โดย พท.พญ. กมลพรรณ ชีวพันธุศรี
ประธานเครือข่ายพ่อแม่เยาวชนเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
ในโลกสังคมปัจจุบันการแข่งขันเพื่อความอยู่รอดมีสูงมาก ทุกคนต้องชิงไหว ชิงพริบ ในการประกอบธุรกิจ ยิ่งถ้าเป็นเจ้าของกิจการเอง ยิ่งต้องมีไหวพริบ การรู้เท่าทันการมองภาพรวมออก ความรู้รอบตัวอย่างเดียว อาจจะไม่เพียงพอ สำหรับการอยู่รอดในสังคมปัจจุบัน เพราะฉะนั้นการฝึกฝน เด็ก และเยาวชน ควรจะต้องส่งเสริมให้ถูกทาง เพื่ออนาคต เขาจะสามารถยืนหยัดอยู่ได้ เมื่อไม่มีพ่อแม่คอยช่วยเหลือ หรือเมื่อประสบปัญหาต่างๆ แม้นแต่การเป็นลูกจ้างปัจจุบันก็ต้องมีความสามารถ ใครมีความสามารถมากก็จะสามารถเป็นลูกจ้างที่มีงานมั่นคง ส่วนใครไม่มีประสิทธิภาพก็ต้อง หางานใหม่ หรือตกงานไป ดังเช่นเหตุการณ์ปัจจุบัน
การจะฝึกฝนเด็กในยุคนี้จึงต้องประกอบด้วย IQ , EQ , AQ , MQ , SQ Q เหล่านี้คืออะไรมาดูกัน
IQ = INTELLIGENCE QUOTIENT คือความฉลาดทางสติปัญญา วัดได้จากอายุสมองเทียบกับอายุจริง ปกติควรอยู่ที่ 90-110 เป็นการวัดความสามารถทางคิดวิเคราะห์ ความสามารถทางวิชาการ วัดความจำ การอ่านเขียน คำนวณแต่ไม่ได้วัดด้านอื่นๆ เช่น
- ความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะต่างๆด้านการทำงาน
-ทักษะชีวิตประจำวัน ฯลฯ
- ความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะต่างๆด้านการทำงาน
-ทักษะชีวิตประจำวัน ฯลฯ
การพัฒนา IQ
- 50% จากกรรมพันธุ์
-50% จากสิ่งแวดล้อม เช่น
-การเลี้ยงดู ความรัก ความอบอุ่น เพราะฉะนั้นต้องมีเวลาให้ลูกหลาน
- อาหาร ครบห้าหมู่โดยเฉพาะ ปลา ถั่วเหลือง วิตามิน บี ธาตุเหล็ก ไอโอดีน โปรตีน
-ประสบการณ์ต่างๆจากการเล่น ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมกลุ่ม การทำงาน การทำงานศิลปะ ดนตรี กีฬา ที่ชื่นชอบ
-ได้ ฟังนิทาน(วัยเด็กเล็ก) การได้ช่วยทำงาน ทำกิจกรรมในเด็กโต
-การได้รับรับคำชมเชย
- มองเห็นคุณค่าตนเอง
- สัมผัสกับสังคม,ชีวิตประจำวัน ฯลฯ
- อารมณ์ดี ไม่เครียด
- ออกกำลังกาย อย่างน้อย 30 นาทีต่อวันจะช่วยให้มีสมาธิ สดชื่น คิดอะไรได้เร็ว อดทน ไม่ซึมเศร้า ไม่ติดยาเสพติด
- ความคิดในทางบวก มีความคิดอย่างสร้างสรรค์ จากการที่ได้รับคำชมเชยเสมอ ได้รับการยอมรับการกระทำต่างๆที่ดี
- 50% จากกรรมพันธุ์
-50% จากสิ่งแวดล้อม เช่น
-การเลี้ยงดู ความรัก ความอบอุ่น เพราะฉะนั้นต้องมีเวลาให้ลูกหลาน
- อาหาร ครบห้าหมู่โดยเฉพาะ ปลา ถั่วเหลือง วิตามิน บี ธาตุเหล็ก ไอโอดีน โปรตีน
-ประสบการณ์ต่างๆจากการเล่น ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมกลุ่ม การทำงาน การทำงานศิลปะ ดนตรี กีฬา ที่ชื่นชอบ
