โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)
โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM) เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก
หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อม เกิดโรคและอาการแทรกซ้อนขึ้นได้ ซึ่งในปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยคาดว่าผู้ป่วยรายใหม่อาจเพิ่มประมาณปีละ 3 แสนคน และคนอายุยังน้อยหรืออายุ 15 ปีขึ้นไปที่เริ่มป่วยเป็นโรคเบาหวานก็มีจำนวนมากขึ้นด้วย
อาการของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปกติ บางรายอาจตรวจพบโรคเบาหวานเมื่อพบภาวะแทรกซ้อนแล้ว อาการของโรคเบาหวานแต่ละชนิดอาจคล้ายกัน ซึ่งอาการที่พบส่วนใหญ่คือ กระหายน้ำมาก ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย น้ำหนักลดหรือเพิ่มผิดปกติ สายตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด รู้สึกเหนื่อยง่าย มีอาการชา โดยเฉพาะมือและขา บาดแผลหายยาก
ทั้งนี้ อาการของโรคเบาหวานประเภทที่ 1 จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 จะแสดงอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 24–28 สัปดาห์
สาเหตุของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานมีหลายประเภท ซึ่งสามารถแยกสาเหตุของโรคเบาหวานตามประเภทที่พบโดยทั่วไปออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
- เบาหวานประเภทที่ 1 (Type 1 Diabetes) เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้
- เบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes) เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ หรือเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance)
- เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) ซึ่งเป็นโรคเบาหวานที่พัฒนาขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน โดยที่ผู้ป่วยไม่เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน
นอกจากโรคเบาหวานทั้ง 3 ประเภท ยังมีโรคเบาหวานที่พบได้ไม่บ่อยอย่างโรคเบาหวานที่เกิดจากกรรมพันธุ์หรือแบบโมโนเจนิก (Monogenic Diabetes) และโรคเบาหวานจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ยารักษาโรคบางชนิด หรือโรคชนิดอื่นอย่างโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis)
สำหรับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานก็เช่น คนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 1 หรือ 2 มาก่อน อายุที่มากขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป มีน้ำหนักตัวมาก ไม่ค่อยออกกำลังกายหรือขยับตัว รับประทานอาหารไม่มีประโยชน์ หรือมีปัญหาสุขภาพอย่างโรคความดันโลหิตสูงหรือไขมันในเลือดสูง
การวินิจฉัยโรคเบาหวาน
แพทย์จะสอบถามอาการผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัว รวมถึงตรวจร่างกาย และที่สำคัญต้องอาศัยการตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือดเป็นหลัก โดยมีวิธีการวิเคราะห์ระดับน้ำตาลในเลือดหลายวิธี ได้แก่
- การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ (Random/Casual Plasma Glucose Test)
- การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Fasting Plasma Glucose: FPG)
- การตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสมหรือฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (Hemoglobin A1c: HbA1c)
- การทดสอบการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด (Oral Glucose Tolerance Test: OGTT)
หากผู้ป่วยไม่มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจน คือ หิวน้ำมาก ปัสสาวะบ่อยและมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยที่ไม่มีสาเหตุ การตรวจด้วยวิธีทั้งหมดข้างต้นจำเป็นต้องมีการตรวจซ้ำอย่างน้อย 1 ครั้งด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย
ทั้งนี้ ระดับน้ำตาลในเลือดยังบ่งบอกถึงภาวะก่อนเป็นเบาหวานได้ด้วย (Prediabetes) โดยผู้ที่มีความเสี่ยงอาจพัฒนาการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมองได้ง่ายกว่าผู้อื่น
การรักษาโรคเบาหวาน
การรักษาผู้ป่วยเบาหวานในประเภทที่ 1 จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปทดแทนในร่างกายด้วยการฉีดยาเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการคุมอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสม
ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 หากเป็นในระยะแรก ๆ สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลัง และควบคุมน้ำหนัก หากอาการไม่ดีขึ้นแพทย์อาจให้ยาควบคู่ไปด้วยหรือฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทนเช่นเดียวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1
สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรเข้าฝากครรภ์กับแพทย์ตั้งแต่ในระยะแรก พร้อมทั้งควบคุมอาหารที่รับประทานและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์
นอกจากนี้ ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดแผลเบาหวานขึ้นที่เท้า แพทย์อาจให้ผู้ป่วยใส่อุปกรณ์ป้องกันแผล เช่น รองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เฝือก หรือผ้าพันแผล หากแผลเริ่มมีลักษณะรุนแรงขึ้น แพทย์อาจวางแผนการรักษาตามเหมาะสม ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของแผลเบาหวานที่เป็น ทั้งนี้ หากรักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจต้องตัดอวัยวะทิ้งเพื่อป้องกันอาการลุกลาม
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นโรคที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ หากไม่มีการควบคุมการรับประทานอาหารและดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธี ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อเส้นเลือดที่นำสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกายจนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
ทั้งโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดเล็ก เช่น เบาหวานขึ้นตา หรือโรคไต โรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดใหญ่ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน รวมไปถึงโรคแทรกซ้อนที่ระบบประสาทและโรคแทรกซ้อนที่สามารถทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียอวัยะบางส่วน นอกจากนี้ สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษและการแท้งบุตรได้
การป้องกันโรคเบาหวาน
สิ่งสำคัญของการป้องกันโรคเบาหวานทุกชนิดคือ ต้องคอยหมั่นระวังระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่เกณฑ์ปกติ เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสารอาหารครบถ้วน มีกากใยสูง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ รวมถึงควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
หากเป็นสตรีมีครรภ์ควรเข้ารับการฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ และเข้ารับการตรวจคัดกรองเบาหวานหากมีความเสี่ยง เพื่อที่จะสามารถตรวจพบโรคเบาหวานได้ในระหว่างการตั้งครรภ์
เมื่อเป็น “เบาหวาน” – ดูแลตนเองอย่างไร กินอะไรได้บ้าง
เบาหวานรักษาหายได้ไหม?
หากพบว่าตนเองป่วยเป็นโรคเบาหวาน การดูแลตนเอง และการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยรักษา และควบคุมโรค ให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี
เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาว อาการผิดปกติบางอย่างยังไม่ปรากฏอาการในทันทีทันใด แต่หากมีอาการผิดปกติแล้วอาจจะไม่สามารถรักษาให้กลับมาหายเป็นปกติได้ การควบคุมเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ และการติดตามอาการของภาวะแทรกซ้อนจึงเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติควบคู่กับการใช้ยาควบคุมเบาหวาน ดังนั้นหลังจากที่ทราบว่าเป็นเบาหวานควรปฏิบัติ ดังนี้
การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
โปรแกรมตรวจสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน
คนเป็นเบาหวาน กินอะไรได้บ้าง – คุมอาหารอย่างไรดี?
