โรคดิสเล็กเซีย Dyslexia คืออะไร
- ภาวะบกพร่องด้านการสะกดคำ
- ภาวะบกพร่องด้านการตีความ
- ภาวะบกพร่องด้านการเรียงลำดับความสำคัญของคำที่อ่าน รวมถึงไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน
- ภาวะบกพร่องด้านความจำ อ่านแล้วมักลืมสิ่งที่เคยอ่าน
- ขาดทักษะด้านการอ่านออกเสียง อ่านไม่คล่อง ตะกุกตะกัก
- มักสับสนด้านซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย
- ไม่สามารถจับใจความเนื้อหาที่อ่านไปแล้วได้
- ภาวะบกพร่องทางทักษะการคำนวณ
- ภาวะบกพร่องด้านการแยกแยะโทนเสียงดนตรี
- มักสับสนเวลาเขียน ลายมือไม่เป็นระเบียบ
- ภาวะบกพร่องด้านการสื่อสารในสิ่งที่คิด ไม่สามารถอธิบายใจความสำคัญได้
เนื่องจากธรรมชาติที่ซับซ้อนของโรค จึงมีความจำเป็นที่นักจิตวิทยาการศึกษาต้องทำการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มขึ้น เพื่อที่นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญสามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวภาวะบกพร่องด้านการศึกษาได้
สัญญาณต่อไปนี้บ่งบอกว่าเด็กอยู่ภาวะเสี่ยงที่จะเป็นโรคดิสเล็กเซีย
- มักอ่านคำผิดพลาดหรือมีความยากลำบากในการอ่านตัวอักษร
- ใช้เวลานานในการอ่านและหลังอ่านเสร็จไม่สามารถจับใจความสิ่งที่อ่านได้
- สะกดคำไม่คล่อง
- ไม่สามารถเขียนได้อย่างถูกต้องหรือมองคำที่คุณครูเขียนบนกระดานแล้วไม่สามารถเขียนตามตัวอย่างได้
- สามารถทำงานบางอย่างได้ดีแต่ในขณะเดียวกันไม่สามารถทำอีกอย่างหนึ่งได้
- ไม่สามารถเรียนรู้หรือจดจำตาราง วัน เวลา หรือแม้กระทั่งปีได้
- มักมีปัญหาในการจดจำตัวเลขหลายหลัก มักสับสน เช่น เบอร์โทรศัพท์
- มีปัญหาในการเรียงลำดับความสำคัญของประโยคคำสั่งรวมถึงสิ่งที่อ่านไป
- มักสับสนด้านขวาหรือซ้าย การมองเห็นมักจะกลับด้าน และการเขียนตัวอักษรและตัวเลขมักจะกลับด้านเสมอ
- ไม่สามารถเขียนเพื่อสื่อความหมายได้ โดยสะกดคำผิด หรือใช้สรรพนามผิด รวมถึงไม่สามารถเอาตัวอักษรใส่ตามเสียงที่ได้ยินได้ และไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างคำต่าง ๆ ได้
- มีปัญหาเกี่ยวกับการแยกแยะโทนเสียง ไม่สามารถแยกเสียงโน้ตดนตรีได้
- ทำตามคำสั่งผิดพลาด โดยเด็กไม่สามารถแยกแยะสิ่งที่ถูกบอกให้ทำได้ จับใจความไม่ได้ เรียงลำดับความสำคัญไม่ได้
โรคนี้มีทางรักษาได้เพราะถ้าพ่อแม่สังเกตเห็นความผิดปกติได้เร็ว ก็จะทำให้ช่วยเหลือเด็กได้เร็วขึ้น และสามารถมีพัฒนาการปกติตามวัยได้
โรค Dyslexia
หนูน้อย Dyslexia (รักลูก) โดย: เมธาวี
อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ไม่เข้าใจการเรียน ลูกอาจเป็น Dyslexia
Dyslexia หรือที่บางคนรู้จักในชื่อสั้น ๆ ว่า LD คือโรคที่มีความบกพร่องทางทักษะการเรียนรู้ ซึ่งมีสถิติพบการเป็นโรคประมาณ 5% ของเด็กไทย โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน
1. ความบกพร่องทางทักษะการอ่าน (Reading Disorder) คือการที่เด็กอ่านได้น้อยกว่าปกติ และมีความยากลำบากในการอ่านตัวอักษร รวมทั้งสะกดคำไม่คล่อง อ่านตะกุกตะกัก อ่านช้า หรือบางคนอ่านได้คล่อง แต่เมื่ออ่านเสร็จกลับจับใจความสิ่งที่อ่านไม่ได้เลย ไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร หรือไม่รู้ว่าตัวเองกำลังอ่านอะไรอยู่ ทำให้ส่งผลกระทบต่อเรื่องการเรียนของเด็ก เช่น เรียนไม่ทันเพื่อน ทำข้อสอบไม่ได้ ต้องเรียนซ้ำชั้น เป็นต้น โดยพบว่าเด็กมีความบกพร่องทางด้านนี้มากที่สุด
2. ความบกพร่องทางทักษะการเขียน การสะกดคำ การสร้างคำ หรือการสร้างประโยค (Spelling หรือ Written expression disorder) คือการที่เด็กไม่สามารถเขียนเพื่อสื่อความหมายได้ โดยสะกดคำผิด หรือใช้สรรพนามผิด ทำให้เขียนแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง เช่น เด็กต้องการจะเขียนเรียงความ แต่ไม่เข้าใจเรื่องโครงสร้างประโยคว่าต้องมีประธาน กริยา กรรม ส่งผลให้อ่านไม่รู้เรื่อง และไม่เข้าใจความหมายที่เด็กเขียนขึ้นมา
3. ความบกพร่องทางทักษะการคำนวณ (Mathematics หรือ Calculation disorder) คือเด็กกลุ่มนี้จะขาดทักษะด้านการคำนวณ ไม่เข้าใจกระบวนการของการบวกเลข ลบเลข เช่น การบวกคือการเพิ่มจำนวนขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งเด็กจะไม่เข้าใจว่าเพิ่มอย่างไร บวกกันแล้วได้เท่าไหร่ ส่วนเรื่องการลบ คือการหักออกไปเรื่อยๆ ซึ่งเด็กก็จะไม่เข้าใจว่าต้องหักออกอย่างไร หรือลบออกแล้วเหลือเท่าไหร่
