วิธีปลูกผักบุ้งง่าย ๆ มีพื้นที่น้อยก็ทำได้ !
มาดูวิธีปลูกผักบุ้งง่าย ๆ สามารถปลูกได้แม้ในพื้นที่ขนาดเล็ก ๆ เช่น ในบ้านหรือบนระเบียง ถ้าอยากมีผักบุ้งสด ๆ ไว้กิน มาปลูกผักบุ้งเองไว้กินกับคนในครอบครัวกันเถอะ
อุปกรณ์
- ผักบุ้งสดตัดราก 1 กำมือ
- ปุ๋ยหมักและปุ๋ยมูลไส้เดือน
- กากมะพร้าว
- กระถางสำหรับปลูกแบบมีรู
- จานรองกระถาง
- เม็ดดินเผาสำหรับปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์
- ถาดสำหรับการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ ก้นลึกประมาณ 5 นิ้ว
2. นำปุ๋ยหมักและปุ๋ยมูลไส้เดือนผสมกับกากมะพร้าวผสมให้เข้ากัน แล้วตักใส่กระถางจนเกือบเต็ม
3. ใช้มือขุดดินตรงกลางกระถางออกให้เป็นหลุม แล้วนำต้นผักบุ้งมาวางพร้อมถมดินกลบหลุมปลูกจนเกือบเต็มกระถาง จากนั้นนำจานมารองก้นกระถางไว้เพื่อกักเก็บน้ำเอาไว้
1. นำเม็ดดินเผาใส่ถาดปลูกเกลี่ยให้เต็มถาดแล้วเติมน้ำ ระดับน้ำไม่เต็มจนล้นหรือน้อยเกินไป
2. ปักผักบุ้งลงในถาดปลูกให้ลึกพอประมาณ เกลี่ยเม็ดดินเผากลบราก
3. หมั่นเปลี่ยนถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ
หลังจากนำลงปลูกทั้ง 2 วิธีแล้ว ให้หมั่นเด็ดใบผักบุ้งส่วนล่างที่เริ่มเหี่ยวทิ้งเพื่อกระตุ้นให้เกิดใบใหม่ เพราะผักบุ้งเป็นผักที่ชอบน้ำ ฉะนั้นถ้าปลูกในกระถางควรหมั่นรดน้ำบ่อย ๆ อย่าปล่อยให้หน้าดินแห้ง และสำหรับผักบุ้งที่ปลูกด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ให้หมั่นเปลี่ยนน้ำเพื่อให้ออกซิเจนหมุนเวียนไปสู่รากของผักบุ้ง และน้ำที่ใช้ต้องเป็นน้ำสะอาดนั้น ปลูกทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์ แค่นี้ก็เก็บกินได้แล้วค่ะ
อุปกรณ์
- ตะกร้ามีรูแบบโปร่งๆ 1 ใบ
- กระบะขนาดที่ซ้อนตะกร้าลงไปได้ 1 ใบ
- กาบมะพร้าวสับ
- น้ำปุ๋ยไฮโดร
- กระบะใหญ่
- เมล็ดผักบุ้ง
- น้ำสะอาด
วิธีปลูกแบบใช้เมล็ด
1. นำตะกร้าแบบมีรูมาวางซ้อนกันกับกระบะ
2. นำกาบมะพร้าวสับใส่ตะกร้าโดยให้มีความสูงประมาณ 3/4 นิ้ว
3. ใส่น้ำสะอาด ให้ความสูงของน้ำปริ่มกับกาบมะพร้าว
4. โรยเมล็ดผักบุ้งอย่าให้ติดกันจนเกินไป และนำฝาหรือภาชนะมาปิดด้านบน วางในที่ร่ม ไม่ต้องตากแดด
5. รากจะเริ่มโผล่ใน 2 วัน ในระหว่างนี้ควรสังเกตระดับน้ำ ถ้าลดลงให้เติมให้สูงเท่าเก่า ถ้าต้นเริ่มงอกแล้วก็ไม่ต้องปิดฝาแล้ว (ใบจะได้ไม่เหลือง) และเติมปุ๋ยประมาณวันที่ 5
