Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สอนลูกจับดินสออย่างถูกต้อง

สอนลูกจับดินสออย่างถูกต้อง
Teaching a Child To Hold a Pencil



I cannot take an ounce of credit for today's little tip--my son's preschool teacher taught it to me years ago.  It's such a good one, I couldn't keep it to myself.

You probably know how hard it can be to communicate to a child exactly how a pencil should sit properly in his or her little hands.  My son's teacher told me to do it this way:

1.  Take a Kleenex and tear it two pieces (a full Kleenex is too large, so just use the half piece for this trick.)

2.  Have the child pinch the Kleenex piece in his/her pinky and ring finger, like this:

วิธีทำคือ

1) เอากระดาษทิชชู่มา แบ่งออกเป็นสองชิ้น แล้วทำให้เป็นแท่งเล็กๆ บางคนก็ใช้เศษฟองน้ำแทนค่ะ

2) ให้ลูกจับทิชชู่ด้วยนิ้วก้อยกับนิ้วนาง ตามรูปค่ะ


Hands2


3.  While the child is still pinching the Kleenex in those two fingers, tell him to hold the pencil in the remaining three fingers.
3) ในขณะที่ลูกหนีบเศษกระดาษทิชชู่อยู่นั้น ก็บอกให้ลูกจับดินสอด้วยนิ้วมือที่เหลือ

Hands3_copy


4.  Remarkably, as long as the Kleenex is still "occupying" their 4th and 5th fingers, the child will naturally hold the pencil the right way. 
4) ไม่อยากเชื่อก็ต้องเชื่อล่ะค่ะว่า ในขณะที่นิ้วนางกับนิ้วก้อยหนีบกระดาษทิชชู่อยู่...ลูกเราก็จะจับดินสอได้อย่างถูกต้อง

Hands4


Really!  It works!



ที่มา  ::  http://rocksinmydryer.typepad.com/shannon/2007/07/works-for-me-te.html
http://topicstock.pantip.com/family/topicstock/2011/11/N11312845/N11312845.html






เมื่อหนูเริ่มหัดขีดเขียน

เมื่อหนูเริ่มหัดขีดเขียน






คุณแม่หลายคนมีปัญหาว่า ทำไมน้า!! เวลาฝึกหัดให้ลูกเขียนหนังสือทำไมยากจัง เหมือนเข็นภูเขาขึ้นมาอยู่บนครก อิ อิ ทั้งท่าทางในการจับดินสอ การฝึกเขียนในลักษณะต่างๆ แม้กระทั่งการสร้างแรงจูงใจในการเขียน ก็มีส่วนสำคัญในการฝึกให้ลูกเป็นเด็กรักการเขียนจนเติบโตค่ะ



ท่าทางการจับดินสอ 


สังเกตได้ว่า ท่าทางเริ่มต้นสำหรับการจับดินสอของเด็กทุกๆ คน มักจะจับดินสอแบบกำทั้งมือ ซึ่งจะทำให้ใช้กำลังมาก เวลาเขียนก็จะใช้ไหล่ในการเคลื่อนไหว การจับดินสอที่ผิดจะทำให้การเขียน ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะจะใช้แรงมากในการจับเป็นเหตุให้มือและแขนจะล้าได้ง่ายค่ะ จนเมื่ออายุ 4 ปีนั่นแหล่ะค่ะ ถึงจะมีพัฒนาการไปสู่การจับดินสอที่ดีขึ้น
ซึ่งท่าทางการจับดินสอที่มีประสิทธิภาพที่สุดเรียกว่า “การจับ 3 นิ้ว” (Tripod grasp )

การจับในลักษณะนี้คือ



  • เด็กถือดินสอไว้ด้วย 3 นิ้ว คือนิ้วกลาง นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้

  • ดินสอจะอยู่บนข้อนิ้วกลาง ขณะที่จะถูกบีบอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้

  • นิ้วก้อยและนิ้วนางจะวางพักอยู่บนโต๊ะ

การจับในลักษณะนี้มีประสิทธิภาพเพราะ ใช้แรงในการเขียนน้อยมากค่ะ ซึ่งทำให้มือไม่ล้าง่ายและทำให้มีการเคลื่อนไหวที่สะดวกขึ้น



พัฒนาการด้านการเขียน


การเขียนไม่ใช่แค่สอนให้เด็กแค่จับดินสออย่างเดียวแล้วจะเขียนได้เลย หากแต่ต้องมีทักษะที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันอยู่ซึ่งแยกออกจากกันไม่ได้ค่ะ

10 - 12 เดือน ขีดเขียนเส้นขยุกขยิก

1 - 2 ปี พัฒนาจากเส้นขยุกขยิกเป็นการเลียนแบบเส้นแนวตั้ง เส้นแนวนอน คุณแม่สามารถวาดรูปให้เขาฝึกวาดตามก็ได้ค่ะ