นอกจากนี้ยังมีเด็กบางคนที่ไม่เข้าใจกระบวนการ การทดเลข รวมไปถึงการแปลโจทย์ปัญหาด้วย เช่น เมื่อให้โจทย์เลข 5+7 เท่ากับเท่าไหร่ เด็กสามารถตอบได้ว่าเท่ากับ 12 แต่ถ้าบอกว่า มีเงิน 5 บาท แม่ให้มาอีก 7 บาท รวมแล้วมีเงินเท่าไหร่ เด็กจะแปลโจทย์ไม่ออกว่าต้องทำอะไรบ้าง
สาเหตุ
สาเหตุของการเกิดโรค Dyslexia หรือ LD ยังไม่ทราบแน่ชัด รู้แต่เพียงว่าเกิดจากความผิดปกติของการทำงานที่เซลล์สมองซีกซ้าย ด้านหน้า เรียกว่า Parietal lobe ซึ่งเป็นความบกพร่องของการทำงานของระบบประสาทในเรื่องของการตีความ เรื่องของความจำระยะสั้น
นอกจากนี้มีงานวิจัยระบุว่า โรคนี้มีการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ โดยมีโครโมโซมบางตัวที่ผิดปกติ ซึ่งโครโมโซมตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกตินี้ คือโครโมโซมตัวที่ 7 แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดค่ะ
อย่างไรก็ตามโรค Dyslexia สามารถเชื่อมโยงกับโรคทางพันธุกรรมอย่างอื่นได้ เช่น โรคสมาธิสั้น โรคออทิสติก หรือแม้กระทั่งโรคสติปัญญาบกพร่อง ซึ่งอาจจะเกิดร่วมกันและสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ด้วย
และอีกสาเหตุหนึ่งที่อาจส่งผลให้เกิดโรคนี้ได้ คือการใช้ชีวิตในแต่ละบ้าน ที่บรรยากาศในบ้านไม่มีการส่งเสริมให้อ่านหนังสือเลย หรือเด็กที่มีโอกาสน้อยทางการศึกษา ทำให้การกระตุ้นเซลล์สมองไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้เกิดความบกพร่องทางการเรียนรู้ขึ้นได้
สังเกตอาการของ Dyslexia
คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการของลูกน้อยได้ ตั้งแต่วัยขวบปีแรก หรือก่อนเข้าเรียนอนุบาลได้ โดยสังเกตจากการพูด หากมีปัญหาเรื่องการพูดช้าตั้งแต่เด็ก หรือมีพัฒนาการทางด้านภาษาที่บกพร่อง เช่น
อายุ 1 ขวบ ยังพูดเป็นคำไม่ได้ เรียกพ่อแม่ไม่ได้
อายุ 2-3 ขวบ ยังพูดได้น้อยกว่าปกติ เมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน
อายุ 3 ขวบ ยังไม่สามารถเล่าเรื่องราวได้ หรือเล่าไม่รู้เรื่อง พูดติดอ่างวนไปวนมา
อายุ 5-6 ขวบ ไม่เข้าใจคำว่า ซ้าย-ขวา หรือเรียกว่า Mirroring effect คือการมองเห็นของเด็กจะกลับด้าน เช่น ใส่รองเท้าผิดข้างตลอด และยังเขียนกลับด้านตลอดด้วย เช่น ม เป็น น ถ เป็น ภ d เป็น b หรืออ่านหนังสือจากขวาไปซ้าย รวมไปถึงการเขียนตัวอักษรและตัวเลขจะกลับด้านกันหมด ต้องส่องกระจกถึงจะอ่านตามปกติได้
ดังนั้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกมีพัฒนาการช้า หรือถ้าเทียบเท่ากับเพื่อนในวัยเดียวกันแล้วยังดูว่าช้าผิดปกติ ควรพามาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด เพราะบางครั้งเด็กยังไม่ได้เข้าข่ายถึงกับเป็นโรค แต่เป็นแค่ความล่าช้าของพัฒนาการ ที่อาจเกิดจากการที่พ่อแม่ไม่ได้กระตุ้น หรือฝึกฝนเท่าที่ควร เพราะปล่อยให้ลูกอยู่กับโทรทัศน์ทั้งวัน เพราะถ้าสังเกตเห็นความผิดปกติเร็ว ก็จะทำให้ช่วยเหลือเด็กได้เร็วขึ้น และสามารถมีพัฒนาการปกติตามวัยได้
โรคนี้มีทางรักษาค่ะ อยู่ที่คุณพ่อคุณม่เป็นสำคัญ ถ้ามีความเข้าใจแล้วล่ะก็ เราจะช่วยลูกให้มีอาการดีขึ้นได้แน่นอนค่ะ
ที่มา : หนังสือบันทึกคุณ คอลัมน์ kids 6-9 เด็กพิเศษ หน้าที่ 154 ฉบับที่ 110 ปีที่ 9 กันยายน 2545
โดย : พริกไท
รวบรวมโดย : สถาบันเด็ก มูลนิธิเด็ก
มีเคล็ดลับในการดูแลเด็กพิเศษกลุ่มอาการต่าง ๆ มานำเสนอ เนื้อหาก็จะเป็น How to ง่าย ๆ เกี่ยวกับการดูแล การฝึกฝนและการกระตุ้นทักษะด้านต่าง ๆ ในแต่ละอาการ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น How to ของเราเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น หากต้องการข้อมูลที่ละเอียดลึกซึ้งมากกว่านี้ ก็อยากแนะนำให้ปรึกษาแพทย์สาขาจิตเวชเด็กจะดีที่สุดค่ะ
กลุ่มอาการ Dyrpraxia
เด็กกลุ่มนี้จะมีปัญหาเรื่องของการแต่งตัว เช่น การใส่กระดุม การผูกเชือกรองเท้า, การหยิบของชิ้นเล็ก ๆ, มีปัญหาเรื่องทิศทาง ซ้าย/ขวา/หน้า/หลัง/บน/ล่าง, การขี่จักรยาน หรือเล่นฟุตบอล, การจับดินสอ, การต่อจิ๊กซอว์ หรือการแบ่งกลุ่มสิ่งของ หรืออาจจะมีปัญหาเรื่องการพูดและภาษาด้วย
ช่วยเหลือได้อย่างไร?
