Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)

 

โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)


โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM) เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก

หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อม เกิดโรคและอาการแทรกซ้อนขึ้นได้ ซึ่งในปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยคาดว่าผู้ป่วยรายใหม่อาจเพิ่มประมาณปีละ 3 แสนคน และคนอายุยังน้อยหรืออายุ 15 ปีขึ้นไปที่เริ่มป่วยเป็นโรคเบาหวานก็มีจำนวนมากขึ้นด้วย

โรคเบาหวาน rs

อาการของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปกติ บางรายอาจตรวจพบโรคเบาหวานเมื่อพบภาวะแทรกซ้อนแล้ว อาการของโรคเบาหวานแต่ละชนิดอาจคล้ายกัน ซึ่งอาการที่พบส่วนใหญ่คือ กระหายน้ำมาก ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย น้ำหนักลดหรือเพิ่มผิดปกติ สายตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด รู้สึกเหนื่อยง่าย  มีอาการชา โดยเฉพาะมือและขา บาดแผลหายยาก

ทั้งนี้ อาการของโรคเบาหวานประเภทที่ 1 จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 จะแสดงอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 24–28 สัปดาห์

สาเหตุของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานมีหลายประเภท ซึ่งสามารถแยกสาเหตุของโรคเบาหวานตามประเภทที่พบโดยทั่วไปออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 

  • เบาหวานประเภทที่ 1 (Type 1 Diabetes) เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ 
  • เบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes) เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ หรือเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance)
  • เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) ซึ่งเป็นโรคเบาหวานที่พัฒนาขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน โดยที่ผู้ป่วยไม่เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน

นอกจากโรคเบาหวานทั้ง 3 ประเภท ยังมีโรคเบาหวานที่พบได้ไม่บ่อยอย่างโรคเบาหวานที่เกิดจากกรรมพันธุ์หรือแบบโมโนเจนิก (Monogenic Diabetes) และโรคเบาหวานจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ยารักษาโรคบางชนิด หรือโรคชนิดอื่นอย่างโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) 

สำหรับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานก็เช่น คนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 1 หรือ 2 มาก่อน อายุที่มากขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป มีน้ำหนักตัวมาก ไม่ค่อยออกกำลังกายหรือขยับตัว รับประทานอาหารไม่มีประโยชน์ หรือมีปัญหาสุขภาพอย่างโรคความดันโลหิตสูงหรือไขมันในเลือดสูง 

การวินิจฉัยโรคเบาหวาน

แพทย์จะสอบถามอาการผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัว รวมถึงตรวจร่างกาย และที่สำคัญต้องอาศัยการตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือดเป็นหลัก โดยมีวิธีการวิเคราะห์ระดับน้ำตาลในเลือดหลายวิธี ได้แก่

  • การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ (Random/Casual Plasma Glucose Test)
  • การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Fasting Plasma Glucose: FPG)
  • การตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสมหรือฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (Hemoglobin A1c: HbA1c)
  • การทดสอบการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด (Oral Glucose Tolerance Test: OGTT)

หากผู้ป่วยไม่มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจน คือ หิวน้ำมาก ปัสสาวะบ่อยและมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยที่ไม่มีสาเหตุ การตรวจด้วยวิธีทั้งหมดข้างต้นจำเป็นต้องมีการตรวจซ้ำอย่างน้อย 1 ครั้งด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย

ทั้งนี้ ระดับน้ำตาลในเลือดยังบ่งบอกถึงภาวะก่อนเป็นเบาหวานได้ด้วย (Prediabetes) โดยผู้ที่มีความเสี่ยงอาจพัฒนาการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมองได้ง่ายกว่าผู้อื่น

การรักษาโรคเบาหวาน

การรักษาผู้ป่วยเบาหวานในประเภทที่ 1 จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปทดแทนในร่างกายด้วยการฉีดยาเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการคุมอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสม 

ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 หากเป็นในระยะแรก ๆ สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลัง และควบคุมน้ำหนัก หากอาการไม่ดีขึ้นแพทย์อาจให้ยาควบคู่ไปด้วยหรือฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทนเช่นเดียวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรเข้าฝากครรภ์กับแพทย์ตั้งแต่ในระยะแรก พร้อมทั้งควบคุมอาหารที่รับประทานและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์

นอกจากนี้ ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดแผลเบาหวานขึ้นที่เท้า แพทย์อาจให้ผู้ป่วยใส่อุปกรณ์ป้องกันแผล เช่น รองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เฝือก หรือผ้าพันแผล หากแผลเริ่มมีลักษณะรุนแรงขึ้น แพทย์อาจวางแผนการรักษาตามเหมาะสม ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของแผลเบาหวานที่เป็น ทั้งนี้ หากรักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจต้องตัดอวัยวะทิ้งเพื่อป้องกันอาการลุกลาม

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ หากไม่มีการควบคุมการรับประทานอาหารและดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธี ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อเส้นเลือดที่นำสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกายจนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ 

ทั้งโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดเล็ก เช่น เบาหวานขึ้นตา หรือโรคไต โรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดใหญ่ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน รวมไปถึงโรคแทรกซ้อนที่ระบบประสาทและโรคแทรกซ้อนที่สามารถทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียอวัยะบางส่วน นอกจากนี้ สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษและการแท้งบุตรได้

การป้องกันโรคเบาหวาน

สิ่งสำคัญของการป้องกันโรคเบาหวานทุกชนิดคือ ต้องคอยหมั่นระวังระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่เกณฑ์ปกติ เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสารอาหารครบถ้วน มีกากใยสูง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ รวมถึงควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 

หากเป็นสตรีมีครรภ์ควรเข้ารับการฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ และเข้ารับการตรวจคัดกรองเบาหวานหากมีความเสี่ยง เพื่อที่จะสามารถตรวจพบโรคเบาหวานได้ในระหว่างการตั้งครรภ์


เมื่อเป็น “เบาหวาน” – ดูแลตนเองอย่างไร กินอะไรได้บ้าง


เบาหวานรักษาหายได้ไหม?

