Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2563

เปิดตำราฟื้นฟู “ปอด” สู้โควิด-19 หายใจอย่างไรให้ถูกต้อง

 เปิดตำราฟื้นฟู “ปอด” สู้โควิด-19 หายใจอย่างไรให้ถูกต้อง

เปิดตำราฟื้นฟู “ปอด” สู้โควิด-19 หายใจอย่างไรให้ถูกต้อง

ปอดอักเสบรุนแรง เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 เสียชีวิต ส่วนผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อแล้วปอดอาจได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อดังกล่าว

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เผยแพร่วิธีการ ฟื้นฟูปอดให้กลับมาแข็งแรง เพื่อให้อดีตผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ นอกจากนี้ผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคปอดอักเสบก็สามารถฝึกได้ด้วยตัวเอง เพราะข้อดีของการฝึกหายใจฟื้นฟูปอด จะช่วยลดแรงที่ใช้ในการหายใจ ,เพิ่มความแข็งแรงและประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ ,เพิ่มการเคลื่อนไหวของทรวงอก และยังป้องกันภาวะปอดแฟบและเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายเสมหะได้ด้วย  ซึ่งทุกคนสามารถฝึกได้ดังนี้

  1. หายใจแบบใช้กล้ามเนื้อกระบังลม

                โดยหายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟบ ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

  1. ฝึกหายใจโดยเน้นการขยายตัวของปอดส่วนล่าง

                วางมือบริเวณชายโครงทั้ง 2 ข้าง หายใจเข้าให้ชายโครงขยายดันมือออกมาด้านข้าง หายใจออกช้า ๆ ให้ชายโครงยุบกลับลงไป ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

  1. หายใจแบบเป่าปาก

โดยหายใจเข้าท้องป่อง แล้วหายใจออกด้วยการเป่าลมออกทางปากช้า ๆ ให้ท้องค่อย ๆ ยุบลงไป ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

  1. ฝึกหายใจร่วมกับการเคลื่อนไหวทรวงอก

ท่านี้จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของผนังทรวงอก เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบหายใจชนิดเรื้อรัง มีทั้งหมด 2 ท่า คือ

ท่าที่ 1 : นั่งหลังตรง แล้วค่อย ๆ ยกแขนทั้ง 2 ข้างขึ้นเหนือศีรษะ หายใจเข้าช้า ๆ เอาแขนลงพร้อมกับค่อย ๆ ปล่อยลมหายใจช้า ๆ ทำซ้ำ 5 ครั้ง

                ท่าที่ 2 : นั่งหลังตรง หงายมือ กางแขนทั้ง 2 ข้างขึ้นเหนือศีรษะ หายใจเข้าช้า ๆ เอาแขนลงพร้อมกับหายใจออกช้า ๆ ทำซ้ำ 5 ครั้ง

                ท่าที่ 3 : ก้มตัว ไขว้มือไว้ด้านหน้า จากนั้นกางแขนทั้งสองข้างขึ้นเหนือศีรษะเป็นรูปตัว V ลดแขนลง หายใจออกช้า ๆ พร้อมกับโน้มตัวลง และไขว้มือกลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ 5 ครั้ง

                ข้อควรปฏิบัติในการฝึกหายใจ

– ควรฝึกหายใจ 3-5 ครั้งต่อชุด โดยพักรอบละ 1 นาที (สามารถทำได้บ่อยครั้งตามต้องการ)

– ควรฝึกเป็นชุด และมีช่วงหยุดพัก เพื่อป้องกันอาการเวียนศีรษะที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างฝึกหายใจ

– ไม่ควรผ่อนลมหายใจออกอย่างรุนแรง เพราะอาจทำให้หลอดลมตีบได้

– ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยขณะฝึกหายใจและระบายเสมหะ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค

– ควรหยุดฝึกหายใจ เมื่อมีอาการ ดังนี้  เหนื่อยหอบ , เจ็บหน้าอก , วิงเวียนศีรษะ , ใจสั่น  โดยหากหยุดพักแล้วอาการดังกล่าวไม่หายไป ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

วิธีขับเสมหะด้วยการฝึกหายใจ

  1. หายใจเข้า-ออก ลึก ๆ 2 รอบ
  2. หายใจเข้าให้ลึกที่สุด แล้วพ่นลมหายใจออกทางปากให้ยาวที่สุด พร้อมโน้มศีรษะและลำตัวไปด้านหน้า
  3. หายใจเข้า-ออก ลึก ๆ 2 รอบ
  4. หายใจเข้าให้ลึกที่สุด แล้วพ่นลมหายใจออกทางปากแรง ๆ 2 ครั้ง พร้อมโน้มศีรษะและลำตัวไปด้านหน้า

วิธีขับเสมหะด้วยการไอ

  1. นั่งโน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย หายใจเข้า-ออกลึก ๆ 2 ครั้ง
  2. หายใจเข้าลึกสุด แล้วกลั้นหายใจค้างไว้ 3 วินาที
  3. ไอออกมาแรง  ๆ

                เราสามารถขับเสมหะด้วยการฝึกหายใจก็ได้ หรืออยากจะขับเสมหะด้วยการไอก็แล้วแต่สะดวก อย่างไรก็ตามในการขับเสมหะก็มีข้อควรระวัง ดังนี้ ไม่ควรฝึกหลังจากรับประทานอาหาร เพราะอาจทำให้สำลักอาหารเข้าหลอดลมได้ ,  ไม่ควรฝึกระบายลมหายใจติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจเกิดอาการเวียนศีรษะ

การฝึกหายใจแบบนี้สามารถทำได้ทั้งกับผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป โดยสำหรับผู้ป่วยก็จะช่วยฟื้นฟูปอดให้ดีขึ้น ส่วนในคนปกติก็ถือเป็นการบริหารปอดให้แข็งแรง



ขอบคุณข้อมูลจากภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Kapook.com , https://thaitgri.org/?p=39002