Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2562

10 Q หรือ 10 Quotient ของทฤษฏีการเรียนรู้และปัญญา คืออะไร

10 Q หรือ 10 Quotient ของทฤษฏีการเรียนรู้และปัญญา  คืออะไร























 1. IQ : Intelligence Quotient คือ ความฉลาดทางสติปัญญา คือระดับเชาวน์ปัญญาที่วัดออกมาเป็นค่าสถิติ ระดับ IQ ปกติของคนเราอยู่ที่ช่วง 90 - 110 สูงกว่าคือสติปัญญาดีหรือถึงระดับอัจฉริยะอย่างที่เราเรียกๆ กัน แต่ถึงแม้จะมีการทดสอบ IQ จนได้ผลมาในระดับหนึ่งแล้ว ก็ยังต้องดูปัจจัยอื่นๆ เช่น ตอนทำการทดสอบกำลังป่วย แบบทดสอบไม่น่าเชื่อถือ ฯลฯ ด้วย ถึงจะบอกได้ว่าคนผู้นั้นจะเป็นบุคคลที่มีระดับสติปัญญาอยู่ในกลุ่มพิเศษใดหรือไม่ (ไม่ว่าด้อยหรือสูง) ซึ่งต้องมีการจัดการดูแล จัดการศึกษาให้เหมาะสมต่อไป ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ คือ ทฤษฏีพหุปัญญา ของโฮวาร์ด การ์ดเนอร์ ที่แบ่งความฉลาดของคนเราออกเป็นหลายๆ ด้าน เช่น ดนตรี กีฬา การเข้าใจตนเอง ก็เป็นทฤษฏีที่คุณหนูดี วนิษา เรซ นำมาเผยแพร่ให้เราคนไทยรู้จักกันในวงกว้าง 


          2. EQ : Emotional Quotient  คือ ความฉลาดทางอารมณ์ เป็นความสามารถในการดูแลกำกับอารมณ์ความคิดที่ส่งผลไปสู่พฤติกรรมตนเอง คนมีอีคิวสูงจะมีมนุษยสัมพันธ์ดี ทำงานเป็นทีมได้ค่ะ เจ้า EQ นี้มีมานานแล้ว โดยนักจิตวิทยาชาวอิสราเอลชื่อ Reaven Bar-on ที่สังเกตว่าผู้มี IQ สูง มักไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตเพราะไม่มี Emotion Maturity หรือความเป็นผู้ใหญ่ทางอารมณ์ คนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต้องมีความสามารถในการควบคุมตนเอง มีแรงกระตุ้นตนเองที่จะทำสิ่งดีๆ มีความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้ รวมถึงสามารถเข้ากับสังคมได้และรักษาความสัมพันธ์กับคนในสังคม  อีคิวดีจะทำให้เรามีความสุข 


  

          3. MQ : Moral Quotient คือ ความฉลาดทางคุณธรรม เรียกว่าการมีคุณธรรมนั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้และถูกปลุกฝังกันมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เป็นความฉลาดที่เกิดจากการหล่อหลอมจากสภาพสังคมค่ะ และต้องได้รับการอบรมสั่งสอนอย่างต่อเนื่องด้วย คนที่มี MQ สูงจะเป็นคนที่ควบคุมตนเองไม่ให้ทำสิ่งผิดได้ ตั้งแต่กิริยาวาจา กาลเทศะ ความคิดและพฤติกรรม ไม่คอรัปชั่น ไม่รับสินบน เชื่อมั่นในเกียรติ ศักดิ์ศรี ความถูกต้องและเชื่อมั่นในคำพูดตนเอง


          4. SQ : Social Quotient  คือ ความฉลาดในการเข้าสังคม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี คล้ายคลึงกับ EQ  แต่ SQ หมายรวมถึงเรื่องกายภาพที่จำเป็นต่อการเข้าสังคมด้วย ตั้งแต่เรื่องวาจา บุคลิกภาพ จนถึงการแต่งตัวเพื่อเข้าสังคมเลยทีเดียว SQ เป็นเรื่องใหม่ที่มีขึ้นในกลุ่ม Quotient นี้ โดยเฉพาะในกลุ่มสังคมการทำงาน เพราะเจ้า SQ นี้ หมายความถึงคุณลักษณะในการทำงาน ความซื่อสัตย์และความเข้าใจต่อหน่วยงาน  คนที่มี SQ จะเข้ากับผู้อื่นได้ ทำงานได้บรรลุผลของหน่วยงาน (ถ้าเป็นนักเรียน แก้ปัญหาการบ้านได้ถูกต้องและนำไปใช้ประโยชน์ได้) สามารถปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของสังคมได้ ซึ่งลักษณะที่จะทำให้เรามี SQ ก็ต้องปรับบุคลิกให้เหมาะสม ยิ้มแย้มแจ่มใส ท่าทางดี  อ่อนน้อม ให้ความร่วมมือ และรับผิดชอบ 