หากพบว่าตนเองป่วยเป็นโรคเบาหวาน การดูแลตนเอง และการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยรักษา และควบคุมโรค ให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี

เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาว อาการผิดปกติบางอย่างยังไม่ปรากฏอาการในทันทีทันใด แต่หากมีอาการผิดปกติแล้วอาจจะไม่สามารถรักษาให้กลับมาหายเป็นปกติได้ การควบคุมเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ และการติดตามอาการของภาวะแทรกซ้อนจึงเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติควบคู่กับการใช้ยาควบคุมเบาหวาน ดังนั้นหลังจากที่ทราบว่าเป็นเบาหวานควรปฏิบัติ ดังนี้

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

  • ควบคุมอาหารที่รับประทานอาหารอย่างเคร่งครัด โดยมีหลักง่ายๆ ต้องรับประทานอาหารที่ มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ และรับประทานให้ได้วันละ 3 มื้อ รับประทานตรงเวลา ไม่งดมื้อใดมื้อหนึ่ง รับประทานในปริมาณที่ใกล้เคียงกันทุกมื้อทุกวัน ไม่กินจุบจิบ ไม่เป็นเวลา ในแต่ละมื้อ ควรรับประทานอาหารที่มีทั้งแป้ง เนื้อสัตว์ ไขมัน และผักผลไม้ หลีกเลี่ยงการกินน้ำตาล น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ขนมหาน ผลไม้เชื่อมแช่อิ่ม ผลไม้ที่มีรสหวาน ส่วนอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ไขมัน สัตว์ เนย มันหมู เนื้อติดมัน เครื่องในสัตว์ หอยนางรม ไข่แดง ครีม กะทิ อาหารทอด
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือถ้าน้ำหนักเกิน ควรลดน้ำหนักตัวลง 5% ของน้ำหนักเดิม
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ รวมทั้งยาดองเหล้า หรือจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ให้เหลือน้อยที่สุด เพราะแอลกอฮอล์อาจมีผลต่อยาที่ใช้ควบคุมเบาหวานและโรคต่างๆ
  • ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ให้ได้สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที
  • ห้ามสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด เพื่อลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • หมั่นดูแลรักษาเท้าให้ดี โดยทำความสะอาดเท้าและดูแลผิวหนังทุกวัน เวลาอาบน้ำควรล้าง และฟอกสบู่ตามซอกนิ้วเท้า ตัดเล็บด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดเล็บขบ หลีกเลี่ยงการตัด ดึง หรือแกะหนังแข็งๆ หรือตาปลาที่ฝ่าเท้า ถ้ารู้สึกว่าเท้าชา ห้ามวางขวดหรือกระเป๋าน้ำร้อย หรือประคบด้วยของร้อน ถ้ามีบาดแผล ตุ่มหนอง หรือการอักเสบเกิดขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ – โรคเบาหวานกับการดูแลเท้า
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ปีละ 1 ครั้ง และวัคซีนป้องกันปอดอักเสบในผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป
  • ควบคุมความดันโลหิต ไม่ให้สูงเกิน 140/90 มม.ปรอท และหากเป็นความดันโลหิตสูงแล้ว ต้องรับประทานยาลดความดันตามแพทย์สั่งห้ามหยุดใช้ยาเอง
  • ควบคุมระดับไขมันในเลือด ให้ระดับไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ต่ำกว่า 100 มก./ดล. และควรใช้ยาลดไขมันทุกราย ในผู้ป่วยที่อายุตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป
  • เรียนรู้การปฏิบัติตัวในโอกาสพิเศษต่างๆ เช่น การเดินทาง การไปงานเลี้ยง
  • เรียนรู้เกี่ยวกับภาวะโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนเหล่านั้น และจำเป็นต้องตรวจคัดกรองภาวะภาวะแทรกซ้อนและปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • พบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ เพื่อตรวจติดตามน้ำตาลในเลือด ใช้ยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ควรปรับหรือลดขนาดยาเองตามความรู้สึก ห้ามซื้อยาชุดมารับประทานเอง การใช้สมุนไพรควร พิจารณาร่วมกันกับแพทย์ผู้รักษา

โปรแกรมตรวจสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน

คนเป็นเบาหวาน กินอะไรได้บ้าง – คุมอาหารอย่างไรดี?


  • ควบคุมระดับน้ำตาล ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคุมระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการหยุดเติมน้ำตาลลงในอาหาร พยายามงดอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ลูกอม ขนมหวาน น้ำหวาน และไม่ควรรับประทานน้ำตาลทุกชนิด เช่น น้ำตาลอ้อย น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลก้อน น้ำผึ้ง

ผลไม้แม้จะมีใยอาหารมาก แต่ผลไม้บางชนิด ก็มีน้ำตาลสูงเช่นเดียวกัน โดยการรับประทานผลไม้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรจำกัดขนาด และควรกินในปริมาณที่เหมาะสม

ผลไม้ที่ไม่ควรรับประทาน เช่น ทุเรียน มะขามหวาน ลำไย ลิ้นจี่ องุ่น ละมุด น้อยหน่า แตงโม ขนุน เป็นต้น
ผลไม้ที่ควรรับประทาน เช่น แก้วมังกร แอปเปิ้ล ฝรั่ง ชมพู่ มันแกว

