Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ข้าวโอ๊ต สรรพคุณและประโยชน์ของข้าวโอ๊ต (Oat)

 ข้าวโอ๊ต สรรพคุณและประโยชน์ของข้าวโอ๊ต (Oat)




สรรพคุณจาก "ข้าวโอ๊ต" มีผลดีต่อผิวอย่างไร ?


ข้าวโอ๊ต ข้าวโอ๊ต ชื่อสามัญ Oat 

ข้าวโอ๊ต ชื่อวิทยาศาสตร์ Avena sativa L. จัดอยู่ในวงศ์หญ้า (POACEAE หรือ GRAMINEAE)



ลักษณะของข้าวโอ๊ต 

เดิมทีแล้วข้าวโอ๊ตเป็นเพียงต้นหญ้าที่ขึ้นแทรกในนาข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์ จึงถูกเก็บเกี่ยวมาด้วยและใช้กินเป็นธัญพืช เมื่อพื้นที่ข้าวสาลีมีความอุดมสมบูรณ์ ข้าวโอ๊ตจึงถูกใช้เป็นอาหารสัตว์ ยกเว้นในดินแดนที่ยากจนและทุรกันดารแถบยุโรปตอนเหนือเท่านั้นที่ยังใช้เป็นอาหารของคน ข้าวโอ๊ตปลูกกันมากเฉพาะในเขตยุโรปตอนเหนือที่อากาศค่อนข้างหนาวและมีแสงแดดน้อย โดยเฉพาะเยอรมันตอนเหนือ กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย และรัสเซีย



ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของข้าวโอ๊ต 

#จากการศึกษาวิจัยเรื่องสารอาหารในข้าวโอ๊ต พบว่า ข้าวโอ๊ตมีสารอาหารและเส้นใยที่ช่วยป้องกันโรคภัยได้หลายชนิด เคยมีผู้ผลิตมันฝรั่งแผ่นทอดผสมกับข้าวโอ๊ตกินทุกวันเพื่อลดไขมันเลวและคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งคนอเมริกันเป็นกันมาก

#การออกฤทธิ์ในการลดระดับคอเลสเตอรอล อธิบายได้ว่า ข้าวโอ๊ตจะออกฤทธิ์โดยการจับกับน้ำดีในทางเดินอาหาร ซึ่งน้ำดีเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างคอเลสเตอรอล เมื่อน้ำดีถูกจับ การสร้างคอเลสเตอรอลจึงลดลง ลักษณะการออกฤทธิ์เช่นนี้จะเหมือนกับยาลดคอเลสเตอรอลที่ชื่อ “คอเลสไทรามีน” (Cholestyramine)
 
#ชาวนาในเนเธอร์แลนด์ที่กินข้าวโอ๊ตถึงวันละ 5 ชาม จะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจและความดันโลหิตสูงต่ำกว่าคนทั่วไป




ประโยชน์ของข้าวโอ๊ต 

1. ฝรั่งหรือชาวตะวันตกยังคงกินข้าวโอ๊ตอย่างสม่ำเสมอมาเนิ่นนานนับพันปี เพราะข้าวโอ๊ตเป็นอาหารหลักที่กินทั้งเมล็ดได้ และจัดเป็นธัญพืชที่สำคัญอันดับต้น ๆ รองจากข้าวสาลี การกินข้าวโอ๊ตนั้นไม่ลำบาก เพราะไม่ต้องบดจนเป็นผงแป้งเหมือนข้าวสาลี ข้าวโอ๊ตที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารส่วนใหญ่จะเป็น flakes หรือ rolled oats ข้าวโอ๊ตมีคุณสมบัติพิเศษที่ให้พลังงานสูง จึงตอบสนองความจำเป็นของคนในเขตหนาวในสมัยก่อน ซึ่งต้องต่อสู้กับความยากลำบากของภูมิอากาศและธรรมชาติ ปัจจุบันกิตติศัพท์เสริมพละกำลังของข้าวโอ๊ตก็ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง

2. ข้าวโอ๊ตเป็นธัญพืชที่มีโปรตีนสูงที่สุดและมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายไม่สามารถผลิตขึ้นเองได้อยู่ถึง 6 ชนิด แป้งในข้าวโอ๊ตเป็นแป้งที่ย่อยง่ายมาก เพราะมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่ช่วยในการย่อย มีไขมันสูงสุดถึง 7% โดยเกือบทั้งหมดจะเป็นไขมันอิ่มตัวเชิงซ้อน นอกจากนี้ยังมีคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม และไฟเบอร์ชนิดที่ไม่ละลายน้ำ ไฟโตเคมิคอล สังกะสี วิตามินซี สารยับยั้งโปรทีเอส กรดนิโคทินิก เป็นต้น

3. ข้าวโอ๊ตอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด โดยคุณค่าทางโภชนาการของข้าวโอ๊ต ต่อ 100 กรัม จะประกอบไปด้วย พลังงาน 389 กิโลแคลอรี, โปรตีน 16.89 กรัม, ไขมัน 6.90 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 66.27 กรัม, ไฟเบอร์ 10.6 กรัม, น้ำ 8.22 กรัม, วิตามินบี1 0.763 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.139 มิลลิกรัม, วิตามินบี3 0.961 มิลลิกรัม, วิตามินบี6 0.119 มิลลิกรัม, วิตามินบี9 56 ไมโครกรัม, วิตามินซี 0 มิลลิกรัม, แคลเซียม 54 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 4.72 มิลลิกรัม, แมกนีเซียม 177 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 523 มิลลิกรัม, โพแทสเซียม 429 มิลลิกรัม, โซเดียม 2 มิลลิกรัม, สังกะสี 3.97 มิลลิกรัม (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database) 

4. การนำข้าวโอ๊ตมาใช้ประโยชน์มีรูปแบบต่าง ๆ ข้าวโอ๊ตทั้งเมล็ด อบ ตากแห้ง ทับให้แบนเป็นโรลโอ๊ตที่เห็นวางขายทั่วไป สามารถนำมากินผสมกับนมได้เลย หรือจะนำไปผสมทำมูสลี่ เอาไปใส่ขนมอบต่าง ๆ ทำคุกกี้ มัฟฟิน ขนมปัง ครัมเบิลใส่ลูกเบอร์รี บิสกิตต่าง ๆ ได้หมด หรือนำมาประยุกต์เอาไปทำข้าวโอ๊ตต้มใส่หมูสับก็ได้เช่นกัน หรือนำข้าวโอ๊ตไปเข้าไมโครเวฟ บดให้นุ่ม ต้มทำข้าวต้มหรือโจ๊กก็อร่อยไปอีกแบบ ส่วนโอ๊ตมิล คือ ข้าวโอ๊ตที่บดหยาบในระดับหนึ่ง เป็นอาหารข้าวยอดนิยมของชาวอังกฤษที่เติมนม น้ำตาลเล็กน้อยให้พอหอมหวาน เด็ก ๆ ชอบกินกัน ส่วนชาวสกอตเอาไปทำแฮกกิสหรือเครื่องในต้มทำซุปให้ข้นเหนียวก็ได้ แต่ถ้าเป็นโอ๊ตแผ่นที่บางลงมาอีกก็นำไปทำขนมกรุบกรอบ ขนมปัง แพนเค้ก โรยหน้าเข้าไป หรือใช้โรยหน้าในผักสลัดก็ได้ เบียร์ต้นตำรับดั้งเดิมของชาวสกอตแลนด์ก็หมักจากข้าวโอ๊ตผสมกับสมุนไพรต้นเวิร์ต (Wort) ซึ่งมีรสชาติและกลิ่นเฉพาะตัว และเมื่อเวลาผ่านไป เครื่องดื่มข้าวโอ๊ตผสมกับนม ใส่น้ำตาลชนิดแช่เย็น ก็นิยมนำมาดื่มแก้ร้อนดับกระหาย จนกลายเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมในแถบลาตินอเมริกา ซึ่งอาจเป็นเพราะข้าวโอ๊ตมีกลิ่นหอมที่เข้ากันดีกับนมและเนยก็เป็นได้

5. ข้าวโอ๊ตช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย นักวิจัยจากประเทศอิตาลีได้พบว่า เบต้า-กลูแคนที่มีอยู่ในข้าวโอ๊ต สามารถช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกายในการต่อสู้กับแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส และปรสิตได้เป็นอย่างดี 

6. ข้าวโอ๊ตช่วยลดความโลหิต หากต้องการลดความดันโลหิต คุณควรรับประทานข้าวโอ๊ต 75 กรัม หรือประมาณ 5 ช้อนโต๊ะ แต่ที่ง่ายกว่าก็คือ ให้รับประทานข้าวโอ๊ตต้ม (ชามขนาดกลางถึงขนาดใหญ่) ทุกวัน เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพให้ใช้ข้าวโอ๊ต 2 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 30 กรัม สำหรับข้าวโอ๊ตต้มชามขนาดกลาง

7. ข้าวโอ๊ตช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ : เป็นที่ทราบกันว่าชาวมังสวิรัติจะมีอัตราการตายด้วยโรคหัวใจต่ำกว่าคนทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ พูดง่าย ๆ ก็คือ คนที่กินผักจะมีอายุยืนยาวกว่าคนที่กินเนื้อ เพราะชาวมังสวิรัติจะกินอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือข้าวโอ๊ตนั่นเอง ส่วนคนที่เป็นโรคหัวใจ การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์สูงอย่างข้าวโอ๊ต จะทำให้การกำเริบของโรคลดน้อยลง

8. ข้าวโอ๊ตกับการช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ มีงานวิจัยที่พบว่า ข้าวโอ๊ตสามารถช่วยลดระดับความดันโลหิต และควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ข้าวโอ๊ตจึงเป็นธัญพืชที่ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจได้เป็นอย่างดี โดยชาวนาข้าวโอ๊ตในเนเธอร์แลนด์ที่กินข้าวโอ๊ตถึงวันละ 5 ชาม จะเป็นโรคหัวใจและความดันโลหิตสูงต่ำกว่าคนทั่วไป

9. ข้าวโอ๊ตช่วยป้องกันโรคเบาหวาน นายแพทย์เจมส์ แอนเดอร์สัน ผู้เชี่ยวชาญด้านไฟเบอร์หรือกากใยอาหาร ผู้ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับไฟเบอร์มานานนับสิบปี ได้ให้คำแนะนำว่า การกินอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์อย่างข้าวโอ๊ตจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

10. ข้าวโอ๊ตช่วยลดไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลได้ : การกินข้าวโอ๊ตให้ได้วันละ 3 กรัม จะช่วยลดไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลได้ แต่ควรกินอย่างน้อย 0.75 กรัม ต่อการกิน 1 ครั้ง ถ้าไม่รู้ว่าควรกินในปริมาณเท่าใด ก็ให้ลองคิดเองว่า ในข้าวโอ๊ต 100 กรัม จะให้พลังงาน 390 กิโลแคลอรี, คาร์โบไฮเดรต 66 กรัม, ไขมัน 7 กรัม, โปรตีน 17 กรัม, วิตามินบี5 1.3 กรัม, ธาตุเหล็ก 5 มิลลิกรัม, แมกนีเซียม 177 มิลลิกรัม และไฟเบอร์ชนิดไม่ละลายน้ำ 4 กรัม โดยนายแพทย์เจมส์ แอนเดอร์สัน ได้ทำการทดลองกับตัวเอง โดยเขาได้วัดระดับคอเลสเตอรอลของตนซึ่งสูงถึง 300 จากนั้นเขาก็ได้ระดมกินรำข้าวโอ๊ตเป็นส่วนใหญ่ และในเวลาเพียง 5 สัปดาห์ ระดับคอเลสเตอรอลของเขาลดลงเหลือเพียง 175 โดยวิธีกินรำข้าวโอ๊ตของหมอเจมส์ก็คือ กินวันละ 180 กรัม หรือประมาณหนึ่งถ้วยตวงในตอนเช้าทุกวัน และต่อมาเพื่อแนะนำให้ผู้ป่วยของเขากินรำข้าวโอ๊ตได้ง่ายขึ้น เขาจึงได้พัฒนาเป็นสูตรมัฟฟินที่มีรสชาติอร่อยขึ้นเพื่อกินกับเครื่องดื่มยามเช้า แล้วนำมาให้คนไข้หลายร้อยคนของเขากิน และได้พบว่า ระดับคอเลสเตอรอลของคนไข้ลดลงโดยเฉลี่ย 20% แม้ในรายที่ไม่ยอมลดไขมันในอาหารเลยก็ตาม