- ควบคุมระดับน้ำตาล ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคุมระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการหยุดเติมน้ำตาลลงในอาหาร พยายามงดอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ลูกอม ขนมหวาน น้ำหวาน และไม่ควรรับประทานน้ำตาลทุกชนิด เช่น น้ำตาลอ้อย น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลก้อน น้ำผึ้ง
ผลไม้แม้จะมีใยอาหารมาก แต่ผลไม้บางชนิด ก็มีน้ำตาลสูงเช่นเดียวกัน โดยการรับประทานผลไม้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรจำกัดขนาด และควรกินในปริมาณที่เหมาะสม
ผลไม้ที่ไม่ควรรับประทาน เช่น ทุเรียน มะขามหวาน ลำไย ลิ้นจี่ องุ่น ละมุด น้อยหน่า แตงโม ขนุน เป็นต้น
ผลไม้ที่ควรรับประทาน เช่น แก้วมังกร แอปเปิ้ล ฝรั่ง ชมพู่ มันแกว
อาการน้ำตาลสูงในผู้ป่วยเบาหวาน หรือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia)
ในผู้ป่วยเบาหวาน หากไม่ได้รับการรักษา อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน จนมีปัญหาสุขภาพร้ายแรงตามมา เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลสูงขึ้นได้ง่าย เนื่องจากร่างกายมีฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ หรือเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลผิดปกติ
สังเกตอาการเหล่านี้บ่งบอกว่า “คุณมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง“
ปัสสาวะบ่อย
หิวน้ำบ่อย กระหายน้ำมาก
น้ำหนักลด อ่อนเพลีย
สายตาพร่ามัว
รู้สึกหิวบ่อย แม้ว่าจะเพิ่งกินไป
ขาชา ผิวแห้ง คันตามตัว
- ควบคุมไขมัน เลือกรับประทานพวกไขมันดี หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์ เปลี่ยนวิธีการปรุงอาหารจากทอดเป็นตุ๋น ต้ม นึ่ง แทน รวมถึงใช้น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าวในการปรุงอาหารแทน
- ควบคุมคาร์ไฮเดรต แม้คาร์โบไฮเดตรจะมีหน้าที่ให้พลังงาน แต่หากรับประทานมากก็อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้ ดังนั้น ควรเลือกคาร์โบไฮเดรตที่มาในรูปแบบธรรมชาติ เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวโพด ลูกเดือย ขนมปังโฮลวีท
- ควบคุมโปรตีน ควรบริโภคโปรตีนประมาณ 12 – 20 ของจำนวนการบริโภคแคลอรีทั้งหมดต่อวัน ควรเลือกรับประทานเนื้อสัตว์จำพวกปลา และผลิตภัณฑ์จากนมแบบไขมันต่ำหรือไม่มีไขมัน
- ควบคุมโซเดียม ควรลดปริมาณการบริโภคเกลือในมื้ออาหาร ไม่เติมเกลือ หรือน้ำปลาเพิ่มในอาหาร และไม่ควรรับประทานอาหารที่ผ่านการแปรรูป เช่น อาหารกระป๋อง ผักดอง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น
อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
โรคเบาหวาน เป็นโรคที่มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากมีอินซูลินน้อย หรือร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ทำให้ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ตามปกติ มีอาการปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย น้ำหนักลด ผลในระยะยาวทำให้เกิดโรคเบาหวานข้นตา เบาหวานลงไต โรคหัวใจและหลอดเลือดตีบแข็งและอื่นๆ
จุดมุ่งหมายในการควบคุมอาหาร
- เพื่อควบคุมระดับน้ำตาล ไขมันในเลือด และความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ หรือใกล้เคียงในระดับปกติมากที่สุด
- ได้รับสารอาหารและพลังงานเพียงพอแต่ไม่เกินความต้องการของร่างกาย
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
- ป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน
- มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถประกอบอาชีพในสังคมได้ตามปกติ
สามารถแบ่งอาหารได้เป็น 3 ประเภทง่ายๆ คือ
- อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เป็นอาหารที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่
- อาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ เช่น เค้ก คุกกี้ ไอศกรีม ขนมหวาน และช็อกโกแลต
- เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม นมเปรี้ยว นมปรุงแต่งรส น้ำผลไม้ เครื่องดื่มชูกำลัง และน้ำเกลือแร่
- ผลไม้เชื่อม ผลไม้ตากแห้ง น้ำผึ้ง และลูกอม ถ้าต้องการบริโภคอาหารที่มีรสหวาน สามารถใช้น้ำตาลเทียมได้
- อาหารที่รับประทานได้แต่ควรกำหนดปริมาณ
- อาหารประเภทแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เช่น ข้าว ขนมปัง เผือก มัน ข้าวโพด ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ วุ้นเส้น ขนมจีน และถั่วต่างๆ อาหารกลุ่มนี้เมื่อรับประทานเข้าไป จะถูกย่อยสลายเป็นน้ำตาล และดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน แต่ถ้าเกินความต้องการจะทำให้น้ำตาลและไขมันในเลือดสูง และตามมาด้วยโรคอ้วนได้ จึงต้องจำกัดปริมาณ แนะนำให้รับประทาน 6-11 ส่วนต่อวัน แป้ง 1 ส่วน ได้แก่ ข้าวสวย 1 ทัพพี หรือข้าวเหนียว 3 ช้อนโต๊ะ ขนมจีน/ก๋วยเตี๋ยว/วุ้นเส้นครึ่งถ้วยตวง ขนมปังปอนด์ 1 แผ่น บะหมี่ 1 ก้อน มัน/เผือก/ฟักทองครึ่งถ้วยตวง
- อาหารประเภทโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ นม ผลิตภัณฑ์จากนม (เนย ชีส) เต้าหู้ และถั่วเมล็ดแห้ง ร่างกายจำเป็นต้องใช้โปรตีน ในการเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ แต่ถ้ารับประทานโปรตีนมากเกินไป ไตต้องทำงานหนักเพิ่มมากขึ้นในการขับของเสียจากการย่อยสลายโปรตีน ทำให้ไตทำงานบกพร่องได้ และเนื้อสัตว์หลายชนิดมีไขมัน และมีคอเลสเตอรอลสูง ดังนั้นจึงควรรับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง และรับประทานโปรตีนวันละ 3-5 ส่วนต่อวัน ได้แก่ เนื้อสัตว์ 2 ช้อนโต๊ะ (เนื้อล้วน) ปลาทูขนาดเล็ก 1 ตัว กุ้งขนาดกลาง 6 ตัว ลูกชิ้น 6 ลูก เต้าหู้แข็งคร่งแผ่น เต้าหูหลอด 3/4 หลอด ไข่ 1 ฟอง ถั่วเมล็ดแห้งสุกครึ่งถ้วยตวง
- อาหารไขมัน ได้แก่ ไขมันสัตว์ หนังสัตว์ติดมัน น้ำมันพืช เนย มาการีน (เนยเทียม) และกะทิ นอกจากจะให้พลังงานและช่วยในการดูดซึมวิตามินแล้วยังทำให้อาหารมีรสชาติมากขึ้น แต่ถ้ารับประทานมากเกินจะทำให้ไขมันในเลือดสูง นำมาซึ่งโรคอ้วน โรคหัวใจ และหลอดเลือดแดงตีบแข็งได้ แนะนำให้หลีกเลี่ยงไขมันสัตว์ กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม และใช้น้ำมันพืช ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวต่ำทดแทน เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันข้าวโพด น้ำมันมะกอก และจำกัดปริมาณ 3-5 ส่วนต่อวัน ไขมัน 1 ส่วน ได้แก่ น้ำมัน/เนย/เนยเทียม/มายองเนส 1 ช้องชา กะทิ 1 ช้อนโต๊ะ ถั่วลิสง 10 เมล็ด เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 6 เมล็ด