เลือกใช้รองเท้าที่ไม่ต้องใช้เชือกผูก
ให้เด็กสวมเสื้อผ้าหลวม ๆ
หลีกเลี้ยงอะไรที่ต้องผูก เช่น เนคไท เชือกรองเท้า
สำหรับกระดุมเสื้อเชิ้ตให้ใช้กระดุมเม็ดใหญ่ และรังดุมก็ต้องใหญ่ด้วยเช่นกัน
ถุงเท้า ถ้าเป็นไปได้เอาแบบสั้น ๆ เพราะว่าถุงเท้าเป็นอะไรที่จับและดึงยากสำหรับเด็กกลุ่มนี้
เลือกเสื้อที่เห็นความแตกต่างของด้านหน้าและด้านหลังอย่างชัดเจน เช่น เสื้อยืดคอวี
ควรช่วยให้เด็กฝึกทักษะเกี่ยวกับการมอง การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น นิ้วมือด้วยการจับดินสอ และเขียนหนังสือ และช่วยเรื่องกล้ามเนื้อมัดใหญ่ด้วยการออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อ
พาเด็กไปหานักฝึกพูด จะช่วยให้เด็กออกเสียงดได้ง่ายขึ้น (ในกรณีที่เด็กมีปัญหาเรื่องการออกเสียงลำบาก) และให้เด็กเรียนโปรแกรมสำหรับเด็กพิเศษโดยเฉพาะสำหรับที่โรงเรียน คุณแม่ควรจะขอความช่วยเหลือจากครูในเรื่องต่อไปนี้ การชมเชยเด็กในสิ่งที่เขาทำ แต่ควรจะแน่ใจว่าไม่ทำให้เด็กคนอื่นรู้สึกว่าไม่ยุติธรรมและพยายามหาข้อดีจากงานของเด็กเสมอ ๆ รวมทั้งขอให้เพื่อ ๆ ชมเชยความพยายามของเขาด้วย
ควรให้เขารับผิดชอบหรือมีหน้าที่บางอย่างที่มีการข้องเกี่ยวกับผู้อื่น ส่งเสริมให้เด็กทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งขอให้เพื่อน ๆ ช่วยดึงเด็กเข้ากลุ่มและหลีกเลี่ยงการทำให้เด็กแยกตัวออกจากกลุ่ม
สำหรับเรื่องสายตา คุณแม่และครูควรช่วยกันดูอย่างใกล้ชิด และช่วยกันประเมินผล ดูว่าเด็กเขียนตัวเลขหรือตัวหนังสือกลับด้านหรือเปล่า ซึ่งการดูแลใกล้ชนิดก็สังเกตได้ง่ายขึ้นและช่วยให้การประเมินผลแน่นอนกว่าการคาดเดา
เด็กกลุ่มนี้มีสติปัญญาปกติ และมีหลายคนที่มีความคิดสร้างสรรค์มาก แต่พวกเขาจะมีปัญหาในเรื่องของการอ่าน การเขียนและการสะกด การแปล และการคำนวณทางคณิตศาสตร์
สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อรู้ว่าลูกมีอาการ Dyslexia ก็คือการพูดคุยกับครู เพื่อไม่ให้ครูว่าเด็กโง่ (เด็กกลุ่มนี้เจอปัญหานี้บ่อยมาก) เพราะจะทำให้เด็กมีปัญหาด้านจิตใจตามมา การอ่าน, การเขียน, การสะกด, การคำนวณ เป็นทักษะที่ควรได้รับการฝึกฝนอย่างตั้งใจและมีเป้าหมายที่แน่นอน อ่านหนังสือให้ลูกฟังทุก ๆ วัน และให้ลูกหัดอ่านตาม จัดเตรียมให้เด็กเขียนและอ่านสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเขาในชีวิตประจำวัน การสอนคำศัพท์และความหมาย ให้อธิบายคำที่เกี่ยวข้องไปในตัวด้วย จะดีกว่าการสอนแบบเป็นคำ ๆ ส่งเสริมและกระตุ้นให้เด็กรู้สึกว่าการอ่านเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น
ลองหาสถานที่ที่ช่วยทำให้การอ่านมีความเพลิดเพลิน หรือผ่อนคลาย และทำให้เด็กเห็นคุณค่าและมีความจำเป็น ชมเชยเด็กมาก ๆ เมื่อเห็นพัฒนาการ หรือเมื่อมีทักษะใหม่ ๆ เกิดขึ้น
สอนเทคนิคการออกเสียงให้เด็กรู้ และสอนการสร้างคำใหม่ (คำซ้อน, คำผสม) รวมทั้งการสร้างประโยคใหม่ ควรเลือกแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์อย่างรอบคอบ เพื่อให้แน่ใจว่ามันเป็นเรื่องที่เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของเด็ก หัดให้เด็กได้ฝึกใช้ประสาทสัมผัสหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน เช่น ตาดูหูฟัง มือจด ปรับปรุงและทบทวนว่าแบบฝึกหัดแต่ละอย่างเหมาะสมกับเด็กหรือไม่ ความถี่และระยะเวลาในการสอนแต่ละเรื่องเหมาะสมหรือไม่
โรคดิสเล็กเซีย เมื่อพูดและอ่านต่างภาษา
ตอบลบนักวิจัยจาก University of Hong Kong พบว่าโรค ดิสเล็กเซีย (Dyslexia) ในคนที่พูดและอ่านภาษาต่างกันนั้น อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับสมองของผู้ป่วย ก็เกิดขึ้นในบริเวณของสมองที่ต่างกันด้วย
โรคดิสเล็กเซีย (Dyslexia) คือ ความบกพร่องในการอ่าน มีปัญหาในการอ่าน อ่านได้บ้างไม่ได้บ้าง อ่านไม่คล่อง สะกดคำติดขัด ผสมคำไม่ได้ หรืออ่านไม่ได้เลย โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของเส้นประสาท (neurobiologically based disorder) โรคดิสเล็กเซีย ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกโดย นาย Oswald Berkhan ในปี 1881