11. ข้าวโอ๊ตกับการช่วยควบคุมน้ำหนัก : ข้าวโอ๊ตมีเส้นใยอาหารหรือไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำสูง มีแคลอรีต่ำ กากใยนี้เมื่อกินเข้าไปจะทำหน้าที่เหมือนฟองน้ำ ที่ช่วยดูดซับน้ำเมื่ออาหารตกผ่านลงไปในท้อง จึงช่วยทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว เมื่อเริ่มต้นกระบวนการย่อยในลำไส้ ข้าวโอ๊ตจะช่วยในการดูดซึมอาหาร กากใยที่มีอยู่จะก่อตัวเป็นเจล แล้วจะค่อย ๆ ซึมซับคาร์โบไฮเดรต รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ และมีโปรตีนที่ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญพลังงาน (ข้าวโอ๊ตเป็นธัญพืชที่มีโปรตีนสูงที่สุด มีค่าใกล้เคียงกับถั่วเหลือง และไม่น้อยไปกว่าเนื้อสัตว์ นม ไข่) เมื่อกินข้าวโอ๊ตเข้าไป ร่างกายจึงได้ทั้งคุณค่าและกากใยที่ทำหน้าที่ที่ดีต่อร่างกาย ทำให้อิ่มเร็ว และไม่อ้วน 

12. ข้าวโอ๊ตช่วยขับของเสียและสารพิษออกจากร่างกาย : ไฟเบอร์จากข้าวโอ๊ตมีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยดูดซับของเสียในลำไส้ จึงช่วยขับของเสียและพิษออกจากร่างกายได้ดีมาก โดยกากใยอาหารที่หลงเหลือจะทำให้มีปริมาณของอุจจาระมากขึ้น แถมยังช่วยดูดซับน้ำไว้ในตัวอีก โดยเฉพาะรำข้าวโอ๊ตที่สามารถดูดน้ำเข้าไปในตัวได้ถึงหลายสิบเท่า ดังนั้น ไฟเบอร์ที่หลงเหลือในทางเดินอาหารจึงไปกระตุ้นให้อยากถ่ายเร็ว ทำให้ของเสียทั้งหลายถูกขับออกมาจากร่างกาย

13. ข้าวโอ๊ตช่วยในการขับถ่าย ป้องกันท้องผูก : ข้าวโอ๊ตมีไฟเบอร์ชนิดที่ละลายน้ำได้ ชื่อว่า เบต้า-กลูแคน ที่ช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น และยังทำหน้าที่เหมือนฟองน้ำเล็ก ๆ ที่ช่วยดูดซับคอเลสเตอรอลในลำไส้เล็กและขับออกจากร่างกาย

14. ข้าวโอ๊ตไม่มีกลูเตน (Gluten) : สำหรับผู้ที่แพ้กลูเตนที่มีอยู่ในข้าวสาลี คุณสามารถหันมากินข้าวโอ๊ตแทนได้อย่างสบายใจ 

15. ข้าวโอ๊ตช่วยเพิ่มพลังงานก่อนออกกำลังกาย : มีคำแนะนำว่า ให้กินข้าวโอ๊ตก่อนการออกกำลังประมาณ 2 ชั่วโมง เพียงเท่านี้เราก็จะได้พลังงานเอาไว้ใช้ในการออกกำลังกายได้เพิ่มขึ้นอีกมากเลยทีเดียว เพราะข้าวโอ๊ตเป็นอาหารที่ย่อยง่าย จึงทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารและนำสารอาหารเหล่านั้นมาเปลี่ยนเป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็ว

16. ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดและอาการเหนื่อยล้า : ด้วยการนำข้าวโอ๊ต 2 ถ้วย นม 1 ถ้วย และน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ผสมลงไปในอ่างอาบน้ำ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายได้ อีกทั้งยังเป็นการช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวของเราไปในตัวอีกด้วย

17. ใช้รักษาแผลจากโรคอีสุกอีใสหรือรอยแผลไหม้จากแสงแดด : ให้นำเมล็ดข้าวโอ๊ตมาบด หรือใช้แป้งข้าวโอ๊ตที่ร้อนจนเหลือเฉพาะผงแป้งร่วน ๆ มาเทรวมกันในผ้าสะอาด จากนั้นให้นำห่อผ้าดังกล่าวไปมัดกับก๊อกน้ำจนเหลือเฉพาะผงแป้งร่วน ๆ มาเทรวมกันในผ้าสะอาด แล้วนำห่อผ้าไปมัดกับก๊อกน้ำของอ่างอาบน้ำให้แน่น เสร็จแล้วก็เปิดน้ำให้ไหลผ่านห่อผ้าออกมา ในระหว่างนี้ให้เราใช้มือบีบห่อผ้าไปพร้อมกันด้วย แล้วลงไปแช่ในน้ำสักพัก แต่ถ้าไม่มีอ่างอาบน้ำก็ให้นำห่อข้าวโอ๊ตมาชุบน้ำ แล้วนำมาประคบลงบนบริเวณที่เป็นก็ได้

18. ใช้รักษาปัญหาผิวทั่วไป : ด้วยการนำข้าวโอ๊ตมาทำเป็นสครับขัดผิวหรือสบู่ข้าวโอ๊ต โดยให้ใช้ข้าวโอ๊ต 2 ช้อนโต๊ะนำมาบดให้เป็นผง ผสมด้วยเบกกิ้งโซดา 1 ช้อนโต๊ะ ตามด้วยน้ำ (ให้พอที่ทำให้ส่วนผสมข้นเหนียวพอประมาณ) จากนั้นนำมาทาลงบนผิวตามต้องการทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วค่อยล้างออก

19. ช่วยฟื้นฟูสภาพผิวให้กลับมาอ่อนเยาว์ เปล่งปลั่ง และเนียนนุ่ม : ด้วยการนำข้าวโอ๊ตประมาณ 3/4 ถ้วยตวง นำมาปั่นรวมกับน้ำเปล่าประมาณ 3 นาที แล้วใช้น้ำผึ้งกับโยเกิร์ตอย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ และไข่ขาวตามลงไป ผสมส่วนผสมทั้งหมดจนเข้ากัน แล้วนำมาพอกหน้าหรือผิวบาง ๆ ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วค่อยล้างออกด้วยน้ำอุ่น นอกจากนี้ข้าวโอ๊ตยังถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวต่าง ๆ เช่น แชมพู โลชั่น สบู่ ฯลฯ เนื่องจากข้าวโอ๊ตมีวิตามินอีสูง ซึ่งช่วยคงความชุ่มชื่นของผิวได้เป็นอย่างดี

20. ช่วยกำจัดสิวบนใบหน้า : สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องสิว ให้นำข้าวโอ๊ตมาผสมกับนมหรือข้าวโอ๊ตบดที่คุณนำมารับประทานเป็นอาหารเช้า วางทิ้งไว้จนส่วนผสมเริ่มมีอุณหภูมิปกติ จากนั้นนำส่วนผสมดังกล่าวมาพอกบริเวณที่เป็นสิวประมาณ 10 นาที แล้วค่อยล้างออก ในระหว่างนี้ข้าวโอ๊ตก็จะช่วยดูดซับไขมันพร้อมกับแบคทีเรีย และผิวหนังที่ตายแล้ว ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดสิวออกไป และหากนำมาผสมกับน้ำมันทีทรีออยล์ (Tea Tree Oil) กับน้ำผึ้งไปด้วยก็จะช่วยรักษาปัญหาสิวได้ดียิ่งขึ้น

21. ใช้รักษาผิวหนังของสัตว์เลี้ยง : สำหรับสัตว์เลี้ยงที่มีอาการคันผิวหนัง นั่งเกาไม่หยุด ก็ให้นำข้าวโอ๊ตมาผสมกับน้ำอุ่น ในอัตราส่วนอย่างละเท่า ๆ กัน แล้วนำไปทาบนผิวหนังของสัตว์เลี้ยง (ใช้อะลูมิเนียมฟอยล์ห่อทับไว้เล็กน้อย) ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วค่อยล้างออก

22. ใช้ดับกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ : กลิ่นอับในตู้เย็นและกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ในห้องน้ำ ข้าวโอ๊ตสามารถช่วยคุณได้ เพียงแค่ใส่กล่องข้าวโอ๊ตเปิดฝาทิ้งไว้ในตู้เย็น ในห้องน้ำ หรือจุดต่าง ๆ ที่ต้องการกำจัดกลิ่น เพียงเท่านี้กลิ่นอันไม่พึงประสงค์ก็จะหมดไป นอกจากนี้หากที่เขี่ยบุหรี่เริ่มมีกลิ่นแปลก ๆ ก็ให้ลองผสมข้าวโอ๊ตแห้งลงไป ซึ่งข้าวโอ๊ตจะช่วยดูดกลิ่นบุหรี่ได้เป็นอย่างดี

23. ใช้ทำเป็นของเล่นเด็ก : ข้าวโอ๊ตที่เด็ก ๆ กินเหลือ เมื่อปล่อยทิ้งไว้ข้ามคืนก็จะเริ่มแข็งตัว ให้ลองนำมาผสมกันโดยใช้ข้าวโอ๊ต 2 ส่วน ต่อแป้งและน้ำอีกอย่างละ 1 ส่วน แล้วเติมสีผสมอาหารลงไปเล็กน้อย คุณก็จะได้แป้งที่มีลักษณะคล้ายดินน้ำมันไว้ให้เด็ก ๆ ปั้นเล่นได้


รำข้าวโอ๊ต



ประโยชน์ของรำข้าวโอ๊ต 

1. รำข้าวโอ๊ต (Oat Bran) คือ ส่วนของเส้นใยบาง ๆ ที่เคลือบผิวของเมล็ดข้าวโอ๊ตเอาไว้ ซึ่งได้มาจากการขัดสีข้าวโอ๊ต โดยรำข้าวโอ๊ตถือเป็นส่วนที่คงประโยชน์จากข้าวโอ๊ตเอาไว้ได้อย่างครบถ้วนที่สุด จึงมักถูกคัดแยกแล้วนำมาขายต่างหาก และในปัจจุบันกำลังเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่กำลังมาแรงโดยเฉพาะในต่างประเทศ โดยการกินรำข้าวโอ๊ตเพื่อบำรุงสุขภาพและป้องกันโรคนั้น แพทย์แนะนำให้กินรำข้าวโอ๊ตวันละ 1 ช้อนโต๊ะ โดยนำมาผสมในนม โยเกิร์ต ซีเรียล หรือกินร่วมกับโฮลเกรนและโฮลวีทก็ได้ แต่สำหรับผู้ที่ต้องการลดคอเลสเตอรอลอย่างจริงจัง ควรกินข้าวโอ๊ตให้ได้วันละประมาณ 25-100 กรัม เพื่อให้ร่างกายได้รับไฟเบอร์ในปริมาณวันละ 25-35 กรัม[2] ซึ่งคุณค่าทางโภชนาการของรำข้าวโอ๊ต ต่อ 100 กรัม จะประกอบไปด้วย พลังงาน 246 กิโลแคลอรี, โปรตีน 17.30 กรัม, ไขมัน 7.03 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 66.22 กรัม, ไฟเบอร์ 15.4 กรัม, น้ำ 6.55 กรัม, น้ำตาล 1.45 กรัม, วิตามินบี1 1.170 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.220 มิลลิกรัม, วิตามินบี3 0.934 มิลลิกรัม, วิตามินบี6 0.165 มิลลิกรัม, วิตามินบี9 52 ไมโครกรัม, วิตามินซี 0 มิลลิกรัม, วิตามินเค 3.2 ไมโครกรัม, แคลเซียม 58 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 5.41 มิลลิกรัม, แมกนีเซียม 235 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 734 มิลลิกรัม, โพแทสเซียม 566 มิลลิกรัม, โซเดียม 4 มิลลิกรัม, สังกะสี 3.11 มิลลิกรัม (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database) 

2. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ : ไฟเบอร์ในรำข้าวโอ๊ตมีคุณสมบัติชั้นยอดในการช่วยลดคอเลสเตอรอลที่เกาะอยู่ตามเส้นเลือด การรับประทานรำข้าวโอ๊ตเป็นประจำจึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดอุดตัน เป็นต้น

3. ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน : วารสารสมาคมโภชนาการอเมริกัน (Journal of the American Dietetic Association) ได้เปิดเผยว่า รำข้าวโอ๊ตสามารถช่วยคงระดับน้ำตาลในเลือดที่มีแนวโน้มจะพุ่งสูงขึ้นหลังมื้ออาหาร เพราะไปช่วยชะลอการย่อยคาร์โบไฮเดรตและลดปริมาณน้ำตาลที่กำลังจะเข้าสู่กระแสเลือด นอกจากนี้ยังช่วยปรับสมดุลระดับน้ำตาลในเลือดโดยการเพิ่มระดับของอินซูลิน จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่มากยิ่งขึ้น

4. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล : เนื่องจากรำข้าวโอ๊ตมีสารเบต้า-กลูแคน ซึ่งเป็นไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ มีคุณสมบัติช่วยดูดซับคอเลสเตอรอลและไขมันเลส (LDL) และยังช่วยดูดซับคอเลสเตอรอลส่วนเกินจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปได้อีกแรง

5. ช่วยในการควบคุมน้ำหนักและลดน้ำหนัก : นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมินนิโซตา (University of Minnesota) ได้ยืนยันว่าไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำที่มีอยู่ในรำข้าวโอ๊ต สามารถช่วยดูดซับน้ำในกระเพาะอาหาร จึงทำให้เกิดการพองตัว ทำให้เรารู้สึกอิ่มเร็วขึ้น กินอาหารได้ในปริมาณที่น้อยลง อีกทั้งคาร์โบไฮเดรตในรำข้าวโอ๊ตยังช่วยชะลอการย่อยอาหาร ทำให้เรารู้สึกอิ่มท้องได้นานกว่าเดิม ส่งผลให้กินอาหารได้น้อยมื้อลงอีกด้วย นอกจากนี้รำข้าวโอ๊ตยังมีคุณสมบัติในการช่วยดูดซับคอเลสเตอรอลและไขมันจากอาหารที่กินเข้าไป พร้อมทั้งช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบขับถ่ายในร่างกายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

6. ช่วยในการขับถ่าย : เป็นที่ทราบกันแล้วว่า รำข้าวโอ๊ตมีไฟเบอร์สูงมาก การได้รับรำข้าวโอ๊ต จึงช่วยในเรื่องการขับถ่ายของร่างกายได้เป็นอย่างดี ถ้าหากใครมีปัญหาเรื่องระบบขับถ่ายอยู่ตอนนี้ ก็ขอแนะนำให้หารำข้าวโอ๊ตมากินพร้อมกับดื่มน้ำเยอะ ๆ

7. ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง : รำข้าวโอ๊ตมีคุณสมบัติในการช่วยดูดซับสารพิษในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งหลายชนิด โดยสถาบันวิจัยโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Institute for Cancer Research) ได้เปิดเผยว่า ผู้ที่กินรำข้าวโอ๊ตเป็นประจำ จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งปากมดลูกได้ดี



คุณค่าทางโภชนาการของข้าวโอ๊ต

ข้อมูลโภชนาการของข้าวโอ๊ตดิบ 100 กรัม โดยประมาณ

  • พลังงาน 389 กิโลแคลอรี่
  • น้ำ 8.22 กรัม
  • โปรตีน 16.89 กรัม
  • ไขมันรวม 6.90 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 66.27 กรัม
  • เส้นใย 10.6 กรัม
  • แคลเซียม 54 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 4.72 มิลลิกรัม
  • แมกนีเซียม 177 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 523 มิลลิกรัม
  • โพแทสเซียม 429 มิลลิกรัม
  • โซเดียม 2 มิลลิกรัม
  • สังกะสี 3.97 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 1 0.763 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 2 0.139 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 3 0.961 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 6 0.119 มิลลิกรัม
  • โฟเลต 56 ไมโครกรัม


นอกจากนี้ ข้าวโอ๊ตยังอุดมด้วยแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายอีกหลายชนิด เช่น แมงกานีส แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก โฟเลต รวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น อาวีนันทราไมต์ (Avenanthramide) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ


ข้อมูลโภชนาการของข้าวโอ๊ตดิบ 100 กรัม โดยประมาณ



วิธีรับประทานข้าวโอ๊ตอย่างง่าย


สำหรับผู้ที่ต้องการรับประทานข้าวโอ๊ตเป็นอาหารเช้า


วิธีแรก: ลองใส่ข้าวโอ๊ต 2 ช้อนโต๊ะต้มในนม(หรือน้ำเปล่า) 1 ถ้วย แล้วกะเอาความนิ่มที่คุณชอบ เพราะยิ่งต้มนาน ข้าวโอ๊ตจะยิ่งนุ่มและเหนียวยืดมากขึ้นเท่านั้น ก่อนรับประทานให้ลองใส่ผลไม้สดหรือราดน้ำผึ้งลงไปจะยิ่งอร่อยมากขึ้น


วิธีที่ 2: ใช้ข้าวโอ๊ตและน้ำในปริมาณเท่าวิธีแรก ใส่ชามทนความร้อน แล้วเข้าไมโครเวฟประมาณ 2-3 นาที คอยดูไม่ให้เดือดจนเกินไป


วิธีที่ 3: แช่ข้ามคืน ใส่ข้าวโอ๊ตในแก้วที่มีฝาปิด แล้วใส่โยเกิร์ตไขมันต่ำลงไป ผสมนมให้เหลวๆ นิดหน่อย แล้วคนให้เข้ากัน ทำแช่เย็นไว้ตอนกลางคืน ตื่นเช้ามาก็รับประทานได้เลยจ้า




CR  ::   หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด,   www.manager.co.th.  , women.kapook.com.   Lisaguru.  ,  Medthai









14 ความคิดเห็น:

  1. ข้าวโอ๊ต มีกี่แบบ กินแล้วอ้วนไหม มีสารอาหารอะไรบ้าง
    ข้าวโอ๊ต มีสารอาหารอะไรบ้าง
    ข้าวโอ๊ตเป็นธัญพืชที่มีคุณค่าทางอาหารมาก อุดมไปด้วยเส้นใยอาหารสูง ดีต่อระบบขับถ่าย ช่วยป้องกันโรคร้ายได้หลายชนิด จึงเป็นธัญพืชอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการนำมาบริโภคเพื่อสุขภาพเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์และนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายอีกด้วย

    รู้จักข้าวโอ๊ต
    ข้าวโอ๊ต (Oat) ถูกจัดอยู่ในวงศ์หญ้า ในอดีตข้าวโอ๊ตเป็นเพียงหญ้าที่แทรกในนาข้าวสาลี แต่หลังจากนั้นได้มีการเก็บเกี่ยวมารับประทานกันอย่างแพร่หลายจนเริ่มกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น ข้าวโอ๊ตนิยมปลูกกันมากในเขตยุโรปตอนเหนือ บริเวณที่อากาศหนาว มีแสงแดดน้อย ได้แก่ ตอนเหนือของเยอรมัน และกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย ปัจจุบันมีการนำข้าวโอ๊ตมาแปรรูปขาย 3 แบบด้วยกัน คือ โอ๊ตมีล โรลโอ๊ต และข้าวโอ๊ตปรุงสำเร็จ

    ข้อมูลโภชนาการ
    ข้าวโอ๊ตดิบ 100 กรัม มีพลังงาน 389 กิโลแคลอรี่ โดยให้คุณค่าทางสารอาหาร ได้แก่
    โปรตีน 16.89 กรัม
    เส้นใย 10.6 กรัม
    แคลเซียม 54 มิลลิกรัม
    น้ำ 8.22 กรัม
    ไขมัน 6.90 กรัม
    คาร์โบไฮเดรต 66.27 กรัม
    แมกนีเซียม 177 กรัม
    สังกะสี 3.97 มิลลิกรัม
    โฟเลต 56 ไมโครกรัม
    วิตามินบี1 0.763 มิลลิกรัม
    วิตามินบี2 0.139 มิลลิกรัม
    เหล็ก 4.72 มิลลิกรัม
    โซเดียม 2 มิลลิกรัม
    โพแทสเซียม 429 มิลลิกรัม
    ข้าวโอ๊ตอัดแท่ง (Oat bar) 1 แท่ง ประมาณ 86 กรัม มีพลังงาน 190 – 170 กิโลแคลอรี่
    ข้าวโอ๊ตต้ม (Oatmeal) 1 ถ้วยประมาณ 170 กรัม มีพลังงาน 160 กิโลแคลอรี่
    กินข้าวโอ๊ตแล้วอ้วนไหม ?
    ข้าวโอ๊ตเป็นหนึ่งในสุดยอดอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง รู้จักกันดีว่าเป็นธัญพืชที่ให้พลังงานสูง แต่ไขมันต่ำ มีวิตามิน และเกลือแร่ที่ร่างกายนำไปใช้เป็นพลังงานได้ทันที รวมถึงมีเส้นใยอาหารที่ช่วยทำให้อิ่มนาน อยู่ท้องนาน โดยเฉพาะ โอ๊ตมีล ที่มีค่า GI หรือดัชนีการแปลงเป็นน้ำตาลในระดับประมาณ 55 ซึ่ง กว่าข้าวขาวและขนมปังที่อยู่ประมาณ 70-80

    ดังนั้น การรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมจึงไม่ทำให้อ้วนง่ายเท่าแป้งทั่วไป อีกทั้งยังเก็บรักษาและทำอาหารได้ค่อนข้างง่าย แต่ควรระวังปริมาณที่มากเกินไป รวมทั้งพวก ข้าวโอ๊ตปรุงสำเร็จ ที่มีค่า GI ในระดับเทียบเท่าพวกข้าวขาวและขนมปังทั่วไป

    อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารทุกอย่างต้องอยู่ในความพอดี ไม่มากจนเกินไป และต้องรับประทานควบคู่กับอาหารชนิดอื่นให้หลากหลาย รวมถึงออกกำลังกายให้เหมาะสมด้วย



    ตอบลบ
  2. ประโยชน์ของข้าวโอ๊ต
    อุดมไปด้วยสารอาหาร แร่ธาตุและวิตามินที่มีประโยชน์มากมาย จึงถูกนำมารับประทานและใช้เพื่อสุขภาพ รวมทั้งยังจัดเป็นหนึ่งในอาหารคลีนอีกด้วย

    1. ป้องกันโรคความดันโลหิต
    มีสรรพคุณในการช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเหลือดอุดตัน โดยจากการวิจัยพบว่า ผู้ที่รับประทานข้าวโอ๊ตวันละ 1 ถ้วย จะลดความเสี่ยงจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้สูง

    2. มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
    มีสารต้านอนุมูลอิสระชื่อว่า "อะวีนานทราไมต์ (Avenanthramides)" ทำหน้าที่ปกป้องเซลล์ในร่างกายจากมลภาวะ มีคุณสมบัติขจัดไขมันเลวภายในร่างกาย และยังช่วยต่อต้านเชื้อโรคร้าย รวมถึงเซลล์เนื้อร้ายได้ ผู้ที่รับประทานข้าวโอ๊ตเป็นประจำจึงมักจะมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยได้ง่าย ทั้งยังห่างไกลจากโรคร้ายอีกด้วย

    3. ลดระดับน้ำตาลในเลือด
    อุดมไปด้วยไฟเบอร์ เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว จะค่อยๆ ปลดปล่อยน้ำตาลออกมาช้าๆ จึงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุมไม่ให้สูงเกินไปได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันอาการง่วงนอนในช่วงสายของวันได้อีกด้วย

