Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

การปลูกผัก 19 ชนิดหมุนเวียนกินทั้งปี

 การปลูกผัก 19 ชนิดหมุนเวียนกินทั้งปี


1. กะเพรา 

กระเพราไม่ว่าจะ ใบเขียว ก้านแดง, ใบเขียว ก้านเขียว, ใบแดง ก้านแดง ทั้ง 3 ชนิด ต่างปลูกได้ง่ายประหยัดพื้นที่ และปลูกได้ง่าย หลายวิธี


วิธีปลูก

  • ปักชำทำได้โดยเอากิ่งแก่กลางอ่อน ที่เราใช้ในทำกับข้าวเหลือ ลิดใบออกจนหมดนำไปปักชำเอียง 45 องศา จะในกระถาง หรือแปลงก็ได้ กลบดินบางๆ มีฝางคลุมได้ก็จะยิ่งดี
  • ปลูกกะเพราด้วยเมล็ด ทำการหว่านเมล็ดจะในกระถาง หรือแปลงก็ได้ ใช้ฟางกลบ หรือปุ๋ยคอกโรยทับบางๆ รดน้ำตามทันที ด้วยบัวรูเล็กๆ รอจนถึง 1 เดือน ค่อยแยกต้นรอให้ต้นกล้าโตเต็ม
  • รดน้ำเช้า – เย็นอย่างสม่ำเสมอ

ประโยชน์: กะเพรา จะช่วยป้องกันหวัดได้ ใบกระเพรายังช่วยคนเป็นเบาหวาน เพราะลดไขมันและระดับเลือดในร่างกาย ยับยั้งการเติบโตของเชื้อโรค, แก้อาการจุกเสียดท้อง และสามารถเพิ่มน้ำนมในคุณแม่หลังคลอดได้ ฯลฯ


2. โหระพา

ตระกูลเดียวกันกับกระเพรา จึงใช้วิธีปลูกและ เพาะรดน้ำเหมือนกัน



ประโยชน์: ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อสิว, แก้วิงเวียนศีรษะ, ลดคอเลสเตอรอล ช่วยต้านอนุมูลอิสระ, ช่วยให้เจริญอาหาร, เชื่อว่าบำรุงสุขภาพทางเพศได้, และสร้างภูมิคุ้มกัน ฯลฯ


3. ต้นหอม

แนะนำให้ปลูกในกระถาง โดยมีสูตรดินง่ายๆ และดีต่อการเจริญเติบโตของต้นหอม ส่วนผสมสินคือ

  • เปลือกลิสง 1 ส่วน
  • ดินร่วน 2 ส่วน
  • ปุ๋ยคอก 2 ส่วน

ผสมส่วนผสมให้เข้ากัน นำไปใส่ในภาชะที่จะปลูก กระถาง หรือกระถาง DIY นำต้นหอมมาตัดให้ยาวหัวถึงต้น 2 นิ้ว นำมาปักชำลงในกระถาง รดน้ำวันละ 2 ครั้งไม่ให้แฉะมาก กันรากเน่าในช่วงเวลาเช้าเย็น ลดเหลือวันละ 1 ครั้งหลังใบใหม่งอก


4. ผักชี

  • เมล็ดพันธุ์ของผักชีมาบดเล็กน้อยให้แตกออกเป็น 2 ส่วน แล้วก็เอาไปแช่น้ำไว้ 3 ชั่วโมง รอปลูก
  • เตรียมดิน หรือนำดินถุงในท้องตลาด พึ่งให้หายชื่นก่อนโดยการตากแดดแล้วมาผสมกับปุ๋ยคอก โดยเตรียมกระถางโดยการนำวัสดุปลูกรองกระถาง เช่น ถ่านหุ่งข้าว กาบมะพร้าว เพื่อระบายน้ำไม่ให้ขังกันรากเน่า แล้วใส่ดินลงไปในกระถาง
  • ใส่พันธุ์ของผักชีลงไป คุมดินบางๆ แล้วรดน้ำ ถ้ามีฟางก็คลุมดินจะดีมา ก


5.  ผักบุ้ง

  • คัดเมล็ดผักบุ้งเอาเมล็ดดีดี โดยการแช่น้ำ
  • ดินร่วมผสมปุ๋ยคอก หรือจะใช้ดินถุงก้ได้ ใส่ลงกระถาง ใส่เมล็ดผักบุ้งลงไป อย่าปล่อยให้ขาดน้ำ
  • ประมาณ 3-5 วันจะงอกต้น รดน้ำทุกวัน 1 เดือนก็เอามาทำอาหารได้แล้ว


6. พริก

คนไทยเราขาดความเร้าร้อนของพริกไม่ได้  พริกก็ไม่ควรจะขาดจากผักสวนครัว พื้นที่น้อยปลูกพริกในกระถาง ก็ไม่ใช่ปัญหา