ในสหรัฐอเมริกา เด็กในวัยเรียนประมาณ 5-9% ได้รับผลกระทบจากโรคนี้ และที่น่าเศร้าก็คือ โรคดิสเล็กเซียนี้ยังไม่มีทางรักษา แต่ช่องทางที่ผู้ปกครองและผู้สอนพอทำได้ก็คือ ความเข้าใจในปัญหาและการแสดงออก ฝึกฝนเพื่อช่วยเหลือด้านการอ่าน สะกดอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยโรคดิสเล็กเซียให้มีพัฒนาการทางการอ่านที่ดีขึ้น
ในการวิจัยล่าสุดที่ผ่านมา ผลจากการสแกนโดยใช้เครื่อง MRI นักวิจัยพบว่า ในกลุ่มเด็กวัยเรียนที่อ่านภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็น alphabetic language หรือ ภาษาที่เป็นตัวอักษรนั้น สมองส่วน temporoparietal ส่วนซ้าย และส่วน occipitotemporal มีปฏิกิริยาตอบสนองน้อยกว่าปกติ ขณะเดียวกัน ในกลุ่มเด็กที่อ่านภาษาที่เป็นอักษรภาพ (nonalphabetic language) อย่างเช่นภาษาจีนนั้น โรคดิสเล็กเซียกลับไปมีผลต่อการทำงานของสมองส่วน gyrus ด้านกลางซ้าย (left middle frontal gyrus region) ที่มีโครงสร้างผิดปกติ (structural abnormalities) และการทำงานที่ผิดปกติ (functional abnormalities)
สำหรับเราๆท่านๆ แล้ว หากท่านต้องเผชิญกับผู้เป็นโรคนี้ ซึ่งอาจจะเป็นคนใกลัตัวอย่าง ลูก หลาน ลูกศิษย์ คนรู้จัก ฯลฯ นาง Julian Elliott ผู้เชี่ยวชาญจาก Durham University ในอังกฤษแนะนำว่า เราจะต้องทำความเข้าใจตัวผู้ป่วย โดยการไม่ทำให้เด็กเขารู้สึกว่าตัวเองสอนยาก เกียจคร้าน หรือโง่ จนสูญเสียความมั่นใจในตัวเอง และไม่ต้องการที่จะอ่านและไม่อยากเรียนรู้ ค่อยๆ บอก ค่อยๆ สอนกันไป ให้กำลังใจ รวมถึงการให้ของรางวัลเมื่อเขาพยายามหรือทำได้ดี อาจช่วยได้ค่ะ
รายงานผลการวิจัยได้รับเผยแพร่ออนไลน์เมื่อวันที่ 7 เมษายน ที่ผ่านมา รหัสเอกสาร (DOI) คือ 10.1073/pnas.0801750105 ค่ะ
อ้างอิง
PNAS. “A structural–functional basis for dyslexia in the cortex of Chinese readers”. Retrieved from: http://www.pnas.org/cgi/content/abstract/105/14/5561
date: May 19, 2008.
Wikipedia. “Dyslexia”. Retrieved from: http://en.wikipedia.org/wiki/Dyslexia date: May 19, 2008.
.
ดิสเล็กเซีย (DYSLEXIA)
ตอบลบดิสเล็กเซีย (DYSLEXIA) คือ ปัญหาการอ่าน สะกดคำติดขัด อ่านไม่คล่อง
หรืออ่านไม่ได้เลย รายงานไว้ในวารสารการแพทย์ของอังกฤษ ตั้งแต่ ๑๑๑ ปีก่อน โดย ดร. พริงเกิล มอร์แกน (พฤศจิกายน ค.ศ.1896) คือ Word Blindness หรือภาวะบอดทางตัวหนังสือ โดยที่สติปัญญา สายตา สมองดี และภาษาพูดปกติ แต่การเชื่อมโยงภาพของคำ หรือตัวอักษรที่มองเห็น ให้แปลความหมายออกเป็นเสียงอ่าน ทำได้ไม่ดี ติดขัด ไม่คล่อง หรือไม่ได้เลย
"ดิสเล็กเซีย" ในวงการศึกษา คือ เด็ก LD/Learning Disability ที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านภาษา แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ว่าเป็นเด็กเก่ง ฉลาด ไหวพริบดีในการแก้ปัญหา จำในเรื่องยากๆได้จากการอ่านให้ฟังด้วยปากเปล่า หรือบอกเล่าเรื่องเพียงหนเดียว และยังเก่งคำนวณ Computer ศิลปะ ดนตรี กีฬา งานปั้น ประดิษฐ์ ความคิดสร้างสรรค์สูงตั้งแต่ประถมต้น
เด็กแอลดีเรียนรู้ได้ดีผ่านสื่อแบบ Multimedia เป็นแฟนพันธุ์แท้ที่เก่งเฉพาะด้านที่สนใจ เข่น ชอบวาดรูปอย่างเดียว แต่การอ่านเขียนและวิชาอื่นทำไม่ได้เลย เรียนรู้ด้วยการฟังเรื่องเล่าแบบ Story Telling เรื่องราวต่างๆที่เชื่อมโยงด้วยภาพ เกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์และเรียนรู้จากความเข้าใจ การฝึกปฏิบัติ มากกว่าการจำตัวอักษร หรือคำศัพท์มากมายในหนังสือ
ระบบการศึกษาไม่ควรมองแต่มิติของปัญหาความบกพร่องของเด็กแอลดี แม้จะเป็นภาระหนักในการช่วยเหลือแก้ไข ต้องทุ่มเทอย่างมาก แต่หากเน้นที่การเคี่ยวเข็ญให้อ่านเขียนได้ดีก่อน แต่มองข้ามมิติของพรสวรรค์ในทักษะด้านต่างๆที่แฝงอยู่หรือมีพร้อม ทำให้ขาดโอกาสพัฒนาศักยภาพที่มีมาก และส่งเสริมให้เรียนรู้อย่างทุ่มเท ในสาขาวิชาที่ถนัดก่อนเพื่อสร้างแรงจูงใจ ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และมีผลงานให้เห็นเด่นชัดในเรื่องที่ชอบ ให้ภูมิใจ