    ฉะนั้นใครที่มีอาการง่วงนอนตอนกลางวันบ่อย เป็นโรคเบาหวาน หรือมีแนวโน้มที่จะเป็นเบาหวาน ไม่ควรพลาดที่จะรับประทานข้าวโอ๊ตเด็ดขาด มีการทดลองว่า เบต้ากลูแคนที่อยู่ในเส้นใยของข้าวโอ๊ตสามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ได้

    4. ป้องกันเลือดแข็งตัว
    มีสารต้านอนุมูลอิสระชื่อว่า "อะวีนานทราไมต์ (Avenanthramides)" ดีต่อสุขภาพหัวใจ ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่รับประทานข้าวโอ๊ต หรือธัญพืชเต็มเมล็ดสัปดาห์ละครั้ง จะช่วยลดการแข็งตัวของเลือดได้ ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก หัวใจสูบฉีดดีขึ้น และส่งผลดีต่อสุขภาพอีกหลายด้านเลยทีเดียว

    5. เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
    ไฟเบอร์ในข้าวโอ๊ตมีชื่อว่า เบต้ากลูแคน ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง ช่วยให้เกิดการซ่อมแซมอวัยวะที่สึกหรอได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    6. เหมาะสำหรับผู้แพ้อาหารกลูเตน
    มีกลูเตนต่ำจึงเป็นอาหารทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานกลูเตนได้ ข้าวโอ๊ตเต็มไปด้วยคาร์โบไฮเดรตและสารอาหารที่จำเป็นมากมายจึงสามารถนำมาบริโภคเพื่อทดแทนอาหารประเภทที่มีกลูเตนได้เป็นอย่างดี

    7. ขับสารพิษออกจากร่างกาย
    ช่วยดูดซึมสารพิษออกจากร่างกาย ขจัดของเสียในลำไส้ โดยจะกำจัดออกมาพร้อมกับอุจจาระ ทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรงมากยิ่งขึ้น และลดความเสี่ยงการเป็นโรคร้ายที่เกิดจากสารพิษสะสมได้

    8. ลดน้ำหนัก สลายไขมัน ลดคอเลสเตอรอล
    ช่วยลดน้ำหนักและสลายไขมันส่วนเกินในร่างกายได้เพราะข้าวโอ๊ตมีเส้นใยสูงจึงทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว พร้อมทั้งช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม มีการทดลองพบว่า การรับประทานข้าวโอ๊ตมีแนวโน้มในการลดค่าไขมัน LDL หรือไขมันส่วนที่ไม่ดีได้

    ประโยชน์ของข้าวโอ๊ตด้านสุขภาพและความงาม
    1. บรรเทาอาการท้องผูก
    ผู้ที่มีอาการท้องผูกบ่อยให้รับประทานรำข้าวโอ๊ตวันละ 7 - 8 กรัม ร่วมกับการรับประทานอาหารตามปกติ เส้นใยในข้าวโอ๊ตจะช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่มและขับถ่ายออกมาง่ายขึ้น

    2. แก้ผิวหนังอักเสบ
    มีสรรพคุณต้านผิวหนังอักเสบ ด้วยการใช้สารสกัดจากข้าวโอ๊ตมาทำเป็นโลชั่นแล้วทาลงบนผิวที่มีอาการคัน ผิวแห้ง จะทำให้ผิวมีความนุ่มชุ่มชื้นมากขึ้น และลดอาการอักเสบของผิวหนังได้เป็นอย่างดี

    3. กำจัดสิว
    สำหรับผู้ที่มีปัญหาสิวให้นำข้าวโอ๊ตมาผสมกับนมแล้วทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นนำข้าวโอ๊ตมาพอกบริเวณที่เป็นสิวทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วล้างออกให้สะอาด เมื่อทำเป็นประจำสิวจะค่อยๆ ยุบ และหายไปในที่สุด นอกจากนี้ข้าวโอ๊ตยังช่วยกำจัดแบคทีเรียที่ตกค้างอยู่จึงป้องกันการเกิดสิวซ้ำได้ดีอีกด้วย

    4. ใช้ดับกลิ่น
    ข้าวโอ๊ตสามารถนำมาใช้ขจัดกลิ่นอับได้อย่างดีเยี่ยม ด้วยการนำข้าวโอ๊ตใส่กล่อง เปิดฝาทิ้งไว้ แล้วนำไปแช่ในตู้เย็น หรือนำไปวางในจุดที่อับชื้นมีกลิ่นเหม็น

    5. รักษารอยแผลไหม้จากแสงแดด
    การตากแดดเป็นเวลานานทำให้ผิวเกิดเป็นรอยไหม้ได้แต่เราสามารถนำข้าวโอ๊ตมาใช้รักษาได้ โดยนำเมล็ดข้าวโอ๊ตมาบดให้ละเอียด ใช้ผ้าห่อเอาไว้นำไปชุบน้ำ แล้วนำมาประคบบริเวณผิวที่เป็นรอยไหม้จากแสงแดดเป็นประจำจะทำให้แผลค่อยๆ หายเป็นปกติ และยังช่วยบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นมากขึ้นอีกด้วย

    6. บำรุงผิวให้เนียนนุ่ม อ่อนเยาว์
    ข้าวโอ๊ต สามารถนำมาใช้บำรุงผิวพรรณให้มีความเนียนนุ่มและดูอ่อนเยาว์ได้ นำข้าวโอ๊ต 3/4 ถ้วยตวง มาปั่นกับน้ำเปล่าประมาณ 3 นาที จากนั้นใส่ไข่ขาวลงไป ตามด้วยน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ โยเกิร์ต 2 ช้อนโต๊ะ คนให้ส่วนผสมเข้ากัน แล้วนำมาพอกหน้าแบบบางๆ ทิ้งไว้ 15 นาที จากนั้นให้ล้างออกด้วยน้ำอุ่น ทำเป็นประจำเพียงสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ก็จะเห็นผลลัพธ์ที่โดนใจแน่นอน



    ตอบลบ
  3. เมนูอาหารข้าวโอ๊ตเพื่อสุขภาพ
    1. โยเกิร์ตข้าวโอ๊ต
    เมนูเพื่อสุขภาพเหมาะกับการนำมาทำเป็นอาหารมื้อเช้า หรืออาหารว่างเพื่อลดน้ำหนักเป็นที่สุด วิธีทำคือ ให้นำข้าวโอ๊ตไปต้มให้สุกแล้วตักใส่ถ้วยไว้ หั่นสตรอว์เบอร์รี่กับกีวี่ใส่ลงในถ้วย ราดน้ำผึ้งลงไป ตามด้วยโยเกิร์ต แต่งหน้าด้วยกราโนร่าและใบมินต์ก็พร้อมรับประทานอย่างอร่อยได้ทันที

    2. โจ๊กข้าวโอ๊ตหมูสับ
    เมนูโจ๊กสุดอร่อยที่มากไปด้วยคุณประโยชน์จากข้าวโอ๊ต วิธีทำคือ ปั่นข้าวโอ๊ตให้ละเอียดเตรียมไว้ ลวกหมูสับให้สุก นำน้ำใส่หม้อขึ้นตั้งไฟจนเดือด ใส่ข้าวโอ๊ตลงไปในหม้อ ลดไฟลง คนไปเรื่อยๆ ประมาณ 10 นาที เมื่อข้าวโอ๊ตเริ่มสุก ใส่นมสด หมูสับที่สุกแล้วกับต้นหอมลงไป จากนั้นยกขึ้นเสิร์ฟได้เลย

    3. ข้าวโอ๊ตทรงเครื่อง
    วิธีทำคือ ให้นำนมสดใส่หม้อขึ้นตั้งไฟ ใส่ข้าวโอ๊ตลงไปต้มให้สุก หั่นมะเขือเทศ ซอยต้นหอม เอามะเขือเทศกับต้นหอมมาคลุกกัน โรยเมล็ดทานตะวันและเมล็ดฟักทองลงไป ตักข้าวโอ๊ตที่สุกแล้วราดลงไป ยกขึ้นเสิร์ฟพร้อมกับไข่ดาว รับรองว่า ได้รับสารอาหารเต็มเปี่ยมแน่นอน

    4. แพนเค้กข้าวโอ๊ตกล้วยหอม
    เมนูของหวานสุดอร่อยและมากไปด้วยประโยชน์ หากไม่ได้ลองจะถือว่าพลาดมาก วิธีทำคือ ป่นข้าวโอ๊ตเตรียมไว้ บดกล้วยให้ละเอียด เหลือกล้วยเอาไว้ตกแต่งหน้าบางส่วน ใส่น้ำมะนาวลงไป ตอกไข่ใส่ถ้วยตีให้เข้ากันเตรียมไว้ นำกล้วยไปผสมกับไข่ ใส่ข้าวโอ๊ตลงไป ตั้งกระทะ ทาเนยบางๆ ตักส่วนผสมทั้งหมดวางลงบนกระทะ เมื่อมีฟองเดือดให้กลับด้านจนกว่าจะสุก นำกล้วยหอมมาฝานเป็นชิ้นบางๆ ตกแต่งหน้าราดด้วยน้ำผึ้ง แค่นี้ก็ได้เมนูสุดอร่อยแล้ว

    5. โรยหน้าผักสลัด
    เมนูสลัดลดความอ้วน เมื่อโรยหน้าด้วยข้าวโอ๊ตก็จะช่วยการลดน้ำหนักได้มากกว่าเดิมถึง 2 เท่า วิธีทำคือ ให้จัดเตรียมเมนูสลัดตามปกติ ใส่ผักที่เตรียมไว้ลงไป ราดด้วยน้ำสลัดแบบใส ตามด้วยโรยหน้าด้วยข้าวโอ๊ตที่ทำให้สุก หรือแช่น้ำจนพองตัวแล้ว ก็พร้อมนำมารับประทานได้ทันที

    6. นมข้าวโอ๊ต
    เป็นเมนูง่ายๆ แต่ดีต่อสุขภาพอย่างคาดไม่ถึงเลยทีเดียว โดยให้เทนมจืดใส่แก้วแล้วใส่ข้าวโอ๊ตลงไป รอจนข้าวโอ๊ตพองตัวจึงนำมาดื่ม จะให้รสชาติที่อร่อยกลมกล่อม แถมยังมีประโยชน์มากกว่าเดิมเป็น 2 เท่า

    7. ข้าวโอ๊ตมะพร้าวลาเต้
    อีกหนึ่งเมนูง่ายๆ ที่อยากให้คุณลองทำกันดู เมนูนี้ให้นำโรลโอ๊ต 1 ถ้วย กาแฟชงแล้ว 1/4 ถ้วย กะทิ 3/4 ถ้วย ผงซินนามอน 1/2 ช้อนชา และเมเปิ้ลไซรัป 2 ช้อนโต๊ะ ใส่รวมกันในทัพเพอร์แวร์ คนส่วนผสมให้เข้ากันแล้วปิดกล่องนำไปแช่ตู้เย็น 1 คืน จากนั้นนำมาราดด้วยกะทิ โรยด้วยผงซินนามอน และมะพร้าวอบแห้ง พร้อมเสิร์ฟได้ทันที

    ข้อควรระวัง
    ก่อนรับประทานจะต้องนำข้าวโอ๊ตไปทำให้สุกก่อน หรือหากจะรับประทานแบบดิบก็ต้องไปแช่น้ำให้พองตัว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารนั่นเอง ฉะนั้นควรบริโภคข้าวโอ๊ตในปริมาณที่พอเหมาะและอย่าลืมทำให้สุก หรือพองตัวก่อนนำมารับประทานด้วย
    ข้าวโอ๊ตอาจมีการปนเปื้อนกับธัญพืชอื่นๆ เช่น ข้าวสาลี ที่ทำให้เกิดโทษกับผู้ป่วยโรคเซลิแอค (Celiac disease) ซึ่งแพ้กลูเตนในข้าวสาลี ดังนั้นควรเลือกซื้อข้าวโอ๊ตที่ได้รับการรับรองว่า บริสุทธิ์ไม่ปนเปื้อน ถ้าหากรับประทานแล้วเกิดอาการแพ้ควรไปพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการ
    ข้าวโอ๊ตมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง เต็มไปด้วยไฟเบอร์ และสารอาหารมากมาย ฉะนั้นควรหาโอกาสทดลองรับประทานข้าวโอ๊ต ไม่ว่าจะทำเป็นเมนูของหวาน หรือของคาวก็ตาม แน่นอนว่า ข้าวโอ๊ตยังเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก แต่ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมควบคู่ไปกับการออกกำลังกายจะทำให้คุณมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง และห่างไกลจากโรคร้ายได้