  • นำเมล็ดพันธุ์พริก ที่จะปลูกไปแช่น้ำ สัก 6- 8ชั่วโมง หรือจะแช่ค้างคืนไว้เลยก็ได้
  • ผสมดินดินร่วน 2 ส่วน ดินทราย 1 ส่วนและปุ๋ยหมัก 2 ส่วน ให้เข้ากัน รองกระถางด้วยกาบมะพร้าว หรือถ่าน ใส่ดินเข้าไปจนเกือบเต็มเหลือขอบกระถางไว้
  • ใช้นิ้วชี้กดให้เป็นหลุมเพื่อลงเมล็ด กดลงไปประมาณ 1 นิ้ว รดน้ำเช้าเย็นและให้โดนแดด ไม่นานจะได้พริกแล้ว


7.  ผักสลัด

ใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยขุยมะพร้าวผสมกันได้อัตราส่วน 1 ต่อ 1 ในการเตรียมดิน คลุมรดน้ำไว้ในร่มประมาณ 7 วัน ค่อยนำมาปลูกผักสลัด

  • แต่ละถุง และกระถาง นำดินใส่จนเต็มเหลือขอบปากถุง หรือปากกระถาง หยอดเมล็ดผักสลัดลงไปกระถาง หรือถุง 1-2 เมล็ด รดน้ำ ตั้งไว้ในพื้นที่มีแดดรำไร
  • รดน้ำเช้าเย็นครบ 7 วันจะมีใบออกมาให้เห็น เมื่อครบ 45 วันจะสามารถนำไปจำหน่ายรับประทานได้


8. แตงกวา

  • นำเมล็ดพันธุ์แตงกวาที่สมบูรณ์ ไปแช่น้ำรอ ระหว่างเตรียมดินลงกระถาง
  • ใส่ดินในกระถาง โดยมีสูตร ใช้ดินร่วนปนทรายมา กับปุ๋ยหมัก ในอัตราส่วน 1 : 1 ผสมให้เข้ากัน
  • ในหนึ่งกระถางประมาณให้ใส่ลงไป 4-5 เมล็ด เมื่อต้นเริ่มโตเพียง 5-7 เซนติเมตร ให้เลือกเอาต้นที่แข้งแรงไว้ ต้นไม่สมบูรณ์ถอนทิ้ง ก็หาไม้มาปักเป็นค้างเพื่อให้ต้นเลื้อย รดน้ำ และให้โดนแดด 1 วันสัก 1ชม.


9.  คะน้า

  • เตรีมดินโดยการผสมดินร่วน 2 ส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน หรือใช้ดินสำเร็จรูปถุงๆได้ ใส่กาบมะพร้าวก้นกระถาง และใส่ดินให้เต็มกระถาง
  • หย่อนเมล็ดคะน้า กลบดินบางๆ ควรรดน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอทุกเช้า-เย็น
  •  วางในบริเวณที่มีแสงเพียงพอ ส่วนปุ๋ยที่นำมาบำรุงต้นควรเป็นปุ๋ยที่ธาตุไนโตรเจนสูง


10.  แมงลัก

แมงลัก เป็นพืชสวนครัวล้มลุกในสกุลกะเพราและโหระพา มีใบเล็ก สีอ่อน บอบบาง ช้ำง่ายและเหี่ยวง่าย มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย บังกลาเทศ พม่า รวมถึง ไทย แมงลักนอกจากจะเป็นพืชสมุนไพรที่มีปลูกแพร่หลายตามบ้านแล้ว ยังถือเป็นต้นไม้มงคล ที่ในทางสากลเชื่อกันว่าจะนำพาความรัก ความโชคดี มาสู่บ้านเรือนที่ปลูก

ข้อมูลทั่วไป

ชื่ออังกฤษ ชื่อสามัญ : Lemon basil, Hoary basil, Hairy basil

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum × africanum Lour. (ชื่อพ้อง Ocimum americanum var. pilosum (Willd.) A.J.Paton, Ocimum basilicum var. anisatum Benth., Ocimum × citriodorum Vis.)

