Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

วิธีปลูกกะเพราต้นเดียวให้เก็บกินได้ทั้งปี

 

วิธีปลูกกะเพราต้นเดียวให้เก็บกินได้ทั้งปี


กะเพรา, โหระพา และแมงลัก นั้นคล้ายๆ กัน

ฝรั่งเรียกกะเพรา, โหระพา และแมงลักนั้นว่าเบซิล (basil) เหมือนกันแต่ต่างกันตรงคำคุณศัพท์ที่แตกต่างกันคือ holy basil (กะเพรา), sweet basil (โหระพา), lemon basil (แมงลัก)

โปรดสังเกตว่ากะเพราเป็นพืชประเภทเบซิลชนิดเดียวที่มีชื่อแปลจากภาษาอังกฤษว่า "เบซิลศักดิ์สิทธิ์" ในขณะที่โหระพาแปลว่าเบซิลหวานและแมงลักแปลว่าเบซิลที่มีกลิ่นมะนาว


เลือกพันธุ์กะเพรา


วิธีการปลูกกะเพราทำได้ง่ายมาก แต่ก่อนอื่นให้เลือกก่อนว่าชอบกะเพราแบบไหน กระเพราขาวใบใหญ่ หรือกะเพราแดงที่กลิ่นเข้มข้นมากกว่า เมื่อตัดสินใจได้แล้วจะได้ลงมือปลูกกัน

วิธีปลูกกะเพรา


การปลูกกะเพราทำได้ทั้งโดยวิธีเพาะเมล็ด และวิธีชำกิ่ง แต่วิธีเพาะเมล็ดกะเพราจะโตช้ากว่า จึงแนะนำให้ใช้วิธีชำกิ่ง

การเลือกกิ่งพันธุ์ให้เลือกกิ่งกลางแก่กลางอ่อนที่ยังไม่เคยออกดอก ตัดกิ่งยาวประมาณ 4-5 นิ้วมาปักชำในกระถาง โดยปักเอียง 45 องศา รดน้ำให้ชุ่ม ไม่กี่วันกะเพราก็แตกรากแตกใบ ต้นโตเร็วกว่าวิธีเพาะเมล็ดมาก

เมื่อกะเพราแตกกิ่งดีแล้วจะปลูกในกระถางต่อไปก็ได้ หรือนำไปปลูกลงดินก็ได้ ข้อแตกต่างคือถ้าย้ายมาปลูกลงดินจะได้กะเพราที่ต้นสูงใหญ่กว่า วิธีปลูกลงดินถ้ามีพื้นที่เหลือพอก็ปลูกหลายต้นได้เลย โดยปลูกให้ต้นห่างกัน 20-30 เซนติเมตร

เทคนิคการเก็บกะเพรา


เมื่อกะเพราโตแล้วถึงเวลาจะเก็บมาทำอาหาร มีเทคนิคว่าอย่าใช้วิธีเด็ดใบ แต่ให้ตัดมาทั้งยอดเลย เพราะเมื่อตัดยอดมาแล้วกะเพราจะแตกยอดใหม่และใบหนากว่าเก่า ถ้าเก็บยอดกะเพรามาทำอาหารไม่ทันก็ต้องคอยดูแลตัดยอดทิ้งทุกสัปดาห์ โดยเฉพาะถ้าเห็นยอดไหนออกดอกต้องตัดทิ้งให้หมดทันที อย่าปล่อยให้กะเพราออกดอกเด็ดขาดเพราะต้นจะโทรมง่ายและหมดอายุเร็ว

คอยดูแลรดน้ำให้พอ ใส่ปุ๋ยบ้าง และคอยตัดยอดตัดดอกทิ้งอย่าให้ออกดอก แค่นี้กะเพราต้นเดียวก็จะต้นสูงใหญ่และอายุยืนเป็นอาหารคู่ครัวได้เป็นปีเลยทีเดียว


กะเพราแดง พืชสมุนไพรรักษาโรคและนิยมนำมาประกอบอาหาร


กะเพราแดงภาษาอังกฤษ : Red Holy Basil

กะเพราแดงชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum tenufiorum L.

