Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

นอนกัดฟันทำยังไงดี ?

นอนกัดฟันทำยังไงดี ???



เด็กหรือผู้ใหญ่ที่นอนกัดฟัน
มักจะเกิดขณะที่เจ้าตัวนอนหลับไม่ลึกหรือหลับไม่สนิท

 

 

การนอนกัดฟัน..เกิดจากอะไร ควรทำอย่างไร ยังไงดี ??


อารมณ์เครียดกับอารมณ์สบายส่งผลต่อสุขภาพต่างกันอย่างไร ท่านผู้ชม DMC ที่ต้องเผชิญกับปัญหาอยู่บ่อยๆ คงทราบกันดีอยู่แล้วใช่ไหมคะ ปัญหาในการทำงานทำให้เรารู้สึกเครียด และความเครียดมีผลต่อสุขภาพช่องปากด้วย
การนอนกัดฟัน เป็นอาการหนึ่งของผู้ที่มีความผิดปกติด้านการบดเคี้ยว หรือมีปัญหาการทำงานของขากรรไกร นอกจากจะมีปัญหากับคนที่นอนข้างๆ หรือเพื่อนร่วมห้องแล้ว การนอนกัดฟัน ยังก่อให้เกิดปัญหากับตัวเองด้วย ปัญหาดังกล่าวได้แก่ อาการฟันสึก ในบางรายมีอาการฟันสึกจนถึงชั้นเนื้อฟัน เห็นเนื้อฟันสีเหลืองเข้ม และมีอาการเสียวฟันเวลาที่ดื่มน้ำร้อน หรือ น้ำเย็น

นอกจากอาการฟันสึกแล้วยังมีอาการปวดที่บริเวณข้อต่อกระดูกขากรรไกร ซึ่งอยู่หน้ารูหู ในเวลาที่ตื่นนอนตอนเช้าจะรู้สึกเจ็บปวดที่บริเวณข้อต่อขากรรไกร หรือเวลาที่บดเคี้ยวอาหารก็จะรู้สึกเจ็บปวดได้

สาเหตุของการนอนกัดฟัน (Bruxism)

 
น่าจะเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ

 
1. จากสภาพฟัน อาจมีจุดสูงที่อยู่บนตัวฟัน ที่อาจเกิดจากวัสดุอุดฟัน มีการเรียงกันของฟันที่ผิดปกติ ฟันซ้อนเก หรือเป็นโรคปริทันต์ หรือในคนไข้ที่สูญเสียฟันแท้ไป โดยที่ไม่ได้ใส่ฟันปลอมทดแทน ซึ่งถ้าว่าจุดสูงหรือจุดขัดขวางการบดเคี้ยว โดยธรรมชาติของคนเราจะพยายามกำจัดจุดสูงหรือจุดขัดขวางการบดเคี้ยว โดยพยายามบดเคี้ยวให้จุดสูงนั้นหมดไป มักจะเกิดในเวลาที่เรานอนหลับ ซึ่งเป็นเวลาที่เราไม่รู้สึกตัว

 
2. สภาพของจิตใจ การดำเนินชีวิตประจำวันอาจมีความเครียด เนื่องจากความเร่งรีบในการทำงานก็เป็นสาเหตุที่ให้เรานอนกัดฟันในเวลานอน โดยเราไม่รู้สึกตัวได้
 
วิธีการแก้ไขอาการนอนกัดฟัน

    
ไปพบทัตแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแก้ไขอาการนอนกัดฟัน ได้แก่ การกรอปรับสบฟันให้อยู่ในสภาวะปกติ โดยส่วนใหญ่แล้วทัตแพทย์จะแนะนำให้ใส่ Spint หรือเฝือกสบฟัน เพื่อลดการสึกของฟัน Spint นั้น มีลักษณะเป็น อะครีลิคใส แข็ง ใสในฟันบน หรือฟันล่าง ใส่เฉพาะในเวลานอนตอนกลางคืนเท่านั้น และในเวลาที่เราใส่ Spint หรือเฝือกสบฟันนั้น ทันตแพทย์จะนัดมาตรวจเป็นระยะๆ



 
ทำอย่างไรเมื่อพบว่าเรานอนกัดฟัน
 

วิธีแก้ปัญหาเด็กนอนกัดฟัน - อาการนอนกัดฟัน

 
การป้องกันอาการนอนกัดฟัน
 

1. หมั่นรักษาสภาพช่องให้อยู่ในสภาพปกติ โดยหมั่นไปพบมันตแพทย์เพื่อตรวจฟันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