จัดอยู่ในวงศ์กะเพรา : (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)

ใบแมงลัก


ความเชื่อเกี่ยวกับต้นแมงลัก

แมงลัก เป็นพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกับใบกะเพรา หรือที่ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Holy basil ซึ่งถือเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ที่คนอินเดียฮินดูนิยมจุดเทียนบูชาต้นกะเพราในเวลาเย็น การสวดบูชาต้นกะเพรานั้นเปรียบดั่งได้กราบไหว้เทวดาทุกตน ในช่วงเดือนการธิกะ การบูชาหรือการปลูกต้นกะเพราจะทำให้สามารถล้างบาปที่สะสมมาหลายๆ ชาติได้ นอกจากนั้นยังเชื่อกันว่า ที่ใดที่มีต้นกะเพราขึ้น ที่นั่นเปรียบได้กับที่ควรแก่การแสวงบุญ พระยมราชซึ่งเป็นเทพแห่งความตายจะไม่สามารถย่างกรายเข้ามาได้ บ้านที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ที่มีต้นกะเพราขึ้น จะเป็นสถานที่ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ แมงลัก ซึ่งจัดเป็นพืชในตระกูลเดียวกันจึงมีความเชื่อสืบต่อกันมาว่า หากที่ใดที่ปลูกต้นแมงลักไว้ก็จะสามารถป้องกันความชั่วร้ายและเสริมอำนาจบารมีให้มีคนรัก คนเมตตาเสน่ห์หาแก่ผู้อยู่อาศัย 

ตำแหน่งที่ควรปลูกต้นแมงลัก

แมงลักเป็นไม้ล้มลุก ที่สามารถปลูกได้ทั่วไปทุกบริเวณของบ้าน แต่จะนิยมปลูกตามริมขอบรั้วบ้านเพื่อเป็นแนวรั้วธรรมชาติและยังเป็นเคล็ดเพื่อช่วยในการคุ้มครองคนในบ้านจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆ


ส่วนประกอบของต้นแมงลัก

ลักษณะของลำต้น

จะคล้ายกับต้นกะเพรา ต่างกันที่กลิ่นและสีใบจะอ่อนกว่า มีลำต้นสูงประมาณ 30-80 เซนติเมตร มีกลิ่นหอมทุกส่วน

ใบ

เป็นใบเดี่ยว ใบเรียงตรงข้ามเป็นคู่ ๆ ดอกและช่อจะออกที่ปลายยอด อาจเป็นชื่อเดี่ยวหรือแตกออกเป็นช่อย่อย ๆ

ดอก

จะบานจากล่างไปบน กลีบดอกสีขาวแบ่งเป็น 2 ปากและร่วงง่าย เกสรตัวผู้จะยื่นยาวกว่ากลีบดอก ดอกย่อยออกโดยรอบก้านก่อเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีดอกย่อย 6 ดอก แบ่งเป็น 2 ส่วน ดอกตรงกลางจะบานก่อนและช่อดอกย่อยที่อยู่ชั้นล่างสุดของก้านช่อดอกจะบานก่อนเช่นกัน ผล 1 ดอกมีผล 4 ผล มีขนาดเล็ก เรียกว่าเม็ดแมงลัก ซึ่งมีลักษณะกลมรีและมีสีดำ

สายพันธุ์ของต้นแมงลักที่มีปลูกในประเทศไทย

ในประเทศไทยสายพันธุ์แมงลักที่ปลูกจะมีเพียงสายพันธุ์หลักเพียงสายพันธุ์เดียวนั่นก็คือ “ศรแดง” ที่เหลือก็จะเป็นพันธุ์ผสมหรือพันทาง ซึ่งลักษณะสายพันธุ์ศรแดงที่ดีและควรเลือกหามาปลูก จะใบต้องใหญ่พอดี ไม่เล็กเกินไป ดอกสีขาวเป็นชั้น ๆ คล้ายร่มฉัตร

วิธีกินเม็ดแมงลัก


วิธีการปลูก และสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก ต้นแมงลัก

แมงลักจัดเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุเฉลี่ย 1-2 ปี ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวไปได้เรื่อยๆ ทุก 15-20 วัน สถานที่ปลูกควรเป็นที่ดอนที่ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วมขัง แต่อยู่ใกล้แหล่งน้ำที่สามารถนำน้ำมาใช้รดได้สะดวกเพราะเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก และเป็นที่ที่ปราศจากลมแรงเพราะต้นของแมงลักมีความบอบบาง โดยลมจะล้มตายได้ง่าย โดยควรมีการหมั่นตัดแต่งกิ่งที่เจริญเติบโตเต็มที่ อยู่เสมอๆ และหากเป็นช่วงที่ไม่ต้องการให้ออกผลผลิต เพราะยังไม่มีผู้รับ สามารถชะลอการเก็บเกี่ยวออกไปได้โดยการเด็ดยอดที่มีดอกทิ้ง และเมื่อใดที่มีผลผลิตที่ลดลง คือต้นมีอายุระหว่าง 1-2 ปี ก็ควรทำการถอนทิ้งเพื่อปลูกต้นใหม่ทดแทน

