Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

จับลูกเขย่า ระวัง! Shaken Baby Syndrome

จับลูกเขย่า ระวัง! Shaken Baby Syndrome





จับลูกเขย่า ระวัง! SHAKEN BABY SYNDROME (รักลูก) 



เขย่าลูกเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จะด้วยความโมโห หรือเล่นรุนแรงอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการ Shaken Baby Syndrome ส่งผลต่อสมอง และอันตรายถึงชีวิต!

"เธอ...ช่วยทำยังไงก็ได้ให้ลูกเงียบเสียงทีเถอะ" คุณพ่อบ้านผู้กำลังคร่ำเคร่งกับกองงานตรงหน้าบ่นอย่างหงุดหงิด หลังจากทนฟังเสียงลูกน้อยวัยแบเบาะร้องไห้เสียงลั่นแบบไม่รู้หยุด

"เงียบ...เงียบได้แล้ว ร้องอยู่ได้ บอกให้...เงียบๆๆๆ" คุณแม่ตะเบ็งเสียงอย่างสุดกลั้น พร้อมสองมือยกลูกสาวตัวน้อยลอยเหนือเบาะรองนอน และแล้ว ก็เขย่าลูกอย่างสุดแรง!!! สิ่งที่ตามมาคือลูกสาวเงียบเสียงลงโดยพลัน! คุณแม่จึงหันกลับไปทำงานบ้านต่อ

3 ชั่วโมงก็แล้ว 4 ชั่วโมงก็แล้ว ลูกน้อยยังคงนอนนิ่ง ไม่ร้อง ไม่หิว "หรือว่าเราจะเขย่าตัวลูกแรงเกินไป คุณแม่เริ่มวิตก "แต่ไม่มั้ง ลูกคงร้องจนเพลียเลยหลับยาว" เธอปลอบใจตัวเองเพื่อลดความรู้สึกผิด ส่วนคนเป็นพ่อก็ยังวุ่นอยู่กับงานที่กองสุมดั่งไม่รับรู้ใด ๆ ในบ้าน 

จนกระทั่งต้องอุ้มลูกไปโรงพยาบาล หลังจากที่คุณแม่หน้าซีดเผือดมาบอกว่าลูกรักนอนแน่นิ่งไปกว่า 6 ชั่วโมงแล้ว !
ทางโรงพยาบาลพบว่าเด็กมีอาการซึม ไม่สนองตอบต่อเสียง สนองตอบเล็กน้อยต่อความเจ็บ หายใจแค่ 14 ครั้งต่อนาที แถมชีพจรเต้นช้าเพียง 60 ครั้งต่อนาที

คุณหมอช่วยให้ออกซิเจนผ่านทางหน้ากากและถุงลม แต่เด็กอาการไม่ดีขึ้น จึงใส่ท่อเพื่อช่วยในการหายใจ คุณหมอตรวจตาพบว่าที่จอรับภาพนั้น มีเลือดออก เมื่อตรวจสมองด้วยเครื่อง MRI ก็พบว่ามีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง รวมทั้งระหว่างรอยแบ่งแยกของสมองด้วย

สิ่งที่น่าตกใจและน่าเสียใจเป็นอย่างยิ่งก็คือ อีกเพียง 3 วันถัดมา...ลูกน้อยเสียชีวิต สาเหตุเนื่องจากเด็กถูกเขย่าตัวอย่างรุนแรงจนเลือดออกในสมองการจับตัวเด็กเขย่าแรง ๆ ด้วยอารมณ์โกรธเพียงชั่ววูบ หรือด้วยการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้ทำให้คนเป็นพ่อเป็นแม่ต้องปวดร้าวใจไปชั่วชีวิตมานักต่อนักแล้ว


Shaken Baby Syndrome



ในทางการแพทย์เรียกการตายของเด็กจากกรณีข้างตันว่า Shaken Baby Syndrome หลายราย นอกจากโดนเขย่าอย่างรุนแรงแล้ว ยังโดนจับกระแทกกับที่นอนกับหมอนด้วย ซึ่งมีผลให้สมองได้รับแรงกระแทกเพิ่มขึ้นอีกถึง 50 เท่า โอกาสจะกลายเป็นเด็กพิการหรือเสียชีวิตก็ยิ่งมีมาก (บางรายแย่ยิ่งกว่านี้ นั่นคือโดนจับกระแทกกับของแข็ง เช่น ขอบเตียง เก้าอี้ ทำให้เด็กแบเบาะกระดูกแขน ขา ซี่โครง หรือกะโหลก ศีรษะแตก

เด็กที่โดนเขย่ารุนแรงหลาย ๆ ราย มักไม่เห็นร่องรอยการบาดเจ็บจากภายนอก ไม่ได้รีบส่งมารักษา ทั้งที่มีอาการของ Shaken Baby Syndrome จึงมีโอกาสเสียชีวิตสูง (เด็กที่ตกอยู่ในภาวะ Shaken Baby Syndrome จำนวน 1 ใน 3 คน มักจะเสียชีวิต) ที่เหลือรอดก็มีโอกาสตาบอด เป็นลมชัก หรือถ้ารอดก็มักมีปัญหาด้านการเรียนรู้ หรือสติปัญญาต่อไป

