เมื่อท่านเสียชีวิตลง ทรัพย์สินของท่านจะตกทอดสู่ทายาทโดยธรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับ แต่ละลำดับมีสิทธิ์ได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635
ปัญหาที่มักพบอยู่บ่อยครั้ง คือ การโต้แย้งกันในเรื่องของการแบ่งทรัพย์สินในกองมรดกไม่ลงตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการได้ทรัพย์สินมากกว่าหรือน้อยกว่า ได้ทรัพย์สินที่ดีกว่าหรือด้อยกว่า หลายท่านเล็งเห็นผลที่จะตามมาในอนาคต และเกรงว่าทายาทโดยธรรม หรือบุตรหลานอาจจะทะเลาะเบาะแว้งกัน เนื่องมาจากเรื่องของทรัพย์สินในกองมรดก จึงมีการจัดการทรัพย์มรดกไว้ก่อนตาย รายการโอนให้แก่ทายาท หรืออาจจะทำพินัยกรรมเพื่อแบ่งปันทรัพย์สินอย่างเท่าเทียมกัน
พินัยกรรม คือ คำสั่งครั้งสุดท้าย ซึ่งแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สิน หรือกิจการต่างๆ ของผู้ทำพินัยกรรม เพื่อที่จะเกิดผลบังคับตามกฎหมายเมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย
พินัยกรรม คือ คำสั่งครั้งสุดท้าย ซึ่งแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สิน หรือกิจการต่างๆ ของผู้ทำพินัยกรรม เพื่อที่จะเกิดผลบังคับตามกฎหมายเมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย
แบบของพินัยกรรม มี 5 แบบ คือ
1. พินัยกรรมแบบธรรมดา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656
2. พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1657
3. พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658
4. พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1660
5. พินัยกรรมทำด้วยวาจา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1663
2. พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1657
3. พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658
4. พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1660
5. พินัยกรรมทำด้วยวาจา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1663
พินัยกรรมในแบบที่หนึ่ง และแบบที่สอง เป็นแบบที่นิยมทำกันมากที่สุด เนื่องจากสามารถทำได้เองและประหยัดเวลามากที่สุด ส่วนพินัยกรรมในแบบที่สาม แบบที่สี่ และแบบที่ห้านั้น เป็นพินัยกรรมฝ่ายเมือง ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ของอำเภอ หรือสำนักงานเขตเป็นผู้จัดทำให้ ซึ่งอาจมีขั้นตอนมาก และมีค่าธรรมเนียมในการจัดทำ แต่ก็ถือว่าได้กระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นคนกลางโดยแท้จริง และเป็นพยานที่มีน้ำหนักมากเมื่อขึ้นเบิกความในศาล
การทำพินัยกรรม จึงเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้ตรงตามเจตนารมณ์ของเจ้ามรดก และยังกำหนดให้บุคคลอื่น ซึ่งไม่ใช่ทายาท ไม่ใช่ญาติ และไม่มีความสัมพันธ์ในทางกฎหมายกับเจ้ามรดก สามารถเข้ามารับทรัพย์มรดกได้ด้วย
การทำพินัยกรรมในแบบที่หนึ่ง และแบบที่สองดังกล่าว หากกระทำไปโดยมีข้อบกพร่องในการทำพินัยกรรมโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาจจะเป็นข้อต่อสู้ในทางกฎหมายทำให้พินัยกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ และทำให้ต้องกลับไปสู่การแบ่งปันทรัพย์มรดก ในแบบปกติ คือ การร้องขอต่อศาล เพื่อแต่งตั้งผู้จัดการมรดก และจะต้องได้รับความยินยอมจากทายาททุกคนฝ่าย เพื่อให้ผู้จัดการมรดกนำทรัพย์มรดกทุกอย่างมาแบ่งปันให้แก่ทายาทโดยธรรมอย่างถูกต้อง และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย อีกทั้งผู้จัดการมรดกจะต้องนำทรัพย์มรดกแบ่งปันให้แก่ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกเท่านั้น จะแบ่งให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกฝ่าย
ในกรณีที่ไม่สามารถตกลงในเรื่องของทรัพย์มรดกได้ สุดท้ายจะต้องนำทรัพย์มรดกดังกล่าว นำออกขายทอดตลาด เพื่อนำเงินมาแบ่งปันให้แก่ทายาททุกรายโดยเท่าเทียมกัน
ข้อบกพร่องที่อาจจะสามารถทำให้พินัยกรรมตกเป็นโมฆะได้มีหลายกรณีครับ ตัวอย่างเช่น
1. การแก้ไขตกเติมพินัยกรรม โดยผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้
2. พินัยกรรมมีหลายแผ่น แต่ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อเพียงแค่แผ่นสุดท้ายแผ่นเดียว ซึ่งอาจจะถูกโต้แย้งได้ว่าพินัยกรรมแผ่นที่ผู้ทำพินัยกรรมมิได้ลงลายมือชื่อนั้น อาจจะปริ้นต์ออกมาคนละคราวกับแผ่นสุดท้าย ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมปรากฏอยู่ โดยเฉพาะเครื่องปริ้นต์เราควรใช้เครื่องเดียวกัน เนื่องจากเครื่องปริ้นแต่ละเครื่องอาจจะมีตำหนิ หรือร่องรอยบนลูกกลิ้งไม่ตรงกัน