-ได้ ฟังนิทาน(วัยเด็กเล็ก) การได้ช่วยทำงาน ทำกิจกรรมในเด็กโต
-การได้รับรับคำชมเชย
- มองเห็นคุณค่าตนเอง
- สัมผัสกับสังคม,ชีวิตประจำวัน ฯลฯ
- อารมณ์ดี ไม่เครียด
- ออกกำลังกาย อย่างน้อย 30 นาทีต่อวันจะช่วยให้มีสมาธิ สดชื่น คิดอะไรได้เร็ว อดทน ไม่ซึมเศร้า ไม่ติดยาเสพติด
- ความคิดในทางบวก มีความคิดอย่างสร้างสรรค์ จากการที่ได้รับคำชมเชยเสมอ ได้รับการยอมรับการกระทำต่างๆที่ดี
ปัจจัยที่มีผลต่อลบสมอง ทำให้สมองไม่พัฒนาได้แก่
- ความเครียด, ความกดดันต่างๆเช่นการทำการบ้านมากมาย การบ้างานขาดการพักผ่อน,ออกกำลังกาย
- ขาดอาหารเช่นพวกโลหิตจาง
- สมองขาดการกระตุ้น หรือการใช้สมองฝึกคิดในสิ่งต่างๆ เช่นการฝึกการแก้ปัญหา ฝึกความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ การใช้ไหวพริบ
-มองตนเองในแง่ลบ มองตนเองไม่มีคุณค่า จากการถูกตำหนิทุกวัน หรือบ่อยๆ
- ซึมเศร้า,ทุกข์,โกรธ,วิตกกังวล นานๆ
- สารพิษ ยาเสพติด สารตะกั่ว ฯลฯ
- ความเครียด, ความกดดันต่างๆเช่นการทำการบ้านมากมาย การบ้างานขาดการพักผ่อน,ออกกำลังกาย
- ขาดอาหารเช่นพวกโลหิตจาง
- สมองขาดการกระตุ้น หรือการใช้สมองฝึกคิดในสิ่งต่างๆ เช่นการฝึกการแก้ปัญหา ฝึกความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ การใช้ไหวพริบ
-มองตนเองในแง่ลบ มองตนเองไม่มีคุณค่า จากการถูกตำหนิทุกวัน หรือบ่อยๆ
- ซึมเศร้า,ทุกข์,โกรธ,วิตกกังวล นานๆ
- สารพิษ ยาเสพติด สารตะกั่ว ฯลฯ
จะเห็นได้ว่าการพัฒนาเด็กให้เก่ง และฉลาดจะไม่ได้ยากเย็นใดๆเลย แต่ต้องให้มีวิธีการหลากหลายไม่ใช่ให้แต่ความรู้วิชาการอย่างเดียวที่มากมายเกินความจำเป็นจนขาดการพัฒนาด้านอื่นๆ ซึ่งเรียนรู้วิชาการแล้วก็ลืมได้ มีวิจัยพบว่า ความรู้ 25% ของวิชาการในโรงเรียน ที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันจริง(รศ.พญ. ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์) แต่ดิฉันว่าจริงๆแล้วอาจจะไม่ถึง 10%
EQ = EMOTIONAL QUOTIENT คือความฉลาดทางอารมณ์
ความฉลาดมางอารมณ์สำคัญอย่างไรมีวิจัยดังนี้
1)มหาเศรษฐี 400 คนของโลกที่ประสบความสำเร็จ มีสมบัติพันล้านเหรียญดอลล่า 50% ไม่ได้จบปริญญาตรี
2)วิจัยในรัฐ แมซาซาซูแสท ติดตามเด็ก 450 คน นาน 40 ปี ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิตไม่เกี่ยวกับ IQ แต่เป็น
- ความสามารถในการจัดการกับความผิดหวัง AQ
-การคบคุมอารมณ์ ได้ดี EQ
- การเข้ากับคนอื่นได้ดี SQ
