Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2567

French -2

 French 


เวลา

Quelle heure est-il? (แกล-เลอร์-เอ-ติล) กี่โมงแล้วนะ?

 

เริ่มแรกเราควรจดจำคำศัพท์เบื้องต้นเกี่ยวกับเวลาและช่วงเวลากันก่อนนะครับ

Le temps (เลอ-ตัง) เวลา               L’heure (เลอร์) เวลา(ตามนาฬิกา), ชั่วโมง

La minute  (ลา-มินุท) นาที            La seconde (ลา-เซอกงด์) วินาที

Le matin (เลอ-มาตัง) ตอนเช้า      Le midi (เลอ-มีดี) เที่ยงวัน

L’après-midi (ลัพแพร-มีดี) ตอนบ่าย  Le soir (เลอ-ซัวรฮ์) ตอนเย็น

La nuit (ลา-นุย) ตอนค่ำ                La minuit (ลา-มีนุย) เที่ยงคืน


เรามาเริ่มนับเวลาเป็นโยคกันเลยดีกว่าครับ

*สำหรับใครที่ยังไม่ทราบเรื่องตัวเลขภาษาฝรั่งเศส สามารถเข้าไปอ่านในลิ้งก์ก่อนหน้าได้เลยครับ*

 

 

 

 

 

 

 

Il est + chiffre(ตัวเลข) + heure(s)  =  มันเป็นเวลา…

Il est une heure (อิล-เล-อุน-เนอรฮ์)   มันเป็นเวลา 01.00 น.

Il est deux heures (อิล-เล-เดอ-เซอรฮ์) มันเป็นเวลา 02.00 น.

Il est onze heures (อิล-เล-อง-เซอรฮ์)  มันเป็นเวลา 11.00 น.

Il est douze heures (อิล-เล-ดุซเซอรฮ์) = Il est midi มันเป็นเวลาเที่ยงวัน

Il est seize heures (อิล-เล-แซสเซอรฮ์) มันเป็นเวลา 16.00 น. หรือ สี่โมงเย็น

Il est dix-sept heures (อิล-เล-ดิซแซ็ตเตอรฮ์)  มันเป็นเวลา 17.00 น. หรือ ห้าโมงเย็น

 

ประโยคต่อไปจะมีจำนวนของ “นาที(Minute)” เข้ามาด้วยนะครับ ลองมาดูกันเลย

Il est dix heures dix (อิล-เล-ดิซเซอรฮ์-ดิซ) มันเป็นเวลาสิบโมงสิบนาที

 

Il est quatorze heures et demie (อิล-เล-การ์ตอซเซอรฮ์-เอ-เดอมี) มันเป็นเวลาบ่ายสองโมงครึ่ง

*Demie (เดอมี) หมายถึง 30 นาที/ครึ่งชั่วโมง หรือจะใช้คำว่า Trente (ทร็อง) แทนก็ได้เช่นกัน*

 

Il est minuit et quart (อิล-เล-มินุย-เอ-การ์) มันเป็นเวลาเที่ยงคืนสิบห้านาที

Quart (การ์) หมายถึง 15 นาที หรือจะใช้คำว่า Quinze (แก๊งซ์) แทนก็ได้เช่นกัน*

 

Il est vingt-deux heures moins cinq (อิล-เล-แว็งเดอเซอรฮ์-มวง-แซ็งค์)  มันเป็นเวลาสามทุ่มห้าสิบห้านาที

*Moins (มวง) หมายถึง ลบ

ในรูปประโยคนี้ เราจะต้องทำความเข้าใจว่ามันคือการลบเลขกันครับ นั่นก็คือ เวลาสี่ทุ่มลบห้านาที  22.00 – 00.05 = 21.55 น.

ลองดูอีกประโยคนะครับ

Il est dix heures moins neuf (อิล-เล-ดิซเซอรฮ์-มวง-เนิฟ) มันเป็นเวลาเก้าโมงห้าสิบอ็ดนาที

ประโยคนี้ก็เป็นแบบเดียวกันกับด้านบนครับ เวลาสิบโมงลบเก้านาที 10.00 – 00.09 = 09.51 น.

 

ตัวอย่างประโยคสนทนา

Nut : Quelle heure est-il? (แกล-เลอร์-เอ-ติล)                                 กี่โมงแล้ว?

Mai : Il est sept heure et demie. (อิล-เล-แซ็ตเตอรฮ์-เอ-เดอมี)          เจ็ดโมงครึ่งแล้ว

Nut : Le supermarché ouvre à quelle heure? (เลอ-ซูแปร์มาร์เช่-อุฟวร์-อา-แกลเลอรฮ์)  ห้างสรรพสินค้าเปิดกี่โมงแล้วนะ?

Mai : Le supermarché ouvre à dix heures quarante (เลอ-ซูแปร์มาร์เช่-อุฟวร์-อา-ดิซเซอร์-กาค็อง) ห้างเปิดสิบโมงสี่สิบจ้ะ

ก่อนจะปิดท้ายบทเรียน ผมขอให้เพื่อนๆได้ลองทำแบบฝึกหัดจากรูปภาพของเวลากันนะครับ เริ่มเลย! (เฉลยอยู่ท้ายบทเรียน)

  1. Il est …..

 2. Il est …..

 

  1. ในข้อนี้สามารถกล่าวถึงเวลาได้ทั้งช่วงเช้า(Le matin)และ(Le soir)ช่วงเย็นครับ

Il est ….. du matin.