อาการน้ำตาลสูงในผู้ป่วยเบาหวาน หรือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia)

ในผู้ป่วยเบาหวาน หากไม่ได้รับการรักษา อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน จนมีปัญหาสุขภาพร้ายแรงตามมา เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลสูงขึ้นได้ง่าย เนื่องจากร่างกายมีฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ หรือเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลผิดปกติ

สังเกตอาการเหล่านี้บ่งบอกว่า “คุณมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
ปัสสาวะบ่อย
หิวน้ำบ่อย กระหายน้ำมาก
น้ำหนักลด อ่อนเพลีย
สายตาพร่ามัว
รู้สึกหิวบ่อย แม้ว่าจะเพิ่งกินไป
ขาชา ผิวแห้ง คันตามตัว

  • ควบคุมไขมัน เลือกรับประทานพวกไขมันดี หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์ เปลี่ยนวิธีการปรุงอาหารจากทอดเป็นตุ๋น ต้ม นึ่ง แทน รวมถึงใช้น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าวในการปรุงอาหารแทน
  • ควบคุมคาร์ไฮเดรต แม้คาร์โบไฮเดตรจะมีหน้าที่ให้พลังงาน แต่หากรับประทานมากก็อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้ ดังนั้น ควรเลือกคาร์โบไฮเดรตที่มาในรูปแบบธรรมชาติ เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวโพด ลูกเดือย ขนมปังโฮลวีท
  • ควบคุมโปรตีน ควรบริโภคโปรตีนประมาณ 12 – 20 ของจำนวนการบริโภคแคลอรีทั้งหมดต่อวัน ควรเลือกรับประทานเนื้อสัตว์จำพวกปลา และผลิตภัณฑ์จากนมแบบไขมันต่ำหรือไม่มีไขมัน
  • ควบคุมโซเดียม ควรลดปริมาณการบริโภคเกลือในมื้ออาหาร ไม่เติมเกลือ หรือน้ำปลาเพิ่มในอาหาร และไม่ควรรับประทานอาหารที่ผ่านการแปรรูป เช่น อาหารกระป๋อง ผักดอง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น

อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน


โรคเบาหวาน เป็นโรคที่มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากมีอินซูลินน้อย หรือร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ทำให้ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ตามปกติ มีอาการปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย น้ำหนักลด ผลในระยะยาวทำให้เกิดโรคเบาหวานข้นตา เบาหวานลงไต โรคหัวใจและหลอดเลือดตีบแข็งและอื่นๆ


จุดมุ่งหมายในการควบคุมอาหาร

  • เพื่อควบคุมระดับน้ำตาล ไขมันในเลือด และความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ หรือใกล้เคียงในระดับปกติมากที่สุด
  • ได้รับสารอาหารและพลังงานเพียงพอแต่ไม่เกินความต้องการของร่างกาย
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน
  • มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถประกอบอาชีพในสังคมได้ตามปกติ