2 - 3 ปี ลอกแบบเส้นแนวตั้ง และเส้นแนวนอน โดยไม่ต้องให้ดูในขณะวาดได้

3 ปี ลอกแบบรูปวงกลม

3 - 4 ปี ลอกแบบเครื่องหมายบวกและกากบาท

4 - 5 ปี ลอกแบบเส้นเฉียงและสี่เหลี่ยมจัตุรัส

5 - 6 ปี ลอกชื่อตัวเอง และรูปที่มีความสลับซับซ้อนขึ้นได้ เช่น แบบรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมเปียกปูน ฯลฯ

6 - 7 ปี ลอกแบบอักษรและตัวเลข เขียนตัวหนังสือได้ตามขนาดปกติ



 
กิจกรรม...เมื่อเริ่มขีดเขียน


            ทักษะหลายๆ อย่างผ่านจากกิจกรรมหลากหลาย ซึ่งเป็นการช่วยเตรียมความพร้อมในการส่งเสริมพื้นฐานทางด้านการเขียน ก่อนลูกถึงวัยเข้าเรียนค่ะ
 


  • ใช้คีมหนีบขนาดใหญ่ หนีบเก็บของ เช่น คีบถั่ว คีบเหรียญ คีบลูกบาศก์

  • กิจกรรมการร้อยและการเย็บ เช่น ร้อยลูกปัด ร้อยมักกะโรนี

  • ตัดแป้งโดด้วยมีดพลาสติดหรือที่ตัดพิซซ่าโดยจับในท่าจับมีดหั่นเนื้อ

  • ระบายสีบนกระดาษที่วางบนขาตั้งภาพ

  • เล่นเกมต่อจุดโดยการลากเส้นต่อจุดจากซ้ายไปขวาหรือบนลงล่าง




เมื่อลูกถนัดมือซ้าย?


            ก็ไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่า ทำไมเราถนัดมือซ้ายได้ แม้จะเคยมีการศึกษาวิจัยกันมาบ้างค่ะ บ้างก็ว่าเกิดจากพันธุกรรม แต่ก็มีคนอีกจำนวนร้อยละ 84 ที่พ่อแม่ถนัดขวาและคู่แฝดประมาณร้อยละ 12 จะถนัดใช้มือคนละข้าง ซึ่งคอนเฟิร์มได้แน่นอนว่า ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติแต่อย่างใด แต่ก็มีอุปสรรคในการใช้ชีวิตบ้างค่ะ เพราะสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ออกแบบมาสำหรับคนถนัดขวา ลองจินตนาการดูเล่นๆ ว่า ถ้าจับเมาส์คอมพิวเตอร์ด้วยมือซ้าย ก็ดูแปลกหูแปลกตาใช่เล่นไม่เบาค่ะ


เริ่มต้นดีมีชัยกว่าครึ่ง

            ก็มีข้อควรระวังสำหรับการเขียนอยู่อย่างหนึ่งค่ะ คือต้องเริ่มต้นจับดินสอให้ถูกต้อง จัดท่านั่งที่เหมาะสม และเขียนจากทิศทางที่ถูกต้อง เพราะหากเริ่มต้นผิด ก็อาจจะผิดไปจนเติบโตได้ ดังสุภาษิตที่ว่า ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก

ที่มา   ::    http://www.wattanasatitschool.com
 
 
 

วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บ๊าย บาย นมขวดกันดีกว่า

บ๊าย บาย นมขวดกันดีกว่า





บ๊าย บาย นมขวดกันดีกว่า (Mother&Care)


         หลังขวบปีแรกไปแล้ว ลูกน้อยควรเลิกดูดนมจากขวด เพราะหากคุณแม่ปล่อยให้ลูกติดใจนมขวดนานวันเข้า อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพฟันได้ ดังนั้น เรามีวิธีที่คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปปรับใช้มาบอกค่ะ


ทำไมต้องเลิกนมขวด

         การฝึกให้ลูกน้อยถอยห่างขวดนม สามารถเริ่มได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนเป็นต้นไป แต่ไม่ควรเกินหนึ่งปีครึ่ง โดยเปลี่ยนจากดูดนมขวด หลังมื้ออาหารมาดื่มจากถ้วยหัดดื่มแทน ควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปจะสามารถช่วยให้ลูกเลิกนมขวดได้เอง


         ในทางตรงกันข้าม ถ้าลูกน้อยของคุณแม่ติดอกติดใจนมขวดขึ้นมา ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรบ้าง ?