Il est ….. du soir.

 

 

[spoiler title=”เฉลยแบบฝึกหัด” open=”no” style=”fancy”]

เฉลย

1. Il est cinq heures. มันเป็นเวลาตีห้า

2. Il est six heures quarante-deux. มันเป็นเวลาหกโมงสี่สิบสองนาที

3. Il est sept heures moins le quart du matin. มันเป็นเวลาหกโมงเช้าสี่สิบห้านาที นั่นคือ 07.00 – 00.15 = 06.45 น.

Il est dix-neuf heures moins le quart du soir. มันเป็นเวลาหกโมงเย็นสี่สิบห้านาที นั่นคือ 19.00 – 00.15 = 18.45 น.

[/spoiler]




ศัพท์ภาษาฝรั่งเศส เรื่อง วัน เดือน ปี และ ฤดูกาล

Jours, Mois, Année et Saisons


  1. Jour (ชูร์) วัน

Les jours de la semaine (เลชูร์-เดอ-ลา-เซอแมน) หลายวันในหนึ่งสัปดาห์

Lundi (เลิงดิ) วันจันทร์         Mardi (มาฮร์ดิ) วันอังคาร     Mercredi (แมค-เครอ-ดิ) วันพุธ

Jeudi (เชอดิ) วันพฤหัสบดี    Vendredi (เวิง-เดรอ-ดิ) วันศุกร์       Samedi (ซาม-ดิ) วันเสาร์

Dimanche (ดิ-ม็องช์) วันอาทิตย์

ตัวอย่างการใช้

  1. Mardi, Jean est allé au zoo. (มาฮร์ดิ-ฌอง-เอ-อัลเล่-โอ-โซ) ฌองไปสวนสัตว์เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
  2. Je vais à la maison de ma maman le mardi. (เฌอ-เว-อา-ลา-เมซง-เดอ มา-มาม็อง-เลอ-มาฮร์ดิ) ฉันไปที่บ้านแม่ของฉันทุกๆวันอังคาร

*ข้อแตกต่างคือข้อ 1 เป็นวันอังคารเดียวเท่านั้น และข้อ 2 คือ ทุกๆวันอังคาร โดยการเติม le + jour ที่สำคัญคือไม่จำเป็นต้องมีบุพบทมาช่วยเชื่อมประโยคและวัน*

 

  1. Mois (มัว) เดือน

Les mois de l’année (เล-มัว-เดอ-ลานเน่) หลายเดือนในหนึ่งปี

Janvier (ชองวิเย่) มกราคม   Février (เฟ-วริเย่) กุมภาพันธ์          Mars (มาซ) มีนาคม

Avril (อัฟ-วริล) เมษายน      Mai (เม) พฤษภาคม            Juin (ชูแอ็ง) มิถุนายน

Juillet (ชุยเย่) กรกฎาคม      Août (อุท) สิงหาคม            Septembre (เซ็ปตอง-เบรอะ) กันยายน

Octobre (โอ๊คตอบ-เบรอะ) ตุลาคม            Novembre (โนวอง-เบรอะ) พฤศจิกายน

Décembre (เดซอง-เบรอะ) ธันวาคม

ตัวอย่างการใช้

  1. Il fait chaud en Mars. (อิล-เฟ-โช-อัง-มาซ) อากาศร้อนมนเดือนมีนาคม
  2. J’ai quitté mon emploi en Juin. (เช-กิตเต้-มงน็องปลัว-อัง-ชูแอ็ง) ฉันออกจากงานในเดือนมิถุนายน

en” เป็นบุพบทตัวหนึ่งที่ใช้ระบุเดือน หรือ ใช้ในอีกรูปแบบหนึ่งก็ได้อีกเช่นกัน

au mois de” ตามด้วยชื่อเดือน

  1. Les écoles sont fermées au mois de juillet. (เลเซกอล-ซง-แฟร์เม่-โอ-มัว-เดอ-ชุยเย่) โรงเรียนหลายแห่งปิดในเดือนกรกฎาคม
  2. La plupart de touristes voyagent au mois de janvier. (ลา-ปลูปาร์-เดอ-ตูฮริส-วัวยาช-โอ-มัว-เดอ-ช็องวิเย่) นักท่องเที่ยวส่วนมากท่องเที่ยวในเดือนมกราคม

 