2. ส่วนสภาพจิตใจนั้น ก่อนนอนให้หลับตานั่งสมาธิ(Meditation) แผ่เมตตาหลับในอู่ทะเลบุญ ทำตามการบ้าน 10 ข้อของคุณครูไม่ใหญ่ ในโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา เท่านี้เราก็จะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาการนอนกัดฟันได้

* การบ้าน 10 ข้อของคุณครูไม่ใหญ่
เฝือกฟัน

การใส่เฝือกครอบบนฟันทั้งขากรรไกรฟันบน หรือขากรรไกรฟันล่างขณะนอนหลับ
จะช่วยทำให้อาการนอนกัดฟันหายไปได้



 
ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำเฝือกสบฟัน (เฝือกฟัน)

    
การทำเฝือกฟันนั้นเพื่อป้องกันอาการนอนกัดฟันนั้นไม่ยาก เพียงไปพบทันตแพทย์ ทันตแพทย์จะพิมพ์แบบและทำเฝือกฟันเฉพาะบุคคล ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับยางกันฟันของนักมวยหรือนักกีฬา ราคาการทำเฝือกฟันโดยประมาณ 300-400 บาท หรืออาจมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเฝือกฟัน



การใส่เฝือกฟันบนหรือฟันล่าง หรือทั้งสอง ตามคำแนะนำของทันตแพทย์ ใส่นอนตอนกลางคืนชั่วระยะเวลาหนึ่งอาการจะดีขึ้น การทำเฝือกฟันไม่ยาก เพียงแค่ไปพบทันตแพทย์ ทันตแพทย์จะพิมพ์แบบ และทำเฝือกฟันเฉพาะบุคคลซึ่งมีลักษณะคล้ายกับยางกันฟันของนักมวยหรือนักกีฬานั่นเอง
 
ถ้าฟันสึกมากๆ อาจจะทำให้ใบหน้าสั้นกว่าปกติอีกด้วย
    
อาการ นอนกัดฟัน อาจมีสาเหตุมาจากยาที่รับประทานก็ได้ เช่น ยาที่เคยมีรายงานว่าทำให้เกิดอาการนอนกัดฟันได้  คือ  แอมเฟตามีนที่ใช้ร่วมกับ L-dopa , ยา fenfluramine ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของแอมเฟตามีน และมีรายงานว่า พบการนอนกัดฟันในผู้ป่วยที่เป็นโรค Tardive Dyskinesia  ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลมาจากการใช้ยา phenothiazine เป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ จะสามารถทำให้เกิดอาการนอนกัดฟันได้ ดังนั้น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่มีประโยชน์แล้วยังทำให้เป็นโรคกัดฟันและยังไปอบายด้วย (bangkokhealth.com)

หมั่นดูแลสุขภาพช่องปาก และหมั่นนั่งสมาธิทุกวันแก้ไขปัญหานอนกัดฟันได้
 



ที่มา   ::  http://health.dmc.tv





 
"นอนกัดฟัน" อันตรายกว่าที่คิดไว้




 

วิดีโอ YouTube


นอนกัดฟันคืออะไร? นอนกัดฟันเป็นความผิดปกติ เกิดขึ้นขณะกำลังหลับ โดยมีลักษณะขบเน้นฟันแน่นๆ หรือฟันบนล่างบดถูไถ ซ้ำๆ กัน คนนอนกัดฟันมักไม่รู้ตัวเอง และเสียงที่เกิดจากนอนกัดฟัน ทำให้เกิดความรำคาญแก่คนที่นอนร่วมห้อง ส่วนการนอนกัดฟันที่มีลักษณะขบฟันแน่นๆ มักไม่มีเสียงดังทำให้ไม่มีผู้ใดได้ยิน คนที่นอนกัดฟันแบบนี้จึงมักไม่รู้ตัวเลยว่าเป็นคนนอนกัดฟัน     



  
แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่านอนกัดฟัน เนื่องจากคนเราจะไม่รู้ตัวเอง ว่าทำอะไรบ้างในขณะนอนหลับ และอาการกัดฟันก็เกิดเป็นช่วงๆ ตลอดเวลา 7-8 ชั่วโมง ในขณะหลับ ดังนั้นการนอนกัดฟันจึงวินิจฉัยยาก เนื่องจากไม่มีใครจะมาสังเกตพฤติกรรมให้ท่านตลอดเวลาที่กำลังหลับ การวินิจฉัยที่ดีที่สุด คือการตรวจการนอนในห้องแลปการนอนหรือที่บ้าน ด้วยการวัดสัญญาณไฟฟ้าที่ขึ้นจากการทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวในขณะกัดฟัน ร่วมกับวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง ส่วนวิธีอื่นๆ คือการสังเกตอาการที่เป็นผลของนอนกัดฟัน เช่น ถ้าท่านรู้สึกตัวตื่นนอนพร้อมอาการเมื่อยตึงที่ขมับ ใบหน้า หรือต้นคอ หรือตึงๆ ชาๆ ที่ฟัน กัดฟันแล้วเจ็บหลายๆ ซี่ หรือเสียวฟันหลายซี่ หรือบางครั้งรู้สึกตัวเองตื่นสลึมสลือเหมือนกำลังกัดฟันอยู่ หรือสังเกตว่าฟันบิ่นแตก หรือหน้ากางออกใหญ่ขึ้นทั้งสองข้างเพราะกล้ามเนื้อข้างแก้มขยายใหญ่ หรือมีปุ่มกระดูกใหญ่ที่ค่อยๆโตขึ้นช้าๆ หรือทันตแพทย์ตรวจพบว่าท่านมีฟันสึกที่เกิดจากการบดกัด ถูไถฟัน อาการเหล่านี้ เป็นสัญญาณเตือนว่าท่านอาจนอนกัดฟัน