         การดูดแต่นมทำให้อิ่มง่าย ลูกไม่ยอมกินข้าว ส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหารและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย

         นมมีกากใยอาหารที่น้อย เมื่อกินนมอย่างเดียวอาจมีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย ท้องผูกได้ง่าย

         รสหวานของนม บวกกับพฤติกรรมบางอย่าง เช่น นอนหลับคาขวดนม คราบนมจึงติดอยู่ที่ฟัน ทำให้ฟันผุ

         หากเลย 3 ปีแล้ว ลูกยังเลิกไม่ได้ อาจทำให้ฟันมีรูปร่างผิดปกติ เช่น ฟันยื่น




เทคนิคบอกลาขวดนม


แบบทดแทน


         ให้ลูกมีส่วนร่วมช่วยเลือกแก้วหรือหาหลอดมาใช้ ก็มีส่วนดึงความสนใจให้ลูกเลิกนมขวด

         ฝึกการใช้แก้ว ให้ลูกจับแก้วเปล่าใบเล็ก ๆ โดยคุณพ่อคุณแม่ยกแก้วจรดปากดื่มเป็นตัวอย่างให้ดู

         ใส่น้ำปริมาณน้อย ๆ ฝึกให้จิบก่อน ระยะแรก เด็กอาจยังสำลักหรือทำน้ำหกบ้าง

         ใช้แก้วหัดดื่มทั้งกับนม น้ำดื่มและน้ำผลไม้ เพื่อให้เป็นการสร้างความคุ้นเคย

         ใช้แก้วขณะกินอาหารทุกมื้อ ไม่ใช่ใช้เฉพาะเมื่อถึงมื้อนม และไม่ให้ถือขวดนมติดตัว



แบบค่อยเป็นค่อยไป


         ลดการให้ขวดนม ทีละ 1 ขวด ทุก 2-4 วัน โดยใช้แก้วแทน

         งดมื้อนมที่ไม่สำคัญออกไป เช่น มื้อกลางวัน หรือมื้อดึกหลังเที่ยงคืน

         หากลูกงอแง อาจใส่น้ำให้ดูดแทนนม ในช่วงมื้อกลางวันหรือก่อนนอน

         ลดปริมาณนมมื้อดึก เช่น จาก 8 ออนซ์ เหลือ 4 ออนซ์ จนงดนมมื้อดึกในที่สุด

         เพื่อให้คุณฝึกลูกเลิกนมขวดได้ตามเป้าหมาย ควรขอความร่วมมือจากคนในบ้านด้วยค่ะ




แบบทันทีทันใด


         บอกให้รู้ล่วงหน้าก่อนถึงเวลาให้เลิก เช่น บอกว่า "หนูโตแล้วถึงเวลาทิ้งขวดเลิกดูดขวดนม"

         เก็บขวดนมให้พ้นสายตาลูก หรือให้ช่วยแม่เก็บ นำไปบริจาค หรือเอาไปทิ้งถังขยะ

         ให้รางวัลเด็กเมื่อไม่ดูดนมขวดตลอดวันหรือตลอดคืน

         เตรียมน้ำหรือน้ำผลไม้ใส่แก้ว พร้อมสำหรับลูกดื่มเมื่อร้องหาขวดนม

         มีสิ่งของทดแทนขวดนม อาจเป็นตุ๊กตาหรือของเล่นที่ชอบ เอาไว้กอดเมื่อคิดถึง

         ฝึกการแปรงฟันก่อนนอน แล้วพาเข้านอนโดยเล่านิทาน ร้องเพลง หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ






ที่มา   ::      (Mother&Care)    Vol.9 No.98 กุมภาพันธ์ 2556

บิฟิโดแบคทีเรีย และ แล็คโตบาซิลัส จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เพื่อลูกรัก

บิฟิโดแบคทีเรีย และ แล็คโตบาซิลัส จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เพื่อลูกรัก



นมแม่

บิฟิโดแบคทีเรีย และ แล็คโตบาซิลัส จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เพื่อลูกรัก

 

          คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่ว่า ในร่างกายของเรามีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายร้อยสายพันธุ์ ซึ่งช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย หากร่างกายของลูกมีภูมิคุ้มกันที่ดี ร่างกายก็จะแข็งแรง ลดโอกาสการเจ็บป่วยหรือโรคภัยที่มาขัดขวางการเรียนรู้ ทำให้มีความพร้อมต่อการเรียนรู้และมีพัฒนาการทางร่างกาย สมอง อารมณ์ และจิตใจ ได้อย่างเต็มศักยภาพ

          จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีบทบาทสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อเป็นเกราะป้องกันโรค ได้แก่ บิฟิโดแบคทีเรีย และ แล็คโตบาซิลัส จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทั้ง 2 ชนิดนี้มีประโยชน์อย่างไร หาได้จากที่ไหน และใครบ้างที่ควรได้รับ เรามีผู้เชี่ยวชาญมาบอกเล่าเรื่องนี้ให้เข้าใจกันค่ะ