6. พอครบ 14 วันเติมน้ำปุ๋ยเพิ่ม และเปลี่ยนกระบะใส่น้ำเป็นขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้รากยาว
7. พอครบ 3 สัปดาห์หรือ 21 วัน ต้นจะยาวประมาณ 10-12 นิ้ว แปลว่า ใกล้ตัดได้แล้ว ให้ถ่ายน้ำปุ๋ยออก และใส่น้ำสะอาดไว้ 3-5 วัน เพื่อล้างปุ๋ยตกค้างออกและตัดได้ทันที
วิธีปลูกแบบไม่ใช้เมล็ด
1. ตัดฟองน้ำให้เป็นลูกเต๋า ขนาดกว้าง 1 x 1 นิ้ว กรีดตรงกลางฟองน้ำให้เป็นรู นำไปชุบน้ำให้ชุ่ม
2. นำต้นผักบุ้งตัดรากเสียบตามรูที่เจาะไว้ แล้วนำฟองน้ำไปวางเรียงในตะกร้า ให้ต้นผักบุ้งโผล่จากรูตะกร้าประมาณ 3 นิ้ว จากนั้นนำตะกร้าไปวางซ้อนกับกระบะใส่น้ำ ระวังอย่าให้ลำต้นส่วนล่างโดนกับก้นกระบะ
3. ทิ้งไว้ 5–7 วันพอรากเริ่มยาวแล้วให้เปลี่ยนน้ำใส่ปุ๋ย
4. เปลี่ยนกระบะเป็นกระบะใหญ่ จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 14 วันผักบุ้งก็จะโตเต็มที่
เคล็ดลับ วิธีปลูกผักบุ้ง ให้โตไว ปลูกได้แม้มีพื้นที่น้อย
ผักบุ้ง เป็นผักที่ได้รับความนิยม และนำมารับประทานกันเป็นอย่างมาก เพราะมีประโยชน์ มีสรรพคุณที่หลากหลาย ช่วยในการบำรุงสายตา อุดมไปด้วยวิตามิน และธาตุ ที่สำคัญหลากหลาย ซึ่งผักบุ้งนั้น สามารถแบ่งออกได้มากมาย หลากหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ จะมีลักษณะของลำต้นที่แตกต่างกันออกไป รวมทั้งรสชาติ จะแตกต่างกันอีกด้วย
สายพันธุ์ของผักบุ้ง
เป็นผักบุ้งที่เกิดเองตามธรรมชาติ แม่น้ำลำคลอง โดยที่เราไม่ต้องเพาะปลูก ก็สามารถเกิดขึ้นเองได้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สายพันธุ์ธรรมชาติ เพราะสามารถเกิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาตินั่นเอง ซึ่งจะเป็นผักบุ้งที่ทอดยาว พร้อมกับมียางออกมา ถ้าหากหักตรงลำต้นของผักบุ้ง จะมียางไหลออกมา เพียงเล็กน้อย แต่มียางมากกว่าผักบุ้งจีน คนจึงไม่นิยม นำไปรับประทานเท่ากับผักบุ้งจีน
เป็นผักบุ้งที่ถูกนำเข้าจากต่างประเทศ แต่เมืองไทย สามารถ ปลูกผักบุ้ง ชนิดนี้เองได้ โดยที่ไม่ต้องนำเข้ามาอีกต่อไป ซึ่งส่วนมากนั้น ผักบุ้งจีน นิยมปลูกขายตามท้องตลาด เพราะว่า ลำต้นของผักบุ้งจีนนั้น ค่อนข้างยาว และขาวกว่าผักบุ้งไทย มีใบอ่อนที่เขียวขจี มีดอกของผักบุ้งเป็นสีขาว แต่เมื่อเวลาหักลำต้นแล้ว จะพบว่ามียางออกมาน้อยกว่าผักบุ้งไทย คนจึงนิยม นำผักบุ้งจีนมาทำอาหาร มากกว่าผักบุ้งไทยนั่นเอง
ผักบุ้งนา