ผลเสียของการนอนกัดฟัน ทำให้ฟันสึก ฟันสั้นลง ฟันบาง คอฟันสึกเป็นร่อง มีอาการเสียวฟัน ซึ่งเสียวมากเมื่อดื่มน้ำเย็น หรือแปรงฟัน เมื่อทิ้งไว้นาน ฟันยิ่งสึกมาก ก็มีปัญหาเรื่องความสวยงาม นอกจากนี้จะทำให้ใบหน้าสั้นลงเพราะฟันเป็นอวัยวะสำคัญช่วยรักษารูปหน้าด้วย หากฟันบิ่น ฟันแตก ฟันร้าว หรือฟันสึกจนทะลุโพรงประสาทฟันจะทำให้ปวดฟัน และต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการรักษารากฟัน ทำครอบฟัน ถ้าโชคร้ายรักษาไม่ได้ก็ต้องถอนฟันซี่นั้นทิ้งไป ทั้งยังทำให้ปวดเมื่อยล้าบริเวณใบหน้า กล้ามเนื้อบดเคี้ยว และข้อต่อขากรรไกร ทำให้อ้าปากไม่ขึ้น เคี้ยวอาหารไม่ได้เพราะมีอาการปวด ส่งผลกระทบต่อการบดเคี้ยว และ อารมณ์จิตใจ ทำให้กระดูกกรามที่อยู่รอบรากขยายใหญ่ เป็นปุ่มกระดูกนูน ในบางคนกล้ามเนื้อบริเวณแก้มสองข้าง ขยายใหญ่ขึ้น ทำให้ใบหน้ากางออกเป็นเหลี่ยม นอกจากนี้มีผลให้ความสัมพันธ์ของคู่สามีภรรยาแย่ลง เนื่องจากเสียงดังที่เกิดจากนอนกัดฟันจะรบกวนคนที่นอนด้วยจนนอนไม่หลับ เพราะเสียงนอนกัดฟันจะดังมากและเป็นที่น่าหวาดเสียวแก่ผู้ที่ได้ยิน ชวนให้รู้สึกเสียวฟันตามไปด้วย


รักษาอาการนอนกัดฟันได้อย่างไร เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุของการนอนกัดฟัน ดังนั้นการรักษาเพื่อหยุดการนอนกัดฟัน จึงยังไม่ได้ผลเต็มร้อย ตัวกระตุ้นที่ทำให้นอนกัดฟัน เช่น ความเครียด เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (ได้แก่ ชา กาแฟ และน้ำอัดลมบางชนิด) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ สารเสพติด และยาที่ใช้รักษาโรคบางตัว เป็นต้น การนอนกัดฟันอาจพบร่วมกับความผิดปกติของการนอนอื่นๆ ได้แก่ การนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ


การรักษานอนกัดฟันมีดังนี้ คือ งดเครื่องดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอล์ บุหรี่ ก่อนนอนไม่ควรรับประทานมากเกินไป สภาพห้องนอนควรเงียบสงบสะอาด ไม่ควรมีแสงสว่างมากไป ไม่ควรทำกิจกรรมที่ทำให้ตื่นเต้นก่อนเข้านอน ให้ใส่เฝือกสบฟัน (occlusal splint) เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันสึก ในบางรายอาจหยุดอาการนอนกัดฟันได้บ้าง หรือการใช้ยาที่มีผลไปปรับการนอนเพื่อช่วยลดการนอนกัดฟัน เมื่อสงสัยว่านอนกัดฟัน ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอาการนอนกัดฟันเสียแต่เนิ่นๆ ก่อนที่อาการนอนกัดฟันจะไปทำลายฟัน ทำให้เกิดปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อขากรรไกร และทำให้ท่านต้องเสียค่ารักษาฟันอีกมาก







ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า