ได้ ไม่รู้สึกว่าแย่หรือด้อยกว่าใครตั้งแต่ระดับประถมต้น(เด็กหลายคนยังถูกลงโทษตีเรื่องลายมือ)
การออกแบบการเรียนการสอนเพื่อเอาชนะปัญหาการอ่าน เขียน อาจต้องใช้เวลา แต่หากบูรณาการบนพื้นฐานและในบริบทของทักษะต่างๆที่เด็กกลุ่มนี้ชำนาญ การเรียนรู้ตัวหนังสือเชื่อมโยงกับเรื่องที่สนใจ ช่วยให้จดจำ เรียนได้ง่ายขึ้น การอ่านเขียนจะดีขึ้นจนถึงประถมปลาย
ในเด็กที่มีปัญหาการอ่านเขียนที่รุนแรง หรือขาดสมาธิมาก จนส่อแววล้มเหลวในการเรียนรู้ในชั้นเรียนปกติ คุณครูควรประเมินได้เองก่อนตั้งแต่ประถม 1 หรือ 2 เพื่อหาทางช่วยเหลือ ร่วมกับผู้ปกครองค้นหาศักยภาพ หรือพรสวรรค์แห่งวิชาชีพตั้งแต่ประถมต้น เตรียมความพร้อมมุ่งสู่สายงานวิชาชีพที่ถนัดได้ตั้งแต่จบประถมปลาย แต่หากรอเข็นให้อ่าน เขียนได้ดีเก่ง สอบผ่านได้ดีทุกวิชาจนถึงในระดับม.3 ก่อนแล้วจึงสอบคัดเข้าเรียนต่อสายวิชาชีพ ก็อาจสายเกินกว่าที่เด็กและคนรอบข้างจะมองเห็นคุณค่าและภูมิใจในผลงานของตนเองได้
เคยมีการประมาณตัวเลขว่า ครึ่งหนึ่งของศิลปินด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก เป็นบุคคลที่มีปัญหาการอ่านเขียน รวมถึงการศึกษากลุ่มนักเรียนศิลปะปีที่ 1 ของ London art school พบดิสเล็กเซียสูงถึง 75 % (Delahaye, West 1998) จึงเป็นเรื่องที่น่าขบคิดต่อว่า เด็กที่อ่านเขียนไม่คล่อง สะกดไม่ถูก หรือลายมือแย่ แต่ช่างฝัน ชอบวาดรูปทั้งวัน เด่นเรื่องดนตรี เก่งแต่กีฬาหรือคอมพิวเตอร์อย่างเดียว จะอยู่ในสายตาของครูได้อย่างไรว่า แท้จริงแล้วเป็นเด็กเก่งอีกกลุ่มหนึ่ง มีเส้นทางเดินในอนาคตที่ดีได้แน่ ไม่แพ้ใครอย่างที่ผู้คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดมานาน
Dyslexia
ตอบลบในแวดวงการศึกษา "ดิสเล็กเซีย" คือ แอลดี (Learning Disability) ด้านภาษา หรือความบกพร่องด้านการอ่านเขียน ทางการแพทย์จัดเป็นความผิดปกติเฉพาะด้านการเรียนรู้ (Learning Disorder) ในทักษะการอ่านหรือเขียน แต่ไม่มีปัญหาทักษะด้านอื่น เช่น การใช้ภาษาพูดปกติ เล่าเรื่องเก่ง ไหวพริบโต้ตอบดี คารมคมคาย และพบเด็กแอลดี 20-30 % มีภาวะสมาธิสั้นร่วมด้วย มีประวัติพูดช้า ถนัดซ้าย และ สับสนทิศทางซ้าย-ขวา ในวัยเด็กเล็ก
สาเหตุ
สาเหตุของการเกิดโรคสาเหตุของการเกิดโรค Dyslexia หรือ LD ยังไม่ทราบแน่ชัด รู้แต่เพียงว่าเกิดจากความผิดปกติของการทำงานที่เซลล์สมองซีกซ้าย ด้านหน้า เรียกว่า Parietal lobe ซึ่งเป็นความบกพร่องของการทำงานของระบบประสาทในเรื่องของการตีความ เรื่องของความจำระยะสั้น
จากการศึกษาพบว่า dyslexia เป็น อาจเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ familial and heritable disorder และอาจเชื่อมโยงกับโรคทางพันธุกรรมอย่างอื่นได้ เช่น โรคสมาธิสั้น โรคออทิสติก หรือแม้กระทั่งโรคสติปัญญาบกพร่อง ซึ่งอาจจะเกิดร่วมกันและสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ด้วย โดยพบว่า 25-65 % เด็กที่มีพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็น dyslexia จะพบเป็น dyslexia อัตราเสี่ยงการเกิดโรคในพี่น้อง ของเด็กที่เป็น dyslexia คือ 40 % และอีกสาเหตุหนึ่งที่อาจส่งผลให้เกิดโรคนี้ได้ คือการใช้ชีวิตในแต่ละบ้าน ที่บรรยากาศในบ้านไม่มีการส่งเสริมให้อ่านหนังสือเลย หรือเด็กที่มีโอกาสน้อยทางการศึกษา ทำให้การกระตุ้นเซลล์สมองไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้เกิดความบกพร่องทางการเรียนรู้ขึ้นได้
ลักษณะอาการ
พ่อแม่สามารถสังเกตอาการของเด็กที่มีแนวโน้มเสี่ยงได้ ตั้งแต่วัยขวบปีแรก หรือก่อนเข้าเรียนอนุบาลได้ โดยสังเกตจากการพูด หากมีปัญหาเรื่องการพูดช้าตั้งแต่เด็ก หรือมีพัฒนาการทางด้านภาษาที่บกพร่อง เช่น
อายุ 1 ขวบ ยังพูดเป็นคำไม่ได้ เรียกพ่อแม่ไม่ได้
อายุ 2-3 ขวบ ยังพูดได้น้อยกว่าปกติ เมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน
อายุ 3 ขวบ ยังไม่สามารถเล่าเรื่องราวได้ หรือเล่าไม่รู้เรื่อง พูดติดอ่างวนไปวนมา
อายุ 5-6 ขวบ ไม่เข้าใจคำว่า ซ้าย-ขวา หรือเรียกว่า Mirroring effect คือการมองเห็นของเด็กจะกลับด้าน เช่น ใส่่รองเท้าผิดข้างตลอด และยังเขียนกลับด้านตลอดด้วย เช่น ม เป็น น ถ เป็น ภ d เป็น b หรืออ่านหนังสือจากขวาไปซ้าย รวมไปถึงการเขียนตัวอักษรและตัวเลขจะกลับด้านกันหมด ต้องส่องกระจกถึงจะอ่านตามปกติได้
ดังนั้น ถ้าพ่อแม่สังเกตเห็นว่าลูกมีพัฒนาการช้า หรือถ้าเทียบเท่ากับเพื่อนในวัยเดียวกันแล้วยังดูว่าช้าผิดปกติ ควรพามาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด เพราะบางครั้งเด็กยังไม่ได้เข้าข่ายถึงกับเป็นโรค แต่เป็นแค่ความล่าช้าของพัฒนาการ ที่อาจเกิดจากการที่พ่อแม่ไม่ได้กระตุ้น หรือฝึกฝนเท่าที่ควร เพราะถ้าสังเกตเห็นความผิดปกติเร็ว ก็จะทำให้ช่วยเหลือเด็กได้เร็วขึ้น และสามารถมีพัฒนาการปกติตามวัยได้
...
... ต่อ ...
ตอบลบลักษณะอาการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้
1.ความบกพร่องทางทักษะการอ่าน (Reading Disorder) คือการที่เด็กอ่านได้น้อยกว่าปกติ และมีความยากลำบากในการอ่านตัวอักษร รวมทั้งสะกดคำไม่คล่อง อ่านตะกุกตะกัก อ่านช้า หรือบางคนอ่านได้คล่อง แต่เมื่ออ่านเสร็จกลับจับใจความสิ่งที่อ่านไม่ได้เลย ไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร หรือไม่รู้ว่าตัวเองกำลังอ่านอะไรอยู่ ทำให้ส่งผลกระทบต่อเรื่องการเรียนของเด็ก เช่น เรียนไม่ทันเพื่อน ทำข้อสอบไม่ได้ ต้องเรียนซ้ำชั้น เป็นต้น โดยพบว่าเด็กมีความบกพร่องทางด้านนี้มากที่สุด
2.ความบกพร่องทางทักษะการเขียน การสะกดคำ การสร้างคำ หรือการสร้างประโยค (Spelling หรือ Written expression disorder) คือการที่เด็กไม่สามารถเขียนเพื่อสื่อความหมายได้ โดยสะกดคำผิด หรือใช้สรรพนามผิด ทำให้เขียนแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง เช่น เด็กต้องการจะเขียนเรียงความ แต่ไม่เข้าใจเรื่องโครงสร้างประโยคว่าต้องมีประธาน กริยา กรรม ส่งผลให้อ่านไม่รู้เรื่อง และไม่เข้าใจความหมายที่เด็กเขียนขึ้นมา
3.ความบกพร่องทางทักษะการคำนวณ (Mathematics หรือ Calculation disorder) คือเด็กกลุ่มนี้จะขาดทักษะด้านการคำนวณ ไม่เข้าใจกระบวนการของการบวกเลข ลบเลข เช่น การบวกคือการเพิ่มจำนวนขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งเด็กจะไม่เข้าใจว่าเพิ่มอย่างไร บวกกันแล้วได้เท่าไหร่ ส่วนเรื่องการลบ คือการหักออกไปเรื่อยๆ ซึ่งเด็กก็จะไม่เข้าใจว่าต้องหักออกอย่างไร หรือลบออกแล้วเหลือเท่าไหร่
ปัญหาของ Dyslexia
ในปัจจุบันยังพบเด็กถูกลงโทษ ดุตี เคี่ยวเข็ญเรื่องจดงานไม่ทัน ลายมือแย่ ไม่ตั้งใจเรียน ซุกการบ้าน คอยลอกงานเพื่อน ไม่สามารถปรับตัวได้จากภาวะบกพร่องด้านการเรียนรู้ คุณครู ผู้ปกครอง และ ผู้เกี่ยวข้องในระบบการศึกษา ควรร่วมกันค้นหาศักยภาพในเด็กที่มีปัญหาอ่านเขียน เพื่อวางแผนเป็นทิศทางหลักของการจัดแผนการเรียนการสอน(IEP:Individual Educational Planning) ให้สอดคล้องกับความถนัด ก็จะช่วยให้เด็กกลุ่มนี้เรียนรู้ได้ในระบบโดยไม่เสียความภูมิใจ สอบตกซ้ำ เครียดเรื้อรัง ซึมเศร้า หรือเบื่อการเรียนตั้งแต่ประถมปลาย และมองตนเองอยู่ในกลุ่มเด็กไม่ดี นำไปสู่พฤติกรรมหนีเรียน เป็นเด็กติดเกมส์ ติดเพื่อน เกเร ต้องออกจากโรงเรียนตั้งแต่มัธยมต้น เด็กที่มีปัญหาการอ่านเขียนที่รุนแรง หรือขาดสมาธิมาก จนส่อแววล้มเหลวในการเรียนรู้ในชั้นเรียนปกติ ครูควรประเมินได้เองก่อนตั้งแต่ประถม 1 หรือ 2 เพื่อหาทางช่วยเหลือ ร่วมกับผู้ปกครองค้นหาศักยภาพ หรือพรสวรรค์ที่มี ตั้งแต่ประถมต้น เตรียมความพร้อมมุ่งสู่สายงานวิชาชีพที่ถนัด แต่หากพยายามผิดวิธี เช่น บังคับเด็กว่า ต้องอ่าน เขียนได้ดีเก่ง สอบผ่านได้ดีทุกวิชาจนถึงในระดับม.3 ก่อนแล้วจึงสอบคัดเข้าเรียนต่อสายวิชาชีพ ก็อาจสายเกินกว่าที่เด็กและคนรอบข้างจะมองเห็นคุณค่าและภูมิใจในผลงานของตนเองได้
...