วิธีการดูแล ต้นแมงลัก

แสง

ต้องการแสงแดดปานกลาง  เพื่อป้องกันไม่ให้ใบไหม้


น้ำ

ควรจะให้น้ำสม่ำเสมอ โดยวันละ 1 ครั้ง ในช่วงปกติ และอาจงดให้น้ำในวันที่มีฝนตก

ดิน

ปกติสามารถขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด แต่แมงลักจะชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ร่วนซุย ระบายน้ำดี 

ปุ๋ย

ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 หลังเพาะกล้า 7 วัน และครั้งที่2 ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 20-11-11 ในอัตรา 25-30 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากครั้งแรก 15 วัน

แมงลัก ภาษาอังกฤษ

ประโยชน์หรือสรรพคุณอื่นๆ ของแมงลัก

นอกจากจะเป็นไม้ล้มลุก ที่ใช้ประดับตกแต่งบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคลได้แล้ว คนไทยส่วนมากรู้จักคำว่า แมงลัก จากเม็ด เพราะถือเป็นส่วนประกอบอาหารที่มีผู้นิยมนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดความอ้วนชนิดต่างๆ เนื่องจากเม็ดแมงลักไม่ก่อให้เกิดพลังงาน และมันสามารถพองตัวได้มากถึง 45 เท่า เลยทีเดียว  นอกจากนี้แมงลักยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ มีสรรพคุณในการเปลี่ยนคอเลสเตอรอลไปเป็นกรดน้ำดี และยังช่วยเพิ่มการขับออกของกรดน้ำดีด้วย ซึ่งจะไปลดเฉพาะคอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL) แต่ไม่มีผลใด ๆ กับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) เมื่อรับประทานเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจได้เป็นอย่างดี 

เม็ดแมงลัก จัดเป็นอาหารสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ ที่รับประทานง่าย กลืนง่าย ลื่นคอ และเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยรับประทานอาหารที่มีกากใยอย่างพวก ผักผลไม้ เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะช่วยทำให้การดูดซึมของน้ำตาลลดลง เนื่องจากเม็ดแมงลักทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ช้าลงอยู่แล้ว

แมงลักมีส่วนช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้เป็นปกติและมีประสิทธิภาพ ขับถ่ายสะดวก ช่วยชะล้างลำไส้ ช่วยดีท็อกซ์แก้ปัญหาอุจจาระตกค้าง ซึ่งเป็นสาเหตุมาจากการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย เป็นต้น

ใบแมงลักมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได้เป็นอย่างดี รักษาโรคกลากเกลื้อนได้ โดยการนำใบสดประมาณ 10 ใบ ล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำมาตำผสมน้ำเล็กน้อย แล้วทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนวันละ 1 ครั้งประมาณ 1-2 สัปดาห์อาการจะดีขึ้น ตามลำดับ

แมงลัก ราคา


11.  ปูเล่


ปูเล่



















ปูเล่ เป็นพืชในวงศ์เดียวกันกับกะหล่ำ บางชนิดมีลักษณะคล้ายคะน้า หรือกะหล่ำ มีสีสันแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ เป็นพืชที่พบทางภาคใต้ของไทยมาตั้งแต่ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเชื่อว่าชาวจีนที่อพยพย้ายถิ่นฐานได้นำเข้ามา


ปูเล่ มีโครงสร้างของลำต้นที่สวยงาม ลักษณะใบคล้ายกับใบคะน้าแต่มีขนาดใหญ่กว่า เรียงซ้อนกันเป็นวงกลม ขอบใบหยักแบบห่างๆ หรือถี่ มีหลากหลายสีตามสายพันธุ์ มองดูคล้ายดอกไม้ขนาดใหญ่ เจริญได้ดีในที่แคบๆ จึงเหมาะที่จะปลูกเป็นไม้ประดับในกระถาง หรือในสถานที่ที่มีพื้นที่จำกัด เป็นพืชที่ไม่มีดอก เจริญเติบโตได้รวดเร็ว และยังนำมาปรุงเป็นอาหาร หรือใช้รับประทานเป็นผักสดได้ เนื่องจากไม่มีกลิ่นเหม็นเขียวเหมือนคะน้า โดยตัดจากใบด้านล่างขึ้นไปเรื่อยๆ ได้ยาวนานกว่า 2 ปี ส่วนรอยที่ถูกตัดก็สามารถแตกยอดอ่อนออกมาได้อีก