สามารถแบ่งอาหารได้เป็น 3 ประเภทง่ายๆ คือ

  1. อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เป็นอาหารที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่
    • อาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ เช่น เค้ก คุกกี้ ไอศกรีม ขนมหวาน และช็อกโกแลต
    • เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม นมเปรี้ยว นมปรุงแต่งรส น้ำผลไม้ เครื่องดื่มชูกำลัง และน้ำเกลือแร่
    • ผลไม้เชื่อม ผลไม้ตากแห้ง น้ำผึ้ง และลูกอม ถ้าต้องการบริโภคอาหารที่มีรสหวาน สามารถใช้น้ำตาลเทียมได้
  2. อาหารที่รับประทานได้แต่ควรกำหนดปริมาณ
    • อาหารประเภทแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เช่น ข้าว ขนมปัง เผือก มัน ข้าวโพด ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ วุ้นเส้น ขนมจีน และถั่วต่างๆ อาหารกลุ่มนี้เมื่อรับประทานเข้าไป จะถูกย่อยสลายเป็นน้ำตาล และดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน แต่ถ้าเกินความต้องการจะทำให้น้ำตาลและไขมันในเลือดสูง และตามมาด้วยโรคอ้วนได้ จึงต้องจำกัดปริมาณ แนะนำให้รับประทาน 6-11 ส่วนต่อวัน แป้ง 1 ส่วน ได้แก่ ข้าวสวย 1 ทัพพี หรือข้าวเหนียว 3 ช้อนโต๊ะ ขนมจีน/ก๋วยเตี๋ยว/วุ้นเส้นครึ่งถ้วยตวง ขนมปังปอนด์ 1 แผ่น บะหมี่ 1 ก้อน มัน/เผือก/ฟักทองครึ่งถ้วยตวง
    • อาหารประเภทโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ นม ผลิตภัณฑ์จากนม (เนย ชีส) เต้าหู้ และถั่วเมล็ดแห้ง ร่างกายจำเป็นต้องใช้โปรตีน ในการเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ แต่ถ้ารับประทานโปรตีนมากเกินไป ไตต้องทำงานหนักเพิ่มมากขึ้นในการขับของเสียจากการย่อยสลายโปรตีน ทำให้ไตทำงานบกพร่องได้ และเนื้อสัตว์หลายชนิดมีไขมัน และมีคอเลสเตอรอลสูง ดังนั้นจึงควรรับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง และรับประทานโปรตีนวันละ 3-5 ส่วนต่อวัน ได้แก่ เนื้อสัตว์ 2 ช้อนโต๊ะ (เนื้อล้วน) ปลาทูขนาดเล็ก 1 ตัว กุ้งขนาดกลาง 6 ตัว ลูกชิ้น 6 ลูก เต้าหู้แข็งคร่งแผ่น เต้าหูหลอด 3/4 หลอด ไข่ 1 ฟอง ถั่วเมล็ดแห้งสุกครึ่งถ้วยตวง
    • อาหารไขมัน ได้แก่ ไขมันสัตว์ หนังสัตว์ติดมัน น้ำมันพืช เนย มาการีน (เนยเทียม) และกะทิ นอกจากจะให้พลังงานและช่วยในการดูดซึมวิตามินแล้วยังทำให้อาหารมีรสชาติมากขึ้น แต่ถ้ารับประทานมากเกินจะทำให้ไขมันในเลือดสูง นำมาซึ่งโรคอ้วน โรคหัวใจ และหลอดเลือดแดงตีบแข็งได้ แนะนำให้หลีกเลี่ยงไขมันสัตว์ กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม และใช้น้ำมันพืช ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวต่ำทดแทน เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันข้าวโพด น้ำมันมะกอก และจำกัดปริมาณ 3-5 ส่วนต่อวัน ไขมัน 1 ส่วน ได้แก่ น้ำมัน/เนย/เนยเทียม/มายองเนส 1 ช้องชา กะทิ 1 ช้อนโต๊ะ ถั่วลิสง 10 เมล็ด เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 6 เมล็ด
    • ผลไม้ นอกจากจะมีวิตามิน เกลือแร่และกากใยอาหารสูงแล้วยังมีน้ำตาลด้วยจึงต้องจำกัดปริมาณที่รับประทานไม่เกิน 3 ส่วนต่อวัน และเป็นผลไม้สด ไม่เชื่อม หมัก ดอง หรือมีเครื่องจิ้ม กล้วยน้ำว้า/กล้วยไข่ 1 ลูก กล้วยหอม 1/2 ลูก ส้มเขียวหวาน 1 ลูก เงาะ/มังคุด 3 ผล ชมพู่ 2 ผล องุ่น 10 ผล มะม่วง/ฝรั่งครึ่งผล ส้มโอ 3 กลีบ มะละกอสุก 7-8 คำ แอปเปิ้ล/สาลี่ ครึ่งลูก แตงดม 10 คำ สับปะรด 10 คำ
    • นมและผลิตภัณฑ์ ควรดื่มนมจืดพร่องไขมัน ที่ไม่ปรุงแต่งรสวันละ 1-2 แก้ว หรือเป็นแหล่งของโปรตีน และแคลเซียม โยเกิร์ตไม่ปรุงแต่งรสพร่องไขมัน ไม่เกิน 1 ถ้วยตวงต่อวัน
    • แอลกอฮอล์ บางชนิดมีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตมาก เช่น เบียร์ ไวน์ เหล้าหวาน อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ถ้าดื่มแอลกอฮอล์ในขณะท้องว่าง อาจทำให้น้ำตาลในเลือกต่ำได้ เนื่องจากแอลกอฮอล์ไปยับยั้งการสร้างกลูโคสจากตับ นอกจากนี้ถ้าดื่มมากเกินจะทำให้ไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะไขมันไตรกลีเซอไรด์
    • เกลือ จะทำให้ความดันโลหิตสูง เพราะเกลือทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำไว้มากขึ้น แนะนำรับประทานไม่เกิน 2000 มิลลิกรัม/วัน (เกลือ 1 ช้อนชา, น้ำปลา 4 ช้อนชา) นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบ เช่น อาหารหมักดอง บะหมี่สำเร็จรูป โจ๊กบรรจุซอง และขนมอบกรอบต่างๆ
  3. อาหารที่รับประทานได้ไม่จำกัด เป็นอาหารที่ให้พลังงานต่ำมีกากใยมาก ได้แก่
    • ผักใบเขียวทุกชนิด
    • เครื่องเทศต่างๆ เช่น กระเทียมพริกไทย
    • ชา กาแฟ ที่ไม่ใส่น้ำตาล น้ำอัดลมที่ไม่มีน้ำตาล (แต่ไม่ควรเกิน 2 แก้วต่อวัน)
    • เครื่องปรุง เช่น มะนาว น้ำส้มสายชู

  4. หมายเหตุ

    1. ถ้าผู้ป่วยเบาหวานอ้วน แนะนำให้ลดน้ำหนัก โดยลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และอาหารไขมันลง อาจเพิ่มโปรตีนและผักเพื่อให้อิ่ม
    2. แนะนำให้งดสูบบุหรี่ในผู้ป่วยเบาหวานทุกรายเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน ทั้งในหัวใจ สองและหลอดเลือดส่วนปลาย
    3. ถ้ามีเบาหวานลงไตต้องจำกัดปริมาณโปรตีน และลดการบริโภคเกลือลง
    4. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และปริมาณใกล้เคียงกันในแต่ละวัน เพื่อจะได้ควบคุมน้ำตาลในเลือดในคงที่


เลือกอาหารที่ใช่ ให้เหมาะกับคนไข้โรคเบาหวาน


หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนเรามีโรคภัยมารุมล้อม นั่นคือ การไม่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องการรับประทาน “อาหาร” เพราะเรามักจะเลือกของอร่อยมากกว่าของที่มีประโยชน์

โรคเบาหวาน คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ “อาหาร” จึงมีผลต่อความรุนแรงของโรค เพราะทุกอย่างที่รับประทานเข้าไปนั้นจะส่งผลโดยตรงต่อระดับน้ำตาลในเลือด

 

เช็กก่อน…คุณเป็นโรคเบาหวานหรือเปล่า?