3. พินัยกรรมแบบธรรมดา แต่ไม่มีพยาน 2 คน ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม ทั้งนี้ พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ไม่จำเป็นต้องมีพยาน 2 คนลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม
4. พินัยกรรมแบบธรรมดา แต่มีผู้รับพินัยกรรมเป็นพยานด้วย
5. พินัยกรรมแบบธรรมดา ผู้ทำพินัยกรรมและพยานสองคนจะต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพร้อมกัน
6. พินัยกรรมจะต้องทำในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมมีสติสัมปชัญญะครบถ้วนสมบูรณ์ และปราศจากการบังคับ ขู่เข็ญ หรือ หลอกลวง
7. พินัยกรรมจะต้องระบุวันที่เดือนปีที่ทำพินัยกรรมอย่างชัดเจน
ดังนั้น การทำพินัยกรรมฝ่ายเมือง หรือทำพินัยกรรมโดยให้นักกฎหมายเป็นผู้จัดทำ หรือให้คำแนะนำ จะสามารถลดข้อบกพร่องในพินัยกรรมได้ครับ
8. ปากกาที่ใช้ในการลงลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม พยาน หรือผู้เรียงและพิมพ์พินัยกรรม ควรใช้ปากกาด้ามเดียวกัน เพื่อลดข้อต่อสู้ของอีกฝ่ายว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดังกล่าวไม่ได้ลงลายมือชื่อพร้อมกัน
รูปแบบของการทำพินัยกรรม
พินัยกรรมแบบธรรมดา
- เขียนหรือพิมพ์ ต่อหน้าพยาน 2 คน
- ไม่ต้องไปดำเนินการที่ว่าการอำเภอ
พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ
- เขียนเอง (ห้ามพิมพ์) ต่อหน้าพยาน 2 คน
- ไม่ต้องไปดำเนินการที่ว่าอำเภอ
พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง
- แจ้งข้อความกับนายอำเภอ ต่อหน้าพยาน 2 คน
- เก็บพินัยกรรมไว้ที่อำเภอ
พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ
- นำพินัยกรรมติดต่อนายอำเภอแจ้งว่าทำเอง ต่อหน้าพยาน 2 คน
- นายอำเภอ,พยาน,ผู้ทำพินัยกรรม ลงลายมือชื่อบนซอง
- ขอพินัยกรรมกลับบ้านได้
พินัยกรรมทำด้วยวาจา
- ต้องเป็นเหตุคับขัน
- แจ้งข้อความต่อหน้าพยาน 2 คน
- พยานนำข้อความไปติดต่ออำเภอเพื่อทำพินัยกรรมอีกครั้ง
อัตราค่าธรรมเนียม
กรณีทำในที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต
- เสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 50 บาท ถ้าต้องการทำสำเนาเพิ่ม (คู่ฉบับ) เสียค่าธรรมเนียม ฉบับละ 10 บาท
- ค่าพยานและล่ามเฉพาะที่ทางอำเภอจัดหาให้ โดยพิจารณาจ่ายตามรายได้และฐานะของพยานและล่าม เสียค่าธรรมเนียมไม่เกินฉบับละ 50 บาท
กรณีทำนอกที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต
- กรณีทำนอกที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต เสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 50 บาท ถ้าต้องการทำสำเนาเพิ่ม (คู่ฉบับ) เสียค่าธรรมเนียม ฉบับละ 20 บาท
- ค่าพยานและล่ามเฉพาะที่ทางอำเภอจัดหาให้ โดยพิจารณาจ่ายตามรายได้และฐานะของพยานและล่าม เสียค่าธรรมเนียมไม่เกินฉบับละ 50 บาท
การทำพินัยกรรมมีหลายแบบลองพิจารณาดูว่าจะทำแบบไหน แล้วค่อยตัดสินใจว่าจะจ้างหรือทำเองได้ค่ะ
1.พินัยกรรมและมรดก
หลักเกณฑ์ /เงื่อนไข
-ต้องทำเป็นหนังสือ โดยจะเขียนหรือพิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศก็ได้
-ลงวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม เพื่อพิสูจน์ความสามารถของผู้ทำพินัยกรรม
-ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน ซึ่งจะลงชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือก็ได้
-ห้ามใช้ตราประทับหรือ เครื่องหมายกากบาทหรือขีดเขียน แทนการลงชื่อในพินัยกรรม
-พยานจะต้องลงชื่ออย่างเดียวเท่านั้น ห้ามพิมพ์ลายนิ้วมือ และห้ามใช้ตราประทับหรือเครื่องหมายอย่างอื่น
-ในกรณีที่มีการพิมพ์ลายนิ้วมือ ถ้าเกิดเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของผู้เป็นโรคเรื้อน (ซึ่งจะไม่มีลายนิ้วมือ) โดยมีพยานลงชื่อรับรองความถูกต้องก็ไม่ถือว่ามีการลงลายมือชื่อ
-การทำพินัยกรรมแบบธรรมดาไม่ต้องไปดำเนินการที่อำเภอ หรือสำนักงานเขต
2.พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
หลักเกณฑ์ / เงื่อนไข
-ต้องทำเป็นหนังสือ โดยจะใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศก็ได้
-ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยลายมือของตนเองทั้งฉบับจะพิมพ์ไม่ได้
-การทำพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับจะมีพยานหรือไม่มีก็ได้
-ต้องลงวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม เพื่อพิสูจน์ความสามารถของผู้ทำ
-ผู้ทำต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ห้ามพิมพ์ลายนิ้วมือหรือเครื่องหมายอื่นแทนการลงชื่อ
-ผู้ทำพินัยกรรมสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการอื่นๆ ในพินัยกรรมได้เพียงคนเดียวและต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกครั้ง
-การทำพินัยกรรมแบบธรรมดาไม่ต้องไปดำเนินการที่อำเภอ หรือสำนักงานเขต
3.พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง
ขั้นตอนการดำเนินการ
-ผู้ทำพินัยกรรม แจ้งข้อความที่จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมแก่นายอำเภอและต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน
-นายอำเภอจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้ง และอ่านข้อความ ให้แก่ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง
-ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
-ข้อความที่นายอำเภอจดไว้ ให้นายอำเภอลงลายมือชื่อ และวัน เดือน ปีที่ทำ แล้วประทับตราตำแหน่งไว้
อัตราค่าธรรมเนียม
กรณีทำในที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต
- เสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 50 บาท ถ้าต้องการทำสำเนาเพิ่ม (คู่ฉบับ) เสียค่าธรรมเนียม ฉบับละ 10 บาท
- ค่าพยานและล่ามเฉพาะที่ทางอำเภอจัดหาให้ โดยพิจารณาจ่ายตามรายได้และฐานะของพยานและล่าม เสียค่าธรรมเนียมไม่เกินฉบับละ 50 บาท
กรณีทำนอกที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต
- กรณีทำนอกที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต เสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 50 บาท ถ้าต้องการทำสำเนาเพิ่ม (คู่ฉบับ) เสียค่าธรรมเนียม ฉบับละ 20 บาท
- ค่าพยานและล่ามเฉพาะที่ทางอำเภอจัดหาให้ โดยพิจารณาจ่ายตามรายได้และฐานะของพยานและล่าม เสียค่าธรรมเนียมไม่เกินฉบับละ 50 บาท
หลักเกณฑ์ / เงื่อนไข
-การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง สามารถทำได้ทั้งในและนอกว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ และสำนักงานเขต
-ผู้ทำพินัยกรรมสามารถให้นายอำเภอจัดเก็บรักษาพินัยกรรมนั้นไว้ ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอและสำนักงานเขตได้
-เมื่อผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิตผู้มีสิทธิรับมรดกสามารถยื่นเอกสารหลักฐานต่อนายอำเภอเพื่อขอรับพินัยกรรม
4.พินัยกรรมทำแบบเอกสารลับ
ขั้นตอนการดำเนินการ
-ข้อความต้องมีลักษณะเป็นพินัยกรรม เช่น “ได้ยกทรัพย์สมบัติให้แก่ นาย ก.” เป็นต้น พร้อมทั้งลงชื่อของผู้ทำพินัยกรรม
-ปิดผนึกพินัยกรรม และลงชื่อทับบริเวณที่ปิดผนึก
-นำพินัยกรรมไปแสดงต่อนายอำเภอและพยานอย่างน้อย 2 คน พร้อมทั้งแจ้งว่าเป็นผู้ทำพินัยกรรมเอง จากนั้นแจ้งชื่อและภูมิลำเนาของผู้ทำพินัยกรรมเอง
-นายอำเภอจดคำพูดของผู้ทำพินัยกรรม และวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมมาแสดงไว้ในซองพับและประทับตราประจำตำแหน่ง จากนั้นนายอำเภอผู้ทำพินัยกรรม และพยานลงชื่อบนซอง
หลักเกณฑ์ / เงื่อนไข
-กรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมเป็นใบ้ และหูหนวก หรือพูดไม่ได้ สามารถทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับ ได้โดยให้ผู้ทำพินัยกรรมเขียนข้อความด้วยตนเองบนซองพินัยกรรม ต่อหน้านายอำเภอและพยานอย่างน้อย 2 คน
-กรณีผู้ทำพินัยกรรมมีความต้องการขอรับพินัยกรรมแบบเอกสารลับกลับไปทันที ให้ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อในสมุดทะเบียน
อัตราค่าธรรมเนียม
-การทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับ เสียอัตราค่าธรรมเนียม ฉบับละ 20 บาท
5.พินัยกรรมทำด้วยวาจา
หลักเกณฑ์ /เงื่อนไข
-การทำพินัยกรรมที่ใช้วาจา จะสามารถทำได้เฉพาะในเหตุคับขัน ที่ทำให้ไม่สามารถทำพินัยกรรมเป็นลายลักษณ์อักษรได้
ขั้นตอนการดำเนินการ
-ผู้ทำพินัยกรรมต้องทำพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน
