Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2567

วันก๋วยเตี๋ยว National Noodle Day วันที่ 6 ตุลาคม ของทุกปี

 

วันก๋วยเตี๋ยว National Noodle Day วันที่ 6 ตุลาคม ของทุกปี



  วันก๋วยเตี๋ยว National Noodle Day วันที่ 6 ตุลาคม ของทุกปี วันแห่งการเฉลิมฉลองการถือกำเนิดของเมนูก๋วยเตี๋ยวที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน


ก๋วยเตี๋ยว เมนูเส้นยอดนิยมในหลายประเทศ และมีหน้าตาแตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม แต่รู้หรือไม่ว่าก๋วยเตี๋ยวก็มีวันสำคัญเหมือนกัน นั่นก็คือ วันก๋วยเตี๋ยว (National Noodle Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 6 ตุลาคม ของทุกปี วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับประวัติความเป็นมา เส้นก๋วยเตี๋ยวแบบต่าง ๆ และเมนูก๋วยเตี๋ยวที่น่าสนใจ
วันก๋วยเตี๋ยว National Noodle Day



วันก๋วยเตี๋ยว
National Noodle Day

ประวัติวันก๋วยเตี๋ยว

         ก๋วยเตี๋ยว มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 2,000 ปี โดยมีหลักฐานว่าถือกำเนิดจากประเทศจีน โดยมีการกล่าวถึงครั้งแรกในบันทึกประวัติศาสตร์หนังสือสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ระหว่าง 25-220 ปี ก่อนคริสตกาล ในยุคนี้เส้นก๋วยเตี๋ยวถูกปั้นเป็นชิ้นเล็ก ๆ จากแป้งขนมปัง แล้วนำไปใส่ในกระทะที่มีน้ำเดือด ประมาณปี ค.ศ. 530-550 หนังสือชื่อ ฉีหมิน เหยาชู่ (Qimin Yaoshu) มีการอ้างอิงถึงการทำเส้นบะหมี่ที่ยืดด้วยมือและมีรูปร่างยาวเรียกว่า “บะหมี่ตัด” ซึ่งแปรรูปโดยการตัดแป้งที่ยืดออกด้วยใบมีด ถือกำเนิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ในขณะที่บะหมี่แห้งถือกำเนิดในสมัยราชวงศ์หยวน

         ต่อมาประมาณปี ค.ศ. 1200 เส้นก๋วยเตี๋ยวได้แพร่หลายในฝั่งยุโรป โดยเฉพาะในอิตาลี เชื่อว่า มาร์โค โปโล เป็นคนนำเส้นก๋วยเตี๋ยวกลับมาจากจีน แต่ก็มีบางคนเชื่อว่าพ่อค้าอาหรับเป็นคนนำเส้นก๋วยเตี๋ยวมาเผยแพร่ 

         จากนั้นประมาณปี ค.ศ. 1789 โทมัส เจฟเฟอร์สัน ได้นำเครื่องทำมะกะโรนีจากฝรั่งเศสกลับมายังสหรัฐอเมริกา และในปี ค.ศ. 1848 อองตวน เซเรกา ชาวฝรั่งเศส ได้ก่อตั้งโรงงานพาสต้าแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา ที่บรูคลิน นิวยอร์ก

         ปี ค.ศ. 1958 บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปถูกคิดค้นขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในช่วงแรกนั้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปถือเป็นอาหารหรูหราและมีราคาสูงกว่าบะหมี่สดถึง 6 เท่า

วันก๋วยเตี๋ยว National Noodle Day

ประวัติก๋วยเตี๋ยวในไทย

           เชื่อกันว่าก๋วยเตี๋ยวน่าจะเข้ามาในสมัยอยุธยา สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เนื่องจากมีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติมากมาย จีนก็เข้ามาในช่วงนี้ แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าใด จนมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ตอนน้ำท่วมกรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2485 ข้าราชการไม่สามารถออกไปกินข้าวกลางวันข้างนอกได้ จนต้องให้ก๋วยเตี๋ยวเรือพายเข้าไปขายในทำเนียบรัฐบาล กอปรกับเป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำจากภาวะสงคราม ท่านจึงเริ่มส่งเสริมให้คนไทยหันมากินก๋วยเตี๋ยว มีการเปิดคอร์สสอนทำก๋วยเตี๋ยวให้ประชาชนทั่วไป ข้าราชการก็ถูกบังคับให้ขายก๋วยเตี๋ยวเพื่อเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน ทั้งยังแต่งเพลง “ก๋วยเตี๋ยว” เพื่อส่งเสริมให้คนไทยกินก๋วยเตี๋ยวอีกด้วย

เส้นก๋วยเตี๋ยวมีอะไรบ้าง

           เส้นก๋วยเตี๋ยวมีหลายชนิด ทั้งเส้นสไตล์เอเชียและสไตล์ฝรั่ง เช่น เส้นเล็กและเส้นหมี่ขาวทำจากแป้งข้าวเจ้า, เส้นใหญ่ทำจากแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งมันสำปะหลัง หรือแป้งทั้งสองอย่างผสมกัน, เส้นอุด้ง ราเมน บะหมี่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป สปาเกตตี พาสต้า ทำจากแป้งสาลี, วุ้นเส้นทำจากแป้งถั่วเขียว และเส้นบุกทำจากต้นบุก เป็นต้น
วันก๋วยเตี๋ยว National Noodle Day

ประเภทก๋วยเตี๋ยว

          วันก๋วยเตี๋ยว เป็นวันแห่งการถือกำเนิดเมนูก๋วยเตี๋ยวที่ได้รับการยอมรับเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา แต่ผู้ชื่นชอบก๋วยเตี๋ยวจากทั่วทุกมุมโลกสามารถร่วมเฉลิมฉลองได้เช่นกัน โดยการทำเมนูก๋วยเตี๋ยวจานโปรดหรือลองคิดค้นสูตรก๋วยเตี๋ยวใหม่ ๆ แต่ถ้าหากไม่ชอบเข้าครัวก็ลองออกไปนอกบ้านหาเมนูก๋วยเตี๋ยวอร่อย ๆ กินกับครอบครัวหรือคนพิเศษ หรือแม้แต่กินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็ได้เช่นกัน

          โดยก๋วยเตี๋ยวมีหลายประเภท ทั้งก๋วยเตี๋ยวน้ำ เช่น ก๋วยเตี๋ยวน้ำใส ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก ก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ เป็นต้น และยังมีก๋วยเตี๋ยวแห้ง เช่น บะหมี่แห้ง เส้นเล็กแห้ง เส้นใหญ่แห้ง เป็นต้น รวมทั้งมีก๋วยเตี๋ยวผัด เช่น ผัดไทย ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ ผัดซีอิ๊ว ผัดหมี่กะทิ เป็นต้น

วันก๋วยเตี๋ยว National Noodle Day

วันก๋วยเตี๋ยว National Noodle Day

           เชื่อว่าเพื่อน ๆ ที่เลิฟการกินก๋วยเตี๋ยว น่าจะมีร้านก๋วยเตี๋ยวหรือเมนูก๋วยเตี๋ยวในดวงใจ ยังไงก็สามารถมาแชร์บอกเล่าพิกัดร้านหรือเมนูก๋วยเตี๋ยวกันได้นะ


ที่มา   ::      kapook.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น