การเลือกอาหารให้เหมาะกับร่างกาย เราต้องรู้ก่อนว่าเรามีโรคใดๆ แฝงอยู่หรือเปล่า นอกจากการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่แล้ว เราต้องหมั่นสังเกตตัวเองว่ามีอาการบ่งชี้โรคเบาหวานหรือไม่ร่วมด้วย ซึ่งอาการต่างๆ ที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานมีดังนี้

  • หิวบ่อย กินจุ
  • น้ำหนักลดลงแบบไม่ทราบสาเหตุ
  • คอแห้ง กระหายน้ำบ่อย
  • ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะเวลากลางคืนต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำหลายครั้ง
  • คันตามผิวหนัง

 

อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

อาหารสำหรับคนเป็นเบาหวาน ต้องประกอบไปด้วยสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และควรเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นผักและผลไม้ไม่หวาน รวมถึงอาหารที่มีแคลอรีและไขมันต่ำ ส่วนอาหารที่จะเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดต้องเลี่ยงให้ไกล  นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงปริมาณและต้องรับประทานอาหารให้เป็นเวลาด้วย เพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสวิงขึ้นลงระหว่างวันมากเกินไป

 

อาหารดี…ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง

  • กลุ่มพืชผักต่างๆ
    เช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักกาด มะระ ผักตระกูลถั่ว เป็นต้น กลุ่มผักให้สารอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลน้อย แต่ให้เส้นใยสูง ซึ่งจะช่วยในการขัดขวางการดูดซึมของน้ำตาลและไขมัน
  • กลุ่มผลไม้
    เช่น ฝรั่ง มะละกอ แอปเปิ้ล ส้มเขียวหวาน ส้มโอ ชมพู่ เป็นต้น แต่ควรเลือกผลไม้ที่หวานน้อย และมีเส้นใยมาก
    ปริมาณที่เหมาะสมคือ 3–4 ส่วน/วัน
  • กลุ่มนม
    ควรดื่ม นมรสจืด นมพร่องมันเนย นมขาดมันเนย นมถั่วเหลือง เลือกสูตรไม่มีน้ำตาล
    ปริมาณที่เหมาะสมคือ 1–2 แก้ว/วัน (ปริมาณ 250 ซีซี)
  • กลุ่มข้าว แป้ง และธัญพืช
    ควรรับประทาน ข้าวกล้อง ธัญพืชไม่ขัดสี ขนมปังโฮลวีต
    ปริมาณที่เหมาะสมคือ 8–9 ทัพพี/วัน
  • กลุ่มเนื้อสัตว์ต่างๆ
    ควรรับประทานทาน เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง
    ปริมาณที่เหมาะสมคือ 12 ช้อนโต๊ะ/วัน
    (ไข่ทั้งฟอง สามารถรับประทานทานได้ ในผู้มีคอเลสเตอรอลในเลือดไม่สูงคือ 2–3ฟอง/วัน)
  • กลุ่มไขมัน
    ควรรับประทานอาหารที่ปรุงจากน้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด มากกว่าน้ำมันชนิดอื่น
    ปริมาณที่เหมาะสมตคือไม่เกิน 6-7 ช้อนชา/วัน

 

อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยง

  • ขนมหวานทุกชนิด
  • อาหารทอด อาหารมัน
  • เครื่องดื่มที่มีรสหวาน นมหวาน น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำผลไม้ผสมน้ำตาล เครื่องดื่มชูกำลัง รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ผลไม้เชื่อม กวน ดอง แช่อิ่ม ตากแห้ง อบน้ำผึ้ง รวมทั้งผลไม้กระป๋อง
  • อาหารหมักดอง อาหารตากแห้ง อาหารรสเค็มจัด อาหารบรรจุกระป๋องหรือถุง เช่น เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ ปลาร้า ผักดอง

แม้ว่าโรคเบาหวานจะเป็นโรคเรื้อรัง แต่ผู้ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ เพียงแค่ใส่ใจ  สุขภาพ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญ… ต้องใส่ใจในการเลือกชนิดอาหารและวิธีการปรุง รับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ ในปริมาณที่พอเหมาะ เพียงเท่านี้ “เบาหวาน” ก็ไม่ใช่โรคที่น่าหนักใจอีกต่อไป

เพราะ “อาหารที่ดี” คือยาที่ดีที่สุดสำหรับร่างกายของเรา


อาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน


เบาหวานเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่สามารถควบคุมไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆได้เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคตา โรคของระบบประสาท เป็นต้น โดยสามารถควบคุมเบาหวานได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต(Lifestyle modification)


การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต ประกอบด้วยการรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการการมีกิจกรรมและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอร่วมกับการนอนหลับให้เพียงพอ ไม่สูบบุหรี่ไม่ดื่มสุรา

หลักการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

อาหารเบาหวานเป็นอาหารปกติสำหรับคนทั่วไปแต่อาจต้องเลือกชนิดของอาหารให้มีคุณภาพและควบคุมปริมาณในการรับประทานที่เหมาะสมเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงหรือต่ำ จนเกินไปซึ่งแต่ละสารอาหารควรมีข้อจำกัดดังนี้