-พยานต้องไปแสดงตนต่อนายอำเภอ และแจ้งให้นายอำเภอทราบถึงข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมสั่งไว้, วัน เดือน ปี ของสถานที่ที่ทำพินัยกรรม รวมถึงเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้ทำพินัยกรรมต้องทำพินัยกรรมด้วยวาจา
-ให้นายอำเภอจดข้อความที่พยานแจ้งไว้ และพยานต้องลงลายมือชื่อ หรือ พิมพ์ลายนิ้วมือ (กรณีไม่สามารถลงลายมือชื่อได้) และมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คน
ระยะเวลา / อายุของพินัยกรรม
-การทำพินัยกรรมด้วยวาจามีระยะเวลา 1 เดือน โดยนับหลังจากที่ผู้ทำพินัยกรรมสามารถกลับมาทำพินัยกรรมแบบอื่นตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว
ที่มา :: https://pantip.com/topic/30216720
รูปแบบของการทำพินัยกรรม
ตอบลบพินัยกรรมแบบธรรมดา
- เขียนหรือพิมพ์ ต่อหน้าพยาน 2 คน
- ไม่ต้องไปดำเนินการที่ว่าการอำเภอ
พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ
- เขียนเอง (ห้ามพิมพ์) ต่อหน้าพยาน 2 คน
- ไม่ต้องไปดำเนินการที่ว่าอำเภอ
พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง
- แจ้งข้อความกับนายอำเภอ ต่อหน้าพยาน 2 คน
- เก็บพินัยกรรมไว้ที่อำเภอ
พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ
- นำพินัยกรรมติดต่อนายอำเภอแจ้งว่าทำเอง ต่อหน้าพยาน 2 คน
- นายอำเภอ,พยาน,ผู้ทำพินัยกรรม ลงลายมือชื่อบนซอง
- ขอพินัยกรรมกลับบ้านได้
พินัยกรรมทำด้วยวาจา
- ต้องเป็นเหตุคับขัน
- แจ้งข้อความต่อหน้าพยาน 2 คน
- พยานนำข้อความไปติดต่ออำเภอเพื่อทำพินัยกรรมอีกครั้ง
อัตราค่าธรรมเนียม
กรณีทำในที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต
- เสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 50 บาท ถ้าต้องการทำสำเนาเพิ่ม (คู่ฉบับ) เสียค่าธรรมเนียม ฉบับละ 10 บาท
- ค่าพยานและล่ามเฉพาะที่ทางอำเภอจัดหาให้ โดยพิจารณาจ่ายตามรายได้และฐานะของพยานและล่าม เสียค่าธรรมเนียมไม่เกินฉบับละ 50 บาท
กรณีทำนอกที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต
- กรณีทำนอกที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต เสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 50 บาท ถ้าต้องการทำสำเนาเพิ่ม (คู่ฉบับ) เสียค่าธรรมเนียม ฉบับละ 20 บาท
- ค่าพยานและล่ามเฉพาะที่ทางอำเภอจัดหาให้ โดยพิจารณาจ่ายตามรายได้และฐานะของพยานและล่าม เสียค่าธรรมเนียมไม่เกินฉบับละ 50 บาท
ทำพินัยกรรมทำเองได้เลยค่ะ
ตอบลบจะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ ร่างให้แล้วไปดัดแปลงเอาเอง
ทำที่..............................
วันที่ 27 มีนาคม 2559
ข้าพเจ้า.................................. อายุ.................
ที่อยู่..............................
ทำพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้น เพื่อแสดงเจตนาว่า เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมไป แบ่งให้ทรัพย์สินมรดกดังนี้
1.ดินที่ ตามโฉลดเลขที่................. ตั้งอยู่ที่ จ.เชียงใหม่ ให้ตกแก่ นางสวย ใจดี ภรรยา ของข้าพเจ้า
2.บ้านเช่า ตั้งอยู่ที่ ................... นนทบุรี ให้ตกแก่ นายหล่อ ใจดี บุตรชายคนโต ของข้าพเจ้า
3.เงินฝากในบัญชีธนาคารทหารไทย สาขา............. ให้ตกแก่ นางงามตา ใจดี มารดาของข้าพเจ้า
4.นายทองคำ ใจดี บุตรชายคนเล็ก ข้าพเจ้าให้ตัดออกจากทายาทตามพินัยกรรม (ไม่ได้รับอะไรเลย)
5.ขอแต่งตั้งให้ นางสวย ใจดี ของข้าพเจ้า เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมนี้
ขณะทำพินัยกรรมฉบับนี้ ข้าพเจ้ามีสติสัมปะชัญญะครบถ้วนสมบูรณ์ดีทุกประการ
............................
(ลงชื่อ ผู้ทำพินัยกรรม)
..........................
(ลงชื่อพยาน คนที่1 /มี อายุ 15 ขึ้นไป)
..........................
(ลงชื่อพยาน คนที่2 /มี อายุ 15 ขึ้นไป)
และสามารถทำให้หลานเลยได้รึป่าวหรือต้องทำให้ลูกก่อน?
สามารถทำให้หลานได้เลย หรือทำยกให้ (คนนอก) ก็ยังได้
*****สำคัญมาก*****
ผู้เขียน/ผู้พิมพ์ หรือพยาน ตลอดจนคู่สมรสของบุคคลดังกล่าว จะเป็นผู้รับพินัยกรรมตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้
พยาน 2 คน ต้องรู้เห็นรายละเอียดของพินัยกรรม และลงลายมือชื่อพร้อมก้นต่อหน้า ผู้ทำพินัยกรรม
ถ้าจะให้ดี อัดวีดีโอ ขณะทำพินัยกรรมไว้ด้วย เผื่อมีปัญหาภายหลัง
พินัยกรรม ของ
ตอบลบวันที่.....
ทำที่...
ข้าพเจ้า.................................. อายุ...........บัตร ปชช เลขที่.....