ในส่วนของผักบุ้งนานั้น จะมีลำต้น เป็นสีแดง และมียอดค่อนข้างเรียว และเล็ก รสชาติเมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว จะมีรสฝาดติดลิ้น นิยมนำมารับประทาน คู่กันกับลาบน้ำตกของคนอีสาน และอาหารอีสานอีกหลากหลายประเภท ผักบุ้งนา สามารถนำมาทำแกงส้มได้อีกด้วย เป็นผักบุ้ง ที่นิยมรับประทานมากอีก 1 ชนิด
ผักบุ้งแก้ว
เป็นผักบุ้ง ที่คนนิยมนำยอดผักบุ้ง มาประกอบอาหาร เป็นส่วนประกอบที่อร่อยที่สุด ลำต้นเรียวยาว พร้อมกับยอดอ่อนที่เขียวขจี
- ผักบุ้งทะเล
เป็นผักบุ้งที่มีลำต้นทอดเลื้อยยาว ไปตามพื้นดิน ซึ่งสามารถยาวได้ถึง 5-30 เมตรเลยทีเดียว ลำต้นของผักบุ้งทะเล จะเป็นสีเขียวปนแดง หรือสีแดงอมม่วง ตามข้อของผักบุ้ง จะมีรากฝอยโผล่ออกมาทุกจุด ซึ่งเป็นผักบุ้ง ที่คนนิยมนำมารับประทานเป็นยา
วิธีปลูกผักบุ้ง ทำได้อย่างไร?
วิธีปลูกผักบุ้ง ง่าย ๆ สามารถปลูกได้แม้ในพื้นที่ขนาดเล็ก ๆ เช่น ในบ้าน หรือบนระเบียง ถ้าอยากมีผักบุ้งสด ๆ ไวทานที่บ้าน ทำได้หลากหลายวิธี ดังนี้
1. วิธีปลูกผักบุ้งจีน
ผักบุ้งจีน เป็นผักที่คนไทยนิยมรับประทานเนื่องจากเป็นผักที่หาซื้อได้ขายตามท้องตลาด และเกษตรกรนิยมปลูกผักบุ้งจีน เนื่องจากเป็นผักที่ปลูกได้ง่าย เจริญเติบโตไว ระยะเวลาการปลูกเพียง 25-30 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว และเป็นผักสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี วิธีการปลูกผักบุ้งจีน มีแบบ 2 คือ
- แบบหว่าน การปลูกแบบหว่าน จะเป็นการหว่านเมล็ดผักบุ้งจีนลงไปแปลงดินตรง ๆ กลบด้วยดินบาง ๆ แล้วรดน้ำได้เลย แต่มีข้อเสีย คือ ผักบุ้งจีนเป็นผักที่มีความต้องการน้ำมาก เวลารดน้ำ จะทำให้ต้นผักบุ้งจีนแย่งน้ำกัน ทำให้การเจริญเติบโตไม่เท่ากัน
- แบบหยอด การปลูกแบบหยอด จะเป็นการปลูกแบบแนวเส้นตรง แล้วจึงนำเมล็ดพันธุ์ไปหยอดตามแนวเส้นตรง เพื่อไม่ได้เมล็ดชิดกันมากเกินไป เสร็จแล้วกลบดิน แล้วรดน้ำได้เลย พอเมล็ดเจริญเติบโต ก็จะเรียงแนวเป็นระเบียบ
การรดน้ำ ไม่ควรมากเกินไปจนน้ำขัง เพราะจะทำให้รากผักบุ้งจีเน่า และไม่เจริญเติบโต ควรรดน้ำทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง แต่ถ้าวันไหนฝนตก ก็ไม่จำเป็นต้องรดน้ำ ที่สำคัญอย่าให้ผักบุ้งจีนขาดน้ำ เพราะจะทำให้ผักบุ้งจีนขาดการเจริญเติบโต ไม่มีคุณภาพ ไม่น่ารับประทาน และราคาตก