3)การวิจัยเก็บข้อมูล จากผู้จบปริญญาเอก 80 คน ทางวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ขณะศึกษาถึง อายุ 70 ปี พบว่า EQ และความสามารถทางสังคมทำให้ประสบความสำเร็จในวิชาชีพ และมีชื่อเสียง มากกว่าความสามารถทาง IQ 4 เท่า
การพัฒนา EQคือ
- รู้อารมณ์ของตนเอง
- เข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น เห็นอกเห็นใจผู้อื่นเมตตาอารี, ช่วยเหลือผู้อื่น, เอาใจเขามาใส่ใจเรา
- ควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ไม่หุนหันพลันเล่น ไม่อารมณ์ค้างนาน ไม่ปล่อยให้ความรู้สึกเก่าๆ มารบกวนการทำงานปัจจุบัน ไม่ว่ารัก โกรธ ซึมเศร้า โกรธแล้วไม่ผูกใจเจ็บนาน ใจเย็นเมื่อมีสถานะการณ์ยั่วยุ จะเป็นคนที่น่าเคารพนับถือ และจะมีคน กล้าให้คำแนะนำ
- มีระเบียบวินัยในตนเอง , เคารพสิทธิ์ของผู้อื่น
- รับผิดชอบต่อสังคม มีทักษะทางสังคมดี รู้สู้ รู้หลีก เอาตัวรอดได้ดี มีไหวพริบ
- ขยันหมั่นเพียร อดทน , กระตือรือร้น ไม่เฉื่อยชา มุ่งมั่น แน่วแน่ ไม่ลดละ
วิธีฝึก
-มีตัวอย่างที่ดีให้เด็กเห็น อารมณ์เด็กขึ้นกับอารมณ์ผู้เลี้ยงดู
-ไม่ต่อว่าเด็กต่อหน้าเด็กคนอื่นๆ หรือพูดเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ หรือพี่น้อง
-หาทางชมเชยเด็ก แม้นจะมีดีแค่หนึ่งอย่าง มีเสียสิบอย่างเราก็ต้องใช้หนึ่งอย่างนั้นมาเป็นตัวชมเพื่อช่วยพัฒนาตัวอื่นๆ
- เวลาลูกทะเลาะกันอย่ามีอารมณ์ร่วม
-ไม่ปกป้องมากเกินไปเพราะจะทำให้เด็กขาดทักษะ แก้ปัญหาไม่เป็น
-ไม่ตามใจลูกมากเกินไป หรือกังวลมากเกินไป
-ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ถูกชม
-เด็กอารมณ์ร้อน ต้องทำไม่รู้ไม่ชี้ ใจเย็น ไม่ต้องมีอารมณ์ร่วม
-ฝึกหัดระเบียบวินัย ควรสร้างตั้งแต่เล็กๆเช่น 7-8 เดือน เริ่มนั่งกับที่รับประทานอาหาร ดูทีวี ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน
-ฝึกทุกอย่างด้วยความรัก ไม่ใช่การบังคับแต่ด้วยเหตุผล
-การดุ, การลงโทษ,ประณาม ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องเสมอไปเพราะเด็กจะต่อต้าน
-ทำใจให้เบิกบาน เปิดหูเปิดตา อย่าหมกมุ่นอยู่แต่ในบ้าน
-มีตัวอย่างที่ดีให้เด็กเห็น อารมณ์เด็กขึ้นกับอารมณ์ผู้เลี้ยงดู
-ไม่ต่อว่าเด็กต่อหน้าเด็กคนอื่นๆ หรือพูดเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ หรือพี่น้อง
-หาทางชมเชยเด็ก แม้นจะมีดีแค่หนึ่งอย่าง มีเสียสิบอย่างเราก็ต้องใช้หนึ่งอย่างนั้นมาเป็นตัวชมเพื่อช่วยพัฒนาตัวอื่นๆ
- เวลาลูกทะเลาะกันอย่ามีอารมณ์ร่วม
-ไม่ปกป้องมากเกินไปเพราะจะทำให้เด็กขาดทักษะ แก้ปัญหาไม่เป็น
-ไม่ตามใจลูกมากเกินไป หรือกังวลมากเกินไป
-ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ถูกชม