  1. คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารหลักที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดมากที่สุด
    1.1 ข้าว แป้ง ควรรับประทาน ข้าวกล้องหรือข้าวไม่ขัดสี ขนมปังโฮลวีท ถั่วเมล็ดแห้ง ข้าวโอ๊ต ลูกเดือย เนื่องจากมีใยอาหารสูง ช่วยในการชะลอระดับน้ำตาลในเลือดได้
    1.2ผัก สามารถรับประทานได้ไม่จำกัดเนื่องจากให้พลังงานต่ำใยอาหารสูง ควรเน้นผักใบเขียวเช่น คะน้า ตำลึง ผักกาดขาว ผักบุ้งแต่อาจมีบางผักบางประเภทที่ควรจำกัดปริมาณการรับประทาน เช่นมันเทศ เผือก ฟักทอง แครอท เพราะมีปริมาณแป้งที่สูงมาก
    1.3ผลไม้ สามารถทานได้ในปริมาณที่แตกต่างกัน ขึ้นกับดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index)เช่น แอปเปิ้ล1ผลเล็ก,ส้ม1ผลเล็ก,ฝรั่ง1ผลเล็ก,กล้วยหอม1/2ผล,มะละกอ6-8ชิ้นคำ,แก้วมังกร1/2ผลเป็นต้น ซึ่งในแต่ละวันอาจทานได้2-3ครั้ง/วัน
    ทั้งนี้ผู้ที่เป็นเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงน้ำผักผลไม้ เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
  2. โปรตีน ควรบริโภคเนื้อปลาและหรือเนื้อไก่เป็นหลักโดยการทานปลามากกว่า2ครั้ง/สัปดาห์ จะทำให้ได้รับ โอเมก้า3ซึ่งมีอยู่ในปลาแซลมอน,ทูน่า,ปลาทู,ปลาช่อน เป็นต้นและควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูปต่างๆเช่นไส้กรอก,เบคอน,แฮม,หมูยอ,หมูแผ่น และ หมูหยอง
  3. โซเดียมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานทีมีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ควรจำกัดปริมาณโซเดียมในแต่ละวันไม่เกิน2,000มิลลิกรัม/วัน
    น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ มีโซเดียม 1,160-1,420 มิลลิกรัม
    ซีอิ้ว 1 ช้อนโต๊ะ มีโซเดียม 960-1,420 มิลลิกรัม
    ผงชูรส 1 ช้อนชา มีโซเดียม 497 มิลลิกรัม
    เกลือ 1 ช้อนชา มีโซเดียม 2,000 มิลลิกรัม
    อาจใช้เครื่องสมุนไพร ในการชูรสอาหารให้มีกลิ่นหอมชวนรับประทานมากขึ้นเช่น ขิง,ข่า,ตะไคร้,ใบมะกรูด(เครื่องต้มยำต่างๆ)

คำแนะนำเพิ่มเติมในการควบคุมน้ำตาลในเลือด
อาจแบ่งอาหารเป็นมื้อที่เล็กลง เพิ่มจำนวนมื้อมากขึ้นแบ่งกระจายระดับน้ำตาลในแต่ละมื้อไม่ให้สูงเกินไป
หากเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ (วิงเวียนศรีษะ หน้ามืด)ให้ทำการเช็คระดับน้ำตาลปลายนิ้ว หากผลที่ได้ต่ำให้ทำการแก้ไขโดยดื่มน้ำผลไม้ 100-150 ml แล้วตรวจช้ำ ถ้าไม่ดีขึ้นให้รีบมาพบแพทย์อีกครั้ง



อาหารผู้ป่วยเบาหวานวางแผนมื้ออาหารลดน้ำตาลในเลือดแบบดีต่อใจ


อาหารสำหรับคนเป็นเบาหวาน อะไรควรเลี่ยง แนวทางวางแผนมื้ออาหารคุมน้ำตาลในเลือดจากนักโภชนาการ และตัวอย่างเมนูอาหารผู้ป่วยเบาหวาน

หลายคนที่มีโรคประจำตัวอย่างเบาหวานหรือมีญาติที่เป็นโรคนี้อาจมีคำถามว่าอาหารผู้ป่วยเบาหวานนั้นหน้าตาเป็นแบบไหน คนเป็นเบาหวานจะต้องปรับพฤติกรรมการรับประทานอย่างไรบ้างเมื่อต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แล้วจริงไหมที่ต้องเน้นอาหารรสจืดหรือจำใจบอกลาของโปรดบางอย่าง? ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการที่พรีโมแคร์พร้อมไขคำตอบทุกข้อสงสัยให้คุณในบทความนี้  

เริ่มต้นวางแผนมื้ออาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานอย่างไร?

ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อุดมด้วยสารอาหาร เน้นผักผลไม้ และธัญพืชต่างๆ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและแคลอรี่สูง ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นหลักการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่คนส่วนใหญ่ควรเลือกรับประทานกันอยู่แล้ว เพียงแต่สำหรับคนที่เป็นเบาหวานจะมีการจำกัดปริมาณที่เหมาะสม และอาจต้องรับประทานอย่างเป็นเวลาในทุกวัน

นอกจากนี้ อาหารของคนเป็นเบาหวานก็ใช่ว่าจะต้องมีรสจืดชืด หรือต้องบอกลาอาหารสุดโปรดที่แพทย์สั่งงดไปตลอด ผู้ป่วยยังคงสามารถรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันได้อยู่ เพียงแต่ต้องลดสัดส่วนให้น้อยลงหรือรับประทานนานๆ ครั้ง ดังนั้น หากยังอยากกินของชอบหรือต้องการวางแผนรับประทานอาหารเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดแบบไม่ทรมานใจเกินไป ก็สามารถขอคำแนะนำจากแพทย์และนักโภชนาการได้ทุกเมื่อ

อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกกิน

  • ผักผลไม้ โดยเน้นรับประทานให้หลากชนิดและหลากสีสันเพื่อคุณค่าทางสารอาหารที่ครบถ้วน สำหรับผลไม้ควรเลือกที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น ฝรั่ง แก้วมังกร แอปเปิล ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดช้ากว่าผลไม้ที่มีดัชนีน้ำตาลสูง และอย่าลืมว่าการดื่มน้ำผลไม้ไม่สามารถทดแทนการรับประทานผักผลไม้ทั้งลูกในด้านกากใยและสารอาหารได้
  • ธัญพืชที่มีกากใยสูง เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต บัควีต ขนมปังไม่ขัดสี ขนมปังโฮลวีต อาหารเช้าซีเรียลแบบโฮลวีต ควินัว เส้นก๋วยเตี๋ยวหรือเส้นพาสต้าไม่ขัดสี
  • เนื้อสัตว์ไม่ติดมันที่มีคอเลสเตอรอลต่ำ เช่น ไก่ ปลา ส่วนตัวของกุ้ง และไข่
  • ไขมันดีจากถั่วต่างๆ และเมล็ดธัญพืช เช่น เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเจีย เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน งา รวมถึงน้ำมันมะกอก น้ำมันปลา อะโวคาโด และปลาต่างๆ โดยเฉพาะแซลมอน ทูน่า แมกเคอเรล 
  • อาหารที่อุดมด้วยโปรตีนชั้นดี เช่น ไข่ ถั่ว โยเกิร์ตที่ไม่มีน้ำตาล นมจืด และผลิตภัณฑ์จากนมอื่นๆ ที่มีไขมันและน้ำตาลน้อย

อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรเลี่ยงกิน

  • อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารจานด่วน ของทอด ของหวาน
  • อาหารที่มีเกลือหรือโซเดียมสูง เช่น ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง
  • ธัญพืชที่ผ่านการขัดสี ได้แก่ ขนมปังขาว อาหารเช้าซีเรียลแบบน้ำตาลสูง ข้าวขาว รวมถึงเส้นก๋วยเตี๋ยวและเส้นพาสต้าที่ผ่านการขัดสี
  • เนื้อแดงหรือเนื้อสัตว์ใหญ่จำพวกเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแกะ และเนื้อที่ผ่านการแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน กุนเชียง หมูยอ แหนม
  • เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น น้ำผลไม้ นมเปรี้ยว ชานมไข่มุก น้ำอัดลม เครื่องดื่มบำรุงกำลัง

ตัวอย่างเมนูอาหารคนเป็นเบาหวาน

  • ข้าวต้มกุ้ง/ข้าวต้มปลา/โจ๊กหมู 1 ถ้วย
  • แกงส้มปลากะพงผักรวม/แกงจืดตำลึงเต้าหู้หมูสับ พร้อมข้าวกล้อง/ข้าวสวย 1 ทัพพี
  • ผัดผักเห็ด/บร็อคโคลีผัดเห็ดหอม พร้อมข้าวกล้อง/ข้าวสวย 1 ทัพพี
  • บุกผัดซีอิ๊วคะน้าไก่
  • ลาบเห็ด/ส้มตำไทย, ไก่ย่างไม่ติดหนัง 1 ชิ้น พร้อมข้าวเหนียว 1/2 ถ้วย
  • สลัดผัก 1 จาน ใส่น้ำมันมะกอกแทนน้ำสลัดครีม
  • เพิ่มผลไม้เล็กน้อยในแต่ละมื้อ เช่น ส้ม/แอปเปิลผลเล็กๆ 1 ผล, แคนตาลูปหั่นชิ้นเล็ก 6-8 ชิ้น, กล้วยหอม/ฝรั่ง/แก้วมังกร 1/2 ลูก, ส้มโอ  2-3 กลีบ

กินอย่างไรเมื่อต้องลดระดับน้ำตาลในเลือด?

การวางแผนมื้ออาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดนั้นไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด และไม่จำเป็นต้องงดอาหารทุกอย่างที่เคยชอบ เริ่มแรกสามารถปรึกษานักโภชนาการอาหาร ซึ่งเป็นผู้ที่จะช่วยแนะนำวิธีการวางแผนและเลือกกินอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยที่สุด โดยหลายวิธีสามารถนำมาปรับใช้พร้อมๆ กันเพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นได้ วิธีที่นักโภชนาการมักแนะนำมีดังนี้

วิธีที่ 1 แบ่งส่วนจานอาหารสุขภาพดี

แบ่งส่วนจานอาหารสุขภาพดี (Diabetes plate method) วิธีที่ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานวางแผนมื้ออาหารอย่างง่ายที่สุดด้วยการแบ่งสัดส่วนอาหารในจาน

หลักการรับประทานอาหารที่คิดค้นขึ้นโดยสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา (American Diabetes Association) เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานวางแผนมื้ออาหารอย่างง่ายที่สุดด้วยการแบ่งสัดส่วนอาหารในจาน ไม่ต้องนับแคลอรี่ให้ยุ่งยาก เพียงใช้จานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9 นิ้ว แล้วแบ่งส่วนอาหารดังต่อไปนี้

  • 1/2 ของจาน เป็นผักที่มีแป้งต่ำ เช่น ปวยเล้ง มะเขือเทศ แครอท ถั่วงอก หน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก แตงกวา มะเขือยาว หอมใหญ่ และผักสลัดทั้งหลาย
  • 1/4 ของจาน เป็นโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมูหรือไก่ไม่ติดมัน ทูน่า แซลมอน 
  • 1/4 ของจานที่เหลือ เป็นธัญพืชเต็มเมล็ด (Whole grain) หรือธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ขนมปังโฮลวีต หรือผักที่มีแป้ง เช่น ถั่วเขียว มันฝรั่ง มันเทศ มันสำปะหลัง ข้าวโพด บีทรูท
  • เติมไขมันดี เพิ่มถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์ พีแคน แมคคาเดเมีย พิตาชิโอ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดธัญพืช หรืออะโวคาโด ในปริมาณเล็กน้อย
  • เพิ่มสารอาหารให้ครบถ้วนด้วยผลไม้และผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ และเลือกดื่มน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีน้ำตาล เช่น ชา หรือกาแฟ

