Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556

SIDS…ภัยเงียบของลูกวัยเบบี๋

SIDS…ภัยเงียบของลูกวัยเบบี๋
 
baby - SIDS


 
SIDS…ภัยเงียบของลูกวัยเบบี๋ (modernmom)

โดย: รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์

 
โรคตายเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุในเด็ก ทารก (Sudden Infant Death Syndrome) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ซิดส์ (SIDS) เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีรายงานมากมายในประเทศสหรัฐอเมริกาถึงอัตราการตายกว่าปี ละ 2,500 คน แม้ว่าจะมีการวิจัยมากมาย สุดท้ายก็ยังไม่รู้ต้นเหตุที่แท้จริง และยังไม่มีวิธีการป้องกันที่ได้ผลดี

 
 

ขวบปีแรกเสี่ยงที่สุด

 
SIDS มักเกิดในเด็กแรกเกิด- 1 ปี ส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็กอายุ 2-4 เดือน ซึ่งเสียชีวิตขณะนอนหลับ คือนอนแล้วไม่ตื่นอีกเลย โดยที่ก่อนนอนนั้นเด็กไม่มีโรคหรืออาการผิดปรกติแต่อย่างไร แต่มักพบว่า เด็กที่เสียชีวิตด้วยโรค SIDS นั้น ส่วนใหญ่มารดาสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า อายุน้อยกว่า 20 ปี ขณะตั้งครรภ์ เป็นเด็กคลอดก่อนกำหนด หรือเด็กทารกที่แรกคลอดน้ำหนักตัวน้อย และยังพบในเด็กที่อยู่ในบ้านที่มีผู้สูบบุหรี่อีกด้วย
 
 

การนอน...ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอันดับ ต้นๆ

 
อีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการทำให้เกิดโรค SIDS ในเด็กที่มักพบบ่อยคือ เด็กมีการนอนที่เสี่ยงดังนี้
 
icon นอนคว่ำ

 
ท่าที่อันตรายมากที่สุดสำหรับเด็กคือการนอนคว่ำ จากการวิจัยพบว่า การนอนคว่ำเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อโรคการตายฉับพลันของ เด็กทารกโดยไม่ทราบสาเหตุ ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีโครงการ “ให้เด็กนอนหงาย” (Back to sleep) โดยแนะนำให้จัดท่านอนเด็กเป็นท่านอนหงายเสมอตั้งแต่ปี 1992 พบว่าการตายจากโรค SIDS ลดลงอย่างชัดเจน

 
เพราะฉะนั้น คุณแม่ควรจับเด็กนอนคว่ำบ้าง แต่ทำได้เฉพาะในเวลาเด็กตื่นและมีผู้ดูแลเด็กเฝ้าดูอยู่ใกล้ชิด เพื่อให้เด็กได้ลดโอกาสการเกิดภาวะหัวแบน และได้ออกกำลังต้นแขนและหัวไหล่ให้เกิดความแข็งแรงด้วย
 
icon ถูกนอนทับ

 
สำนักงานความปลอดภัยในผู้บริโภค (CPSC) ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้รายงานการตายของเด็กทารก 58 ราย ที่เกิดจากการถูกนอนทับ (Overlying) โดยผู้ร่วมเตียง ภัยแบบนี้ ถ้าไม่บอกกันคุณพ่อคุณแม่ก็คงคาดไม่ถึงกันนะครับ

 
ยิ่งวัฒนธรรมไทยเรา พ่อแม่มักนอนเตียงเดียวกับลูกจนโต แต่ต้องรู้นะว่า การปฏิบัติดังกล่าวมีความเสี่ยงในการนอนทับเด็กเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน

 
คนที่มีความเสี่ยงในการนอนทับเด็กทารกคือคนอ้วน มากๆ คนที่กินยานอนหลับ ยาทำให้ง่วงเช่นยาแก้หวัด ยากล่อมประสาท คนเมาเหล้า และเด็กโต เพราะคนเหล่านี้มักหลับสนิทเกินไป นอนทับแล้วไม่ยอมรู้สึกตัว
 
icon นอนบนโซฟา

 
มีเหตุการณ์ทารกอายุ 12 วัน หลับบนแขนอันอบอุ่นของแม่บนโซฟา คุณแม่ก็หลับไปด้วย พอตื่นขึ้นมาพบว่าลูกน้อยแน่นิ่ง อยู่ในท่าคว่ำลงบนโซฟา เมื่อพลิกหงายพบว่าใบหน้าเขียวคล้ำ ไม่หายใจแล้ว

 
มุมระหว่างพนักพิงและเบาะที่นั่งของโซฟาอาจทำให้ เด็กเสียชีวิตได้ หากเด็กตะแคงหน้าคว่ำเข้าหามุมและกดทับใบหน้า จมูก เด็กทารกไม่มีความสามารถจะพลิกตัวกลับได้ เป็นเหตุให้ขาดอากาศหายใจในเวลาไม่ นาน
 
icon เครื่องนอน หมอน มุ้ง

 
เบาะสำหรับเด็กต้องเป็นเบาะที่มีความแข็งกำลังดี เบาะ ฟูก หมอน หรือผ้าห่มนุ่มๆ หนาๆขนาดใหญ่ ๆ หน้าเด็กอาจคว่ำหน้าลงไปแล้วกดจมูกและปากเป็นเหตุให้ขาดอากาศหายใจ เสียชีวิตได้

 
คุณแม่ควรเลือก ชุดนอนที่หนาอบอุ่น สวมใส่ได้พอดี ทำให้ไม่ต้องใช้ผ้าห่ม หากจะใช้ผ้าห่มต้องเลือกเนื้อผ้าบาง และวิธีใช้ต้องสอดลงใต้เบาะสามด้าน (คือเด็กต้องนอนโดยเอาปลายเท้ามาชิดผนังเตียง) เพื่อไม่ให้ผ้าห่มหลุดลุ่ยมากดใบหน้าเด็ก ส่วนเครื่องนอน ของเล่น เสื้อผ้า อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีลักษณะเส้นสายต้องไม่มีความยาวเกินกว่า 15 ซม. เพราะอาจเป็นเหตุให้เกิดการรัดคอเด็กได้

 
เมื่อไม่นานมานี้ก็ยังอีกกรณีน่าเศร้าครับ คุณพ่อกลับจากที่ทำงานมาดึกดื่น หลังเข้ามาในห้องนอนมืดๆก็พบลูกชายวัย 7 เดือนกำลังนอนกับมารดา จึงเข้าหอมแก้มลูกด้วยความเอ็นดู พบว่าใบหน้าลูกเย็นเฉียบ จับดูมือเท้าก็พบว่ามือเท้าเย็นเฉียบเช่นกัน จึงเปิดไฟดูพบว่าศีรษะลูกมุดรอดสายหูรูดหมอนข้าง สายรัดคอจนหน้าซีดเขียว เสียชีวิตแล้ว!

 
นอกจากนั้น ต้องไม่นำของเล่นชิ้น เล็กๆ หรือของเล่นประเภทอ่อนนิ่มตัวใหญ่ๆ เช่นตุ๊กตาที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งอาจตกทับกดการหายใจได้ หรือเด็กใช้เป็นฐานในการปีนป่ายจนตกเตียงได้ เช่นกัน

 
ถึงแม้ว่าโรค SIDS จะเป็นภัยเงียบใกล้ตัวที่น่ากลัว แต่ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่จัดการนอนให้ปลอดภัย ก็จะสามารถป้องกันและลดอันตราเสี่ยงของการตายเฉียบพลัน โดยไม่ทราบสาเหตุได้ครับ
 
 
 
 
 
ที่มา ::