ที่อยู่............................... ข้าพเจ้าขอทำพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นเพื่อสดงเจตนาว่า หากข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้ว
ทรัพย์สินของข้าพเจ้าทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะนี้ คือ.................................. และที่จะมีขึ้นอีกในอนาคตทั้งหมด
ข้าพเจ้าของยกให้แก่............................ซึ่งเป็น...( หลาน/ลูก ) ของข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียว
และข้าพเจ้าของแต่งตั้งให้......................... เป็นผู้จัดการมรดกของข้าพเจ้าตามพินัยกรรมฉบับนี้ต่อไป
ในขณะที่ข้าพเจ้าทำพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นนั้น ข้าพเจ้ามีสติสัมปชัญญะครบถ้วนทุกประการ
โดยไม่ได้ถูกข่มขู่ หรือ ถูกฉ้อฉล จากผู้ใดทั้งสิ้น และเพื่อให้พินัยกรรมฉบับนี้มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ข้าพเจ้าจึงได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานทั้งสองคน ดังปรากฎตามรายชื่อพยานทั้งสองคนด้านล่างของพินัยกรรมฉบับนี้แล้ว
ลงชื่อ................................. ผู้ทำพินัยกรรม
ลงชื่อ.................................ผู้เชียน และ พยาน
ลงชื่อ.........................................พยาน
ลงชื่อ........................................พยาน
ข้าพเจ้า.(พยาน)... ขอรับรองว่า ลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ เป็นลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมที่แท้จริง
พินัยกรรมมีลักษณะอย่างไร
ตอบลบพินัยกรรม คือการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตน หรือในเรื่องต่าง ๆ ที่จะเป็นผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตาย พินัยกรรมเป็นการแสดงเจตนาที่ประสงค์ให้มีผลเมื่อตนเองตายไปแล้ว ซึ่งจะยกทรัพย์สินให้แก่ใครก็ได้ หรือให้ผู้ใดเข้ามาจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดของตนก็ได้ แต่จะทำให้พินัยกรรมนั้นมีผลบังคับไปถึงทรัพย์สินของผู้อื่นที่มิใช่ของตนนั้นย่อมทำไม่ได้
กล่าวอีกนัยหนึ่ง พินัยกรรมก็คือ กิจการต่าง ๆของผู้ทำพินัยกรรม เพื่อที่จะเกิดผลบังคับตามกฎหมายในเมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย โดยทำแบบใดแบบหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือที่เรียกตัวย่อว่า ป.พ.พ. มาตรา 1646 – 1648)
เช่น นายแดงทำพินัยกรรมว่า เมื่อตนเองตายจะขอยกที่ดินของนายขาว ซึ่งเป็นพี่ชายตนให้แก่ นางเหลือง ซึ่งเป็นการยกทรัพย์สินของผู้อื่นให้แก่นางเหลือง กรณีเช่นนี้ทำไม่ได้ เพราะไม่ใช่ทรัพย์สินของตน เอกสารที่มีข้อความเป็นพินัยกรรมแม้ไม่มีคำว่าเป็นพินัยกรรม ก็ถือว่าเป็น
พินัยกรรมมีผลให้ได้ แต่ถ้ามีคำว่าพินัยกรรม แต่ไม่มีข้อความว่าพินัยกรรม ให้มีผลบังคับเมื่อตายไปแล้ว ก็ไม่ถือว่าเป็นพินัยกรรม เช่น สมชายเขียนหนังสือไว้ว่า ตั้งแต่นี้ต่อไปขอทำพินัยกรรมยกเงินสดให้แก่นายเจริญ 5,000 บาท ดังนี้ถือว่าไม่ใช่พินัยกรรม เพราะไม่ประสงค์จะให้นายเจริญได้รับเงินเมื่อหลังจากที่นาย สมชายตายไปแล้ว
ลักษณะสำคัญของพินัยกรรมคือ เอกสารนั้นต้องมีข้อความกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของผู้ตายว่าให้ตกเป็นของใคร หรือให้จัดการอย่างไรเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายไปแล้ว หากมีข้อความดังกล่าวก็เป็นพินัยกรรมโดยไม่ต้องมีข้อความระบุว่าเป็นพินัยกรรมแต่อย่างใด
การทำพินัยกรรมอาจไม่ใช่เรื่องการยกทรัพย์สินให้ผู้ใดก็ได้ แต่อาจเป็นเรื่องอื่น ๆ ที่ให้มีผลตามกฎหมายก็ได้ เช่น การทำพินัยกรรมว่าเมื่อตนเองตายไปแล้วขอยกปอดให้แก่โรงพยาบาลราชวิถีหรือ ให้จัดงานศพของตนโดยการเผาภายใน 3 วัน ดังนี้ก็เป็นพินัยกรรมเช่นกัน
ใครที่ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมบ้าง
ตอบลบผู้ที่ทำพินัยกรรมได้ต้องมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ จึงมีสิทธิตามกฏหมายในการทำพินัยกรรม
หากอายุต่ำกว่า 15 ปีทำพินัยกรรม ถือว่า พินัยกรรมนั้นใช้ไม่ได้ (พินัยกรรมนั้นไม่มีผล) หรือ ตามกฎหมายเรียกว่าเป็นโมฆะ นอกจากนั้น บุคคลใดที่ศาลได้มีคำสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถแล้ว ก็ไม่สามารถทำพินัยกรรมได้เช่นกัน หากฝ่าฝืนทำพินัยกรรมขึ้นมาผลก็คือ พินัยกรรมนั้นใช้ไม่ได้หรือตามกฎหมายเรียกว่าเป็นโมฆะเช่นกัน
พินัยกรรมมีกี่แบบ
การทำพินัยกรรมนั้นต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นไม่ถือว่าเป็นพินัยกรรม
พินัยกรรมมีอยู่ 5 แบบด้วยกัน ได้แก่
พินัยกรรมแบบธรรมดา (ป.พ.พ. มาตรา 1656)
พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ (ป.พ.พ. มาตรา 1657)
พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง (ป.พ.พ. มาตรา 1658)
พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ (ป.พ.พ. มาตรา 1660)
พินัยกรรมทำด้วยวาจา (ป.พ.พ. มาตรา 1663)
อนึ่ง พินัยกรรมทั้ง 5 แบบดังกล่าว มี 3 แบบ ที่ผู้ทำจะต้องไปติดต่อกับทางอำเภอหรือเขต คือ แบบที่ 3 , 4และ 5 ส่วนแบบที่ 1และแบบที่ 2 ผู้ทำสามารถดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องติดต่อกับทางอำเภอหรือเขตแต่อย่างใด
พินัยกรรมแต่ละแบบมีลักษณะแตกต่างกัน ผู้ทำพินัยกรรมสามารถเลือกทำแบบใดก็ได้ ที่สำคัญคือข้อความในพินัยกร รมต้องมีสาระเป็นเรื่องกำหนดการเผื่อตายเอาไว้
พินัยกรรมสามารถเลือกทำพินัยกรรมแบบใดแบบหนึ่งในจำนวนทั้งหมด 5 แบบ หลักเกณฑ์การทำพินัยกรรมในแต่ละแบบมีรายละเอียดดังนี้
ตอบลบ1. พินัยกรรมแบบธรรมดา
การทำพินัยกรรมแบบธรรมดาถือว่าเป็นพินัยกรรมแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด บางรายจะว่าจ้างทนายความเป็นผู้จัดทำหรือร่างข้อความในพินัยกรรมให้ตามความประสงค์ของผู้ทำ
หลักเกณฑ์การทำพินัยกรรมแบบธรรมดา
ต้องทำเป็นหนังสือ โดยจะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ (จะเขียนหรือพิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศก็ได้)
ต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำ เพื่อพิสูจน์ความสามารถของผู้ทำ
ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน จะลงลายมือชื่อหรือพิมพ์นิ้วมือก็ได้ แต่จะใช้ตราประทับแทนการลงชื่อหรือเครื่องหมายแกงไดไม่ได้ และพยานที่จะลงลายมือชื่อในพินัยกรรมจะพิมพ์ลายนิ้วมือหรือใช้ตราประทับ หรือลงแกงได หรือลงเครื่องหมายอย่างอื่นแทนการ
ลงชื่อไม่ได้ จะต้องลงลายมือชื่ออย่างเดียว
การขูด ลบ ตกเติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น ซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ในขณะที่ขูด ลบ ตกเติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น ได้ลงวัน เดือน ปี และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์นิ้วมือต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน และพยานอย่างน้อยสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมในขณะนั้น (ต้องเป็นพินัยกรรมแล้ว)
พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
ตอบลบหลักเกณฑ์การทำพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
ต้องทำเป็นเอกสารที่เป็นหนังสือ โดยจะใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศก็ได้
ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยลายมือของตนเองทั้งฉบับ จะพิมพ์ไม่ได้ เพราะฉะนั้นผู้ที่เขียนหนังสือไม่ได้ย่อมไม่สามารถจะทำพินัยกรรมแบบนี้ได้ พินัยกรรมแบบนี้จะมีพยานหรือไม่มีก็ได้ เพราะกฎหมายไม่ได้ห้ามไว้ พินัยกรรมแบบนี้จึงมีความสะดวกตรงที่ไม่จำเป็นต้องมีพยานรู้เห็นในการทำพินัยกรรม
ต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำ
ต้องลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม จะใช้ลายพิมพ์นิ้วมือหรือเครื่องหมายอื่นไม่ได้
หากมีการแก้ไข ขูด ลบ ตก เติมพินัยกรรมผู้ทำพินัยกรรมจะต้องทำด้วยมือของตนเองจะให้ผู้อื่นทำไม่ได้ และจะต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ ณ จุดที่แก้ไข ขูดลบ ตก เติมด้วย หากมีการแก้ไข ขูด ลบ ตก เติมพินัยกรรม แต่ไม่มีการลงลายมือชื่อกำกับถือว่าไม่ได้มีการแก้ไข ขูดลบ ตกเติมในจุดนั้นๆ
อนึ่งพินัยกรรมแบบธรรมดากับพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับมีส่วนคล้ายกันมาก มีข้อแตกต่างบางประการ คือ พินัยกรรมแบบธรรมดาผู้ทำพินัยกรรมไม่จำเป็นต้องเขียนเอง หรือพิมพ์เอง และจะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ ที่สำคัญพินัยกรรมแบบธรรมดาต้องมีพยานอย่างน้อยสองคนด้วย และหากบุคคลอื่นเป็นผู้เขียนหรือพิมพ์ควรลงลายมือชื่อผู้เขียน และพยานด้วย โดยระบุชื่อผู้เขียน ผู้พิมพ์และพยาน ข้อแตกต่างอีกประการหนึ่งคือ พินัยกรรมแบบธรรมดาผู้ทำพินัยกรรมสามารถพิมพ์ลายนิ้วมือแทนการลงลายมือชื่อได้แต่ต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือไว้สองคน
พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง
ตอบลบการขอทำพินัยกรรมเป็นเอกสารฝ่ายเมือง ผู้ร้องสามารถยื่นคำร้องขอให้นายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต ณ อำเภอหรือเขตใดก็ได้ ดำเนินการให้ตามความประสงค์
ขั้นตอนการทำพินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง เป็นดังนี้