-เด็กอารมณ์ร้อน ต้องทำไม่รู้ไม่ชี้ ใจเย็น ไม่ต้องมีอารมณ์ร่วม
-ฝึกหัดระเบียบวินัย ควรสร้างตั้งแต่เล็กๆเช่น 7-8 เดือน เริ่มนั่งกับที่รับประทานอาหาร ดูทีวี ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน
-ฝึกทุกอย่างด้วยความรัก ไม่ใช่การบังคับแต่ด้วยเหตุผล
-การดุ, การลงโทษ,ประณาม ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องเสมอไปเพราะเด็กจะต่อต้าน
-ทำใจให้เบิกบาน เปิดหูเปิดตา อย่าหมกมุ่นอยู่แต่ในบ้าน
AQ = adversity Quotient คือความสามารถในการแก้ปัญหาและการเผชิญกับวิกฤติ
AQ เป็นการวัดความสามารถในการจัดการกับปัญหาและวิกฤติ ใครที่สามารถ จัดการได้ดีจะเป็นผู้นำและเป็นผู้ชนะหรือเจ้าของกิจการในโลกของปัจจุบันและอนาคต ใครที่มี AQ ดีจะสามารถ เปลี่ยน วิกฤติเป็นโอกาส (Dr. Paul G stolt ) ใครที่ไม่สามารถควบคุม AQ ได้จะเป็นผู้พ่ายแพ้ และเป็นได้แค่ลูกจ้างหรือตกงาน
เทคนิคการสร้าง AQ
AQ ความสามารถในการแก้ปัญหา / อุปสรรค
เป็นกลไกลของสมอง เกิดจากการได้ฝึกฝนการแก้ปัญหาต่างๆ การทำอะไรด้วยตนเอง การละเล่น ทั้งประสบการณ์ที่ได้ผ่านมาในชีวิต ตั้งแต่เมื่อเยาว์วัย
การฝึกฝน
- การมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม
-การฝึกทำกิจกรรมต่างๆ
-สัมผัสกับชีวิตจริง ให้เด็กช่วยตัวเอง หัดทำงาน ตามวัย
-ให้เด็กเผชิญกับอุปสรรคบ้าง
-เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เริ่มให้รู้จักช่วยงานพ่อแม่ ธุรกิจของพ่อแม่ หรือหรือแม้นแต่การรับจ้างทำงานใน ช่วงวัยรุ่น ฝึกหาประสบการณ์ตามที่ต่างๆช่วงหยุดปิดเทอม
หลักการสร้าง AQ
มองปัญหาเป็นโอกาส
1.CONTROL ควบคุมเหตุการณ์/สถานการณ์ได้
2.OWNERSHIP ความเป็นเจ้าของ ปัญหาอยู่ที่ตัวเรา
3.REACH คิดว่าทุกประเภท มีทางแก้ไข ไม่ใช่จบสิ้นแล้วทุกอย่าง
4.ENDURANCE มีความทนทาน อดทน ต่อปัญหาต่างๆ มองโลกในแง่ดีไม่วู่วาม
สรุปการเพิ่ม AQ
-มีสติ ตลอดเวลา ใช้สติปัญญาในการแก้ไข
-คิดว่าทุกอย่างมีทางออก
-มองโลกในแง่ดี
-เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส
MQ = MORAL QUOTIENT - จริยธรรม คุณธรรม
วิธีฝึกฝน
-มีตัวอย่างดีๆให้เห็น
-ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ตั้งแต่เล็กๆ ก่อนวัยอนุบาล อาจจะเป็นในรูปนิทาน
-วัยอนุบาล ประถมต้น เล่านิทานสอนใจ ช่วยบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน
-ประถมปลาย - มัธยม สอน หลักธรรม ตัวอย่างดีๆ ช่วยบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน โรงเรียนด้อยโอกาส ช่วยสอนหนังสือหรือช่วยดูแล รุ่นน้องๆ ช่วยงานคุณครู สอนเพื่อนๆที่อ่อนกว่า