  1. Année (อานเน่) ปี

ตัวอย่างการใช้

  1. En juin 1998, la compagnie Microsoft lance Window 98.(อัง-ชูแอ็ง-มิล-เนิฟซ็อง-ก๊าตเทรอะแว็งดิซวิต, ลา-กงปานยี-มีโครซอฟ-ลองซ์-วินโดว์-ก๊าตเทรอะแว็งดิซวิต) บริษัทไมโครซอฟท์ปล่อยขายวินโดว์ 98 สู่ตลาดในปี 1988
  2. Jane est née le 14 mai 1989. (เจน-เอ-เน่-เลอ-กาตอซ-เม-มิล-เนิฟซ็อง-ก๊าตเทรอะแว็งเนิฟ) เจนเกิดวันที่ 14 พฤษภาคม 1989

en” ในข้อ 1 ก็ยังคงเป็นบุพบทที่ใช้สำหรับระบุปีเช่นเดียวกันกับเดือน หากแต่ในข้อ 2 เราระบุวันที่ก่อน ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องใช้บุพบทมารองรับ

 

  1. Saison (เซซง) ฤดูกาล

Printemps (เลอ-แพร็งตัง) ฤดูใบไม้ผลิ       Eté (เอเต้) ฤดูร้อน     Automne (โอตอน) ฤดูใบไม้ร่วง

Hiver (อิ-แวร์) ฤดูหนาว

ตัวอย่างการใช้

  1. En hiver, il neige. (อัง-นิแวร์, อิล-แนช) หิมะตกในฤดูหนาว
  2. Il fait beau en été. (อิล-เฟ-โบ-ออง-เนเต้) อากาศดีในฤดูร้อน
  3. Il fait un peu froid en automne. (อิล-เฟ-เอิง-เปอ-ฟรัว-อัง-โนตอน) อากาศหนาวเล็กน้อยในฤดูใบไม้ร่วง
  4. Il pleut au printemps. (อิล-เปลอ-โอ-แพร็งตัง) ฝนตกในฤดูใบไม้ผลิ

*สังเกตได้ว่ามีเพียงฤดูใบไม้ผลิที่ต้องใช้บุพบท “au printemps” นอกนั้นใช้ “en หมดเลยครับ

 

 

 

แบบฝึกหัดท้ายบท จงเติมคำในช่อวงว่างให้ถูกต้อง

  1. ฉันเต้นวันอังคาร = Je danse ……
  2. มาลีไปดูหนังวันเสาร์ = Malee va au cinéma ……
  3. แม่จะไปทำงานในชนบทเดือนกันยายน = ……., Ma mère va travailler à la compagne.
  4. โดเรมอนไปเมืองไทยครั้งแรกในปี 1984 = Doraemon va en Thaࢦïlande pour la première fois……
  5. ษาชอบเดินเล่นตอนเย็นในฤดูใบไม้ผลิ = Sa aime se promener le soir ………

 

[spoiler title=”เฉลยแบบฝึกหัด” open=”no” style=”fancy”]

เฉลย

  1. Mardi
  2. Samedi
  3. en septembre
  4. en 1984
  5. en printemps

[/spoiler]

 



CR   ::   บทความเรื่อง เวลา by Monthon  ,  เวลา - Quelle heure est-il? (แกล-เลอร์-เอ-ติล) กี่โมงแล้วนะ? (educatepark.com)

French -1

 French 


Les repas français

(เล เฮรอ-ปา ฟรองเซ่)

มื้ออาหารฝรั่งเศส

 


ชาวฝรั่งเศสเห็นความสำคัญในการใช้เวลาบนโต๊ะอาหารอย่างมาก


ที่เคยได้ยินมาใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมงเลยครับ


เพราะนี่คือโอกาสของการพูดคุยและสังสรรค์กัน


วันนี้จะมาดูกันว่าในหนึ่งมื้อที่ชาวฝรั่งเศสทานมีอะไรกันบ้าง


สามารถจำแนกเป็นจานหลักได้ดังนี้


1. L’entrée 2. Le plat principal 3. Le dessert


หากแต่รายละเอียดมีมากกว่านั้นอีกครับ ขอเรียงลำดับให้ดังนี้


1. Apéritif(อาเปริติฟ) หมายถึง เหล้าที่ดื่มก่อนอาหารเพื่อเรียกน้ำย่อย




เช่น เหล้าองุ่น Porto, เหล้า Suze เป็นต้น


2. Entrée(อองเทร่) หมายถึง อาหารจานเปิดตัว


Crudites


2.1 des crudités(เด ครูดิเต้) หมายถึง อาหารดิบจำพวกผักสด


เช่น des tomates(เด โตมัต) มะเขือเทศ, des concombres(เด กงก๊งเบรอะ) แตงกวา


2.2 de la charcuterie(เดอ ลา ชากูเตอครี) หมายถึง อาหารจำพวกเนื้อสัตว์


เช่น du saucisson(ดู โซซิซซง) ไส้กรอก, du jambon(ดู ชองบง) แฮม เป็นต้น


3. Plat principal(ปลา แพร็งซิปาล) หมายถึง อาหารจานหลัก


poisson-avec-legumes


ในจานอาหารหนึ่งอาจจะมีส่วนประกอบหลักยกตัวอย่างได้ดังนี้


de la viande(เดอ ลา วิออง(เดอะ) เนื้อสัตว์


de la volaille(เดอ ลา โวเล็ล(เลอะ) เนื้อสัตว์ปีก


du poisson avec des légumes(ดู ป๊วซซง อแวค เด เลกูม) เนื้อปลาและผัก


des pâtes(เด ปั๊ต(เตอะ) อาหารจานเส้น จำพวก มักกะโรนี สปาเกตตี้


du riz(ดู ครี) ข้าว


4. Salade(ซาล่าด(เดอะ) คือ สลัด





เป็นสลัดหลากหลายรูปแบบ เช่น salade verte(ซาล่าด แวค(เทอะ) สลัดผักใบเขียว ครับ


5. Fromage(ฟร็อมมาช) หมายถึง เนยแข็ง




ในรูปภาพคือเนยแข็งที่ขึ้นชื่อของฝรั่งเศส Camembert(กามังแบร์) เป็นของขึ้นชื่อจากแคว้น Normandie


