระพุทธเจ้าหลวง หากครั้งนี้เปลี่ยนจากหารล่าอาณานิคมเป็น “สงครามเย็น” และประเทศไทยคือ “รัฐกันชน” การเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงเป็นไปเพื่อทรงกระชับความสัมพันธ์กับโลกตะวันตกดังเช่นในรัชกาลก่อนนั้น




      ที่มา   ::     https://www.silpa-mag.com/history/article_23939