การขยายพันธุ์ปูเล่

ทำได้ด้วยวิธีการปักชำจากแขนง และการเพาะเนื้อเยื่อ



การปักชำจากแขนง

ใช้แขนงอ่อนที่ยาวประมาณ 5 ซม. ซึ่งแตกออกมากจากซอกใบ โดยตัดแขนงที่มีใบติดอยู่ประมาณ 3 ใบขึ้นไป นำไปปักชำในภาชนะปลูกที่มีส่วนผสมของทรายและขี้เถ้าแกลบ รดน้ำพอชุ่ม วางไว้ในที่ร่มรำไรอีกประมาณ 7 วัน แขนงอ่อนจะมีรากออกมา เมื่อต้นเริ่มตั้งตัวได้ในอีกประมาณ 20 วัน ก็ให้ย้ายปลูกในที่ที่ต้องการได้



















การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

วิธีนี้เหมาะสำหรับการเพิ่มจำนวนต้นในปริมาณมากและต้องการความรวดเร็ว โดยการตัดชิ้นส่วนขนาดเล็กไปเพาะเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ และมีการควบคุมทางวิชาการที่เหมาะสม จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก



การดูแลรักษา

ปูเล่ เป็นพืชที่ปลูกได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย ปลูกง่าย โตเร็ว ไม่มีปัญหาเรื่องโรคและแมลงรบกวน เจริญได้ดีในดินร่วนที่มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำและอากาศได้ดี ไม่มีน้ำท่วมขัง ต้องการน้ำในปริมาณมาก การปลูกเลี้ยงในกระถางทั้งแบบตั้งและแบบแขวน จะทำให้ต้นปูเล่มีอายุยาวนานขึ้นและดูแลได้ง่าย ควรให้น้ำพอชุ่มวันละ 1 ครั้ง ให้ปุ๋ยประมาณ 2 ครั้ง/เดือน เมื่อมีอายุประมาณ 4 เดือนขึ้นไปก็สามารถเก็บเกี่ยวใบมารับประทานได้แล้ว



การเก็บเกี่ยว

ใช้มีดที่คมและสะอาดตัดใบด้านล่างขึ้นไปเรื่อยๆ ประมาณครั้งละ 5-6 ใบ และควรเหลือใบไว้กับต้นประมาณ 12 ใบ เพื่อให้สามารถสร้างอาหารให้กับลำต้นได้ ในเวลาอีกประมาณ 2-3 สัปดาห์ ก็เก็บเกี่ยวได้อีกครั้ง สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งปี มีอายุการเก็บเกี่ยวยาวนานกว่า 2 ปีขึ้น























ประโยชน์

ปูเล่ เป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารมากมาย ได้แก่ พลังงาน โปรตีน ไขมัน แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต โพแทสเซียม ไรโบฟลาวิน วิตามินซี ไทอะมิน และมีเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งสารอาหารดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด ช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณ ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันโรคลักปิดลักเปิด และโรคหวัด เป็นต้น เป็นพืชที่มีสีสันและโครงสร้างของใบที่สวยงาม สามารถปลูกเป็นไม้ประดับในกระถางวางหรือแขวนไว้บริเวณระเบียงบ้าน หรือตามที่ต่างๆ ตามความต้องการได้ ใบของปูเล่มีเส้นใยอยู่น้อย สามารถนำมารับประทานได้แม้เป็นใบแก่ มีรสชาติที่ดี ไม่เหนียว ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว จะนำมารับประทานเป็นผักสด หรือใช้ปรุงเป็นอาหารประเภทต่างๆ ได้หลากหลายเมนู หรือจะนำไปแปรรูปเป็นผักดองก็ได้















12.  ผักกวางตุ้ง

12

ภาพจาก bit.ly/3co1D41

วิธีการปลูก

  1. เตรียมถาดพลาสติกสำหรับเพาะกล้า หลังจากนั้นนำดินพร้อมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ในอัตรา 2 : 1 ใส่ดินผสมดังกล่าวในถาดที่เตรียมไว้
  2. หาเศษไม้เล็กๆ กดลงไปในดิน โดยความลึกประมาณ 0.5 ซม.
  3. นำเมล็ดหยอดลงในหลุม โดยหลุมละ 1-2 เมล็ด แล้วนำดินไปกลบพร้อมรดน้ำให้เรียบร้อย
  4. เมื่อเข้าสู่วันที่ 7-10 ผักกาดเขียวกวางตุ้งเริ่มมีการเจริญเติบโต ควรรดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง ทั้งเช้าและเย็น
  5. พอเข้าสู่วันที่ 20-25 สามารถย้ายกล้าลงปลูกในกระถางได้
  6. เก็บผลผลิตได้เมื่อเข้าสู่วันที่ 40-45