บิฟิโดแบคทีเรีย และแล็คโตบาซิลัส คืออะไร 


          บิฟิโดแบคทีเรีย และแล็คโตบาซิลัส คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่พบและมีประโยชน์มากต่อระบบทางเดินอาหาร โดยปกติแล้วในระบบทางเดินอาหารของเราจะมีจุลินทรีย์อยู่กว่า 400-500 สายพันธุ์ โดยบิฟิโดแบคทีเรีย และแล็คโตบาซิลัสเป็น จุลินทรีย์ 2 ชนิด ที่มีประโยชน์สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับระบบทางเดินอาหารและยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคต่าง ๆ ด้วย


บิฟิโดแบคทีเรีย และแล็คโตบาซิลัส หาได้จากไหน 

          รศ.พญ.พรรณทิพา ฉัตรชาตรี กุมารแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า บิฟิโดแบคทีเรีย และแล็คโตบาซิลัส เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่สามารถพบได้ในนมแม่

          สำหรับเด็กแรกเกิดซึ่งภายในลำไส้ยังปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์นี้ การให้เด็กแรกเกิดได้รับนมแม่จึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด โดยควรให้นมแม่อย่างน้อย 6 เดือน เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกแล้ว นมแม่ยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่ครบถ้วน มีจุลินทรีย์บิฟิโดแบคทีเรีย และแล็คโตบาซิลัสที่มีประโยชน์ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ทำให้เด็กที่ได้รับนมแม่แข็งแรงและมีสุขภาพดี โดยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จะช่วยลดอาการท้องเสีย และการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจอีกด้วย

          ดังนั้นการที่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ได้รับอาหารหรือนมที่ช่วยเพิ่มปริมาณหรือมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทั้ง 2 ชนิดนี้ ก็จะมีผลในการเพิ่มภูมิคุ้มกันเมื่อลูกได้ดื่มนมแม่ เด็ก ๆ ที่ดื่มนมชงได้แล้วเมื่อได้รับประทานอาหารหรือดื่มนมที่ช่วยกระตุ้นหรือมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์นี้อยู่ ก็จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเช่นกัน



บิฟิโดแบคทีเรีย และแล็คโตบาซิลัส ดีกับลูกอย่างไร

          บิฟิโดแบคทีเรีย และแล็คโตบาซิลัส เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่ช่วยสร้างเสริมและกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะเป็นเกราะป้องกันไม่ให้เชื้อโรคทำร้ายสุขภาพหรือทำให้เจ็บป่วยง่าย

          นอกจากนี้บิฟิโดแบคทีเรีย และแล็คโตบาซิลัสยังมีส่วนช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบทางเดินอาหารและป้องกันโรคในระบบทางเดินอาหารด้วย เช่น แก้ปัญหาภาวะไม่ทนต่อแลคโตสในนมวัว ย่อยแลคโตสไม่ได้(สำหรับเด็กที่ดื่มนมวัวแล้วท้องเสีย) ป้องกันอาการท้องเสีย ป้องกันการติดเชื้อในทางเดินอาหาร และทางเดินหายใจ เป็นต้น

          การที่ลูกได้รับนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ลูกได้รับสารอาหารและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์อย่างครบถ้วนซึ่งจะส่งผลต่อให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงพร้อมที่จะพัฒนาทักษะในการเรียนรู้รอบด้าน มีพัฒนาการที่ดีทั้งทางร่างกาย สมอง อารมณ์ และจิตใจ

          บิฟิโดแบคทีเรีย และแล็คโตบาซิลัส นอกจากจะเป็นจุลินทรีย์ที่ดีต่อสุขภาพของเด็ก ๆ แล้ว สำหรับผู้ใหญ่ รวมถึงคุณแม่ตั้งครรภ์ บิฟิโดแบคทีเรีย และแล็คโตบาซิลัสก็มีส่วนช่วยในระบบทางเดินอาหารเช่นกัน ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาอาการท้องผูกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ รวมถึงคุณแม่ที่ให้นมลูก ดังนั้นหากคุณแม่ได้รับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์นี้ผ่านทางอาหาร หรือนม ก็จะช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีทั้งคุณแม่และลูกน้อยไปพร้อมๆกันค่ะ


ไขมันแบบไหนดีกับเด็กวัย 1-3 ปี

ไขมันแบบไหนดีกับเด็กวัย 1-3 ปี




ไขมันแบบไหนดีกับเด็กวัย 1-3 ปี
(modernmom)


          คนกลัวอ้วนมักจะกลัวอาหารที่มีไขมัน แต่สำหรับเด็ก ๆ แล้ว ไขมันสำคัญและจำเป็นไม่ใช่เล่น โดยเฉพาะช่วงแรกเริ่มของชีวิตที่ร่างกายและสมองกำลังพัฒนา

          เด็กในช่วง 2 ขวบแรกนี้ ต้องการพลังงานและไขมันสูงกว่าผู้ใหญ่ เพื่อให้ทันกับอัตราการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองที่กำลังพุ่งสูงปรี๊ด ซึ่งจำเป็นต้อง