- ผลไม้ นอกจากจะมีวิตามิน เกลือแร่และกากใยอาหารสูงแล้วยังมีน้ำตาลด้วยจึงต้องจำกัดปริมาณที่รับประทานไม่เกิน 3 ส่วนต่อวัน และเป็นผลไม้สด ไม่เชื่อม หมัก ดอง หรือมีเครื่องจิ้ม กล้วยน้ำว้า/กล้วยไข่ 1 ลูก กล้วยหอม 1/2 ลูก ส้มเขียวหวาน 1 ลูก เงาะ/มังคุด 3 ผล ชมพู่ 2 ผล องุ่น 10 ผล มะม่วง/ฝรั่งครึ่งผล ส้มโอ 3 กลีบ มะละกอสุก 7-8 คำ แอปเปิ้ล/สาลี่ ครึ่งลูก แตงดม 10 คำ สับปะรด 10 คำ
- นมและผลิตภัณฑ์ ควรดื่มนมจืดพร่องไขมัน ที่ไม่ปรุงแต่งรสวันละ 1-2 แก้ว หรือเป็นแหล่งของโปรตีน และแคลเซียม โยเกิร์ตไม่ปรุงแต่งรสพร่องไขมัน ไม่เกิน 1 ถ้วยตวงต่อวัน
- แอลกอฮอล์ บางชนิดมีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตมาก เช่น เบียร์ ไวน์ เหล้าหวาน อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ถ้าดื่มแอลกอฮอล์ในขณะท้องว่าง อาจทำให้น้ำตาลในเลือกต่ำได้ เนื่องจากแอลกอฮอล์ไปยับยั้งการสร้างกลูโคสจากตับ นอกจากนี้ถ้าดื่มมากเกินจะทำให้ไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะไขมันไตรกลีเซอไรด์
- เกลือ จะทำให้ความดันโลหิตสูง เพราะเกลือทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำไว้มากขึ้น แนะนำรับประทานไม่เกิน 2000 มิลลิกรัม/วัน (เกลือ 1 ช้อนชา, น้ำปลา 4 ช้อนชา) นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบ เช่น อาหารหมักดอง บะหมี่สำเร็จรูป โจ๊กบรรจุซอง และขนมอบกรอบต่างๆ
- อาหารที่รับประทานได้ไม่จำกัด เป็นอาหารที่ให้พลังงานต่ำมีกากใยมาก ได้แก่
- ผักใบเขียวทุกชนิด
- เครื่องเทศต่างๆ เช่น กระเทียมพริกไทย
- ชา กาแฟ ที่ไม่ใส่น้ำตาล น้ำอัดลมที่ไม่มีน้ำตาล (แต่ไม่ควรเกิน 2 แก้วต่อวัน)
- เครื่องปรุง เช่น มะนาว น้ำส้มสายชู
- ถ้าผู้ป่วยเบาหวานอ้วน แนะนำให้ลดน้ำหนัก โดยลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และอาหารไขมันลง อาจเพิ่มโปรตีนและผักเพื่อให้อิ่ม
- แนะนำให้งดสูบบุหรี่ในผู้ป่วยเบาหวานทุกรายเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน ทั้งในหัวใจ สองและหลอดเลือดส่วนปลาย
- ถ้ามีเบาหวานลงไตต้องจำกัดปริมาณโปรตีน และลดการบริโภคเกลือลง
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และปริมาณใกล้เคียงกันในแต่ละวัน เพื่อจะได้ควบคุมน้ำตาลในเลือดในคงที่
หมายเหตุ
เลือกอาหารที่ใช่ ให้เหมาะกับคนไข้โรคเบาหวาน
หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนเรามีโรคภัยมารุมล้อม นั่นคือ การไม่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องการรับประทาน “อาหาร” เพราะเรามักจะเลือกของอร่อยมากกว่าของที่มีประโยชน์
โรคเบาหวาน คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ “อาหาร” จึงมีผลต่อความรุนแรงของโรค เพราะทุกอย่างที่รับประทานเข้าไปนั้นจะส่งผลโดยตรงต่อระดับน้ำตาลในเลือด
เช็กก่อน…คุณเป็นโรคเบาหวานหรือเปล่า?
การเลือกอาหารให้เหมาะกับร่างกาย เราต้องรู้ก่อนว่าเรามีโรคใดๆ แฝงอยู่หรือเปล่า นอกจากการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่แล้ว เราต้องหมั่นสังเกตตัวเองว่ามีอาการบ่งชี้โรคเบาหวานหรือไม่ร่วมด้วย ซึ่งอาการต่างๆ ที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานมีดังนี้
- หิวบ่อย กินจุ
- น้ำหนักลดลงแบบไม่ทราบสาเหตุ
- คอแห้ง กระหายน้ำบ่อย
- ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะเวลากลางคืนต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำหลายครั้ง
- คันตามผิวหนัง
อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
อาหารสำหรับคนเป็นเบาหวาน ต้องประกอบไปด้วยสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และควรเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นผักและผลไม้ไม่หวาน รวมถึงอาหารที่มีแคลอรีและไขมันต่ำ ส่วนอาหารที่จะเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดต้องเลี่ยงให้ไกล นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงปริมาณและต้องรับประทานอาหารให้เป็นเวลาด้วย เพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสวิงขึ้นลงระหว่างวันมากเกินไป
อาหารดี…ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง
- กลุ่มพืชผักต่างๆ
เช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักกาด มะระ ผักตระกูลถั่ว เป็นต้น กลุ่มผักให้สารอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลน้อย แต่ให้เส้นใยสูง ซึ่งจะช่วยในการขัดขวางการดูดซึมของน้ำตาลและไขมัน - กลุ่มผลไม้
เช่น ฝรั่ง มะละกอ แอปเปิ้ล ส้มเขียวหวาน ส้มโอ ชมพู่ เป็นต้น แต่ควรเลือกผลไม้ที่หวานน้อย และมีเส้นใยมาก
ปริมาณที่เหมาะสมคือ 3–4 ส่วน/วัน
- กลุ่มนม
ควรดื่ม นมรสจืด นมพร่องมันเนย นมขาดมันเนย นมถั่วเหลือง เลือกสูตรไม่มีน้ำตาล
ปริมาณที่เหมาะสมคือ 1–2 แก้ว/วัน (ปริมาณ 250 ซีซี)
- กลุ่มข้าว แป้ง และธัญพืช
ควรรับประทาน ข้าวกล้อง ธัญพืชไม่ขัดสี ขนมปังโฮลวีต
ปริมาณที่เหมาะสมคือ 8–9 ทัพพี/วัน
- กลุ่มเนื้อสัตว์ต่างๆ
ควรรับประทานทาน เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง
ปริมาณที่เหมาะสมคือ 12 ช้อนโต๊ะ/วัน
(ไข่ทั้งฟอง สามารถรับประทานทานได้ ในผู้มีคอเลสเตอรอลในเลือดไม่สูงคือ 2–3ฟอง/วัน)
- กลุ่มไขมัน
ควรรับประทานอาหารที่ปรุงจากน้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด มากกว่าน้ำมันชนิดอื่น
ปริมาณที่เหมาะสมตคือไม่เกิน 6-7 ช้อนชา/วัน
อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยง
- ขนมหวานทุกชนิด
- อาหารทอด อาหารมัน
- เครื่องดื่มที่มีรสหวาน นมหวาน น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำผลไม้ผสมน้ำตาล เครื่องดื่มชูกำลัง รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ผลไม้เชื่อม กวน ดอง แช่อิ่ม ตากแห้ง อบน้ำผึ้ง รวมทั้งผลไม้กระป๋อง
- อาหารหมักดอง อาหารตากแห้ง อาหารรสเค็มจัด อาหารบรรจุกระป๋องหรือถุง เช่น เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ ปลาร้า ผักดอง
แม้ว่าโรคเบาหวานจะเป็นโรคเรื้อรัง แต่ผู้ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ เพียงแค่ใส่ใจ สุขภาพ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญ… ต้องใส่ใจในการเลือกชนิดอาหารและวิธีการปรุง รับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ ในปริมาณที่พอเหมาะ เพียงเท่านี้ “เบาหวาน” ก็ไม่ใช่โรคที่น่าหนักใจอีกต่อไป
เพราะ “อาหารที่ดี” คือยาที่ดีที่สุดสำหรับร่างกายของเรา
อาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
เบาหวานเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่สามารถควบคุมไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆได้เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคตา โรคของระบบประสาท เป็นต้น โดยสามารถควบคุมเบาหวานได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต(Lifestyle modification)
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต ประกอบด้วยการรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการการมีกิจกรรมและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอร่วมกับการนอนหลับให้เพียงพอ ไม่สูบบุหรี่ไม่ดื่มสุรา
หลักการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
อาหารเบาหวานเป็นอาหารปกติสำหรับคนทั่วไปแต่อาจต้องเลือกชนิดของอาหารให้มีคุณภาพและควบคุมปริมาณในการรับประทานที่เหมาะสมเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงหรือต่ำ จนเกินไปซึ่งแต่ละสารอาหารควรมีข้อจำกัดดังนี้
- คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารหลักที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดมากที่สุด
1.1 ข้าว แป้ง ควรรับประทาน ข้าวกล้องหรือข้าวไม่ขัดสี ขนมปังโฮลวีท ถั่วเมล็ดแห้ง ข้าวโอ๊ต ลูกเดือย เนื่องจากมีใยอาหารสูง ช่วยในการชะลอระดับน้ำตาลในเลือดได้
1.2ผัก สามารถรับประทานได้ไม่จำกัดเนื่องจากให้พลังงานต่ำใยอาหารสูง ควรเน้นผักใบเขียวเช่น คะน้า ตำลึง ผักกาดขาว ผักบุ้งแต่อาจมีบางผักบางประเภทที่ควรจำกัดปริมาณการรับประทาน เช่นมันเทศ เผือก ฟักทอง แครอท เพราะมีปริมาณแป้งที่สูงมาก
1.3ผลไม้ สามารถทานได้ในปริมาณที่แตกต่างกัน ขึ้นกับดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index)เช่น แอปเปิ้ล1ผลเล็ก,ส้ม1ผลเล็ก,ฝรั่ง1ผลเล็ก,กล้วยหอม1/2ผล,มะละกอ6-8ชิ้นคำ,แก้วมังกร1/2ผลเป็นต้น ซึ่งในแต่ละวันอาจทานได้2-3ครั้ง/วัน
ทั้งนี้ผู้ที่เป็นเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงน้ำผักผลไม้ เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว - โปรตีน ควรบริโภคเนื้อปลาและหรือเนื้อไก่เป็นหลักโดยการทานปลามากกว่า2ครั้ง/สัปดาห์ จะทำให้ได้รับ โอเมก้า3ซึ่งมีอยู่ในปลาแซลมอน,ทูน่า,ปลาทู,ปลาช่อน เป็นต้นและควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูปต่างๆเช่นไส้กรอก,เบคอน,แฮม,หมูยอ,หมูแผ่น และ หมูหยอง
- โซเดียมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานทีมีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ควรจำกัดปริมาณโซเดียมในแต่ละวันไม่เกิน2,000มิลลิกรัม/วัน
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ มีโซเดียม 1,160-1,420 มิลลิกรัม
ซีอิ้ว 1 ช้อนโต๊ะ มีโซเดียม 960-1,420 มิลลิกรัม
ผงชูรส 1 ช้อนชา มีโซเดียม 497 มิลลิกรัม
เกลือ 1 ช้อนชา มีโซเดียม 2,000 มิลลิกรัม
อาจใช้เครื่องสมุนไพร ในการชูรสอาหารให้มีกลิ่นหอมชวนรับประทานมากขึ้นเช่น ขิง,ข่า,ตะไคร้,ใบมะกรูด(เครื่องต้มยำต่างๆ)
คำแนะนำเพิ่มเติมในการควบคุมน้ำตาลในเลือด
อาจแบ่งอาหารเป็นมื้อที่เล็กลง เพิ่มจำนวนมื้อมากขึ้นแบ่งกระจายระดับน้ำตาลในแต่ละมื้อไม่ให้สูงเกินไป
หากเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ (วิงเวียนศรีษะ หน้ามืด)ให้ทำการเช็คระดับน้ำตาลปลายนิ้ว หากผลที่ได้ต่ำให้ทำการแก้ไขโดยดื่มน้ำผลไม้ 100-150 ml แล้วตรวจช้ำ ถ้าไม่ดีขึ้นให้รีบมาพบแพทย์อีกครั้ง
อาหารผู้ป่วยเบาหวานวางแผนมื้ออาหารลดน้ำตาลในเลือดแบบดีต่อใจ
ที่มา :: https://www.pobpad.com/ , https://www.sikarin.com/ , https://www.nakornthon.com/ , https://www.phyathai.com/ , https://www.sukumvithospital.com/ , https://primocare.com/ ,
โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) สาเหตุ อาการ วิธีรักษา รู้ทันกันได้
ตอบลบสาเหตุการเกิดโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานคือภาวะที่มีระดับน้ำตาลกลูโคสสูงในเลือด ซึ่งเป็นผลจากความบกพร่องในการหลั่ง Insulin จากตับอ่อน ที่ไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอหรือร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยกว่าปกติ หรือทั้ง 2 อย่างร่วมกัน จึงไม่สามารถเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตได้อย่างเหมาะสม
ถ้าร่างกายผลิตอินซูลินไม่พอหรืออินซูลินทำงานได้ไม่เต็มที่ น้ำตาลจะเข้าไปในเซลล์ไม่ได้จึงส่งผลให้เลือดมีน้ำตาลสูง เป็นโรคที่พบบ่อย 10.2% ของประชากรอายุ > 35 ปี
เช็คอาการของโรคเบื้องต้นด้วยตัวเอง
ดื่มน้ำบ่อย
ปัสสาวะบ่อยกลางคืน
ตามัว
เพลีย
น้ำหนักตัวลดลงโดยอธิบายไม่ได้ด้วยเหตุอื่น
โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
ชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน
เกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอ บางรายสร้างไม่ได้เลย พบในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี อาการที่เกิดขึ้นจึงรุนแรงกว่า
วิธีรักษาโดยการปลูกถ่ายเซลล์ตับอ่อน ซึ่งต้องติดตามผลวิจัยต่อไป
ชนิดที่ 2 เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
ตับอ่อนของผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่สร้างอินซูลินได้อย่างค่อนข้างมาก แต่ร่างกายตอบสนองอินซูลินได้น้อยกว่าปกติ เกิดภาวะต้านอินซูลิน ประมาณ 90% ของผู้ป่วยเบาหวานเป็นชนิดที่ 2
ช่วงแรกตับอ่อนจะหลั่งอินซูลินมากเพื่อรองรับความต้องการสูงขึ้น แต่แล้วตับย่อยที่ทำงานหนักจะไม่สามารถหลั่งอินซูลินได้เพียงพอ เพื่อสนองกับน้ำตาลสูงๆได้
เริ่มแรก จึงรักษาด้วยการกินยาควบคุมอาหาร ไม่จำเป็นต่อใช้อินซูลิน ยกเว้นในรายที่ควบคุมอาหารได้ยาก น้ำตาลขึ้นลงเร็วหรือน้ำตาลสูงมาก จึงต้องฉีดอินซูลินเป็นบางครั้ง เมื่อใดที่ตับอ่อนสร้างอินซูลินไม่ได้ จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน
เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่หายขาด ซึ่งการใช้ยารักษาเพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถควบคุมเบาหวานได้ ดังนั้น การควบคุมอาหารและการรู้จักเลือกกินอาหารที่เหมาะสม ในปริมาณที่ถูกสัดส่วนกับความต้องการของร่างกาย จึงเป็นอีกวิธีที่เป็นการรักษาาและป้องกันโรคเบาหวาน
กลุ่มเสี่ยง
อ้วน
อายุมากกว่า 40 ปี
มีภาวะความดันโลหิตสูง
เมื่อทดสอบความทนต่อน้ำตาล (กลูโคส) ด้วยการดื่มกลูโคส 75 กรัมแล้วพบว่าระดับน้ำตาลในเลือด 2 ชั่วโมงหลังดื่มกลูโคสอยู่ในช่วง 140-199มก./ดล.
มีไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงและระดับคอเลสเตอรอลที่ดี (HDL-C) ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ
มีระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร 8 ชั่วโมงอยู่ระหว่าง 100-125 มก./ดล.
มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
ข้อบ่งชี้ในการตรวจหาโรคเบาหวานในบุคคลที่ไม่ทราบว่าเป็นโรคเบาหวานมาก่อนและไม่มีอาการผิดปกติ
อายุมากกว่า 45 ปี ถ้าหากผลตรวจปกติควรตรวจซ้ำทุก 3 ปี
ผู้ที่ควรได้รับการตรวจก่อนอายุ 45 ปี หรือ ต้องมีการตรวจซ้ำเป็นระยะถี่ขึ้น ได้แก่ผู้ที่มีปัจจัย ดังต่อไปนี้
ดัชนีมวลกาย > 25 ( คำนวณจาก {น้ำหนัก(kg) / ส่วนสูง2(เมตร)} )
ประวัติโรคเบาหวานในญาติ เช่น มี พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นเบาหวาน
ประวัติคลอดบุตรน้ำหนัก มากกว่า 4 กิโลกรัม หรือประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ความดันโลหิตสูง มากกว่า 140/90 mmHg
ไขมันในเลือดผิดปกติ HDL < 35 mg/dl, Triglyceride > 250 mg/dl
เคยพบน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง > 100 mg/dl
ออกกำลังกายน้อย
มีโรคของหลอดเลือด
เป็นโรคถุงน้ำรังไข่ (Polycystic ovarian syndrome)
การวินิจฉัย
เกณฑ์การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานกำหนดว่าระดับต้องเท่ากับหรือมากกว่า 126 มิลิกรัมเปอร์เซนต์ขึ้นไปและถ้าพบในคนที่มีอาการเลยต้องตรวจซ้ำให้แน่อีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น การวิจัยต้องเจาะเลือดตรวจเสมอ สำหรับคนที่ระดับน้ำตาลอยู่ในช่วง 101 ถึง 125 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ ถือว่าผิดปกติ แต่ยังไม่เป็นเบาหวาน มีโอกาส ที่จะเกิดเบาหวานได้สูง และมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดขนาดใหญ่ได้
งดอาหารหรือเครื่องดื่มที่มี Calories เป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง แล้วเจาะระดับน้ำตาลในเลือด ได้ > 126 mg/dl
มีอาการของโรคเบาหวาน ร่วมกับผลน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ของวันโดยไม่คำนึงถึงเวลาที่รับประทานอาหารมื้อสุดท้าย ได้ > 200 mg/dl HbA1c คือ ค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในเลือด ในระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป้าหมายในการรักษาคือ ควบคุมให้ระดับ HbA1c < 6.5 หรือ 7 (แล้วแต่ประเภทของผู้ป่วย)
ค่านี้มีประโยชน์เนื่องจากมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ควบคุมอาหารอย่างดีเพียง 1-2 วันก่อนวันก่อนพบแพทย์ ซึ่งอาจทำให้ระดับน้ำตาลที่ตรวจพบดี แต่ความเป็นจริงคือ 2-3 เดือนที่ผ่านมามิได้ควบคุมตนเอง ซึ่งค่า HbA1c จะสูงฟ้องให้เห็นทำให้แพทย์สามารถเห็นค่าน้ำตาลที่แท้จริงได้ และหากค่า HbA1c ยิ่งสูงจะเพิ่มอัตราเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง (หรืออันตรายภัยเงียบจากเบาหวาน)
ตอบลบเบาหวาน มักจะพบในคนที่อ้วน มีญาติหรือบรรพบุรุษเป็นเบาหวานมักจะมีความดันโลหิตสูง และมีไขมันในเลือดที่ผิดปกติร่วมด้วย สองโรคหลังนี้จะมีส่วนช่วยเร่งให้เกิดโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดขนาดใหญ่ได้เร็วขึ้น ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลต่อหลอดเลือดแดงในร่างกาย ทำให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมเร็วขึ้น นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดตามมาในอนาคต จึงต้องรักษาอย่างเข้มงวด ไปพร้อมๆ กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดที่ผิดปกติ มักพบร่วมกับโรคเบาหวาน เป็นตัวเร่งให้เกิดโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดขนาดใหญ่
หลอดเลือดหัวใจ : ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย
หลอดเลือดสมอง : ทำให้เกิดภาวะอัมพาต อัมพฤกษ์
หลอดเลือดส่วนปลายที่ขา : ทำให้เลือดไปเลี้ยงขาไม่เพียงพอ มีอาการปวดน่องเวลาเดิน และอาจทำให้เกิดแผลที่เท้าเนื่องจากการขาดเลือดไปเลี้ยง
จอประสาทตา : ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจจอประสาทตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และหากพบความผิดปกติ สามารถรักษาได้โดยการ laser เพื่อป้องกันระดับสายตาเสื่อมลงและตาบอด อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องเบาหวานขึ้นตา
ไต : ขั้นแรกจะตรวจพบ protein รั่วออกมาในปัสสาวะ และหากไม่ระวังดูแลให้ดีอาจทำให้เกิดภาวะไตวายในอนาคตได้
เส้นประสาท : อาการที่พบบ่อยคือ มีอาการชา หรือ ปวดแสบปวดร้อน หรือ ปวดรุนแรง หรือ รู้สึกชาแบบเหน็บชา หรือเหมือนถูกแทง โดยมักมีอาการที่ปลายเท้า และ ปลายมือก่อน
หากเราไม่อยากให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานดังกล่าว เราจึงควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีตั้งแต่แรกวินิจฉัย รวมทั้งตรวจหาและรักษาปัจจัยเสี่ยงที่พบร่วม อันได้แก่ ความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง
การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ควบคุมอาหาร โดยลด ข้าว แป้ง น้ำตาล และเครื่องดื่นที่มีน้ำตาลโดยเฉพาะ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ และนมเปรี้ยว
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 30-60 นาทีต่อครั้ง 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์
งดสูบบุหรี่
รับประทานยาหรือฉีดยาตามแพทย์แนะนำ
รักษาปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่พบร่วม ได้แก่ ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง
หากมีอาการผิดปกติ เช่น อาเจียนมาก รับประทานอาหารไม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์เนื่องจากระดับน้ำตาลจะแกว่งสูงหรือต่ำได้มาก
โรคเบาหวาน
ตอบลบโรคเบาหวาน (Diabetes) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินสุลิน (Insulin) ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดไปใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้มีปริมาณน้ำตาล
โรคเบาหวานคืออะไร
โรคเบาหวาน (Diabetes) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินสุลิน (Insulin) ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจำเป็นต้องมีอินสุลิน เพื่อนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะสมองและกล้ามเนื้อ ในภาวะที่อินสุลินมีความผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของปริมาณอินสุลินในร่างกาย หรือการที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายตอบสนองต่ออินสุลินลดลง (หรือที่เรียกว่า ภาวะดื้ออินสุลิน) จะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดไปใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้มีปริมาณน้ำตาลคงเหลือในกระแสเลือดมากกว่าปกติ
สาเหตุของโรคเบาหวานเกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงมากขึ้นถึงระดับหนึ่ง จนทำให้ไตดูดกลับน้ำตาลได้ไม่หมด ซึ่งปกติไตจะมีหน้าที่ดูดกลับน้ำตาลจากสารที่ถูกกรองจากหน่วยไตไปใช้ ส่งผลให้มีน้ำตาลรั่วออกมากับปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของคำว่า “โรคเบาหวาน” หากเราปล่อยให้เกิดภาวะเช่นนี้ไปนาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงตามมาในที่สุด
ชนิดของโรคเบาหวาน
เบาหวานชนิดที่ 1 – เกิดจากภูมิคุ้มกันร่างกายทำลายเซลล์สร้างอินสุลินในตับอ่อน ทำให้เกิดภาวะขาดอินสุลิน
เบาหวานชนิดที่ 2 – เกิดจากภาวะการลดลงของการสร้างอินสุลิน ร่วมกับภาวะดื้ออินสุลิน และมักเป็นกรรมพันธุ์
เบาหวานชนิดพิเศษ – สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดนี้อาจเกิดจากความความผิดปกติของตับอ่อน หรือเป็นโรคที่เกี่ยวกับการทำงานที่ผิดปกติของอินสุลินโดยกำเนิด