13. คื่นช่าย

6

ภาพจาก bit.ly/2VBJI3i

วิธีการปลูก

  1. นำเมล็ดคื่นช่ายแช่น้ำจนจมน้ำ
  2. นำเมล็ดมาห่อด้วยทิชชู่และใส่ ใ น กล่องพลาสติก
  3. ปิดฝาแล้วแช่ตู้เย็นประมาณ 1 วันจึงจะสามารถนำมาเพาะในกระถางได้
  4. คื่นช่ายนั้นจะใช้เวลางอกอยู่ที่ประมาณ 7 วันและใช้ระยะเวลาในการปลูกอยู่ที่ประมาณ 80 วันถึงจะเก็บเกี่ยวได้
  5. คื่นช่ายสามารถปลูกได้ทั้งแบบลงดินและไร้ดิน การปลูกแบบไร้ดินจะใช้ะบบน้ำไหลเวียนให้ปุ๋ยอินทรีย์ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ใช้เวลาปลูกประมาณ 50 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ ข้อดีคือระยะเวลาการปลูกแบบไร้ดินจะสั้นกว่าการปลูกแบบลงดินถึงเท่าตัว ทั้งยังไม่มีปัญหาเรื่องหน้าฝนหรือน้ำค้าง เก็บเกี่ยวง่ายกว่า


14. ตะไคร้

5

ภาพจาก bit.ly/3eDlU7U

วิธีการปลูก

  1. ตะไคร้ที่จะนำมาปลูกจะต้องเป็นต้นตะไคร้ที่มีรากติด แต่ถ้าแยกกอออกมาจากต้นที่สมบูรณ์ ให้แยกหนึ่งออกมาแค่ 3 ต้นเท่านั้น แต่หากตะไคร้ที่ซื้อมาไม่มีราก ต้องตัดโคนต้นให้เหลือความยาวสัก 1½ นิ้ว แล้วนำไปแช่น้ำทิ้งไว้ไม่เกิน 2 สัปดาห์ เพื่อรอให้รากงอกแล้วค่อยนำไปปลูก
  2. รองก้นกระถางด้วยวัสดุรองก้นกระถางอย่าง แกลบ หิน หรือใบไม้แห้งไว้ก่อน จากนั้นเทดินลงไปกะระยะให้ได้ครึ่งกระถาง แล้วนำปุ๋ยคอกมาผสมดินให้ทั่ว สุดท้ายเทดินลงไปให้เกือบเต็มกระถาง
  3. ใช้พลั่วเขี่ยดินตรงกลางให้เป็นหลุม แล้วนำต้นตะไคร้ที่แยกกอหรือต้นที่แช่น้ำเอาไว้มาปลูก กลบดินให้มิดชิด แต่ไม่ต้องแน่นมาก และรดน้ำให้ชุ่ม
  4. ถ้าต้องการปลูกตะไคร้ขายและอยากได้ลำต้นอวบใหญ่ ต้องดูแลระยะห่างและระบบน้ำให้ดี ๆ เนื่องจากตะไคร้เป็นพืชที่ต้องการน้ำมากจึงจะส่งผลให้ลำต้นมีขนาดใหญ่

15. มะเขือเทศ

4

ภาพจาก bit.ly/2wKTW90

วิธีการปลูก (จากผลสด)

  1. เลือกมะเขือเทศที่ผลมีลักษณะสวยงาม ผลมีสีแดงแก่จัดซึ่งพร้อมที่จะโตเป็นต้นอ่อน และนำมาบีบเลือกเอาเฉพาะเมล็ด
  2. นำเมล็ดวางลงบนดิน โดยให้กระจายตัวออกห่างกันเล็กน้อย กลบด้วยดินบางๆอีกชั้นหนึ่ง รดน้ำให้ชุ่มและต่อเนื่องทุกวันอย่าให้ขาดน้ำ
  3. ประมาณ 30 วันจะมีต้นกล้าออกมา โดยสังเกตให้มีใบแท้ออกมาประมาณ 3-4 ใบ ให้ย้ายออกจากกระถางเล็กไปในกระถางที่ใหญ่ขึ้น โดยขุดให้มีก้อนดินติดรากไปด้วย
  4. ให้มะเขือเทศที่มาปลูกในกระถางใหม่เริ่มตั้งตัวได้ ช่วงนี้รดน้ำเบาๆ ให้รากลงดินและคุ้นเคยกับกระถางใหม่ จากนั้นรอเก็บเกี่ยวผลผลิตจากต้นมะเขือเทศที่เราปลูกไว้
  5. มะเขือเทศเป็นพืชที่ชอบน้ำมากหากขาดน้ำจะทำให้หยุดการเติบโตหรือไม่ออกผลทันที