ผักบุ้งจีนเป็นผักที่เจริญเติบโตไว เพียง 25-30 วัน หรือต้นสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว ก่อนเก็บเกี่ยว ควรรดน้ำแปลงดินให้ซุ่ม เพื่อการเก็บเกี่ยวผักบุ้งจะง่ายขึ้น ทำให้รากผักบุ้งจีนไม่ขาดมาก สะบัดดินออก และนำไปล้างน้ำอีกรอบ ไม่ควรน้ำผักบุ้งไปตากแดด เพราะจะทำให้ผักบุ้งเหี่ยว จัดการมัดผักบุ้งเป็นมัด ๆ และนำไปจำหน่ายต่อไป
2. วิธีปลูกผักบุ้ง ในกระถาง แบบใช้ดิน
- นำต้นผักบุ้ง ไปแช่ในถัง แล้วเติมน้ำลงไปประมาณ 2 ½-3 นิ้ว ทิ้งไว้ 4-5 วัน เพื่อรอให้รากงอก
- นำปุ๋ยหมัก และปุ๋ยมูลไส้เดือน ผสมกับกากมะพร้า วผสมให้เข้ากัน แล้วตักใส่กระถางจนเกือบเต็ม
- ใช้มือขุดดินตรงกลางกระถางออกให้เป็นหลุม แล้วนำต้นผักบุ้งมาวางพร้อมถมดินกลบหลุมปลูกจนเกือบเต็มกระถาง จากนั้น นำจานมารองก้นกระถางไว้เพื่อกักเก็บน้ำเอาไว้
3. วิธีปลูกผักบุ้ง ในตะกร้า
ก่อนที่จะไปทำการปลูกผักบุ้งนั้น มาเตรียมอุปกรณ์กันก่อน ซึ่งอุปกรณ์ สำหรับปลูกผักบุ้ง ในตะกร้า มีดังนี้
- ตะกร้า มีรูแบบโปร่ง ๆ 1 ใบ
- กระบะขนาดที่ซ้อนตะกร้าลงไปได้ 1 ใบ
- กาบมะพร้าวสับ
- น้ำปุ๋ยไฮโดร
- กระบะใหญ่
- เมล็ดผักบุ้ง
- น้ำสะอาด
แบบใช้เมล็ด
- นำตะกร้าแบบมีรู มาวางซ้อนกัน กับกระบะ
- นำกาบมะพร้าวสับใส่ตะกร้า โดยให้มีความสูงประมาณ 3/4 นิ้ว
- ใส่น้ำสะอาด ให้ความสูงของน้ำปริ่มกับกาบมะพร้าว
- โรยเมล็ดผักบุ้ง อย่าให้ติดกันจนเกินไป และนำฝา หรือภาชนะมาปิดด้านบน วางในที่ร่ม ไม่ต้องตากแดด
- รากจะเริ่มโผล่ใน 2 วัน ในระหว่างนี้ ควรสังเกตระดับน้ำ ถ้าลดลงให้เติมให้สูงเท่าเก่า ถ้าต้นเริ่มงอกแล้ว ก็ไม่ต้องปิดฝาแล้ว ใบจะได้ไม่เหลือง และเติมปุ๋ย ประมาณวันที่ 5
- พอครบ 14 วัน เติมน้ำปุ๋ยเพิ่ม และเปลี่ยนกระบะใส่น้ำเป็นขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้รากยาว
- พอครบ 3 สัปดาห์ หรือ 21 วัน ต้นจะยาวประมาณ 10-12 นิ้ว แปลว่า ใกล้ตัดได้แล้ว ให้ถ่ายน้ำปุ๋ยออก และใส่น้ำสะอาดไว้ 3-5 วัน เพื่อล้างปุ๋ยตกค้างออก และตัดได้ทันที
แบบไม่ใช้เมล็ด
- ตัดฟองน้ำ ให้เป็นลูกเต๋า ขนาดกว้าง 1 x 1 นิ้ว กรีดตรงกลางฟองน้ำให้เป็นรู นำไปชุบน้ำให้ชุ่ม
- นำต้นผักบุ้งตัดราก เสียบตามรูที่เจาะไว้ แล้วนำฟองน้ำไปวางเรียงในตะกร้า ให้ต้นผักบุ้งโผล่จากรูตะกร้า ประมาณ 3 นิ้ว
- จากนั้น นำตะกร้าไปวางซ้อนกับกระบะใส่น้ำ ระวังอย่าให้ลำต้นส่วนล่างโดนกับก้นกระบะ
- ทิ้งไว้ 5–7 วัน พอรากเริ่มยาวแล้ว ให้เปลี่ยนน้ำใส่ปุ๋ย
- เปลี่ยนกระบะ เป็นกระบะใหญ่ จากนั้น ทิ้งไว้ประมาณ 14 วันผักบุ้ง ก็จะโตเต็มที่ พร้อมตัด
สรรพคุณของผักบุ้ง มีอะไรบ้าง?