ชื่อเรียกอื่น ๆ : กอมก้อดง (เชียงใหม่), กะเพราขน (ภาคกลาง), อีตู่ไทย (ภาคอีสาน), ห่อกวอซู (กะเหรี่ยง) ฯลฯ

วงศ์ : Lamiaceae (เดิมคือ Labiatae)


กะเพราแดง เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุยืนยาวกว่าพืชผักทั่วไป โดยเป็นพืชในเขตร้อนในถิ่นโลกเก่า เช่น เอเชีย แอฟริกา ซึ่งพบมากในแถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยที่พบมากและขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด กะเพราแดงนับเป็นสมุนไพรในตำรายาไทย โดยสามารถนำมาใช้รักษาโรคต่าง ๆ ได้มากกว่า 10 โรค ถือเป็นผักชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นหอมฉุน มีรสเผ็ด นิยมนำมาประกอบอาหารอย่างเมนูผัดกะเพรา

กะเพราแดง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์


ความเชื่อเกี่ยวกับต้นกะเพราแดง

กะเพราแดงนอกจากจะเป็นพืชอาหารแล้ว ยังเป็นสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้รักษาโรคได้ด้วย อีกทั้งยังถือเป็นไม้ประดับชนิดหนึ่งที่ให้ความสวยงาม โดยกะเพราแดงนั้นถือเป็นไม้ที่ชาวฮินดูเคารพเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นไม้ที่มีความเกี่ยวข้องกับนางลักษมี พระชายาของพระวิษณุหรือองค์พระนารายณ์ ถูกใช้ในพิธีกรรมบูชาพระวิษณุ ชาวฮินดูจึงเรียกกะเพราว่า Tulasi ที่แปลว่า “ไม่มีสิ่งใดเปรียบเทียบได้” หรืออยู่ในฐานะที่สูงส่งนั่นเอง ในขณะเดียวกันชาวคริสต์ก็ถือว่ากะเพราเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกัน โดยถือว่าเป็นลูกไม้ที่งอกออกมาจากหลุมศพพระเยซู นอกจากนี้ในวรรณกรรมโบราณ ว่าถึงตัวเอกในละครที่ตั้งใจรดน้ำต้นกะเพราแดงด้วยหยดน้ำตา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความรู้สึกแห่งความฉุน ความโกรธ ความรัก ความอาลัยรักในใบกะเพราแดง


ควรปลูกบริเวณใดของบ้าน


สำหรับการปลูกกะเพราแดงควรปลูกในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดวันจะดีที่สุด เพราะกะเพราแดงชอบอากาศร้อน หากปลูกไว้ในบริเวณที่โดนแสงแดดแบบเต็มวันจะทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ดีขึ้น และถ้าหากปลูกไว้ใกล้ ๆ ครัวก็จะยิ่งทำให้สะดวกต่อการนำมาใช้ประกอบอาหารมากยิ่งขึ้น


ลักษณะของต้นกะเพราแดง


  • ลำต้น กะเพราแดงเป็นพืชล้มลุก มีลักษณะเป็นทรงพุ่ม ลำต้นของต้นกะเพราแดงมีความแข็งแรง ยิ่งอายุมากก็จะมีต้นที่โตและแข็งแรงมากขึ้น ลำต้นเดี่ยว มีลักษณะกลม ๆ มีสีเขียวอมม่วงแดง มีความสูงเฉลี่ยไม่เกิน 70 เซนติเมตร บริเวณลำต้นจะปกคลุมด้วยขนอ่อน
  • ใบ ใบกะเพราแดงเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน โดยใบยอดจะมีขนอ่อน เนื้อใบบาง ใบมีขนาดเล็กกว่าใบกะเพราขาว รูปร่างใบมีลักษณะเป็นรูปรี หรือรีขอบขนาน มีความยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ปลายและโคนใบแหลมหรือมน ขอบใบหยัก กลิ่นจะหอมแรงกว่ากะเพราทั่วไป
  • ดอก ดอกกะเพราแดงจะออกเป็นช่อที่บริเวณปลายยอด ดอกมีสีขาวแกมม่วงแดง มีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายมีความเรียวแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก ปากบนมี 4 แฉก ส่วนปากล่างจะมี 1 แฉก และปากล่างนั้นจะยาวกว่าปากบน มีขนประปราย เกสรเพศผู้มี 4 อัน
  • ผล ผลของกะเพราแดงมีลักษณะเป็นผลแห้ง เมื่อแตกออกจะมีเมล็ดสีดำจำนวนมาก ซึ่งเมล็ดมีลักษณะเป็นทรงรีเล็ก ๆ สีดำ

