Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม และการจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม

การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม และการจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม
 
หลักเกณฑ์การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม


 
1. ผู้รับบุตรบุญธรรมจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม
อย่างน้อย 15 ปี
2. ถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมจะต้องให้ความยิน
ยอมด้วยในการนี้ด้วย
3. กรณีที่จะรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม จะต้องได้รับความยินยอมจาก
- บิดาและมารดา (กรณีมีทั้งบิดาและมารดา)
- บิดา หรือมารดา กรณีบิดา หรือมารดา ตาย หรือถูกถอนอำนาจปกครอง
- กรณีไม่มีผู้มีอำนาจให้ความยินยอม หรือมีแต่ไม่ให้ความยินยอมโดยปราศจากเหตุผลอัน
สมควร มารดา หรือบิดา หรือผู้ประสงค์จะขอรับบุตรบุญธรรม หรืออัยการจะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่ง
อนุญาตแทนการให้ความยินยอมนั้นได้
- กรณีผู้เยาว์อยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เด็กฯ ให้สถานสงเคราะห์เด็กฯ เป็นผู้ให้ความ
ยินยอมแทนบิดา หรือมารดา ก็ได้
- ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรส จะต้องได้รับความยินยอมจาก
คู่สมรส ด้วย
- ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกไม่ได้ เว้นแต่
จะเป็นคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น


 
วิธีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

 
1. การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม กรณีที่ผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้ว- ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรม มายื่นคำร้องต่อนายทะเบียน
- นายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติตามเงื่อนไขของกฎหมาย
- ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม ใน
การนี้ด้วย
- เมื่อเห็นว่าถูกต้อง เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมาย นายทะเบียนรับจดทะเบียนให้

2. การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์
- ผู้จะรับบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้องตามแบบ ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
(กรมประชาสงเคราะห์) สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร หรือชาวต่างชาติที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
ส่วนต่างจังหวัดยื่นแบบ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด พร้อมหนังสือ
ยินยอมจากบุคคลผู้มีอำนาจยินยอม
- อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี จะพิจารณาสั่งให้ผู้ที่จะรับ
เด็กเป็นบุตรบุญธรรม นำเด็กไปทดลองเลี้ยงดู ไม่น้อยกว่า 6 เดือน โดยมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลและตรวจ
เยี่ยม
- ถ้าผู้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา พี่ร่วมบิดาหรือมารดา ทวด ปู่ ย่า ตา
ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือผู้ปกครอง ของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ไม่ต้องทดลองเลี้ยงดู
- เมื่อคณะกรรมการทดลองเลี้ยงดู อนุมัติให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ที่จะขอรับเด็ก
เป็นบุตรบุญธรรม และผู้ที่เป็นบุตรบุญธรรม ต้องยื่นคำร้องขอจดทะเบียน ต่อนายทะเบียนภายใน 6
เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำอนุมัติ มิฉะนั้นถือว่าสละสิทธิ์
- นายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติตามเงื่อนไขของกฎหมาย
- ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม มีคู่สมรสอยู่ ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอมด้วย
- ถ้าเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องลงนามในช่องผู้ร้องขอจด
ทะเบียนด้วย
- นายทะเบียนจดทะเบียนให้ตามแบบ

**
กรณีเด็กที่เป็นบุตรบุญธรรม ไร้เดียงสา และบิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรม ได้ลงนามแสดง
ความยินยอมในขณะยื่นเรื่องราวตามแบบก่อนหน้านี้แล้ว บิดามารดา หรือผู้แทนฯ ไม่ต้องมาแสดงความ
ยินยอมและลงนามในคำร้องอีก

 
 
การเลิกรับบุตรบุญธรรม


 
ทำได้ 2 วิธี คือ

- จดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย
- โดยคำพิพากษาของศาล

การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอม มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้ว จะเลิกโดยความตกลงกันระหว่างผู้รับบุตรบุญ
ธรรม เมื่อใดก็ได้
2. กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะต้อง
- ได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดาของบุตรบุญธรรม ก่อน
- ได้รับความยินยอมจากบิดา หรือมารดา เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย
- ในกรณีที่บุตรบุญธรรม มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วย
- ศาลมีคำสั่งให้เลิกรับบุตรบุญธรรม

 
 
พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
 
 
 

บุคคลสัญชาติอเมริกัน






หากพลเมืองสัญชาติอเมริกันต้องการที่จะดำเนินการรับเด็กต่างชาติเป็นบุตรบุญธรรม สามารถศึกษาข้อมูลทั่วไปได้ที่เว็บไซด์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาภายใต้หัวข้อการรับบุตรบุญธรรม (Adopting A Child) และ การรับบุตรบุญธรรมระหว่างประเทศ (Intercountry Adoptions)


ส่วนข้อมูลโดยเฉพาะของประเทศไทยเกี่ยวกับการรับบุตรบุญธรรม สามารถศึกษาได้จากเอกสารอ้างอิงต่อไปนี้ ขั้นตอนการรับบุตรบุญธรรมที่กรุงเทพฯ (Bangkok Adoption Procedures) (PDF 16KB) และ หน่วยงานรับบุตรบุญธรรมที่ได้รับการรับรอง (DSDW Approved Adoption Agencies) (PDF 47KB)










 
ที่มา : คู่มือปฏิบัติงาน กรมการปกครอง