ขาดไม่ได้เลยกับชนชาตินี้ หากจะเข้าสังคมในการทานอาหาร ต้องหัดทานเนยแข็งนะครับ


ในฝรั่งเศสมีเนยแข็งเป็นร้อยๆชนิด ลองหาชิมหาทานกันได้


6. Dessert(เดสแซร์) หมายถึง อาหารหวาน


gateau


ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง gateau(กาโต้) เค้ก อย่างเดียว


แต่รวมถึง glace(กลาส) ไอศครีม และ fruits(ฟรุย) ผลไม้ ด้วย


7. Digestif(ดีเชสติฟ) หมายถึง อาหารช่วยย่อย


cognac2-150x150


เป็นจำพวกแอลกอฮอล์อีกแล้วครับ เช่น เหล้า cointreau, cognac(กอนยัค) บรั่นดี เป้นต้น


8. Café(กาเฟ่) หมายถึง กาแฟ


cafe


เป็นสิ่งสุดท้ายที่เราจะรับประทานกันครับ


ทั้งนี้ทั้งนั้นเมนูอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ส่วนใหญ่จะยึดเอาตามเมนู 3 แบบข้างต้นครับ



Quels vins?

(แก็ล แว็ง)

ไวน์ชนิดไหนดี?

 


ในสังคมฝรั่งเศสไวน์มีบทบาทสำคัญอย่างมากในฐานะเครื่องดื่มที่จะต้องทานคู่กับอาหาร


แต่ไวน์ชนิดใดควรทานกับอาหารประเภทไหน เราจะมาดูกันครับ


1.Vin rouge(แว็ง ครุช) ไวน์แดง


vin-rouge


เหมาะที่จะทานคู่กับ


De la viande rouge(เดอ ลา วิออง ฮรุช) เนื้อสัตว์สีแดง


เช่น Boeuf(เบิฟ) เนื้อวัว, Mouton(มูตง) เนื้อแกะ


หรือแม้แต่ Gibier(ชิบบิเย่) สัตว์ที่ได้จากการล่า


Faisan(เฟซัง) ไก่ฟ้า และ Sanglier(ซังกลิเย่) หมูป่า เป็นต้น


2.Vin blanc(แว็ง บลัง) ไวน์ขาว


vin-blanc


เหมาะที่จะทานคู่กับ


Des fruits de mer(เด ฟรุย เดอ แมร์) อาหารทะเล


Des escargots(เด เซสกาโก้) หอย


Des poisson fumés(เด ป๊วซซง ฟูเม่) ปลาเผา รมควัน


Des poissons grillés(เด ป๊วซซง กรีเย่) ปลาย่าง


De la viande blanche(เดอ ลา วิออง บล็องช์) เนื้อสัตว์สีขาว


เช่น Porc(ปอร์) เนื้อหมู, Veau(โว) เนื้อลูกวัว, ฯลฯ


3.Vin rosé(แว็ง โรเซ่) ไวน์ชมพู


หรือ Muscat sec(มุซกา เซ็ค) ซึ่งเป็นไวน์องุ่นชนิดหนึ่งเช่นกัน


rose wine splashing on white background

rose wine splashing on white background


เหมาะที่จะทานคู่กับ


Le dessert(เลอ เดซแซร์) ขนมหวาน


หมายความว่าทานได้กับขนมหวานหลายชนิดอย่างเอร็ดอร่อยเลยครับ


4. Vin doux(แว็ง ดู) ไวน์รสหวานนุ่ม

หรือจะเป็น Liqueur(ลิเกอร์) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์รสหวาน


liqueurs


เหมาะที่จะทานคู่กับ


Le café(เลอ กาเฟ่) กาแฟ


รสชาติของไวน์หรือเหล้าหวานนี้จะได้รสชาติดีกับกาแฟรสขมแน่นอนครับ


ทีนี้เราก็รู้แล้วว่าจะทานอาหารคู่กับไวน์ให้อร่อยยิ่งขึ้น


ก็ต้องเลือกสรรให้ถูกเพื่อความละมุนสุนทรีย์ในมื้ออาหารนะครับ




La disposition à la française

(ลา ดิซโปซิซิยง อา ลา ฟรังแซส)

การจัดวางเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารแบบฝรั่งเศส

วันนี้เราจะมาดูกันว่าเวลาเราทานอาหาร มีอุปกรณ์อะไรบ้าง วางตำแหน่งใด และใช้อย่างไร


เผื่อวันใดที่เราจะต้องเป็นเจ้าบ้านรับเชิญแขกมาทานอาหาร จะได้จัดวางได้อย่างถูกต้อง