    ตอบลบ
  4. ข้าวโอ๊ตกับประโยชน์ต่อสุขภาพ

    ข้าวโอ๊ต เป็นธัญพืชที่นิยมรับประทานกันมาก เพราะอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารและโปรตีน ทั้งยังมีสารอาหารสำคัญอื่น ๆ เช่น แมงกานีส ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม วิตามินอี วิตามินบี 1 เป็นต้น ซึ่งเชื่อกันว่าสารเหล่านี้ดีต่อสุขภาพและอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้

    ข้าวโอ๊ต

    กล่าวกันว่ารำข้าวโอ๊ตหรือข้าวโอ๊ตแบบเต็มเมล็ดช่วยรักษาโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง อาการปวดข้อ กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง กรดยูริกในเลือดสูง ภาวะเครียด โรคทางผิวหนัง รวมทั้งโรคในระบบทางเดินอาหารอย่างโรคลำไส้แปรปรวน ท้องเสีย โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ หรือท้องผูก

    ส่วนฟางข้าวโอ๊ตนั้นมักนำมาใช้บรรเทาอาการของโรคหวัด โรคไข้หวัดหมู อาการไอ ปวดข้อ โรคทางดวงตา โรคเก๊าท์ กลุ่มโรคระบบเนื้อเยื่อเกี่ยวพันผิดปกติ (Connective Tissue Disorder) แผลพุพอง อาการฟรอสไบท์ (Frostbite) ที่เกิดจากร่างกายได้รับความเย็นจัดจนเนื้อเยื่อเสียหาย และอื่น ๆ นอกจากนี้ ข้าวโอ๊ต บางประเภทยังใช้เป็นยาทารักษาผิวหนังที่ผิดปกติ เช่น อาการคัน ผิวแห้ง ตกสะเก็ด ผิวมัน โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง โรคอีสุกอีใส โรคข้อเสื่อม อาการเท้าเย็นเรื้อรังหรือปวดเมื่อยเท้า เป็นต้น

    ข้อมูลโภชนาการของข้าวโอ๊ตดิบ 100 กรัม โดยประมาณ

    พลังงาน 389 กิโลแคลอรี่
    น้ำ 8.22 กรัม
    โปรตีน 16.89 กรัม
    ไขมันรวม 6.90 กรัม
    คาร์โบไฮเดรต 66.27 กรัม
    เส้นใย 10.6 กรัม
    แคลเซียม 54 มิลลิกรัม
    เหล็ก 4.72 มิลลิกรัม
    แมกนีเซียม 177 มิลลิกรัม
    ฟอสฟอรัส 523 มิลลิกรัม
    โพแทสเซียม 429 มิลลิกรัม
    โซเดียม 2 มิลลิกรัม
    สังกะสี 3.97 มิลลิกรัม
    วิตามินบี 1 0.763 มิลลิกรัม
    วิตามินบี 2 0.139 มิลลิกรัม
    วิตามินบี 3 0.961 มิลลิกรัม
    วิตามินบี 6 0.119 มิลลิกรัม
    โฟเลต 56 ไมโครกรัม
    อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของข้าวโอ๊ตจากฐานข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการแพทย์ทางธรรมชาติ (Natural Medicines Comprehensive Database) ได้ระบุประสิทธิภาพในการใช้ข้าวโอ๊ตรักษาโรคต่าง ๆ ตามตัวอย่างงานวิจัยไว้เป็นระดับต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

    การรักษาที่น่าจะได้ผล (Likely Effective)

    ลดคอเลสเตอรอลและความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ กล่าวกันว่าเส้นใยอาหารชนิดละลายน้ำที่ชื่อว่าเบต้า กลูแคน (Beta Glucan) ในข้าวโอ๊ตหรือรำข้าวโอ๊ตมีส่วนช่วยลดการสร้างและชะลอการดูดซึมคอเลสเตอรอลเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจากการทดลองให้อาสาสมัครชายหญิงที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงจำนวน 19 คน รับประทานข้าวโอ๊ต ที่มีปริมาณเบต้า กลูแคน 2.9 กรัม วันละ 2 ครั้ง นานติดต่อกัน 4 สัปดาห์ และเว้นช่วงอีก 3 สัปดาห์ จึงค่อยให้รับประทานสารมอลโตเดกซ์ตริน (Maltodextrin) ซึ่งมีลักษณะคล้ายแป้ง ในระยะเวลาเท่ากัน เพื่อเปรียบเทียบผล ซึ่งทั้ง 2 อย่างที่อาสาสมัครรับประทานนั้นเทียบเท่ากับการรับประทานรำข้าวโอ๊ตวันละ 70 กรัม

    ผลการศึกษาดังกล่าวพบว่าระดับคอเลสเตอรอลรวมและคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงที่รับประทานข้าวโอ๊ต โดยระดับคอเลสเตอรอลทั้ง 2 ชนิดลดลงเรื่อย ๆ จนในสัปดาห์ที่ 4 ค่าระดับคอเลสเตอรอลลดลงประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์ แต่ในช่วงที่รับประทานสารคล้ายแป้งกลับไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับคอเลสเตอรอลอย่างเห็นได้ชัด ส่วนระดับคอเลสเตอรอลชนิดดีและไตรกลีเซอร์ไรด์แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการรับประทานข้าวโอ๊ตที่มีเบต้า กลูแคนน่าจะช่วยลดคอเลสเตอรอลรวมและคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง แต่อาจไม่ส่งผลต่อระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี

    นอกจากคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ข้าวโอ๊ตยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่าอะวีแนนตรามายด์ (Avenanthramides) ซึ่งช่วยต้านภาวะอักเสบในหลอดเลือดและควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติ และอาจมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้เช่นกัน โดยพบข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนคำกล่าวอ้างนี้จากการทดลองให้อาสาสมัครชายหญิงที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูงระดับปานกลางกลุ่มหนึ่งรับประทานข้าวโอ๊ตสำเร็จรูป 100 กรัม และอีกกลุ่มรับประทานบะหมี่ที่ทำจากแป้งสาลี หลังผ่านไป 6 สัปดาห์ ผลปรากฏว่ากลุ่มที่รับประทานข้าวโอ๊ตมีระดับคอเลสเตอรอลรวม คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และรอบเอวลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม อีกทั้งมีระดับคอเลสเตอรอลชนิดดีลดลงน้อยกว่า แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของความดันเลือด สัดส่วนของร่างกาย หรือผลด้านอื่นอย่างเห็นได้ชัดนัก จึงพอจะกล่าวได้ว่าการรับประทานข้าวโอ๊ตสำเร็จรูปเป็นประจำอย่างน้อย 6 สัปดาห์ อาจลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันสูงไม่รุนแรง และยังแนะนำให้เพิ่มการรับประทานธัญพืชและข้าวโอ๊ตในมื้ออาหารให้มากขึ้น

    ตอบลบ
  5. การรักษาที่อาจได้ผล (Possibly Effective)

    ลดระดับน้ำตาลในเลือด การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและรับประทานอาหารที่มีกากใยสูงอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ซึ่งข้าวโอ๊ตจัดเป็นธัญพืชอีกชนิดที่มีกากใยอาหารปริมาณมาก โดยเฉพาะกากใยเบต้ากลูแคน จึงอาจเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องเผชิญกับภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน

    ข้อมูลเกี่ยวกับคุณประโยชน์ด้านนี้ของข้าวโอ๊ต ปรากฏการศึกษาขนาดเล็กเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเบต้ากลูแคนต่อระดับน้ำตาลหลังอาหารและการดูดซึมน้ำตาลในร่างกายของอาสาสมัครที่มีภาวะน้ำหนักเกินจำนวน 12 คน โดยกลุ่มอาสาสมัครรับประทานอาหารปกติและอาหารที่เติมเบต้ากลูแคนลงไป 5 กรัม จากนั้นในอีก 6 ชั่วโมงถัดมาจึงตรวจน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร ผลพบว่าอาหารที่เติมเบต้ากลูแคนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยลดการสร้างน้ำตาลของร่างกายและชะลออัตราการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด จึงคาดกันว่าการรับประทานข้าวโอ๊ตน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเช่นกัน

    การศึกษาที่ยังมีหลักฐานไม่เพียงพอต่อการบ่งบอกประสิทธิภาพ

    บรรเทาอาการท้องผูก การรับประทานไฟเบอร์หรือกากใยมากขึ้นอาจเป็นอีกทางเลือกสำหรับแก้อาการท้องผูก แทนการใช้ยาระบาย เพื่อเลี่ยงผลข้างเคียงจากการรับประทานยาและปัญหาด้านสุขภาพที่อาจตามมา เช่น น้ำหนักลด มีภาวะขาดสารอาหาร เป็นต้น โดยมีการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ทดลองให้คนอายุ 57-100 ปี รับประทานรำข้าวโอ๊ตแทนการใช้ยาระบาย เพื่อดูคุณภาพชีิวิตและน้ำหนักตัว ผู้เข้าร่วมทดลองแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมจากรำข้าวโอ๊ต 7-8 กรัมต่อวันร่วมกับอาหารปกติ และอีกกลุ่มไม่ได้รับอาหารเสริม โดยจะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาระบาย ความถี่ในการถ่ายอุจจาระ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และน้ำหนักตัวของอาสาสมัครในช่วงก่อนเริ่มการทดลอง หลังจากผ่านไป 6 สัปดาห์ และหลังจบการทดลอง

    ผลลัพธ์จากการทดลองนี้พบว่า กลุ่มที่รับประทานข้าวโอ๊ตหยุดใช้ยาระบายได้ประมาณ 59 เปอร์เซ็นต์และมีน้ำหนักตัวปกติ แต่อีกกลุ่มที่ไม่ได้รับประทานข้าวโอ๊ตต้องใช้ยาระบายเพิ่มขึ้นประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์และมีน้ำหนักตัวลดลง และชี้ให้เห็นว่าการรับประทานข้าวโอ๊ตค่อนข้างปลอดภัยและอาจเป็นตัวเลือกแทนการใช้ยาระบายในบางกรณี โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ

    โรคหรืออาการทางผิวหนัง เชื่อกันว่าข้าวโอ๊ตมีคุณสมบัติต้านการอักเสบและนำมาใช้ประโยชน์เป็นยาทารักษาอาการทางผิวหนังตั้งแต่อดีต เช่น ผื่นผิวหนัง ผิวหนังไหม้ อาการคัน รอยแดง เป็นต้น โดยในทางการแพทย์เรียกข้าวโอ๊ตชนิดนี้ว่า Colloidal Oats ซึ่งเป็นข้าวโอ๊ตคนละชนิดกับที่นำมารับประทาน

    แม้ว่างานวิจัยของข้าวโอ๊ตในด้านนี้ยังมีไม่เพียงพอ แต่จากการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากข้าวโอ๊ตชนิด Colloidal Oats ในรูปแบบโลชั่นทาผิว 4 ชนิด กับผู้หญิงที่มีสุขภาพดีที่มีอาการคันบริเวณผิวหนังระดับเบาถึงปานกลาง และมีผิวแห้งอย่างรุนแรงบริเวณน่องขาทั้ง 2 ข้าง จำนวน 29 คน ผลพบว่าอาสาสมัครมีอาการดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากภาวะผิวแห้งกร้าน ผิวตกสะเก็ด ผิวไม่เรียบเนียน และผิวที่มีอาการคันรุนแรงซึ่งการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าข้าวโอ๊ตชนิด Colloidal Oats มีฤทธิ์ลดการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระโดยตรง จึงคาดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรคผิวหนังในอนาคต แต่ยังบอกไม่ได้แน่ชัด เพราะกลุ่มการศึกษามีขนาดเล็กและไม่ได้ศึกษาในผู้ป่วยโรคผิวหนังโดยตรง