          ได้พลังงานส่วนหนึ่งจากไขมัน

          ใช้ไขมันไปช่วยดูแลสุขภาพผิวหนัง

          มีไขมันช่วยดูดซึมวิตามินที่สำคัญ เอ ดี อี เค เข้าสู่ร่างกาย

          ได้รับกรดไขมันจำเป็นไปใช้ในการสร้างและขยายเซลล์สมอง เพื่อให้พร้อมรับกับการเรียนรู้และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ข้อนี้สำคัญมาก

          ฉะนั้นเพื่อให้ร่างกาย พัฒนาการ รวมทั้งการเรียนรู้ของลูกไปได้อย่างดี มาเลือกแหล่งไขมันดีมีประโยชน์ให้ลูกกันดีกว่า

          ไขมันในนมแม่เป็นไขมันดีมีประโยชน์อย่างแรกที่เด็กควรได้รับ เพราะมีกรดไขมันจำเป็นที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาสมอง รวมทั้งกรดไขมันอื่น ๆ อีกกว่า 160 ชนิด ที่แม้จะยังไม่รู้ถึงหน้าที่การทำงาน แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่ามีประโยชน์กับพัฒนาการทางสมองของเด็ก

          แต่ถ้าคุณแม่จำเป็นหรือถึงคราวต้องใช้บริการนมผสมก็ควรเลือกนมที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับนมแม่มากที่สุด (นมดัดแปลงสำหรับทารก) และที่สำคัญไม่ควรให้นมพร่องไขมันแก่เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี

          เมื่อถึงวัยที่เด็กทานอาหารได้เหมือนผู้ใหญ่ คุณแม่ต้องเลือกอาหารที่เป็นแหล่งไขมันมีประโยชน์มารับช่วงต่อจากนมแม่ และต้องไม่ลืมเรื่องความหลากหลายของอาหารเพราะทุกส่วนของร่างกายต้องเดินหน้าไปพร้อมกัน

          ไขมันนี้มีอยู่ในปลาทะเล เช่น ปลากะพง ปลาทู ปลาเก๋า ปลาจะละเม็ด ปลาอินทรี ปลาโอ ปลาทูน่า ปลาแซลมอน เป็นต้น หรือแม้แต่ในปลาน้ำจืดบางชนิดก็มีกรดไขมันจำเป็นชนิดนี้อยู่ด้วย เช่น ปลาช่อน ปลาบู่ ปลาสวาย เป็นต้น รวมทั้งในน้ำมันพืชชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันข้าวโพด น้ำมันจากเมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย แต่ยกเว้นในน้ำมันมะพร้าว

          แหล่งไขมันเหล่านี้ไม่เพียงมีประโยชน์กับสมองน้อย ๆ แต่ยังช่วยป้องกันภาวะไขมันเกินที่เป็นปัญหาท็อปฮิตของเด็กยุคนี้ได้ดีทีเดียว



เติมไขมันให้ร่างกายอย่างปลอดภัย

          สามารถเพิ่มพลังงานในอาหารของลูกได้ด้วยการเติมน้ำมันพืช 1 ช้อนชาผสมลงในอาหารที่เตรียม

          ผัดหรือทอดอาหารทุกครั้งด้วยน้ำมันพืชใหม่ ควรใช้น้ำมันแต่น้อยและอย่าตั้งน้ำมันทิ้งไว้จนร้อนจัดจนเกิดควันหรือตั้งทิ้งไว้นาน ๆ เพราะอาจทำให้เกิดสารก่อมะเร็งได้

 
น้ำมันปลาจำเป็นไหม?




          สมองน้อย ๆ ของเด็กสร้างขึ้นจากไขมันเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะกรดไขมันจำเป็นในกลุ่มโอเมก้า 3 และ 6 ที่ช่วยส่งผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาท เสริมความลื่นไหลให้การทำงานของสมอง ช่วยการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก น้ำมันปลาที่สกัดจากปลาทะเลสำเร็จรูปจึงอยู่ในความสนใจของพ่อแม่

          แต่ไม่ต้องเสียเงินให้สิ้นเปลือง ในเมื่ออาหารที่ทานก็สามารถให้ปริมาณกรดไขมันชนิดนี้ได้เพียงพออยู่แล้ว เพราะแต่ละวันร่างกายน้อย ๆ ต้องการในปริมาณไม่มากนัก (แต่ก็ขาดไม่ได้)

          และถึงแม้น้ำมันปลาจะอัดแน่นไปด้วยปริมาณกรดไขมันจำเป็นที่เป็นประโยชน์กับการเสริมสร้างพัฒนาสมอง แต่การเสริมด้วยวิธีลัดอย่างนี้เสี่ยงกับการเสียสมดุลระหว่างโอเมก้า 3 และ 6 ในสมอง แทนที่จะพัฒนากลับสร้างปัญหาทำให้ลูกเติบโตช้ากว่าที่ควรจะเป็น และอาหารเพียงอย่างเดียวไม่สามารถพัฒนาสมองอย่างเต็มที่ ต้องอาศัยสารอาหารพันธมิตรทั้ง เหล็ก ไอโอดีน วิตามินบี ฯลฯ และสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้มาร่วมกันปฏิบัติภารกิจสำคัญนี้