La-disposition-a-la-francaise                                

ภาชนะและตำแหน่ง

1. La fourchette(ลา ฟูร์แช็ต) ส้อม


1.1 La fourchette à viande(ลา ฟูร์แช็ต อา วิออง(เดอะ) ส้อมสำหรับเนื้อสัตว์


ตำแหน่ง : วางหงายขึ้น อยู่ทางด้านซ้ายของจาน


1.2 La fourchette à poisson(ลา ฟูร์แช็ต อา ป๊วซซง) ส้อมสำหรับปลา


ตำแหน่ง : วางถัดจากส้อมสำหรับเนื้อสัตว์ และวางหงายขึ้น


2. Le couteau(เลอ กูโต้) มีด


2.1 Le couteau à viande(เลอ กูโต้ อา วิออง(เดอะ) มีดสำหรับเฉือนเนื้อสัตว์


ตำแหน่ง : จัดวางด้านขวาของจาน และหันด้านมีคมเข้าหาจาน


2.2 Le couteau à poisson(เลอ กูโต้ อา ป๊วซซง) มีดสำหรับเฉือนปลา


ตำแหน่ง : จัดวางด้านขวาของจาน ถัดจากมีดเฉือนเนื้อสัตว์และหันด้านมีคมเข้าหาจาน


3. La cuillère à soupe(ลา กุยแยร์ อา ซุป) ช้อนสำหรับทานซุป


ตำแหน่ง : จัดวางไว้ขวาสุด หงายขึ้น ถัดจากมีดเฉือนปลา


4. La cuillère à dessert(ลา กุยแยร์ อา เดสแซร์) ช้อนสำหรับทานขนมหวาน


ตำแหน่ง : วางด้านบนของจาน ตัวช้อนหงายขึ้น


5. Le couteau à fromage(เลอ กูโต้ อา ฟรอมมาช) มีดสำหรับทาเนยแข็ง


ตำแหน่ง : วางด้านบนถัดออกไปจากช้อนสำหรับขนมหวาน หันด้านมีคมเข้าหาจาน


6. Les verres(เล แวร์) แก้ว


ตำแหน่ง : การจัดแก้วเรียงจากซ้ายไปขวา ใหญ่ไปเล็กครับ


6.1 Le verre à eau(เลอ แวร์ อา โอ) แก้วน้ำดื่ม


ตำแหน่ง : เป็นแก้วใหญ่วางด้านบนซ้ายสุด


6.2 Le verre à vin rouge(เลอ แวร์ อา แว็ง ครุช) แก้วไวน์แดง


ตำแหน่ง : วางถัดมาจากแก้วน้ำดื่ม


6.3 Le verre à vin blanc(เลอ แวร์ อา แว็ง บล็อง) แก้วไวน์ขาว


ตำแหน่ง : วางด้านขวาสุด


7. Les assiettes(เล ซัสซิแอ๊ต) จาน


ตำแหน่ง : จานอาหารจะต้องถูกจัดวางให้ห่างจากขอบโต๊ะ 1-2 เซนติเมตร


7.1 L’assiette de présentation(ลัซซิแอ๊ต เดอ เพรซองตาซิอง) ถือเป็นจานอยู่ด้านล่างสุด รองจานอื่นๆ


และจะใช้เมื่อถึงเวลาทานเนยแข็ง


7.2 L’assiette creuse(ลัซซิแอ๊ต เคริซ) จานหลุม เป็นภาชนะสำหรับทานซุป


7.3 L’assiette plate(ลัซซิแอ๊ต ปลั๊ต) จานแบน


เป็นภาชนะสำหรับอาหารหลัก เนื้อสัตว์ และเนื้อปลา


7.4 L’assiette à pain(ลัซซิแอ๊ต อา แป็ง) จานใส่ขนมปัง


วางด้านซ้ายถัดจากแก้วน้ำดื่ม อาจมีมีดทาเนยวางพาดบนจานด้วยก็ได้


เป็นยังไงบ้างครับกับความพิถีพิถันของชาวฝรั่งเศส อาจจะดูแล้วมึนงงหรือยุ่งยากเกินไป


ถึงกระนั้นเรารู้ไว้เป็นความรู้รอบตัว ไม่เสียหายอะไรจริงมั้ยครับ




Riz et Nouilles

(ครี เอ นุย)

ข้าวและก๋วยเตี๋ยว

 


ในบทความนี้ขอกล่าวถึงอาหารที่เราทานกันเป็นประจำ เป็นอาหารหลักเลยก็ว่าได้ มาดูกันว่าเค้าเรียกยังไงกันในภาษาฝรั่งเศส