    ตอบลบ
  6. การรักษาที่อาจไม่ได้ผล (Possibly Ineffective)

    ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เชื่อกันว่าธัญพืชหรืออาหารจากธัญพืชอาจช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งงานวิจัยส่วนใหญ่ยังอยู่ในช่วงระยะเริ่มต้น แต่จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับประทานอาหารจากธัญพืชกับความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงเป็นระยะเวลาประมาณ 10 ปี โดยมีอาสาสมัครชาย 26,630 คน และอาสาสมัครหญิง 29,189 คน ผลปรากฏว่าการรับประทานอาหารจากธัญพืชมากขึ้นประมาณ 50 กรัมต่อวัน ส่งผลให้อาสาสมัครชายมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงลดลงเท่านั้น แต่ไม่พบความเกี่ยวข้องด้านนี้ในอาสาสมัครหญิง จึงไม่อาจสรุปได้ว่าการรับประทานข้าวโอ๊ตหรือธัญพืชอื่น ๆ จะช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ความปลอดภัยในการรับประทานข้าวโอ๊ตหรือใช้ผลิตภัณฑ์จากข้าวโอ๊ต

    การรับประทานรำข้าวโอ๊ตค่อนข้างปลอดภัยต่อสุขภาพ แต่อาจเกิดผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น มีแก๊สในท้องมาก ท้องอืด และรู้สึกแน่นท้อง ดังนั้น ในช่วงแรกควรลองรับประทานแต่น้อยและค่อย ๆ เพิ่มปริมาณขึ้น เพื่อให้ร่างกายปรับตัว ส่วนการใช้ข้าวโอ๊ตหรือผลิตภัณฑ์จากข้าวโอ๊ตกับผิวหนังอาจก่อให้เกิดอาการแสบร้อนได้ในบางราย อย่างไรก็ตาม บุคคลในกลุ่มต่อไปนี้ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานข้าวโอ๊ตหรือผลิตภัณฑ์จากข้าวโอ๊ต

    - ผู้ที่กลืนหรือเคี้ยวอาหารลำบาก เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมอง ผู้ที่ไม่มีฟันบางซี่หรือฟันปลอมสวมได้ไม่พอดีกับช่องปาก เป็นต้น เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงให้ลำไส้อุดตันจากการเคี้ยวได้ไม่ละเอียด

    - ผู้ที่มีความผิดปกติของระบบย่อยอาหารและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง เช่น หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร หรือลำไส้ อาจต้องใช้เวลาย่อยข้าวโอ๊ตนานกว่าปกติและเกิดการอุดตันในลำไส้ตามมา

    - ผู้ที่มีอาการแพ้อะวีนิน (Avenin) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งในข้าวโอ๊ตที่คล้ายกับกลูเตนในข้าวสาลี


    ทั้งนี้ หากมีอาการแพ้ข้าวสาลีหรือธัญพืชชนิดต่าง ๆ ควรเลือกซื้อข้าวโอ๊ตชนิดที่ระบุว่าเป็นข้าวโอ๊ต 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อหลีกเลี่ยงการเจือปนกับธัญพืชชนิดอื่นที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้




    ตอบลบ
  7. ข้าวโอ๊ต ประโยชน์ ดี ๆ ที่ไม่ใช่แค่อิ่มท้อง

    ข้าวโอ๊ต เป็นอาหารยอดนิยม ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และดูแลสุขภาพเป็นอย่างมาก เพราะ ข้าวโอ๊ต ประโยชน์ แต่ละอย่างดีต่อสุขภาพทั้งนั้น

    รู้หรือไม่ว่า ข้าวโอ๊ต นับเป็นอีกหนึ่งธัญพืชมหัศจรรย์ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย รับประทานก็ได้ นำไปบำรุงผิวก็ดี นอกจากจะนิยมนำมารับประทาน เพื่อรักษาหุ่น และเพื่อให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นแล้ว ประโยชน์ดี ๆ ของข้าวโอ๊ต ยังมีอะไรอีก ไปติดตามพร้อมกันได้เลย

    มีคุณค่าทางโภชนาการสูง

    ข้าวโอ๊ต อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และไฟเบอร์ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับร่างกาย และช่วยรักษาโรคต่าง ๆ อาทิ โรคความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคปวดตามข้อได้เป็นอย่างดี

    บรรเทาอาการท้องผูก

    เพราะในข้าวโอ๊ตมีไฟเบอร์สูง การรับประทานข้าวโอ๊ตบ่อย ๆ จึงช่วยให้ร่างกาย มีปริมาณไฟเบอร์จำนวนมาก ช่วยแก้อาการท้องผูก หรือผู้ที่มีปัญหา เกี่ยวกับระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยให้น้ำหนักตัวลดลง เพราะมีการขับถ่ายที่สม่ำเสมอขึ้นอีกด้วย

    ผสมกับอะไรก็อร่อย

    ข้าวโอ๊ต ประโยชน์ อีกหนึ่งอย่าง คือ นำไปผสมร่วมกับอาหาร ได้หลากหลาย ดัดแปลงได้หลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นผสมนม ผสมโยเกิร์ต ทำเป็นคัพเค้ก แพนเค้ก คุกกี้ ไปจนถึงโรยในอาหารต่าง ๆ เพราะข้าวโอ๊ตเป็นรำข้าว ที่มีความปลอดภัยสูง มีรสจืด และนำไปดัดแปลงได้ง่าย

    ครบเครื่องเรื่องความงาม

    นอกจากนิยมนำไปรับประทานแล้ว ข้าวโอ๊ต ยังเป็นอีกหนึ่งธัญพืช ที่สามารถนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นมาส์กหน้า มาส์กตัว ฯลฯ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ความนุ่มอิ่มฟู และความยืดหยุ่นกลับคืนสู่ผิว โดยสามารถนำไปผสมกับวัตถุดิบอื่น ๆ ได้ เช่น น้ำผึ้ง โยเกิร์ต น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น

    สำหรับ ข้าวโอ๊ต ประโยชน์ดี ๆ ยังมีอีกมาก แต่อย่าลืมว่า การรับประทานอาหารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ ก็เป็นสิ่งจำเป็น รวมไปถึงการพักผ่อน ให้เพียงพอ การดื่มน้ำ ในปริมาณที่พอเหมาะ ก็จะช่วยให้สุขภาพดีได้ ้เราขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน ดูแลรักษาสุขภาพ ทั้งกาย และใจ ให้แข็งแรงกันอยู่เสมอด้วยนะคะ



    ตอบลบ
  8. ประโยชน์ของ "ข้าวโอ๊ต" สุดยอด "อาหารลดน้ำหนัก" สำหรับผู้หญิง

    ไม่กี่ปีมานี้ เทรนด์การรับประทาน "อาหารเพื่อสุขภาพ" ฮอตฮิตขึ้นมาก คุณผู้หญิงสายเฮลตี้ สายคลีนทั้งหลายหันมารับประทานข้าวโอ๊ตเป็นอาหารเช้ากันมากขึ้น ว่าแต่ข้าวโอ๊ตจะช่วย"ลดน้ำหนัก"ให้คุณอย่างไรล่ะ?....(3 วิธี "ลดน้ำหนัก" สำหรับคนผอมลงพุง)

    ประโยชน์ในสำหรับการลดน้ำหนัก
    ข้าวโอ๊ต ถือเป็นแหล่งพลังงานที่อุดมไปด้วยเส้นใยทั้งที่สามารถละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ ให้พลังงานสูงจนเหมาะที่จะรับประทานเป็นอาหารมื้อเช้า มีแมกนีเซียมที่สำคัญต่อการควบคุมการทำงานของเอนไซม์ในระบบย่อยอาหาร แถมยังแคลอรีต่ำ อิ่มนาน ดังนั้นจึงลดความอยากอาหารได้

    หรือหากต้องการทำขนม แป้งข้าวโอ๊ตจะช่วยให้อิ่มท้องมากกว่า แถมยังมีแคลอรีที่น้อยกว่าการใช้แป้งปกติ มีไฟเบอร์ที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย

    รับประทานแล้วไม่เกิดโรค
    ข้าวโอ๊ตมีฤทธิ์ในการลดระดับคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด แถมยังเป็นธัญพืชที่มีโปรตีนสูง มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย และสารอาหารสำคัญ อาทิ ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม ไฟโตเคมิคอล สังกะสี วิตามินซี เป็นต้น ที่สำคัญคือมีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยดูดซับของเสียในลำไส้ ขับของเสียออกจากลำไส้ได้มากกว่าปกติ

    คุณค่าเพื่อผิวสวย
    อย่างที่บอกไปแล้วว่าข้าวโอ๊ตอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และไขมันช่วยให้ผิวชุ่มชื้น


    วิธีรับประทานข้าวโอ๊ตอย่างง่าย
    สำหรับผู้ที่ต้องการรับประทานข้าวโอ๊ตเป็นอาหารเช้า

    วิธีแรก: ลองใส่ข้าวโอ๊ต 2 ช้อนโต๊ะต้มในนม(หรือน้ำเปล่า) 1 ถ้วย แล้วกะเอาความนิ่มที่คุณชอบ เพราะยิ่งต้มนาน ข้าวโอ๊ตจะยิ่งนุ่มและเหนียวยืดมากขึ้นเท่านั้น ก่อนรับประทานให้ลองใส่ผลไม้สดหรือราดน้ำผึ้งลงไปจะยิ่งอร่อยมากขึ้น

    วิธีที่ 2: ใช้ข้าวโอ๊ตและน้ำในปริมาณเท่าวิธีแรก ใส่ชามทนความร้อน แล้วเข้าไมโครเวฟประมาณ 2-3 นาที คอยดูไม่ให้เดือดจนเกินไป

    วิธีที่ 3: แช่ข้ามคืน ใส่ข้าวโอ๊ตในแก้วที่มีฝาปิด แล้วใส่โยเกิร์ตไขมันต่ำลงไป ผสมนมให้เหลวๆ นิดหน่อย แล้วคนให้เข้ากัน ทำแช่เย็นไว้ตอนกลางคืน ตื่นเช้ามาก็รับประทานได้เลยจ้า


    ตอบลบ
  9. ประโยชน์ของข้าวโอ๊ต เหมาะสำหรับคนลดน้ำหนักแถมดีต่อสุขภาพ


    ข้าวโอ๊ต เป็นหนึ่งในอาหารโปรดของนักโภชนาการหลายคน เพราะเชื่อว่าเป็นอาหารที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายสูง บางคนเลือกรับประทานข้าวโอ๊ตในช่วงลดน้ำหนัก ซึ่งก็ได้ผลอย่างดี ปัจจุบันข้าวโอ๊ตมีจำหน่ายมากมายหลายยี่ห้อ ขณะเดียวกันก็มีการนำมาแปรรูปเป็นรูปแบบของนมข้าวโอ๊ตพร้อมดื่ม ที่ให้สารอาหารมากมายที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

    ข้าวโอ๊ตกับประโยชน์ด้านสุขภาพ
    ข้าวโอ๊ตอุดมไปด้วยสารอาหาร มีโปรตีนมากกว่าธัญพืชส่วนใหญ่ และยังมีวิตามิน แร่ธาตุอีกมากมาย ประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เส้นใยที่ละลายน้ำได้ที่เรียกว่าเบตากลูแคน ซึ่งช่วยระบบต่าง ๆ ของร่างกาย โดยข้าวโอ๊ตมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ได้แก่

    1.สุขภาพลำไส้

    เส้นใยที่ละลายน้ำได้ เบตากลูแคน ช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติและป้องกันอาการท้องผูก นอกจากนี้ยังช่วยให้แบคทีเรียในลำไส้แข็งแรง ซึ่งอาจลดอาการลำไส้แปรปรวนและปัญหาเกี่ยวกับลำไส้อื่น ๆ ได้