อย่าลืมเชียวนะครับ ลูกวัยแบเบาะกล้ามเนื้อคอยังไม่แข็งแรง ศีรษะก็ยังพยุงเองไม่ได้ ที่สำคัญคือสมองของสิ่งมีชีวิตนั้นเปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการทั้งร่างกายและจิตใจ สมองคือสิ่งมหัศจรรย์มีการพัฒนาเรื่อยมาตั้งแต่เด็กยังอยู่ในท้องแม่ และพัฒนาอย่างรวดเร็วหลังคลอดแล้ว แต่สมองของเด็กน้อยนั้นก็มีโอกาสได้รับการกระทบกระเทือนได้โดยง่าย เพราะศีรษะของเขามีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับสัดส่วนของลำตัว การพลัดตกหกล้ม ศีรษะจึงมักจะลงก่อน การกระเทือนถึงสมองจึงเป็นเรื่องน่าห่วงอย่างยิ่ง

นอกจากการพลัดตก ก็มีกรณีที่หลาย ๆ ท่านอาจนึกไม่ถึง ก็คือ การที่เด็กแบเบาะโดนเขย่าอย่างรุนแรงจนตาบอด พิการ หรือเสียชีวิต หลายสิบปีก่อน


การปฐมพยาบาล


เราไม่ควรเขย่าลูกนะคะ แต่ถ้าพบเห็นเด็กถูกเขย่าหรือพ่อแม่เองที่เผลอทำเสียเอง สิ่งที่ควรทำก็คือตั้งสติให้เยือกเย็นลง และรีบแก้ไขดังนี้

 1.พาเด็กไปรับการตรวจกับแพทย์ทันที

 2.อาการเริ่มแรกของผลกระทบจากการเขย่าเด็กรุนแรง ก็คือ อาเจียน หรือหายใจลำบาก ซึ่งคล้ายอาการของโรคที่ไม่รุนแรง เช่น ภาวะร้องไห้ 3 เดือน (โคลิก) กินนมมากเกินไป หรือให้นมไม่ถูกวิธี ดังนั้น จะต้องบอกคุณหมอว่าเด็กถูกเขย่าอย่างรุนแรง เพื่อแพทย์จะได้วินิจฉัยได้ถูกต้องและรักษาทันเวลา เพราะอาการ Shaken Baby Syndrome อาจมีผลให้สมองเด็กได้รับอันตราย หรือเลือดออกในสมองเพราะการเขย่ารุนแรง ซึ่งต้องรีบทำการรักษา 


มิฉะนั้นอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อเด็ก จนอาจไม่สามารถช่วยชีวิตเด็กได้ทัน



1 ความคิดเห็น:

  1. ระวังเวลาจับลูกเขย่า Shaken Baby Syndrome









    เขย่าลูกเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จะด้วยความโมโห หรือเล่นรุนแรง อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการ Shaken Baby Syndrome ส่งผลต่อสมอง และอันตรายถึงชีวิต!

    Shaken Baby Syndrome
    ในทางการแพทย์เรียกการตายของเด็กจากการถูกเขย่าว่า Shaken Baby Syndrome หลายรายนอกจากโดนเขย่าอย่างรุนแรงแล้ว ยังโดนจับกระแทกกับที่นอนกับหมอนด้วย ซึ่งมีผลให้สมองได้รับแรงกระแทกเพิ่มขึ้นอีกถึง 50 เท่า โอกาสจะกลายเป็นเด็กพิการหรือเสียชีวิตก็ยิ่งมีมาก (บางรายแย่ยิ่งกว่านี้ นั่นคือโดนจับกระแทกกับของแข็ง เช่น ขอบเตียง เก้าอี้ ทำให้เด็กแบเบาะกระดูกแขน ขา ซี่โครง หรือกะโหลกศีรษะแตก)





    เด็กที่โดนเขย่ารุนแรงหลายๆ รายมักไม่เห็นร่องรอยของการบาดเจ็บจากภายนอก ไม่ได้รีบส่งมารักษา ทั้งที่มีอาการของ Shaken Baby Syndrome จึงมีโอกาสเสียชีวิตสูง (เด็กที่ตกอยู่ในภาวะ Shaken Baby Syndrome จำนวน 1 ใน 3 คน มักจะเสียชีวิต) ที่เหลือรอดก็มีโอกาสตาบอด เป็นลมชัก หรือถ้ารอดก็มักมีปัญหาด้านการเรียนรู้ หรือสติปัญญาต่อไป

    เหตุใดการเขย่าถึงกับทำให้ทารกน้อยพิการ หรือเสียชีวิต ?
    การเขย่าลูกน้อยอย่างรุนแรงและกระชากกลับอย่างรวดเร็ว (Violently Shaken) ความร้ายแรงนั้นเปรียบได้กับการขับรถพุ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว แล้วเหยียบเบรกอย่างกะทันหัน ทั้งที่มีเด็กเล็กๆ นั่งอยู่ในรถ สมองก็เปรียบดังตัวเด็กในรถ เมื่อเบรกกะทันหันเด็กน้อยก็จะถูกกระแทกกับตัวรถ แล้วจะถูกแรงเหวี่ยงมาด้านหลังอีกครั้งอย่างรุนแรงและรวดเร็ว