เริ่มกันเลย


riz-decortique


(nm.) Riz décortiqué (ครี เดก๊อร์คติเก้) ข้าวสาร


riz-non-decortique


(nm.) Riz non décortiqué (ครี นง เดก๊อร์คติเก้) ข้าวเปลือก


สังเกตได้ว่ามีกริยา V.décortiquer แปลว่า ปอก, ลอกออก


คำว่า non แปลว่า ไม่


พอจะเข้าใจถึงความแตกต่างของสองคำนี้นะครับ


(nm.) Riz nature (ครี นาตูร์) ข้าวสวย


เห็นเพียวๆแล้วไม่รู้จะทานกับอะไรก็เอาไปผัดซะเลย


riz-sauté


(nm.) Riz sauté (ครี โซ๊ตเต้) ข้าวผัด


ข้าวผัด เราจะผัดกับอะไรดีละ


Riz sauté aux légumes (ครี โซ๊ตเต้ โอ เลกูม) ข้าวผัดผัก


Riz sauté au poulet (ครี โซ๊ตเต้ โอ ปูเล่) ข้าวผัดไก่


Riz sauté au porc (ครี โซ๊ตเต้ โอ ปอร์) ข้าวผัดหมู


ข้าวที่ทานแล้วอิ่มท้องนานต้องนี่เลย


riz-gluant


(nm.) Riz gluant (ครี กลูอ็อง) ข้าวเหนียว


หรือ Sticky Rice นั่นเอง


ต้องทานคู่กับ


Poulet grillé (ปูเล่ กรีเย่) ไก่ย่าง


Salade de papaye verte (ซาล่าด เดอ ปาปาย แวร์ค(ทึ) ส้มตำ


เมนูตอนเช้าที่หลายๆคนต้องทานคือ


soupe-au-riz


(nf.) Soupe au riz (ซุป โอ ครี) ข้าวต้ม


(nm.) Potage de riz (โปตาช เดอ ครี) โจ๊ก


มาต่อกันที่เมนูเส้น ดูซิว่ามีเมนูอะไรที่เราคุ้นเคยบ้าง

vermicelles


(nf.) Nouilles (นุย) ก๋วยเตี๋ยว


Pâte de nouilles sautées (ปั๊ต เดอ นุย โซ๊ตเต้) ก๋วยเตี๋ยวผัด




Nouilles de riz (นุย เดอ ครี) ขนมจีน


Nouilles de riz nappées de sauce (นุย เดอ ครี นั๊ปเป้ เดอ โซส) ขนมจีนราดน้ำยา


Nouilles nappées de sauce (นุย นั๊ปเป้ เดอ โซส) ราดหน้า


vermicells-aux-oeufs


Vermicelles aux oeufs (แวร์มิแซ็ล โอ เซอ) บะหมี่


Vermicelles au soja (แวร์มิแซ็ล โอ โซชา) วุ้นเส้น


Vermicelles de riz (แวร์มิแซ็ล เดอ ครี) เส้นหมี่


Salade pimentée de vermicelles au soja


(ซาล่าด ปิมองเต้ เดอ แวร์มิแซ็ล โอ โซชา)


ยำวุ้นเส้น


สุดท้ายแล้วสำหรับวันนี้


 


(nm.) Ravioli (ราวิโอลี) เกี๊ยว


มันคือแป้งบางๆที่นำมาประกบกันโดยมีไส้อยู่ข้างในครับ


วันนี้คงได้รับคาร์โบไฮเดรตกันถ้วนหน้าเลย ลองนำไปใช้กันดูนะครับ



Oeuf

(เอิฟ)

ไข่

 


ศัพท์สำหรับคนชอบไข่ ไม่ว่าจะไข่ดิบ หรือ ไข่ที่ผ่านการปรุงสุกแล้ว จะได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกันครับ

จำได้เลยครับว่าเช้าๆแม่จะต้องจ่ายตลาด และซื้อกลับมาตุนไว้ไม่ให้ขาด


oeuf


(nm.) Oeuf (เอิฟ) ไข่


Oeuf de poule (เอิฟ เดอ ปุล) ไข่ไก่


Oeuf de cane (เอิฟ เดอ กาน) ไข่เป็ด


Oeuf de quail (เอิฟ เดอ เก็ล) ไข่นกกระทา


แถมไม่ใช่แค่ฟองเดียวด้วย ต้องซื้อเป็นโหลเลย

(nf.) Douzaine (ดูแซน) แปลว่า โหล


Une douzaine d’oeufs (อวิน ดูแซน เดอ) ไข่หนึ่งโหล


Deux douzaines d’oeufs (เดอ ดูแซน เดอ) ไข่สองโหล


พอเดินกลับมาถึงบ้าน เมนูสุดฮิตที่จะทำทานแบบง่ายๆ ได้กำลังวังชายิ่งนัก

ก็มีดังนี้หละครับ

oeuf-a-la-coque


Oeuf à la coque (เอิฟ อา ลา ก๊อก) ไข่ลวก


Oeuf dur (เอิฟ ดูร์) ไข่ต้ม


สิ่งที่เห็นได้ชัดของไข่ลวกและไข่ต้ม คือ


Blanc d’oeuf (บล็อง เดิฟ) ไข่ขาว


Jaune d’oeuf (โชน เดิฟ) ไข่แดง


คำว่า Jaune แปลว่า สีเหลือง ไม่แปลกคับ เราก็เห็นอยู่ว่าไข่แดง


ออกโทนเหลืองๆส้มๆมากกว่าเสียอีก




(nf.) Omelette (ออมแล๊ต) ไข่เจียว


Oeuf au plat (เอิฟ โอ ปลา) ไข่ดาว


ศัพท์เมนูไข่ที่ผ่านกรรมวิธีที่ยุ่งยากมากขึ้น มีอะไรบ้างนะ

1.Oeuf au sirop parfumé au gingembre


(เอิฟ โอ ซีโร ปาร์คฟุมเม่ โอ แช็งช็องเบรอะ)