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ – เบาหวานชนิดนี้เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์และหายไปได้หลังคลอดบุตร แต่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคต
อาการของโรคเบาหวาน
เบาหวานที่พบได้บ่อยที่สุด คือเบาหวานชนิดที่ 2 สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดนี้เกิดจากกรรมพันธุ์และการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหารประเภทแป้ง ของหวานมากเกินไป ภาวะน้ำหนักเกิน อ้วนลงพุง การขยับร่างกายที่น้อยลง ไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น
เบาหวานชนิดนี้ มักเกิดในกลุ่มคนที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม โรคเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่าเกิดในกลุ่มคนที่มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ เช่น อายุ 20 - 30 ปี ซึ่งสัมพัทธ์กับการรับประทานอาหารที่เป็นแป้ง ของหวาน หรือการออกกำลังกายที่ลดลง และ โรคอ้วน ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่อายุยังน้อย มีโอกาสจะควบคุมอาการโรคได้ยากกว่า เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายกว่า และมักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงในช่วงอายุที่น้อยกว่า
ดังนั้น การควบคุมเบาหวานให้อยู่ในระดับที่ปกติ จึงมีความสำคัญอย่างมากรวมถึงการค้นหาโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันและการรักษาโรคเบาหวานได้อย่างทันท่วงที จะส่งผลให้ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานระยะยาวได้
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
เมื่อมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติเป็นระยะเวลานาน น้ำตาลที่สูงจะส่งผลโดยตรงต่อหลอดเลือดทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ โดยทำให้เกิดภาวะอักเสบ และภาวะหลอดเลือดอุดตันได้ง่ายกว่าคนปกติ นอกจากนี้ยังส่งผลต่อภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง ทำให้น้ำตาลส่วนเกินไปเกาะกับเม็ดเลือดขาวที่ใช้ต่อสู้กับเชื้อโรค ทำให้เม็ดเลือดขาวมีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆได้ลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย
ภาวะแทรกซ้อนหลัก ๆ ที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวาน
ตอบลบภาวะแทรกซ้อนทางตา
ภาวะแทรกซ้อนทางตาหรือที่เรียกกันว่า ภาวะเบาหวานขึ้นตา ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังส่งผลต่อจอประสาทตาทำให้เกิดจอประสาทเสื่อม หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดจอประสาทตาลอก และตาบอดได้ในที่สุด นอกจากนี้ผู้ป่วยเบาหวานยังเสี่ยงต่อภาวะต้อกระจก ต้อหินได้มากกว่าคนปกติอีกด้วย
ภาวะแทรกซ้อนทางไต
ภาวะแทรกซ้อนทางไต หรือที่เรียกกันว่า ภาวะเบาหวานลงไต ในระยะเริ่มแรก ไตจะมีการทำงานที่หนักขึ้น เนื่องจากน้ำตาลในเลือดที่สูง ส่งผลให้มีแรงดันเลือดไปที่ไตสูงตามไปด้วย หากตรวจการทำงานของไตในระยะนี้ จะไม่พบความผิดปกติ การตรวจปัสสาวะอาจมีหรือยังไม่มีโปรตีนไข่ขาว (อัลบูมิน) รั่วออกมากับปัสสาวะ ระยะถัดมาจะเริ่มพบมีโปรตีนไข่ขาวรั่วออกมากับปัสสาวะ และอาจมีการทำงานของไตที่ลดลงเล็กน้อย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี การทำงานของไตจะลดลงเรื่อยๆ และอาจดำเนินไปถึงภาวะไตวายเรื้อรังจนต้องทำการล้างไตในที่สุด
ภาวะแทรกซ้อนทางเส้นประสาท
ภาวะนี้เป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุด คือผู้ป่วยมักมีอาการชาปลายมือปลายเท้า เหมือนใส่ถุงมือหรือถุงเท้าอยู่ตลอดเวลา บางคนอาจมีอาการเจ็บแปลบเหมือนโดนเข็มแหลม ๆ ทิ่ม บางคนมีอาการแสบร้อนบริเวณปลายมือเท้า อาการทางระบบประสาทที่พบได้แต่ไม่บ่อย เช่น เหงื่อไม่ออกหรือออกง่ายกว่าปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ กลืนสำลัก ท้องอืดง่าย จุกแน่นลิ้นปี่ ซึ่งเป็นอาการของระบบประสาทที่ควบคุมการบีบเคลื่อนตัวของทางเดินอาหารผิดปกติ
เส้นเลือดแดงใหญ่อุดตัน
อาการเส้นเลือดแดงใหญ่อุดตันมักเกิดขึ้นโดยเฉพาะบริเวณขา อาการที่พบได้บ่อยคือ มีอาการปวดขามากเมื่อเดินหรือวิ่ง และดีขึ้นเมื่อพักหรือห้อยขาลงที่ต่ำ ปลายเท้าเย็น ขนขาร่วง ผิวหนังบริเวณขาเงามัน ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดอุดตันจนปลายเท้าขาดเลือด ติดเชื้อ และอาจต้องตัดนิ้วเท้า หรือขาทิ้งในที่สุด
เส้นเลือดหัวใจตีบ
ภาวะนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง โดยเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือหากตีบรุนแรงอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย ส่งผลให้การบีบตัวของหัวใจลดลง เกิดหัวใจวาย ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และเสียชีวิตเฉียบพลันได้
เส้นเลือดสมองตีบ
อาการเส้นเลือดสมองตีบเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงเช่นกัน เมื่อเกิดภาวะเส้นเลือดสมองตีบ ทำให้การทำงานของสมองและเส้นประสาทบริเวณที่ขาดเลือดลดลงหรือไม่ทำงาน ส่งผลให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หรือมีอาการชาครึ่งซีก
จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน
นอกจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานมีอาการที่รุนแรง และก่อให้เกิดภาวะทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตได้ แต่หากเราทราบสาเหตุของโรคเบาหวานและทำการตรวจวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่ระยะแรก และผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ก็สามารถลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวได้มาก
ผู้ป่วยเบาหวานจะมีอาการแสดงที่หลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการผิดปกติอะไรเลย ไปจนถึงภาวะช็อกน้ำตาล อย่างไรก็ตาม อาการที่เราสามารถสังเกตได้ เช่น เหนื่อยง่ายกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย โดยเฉพาะปัสสาวะตอนกลางคืน ซึ่งอาจมากเกิน 3 ครั้ง/คืน น้ำหนักลดฮวบฮาบโดยไม่ทราบสาเหตุ ปลายมือปลายเท้าชา แสบร้อน หรือรู้สึกคล้ายเข็มแหลมๆทิ่ม แผลเรื้อรัง หายช้า เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ตามัวลง มองไม่ชัดเท่าปกติ หรือในคนสายตาสั้นอาจมองเห็นชัดขึ้น
บุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ได้แก่ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน โดยกำหนดที่ดัชนีมวลกาย ≥ 23 kg/m2 ผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง รอบเอวใหญ่ โดยเฉพาะในผู้ชาย ≥ 90 เซนติเมตร และในผู้หญิง ≥ 80 เซนติเมตร ผู้ที่มีญาติสายตรงป่วยเป็นโรคเบาหวาน ผู้หญิงที่เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือเคยคลอดบุตรที่มีน้ำหนักแรกคลอด 4 กิโลกรัมขึ้นไป รวมถึงชาวเอเชียที่อาจไม่มีปัจจัยเสี่ยงข้างต้นแต่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน
การวินิจฉัยโรคเบาหวาน
ปัจจุบันการวินิจฉัยโรคเบาหวานมีทั้งหมด 4 วิธี แต่ที่แพร่หลายและแม่นยำในประเทศไทย มี 3 วิธี ได้แก่
น้ำตาลในเลือดหลังงดอาหารที่มีพลังงานเป็นเวลา 8-12 ชั่วโมง เกิน 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป อย่างน้อย 2 ครั้ง
น้ำตาลในเลือดหลังกลืนน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม เป็นเวลา 2 ชั่วโมง เกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป
น้ำตาลในเลือดแบบสุ่มโดยไม่ได้งดอาหารที่ให้พลังงาน เกิน 200 มิลลกรัมต่อเดซิลิตร ร่วมกับมีอาการที่เข้าได้กับโรคเบาหวานเช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย เป็นต้น