ผู้ทำพินัยกรรม แจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนแก่นายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขตต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน
นายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขตจะจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบแล้วนั้นลงไว้ และอ่านข้อความนั้น ให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง
เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานรับทราบชัดเจนว่า ข้อความที่นายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขตจดนั้นถูกต้องตรงกันกับที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งไว้แล้ว ให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
ข้อความที่นายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขตจดไว้นั้น ให้นายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขตลงลายมือชื่อ และลงวัน เดือน ปี จดลงไว้ด้วยตนเองเป็นสำคัญว่า พินัยกรรมนั้นได้ทำถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ข้างต้น แล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นหลักฐาน
การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ไม่จำเป็นต้องทำในที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ/ ที่
ทำการเขตเสมอไป ถ้าผู้ทำร้องขอจะทำนอกที่ทำการดังกล่าวก็ได้
พินัยกรรมทำแบบเอกสารลับ
ตอบลบขั้นตอนการทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับ เป็นดังนี้
ผู้ที่ประสงค์จะทำพินัยกรรมเป็นเอกสารลับ ให้ผู้นั้นแสดงความจำนงตามแบบของเจ้า
พนักงานยื่นต่อกรมการอำเภอ (นายอำเภอ) ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอแล้วปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
ต้องมีข้อความเป็นพินัยกรรมและลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม
ผู้ทำพินัยกรรมต้องผนึกพินัยกรรม แล้วลงลายมือชื่อคาบรอยผนึก
ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้น ไปแสดงต่อนายอำเภอและพยานอย่างน้อย 2 คนและให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดนั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน ถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมเขียนเองโดยตลอด ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งนามและภูมิลำเนาของผู้เขียนให้ทราบด้วย
เมื่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขตจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม และวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมมาแสดงไว้ในซองพับและประทับตราประจำตำแหน่ง แล้วนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขตผู้ทำพินัยกรรม และพยานลงลายมือชื่อบนซองนั้น
อนึ่ง หากบุคคลผู้เป็นทั้งใบ้ และหูหนวก หรือผู้ที่พูดไม่ได้ มีความประสงค์จะทำพินัยกรรมเป็นเอกสารลับก็สามารถทำได้ โดยให้ผู้นั้นเขียนด้วยตนเองบนซองพินัยกรรมต่อหน้านายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต และพยานอย่างน้อย 2 คน ว่าพินัยกรรมที่ผนึกนั้นเป็นของตน แทนการให้ถ้อยคำ
ถ้าผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับประสงค์ขอรับไปทันที ก็ให้นายอำเภอมอบให้ไปได้ โดยให้ผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับ ประสงค์ขอรับไปทันที ก็ให้นายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขตมอบให้ไปได้ โดยให้ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อรับในสมุดทะเบียน
พินัยกรรมทำด้วยวาจา
ตอบลบการทำพินัยกรรมด้วยวาจาเป็นกรณีเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งบุคคลใดไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ เช่น ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม ซึ่งในพฤติการณ์เช่นนี้ ผู้ทำพินัยกรรมไม่อาจหาเครื่องมือเครื่องเขียนได้ทันท่วงที หรือกว่าจะหาได้ก็ถึงตายเสียก่อน ผู้ทำพินัยกรรมสามารถทำพินัยกรรมด้วยวาจาได้ ดังนี้
ผู้ทำพินัยกรรมแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน ซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น
พยานทั้งหมดต้องไปแสดงตนต่อนายอำเภอโดยมิชักช้า และแจ้งให้นายอำเภอทราบถึงข้อความเหล่านี้
- ข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจา
- วัน เดือน ปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรม
- พฤติการณ์พิเศษที่ขัดขวางมิให้สามารถทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมาย
กำหนดไว้นั้นด้วย