          ฉะนั้นให้ลูกทานอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลายด้วยวิธีธรรมชาติ..ปลอดภัยที่สุด







ที่มา  ::    

เสียง...บอกพัฒนาการลูก

เสียง...บอกพัฒนาการลูก



แม่และเด็ก

เสียง บอกพัฒนาการลูก (รักลูก)


           แม้จะยังฟังไม่ออกว่าลูกพูดอะไร แต่รู้หรือไม่ว่าแต่ละครั้งที่ลูกเปล่งเสียงออกมา มีความหมายและสำคัญต่อพัฒนาการของลูกเป็นอย่างยิ่ง




พัฒนาการเสียงตามวัย



           ภาษาที่ลูกพูดไม่ใช่ภาษาที่มีความหมายเหมือนผู้ใหญ่ที่พูดคุยกัน แต่การพูดของลูกคือการเปล่งเสียงซึ่งสามารถบ่งบอกความรู้สึกภายในของลูกได้ โดยสามารถแบ่งตามช่วงวัยได้ดังนี้

           วัย 0-3 เดือน จะเป็นลักษณะของปฏิกิริยาสะท้อน หรือที่เรียกว่า Reflex sound ซึ่งเป็นการพยายามโต้ตอบเสียงที่ได้ยิน เช่น เสียงร้องไห้ ก็จะเป็นพัฒนาการเริ่มต้นของการออกเสียงและระบบการหายใจต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐานของการพูด

           วัย 4-6 เดือน เป็นวัยที่กำลังส่งเสียงอ้อแอ้เลยค่ะ ช่วงวัยนี้เด็กกำลังพึงพอใจที่สามารถเคลื่อนไหวอวัยวะได้ โดยเฉพาะปาก ที่สามารถใช้เลียนเสียงตัวเองซ้ำ ๆ ซึ่งเด็กทุกชาติทุกภาษาจะมีพัฒนาการเป็นแบบเดียวกันนี้ทั้งหมด และส่วนใหญ่ก็จะเป็นเสียงพยัญชนะ สระ หรืออักษร เดี่ยว ๆ เช่น ปา ๆ มา ๆ ยา ๆ เป็นต้น

           วัย 7-9 เดือน เริ่มที่จะเล่นเสียงอ้อแอ้คนเดียวได้แล้ว และมีความพยายามที่จะทำตามเสียงของคนใกล้ชิดด้วย โดยเฉพาะเสียงของแม่ แต่ยังไม่สามารถทำเสียงเลียนแบบได้เต็มที่ 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในวัยนี้ลูกสามารถเรียนรู้และขยับปาก เพื่อพูดสื่อความหมายของคำง่าย ๆ ได้แล้ว เช่น ปา ๆ มา ๆ หม่ำ ๆ

           วัย 10-12 เดือน นอกจากจะพูดได้แล้ว เด็กวัยนี้ยังสามารถตอบสนองต่อคำพูดโดยใช้ท่าทางง่าย ๆ เช่น พยักหน้าหรือส่ายหัว แต่ก็ยังคงมีการเล่นเสียงอยู่บ้าง และก็จะมีคำศัพท์ง่าย ๆ ที่มีความหมาย ซึ่งลูกสามารถพูดได้ ประมาณ 2-3 คำ เช่น พ่อ แม่ ไป มา หม่ำ ๆ เป็นต้น


เสียงลูกสื่ออะไร

           เด็กแรกเกิดถึง 1 ขวบสามารถเปล่งเสียงร้องแสดงความรู้สึกออกมาได้แล้ว ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถรับรู้ได้จากปฏิกิริยาใน 2 ลักษณะต่อไปนี้

           1. การเปล่งเสียงที่มีสาเหตุมาจากภาวะของร่างกาย (Reflexive vocalization) ไม่ว่าจะเป็น หิว ไม่สบายตัว ถูกแมลงกัด ไอ สะอึก ฯลฯ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นเสียงร้องไห้ คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตว่ามีอะไรที่ผิดปกติเกิดขึ้นกับลูกบ้างหรือเปล่า ถ้าลูกแผดเสียงร้องก็ให้ตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะหิว หรือเจ็บป่วย ซึ่งต้องตอบสนองเขาด้วยการอุ้ม ป้อนข้าว ให้นม หรือตรวจสอบดูว่าลูกมีความไม่สบายตัวตรงไหนบ้าง