16. สะระแหน่

3

ภาพจาก bit.ly/3ahXv46

วิธีการปลูก

  1. เตรียมดินสำหรับการเพาะ โดยนำดินร่วน 2 ส่วน ทราย 1 ส่วน ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน และปูนขาวเล็กน้อย มาคลุกให้เข้ากัน
  2. เลือกกิ่งสะระแหน่ที่มีสภาพสมบูรณ์ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป จากนั้นนำไปปักลงในภาชนะที่เราเตรียมเพาะ
  3. ปักกิ่งสะระแหน่ให้เอนทาบกับดิน แล้วรดน้ำให้ชุ่ม แต่ระมัดระวังอย่าให้แฉะจนเกินไป
  4. นำแกลบมาโรยกลบดิน เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้กับหน้าดิน
  5. เมื่อการเพาะปลูกเข้าสู่วันที่ 4-5 ก็จะเริ่มแตกยอดเลื้อยคลุมดิน
  6. การพรวนดินโคนต้นสะระแหน่ควรระมัดระวังและทำอย่างเบามือ เนื่องจากต้นสะระแหน่เป็นพืชที่มีรากไม่ลึก
  7. เมื่อต้นที่เพาะเติบโตจนสามารถเก็บได้แล้ว ควรหมั่นใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้กับต้นสะระแหน่

17. มะกรูด

2

ภาพจาก bit.ly/3bsowTO

วิธีการปลูก

  1. นำผลมะกรูดแก่จัดหรือที่ร่วงหล่นและอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มาฝานออกให้เนื้อในแยกออกจากกัน โดยที่ต้องระวังไม่ให้เมล็ดมะกรูดเสียหาย ใช้ช้อนคว้านเมล็ดและคัดเลือกเมล็ดที่สมบูรณ์ที่สุดเก็บไว้
  2. ล้างเม็ดมะกรูดที่เตรียมไว้ด้วยน้ำสะอาด เพื่อชำระล้างผิวเคลือบลื่นให้หลุดออก
  3. วางเมล็ดมะกรูดที่เราล้างสะอาดแล้วลงบนถาด เกลี่ยทั่วอย่าให้ทับกัน แล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้งประมาณ 2-4 วัน
  4. เตรียมดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำได้ดีมาผสมกับมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอก เพื่อเทลงในหลุมเพาะกล้าหรือแก้วพลาสติกที่เตรียมไว้
  5. นำเมล็ดมะกรูดตากแห้งมาเพาะลงในดิน รดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าแฉะจนเกินไป
  6. ตั้งหลุมเพาะหรือแก้วเพาะไว้ในที่ที่มีแสงแดดส่องถึง อากาศถ่ายเทได้สะดวก
  7. เมื่อต้นกล้าเริ่มงอกขึ้นและออกใบประมาณ 3-4 ใบ ย้ายลงมาปลูกในถุงดำสำหรับเพาะต้นกล้าให้แข็งแรงและสูงประมาณ 30 เซนติเมตร
  8. หลังจากที่ได้ต้นกล้าที่แข็งแรงสมบูรณ์แล้ว ให้ย้ายมาปลูกลงในกระถางด้วยดินร่วนปนทรายผสมปุ๋ยคอกในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน คลุมหน้าดินด้วยกาบมะพร้าวสับเพื่อป้องกันความชื้นระเหย
  9. มะกรูดจะออกผลให้เก็บภายใน 1-2 ปี ส่วนต้นมะกรูดที่สูงตั้งแต่ 6 นิ้วขึ้นไป สามารถนำไปประกอบอาหารได้เลย
  10. หากกิ่งมะกรูดงอกยาวเกินขนาดกระถาง แนะนำขดกิ่งยาว ๆ นั้นให้เป็นวงกลมในแนวนอนและทาบลงไปบนดิน เพื่อควบคุมขนาดต้นให้เหมาะสม กิ่งที่วางทาบลงไปนั้นจะงอกกิ่งกระโดงขึ้นมาใหม่ ออกใบ ออกผลให้เก็บเกี่ยวตลอดทั้งปี


18. ถั่วงอก

17

ภาพจาก bit.ly/3co0w4l

วิธีการปลูก

  1. นำถั่วเขียวมาแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน
  2. เตรียมภาชนะสำหรับปลูก เช่นจานหรือกะละมัง ใส่กระดาษหรือทิชชู่เปียกน้ำลงไป
  3. ใส่เมล็ถั่วเขียวที่แช่น้ำทิ้งไว้เรียบร้อย เกลี่ยให้แบน ใส่กระดาษทิชชู่เปียกน้ำปิดไว้ รดน้ำอีกครั้ง
  4. สามารถทำซ้ำแบบนี้กันได้ 3 ชั้น โดยใช้ผ้าชุบน้ำวางทับชั้นบนสุดเอาไว้ปิดด้วยวัสดุทึบแสง และใส่ไว้ในถุงดำ 2 ชั้นมัดให้แน่น
  5. วางไว้ในที่ร่มอย่าให้โดนแสงแดด เปิดผ้าชุบน้ำและรดน้ำวันละครั้ง
  6. เมื่อครบ 3 วัน คว่ำภาชนะที่ปลูก แล้วค่อยๆ แกะเอาถั่วงอกออกมาจากกระดาษทิชชู่
  7. นำไปล้างน้ำให้สะอาดสามารถเอามาปรุงอาหารทานได้