Dyslexia ชื่อดัง
ตอบลบมีผู้ที่มีภาวะดิสเลกเซียที่เอาชนะอุปสรรคได้อีกมากที่อาจประสบความสำเร็จจากศักยภาพที่เขามี ตัวอย่างเช่น Steven Spielberg ผู้อำนวยการสร้างชื่อดัง นักแสดงชื่อดัง เช่น Tom Cruise และ Keanu Reeves แม้แต่ พุ่มพวง ดวงจันทร์ นักร้องหญิงชื่อดังของไทย ก็มีภาวะดิสเลกเซีย แต่ก็สามารถประสบความสำเร็จในอาชีพของเขา ตัวอย่างผู้มีภาวะDyslexia อีกคนหนึ่ง ได้แก่ Nicholas Negroponte นิโคลัส เนโกรปอนติ ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ของโลกไอที ผู้บุกเบิกสาขาการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ก่อตั้ง Media Lab ของสถาบัน MIT (Massachusetts Institute of Technology) ผู้ก่อตั้งโครงการหนึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook สำหรับเด็กหนึ่งคน โดยไม่หวังผลกำไร(One Laptop per Child) โครงการของเขาได้รับการอภิปรายและกล่าวถึงในวงการไอที และวงการการศึกษาอย่างกว้างขวาง ในการเปิดโอกาสการเรียนรู้ และ การสอนวิธีการเรียนรู้สำหรับเด็ก(ภายหลัง เนโกรปอนติเปลี่ยนเป็นโครงการ XO หรือโน๊ตบุ้คสำหรับเด็กในประเทศกำลังพัฒนา แล้ว http://www.olpcnews.com/ ) เขาเกริ่นนำถึงอาการของเขาเองในหนังสือ Being Digital ที่ เขา เป็นผู้ประพันธ์ และหนังสือเล่มนี้ มีการจำน่ายอย่างกว้างขวาง และมีการแปลจำหน่ายมากกว่า 40ภาษา ว่า
"Being dyslexic, I don't like to read. As a child I read train timetables instead of the classics, and delighted in making imaginary perfect connections from one obscure town in Europe to another. This fascination gave me an excellent grasp of European geography."
"ในการที่ผมเป็นดิสเลกเซีย ผมไม่ชอบอ่าน ในวัยเด็ก ผมชอบอ่านตารางรถไฟมากกว่าอ่านบทกวี และชอบจินตนาการถึงการเดินทางจากเมืองเล็กๆเมืองหนึ่งในยุโรป ไปยังเมืองอื่นๆ และ จินตนาการเหล่านี้แหละที่ทำให้ผมเข้าใจสภาพภูมิศาสตร์ของยุโรปอย่างดีเยี่ยม”
แปล เกริ่นนำ จาก หนังสือ Being Digital
.
โรคดิสเล็กเซีย (Dyslexia)
ตอบลบโรคบกพร่องในการอ่านหนังสือ หรือโรคดิสเล็กเซีย (Dyslexia) เป็นโรคที่เกิดจากกรรมพันธุ์ โชคร้ายหน่อยที่ผู้ป่วยมีแนวโน้มจะเป็นผู้ชายเสียเป็นส่วนใหญ่ หรือบางกรณีอาจเกิดจากอาการบาดเจ็บทางสมอง กระบวนการทำงานของระบบประสาทผิดปกติ ด้านการแปลความของสมอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังไม่สามารถอธิบายได้อยู่ดีว่าสาเหตุของการเกิดโรคบกพร่องในการอ่านหนังสือคืออะไร
ดิสเล็กเซีย มาจากคำในภาษากรีก 2 คำ คือ Dys แปลว่า ด้อย, ไม่เพียงพอ ส่วน lexis แปลว่า คำ หรือภาษา
ผู้ป่วยโรคบกพร่องในการอ่านหนังสือจะแยกแยะความแตกต่างระหว่างคำต่างๆ ไม่ได้ จึงมักจะอ่านผิด จำตัวอักษรสลับกัน สะกดคำผิด ใช้สรรพนามผิด ทำให้เขียนแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง
ผู้ป่วยโรคบกพร่องในการอ่านหนังสือจะไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างคำต่างๆ ได้ จึงไม่แปลกที่พวกเขามักจะอ่านผิด จำตัวอักษรสลับกัน สะกดคำผิด ใช้สรรพนามผิด ทำให้เขียนแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง ส่งผลต่อการเรียนและปัญหาต่างๆ ในชีวิต ในทางกลับกันผู้ป่วยบางรายก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนคนธรรมดาทั่วไป เพราะได้รับข้อมูลข่าวสารจากโทรทัศน์ วิทยุ ภาพยนตร์ เทปบันทึกเสียง การสังเกตสิ่งรอบตัว และการฟัง
อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยโรคนี้จะฉลาด ไหวพริบดี จำเรื่องยากๆ ที่ได้ยินได้ฟังเพียงหนเดียวอย่างแม่นยำ เก่งคำนวณ คอมพิวเตอร์ศิลปะ ดนตรี กีฬา งานปั้น ประดิษฐ์
คนดังที่เป็นโรคบกพร่องในการอ่านหนังสือ เช่น โทมัส อัลวา เอดิสัน นักประดิษฐ์ชื่อก้องโลก ซึ่งอ่านหนังสือไม่ออกเลย, เฮนรี่ ฟอร์ด ประธานบริษัทผลิตรถยี่ห้อฟอร์ด, อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์ชื่อก้องโลก, ร๊อกกี้ เฟลเลอร์ เศรษฐีอเมริกัน เจ้าของมูลนิธิชื่อดัง, วินสตัน เชอร์ชิล อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ฯลฯ
www.oknation.net
.