           2. การเปล่งเสียงที่ไม่มีสาเหตุมาจากภาวะของร่างกาย (Non Reflexive vocalization) คือการส่งเสียงเล่นของลูก ที่ส่วนใหญ่จะเป็นภาวะสงบที่ลูกมักจะอารมณ์ดี ส่งเสียงอืออา หรือเป็นเสียงสระเดี่ยว ๆ เช่น อา อู เบาๆ ซึ่งนั่นเป็นการแสดงออกว่าลูกพร้อมที่จะพูดคุย สามารถได้ยินเสียงของคนรอบข้าง และต้องการที่จะตอบสนองแล้ว เพียงแต่เสียงที่เปล่งออกมานั้นยังไม่มีความหมายหรือชัดเจนพอ

           เพราะฉะนั้นการตอบสนองต่ออารมณ์และพัฒนาการทางการพูดของลูก ด้วยการพูดคุยและเล่น เลียนเสียงซ้ำ ๆ ตามที่ลูกกำลังเปล่งออกมานั้น จะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้การตอบสนองกลับของอีกฝ่ายหนึ่งได้ ซึ่งลูกก็จะเข้าใจและติดเป็นประสบการณ์ที่จะโต้ตอบทั้งสองทาง ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนให้เกิดพัฒนาการทางภาษาที่ดีค่ะ


เล่นเสียงกับลูกตอบสนองพัฒนาการ

           ยิ่งคุณพ่อคุณแม่เอาใจใส่ดูแลและเล่นเลียนเสียงกับลูกบ่อยๆ ก็จะยิ่งทำให้ลูกพัฒนาทักษะการสื่อสารได้ดีเท่านั้น โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ตั้งแต่ตอนแรกเกิดถึง 3 เดือนและถึงแม้ว่าลูกจะยังไม่สามารถสื่อสารได้ แต่ก็สามารถรับรู้ว่ามีคนคอยตอบสนองต่อเขาอยู่

           เมื่อลูกอายุ 4-6 เดือน สามารถเป่าลมได้แล้ว คราวนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องทำเสียงเป่าลม รวบปาก หรือทำปากให้ลูกเห็นด้วย และใช้คำง่าย ๆ หรือเล่นน้ำลายกับลูกก็ได้นะคะ แต่ที่สำคัญก็คือ ไม่ควรพูดเร็ว ๆ กับลูกค่ะ

           พอย่างเข้า 7-10 เดือน คุณพ่อคุณแม่ควรสอนคำศัพท์ง่าย ๆ ให้ลูกเล่น ฝึกให้ลูกขยับปากขยับลิ้นเคลื่อนไหวต่าง ๆ เพื่อให้เขามีพัฒนาการที่ดี

           และช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในวัย 10-12 เดือน คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจกับลูกให้มากยิ่งขึ้นค่ะ เพราะลูกสามารถพูดได้แล้ว และความสนใจก็จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่จะต้องสอนลูกอย่างใกล้ชิด ให้ลูกได้ใช้ประสาทสัมผัสให้ครบทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นปากให้พูดตามคุณแม่ ตาให้ดูเวลาที่คุณแม่พูด หูให้ฟังเสียงของคุณแม่ และมือให้ชี้หรือทำท่าทางประกอบ

           แม้ว่าลูกจะยังพูดไม่เป็นภาษา หรือว่าพูดไม่รู้เรื่อง แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่เล่นกับลูกบ่อย ๆ พูดคุยบ่อย ๆ ก็จะทำให้ลูกอารมณ์ดีและเกิดการตอบสนองที่ดี ส่งผลให้ลูกมีพัฒนาการทางภาษาที่ดีด้วยค่ะ






ที่่มา   ::   





คันเหงือก ขยันอม เพราะฟันขึ้น

คันเหงือก ขยันอม เพราะฟันขึ้น

 





อาการคันเหงือกในเด็ก

คันเหงือก ขยันอม เพราะฟันขึ้น
(M&C แม่และเด็ก)

        

เตรียมตัวไว้ เพราะหลังจากนี้คุณกำลังจะถูกกัด แน่ล่ะ ก็ได้เวลาที่ฟันลูกน้อยเริ่มขึ้น คุณพ่อคุณแม่จะเห็นหน่อฟันเล็ก ๆ 2 ซี่ของลูกใส่ขึ้น จากด้านล่างก่อน เป็นฟันหน้าที่มาพร้อมความตื่นเต้นอัศจรรย์ แล้วอีกสักระยะ หน่อฟัน 2 ซี่บนจะขึ้นตามมา จากนั้นฟันจะค่อย ๆ เรียงตัวขึ้นทีละคู่ จนแป๊บเดียวแทบจะเต็มปาก เคี้ยวกัดผลไม้แข็ง ๆ ได้ ยิ้มทีก็น่าร้ากน่ารัก แต่พอไล่กัดทีน่ากลัวเชียว ไม่รู้สนุกอะไร เผลอไม่ได้ชอบกัดพ่อแม่จัง (เป็นแวมไพร์ไปแล้วหรือลูก หวิว ๆ)