ผักบุ้ง ประโยชน์และสรรพคุณนั้นมีมากมายหลากหลายข้อ แต่ละสายพันธุ์ จะมีสรรพคุณที่แตกต่างกันออกไปแต่สรรพคุณที่โดดเด่นของผักบุ้งนั้น ได้แก่
- ช่วยทำให้ ผิวเปล่งปลั่งอมชมพู และนุ่มนวลมีน้ำมีนวลสดใสมากยิ่งขึ้น เมื่อรับประทานเป็นประจำ
- ช่วยบำรุงธาตุเหล็ก และแร่ธาตุพร้อมกับวิตามินต่าง ๆ
- ช่วยชะลอวัยลดความแก่ชรา อีกทั้งยังสามารถต่อต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี
- บริเวณยอดของผักบุ้งน้ำ ช่วยแก้โรคประสาท
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ และอ่อนแรงเป็นประจำ
- ช่วยแก้อาการเหงือกบวม และลดอาการเหงือกบวมได้เป็นอย่างดี เมื่อรับประทานเป็นประจำ
- แก้เลือดกำเดาไหลออกมาเยอะผิดปกติ หรือมีการไหลเป็นประจำและบ่อยครั้ง ในส่วนของลำต้นผักบุ้งนั้น จะช่วยแก้ ในส่วนของการไหลเวียนของเลือด
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหารในลำไส้ เพราะผักบุ้งจะมีวิตามิน และแร่ธาตุ
- ช่วยส่งเสริมความทรงจำ และเพิ่มศักยภาพความจำของผู้ที่รับประทานเป็นประจำ ลดการหลง ๆ ลืม ๆ
- ลำต้นของผักบุ้ง เมื่อนำมารับประทานแล้ว จะช่วยอาการแก้ร้อนใน และเป็นยาที่ช่วยดับร้อนได้เป็นอย่างดี
- ช่วยในการถอนพิษขณะเมาค้าง เพราะผักบุ้งมีรสเย็น จึงช่วยล้างสารพิษจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ดี
- ผักบุ้งไทยช่วยรักษาแผลไฟไหม้ และน้ำร้อนลวก โดยการนำลำต้นสดมาใช้เป็นยา
- ดอกของผักบุ้งไทยที่ลำต้นขาว ช่วยในการแก้ปัญหากากเกลื้อน เรื้อรังได้เป็นอย่างดี
ประโยชน์ของผักบุ้ง
- นำมาใช้ในการประกอบอาหารอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะผัด แกง ดอง ได้หมด เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง ส้มตำ แกงส้ม แกงเทโพ ยําผักบุ้งกรอบ เป็นต้น
- ผักบุ้งนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้เหมือนกัน เช่น หมู เป็ด ไก่ ปลา เป็นต้น (มีหลายคนเข้าใจผิดว่ากระต่ายชอบกินผักบุ้ง แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะอาจจะทำให้ท้องเสียได้ เพราะผักบุ้งมียาง ยกเว้นกระต่ายโต ถ้าจะให้กินไม่ควรให้บ่อยและให้ทีละนิด)
- ผักบุ้ง นิยมนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผักบุ้งแคปซูล ผงผักบุ้ง เป็นต้น
คุณค่าทางโภชนาการ
ผักบุ้ง 100 กรัม ให้คุณประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพมากมาย ได้แก่
- ให้พลังงาน 22 กิโลแคลอรี
- ใยอาหาร 101 กรัม
- แคลเซียม 3 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม
- เหล็ก 3 มิลลิกรัม
- วิตามินเอ 11447 IU
- วิตามินบี1 0.06 มิลลิกรัม
- วิตามินบี2 0.17 มิลลิกรัม
- ไนอาซิน 1.3 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 14 มิลลิกรัม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Easy Hydro - Easy Plant, Hubpages และ Sasisseesom