 


           5. CQ : Creativity Quotient  คือ   เป็นความฉลาดด้านความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการในทางที่ดี เป็นความสามารถความฉลาดที่จะพัฒนาสมองซีกขวาได้ดีทีเดียว และเป็นความสามารถภายใน ที่บางครั้งก็เกิดจากการปิ๊งแวบ หลายครั้งที่เราใช้สมองคิดอะไรไม่ได้ แต่พอเราปล่อยวางมันสักครู่ หรือทำลืมๆ  จู่ๆ เราก็ปิ๊งไอเดียขึ้นมาได้ แต่การที่จะฝึกให้เราความสามารถด้านนี้ก็ต้องฝึกการคิดเป็นภาพ กล้าคิดฉีกกรอบ จินตนาการเรื่องต่างๆ อย่างมีจุดมุ่งหมาย


  

           6. PQ : Play Quotient คือ ความฉลาดที่เกิดจากการเล่น เป็นหลักการศึกษาข้อหนึ่งเลยทีเดียวที่ว่าด้วยการเล่นทำให้เกิดการเรียนรู้ Play + Learn = Plearn (เพลิน) เป็นศัพท์ใหม่ที่เข้าใจเด็กไทยโดยแท้จริง ฮ่าๆๆ พ่อแม่ต้องควรเล่นกับลูกเล็ก พอโตขึ้นก็ได้เล่นกับเพื่อน เป็นวัยรุ่นได้ทำกิจกรรมที่โรงเรียน/มหาวิทยาลัย ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดคุณสมบัติที่ดีในตัวคนคือเป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตามที่ดี เป็นหลักสำคัญที่จะทำให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นคนทำงานที่มีประสิทธิภาพ เพราะการเล่นของเด็กก็เหมือนการทำงานจริงของผู้ใหญ่ เป็นภาพจำลองของกันและกัน 


          7. AQ : Adversity Quotient คือ  เป็นความสามารถในการเอาชนะต่ออุปสรรค มุ่งมั่นต่อไปแม้ต้องอดทนอดกลั้นฝ่าฟันต่อปัญหา AQ เป็นปัจจัยที่ทำให้คนเราประสบความสำเร็จ ซึ่งขึ้นอยู่กับทั้งสิ่งที่มาแต่เกิดอย่างเรื่องพันธุกรรม และสิ่งที่เรียนรู้ภายหลังจากการการเลี้ยงดูและสังคมที่จะทำให้คนคนหนึ่งมีความสามารถในการอดทนต่อความยากลำบากได้ ทั้งร่างกายและจิตใจ  ว่ากันว่าคนมี AQ สูงจะสุขภาพแข็งแรง พร้อมสู้ต่อทุกงานเสมอ ต่างจาก MQ ในแง่ที่ว่าไม่ใช่แค่เรื่องจิตใจเท่านั้น แต่รวมถึงเรื่องร่างกายด้วย แต่ก็ไม่ถึงกับภาวะใส่ใจสุขภาพร่างกาย


          8. HQ : Health Quotient คือ  เป็นความสามารถในการดูแลสุขภาพของตนเอง กินอาหารที่ดี อยู่ในที่ที่ดี ไม่แออัด ขับถ่ายดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนเพียงพอ ดูแลรักษาความสะอาด คำนึงถึงเรื่องสุขอนามัยรอบตัว  รวมถึงมีงานอดิเรกที่ดี ทำแล้วได้ประโยชน์ รู้จักผ่อนคลายตนเองให้หายเครียดอีกด้วย 


           9. OQ : Optimist Quotient คือ  ความฉลาดในการมองโลก พร้อมเปลี่ยนมุมมองใหม่เพื่อเผชิญหน้าต่อทุกสถานการณ์ คนที่มี OQ จะเป็นคนที่เชื่อในตนเอง ไม่มองตนเองด้อยค่า กล้าคิดใหม่ทำใหม่ เมื่อผิดพลาดก็พร้อมยอมรับสิ่งผิดและแก้ไขตนเอง เป็นการมองทุกสิ่งในแง่ดีมากกว่าแง่ร้าย  