การรักษาโรคเบาหวาน
ตอบลบการรักษาโรคเบาหวาน เป็นการรักษาที่ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากแพทย์ พยาบาล โภชนากร และ ที่สำคัญที่สุดคือตัวผู้ป่วยเอง ผู้ป่วยต้องตระหนักถึงความสำคัญของการรักษา โดยต้องเข้าใจก่อนว่า โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่ใกล้เคียงปกติที่สุดได้ ผู้ป่วยเบาหวานสามารถใช้ชีวิตประจำวันและทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงทำงานประจำได้ตามปกติหากแต่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติโดยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นได้มาก
การควบคุมอาหาร
การรักษาโรคเบาหวานด้วยวิธีการควบคุมอาหารมีความสำคัญมากในการลดระดับน้ำตาลในเลือด และถือเป็นการรักษาหลักที่ผู้ป่วยเบาหวานทุกรายควรเข้าใจและปฏิบัติอย่างถูกต้อง โดยอาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับประทานได้อย่างไม่จำกัดจำนวนได้แก่ ผักใบเขียวทุกชนิด เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ขาว เป็นต้น อาหารบางชนิดที่สามารถรับประทานได้ในปริมาณจำกัด เช่น ผลไม้ แนะนำให้รับประทานผลไม้ชนิดหวานน้อย เช่นฝรั่ง ชมพู่ แก้วมังกร เป็นต้น
การออกกำลังกาย
สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานการออกกำลังกายก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาโรคเบาหวานที่สำคัญ เนื่องจากจะช่วยให้อินสุลินทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนะนำว่าควรออกกำลังกายชนิดแอโรบิค เช่น วิ่งเหยาะๆ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ให้ได้อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ และออกกำลังกายชนิดต้านน้ำหนัก เช่น การยกเวท เป็นเวลาอย่างน้อย 45 นาทีต่อวัน 2 วันต่อสัปดาห์ และไม่ควรนั่งอยู่เฉย ๆ หรือนอนเล่นพักผ่อนเกิน 90 นาที หากเกินควรลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบท
การใช้ยา
การรักษาโรคเบาหวานโดยการใช้ยา แพทย์จะพิจารณาจากชนิดของโรคเบาหวาน เช่น เบาหวานชนิดที่ 1 ควรรักษาโดยการฉีดอินสุลินเท่านั้น ส่วนในเบาหวานชนิดที่ 2 แพทย์จะพิจารณาตามความรุนแรงของโรคและภาวะแทรกซ้อน โอกาสการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ และเศรษฐานะของผู้ป่วยเพื่อประกอบการพิจารณาในการเลือกใช้ยา
โรคเบาหวานป้องกันได้หรือไม่
ในปัจจุบันยังไม่สามารถป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้ แต่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นสามารถป้องกันได้แล้ว มีการศึกษาหลายการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การนำผู้ที่มีภาวะเสี่ยงที่จะเกิดเบาหวานมาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด จนมีน้ำหนักตัวที่ลดลงอย่างน้อย 7-10% ของน้ำหนักตัวเดิม สามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานลงได้อย่างมีนัยสำคัญ
โรคเบาหวานสามารถหายขาดได้หรือไม่
ในอดีตความสามารถในการรักษาโรคเบาหวานมีเพียงการควบคุม และการลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานเท่านั้น ไม่สามารถรักษาโรคเบาหวานให้หายขาดได้ แต่ในปัจจุบัน ได้มีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง จนพบว่ามีวิธีการรักษาผู้ป่วยเบาหวานให้หายขาดได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมาไม่นาน ได้แก่การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีโรคอ้วนร่วมด้วย พบว่านอกจากจะสามารถลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังสามารถทำให้หายขาดจากโรคเบาหวานได้ในผู้ป่วยบางราย อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดกระเพาะอาหารดังกล่าว ไม่สามารถทำได้ทุกคน และอาจมีผลข้างเคียงจากการผ่าตัดตามมา แพทย์จึงเลือกทำการผ่าตัดในผู้ป่วยบางรายที่มีความจำเป็นเท่านั้น
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง และพบอุบัติการณ์การเกิดโรคเพิ่มขึ้นทุกวัน แม้จะเป็นโรคที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้มากมาย แต่ก็เป็นโรคที่สามารถควบคุมได้ หากผู้ป่วยทำความเข้าใจกับตัวโรค และให้ความร่วมมือในการรักษา ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีใกล้เคียงกับคนปกติได้
โรคเบาหวาน สังเกตอาการ สาเหตุที่เกิดโรคเบาหวาน
ตอบลบโรคเบาหวาน (Diabetes)
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายระบบ ทั้ง ฟันและเหงือก ตา ไต หัวใจ สมอง และหลอดเลือดแดง รวมทั้งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต,เศรษฐสังคม (socioeconomic effect) โดยมีการคาดการจาก International diabetes Federationว่าจะมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 366 ล้านคน ในปีค.ศ.2011 เป็น 552 ล้านคน ในปีค.ศ. 2030 สำหรับประเทศไทย พบผู้ป่วยเบาหวาน 3.5 ล้านคนและมีมูลค่าการรักษา 47,596 ล้านบาทต่อปี
ดังนั้นทุกคนควรดูแลและป้องกันโรคเบาหวานด้วยการปรับพฤติกรรมการบริโภคและออกกำลังกาย
ในกรณีที่เป็นโรคเบาหวาน การให้ความร่วมมือในการรักษาและติดตามการรักษากับแพทย์เป็นสิ่งสำคัญในการดูแล รักษาโรคเบาหวาน เพื่อที่จะได้ลดภาวะแทรกซ้อนและอยู่กับโรคเบาหวานได้อย่างมีความสุข
โรคเบาหวาน คืออะไร
เป็นกลุ่มโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหารซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน เนื่องจากขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลง ซึ่งมีผลต่อการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย
ฮอร์โมนอินซูลินมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร
อินซูลินเป็นฮอร์โมนสำคัญตัวหนึ่งของร่างกาย เพราะร่างกายคนเรานั้นรับประมานอาหารเข้าไปทุกวัน มีการเปลี่ยนแป้ง , โปรตีนให้เป็นน้ำตาล หากไม่มีอินซูลิน ก็จะส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ และยังทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเช่นกัน อีกทั้งยังทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ อินซูลินสร้างและหลั่งจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ทำหน้าที่เป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต
โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
เบาหวานประเภทที่ 1 พบได้น้อย ประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยเบาหวานไทย ประเภทนี้เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ จึงต้องฉีดอินซูลินอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดอินซูลิน และไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนเกิดไป เพราะอาจหมดสติ และเสียชีวิตได้อย่างเฉียบพลัน มักพบในเด็กและวัยรุ่น
เบาหวานประเภทที่ 2 พบได้มาก ประมาณร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานไทย และส่วนใหญ่จะเป็นในกลุ่มคนอายุ 45 ปีขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินไปใช้ได้อย่างเพียงพอ และร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ประเภทนี้มักไม่อาการอย่างเฉียบพลัน แต่หากขาดการควบคุม ก็สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังที่เป็นอันตรายอย่างเฉียบพลันได้
เบาหวานประเภทที่ 3 เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ (เบาหวานวินิจฉัยระหว่างไตรมาสที่ 2 หรือ 3 ของการตั้งครรภ์ โดยที่ไม่ได้เป็นเบาหวานก่อนหน้า)
เบาหวานประเภทที่ 4 เป็นเบาหวานชนิดที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ความผิดปกติของสารพันธุกรรม monogenic diabetes syndromeหรือ Maturity onset diabetes of the young [MODY], จากยา , โรคของทางตับอ่อน เช่น cystic fibrosis