กะเพราแดง คือ
www.technologychaoban.com


วิธีการปลูก

สำหรับวิธีการปลูกกะเพราแดงสามารถใช้เมล็ดปลูกและชำกิ่ง สำหรับการปลูกด้วยเมล็ดจะใช้เมล็ดกะเพราแดงที่แห้งแตกมาหว่านลงดินที่จะใช้ปลูก หากได้รับน้ำและอุณหภูมิที่เหมาะสมก็จะสามารถงอกขึ้นเป็นต้นได้ ซึ่งการขยายพันธุ์กะเพราแดงนั้นจะนิยมใช้เมล็ดในการเพาะต้นกล้า โดยหว่านลงแปลงปลูก หลังจากนั้นรดน้ำ 1-2 ครั้ง/วัน จนกล้าแตกใบแท้ 2-5 ใบ ก็สามารถขุดต้นกล้าเพื่อย้ายลงในแปลงหรือกระถางตามต้องการ


วิธีการดูแล

  • แสง กะเพราแดงชอบอากาศร้อน ดังนั้นควรให้ต้นกะเพราแดงได้รับแสงแดดแบบเต็มวัน จะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตได้ดีและเร็วขึ้น
  • น้ำ ควรให้น้ำหลังจากปลูกวันละ 1-2 ครั้ง หรืออาจให้วันเว้นวันเมื่อต้นกะเพราแดงแตกกิ่งเป็นพุ่มใหญ่
  • ดิน กะเพราแดงอยู่ได้กับดินทุกชนิด แต่ถ้าหากใช้ดินร่วนและระบายน้ำได้ดีในการปลูกจะช่วยให้ผลผลิตที่ดีกว่า สำหรับระยะการปลูกนั้นควรเว้นความห่างเพื่อให้กะเพราแตกพุ่ม 30 เซนติเมตร
  • ปุ๋ย ให้ปุ๋ยคอก อัตรา 200 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา 30-50 กิโลกรัม/ไร่ หลังปลูกประมาณ 2-4 สัปดาห์
วิธีการปลูกกะเพราแดง


การเก็บเกี่ยวผลผลิต


สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตของกะเพราแดงได้ประมาณ 2 เดือน หลังจากการปลูก โดยสามารถใช้มือเด็ดยอดอ่อนหรือใช้กรรไกรตัดกิ่ง สามารถเก็บเกี่ยวไปได้เรื่อย ๆ ในทุก ๆ 20-30 วัน ทั้งนี้กะเพราแดงนั้นเป็นผักที่ค่อนข้างบอบบาง ช้ำและเหี่ยวง่าย ดังนั้นควรเก็บอย่างเบามือแล้วนำใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้