    2.ลดคอเลสเตอรอล

    เส้นใยที่ละลายน้ำได้ เช่น เบตากลูแคนในข้าวโอ๊ตช่วยลดคอเลสเตอรอล ในการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า ผู้ที่รับประทานรำข้าวโอ๊ตมีคอเลสเตอรอลรวมลดลง 23% นักวิจัยจึงเชื่อว่ากลไกหลายอย่างในร่างกายมีผลต่อการลดคอเลสเตอรอล

    3.สุขภาพหัวใจ

    ข้าวโอ๊ตมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า avenanthramides สูง ซึ่งไม่พบในธัญพืชชนิดอื่น สารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้จะช่วยลดการอักเสบและผ่อนคลายหลอดเลือด ทำให้สุขภาพของหัวใจดีขึ้น

    4.การควบคุมน้ำตาลในเลือด

    เส้นใยที่ละลายน้ำได้ในข้าวโอ๊ตบางชนิดสามารถป้องกันไม่ให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นหลังมื้ออาหารได้ ปริมาณน้ำตาลในเลือดของข้าวโอ๊ตแปรรูปน้อยอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง ทำให้ข้าวโอ๊ตเป็นคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ขณะเดียวกันผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรหลีกเลี่ยงข้าวโอ๊ตสำเร็จรูปซึ่งมีดัชนีน้ำตาลในเลือดสูง

    5.การควบคุมน้ำหนัก

    การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ข้าวโอ๊ตจะทำให้คุณรู้สึกอิ่มท้อง ซึ่งจะทำให้โอกาสที่คุณจะกินมากเกินไปน้อยลง และเส้นใยพิเศษในข้าวโอ๊ตอย่างเบตากลูแคน จะทำให้เพิ่มความหนืดในทางเดินลำไส้และอาจทำให้คุณรู้สึกอิ่มนานขึ้น

    6.โภชนาการที่ดี

    ข้าวโอ๊ตมีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น

    - แมงกานีส
    - ฟอสฟอรัส
    - แมกนีเซียม
    - ทองแดง
    - เหล็ก
    - สังกะสี
    - โฟเลต
    - วิตามินบี 1
    - วิตามินบี 5
    - แคลเซียม โพแทสเซียม วิตามินบี 6 และวิตามินบี 3

    นอกจากนี้ ข้าวโอ๊ตมีคุณค่าทางโภชนาการที่สมดุล โดยสารอาหารต่อหนึ่งหน่วยบริโภคให้สารอาหารดังนี้

    - แคลอรี: 95 กิโลแคลอรี
    - โปรตีน: 5 กรัม
    - ไขมัน: 3 กรัม
    - คาร์โบไฮเดรต: 27 กรัม
    - ไฟเบอร์ : 4 กรัม
    - น้ำตาล: 1 กรัม


    ข้อควรระวังในการกินข้าวโอ๊ต

    ข้าวโอ๊ตสำเร็จรูปมักเต็มไปด้วยน้ำตาลและโซเดียม หากคุณกำลังมองหาข้าวโอ๊ตที่ดีต่อสุขภาพ ให้ตรวจสอบฉลากก่อนตัดสินใจซื้อ เพราะหากคุณเริ่มต้นด้วยข้าวโอ๊ตที่ผ่านการแปรรูปน้อยแต่ใส่เนยและน้ำตาลมากเกินไป ก็อาจกลายเป็นอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพได้ ลองเพิ่มรสชาติความหวานด้วยผลไม้ ลูกเกด แอปเปิลหั่นลูกเต๋า กล้วยหั่นบาง ๆ และถั่ว เป็นอาหารเสริมที่ดีเยี่ยม

    วิธีการกินข้าวโอ๊ต
    ข้าวโอ๊ตมักรับประทานเป็นอาหารเช้า หรืออาจจะเพิ่มเป็นมื้ออาหาร และของว่างได้ เช่น

    - ทำคุกกี้ข้าวโอ๊ตแทนขนมหวานที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
    - ทำข้าวโอ๊ตผสมกับนมแช่ค้างคืนในตู้เย็นและทานเป็นของว่างทุกครั้งที่คุณหิว
    - ทำกราโนลาของคุณเองด้วยข้าวโอ๊ต ถั่ว และผลไม้แห้ง
    - เพิ่มข้าวโอ๊ตลงในโยเกิร์ตธรรมดาพร้อมกับผลไม้ไม่หวานเป็นอาหารเช้าหรือของว่างเพื่อสุขภาพ
    - เพิ่มข้าวโอ๊ตลงในแป้งแพนเค้ก เพื่อให้ได้เนื้อสัมผัสที่นุ่มนวลขึ้น

    ข้าวโอ๊ต เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการซึ่งเต็มไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ นอกจากนี้ยังมีเส้นใยและโปรตีนที่ละลายน้ำได้สูงกว่าเมื่อเทียบกับธัญพืชอื่น ๆ มีประโยชน์มากมาย ทั้ง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอล ลดอาการท้องผูก ให้โภชนาการที่ดี นอกจากนี้ ยังอิ่มนานเหมาะสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนักด้วย

    ที่มา webmd , healthline

    ตอบลบ
  10. ข้าวโอ๊ต สุดยอดอาหารไขมันต่ำเพื่อการลดน้ำหนัก

    ข้าวโอ๊ตเป็น หนึ่งในแป้งพลังงานสะอาดที่แนะนำให้ทานในช่วงลดน้ำหนัก เพราะให้พลังงานสูงย่อยช้า อิ่มนาน และไขมันต่ำ แถมมีคุณค่าทางอาหารสูงอีกด้วย

    ข้าวโอ๊ต หนึ่งในสุดยอดอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง และนิยมทานกันอย่างแพร่หลายในหมู่ผู้รักสุขภาพ และ คนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ซึ่งนิยมนำมาทำเป็นอาหารเช้าและ เป็นส่วนผสมในอาหารคลีนได้หลากหลายเมนู ด้วยที่ข้าวโอ๊ตเป็นธัญพืชที่ให้พลังงานสูงแต่ให้ไขมันที่ต่ำ มีวิตามินและเกลือแร่ที่ร่างกายสามารถนำไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างทันทีนอกจากนี้ในข้าวโอ๊ตยังมีประโยชน์และคุณค่าทางอื่นๆอีกมากมาย


    กว่าจะมาเป็นข้าวโอ๊ต

    ข้าวโอ๊ตถือว่าเป็นพืชที่ใช้เป็นอาหารที่มีประวัติอันยาวนาน เริ่มมีการเพาะปลูกข้าวโอ๊ตบริเวณตอนกลางของยุโรปมาตั้งแต่ 1000 ก่อนคริสตกาล แต่ในยุคแรกสมัยที่กรีกและโรมันโบรานเรืองอำนาจ ข้าวโอ๊ตถูกมองว่าเป็นอาหารต่ำต้อยที่ใช้เลี้ยงสัตว์ และความเชื่อนี้ก็ค่อยๆหายไปเมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายไป ต่อมาข้าวโอ๊ตถูกนำเข้ามาในประเทศอเมริการาวๆ ปี ค.ศ. 1600 โดยนักสำรวจชาวยุโรป และเริ่มเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น ใช้ปรุงและเป็นส่วนประกอบของอาหารหลายๆชนิดจนมาถึงปัจจุบัน


    ประเภทของข้าวโอ๊ต

    ข้าวโอ๊ตถูกแบ่งประเภทออกเป็น 3 แบบใหญ่ๆตามลักษณะของเนื้อข้าวโอ๊ตและวิธีการผลิต

    โอ๊ตมีล
    จะมีลักษณะเป็นผงหยาบๆ เมื่อนำมาเติมน้ำหรือนมจะมีลักษณะคล้ายๆโจ๊ก หรือข้าวต้ม โดยโอ๊ตมีลจะได้จากการสับเมล็ดข้าวโอ๊ตออกเป็นชิ้นหยาบๆจึงทำให้สารอาหารยังอยู่ครบถ้วน รวมถึงส่วนของรำข้าวโอ๊ตด้วย เราจะคุ้นตากับการนำโอ๊ตมีลมาเติมนมหรือน้ำ ต้มให้สุกและทานคู่กับผลไม้เป็นอาหารเช้า

    โรลโอ๊ต
    มีลักษณะเป็นเกร็ดคล้ายๆกับซีเรียล โดยโรลโอ๊ตจะได้จากการนึ่งข้าวโอ๊ตให้สุกจากนั้นมามาทับกดให้แบนด้วยลูกกลิ้ง และนำมาอบให้แห้งอีกครั้ง โดยโรลโอ๊ตนิยมนำมาเป็นส่วนผสมของขนมอบ และ นำมาผสมกับผลไม้แห้ง ถั่ว หรือที่เรียกว่า มูสลี่และกราโนล่านั่นเอง

    ข้าวโอ๊ตสำเร็จรูปพร้อมทาน
    ข้าวโอ๊ตสำเร็จรูป
พร้อมทานจะมีลักษณะและการผลิตเหมือนกับโรลโอ๊ต คือจะทำให้ข้าวโอ๊ตสุกเสียก่อนด้วยการนึ่ง ซึ่งจะใช้เวลานานกว่าโรลโอ๊ตเมื่อให้ข้าวโอ๊ตสุกเต็มที่ ก่อนที่จะนำสับและมาอบให้แห้ง และทำการปรุงรสต่างๆเพื่อให้ทานได้ง่าย และสะดวกกับผู้รับประทาน เพราะเพียงเติมน้ำร้อนก็จะได้ซุปนุ่มๆหวานๆโดยไม่ต้องเติมอะไรอีก



    ตอบลบ
  11. หลากหลายประโยชน์ของข้าวโอ๊ต

    ข้าวโอ๊ตถือเป็นธัญพืชชนิดไม่ขัดสี ซึ่งแน่นอนการทานธัญพืชช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคได้มากมาย ทั้งโรคหัวใจและความดันโลหิต อุดมไปด้วยวิตามิน B ธาตุเหล็ก เม็กนีเซียม และสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ที่มีอย่างมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม การทานข้าวโอ๊ตให้ได้ประโยชน์สูงสุดควรมั่นใจว่าข้าวโอ๊ตที่คุณเลือกจะไม่มีการเติมน้ำตาลและเกลือในปริมาณสูงเกินไป

    คอเรสเตอรอลต่ำ

    การทารข้าวโอ๊ตเป็นประจำสามารถช่วยลดปริมาณคอเรสเตอรอลได้โดยเฉพาะไขมันชนิดเลวอย่าง LDL และช่วยเพิ่มไขมันดีให้กับร่างกาย จึงไม่น่าสงสัยเลยที่ข้าวโอ๊ตจะถูกแนะนำเป็น หนึ่งใน 5 ของอาหารที่ช่วยจัดการปัญหาระดับคอลเรสเตอรอลในร่างกายได้ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตันและโรคหัวใจ

    ให้โปรตีนสูง

    ในข้าวโอ๊ตมีโปรตีนและกรดอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายมากถึง 6 ชนิด โดยแป้งในข้าวโอ๊ตนั้นถือเป็นแป้งที่ย่อยง่าย เพราะมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่ช่วยในการย่อย มีไขมันต่ำ และเกือบทั้งหมดเป็นไขมันอิ่มตัวเชิงซ้อน ที่ดีต่อร่างกาย

    ช่วยลดน้ำหนัก

    ข้าวโอ๊ตอุดมไปด้วยใยอาหาร ทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายโดยเฉพาะลำไส้เราทำงานได้เต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ช่วยลดอาการท้องผูก ลดการดูดซึมน้ำตาล ไขมันและ ของเสียต่างๆ นั้นหมายถึงเมื่อเราทานข้าวโอ๊ตในมื้อเช้า จะทำให้เราได้รับพลังงาน และเติมกระเพาะของเราทำให้อิ่มอยู่ได้นาน ซึ่งดีกว่าการทานอาหารเช้าที่มีน้ำตาลและไขมันสูงๆ ที่จะทำให้รู้สึกหิวเร็วขึ้น