ให้นายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขตจดข้อความที่พยานแจ้งไว้ และพยานทั้งหมดนั้นต้องลงลายมือชื่อ ถ้าลงลายมือชื่อไม่ได้จะลงลายพิมพ์นิ้วมือ โดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คนก็ได้
อนึ่ง ความสมบูรณ์แห่งพินัยกรรมนี้ย่อมสิ้นไป เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่เวลา
ผู้ทำพินัยกรรมกลับมาสู่ฐานะที่จะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้
ตัวอย่าง พินัยกรรมแบบธรรมดา
ตอบลบพินัยกรรม
ทำที่บ้านเลขที่ 3 หมู่ 2 ต.กันตา อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
วันที่ 1 มกราคม 2550
ข้าพเจ้า นางไข่มุก วาจาดี อายุ 73 ปี อยู่บ้านเลขที่ 12 ม. 3 ต.ยายชา อ.สามพรานจ.นครปฐม ขอทำพินัยกรรมไว้ว่า เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมไปแล้ว ทรัพย์สินของข้าพเจ้าให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ ของบุคคลดังต่อไปนี้
ข้อที่ 1 ที่ดินโฉนดเลขที่ 123 เลขที่ดิน 456 ต.เขายายเที่ยง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เนื้อที่ 10ไร่พร้อมบ้านบนที่ดินให้ตกเป็นของนายประสงค์ สามารถ
ข้อที่ 2 ให้เงินสดในบัญชีที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาปากช่อง ทั้งหมดให้ตกเป็นของนางดวงใจ ใจเพชร
ข้อที่ 3 ให้ทรัพย์สินอื่น ๆ นอกจากนี้ ให้ตกเป็นของ นางสาวรัศมี นาดี แต่เพียงผู้เดียว
พินัยกรรมฉบับนี้ข้าพเจ้าและพยานได้อยู่พร้อมกัน ข้าพเจ้าได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานสองคนพร้อมกันและพยานทั้งสองคนได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าข้าพเจ้าโดยพร้อมเพรียงกัน ขณะทำพินัยกรรมนี้ข้าพเจ้ามีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ดี เพื่อเป็นหลักฐานจึงลงลายมือชื่อไว้
ลงชื่อ ……………………………. ผู้ทำพินัยกรรม
(ไข่มุก วาจาดี)
ลงชื่อ……..….………………… พิมพ์หรือเขียน,พยาน
(สดศรี ดวงเลิศ)
ลงชื่อ……………………… พยาน
(ดวงฤดี มีชัย)
วิธีการเขียนพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
ตอบลบพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ทำได้ดังนี้
1.ให้เริ่มเขียนกลางหน้ากระดาษว่า พินัยกรรม
2. บรรทัดถัดลงมาให้ระบุสถานที่ที่ทำพินัยกรรม คือ เขียนข้อความว่า พินัยกรรมนี้ได้ทำขึ้นที่ไหน
3.บรรทัดถัดลงไปให้ระบุว่า ทำเมื่อวันที่ / เดือน / ปีอะไร ต่อจากนั้นย่อหน้าถัดไปต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ทำพินัยกรรมประกอบด้วย ชื่อ นามสกุล อายุ อยู่บ้านเลขที่ ถนน หมู่ ตำบล อำเภอ จังหวัด การระบุรายละเอียดดังกล่าวเพื่อให้รู้ว่าใครเป็นผู้ทำพินัยกรรม และผู้ทำพินัยกรรมมีอายุเกินกว่า 15 ปี ขณะที่ทำพินัยกรรมตามที่กฎหมายหรือไม่
4.ข้อความต่อไปให้ระบุว่า จะให้ทรัพย์สินของเราตกทอดแก่บุคคลใดเมื่อเราเสียชีวิตไปแล้ว
ตัวอย่าง เช่น "ข้าพเจ้าขอทำพินัยกรรมว่าเมื่อข้าพเจ้าถึงแก่ความตายแล้ว ให้ทรัพย์สินของข้าพเจ้าตกเป็นของบุคคลดังต่อไปนี้" จากนั้นให้ระบุรายการทรัพย์สินทั้งหลายที่ตั้งใจจะยกให้ โดยอาจระบุเป็นข้อๆเช่น
ตอบลบข้อ 1 ให้เงินข้าพเจ้าจำนวน 2,000,000 บาท ที่ฝากไว้กับธนาคารกรุงไทย สาขา
สุพรรณบุรี ให้ตกเป็นของนายอนุมาน สมดี
ข้อ 2 ให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 2345 ตำบลวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ รวมสิ่งปลูก
สร้างบนที่ดินดังกล่าว ให้ตกเป็นของนางดวงใจ ใจดี
ข้อ 3 ให้รถยนต์ยี่ห้อฮอนด้า 1 คัน หมายเลขทะเบียน จส1188 กรุงเทพมหานคร ให้ตกเป็นของนางสาวทองดี มงคล
อนึ่ง หากผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่ใครคนใดคนหนึ่งก็อาจเขียนว่า “เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมไปแล้วให้ทรัพย์สินทั้งหมดของข้าพเจ้าตกได้แก่ นายใจ ไชโย
แต่เพียงผู้เดียว”
5. ย่อหน้าต่อไปควรระบุว่า ขณะทำพินัยกรรมฉบับนี้ ข้าพเจ้ามีสติสัมปชัญญะปกติบริบูรณ์ดีตอนท้ายของพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อหรือลายเซ็นของผู้ทำพินัยกรรม และควรวงเล็บชื่อและนามสกุลด้วยตัวบรรจงไว้ด้วย แต่จะพิมพ์ลายมือแทนการลงลายมือชื่อไม่ได้
6. เมื่อเขียนพินัยกรรมเสร็จแล้ว ก็เป็นอันว่าหนังสือฉบับนี้เป็นพินัยกรรมไปแล้ว แต่หากผู้ทำพินัยกรรมต้องการเปลี่ยนแปลงแก้ไขพินัยกรรมที่ทำไว้แล้วนั้น ก็สามารถทำได้แต่จะต้องลงลายมือชื่อของตนตรงที่ได้แก้ไข ขูด ลบ ตก เติมนั้นไว้ด้วย
เมื่อได้ทำขึ้นแล้วนั้นผู้ทำพินัยกรรมมีสิทธิจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ สามารถยกเลิกได้โดยแก้ไขฉีกทำลายพินัยกรรมเสียก็ได้ หรือทำพินัยกรรมฉบับใหม่ซึ่งหากมีการทำใหม่ให้ถือว่าพินัยกรรมฉบับเก่าถูกเพิกถอนไปแล้ว