    มีผลให้เส้นเลือดเล็กๆ ที่เชื่อมกันระหว่างเนื้อเยื่อของสมองฉีกขาดแล้วเลือดออก (เขย่าไปด้านข้าง เลือดก็จะออกจากสมองด้านข้าง ถ้าเขย่าไปด้านหน้าเลือดก็จะออกจากสมองด้านหน้า) เส้นเลือดใหญ่ในสมองที่ยังไม่แข็งแรงของเด็กอ่อน ก็จะเกิดการแตกปริ ฉีกขาด และมีเลือดออก

    สมองของเด็กแบเบาะมีส่วนที่เป็นน้ำมากกว่าส่วนที่เป็นเนื้อสมอง การโดนผู้ใหญ่เขย่าไปมา อย่างไม่ปรานีปราศรัย จะมีผลให้เนื้อสมองแกว่งไป แกว่งมา แล้วไปกระทบกระแทกกับกะโหลกศีรษะ จนสมองบอบช้ำเสียหาย นอกจากนั้นเส้นเลือดใหญ่ในสมองที่ยังไม่แข็งแรงของเด็กอ่อน ก็จะเกิดการแตกปริฉีกขาด มีเลือดออกได้เช่นกัน

    เหตุใด...ผู้ใหญ่ (บางคน) จึงเขย่า หรือจับเด็กกระแทกอย่างรุนแรง?
    “เงียบ...เงียบๆๆๆ...จะร้องไปถึงไหน...” หลายๆ ท่านคงเคยได้ยินถ้อยคำ ได้ยินเสียงอันเดือดพล่านทำนองนี้มาแล้ว ซึ่งนี่คือปฏิกิริยาของคนที่มีอาการเบรกแตก (บันดาลโทสะ อารมณ์ชั่ววูบ) จนทนเสียงร้องไห้ของทารกไม่ไหวอีกแล้ว บวกกับโดนรุมเร้าด้วยปัญหาต่างๆ ในชีวิต (ตกงาน สามีมีกิ๊ก ภรรยาทิ้ง เงินไม่พอใช้ หรือเมาเหล้า เมายาบ้า ฯลฯ)

    ยิ่งบุคลิกเดิมเป็นคนใจร้อน ควบคุมความโกรธไม่ค่อยได้อยู่แล้ว เด็ก (แม้แต่เป็นลูกแท้ๆ ของตน) ก็ยิ่งมีโอกาสกลายเป็นเหยื่อได้อย่างง่ายดาย ซึ่งการมีผู้ช่วยไม่ว่าจะเป็นพี่เลี้ยงเด็กที่ผ่านการเลือกสรรอย่างดีแล้ว) หรือมีญาติผู้ใหญ่มาช่วยกล่อม เมื่อเจ้าลูกน้อยแผดเสียงร้องในยามที่คุณแม่คุณพ่อเหนื่อยล้า จะทำให้ความเครียดลดน้อยลงเป็นอย่างดี

    อีกข้อหนึ่งซึ่งคู่สามีภรรยาหลายๆ คู่คงไม่เคยคิดถึง นั่นคือการศึกษาถึงพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย จนมีความเข้าใจ ถือเป็นการเตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ ที่จะรับมือกับปัญหาที่รออยู่อย่างมั่นใจเพราะปัญหา Shaken Baby Syndrome มักจะเป็นเด็กอ่อนวัยไม่เกิน 1 ขวบ คุณแม่คุณพ่อหรือคนที่เลี้ยงมักมีภาวะเครียดสะสมอยู่แล้ว ยิ่งลูกร้องลั่นบ้านบ่อยๆ ก็เลยทนไม่ไหว แล้วจับลูกเขย่าแรงๆ ได้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

    บางทีการที่เด็กร้องไม่หยุด อาจเป็นเพราะเขากำลังไม่สบาย มีอาการเจ็บป่วย จึงควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาครับ ถ้าพ่อแม่หรือผู้ที่เลี้ยงเด็กเกิดอาการหงุดหงิด ต้องพักสงบสติทันที มิฉะนั้นลูกน้อยอาจกลายเป็นเหยื่อระบายอารมณ์อย่างที่เราเองก็คาดไม่ถึง การตั้งสติเป็นเรื่องสำคัญ เช่น หายใจเข้าออกลึกๆ นับ 1-10 เดินออกมานอกห้องให้เด็กร้องอยู่ในห้องที่ปลอดภัยคนเดียว เรียกหาคนใกล้ชิดอื่นมาปลอบเด็กแทน หลังจากสงบสติอารมณ์เรียบร้อยแล้วจึงกลับเข้าไปดูเด็กอีก

    โดย: รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์








    .

    ตอบลบ