    นอกจากนี้ในข้าวโอ๊ตยังมี เบต้ากลูแคน ซึ่งเป็นเส้นใยอาหารที่สามารถละลายในน้ำได้ดี มีคุณสมบัติคอยดูดซับคอเลสเตอรอลในลำไส้เล็กและปล่อยเป็นของเสียออกจากร่างกาย โดยมีงานวิจัยรับรองจาก องค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา (USFDA) ว่า หากร่างกายได้รับเบต้ากลูแคนอย่างน้อย 3 กรัมต่อวัน อาจช่วยลดปัญหาคอเลสเตอรอลได้ จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องควบคุมปริมาณคอเลสเตอรอลและผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก แต่ถึงอย่างไรก็ต้องรับประทานควบคู่กับอาหารชนิดอื่นให้หลากหลายด้วย

    การทานข้าวโอ๊ตให้ได้คุณค่า

    ข้าวโอ๊ตถือเป็นตัวเลือกที่เหมาะจะนำมาเป็นอาหารเช้ามื้อคุณภาพ โดย ข้าวโอ๊ตปรุงสุกกับน้ำเปล่า ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ(15กรัมโดยประมาณ) จะให้พลังงานประมาณ 10 kcal ในขณะที่ข้าวโอ๊ตอบแห้งจะให้พลังงานอยู่ที่ 389 kcal ต่อน้ำหนัก 100 กรัม เวลาทานอาจตุ๋นด้วยน้ำร้อน ทานควบคู่กับนมขาดมันเนย เติมด้วยน้ำผึ้งและผลไม้สดๆ นำมาทำเป็นโจ๊กข้าวโอ๊ต นำมาผสมกับโยเกิร์ต หรือจะนำมาทำเป็นเค้กหรือคุ๊กกี้ก็ได้ เพียงเท่านี้เราก็ได้เมื่อเช้าและขนมเพื่อสุขภาพและทำให้ได้รับสารอาหารและคุณประโยชน์อย่างเต็มที่แล้ว

    ตอบลบ
  12. 9 ประโยชน์ของ "ข้าวโอ๊ต" ที่สาวๆ อาจไม่เคยรู้มาก่อน!!

    ข้าวโอ๊ตเป็นธัญพืชเพื่อสุขภาพที่เชื่อได้เลยว่าสาวๆ หลายคนคงจะรู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่บางครั้งประโยชน์ของข้าวโอ๊ตอาจไม่ได้มีแค่การทานเพื่อให้อิ่มท้อง เหมาะสำหรับผู้ที่รักษาหุ่นแค่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ยังมีประโยชน์อื่นๆ ที่บางทีคุณอาจไม่เคยรู้มาก่อนก็ได้ ประโยชน์ของข้าวโอ๊ตจะมีอะไรบ้าง มาดูไปพร้อมๆ กัน


    1. ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
    สารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในข้าวโอ๊ตมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ อีกทั้งเส้นใยเองก็ยังช่วยลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี ( LDL ) โดยไม่มีผลกระทบต่อระดับคอเลสเตอรอลที่ดี ( HDL )นอกจากนี้ในข้าวโอ๊ตยังมีสาร enterolactone ซึ่งช่วยป้องกันโรคหัวใจได้อีกด้วย

    ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ข้าวโอ๊ตช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและยังช่วยสร้างเสริมหัวใจให้แข็งแรง โดยข้าวโอ๊ตเป็นอาหารที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นประโยชน์ต่อหัวใจของมนุษย์


    2. ป้องกันอาการท้องผูก
    ข้าวโอ๊ตเป็นแหล่งพลังงานที่อุดมไปด้วยเส้นใยทั้งที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ ซึ่งเส้นใยนี้เองที่จะช่วยในการควบคุมการเคลื่อนไหวของลำไส้ และด้วยเหตุนี้เองข้าวโอ๊ตจึงช่วยป้องกันและรักษาอาการท้องผูก

    3. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
    เนื่องจากข้าวโอ๊ตช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดและลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงควรที่จะทานข้าวโอ๊ตเป็นประจำ

    ข้าวโอ๊ตมีคาร์โบไฮเดรตที่มีไฟเบอร์สูงและยังมีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงคาร์โบไฮเดรตเป็นน้ำตาล และ beta-glucan ก็ยังชะลอการลดระดับน้ำตาลในเลือดก่อนทานอาหาร และชะลอการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากรับประทานอาหาร


    4. ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง
    ตามที่สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา ( American Cancer Society ) ได้บอกไว้ว่า Lignan ที่พบในข้าวโอ๊ตนั้นช่วยลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็งที่เกี่ยวกับฮอร์โมน ยกตัวอย่างเช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งรังไข่ ดังนั้นการทานข้าวโอ๊ตจึงเหมาะสำหรับทั้งชายและหญิงเลยทีเดียว


    5. ลดความดันโลหิตสูง

    ถ้าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง การทานข้าวโอ๊ตทุกวันจะช่วยลดความดันโลหิตได้ ในกรณีของผู้ที่ยังไม่เป็นแต่ว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็น การทานข้าวโอ๊ตทุกวันก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้


    6. อุดมไปด้วยแมกนีเซียม
    นอกจากประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ข้าวโอ๊ตยังเป็นแหล่งแมกนีเซียมที่สำคัญต่อการทำงานของเอนไซม์และยังช่วยในการผลิตพลังงาน ช่วยป้องกันโรคหัวใจ

    ช่วยควบคุมกล้ามเนื้อหัวใจและควบคุมความดันโลหิต ระดับแมกนีเซียมที่สูงในข้าวโอ๊ตยังช่วยบำรุงร่างกายให้การใช้กลูโคสและการหลั่งอินซูลินเป็นไปอย่างเหมาะสม


    7. ช่วยเรื่องการลดน้ำหนัก
    ข้าวโอ๊ตเป็นอาหารแคลอรี่ต่ำ ซึ่งจะชะลอการย่อยอาหารและทำให้คุณรู้สึกอิ่มนานขึ้น ดังนั้นจึงช่วยในการลดความอยากอาหารได้ และทำให้การหลั่ง Cholecystokinin ซึ่งเป็นฮอร์โมนความหิวลดลงอีกด้วย


    8. ช่วยเพิ่มการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันต่อโรค
    เส้นใยในข้าวโอ๊ตที่เรียกว่า beta-gluten จะทำให้ เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil สามารถเดินทางไปยังบริเวณที่ติดเชื้อได้เร็วขึ้น และยังช่วยในการขจัดแบคทีเรียที่พบในบริเวณการติดเชื้อได้อีกด้วย


    9. ปกป้องผิว
    ข้าวโอ๊ตถูกนำมาใช้รักษาและลดอาการคันระคายเคือง ทั้งยังมอบประโยชน์มากมายสำหรับผิวของคุณ โดยที่ข้าวโอ๊ตสามารถปรับ pH ของผิวได้ยังช่วยให้ผิวนุ่มชุ่มชื้นได้อีกด้วยค่ะ


    ตอบลบ
  13. ประโยชน์ของรำข้าวโอ๊ต

    ที่บอกว่ารำข้าวโอ๊ตเป็นส่วนที่คงสารอาหารจากข้าวโอ๊ตเอาไว้ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดก็เพราะว่า รำข้าวโอ๊ตเป็นส่วนที่ไม่ได้ถูกขัดสีให้ขาว จึงยังคงปริมาณไฟเบอร์ได้สูงถึง 98% ของเส้นใยทั้งหมด แถมด้วยแร่ธาตุที่มีประโยชน์กับร่างกายมากมาย วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และให้แคลอรี่โดยเฉลี่ยแค่ 88 กรัมต่อรำข้าวโอ๊ตปรุงสุก 1 ถ้วยตวงเท่านั้น

    ซึ่งถ้าจะเจาะลึกจริง ๆ เราจะสามารถแยกแยะประโยชน์ของรำข้าวโอ๊ตได้ดังต่อไปนี้ค่ะ

    * ประโยชน์ของรำข้าวโอ๊ตกับการลดคอเลสเตอรอล

    เนื่องด้วยในรำข้าวโอ๊ตมีเบต้ากลูแคน (Beta-Glucan) ซึ่งเป็นไฟเบอร์ชนิดที่สามารถละลายน้ำได้ ทำให้มีคุณสมบัติดูดซับคอเรสเตอรอล และไขมันเลว (LDL) ในร่างกายได้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังสามารถดูดซับคอเลสเตอรอลส่วนเกินจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปได้อีกแรง พ่วงด้วยคุณสมบัติชั้นยอดในการช่วยลดคอเลสเตอรอลที่เกาะอยู่ตามเส้นเลือดได้อีกต่างหาก ซึ่งด้วยคุณสมบัติเด่นเช่นนี้ จึงสามารถลดความเสี่ยงพร้อมด้วยป้องกันโรคร้ายที่มีสาเหตุมาจากคอเลสเตอรอล เช่น โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดอุดตันได้ชิล ๆ

    * ประโยชน์ของรำข้าวโอ๊ตกับโรคเบาหวาน

    วารสารสมาคมโภชนาการอเมริกัน (Journal of the American Dietetic Association) เผยว่า รำข้าวโอ๊ตจะช่วยคงระดับน้ำตาลในเลือดที่มีแนวโน้มพุ่งสูงเกินไปหลังมื้ออาหาร โดยชะลอการย่อยคาร์โบไฮเดรต และลดปริมาณน้ำตาลที่กำลังจะเข้าสู่กระแสเลือดของเรา นอกจากนี้ยังอาจช่วยปรับสมดุลระดับน้ำตาลในเลือดโดยเพิ่มระดับอินซูลินเข้าไป ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

    ตอบลบ
  14. ประโยชน์ของรำข้าวโอ๊ตกับการลดน้ำหนัก

    ด้วยความที่รำข้าวโอ๊ตมีปริมาณไฟเบอร์เกือบจะ 100% เต็ม นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมินนิโซตา (University of Minnesota) จึงช่วยยืนยันว่า ไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้เหล่านี้ในรำข้าวโอ๊ต จะดูดซับน้ำในกระเพาะอาหาร และพองตัวทำให้เรารู้สึกอิ่มเร็วขึ้น อีกทั้งคาร์โบไฮเดรตในรำข้าวโอ๊ตยังช่วยชะลอกระบวนการย่อยอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นานกว่าเดิม ซึ่งนอกจากนี้ก็ยังมีคุณสมบัติในการดูดซับคอเลสเตอรอล และไขมันจากอาหาร พร้อมกับเสริมระบบขับถ่ายในร่างกายได้เป็นอย่างดีช่วยด้วยอีกแรงนะจ๊ะ

    * ประโยชน์ของรำข้าวโอ๊ตกับการขับถ่าย

    แน่นอนว่าปริมาณไฟเบอร์สูงปรี๊ดขนาดนั้นก็น่าจะช่วยเรื่องระบบขับถ่ายเราได้อย่างสบาย ๆ ดังนั้นหากใครกำลังมีปัญหาระบบขับถ่ายอยู่ตอนนี้ แนะนำให้หารำข้าวโอ๊ตมากิน พร้อมกันนั้นก็อย่าลืมดื่มน้ำเยอะ ๆ ด้วยนะคะ ไฟเบอร์ในรำข้าวโอ๊ตจะมีประสิทธิภาพในการช่วยปรับปรุงระบบขับถ่ายของคุณได้ดียิ่งขึ้น

    * ประโยชน์ของรำข้าวโอ๊ตกับการป้องกันโรคมะเร็ง

    รำข้าวโอ๊ตไม่เพียงแต่มีคุณสมบัติในการดูดซับไขมันและคอเลสเตอรอลในร่างกายเท่านั้น แต่ยังช่วยดูดซับสารพิษในร่างกาย อันเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งหลากชนิด โดยสถาบันวิจัยโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Institute for Cancer Research) ก็เผยผลวิจัยไว้ในเว็บไซต์ preventcancer.aicr.org ว่า คนที่รับประทานรำข้าวโอ๊ตเป็นประจำ จะลดโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้, มะเร็งเต้านม, มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งมดลูกได้ด้วยล่ะ


    ตอบลบ