-ไม่ยอมรับพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องเช่นทำร้ายผู้อื่น พูดจาหยาบคาย ขโมย โดยเฉพาะ 0-5 ขวบ
วิธีฝึกฝน
-มีตัวอย่างดีๆให้เห็น
-ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ตั้งแต่เล็กๆ ก่อนวัยอนุบาล อาจจะเป็นในรูปนิทาน
-วัยอนุบาล ประถมต้น เล่านิทานสอนใจ ช่วยบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน
-ประถมปลาย - มัธยม สอน หลักธรรม ตัวอย่างดีๆ ช่วยบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน โรงเรียนด้อยโอกาส ช่วยสอนหนังสือหรือช่วยดูแล รุ่นน้องๆ ช่วยงานคุณครู สอนเพื่อนๆที่อ่อนกว่า
-ไม่ยอมรับพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องเช่นทำร้ายผู้อื่น พูดจาหยาบคาย ขโมย โดยเฉพาะ 0-5 ขวบ
SQ = SOCIAL QUOTIENT
ทักษะทางสังคม การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น
-ได้เล่นกับเพื่อน ในวัยเด็กเล็กๆ
-เด็กโต ทำกิจกรรมกลุ่ม หรือทำงานอื่นๆกับเพื่อน
-คบเพื่อนๆ ที่หลากหลาย
-ได้เล่นกับเพื่อน ในวัยเด็กเล็กๆ
-เด็กโต ทำกิจกรรมกลุ่ม หรือทำงานอื่นๆกับเพื่อน
-คบเพื่อนๆ ที่หลากหลาย
IQ ปรับเปลี่ยนยาก เริ่มพัฒนาตั้งแต่0- 5 ปี EQ และ MQ ปรับเปลี่ยนง่ายกว่า และได้ทุกอายุ
เพราะฉะนั้นคนที่จะประสบผลสำเร็จ ต้องมี
- มีวิสัยทัศน์ ( Vision = Dream and action)
- มองภาพรวมออก และคาดการณ์ข้างหน้าได้ค่อนข้างถูกต้อง
- IQ ,EQ, AQ, SQ, MQ ดี
- กระตือรือร้น , active มีไฟอยู่ตลอดเวลา
- กล้าเสี่ยง, กล้ารับผิดชอบ
- เชื่อมั่นในตนเอง แต่อย่ามากเกินไปจน ไม่ฟังความคิดเห็นของคนอื่น
- รู้จุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง และพยายามปรับปรุงและรู้จักตนเอง ไม่มองตนเองในแง่ร้ายหรือไม่มีคุณค่า หรือเก่งกว่าคนอื่น หรือเลวเกินไป
- มีไหวพริบ รู้เท่าทัน มีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์
- มีมนุษยสัมพันธ์ดี
- มีคุณธรรม จริยธรรม
- มีวิสัยทัศน์ ( Vision = Dream and action)
- มองภาพรวมออก และคาดการณ์ข้างหน้าได้ค่อนข้างถูกต้อง
- IQ ,EQ, AQ, SQ, MQ ดี
- กระตือรือร้น , active มีไฟอยู่ตลอดเวลา
- กล้าเสี่ยง, กล้ารับผิดชอบ
- เชื่อมั่นในตนเอง แต่อย่ามากเกินไปจน ไม่ฟังความคิดเห็นของคนอื่น
- รู้จุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง และพยายามปรับปรุงและรู้จักตนเอง ไม่มองตนเองในแง่ร้ายหรือไม่มีคุณค่า หรือเก่งกว่าคนอื่น หรือเลวเกินไป
- มีไหวพริบ รู้เท่าทัน มีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์
- มีมนุษยสัมพันธ์ดี
- มีคุณธรรม จริยธรรม
ที่มา :: www.parent-youth.net