ดิสเล็กเซีย (Dyslexia)
ตอบลบปัญหาทางการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการอ่านโดยเฉพาะเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า ดิสเล็ก
เซีย (Dyslexia) หรือความบกพร่องทางการอ่าน ศรียา นิยมธรรม (ม.ป.ป.) ให้นิยามของความ
บกพร่องทางการอ่าน ว่าหมายถึง ภาวะยุ่งยากทางการอ่านหรือการมีปัญหาด้านการอ่านอย่างรุนแรง
ไม่อาจเข้าใจความหมายจากตัวอักษรที่เขียนได้ เนื่องจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง
ซึ่งเป็นมาแต่กา เนิดหรืออาจเกิดจากการที่สมองได้รับบาดเจ็บรุนแรง ทั้งนี้ไม่รวมถึงข้อจา กัดของ
ผู้เรียนในด้านสติปัญญา ประสาทสัมผัส และองค์ประกอบอื่น ๆ
ในระดับประถมศึกษา พบว่า นักเรียนประมาณร้อยละของ 2 - 5 มีความบกพร่องด้าน
พัฒนาการทางการอ่านบางลักษณะ (Dyslexia) ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในกระบวน
การรับรู้สัญลักษณ์ทางภาพ ความบกพร่องนี้ไม่ได้เป็ นผลมาจากปัญหาของตาหรือสติปัญญาต่า
แต่อย่างใด (Sousa, 2001)
จากการที่เด็กซึ่งเป็นดิสเล็กเซียมักมีความสับสนระหว่างตัวอักษร b และ d ทา ให้
นักจิตวิทยาหลายคนคิดว่าดิสเล็กเซียเป็ นเพียงปัญหาทางด้านการสายตาเท่านั้น แต่ในปัจจุบัน
นักวิจัยมีความเชื่อว่าการที่ตัวอักษรต่าง ๆ สามารถทา ให้เกิดความสับสนได้นั้นเพราะมีเสียงของ
ตัวอักษรคล้ายคลึงกันด้วย ทาให้สมองไม่สามารถแยกแยะความต่างของสิ่งที่ได้ยินได้ ไม่ใช่สิ่ง
ที่มองเห็น ปัญหานี้ดูเป็นเรื่องของกระบวนการถอดรหัส ซึ่งเกิดขึ้นในสมองบริเวณที่เรียกว่า แองกูล่า
กายรัส (Angular Gyrus) การศึกษาเกี่ยวกับการสร้างภาพในสมองได้แสดงให้เห็นว่า เลือดที่ไหล
ไปหล่อเลี้ยงสมองส่วนแองกูล่า กายรัสด้านซ้ายลดลงอย่างสาคัญ ในบุคคลที่ระบุว่าเป็นดิสเล็กเซีย
การศึกษาดังกล่าวนี้ชี้ให้เห็นว่าจา นวนเลือดที่ไหลเวียนไปสู่สมองส่วนนี้มีความสัมพันธ์กันสูงกับ
ความรุนแรงของดิสเล็กเซีย ยิ่งถ้าเลือดไหลเวียนน้อยลงดิสเล็กเซียก็จะรุนแรงมากขึ้น (Sousa, 2001
อ้างอิงจาก Rumsey, Horwitz, Donohue, Nace, Maisog, และ Andreason, 1999) การศึกษาอื่น ๆ ที่
เกี่ยวกับการสร้างภาพในสมองแสดงให้เห็นระบบการทา งานที่ไม่สมบูรณ์อีกอย่างหนึ่ง ในการแยก
เสียงของคา ต่าง ๆ ไปสู่หน่วยเสียงของคา เหล่านั้น ซึ่งเป็ นขั้นตอนที่สาคัญของการอ่านที่ถูกต้อง
ชัดเจน การอ่านสลับตัวอักษรอาจเป็ นผลมาจากการถอดรหัสทางเสียงที่ผิดขั้นตอนจากภาพสัญลักษณ์ไปสู่เสียง และจากเสียงมาสู่ภาพสัญลักษณ์ คล้ายกับการที่ผู้อ่านมีปัญหา ในการตีความ
สิ่งที่เขาพูดหรือได้ยินในหัวของเขา (หน่วยเสียง-phoneme) ไปสู่ตัวอักษรที่เขาเห็นในหน้ากระดาษ
(หน่วยภาพสัญลักษณ์) (Sousa, 2001 อ้างอิงจาก Shaywitz et al., 1998) ดังนั้น สาหรับคนจา นวน
มากแล้ว ดิสเล็กเซียจึงเป็นโรคที่เรียกว่า ความยากลาบากในการเปล่งเสียงพูดออกมา (Dysphonia)
ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเสียงและหน่วยภาพในกระบวนการอ่าน
หลักฐานงานวิจัยใหม่ ๆ ในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าดิสเล็กเซียส่วนใหญ่แล้วเป็นมา
แต่กา เนิด และเป็ นปัญหาที่ติดตัวเรื้อรังไปยาวนาน ไม่ใช่เป็ นเพียงช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น
ความเชื่อเก่า ๆ ที่บอกว่าดิสเล็กเซียเป็ นในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กหญิงก็ไม่เป็ นความจริง ทั้งนี้
อาจเป็นเพราะว่าในเด็กผู้ชายมักแสดงความวิตกกังวลออกมาอย่างชัดเจนในปัญหาการอ่านของ
พวกเขาในขณะที่เด็กผู้หญิงไม่แสดงออก งานวิจัยหลายเรื่องชี้ว่า เด็กผู้หญิงได้รับผลกระทบจาก
ดิสเล็กเซียไม่แพ้เด็กผู้ชาย แต่มักไม่ได้รับความช่วยเหลือ (Sousa, 2001)
.