  

          10. TQ : Thinking Quotient   คือ  ความสามารถในการคิด และคิดเป็นประโยชน์ก่อคุณค่า ในแง่ของการคิดแล้วผู้รู้เขาก็แบ่งการคิดออกเป็นหลายลักษณะที่ทำให้การคิดนั้นมีคุณค่านำไปใช้ได้เกิดประโยชน์ต่อการงานต่างๆ อย่างความสามารถในการคิดวิเคราะห์เแล้ว คิดสังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดประยุกต์ ฯลฯ ซึ่งคนที่มี Q หรือฉลาดในการคิดนี้ จะเป็นคนที่แก้ปัญหาต่างๆ ในทุกสถานการณ์ได้ สามารถคิดไตร่ตรองสิ่งถูกผิด และคิดเลือกทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นได้ 


แหล่งข้อมูล:
     
สมชาติ กิจยรรยง.12 Q ที่ดี เพื่อสร้างชีวีให้มีความสุข.กรุงเทพฯ : พาวเวอร์ฟูล ไลฟ์, 2554.
      http://web.childrenhospital.go.th/kmpeople/images/stories/Media_Knowledge/mc003.pdf





วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2562

10Q คืออะไร มารู้จักกับ 10Q ที่เด็กๆ ควรจะมี

10Q คืออะไร  มารู้จักกับ 10Q ที่เด็กๆ ควรจะมี



































10Q ความฉลาดรอบด้าน  ที่เด็กๆ ควรจะมี


“เรียนดี มารยาทไม่ดี เห็นแก่ตัว สมแล้วหรือกับคุณค่าของความเป็น “คน”


ปัญหาการเรียนการสอนของครูอาจารย์ข้อหนึ่งที่สำคัญ ก็คือ การตอบรับการเรียนรู้ของเด็กไม่เท่ากัน เด็กบางคนเรียนรู้ได้เร็ว เด็กบางคนเรียนรู้ได้ช้า ต้องมีการอธิบายซ้ำหลายครั้งจึงจะเข้าใจ ซึ่งสาเหตุนี้ คือ ความชาญฉลาดด้านปัญญา ความทรงจำ (IQ) ของเด็กที่แตกต่างกัน นั่นเอง


อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้ของคนเรา ก็คือ IQ หรือความฉลาดด้านสติปัญญา มีปัญญาดี แต่ความฉลาดด้านปัญญาเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่สุดของความเป็นคน  การที่คนเราจะเป็นคนที่สมบูรณ์ จำเป็นจะต้องมีความฉลาดรอบด้าน หรือเรียกว่าเป็น “ผู้ชนะ 10Q” ที่มีความฉลาดครบองค์ประกอบของ 10Q อย่างประสมประสาน


10Q คืออะไร หลายๆ ท่านอาจสงสัย วันนี้จะขอตอบให้ทุกท่านได้ทราบโดยกระจ่างดังนี้ค่ะ 10Q คือ องค์ประกอบความฉลาดรอบด้านทั้ง 10 ประการ ที่ควรมีอยู่ในตัวเด็ก ซึ่ง 10Q  นั่น ถูกพัฒนาขึ้นมาจากประสบการณ์ของสองนักวิจัยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการศึกษา คือ ดร.พรมณี ขำเลิศ และ รศ.ดร.ดำรงค์ วัฒนา โดย 10Q ประกอบไปด้วย


  1. AQ (Adversity Quotient)                  มุ่งมั่น                 ฉลาดในการพยายามแก้ปัญหา มุ่งมั่น
  2. C1Q (Creativity Quotient)                สร้างสรรค์            ฉลาดในการคิด ริเริ่มสร้างสรรค์
  3. C2Q (Communication Quotient)     สื่อสารเก่ง            ฉลาดในการสื่อสาร การใช้ภาษา
  4. EQ (Emotional Quotient)                 อารมณ์ดี             ฉลาดในการจัดการอารมณ์ของตัวเอง ร่าเริง
  5. FQ (Financial Quotient)                   ร่ำรวย                ฉลาดในการบริหารจัดการการเงิน
  6. HQ (Health Quotient)                       สุขอนามัยที่ดี        ฉลาดในการสร้างสุขอนามัยที่ดี
  7. IQ (Intelligence Quotient)                มีสติปัญญา          ฉลาดทางสติปัญญา หัวไว มีเหตุผล
  8. MQ (Moral Quotient)                        มีคุณธรรม            ฉลาดในการมีคุณธรรม ศีลธรรม จิตใจดี
  9. SQ (Social Quotient)                          เจ้าเสน่ห์             ฉลาดในการรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
  10. TQ (Technology Quotient)                ไฮ-เทค               ฉลาดในการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์