แปลภาษาไทยออกมาสั้นเชียว ไข่หวาน ครับ


2.Oeuf de cent ans (เอิฟ เดอ ซ็อง ต็อง)


แปลตามตัวหมายถึง ไข่ร้อยปี หรือ ที่เราเรียกว่า ไข่เยี่ยวม้า ครับ



3.Oeuf au caramel (เอิฟ โอ การาเม็ล)


ไข่ในน้ำเชื่อม ไข่ราดคาราเมล หรือ บ้านเราเรียกว่า ไข่ลูกเขย


ด้วยความที่มันมีเชื่อมหวานมาก เลยถูกเรียกแบบนั้นครับ


ทานไข่อย่างเดียวคงไม่อร่อยเท่ากับการได้เพิ่มรสชาติจากเครื่องปรุงรส

ที่เราก็คุ้นเคยกันดี


(nm.) Assaisonnement (อั๊ซเซซ็อนเนอมัง) เครื่องปรุง


กริยา V.assaisonner (อั๊ซเซซอนเน่) ปรุงรส


sauce-de-poisson-150x150


(nf.) Sauce de poisson (โซส เดอ ป๊วซซง) น้ำปลา


Sauce de poisson aux petits piments (โซส เดอ ป๊วซซง โอ เปอติ ปิม็อง) น้ำปลาพริก


Sauce au soja (โซส โอ โซชา) ซีอิ๊ว


Sauce au soja sucrée (โซส โอ โซชา ซูเคร่) ซีอิ๊วหวาน


Sauce de tomate (โซส เดอ โตมัต) ซอสมะเขือเทศ


Sauce de piment (โซส เดอ ปิม็อง) ซอสพริก


Sauce d’huître (โซส ดวิทเทรอะ) ซอสหอยนางรม



Viande et Fruit de mer

(วิอ็อง เอ ฟรุย เดอ แมร์)

เนื้อและอาหารทะเล

 


มาเพิ่มพูนคำศัพท์ด้วยโปรตีนจากเนื้อสัตว์กันดีกว่าครับ




(nf.) Viande (วิอ็อง) เนื้อสัตว์


(nm.) Boeuf (เบิฟ) เนื้อวัว


(nm.) Porc (ปอร์) เนื้อหมู


(nm.) Canard (กานาร์) เป็ด


(nm.) Poulet (ปูเล่) ไก่




หากต้องการพูดถึงลูกชิ้นว่าเป็นลูกชิ้นอะไร ให้เรียงคำดังนี้


Boulettes de + เนื้อชนิดนั้น เช่น


Boulettes de poulet (บูแล๊ต เดอ ปูเล่) ลูกชิ้นไก่


Boulettes de porc (บูแล๊ต เดอ ปอร์) ลูกชิ้นหมู


Boulettes de poisson (บูแล๊ต เดอ ป๊วซซง) ลูกชิ้นปลา


มาถึงหมวดอาหารทะเลกันบ้าง


poisson


(nm.) Poisson (ป๊วซซง) ปลา


Poisson d’eau douce (ป๊วซซง โด ดุซ) ปลาน้ำจืด


Poisson de mer (ป๊วซซง เดอ แมร์) ปลาน้ำเค็ม


Poisson-chat (ป๊วซซง ชา) ปลาดุก


(nm.) Thon (ตง) ปลาทูน่า


(nm.) Maquereau (มั๊กเกอะโร) ปลาทู


poisson-en-conserve


Poisson en conserve (ป๊วซซง ออง กงแซร์เวอะ) ปลากระป๋อง


Poisson fermenté (ป๊วซซง แฟร์มังเต้) ปลาร้า


Les-coques


(nm.) Coquillage (โกกิยาช) หอย


(nf.) Coque (ก๊อก) หอยแครง


(nf.) Huître (อวิทเทรอะ) หอยนางรม


(nf.) Moule (มุล) หอยแมงภู่


(nm.) Escargot (เอสการ์โก้) หอยทาก


Coque poché (ก๊อก โปเช่) หอยลวก


(nm.) Crabe (คร๊าบเบอะ) ปู


(nf.) Crevette (เครอแว๊ต) กุ้งฝอย, กุ้งตัวเล็ก


(nf.) Ecrevisse (เอเครอวิซ) กุ้งก้ามกราม


(nf.) Langouste (ล็องกุซเตอะ) กุ้งทะเลใหญ่, กุ้งล็อบสเตอร์




Les différents types de chocolat

(เล ดิฟเฟฮครัง ติ๊ป เดอ โชโกลา)


หลากหลายรูปแบบในความเป็น “ช็อกโกแลต”

 