ประโยชน์และสรรพคุณต่าง ๆ


  1. สามารถนำกะเพราแดงมาประกอบอาหารในเมนูต่าง ๆ ได้ เช่น ผัดกะเพรา ต้มยำ ต้มโคล้ง แกงเลียง แกงป่า ผัดฉ่า เป็นต้น
  2. ช่วยป้องกันรักษาดวงตา ป้องกันแก้วตาขุ่น ฟื้นฟูจอประสาทตา บำรุงสายตา ช่วยในการมองเห็น รวมถึงลดอาการบวมของเส้นประสาทตาจากการป่วยโรคเบาหวาน
  3. แก้หวัด แก้ไข้สันนิบาต ช่วยรักษาไข้มาลาเรีย รักษาอาการวิตกกังวล เครียด และซึมเศร้า
  4. ใช้ใบและยอดกะเพราแดงในการรักษาอาการกรดไหลย้อน แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นหน้าอก แก้คลื่นเหียนอาเจียน รักษาแผลในกระเพาะ และช่วยให้เจริญอาหาร
  5. แก้ซางตานขโมย สามารถใช้ใบกะเพราแดงสดมาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับยามหาหิงคุ์ นำมาทาที่บริเวณสะดือของเด็กแก้ปวดท้อง นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณช่วยเพิ่มน้ำนมให้กับสตรีหลังคลอดบุตร ขับน้ำนม บรรเทาอาการไข้เรื้อรัง แก้ปวดฟัน รักษากลาก เกลื้อน และโรคหูดได้
  6. สามารถนำมาชงดื่มบำรุงธาตุและลดน้ำตาลในเลือดในปัสสาวะได้
  7. น้ำคั้นจากใบกะเพราแดงสามารถช่วยขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้ไข้ ขับลม แก้ปวดหลัง และใช้หยอดแก้ปวดหูได้
  8. สามารถนำเมล็ดกะเพราแดงมาแช่น้ำพองเป็นเมือกแล้วใช้พอกตาเมื่อมีขี้ผงฝุ่นเข้าตา ไม่ให้ขอบตาบวมช้ำ
  9. น้ำมันกะเพราแดงสามารถใช้ป้องกันและไล่ยุงได้
  10. คนไทยสมัยก่อนนิยมทานแกงเลียงใบกะเพราหลังคลอดบุตร เพื่อขับลมและบำรุงธาตุให้เป็นปกติ




แกล้ง “กะเพรา” วิธีทำให้ต้นกระเพราโตเร็ว ออกใบเยอะ อายุยืน


แกล้ง “กะเพรา” วิธีทำให้ต้นกระเพราโตเร็ว ออกใบเยอะ อายุยืน
เผยเคล็ดลับกับเทคนิคการ แกล้ง “กะเพรา” ของชาวสวนกะเพรา ที่หลายท่านยังไม่รู้ ทำอย่างไรปลูกกะเพราให้สูงใหญ่ ออกใบเยอะ แตกยอดดี เด็ดแทบไม่ทัน



การแกล้งกะเพรานี้ เป็นวิธีที่ถูกเผยแพร่จาก เกษตรกรสวนกะเพราผู้มากประสบการณ์และได้รับการเผยแพร่จาก อาจารย์กมล สุวุฒโท อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดยได้เปิดเผยว่าทุกๆเช้าให้เราเด็ดยอดอ่อนของใบกะเพราทุกวัน โดยเด็ดยอดที่เป็นดอกเท่านั้นนะคะ เพื่อไม่ให้ออกดอกได้ เพราะเจ้าดอกกะเพรานี่หละ เป็นการกระบวนการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของมัน




และถ้าเมื่อกะเพราออกดอกเมื่อไหร่ต้นจะเหี่ยวเฉาและหมดอายุในที่สุด ดังนั้น ถ้าเราหมั่นเด็ดดอกกะเพราออกทุกวัน ต้นกะเพราะก็จะเข้าใจว่าไม่สามารถขยายพันธุ์ต่อได้อีก ทำให้ต้องรีบแตกหน่อ ออกดอก ออกใบให้เยอะขึ้น เป็นการแกล้งให้กะเพราเข้าใจผิด ( เข้าใจผิดว่าตัวเองจะสูญพันธุ์ต้องรีบ ออกดอก ออกลูก มาเพิ่มเยอะๆ )



เมื่อเวลาผ่านไป จากกะเพราต้นเตี้ยๆธรรมดาก็จะเติบโตเป็นต้นขนาดใหญ่ได้เร็วกว่าปกติ ( ถูกบังคับให้ต้องเร่งการเจริญเติบโต ) ใช้วิธีนี้รับรองต้นสูงใหญ่ ใบเยอะ ตลอดทั้งปีแน่นอนทั้งยังอายุยืนยาวกว่ากะเพราปกติอีกด้วย แต่ที่สำคัญต้องเด็ดทุกวันด้วยนะ คราวนี้รับรองว่าเก็บกะเพราขายกันไม่หวาดไม่ไหวแน่นอน