19.  ขิง


วิธีปลูกขิงในกระถาง ดูแลง่าย โตไว วิธีการเพาะปลูก และดูแลบำรุงดินใส่ปุ๋ยในการปลูกขิง กำจัดแมลงในการปลูกขิง


ขิง เป็นพืขที่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นธาตุเหล็ก คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส นอกจากนั้นยังมีโปรตีน วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน วิตามินบี 1 บี 2 บี 3 วิตามินซี และยังเป็นพืชที่มีเส้นใยจำนวนมาก ขิงนั้นจัดเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง มีสรรพคุณด้านการรักษาโรคเป็นอย่างดี ดังนั้นขิงจึงเป็นพืชที่ควรปลูกไว้ในครัวเรือน


ประโยชน์ของขิง


ขิง ถือเป็นสมุนไพรอีกหนึ่งชนิดที่มีรสชาติเผ็ดร้อนและถือเป็นยาอายุวัฒนะ ซึ่งอุดมไปด้วย วิตามิน ธาตุเหล็ก แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีนและฟอสฟอรัส ซึ่งนอกจากนี้ส่วนประกอบต่างๆ ของขิงนั้นยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ราก ต้น เหง้า ใบ ดอก ผลและแก่น เป็นต้น

  1. น้ำขิง ช่วยลดอาการท้องอืด
  2. ช่วยลดอาการเจ็บปวดและบรรเทาอาการไมเกรน
  3. ขิง มีคุณสมบัติในการช่วยต่อสู้กับโรคมะเร็ง
  4. ขิง สามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้ได้
  5. ขิงผงนั้นสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้


พันธุ์ขิงที่นิยมปลูก


1. ขิงไทย ที่นิยมปลูกในบ้านเรามีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน เช่น ขิงขาว ขิงมาเลย์ ขิงไทย ขิงเผ็ด ขิงเล็ก ขิงเผ็ด หรือขิงดำ ขิงชนิดนี้มีลักษณะที่เห็นชัดคือมีข้อถี่ แง่งขิงมีขนาดเล็กและสั้น แง่งเบียดชิดกันมาก มีเสี้ยนมาก รสชาติค่อนข้างเผ็ด

2. ขิงใหญ่ ขิงหยวกหรือขิงขาว ขิงชนิดนี้มีข้อห่าง แง่งขิงมีขนาดใหญ่แง่งขิงไม่เบียดกันชิด เนื้อละเอียดมีเสี้ยนน้อยมากหรือไม่มีเสี้ยน รสเผ็ดน้อย ขิงสดที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่ว ๆ ไป ส่วนมากมักเป็นขิงชนิดนี้


วิธีการปลูกขิง

-เตรียมรากขิงเพื่อเพาะปลูก โดยเลือกรากขิงให้สด มีความสมบูรณ์และเรียบ
-เตรียมภาชนะเพื่อนำรากขิงที่เตรียมไว้ปลูก แล้วใส่น้ำ นำรากขิงลงไปแช่ทิ้งไว้ประมาณครึ่งวัน
-เตรียมดินใส่กระถางพร้อมปลูก รดน้ำให้ชุ่ม โดยเลือกกระถางที่มีการระบายน้ำได้ดี
-ใช้ไม้ขุดหลุมตามจำนวนหน่อขิงที่เราต้องการปลูก
-หั่นรากขิงที่เตรียมไว้เป็นชิ้นขนาดกำลังดี แล้วนำไปปลูกในกระถาง โดยเว้นระยะห่างกำลังดี
-กลบดินไม่ต้องแน่นมาก ถ้าหน่อนั้นเริ่มมีลำต้นโผล่มา ก็เปิดให้เห็นบ้าง แล้วรดน้ำ
-ทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือนเมื่อลำต้นแข็งแรง อาจย้ายกระถางให้ใหญ่ขึ้นได้



#กะเพรา #โหระพา #ต้นหอม #ผักชี #ผักบุ้ง #พริก  #ผักสลัด #แตงกวา #คะน้า #แมงลัก #ปูเล่ #ผักกวางตุ้ง   #คื่นช่าย 

 #ตะไคร้ #มะเขือเทศ #สะระแหน่ #มะกรูด  #ถั่วงอก #ขิง


ที่มา   ::   https://prinkotakoon.blogspot.com/2023/02/decorative-kale.html  ,  https://ihome108.com/ , www.thaismescenter.com