หากแบ่งตามชนิดแล้ว ช็อกโกแลตก็จะถูกแบ่งออกได้ 3 ชนิดใหญ่ๆได้แก่




(nm.) Chocolat noir (โชโกลา นัวร์) ช็อกโกแลตดำ 


ประกอบด้วยโกโก้อย่างน้อย 43% หากชอบความขม(Amertume) ปริมาณโกโก้จะอยู่ที่ 60 – 80%


รสชาติจะออก Amère (อะแมร์) ขม ครับ


Chocolat-au-lait


(nm.) Chocolat au lait (โชโกลา โอ เล) ช็อกโกแลตนม


ประกอบด้วยโกโก้ 25% และผลิตภัณฑ์นม 14%


รสออกหวานมัน


Sucré (ซูเคร่) หวาน




(nm.) Chocolat blanc (โชโกลา บล็อง) ช็อกโกแลตขาว


จะไม่มีส่วนผสมโกโก้ทั้งแบบเนื้อครีมและผงมาก


ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์นมอย่างน้อย 14%, เนยโกโก้อย่างน้อย 20%, น้ำตาล(Sucre) และแต่งกลิ่นวานิลลา


รสชาติของช็อกโกแลตนมและช็อกโกแลตขาว มักจะเป็นแบบ


Crémeux (เครเมอ) มีหัวนมมาก, Caramélisé (กาคราเมลิเซ่) ออกเนื้อคาราเมล


และ Beurré (เบอเคร่) รสสัมผัสแบบเนย


ช็อกโกแลตที่ถูกนำมาแปรรูปในรูปลักษณ์ต่างๆ มีอะไรบ้าง?

 




Beurre de cacao (เบอร์ เดอ กากาโอ) เนยโกโก้


ประกอบจากส่วนผสมของ


Huile de palme (อุย เดอ ปาล์ม) น้ำมันปาล์ม, ไขมันพืช


Beurre de karité (เบอร์ เดอ การิเต้) เนยจากต้น Karité หรือ Shea Butter นั่นเอง


ต้น Karité เรียกอีกอย่างว่า Tree of Life ปลูกมากอยู่ในทวีปแอฟริกาตะวันตก


Bonbon-du-chocolat(nm.) Bonbon de chocolat (บงบง เดอ โชโกลา)



หมายถึง ลูกอม หรือ ขนมช็อกโกแลตแบบพอดีสำหรับคำหนึ่ง


(nf.) Bouchée (บุชเช่) คำหนึ่ง


ที่ประกอบด้วยไส้แบบ Ganache หรือ Praliné สอดอยู่ข้างในแล้วเคลือบด้วย


Couverture de chocolat


คำกริยา V.enrober (อ็องโรเบ้) ห่อหุ้ม, เคลือบ




(nf.) Couverture de chocolat (กูแวร์ตู เดอ โชโกล่า)


คือ ช็อกโกแลตที่ใช้เคลือบ คลุม ราดหน้าขนมหวาน


ที่มี่ส่วนประกอบจากโกโก้ เนยโกโก้ น้ำตาล และนมผง


อาจเป็นช็อกโกแลตดำ หรือช็อกโกแลตนมก็ได้แต่จะต้องประกอบด้วยเนยโกโก้ 32% เป็นอย่างน้อยเพื่อความเหลว นวล ละเอียด




Ganache (กานาช) คือ ช็อกโกแลตที่มีรูปและเนื้อรสสัมผัสเนื้อครีม(Crème)


ที่ไว้ใช้สอดไส้ทั้งในเนื้อเค้ก ในช็อกโกแลต หรือขนมชนิดอื่นๆ


อาจถูกปรุงแต่งด้วยน้ำหมักต่างๆ เช่น


(nf.) Infusion de menthe (แอ็งฟูซิยง เดอ ม็องเธอะ) น้ำหมักกลิ่นมิ้นท์


(nf.) Infusion de cannelle (แอ็งฟูซิยง เดอ กานแนล) น้ำหมักกลิ่นอบเชย


หรือเติมแต่งด้วยกลิ่นอื่นๆ เช่น


Zestes de citron (แซสเตอะ เดอ ซีทรง) เปลือกมะนาว


Café frais (กาเฟ่ เฟร) กาแฟสด  เป็นต้น


Praliné1


Praliné (พราลิเน่) คือ ไส้ในของช็อกโกแลตที่ประกอบด้วยถั่วหรืออัลมอนด์


(nf.) Noix (นัว) ถั่ว = Walnut เช่น


Pistache (ปิสต๊าช)  ถั่วพิสทาชิโอ


Pécan (เปกัง) ถั่วพีแคน


หรือจะใส่เป็นผลไม้แห้งก็ได้


Fruit sec (ฟรุย เซค) ผลไม้แห้ง




Truffe (ทรุฟ)


คือ เนื้อ Ganache ที่ถูกตีจนเป็นฟองให้เนื้อฟู แล้วโรยด้วยผงโกโก้


Poudre de cacao (ปูร์เดรอะ เดอ กากาโอ) ผงโกโก้


Poudre (ปูร์เดรอะ) แป้ง, ผง






CR   ::      มื้ออาหารฝรั่งเศส เรียนภาษาฝรั่งเศสด้วยตนเอง (educatepark.com)