วิธีที่ 2 นับคาร์โบไฮเดรต

อาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลเป็นตัวการสำคัญที่ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น การคำนวณปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับในแต่ละวันจึงเป็นอีกวิธีในการควบคุมน้ำตาลในเลือด และยังช่วยให้ผู้ป่วยที่ต้องได้รับอินซูลินสามารถปรับปริมาณอินซูลินให้เหมาะสมตามได้ 

การนับปริมาณคาร์โบไฮเดรตเป็นวิธีที่มักแนะนำสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลิน แต่ก็ขึ้นอยู่กับทีมแพทย์และนักโภชนาการที่จะพิจารณาว่าผู้ป่วยแต่ละรายจำเป็นต้องนับคาร์โบไฮเดรตหรือไม่ ซึ่งนักโภชนาการจะมีหน้าที่สอนผู้ป่วยคำนวนคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับจากอาหาร โดยให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ เช่น

  • แนะนำว่าอาหารชนิดใดมีคาร์โบไฮเดรต และควรเลือกรับประทานแบบไหน
  • สอนอ่านฉลากโภชนาการเพื่อใช้ในการคำนวณและปรับสัดส่วนคาร์โบไฮเดรตในอาหารแต่ละมื้อ
  • วางแผนมื้ออาหารทั้ง 3 มื้อให้ผู้ป่วยตามปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ควรได้รับในแต่ละวัน

วิธีที่ 3 เลือกเมนูที่ชอบตามใจ

ในการวางแผนอาหารผู้ป่วยเบาหวานด้วยวิธีนี้ นักโภชนาการจะให้ผู้ป่วยเลือกอาหารจากรายการในประเภทต่างๆ ที่ควรต้องมีในหนึ่งมื้อ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และผักผลไม้ ซึ่งในประเภทเหล่านี้ประกอบด้วยตัวเลือกมากมาย แต่ละเมนูมีสารอาหารต่างๆ ในปริมาณใกล้เคียงกัน และส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดแบบเดียวกัน ช่วยให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างสม่ำเสมอ ในขณะเดียวกัน ผู้ป่วยก็สามารถปรับเปลี่ยนเมนูต่างๆ ตามใจชอบได้โดยไม่ต้องกังวล

คุมเบาหวาน ต้องวัดค่าดัชนีน้ำตาลในอาหารไหม?

อาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูง (Glycemic Index) ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงไปด้วย การรับประทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำจึงเป็นอีกวิธีที่บางคนเลือกใช้เพื่อคงระดับน้ำตาลในเลือด 

อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของการควบคุมน้ำตาลในเลือดโดยใช้ค่าดัชนีน้ำตาลยังมีความคลุมเครืออยู่ในปัจจุบัน เพราะค่าดัชนีน้ำตาลไม่ใช่ตัวชี้วัดว่าอาหารชนิดนั้นดีต่อสุขภาพหรือไม่ และหากต้องคอยดูตารางดัชนีน้ำตาลของอาหารต่างๆ ตลอดเวลา อาจทำให้การวางแผนอาหารของผู้ป่วยเบาหวานยุ่งยากยิ่งขึ้น 

นอกจากนี้มีงานวิจัยที่ชี้ว่าการรับประทานโดยเน้นอาหารที่มีประโยชน์ให้มาก และลดอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพให้น้อยนั้นเพียงพอแล้ว ซึ่งไม่เพียงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่ยังช่วยส่งเสริมสุขภาพโดยรวมให้แข็งแรงจากการได้รับอาหารที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย

เป็นเบาหวานต้องรับประทานอาหารให้ตรงเวลาไหม?

ผู้ป่วยเบาหวานที่รับประทานยารักษาโรคเบาหวานหรืออินซูลินบางชนิดนั้นควรต้องรับประทานอาหารให้ตรงเวลาและรับประทานให้ครบทั้ง 3 มื้อ ไม่เช่นนั้นอาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำเกินไปได้ แต่ผู้ป่วยที่ฉีดอินซูลินพร้อมมื้ออาหารนั้นอาจมีเวลาการรับประทานอาหารที่ยืดหยุ่นได้ ผู้ป่วยควรสอบถามแพทย์ให้แน่ใจเพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมกับอาการของตนเอง

ต้องจำกัดปริมาณการกินแค่ไหน?

การรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพราะจะช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุมน้ำหนัก ซึ่งในส่วนนี้ทีมแพทย์และนักกำหนดอาหารจะเป็นผู้ช่วยหาคำตอบว่าควรรับประทานแค่ไหนและควรได้รับแคลอรี่เท่าไรในแต่ละวัน โดยคำนึงตามสภาวะสุขภาพเฉพาะตัวของแต่ละคน เช่น ในกรณีที่มีน้ำหนักเกินหรือมีโรคอ้วน อาจต้องวางแผนปรับอาหารโดยเน้นลดน้ำหนักร่วมด้วยเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคอื่นๆ ที่อาจตามมา การไปพบแพทย์เพื่อติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง 





ที่มา    ::   https://www.pobpad.com/  ,    https://www.sikarin.com/   ,  https://www.nakornthon.com/  ,     https://www.phyathai.com/  ,   https://www.sukumvithospital.com/  ,   https://primocare.com/  ,