เรามาลองตรวจสอบ กันว่าลูกหลานของเรา มีองค์ประกอบของ 10Q ครบหรือยัง หรือว่า เขามี Q ด้านไหนที่เด่น ด้านไหนที่ด้อย เราจะได้มาวางแผนร่วมกันเพื่อปรับปรุง Q ให้สมดุล เพื่ออนาคตของเด็กๆ ที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ ดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขในยุคโลกาภิวัตน์ ที่สังคมกำลังถามหาคุณธรรมและจริยธรรม

ที่มา  ::  https://10qweb.wordpress.com/page/1/

แม่ควรสอน… EF EQ IQ สำคัญต่อลูก อย่างไร?

แม่ควรสอน… EF EQ IQ สำคัญต่อลูก อย่างไร?

ef eq iq


อนาคตอันสดใสของลูกน้อย คือสิ่งที่ผู้เป็นแม่ทุกคนเฝ้าฝันอยากเห็น แต่ด้วยการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงการวัดค่ามาตรฐานต่าง ๆ อันมากมายในปัจจุบันนี้ ทำให้คุณพ่อคุณแม่ต่างก็ต้องปวดหัวว่า ควรจะเตรียมความพร้อมให้กับลูกน้อยในด้านใดบ้าง และเรื่องไหนที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะในเรื่องสำคัญอย่าง IQ และ EQ ไหนยังจะมีคำใหม่อย่าง EF อีก แต่ละอย่างนั้นสำคัญอย่างไร และระหว่าง EF EQ IQ อะไรสำคัญกว่ากัน วันนี้ เรามีคำตอบมาให้แล้ว

มาทำความรู้จักกับ... EF EQ IQ

IQ

ไอคิว หรือ Intelligence Quotient คือ ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา รวมถึงการคิด การเชื่อมโยง การใช้เหตุผล การคำนวณ เป็นความสามารถที่สามารถวัดค่าออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้ ด้วยแบบทดสอบทางสติปัญญา โดยการคำนวณระดับของไอคิว จะเป็นการเทียบระดับการเรียนรู้ หรือพัฒนาการของสมองว่า อยู่ในระดับไหนเมื่อเทียบกับอายุจริง โดยคนส่วนใหญ่ มีระดับไอคิวอยู่ระหว่าง 90-110 คนที่มีระดับไอคิวสูง จะเรียนหนังสือเก่ง สมองรับรู้ได้ว่องไว โดยระดับค่าไอคิวทั้งหมด มีดังนี้
ระดับค่าไอคิว 
• ฉลาดมาก ( very superior) 130 ขึ้นไป
• ฉลาด ( superior) 120-129
• สูงกว่าปกติ ( bright normal) 110-119
• ปกติ ( normal) 90-109
• ต่ำกว่าปกติ ( dull normal) 80-89
• คาบเส้น ( borderline) 70-79
• ปัญญาอ่อน ( mental retardation) ต่ำกว่า 70
ระดับไอคิว เป็นศักยภาพทางสมองที่ติดตัวมาแต่กำเนิด และอาจแก้ไขได้ยาก แต่คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถจัดสภาพแวดล้อม เพื่อช่วยพัฒนาสมองให้ลูกได้ ด้วยการกระตุ้นอย่างเหมาะสม

EQ

อีคิว หรือ Emotional Quotient คือ ความฉลาดทางอารมณ์ หรือ ความสามารถทางอารมณ์ เป็นความสามารถในการรับรู้ และเข้าใจอารมณ์ทั้งของตัวเอง และผู้อื่น ตลอดจนสามารถปรับ หรือควบคุมอารมณ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้
กรมสุขภาพจิต ได้มีการพัฒนาแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ โดยจะประเมินจากความสามารถ 3 ด้าน คือ ดี เก่ง และ สุข
ดี - ควบคุมอารมณ์ และความต้องการของตนเองได้ เห็นใจผู้อื่น มีความรับผิดชอบ
เก่ง - รู้จักตนเอง มีแรงจูงใจในตนเอง สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาได้ มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
สุข - ภูมิใจในตนเอง พอใจในชีวิต มีความรู้สึกสุขสงบ
ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยสิ่งยั่วยุ ล่อตา ล่อใจ ซึ่งอาจทำให้เด็กหลงไปในทางที่ผิดได้ EQ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปกครองจำเป็นต้องสอนให้เด็กเข้าใจ เพื่อรู้จักแยกแยะ และเรียนรู้ในสิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ

EF

EF หรือ Executive Functions เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) หรือการทำงานของสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านความคิด ความรู้สึก และการกระทำ รวมไปถึงการไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย การวางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำ และเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่าง ๆ และการทำสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอนจนสำเร็จ
โดย EF ประกอบไปด้วยทักษะ 9 ด้าน ได้แก่
1. Working memory - ความจำที่นำมาใช้งาน
2. Inhibitory Control - การยั้งคิด ไตร่ตรอง
3. Shift / Cognitive Flexibility - การยืดหยุ่นทางความคิด
4. Focus / Attention - การใส่ใจจดจ่อ
5. Emotional Control - การควบคุมอารมณ์
6. Planning and Organizing - การวางแผน และการจัดระบบการทำงาน
7. Self -Monitoring - การรู้จักประเมินตนเอง
8. Initiating - การริเริ่ม และลงมือทำงานตามที่คิด
9. Goal-Directed Persistence - ความพากเพียร เพื่อให้จุดมุ่งหมายประสบความสำเร็จ
จะเห็นได้ว่า คุณลักษณะของ EF นั้น ต่างก็เป็นทักษะที่ทุกคนต้องใช้ และมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในชีวิต มีงานวิจัยออกมาชี้ชัดแล้วว่า ช่วงวัย 3-6 ปี เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด ในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก คุณพ่อคุณแม่จึงควรทำความเข้าใจหลักการพัฒนาทักษะ EF ให้ชัดเจน แล้วสังเกตว่า ลูกมีจุดแข็ง EF ในด้านใด มีจุดอ่อนด้านใด เพื่อฝึกฝนเสริมสร้างในด้านนั้น โดยพัฒนาผ่านประสบการณ์ในชีวิตจริง ทั้งที่บ้าน และที่โรงเรียน

แล้วระหว่าง EF EQ IQ อะไรสำคัญที่สุด?

เนื่องจากไอคิวสามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ และเป็นสิ่งที่ส่งผลที่มีการวัดค่าได้อย่างชัดเจน ซึ่งก็คือผลการเรียน คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญกับไอคิวมากกว่าอย่างอื่น เพราะเมื่อเด็กเรียนเก่ง ก็จะมีแต่คนชื่นชม ต่างจากเด็กที่เรียนได้ระดับปานกลาง หรือเด็กที่มีผลการเรียนแย่ มักไม่ค่อยเป็นที่สนใจ หรือถูกดุว่า ทั้งที่เด็กที่ไม่เก่งในด้านวิชาการ อาจจะมีความสามารถในด้านอื่นได้ เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ
ส่วนอีคิว แม้ว่าจะได้รับความสนใจ และมีการให้ความสำคัญมากขึ้นในช่วงหลัง เพราะเป็นความสามารถในการควบคุมอารมณ์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่น ๆ ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ในขณะที่ทักษะ EF กลับยังไม่ค่อยมีคนรู้จักนัก แต่ก็... มีนักวิชาการระดับโลกออกมาบ่งชี้แล้วว่า ทักษะ EF นั้น มีความสำคัญมากกว่าทั้ง IQ และ EQ เนื่องจากเป็นทักษะสำคัญในการชีวิตที่ทุกคนต้องมี เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นทักษะที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อความสำเร็จในชีวิตของลูกน้อย
EF, Emotional Quotient, EQ, Executive Functions, Intelligence Quotient, IQ, MQ  ,  กรมสุขภาพจิต, กระบวนการทางความคิด, การคำนวณ, การคิด, ความฉลาดทางอารมณ์, ความสามารถทางอารมณ์, ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา, ดี เก่ง สุข, ทักษะการใช้ชีวิต, สติปัญญา, สมองส่วนหน้า, เรียนหนังสือเก่ง, ไอคิวสูง

ที่มา  ::    https://www.gedgoodlife.com/lifestyle/5722-ef-eq-iq/