ข้อแนะนำเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ผลดีควรใส่ปุ๋ยควบคู่กับการแกล้งกระเพรา

– รดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง หรืออาจให้วันเว้นวันเมื่อต้นกระเพราแตกกิ่งเป็นพุ่มใหญ่
– ใช้ปุ๋ยคอก ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หลังปลูกประมาณ 2-4 อาทิตย์ เมื่อต้นกล้าตั้งต้นได้แล้ว
– ใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเพื่อช่วยเร่งปฎิกิริยาของปุ๋ยในดิน และ ช่วยปรับสภาพดินให้เหมาะกับการเจริญเติบโต
สำหรับสายพันธุ์กระเพราที่นิยมปลูกมีอยู่ 3 สายพันธุ์หลักๆได้แก่



1. กระเพราใบเขียว
 ก้านแดง เป็นพันธุ์ที่มีใบ และดอกเป็นสีขาว แต่มีลักษณะก้านใบ และก้านดอกเป็นสีแดง รวมถึงใบเขียวหรือเขียวอมแดง เป็นกระเพราที่มีกลิ่นฉุน และ เผ็ดร้อน กำลังพอดี เหมาะสำหรับนำมาทำผัดกระเพรา เพราจะได้รสชาติกระเพราที่กลมกล่อม หอมกำลังพอดี


2. กระเพราใบเขียว
 ก้านเขียวหรือก้านขาว เป็นพันธุ์ที่มีก้านใบ ก้านดอก ใบ เป็นสีเขียว และดอกเป็นสีขาว มีใบใหญ่ รสชาติออกหวาน ไม่ค่อยมีกลิ่นฉุนหรือรสเผ็ด


 

3. กระเพราใบแดง ก้านแดง
 เป็นพันธุ์มีก้านใบ ก้านดอก และดอกเป็นสีแดงอมม่วง ใบมีสีแดงม่วงอมเขียว เป็นกระเพราที่มีกลิ่นฉุนมาก และ รสเผ็ดรอนมากที่สุดในกระเพราทั้งหมด เหมาะสำหรับนำมาทำอาหารที่ต้องการปรุงรสให้เผ็ดร้อน เช่น ต้มโคล้ง หรือ ผัดกระเพราที่มีรสจัด


  

วิธีการปลูกกะเพราด้วยการปักชำ

วิธีปักชำทำได้โดยการเลือกเอากิ่ง กลางแก่ กลางอ่อน มาเด็ดส่วนยอดดอก นำไปปักชำในกระถาง หรือแปลงที่เตรียมไว้ เทคนิคการปักคือ ให้ปักต้นเฉียง 45 องศา แล้วนำดินมากลบส่วนที่ปักชำบาง ๆ จากนั้น เอาฟางคลุมและรดน้ำให้ชุ่มเป็นอันเสร็จเรียบร้อย




วิธีการปลูกกะเพราด้วยเมล็ด

1. เตรียมดินละเอียดเทลงไปในกระถาง
2. หว่านเมล็ดให้ทั่วแปลง ใช้ฟางกลบ หรือปุ๋ยคอกโรยทับบางๆ
3. รดน้ำตามทันที ควรใช้ฟักบัวรดน้ำต้นไม้รูเล็กๆ นะคะ
4. จากนั้นอีกประมาณ 7 วัน เมล็ดจะงอกเป็นต้นกล้า
5. รอจนต้นกล้าอายุ 1 เดือน ก็ค่อยๆ ถอนแยกจัดระยะต้นให้ทีระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 20-30 เซนติเมตร
6. และก็รอให้ต้นกล้าโตเต็มที่จากนั้นก็เก็บใบมารับประทานได้แล้วค่ะ




#วิธีปลูกกะเพราต้นเดียวให้เก็บกินได้ทั้งปี #กะเพราแดง  #HolyBasil  #กะเพรา   #SweetBasil    #โหระพา    #LemonBasil   #แมงลัก   #RedHolyBasil  


ที่มา  ::   farmchannelthailand.com  ,   https://stri.cmu.ac.th

https://ittm.dtam.moph.go.th  , postnoname.com  ,  http://www.tojeen.com/