ฟันน้ำนมงอกต้องดูแล


         ปัญหาที่อาจพบขณะที่ฟันน้ำนมของลูกน้อยเริ่มงอกแทงออกมาคือ เหงือกอักเสบ บวมแดง ทำให้ลูกเจ็บ งอแง เบื่ออาหาร และอาจมีไข้แทรกซ้อนร่วมด้วย เด็กบางคนแสดงอาการหงุดหงิด ไม่ค่อยเล่น ไม่อยากทำกิจกรรมใด ๆ เลยอย่างชัดเจน แต่เมื่อฟันงอกโผล่พ้นเหงือกแล้ว อาการเหล่านี้ก็จะหายไป ถือเป็นภาวะปกติที่เกิดได้ในเด็กที่ฟันน้ำนมเริ่มขึ้น

         สิ่งที่อยากให้คุณพ่อคุณแม่ใส่ใจยามนี้คือ เมื่อลูกคันเหงือก เขามักจะชอบดูด อม และกัดนิ้วตัวเอง ทุกสิ่งที่คว้าหยิบได้เป็นต้องจับมาอมดูดจ๊วบ ๆ หมด ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดี ถ้าปล่อยให้ทำอยู่เสมอ ๆ จนติดเป็นนิสัย เนื่องจากจะเป็นอันตรายต่อการงอกของฟันในระยะต่อมา และฟันที่ขึ้นใหม่จะเก ไม่อยู่ในตำแหน่งที่ควรจะเป็น

         ควรนำสิ่งของที่ไม่สะอาดออกห่างจากมือของลูก โดยเฉพาะของแข็ง ๆ อย่างของเล่น หรือแม้แต่ตุ๊กตาซึ่งเป็นแหล่งสะสมไรฝุ่น อย่าให้เค้ากัด เค้าอม เพราะเค้าอาจท้องเสียได้



หาอะไรให้กัดแก้คันเหงือก


         เมื่อลูกคันเหงือกเนื่องจากฟันขึ้น ควรหาของเล่นที่เป็นยางให้ลูกกัด ซึ่งต้องสะอาด ไม่มีสารตกค้าง และไม่ควรให้ขนมที่ทำจากแป้งและน้ำตาลให้ลูกกัดเล่นในช่วงฟันขึ้นนี้ เพราะอาจทำให้ฟันผุได้

          สิ่งที่อยากแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ลองหามาให้ลูกกัด เมื่อลูกเกิดอาการคันเหงือก คือ


         ผักสด เช่น แตงกวา ถั่วฝักยาว ก้านผักกวางตุ้ง แครอท การนำผักมาให้ลูกกัด แทะเล่นนั้น จะช่วยทำให้ลูกคุ้นเคยกับผักและสามารถทานผักได้ตั้งแต่เด็ก หากคุณพ่อคุณแม่กังวลว่าลูกจะไม่แทะเพราะผักมีรสขมนั้นวางใจได้เลยค่ะ เพราะเวลาที่เขาคันเหงือก จับอะไรได้เขาก็จะนำเข้าปากกัดหมด โดยไม่สนใจรสชาติหรอกค่ะ

         ยางกัด ที่มีลักษณะคล้ายกับแปรงสีฟัน หรือเครื่องมือทำความสะอาดช่องปาก เพื่อที่ลูกจะได้ไม่คุ้นเคยกับเครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้ทำความสะอาดช่องปาก และเมื่อคุณแม่เริ่มทำความสะอาดให้เขา เขาจะได้ไม่ร้องดิ้นหรืออาเจียนอาหารออกมา


ดูแลความสะอาดช่องปากของลูก


         วิธีง่าย ๆ เริ่มจากคุณแม่อุ้มลูกไว้ในอ้อมแขนเหมือนเวลาให้นมด้วยมือซ้าย ส่วนมือขวาใช้นิ้วพันผ้าสะอาดชุบน้ำต้มสุกแล้วนำมาเช็ดให้ทั่ว โดยเริ่มจากสันเหงือก กระพุ้งแก้ม บนลิ้น ใต้ลิ้น และเพดาน ทำวันละ 2 ครั้ง เช้าและค่ำหลังมื้อนม หรือถ้าคุณแม่ไม่ถนัดท่านี้ ก็ให้ลูกนอนบนที่นอน แล้วใช้นิ้วพันผ้าเช็ดในบริเวณดังกล่าวให้ทั่วก็ได้
และเมื่อลูกโตขึ้น คือนอนตลอดในช่วงกลางคืน ก็ทำความสะอาดตอนเช้าหลังมื้อนม หรือหลังอาหารเช้า และก่อนนอน หลังนมมื้อสุดท้ายก็พอ

         หากคุณแม่เอาใจใส่ต่อความสะอาดของช่องปาก รวมถึงเลือกสรรอาหารที่เป็นประโยชน์ให้ลูกทาน ย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพของลูกอย่างแน่นอน








ที่มา   ::    ปีที่ 37 ฉบับที่ 502 ธันวาคม 2556