สาเหตุของการเกิด โรคเบาหวาน
สาเหตุของโรคเบาหวานมีหลายปัจจัยร่วมกันทั้งปัจจัยทางพันธุกรรม (genetic factor) และปัจจัยสิ่งแวดล้อม (environmental factor)
กรรมพันธุ์
น้ำหนักเกิน ความอ้วน ขาดการเคลื่อนไหว ขาดการออกกำลังกาย
อายุที่มากขึ้น มีโอกาสเป็นเบาหวานได้มากขึ้น
โรคของตับอ่อน เช่น ตับอ่อนอักเสบ ได้รับการผ่าตัดตับอ่อน
การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น หัด หัดเยอรมัน คางทูม ซึ่งมีผลต่อตับอ่อน
ความเครียดเรื้อรัง
การได้รับยาบางชนิด ทำให้มีการสร้างน้ำตาลมากขึ้นหรือการตอบสนองของอินซูลินได้ไม่ดี
การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการสร้างฮอร์โมนจากรกหลายชนิด ซึ่งมีผลยับยั้งการทำงานของอินซูลิน
ใครบ้างที่เสี่ยงเป็น โรคเบาหวาน
ตอบลบอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป
มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
เป็นผู้มีน้ำหนักเกิน หรือมีดัชนีมวลกาย(Body mass index; BMI) ตั้งแต่ 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หรือ ตั้งแต่ 23 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ในคนเอเชีย
ความดันโลหิตสูง (ความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท)
สตรีที่มีประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือน้ำหนักบุตรแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
ไม่ออกกำลังกาย (physical inactivity)
ดื่มสุรา
สูบบุหรี่
สตรีที่มีโรคถุงน้ำในรังไข่ (Polycystic ovary syndrome)
เคยตรวจพบ ระดับน้ำตาลสะสม Hemoglobin A1C (Hb A1C) มากกว่าหรือเท่ากับ 5.7 % , ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน (Impaired fasting glucose) คือมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือด 100-125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ไขมันชนิดชนิดเอชดีแอล (HDL) น้อยกว่า 35 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือ ไตรกลีเซอไรด์(TG) มากกว่า 250 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ผู้ป่วยที่มีประวัติประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ, หลอดเลือดสมอง
คุณเป็นโรคเบาหวานหรือไม่
ตรวจว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ ทำได้โดยการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย และ ได้ผลดีโดยอาศัยเกณฑ์การวินิจฉัยดังนี้
ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน
ระดับน้ำตาลในเลือดขณะงดอาหาร (fasting plasma glucose)ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เริ่มผิดปกติ และมีแนวโน้มว่าจะเป็นเบาหวานเต็มขั้น ควรรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อไม่ให้เป็นเบาหวาน
วินิจฉัยเบาหวาน
มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะงดอาหาร (fasting plasma glucose) มากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
มีอาการของโรคเบาหวาน ร่วมกับระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ตาม (Random plasma glucose) มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
มีระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ณ 2 ชั่วโมงภายหลังทดสอบความทนต่อน้ำตาลกลูโคส 75 กรัมที่รับประทานเข้าไป
มีระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) มากกว่าหรือเท่ากับ 6.5 % ขึ้นไป
อาการของ โรคเบาหวาน
ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน
กระหายน้ำ
อ่อนเพลีย และน้ำหนักลด
หิวบ่อย รับประทานเก่งขึ้น
คันตามตัว ติดเชื้อได้ง่าย เป็นเชื้อรา ตกขาวบ่อย
ตาพร่า เห็นภาพไม่ชัด เห็นภาพซ้อน
ปลายมือ ปลายเท้าชาอันเนื่องมาจากปลายประสาทเสื่อม
โรคแทรกซ้อนจาก โรคเบาหวาน
ตา อาจเป็นต้อกระจกก่อนวัย จอตาเสื่อม ทำให้ตามัวลงเรื่อยๆ และอาจทำให้ตาบอดในที่สุด
เท้า ทำให้มีอาการชาปลายมือปลายเท้า เกิดแผลได้ง่ายและ อาจก่อให้เกิดความพิการ
ไต มักจะเสื่อม จนเกิดภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง, โปรตีน (ไข่ขาวรั่วในปัสสาวะ)
เป็นการติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจากภูมิต้านทานต่ำ
ภาวะคีโตซีส(ketosis)ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำมาก หายใจหอบลึก มีไข้ กระวนกระวาย
ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้เป็นความดันโลหิตสูง อัมพาต หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมองตีบ โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย
เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
การรักษา โรคเบาหวาน
ตอบลบโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งยังไม่มีทางรักษาให้ขายขาด การรักษาจึงเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงเกณฑ์ปกติให้มากที่สุด รวมถึงความดันโลหิต ไขมันในเส้นเลือด และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ในการรักษาผู้ป่วยจึงต้องพบแพทย์ตามกำหนด ติดตามอาการเป็นระยะๆ
การรักษาแบบไม่ใช้ยา (non pharmacologic treatment)
การรักษาแบบใช้ยา (pharmacologic treatment)
สิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรปฏิบัติ
เลือกรับประทานอาหารจำพวกแป้งจากธัญพืชที่ไม่ขัดสี ในปริมาณที่พอเหมาะ
พยายามงดอาหารรสจัด ไม่ว่าจะเป็นหวาน มัน หรือเค็ม (โซเดียมน้อยกว่า 1,500-2,000 มิลลิกรัมต่อวัน)
รับประทานผัก และผลไม้ที่ไม่หวานจัดเพื่อเพิ่มกากใยอาหาร
ควบคุมน้ำหนัก
งดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา
ออกกำลังกายเป็นประจำในแบบแอโรบิค (moderate intensity) วันละ 30 นาที 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ตามคำแนะนำของแพทย์ กรณีไม่มีข้อห้าม
ระวังอย่ารับประทานยาใด ๆ เองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะยากลุ่มที่เป็นเสตียรอยด์ ยาฮอร์โมน หมั่นศึกษาหาความรู้ในการดูแลตนเอง
ทำจิตใจให้สงบ และผ่อนคลายความเครียด ไม่โกรธ หรือโมโหง่าย
ดูแลและตรวจเท้าทุกวัน เพื่อสำรวจแผลที่ง่ามนิ้วเท้า ฝ่าเท้า
ดูแลสุขภาพฟัน
ติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
รับประทานยาเพื่อควบคุมความดันโลหิต หรือเบาหวานตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
ผู้ป่วยและผู้ดูแลสังเกตอาการผิดปกติเนื่องจากภาวะน้ำตาลต่ำหรือสูงเกินไป เช่น หน้ามืด ใจสั่น หมดสติ
ภาวะน้ำตาลต่ำ คืออะไร
ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือด น้อยกว่าหรือเท่ากับ 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร กรณีใช้ยา โดยเฉพาะกลุ่มอินซูลิน, ยารับประทานบางกลุ่ม
อาการ: หน้ามืด ใจสั่น หมดสติ แต่ในบางรายอาจจะไม่แสดงอาการได้
วิธีแก้ไขที่บ้าน
รับประทานน้ำตาล (15-20 กรัม) ใช้ในผู้ป่วยที่รู้สึกตัว หลังจากนั้น15 นาทีให้ตรวจเลือดซ้ำ ถ้าระดับน้ำตาลยังต่ำให้รับประทานน้ำตาลซ้ำและเจาะเลือดอีกครั้ง ถ้าระดับน้ำตาลปกติให้ทานอาหารต่อ
กรณีไม่รู้สึกตัว ให้นำส่งโรงพยาบาลทันที
การฉีดกลูคากอน (Glucagon) ใช้ในผู้ที่มีระดับน้ำตาลต่ำแบบรุนแรง (severe hypoglycemia)
การป้องกัน
มีเครื่องตรวจน้ำตาลปลายนิ้วที่บ้าน (self- monitoring blood glucose; SMBG)
สถานการณ์เสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลต่ำ
การเตรียมตัว งดน้ำ งดอาหารมาก่อนเจาะเลือด (fasting for tests)
ระหว่างหรือหลังออกกำลังกายอย่างหนัก
ระหว่างนอนหลับ