Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอังคารที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

วิธีขับรถเกียร์ออโต้

 

วิธีขับรถเกียร์ออโต้ 


Women are big role players in the automotive industry


สำหรับการขับรถยนต์ในยุคปัจจุบันมีความสะดวกสบายมากกว่ายุคเก่าก่อน นั่นคือ รถยนต์ทุกประเภทจะมี รถเกียร์ออโต้ มาเป็นตัวเลือกสำหรับการขับขี่ให้คุณด้วย ทำให้ในปัจจุบันนี้ความต้องการรถเกียร์ออโต้มีเพิ่มมากยิ่งขึ้น ดังนั้น เพื่อให้การขับรถเกียร์ออโต้ของคุณมีประสิทธิภาพพร้อมกับยังสามารถรักษาสภาพรถของคุณได้เป็นอย่างดี วันนี้เราขอแนะนำ วิธีขับรถเกียร์ออโต้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่จะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับคุณในการใช้รถว่าสามารถใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้อย่างคุ้มค่า พร้อมทั้งยังถือเป็นการดูแลรักษาให้สามารถใช้รถไปได้อย่างยาวนานอีกด้วย

 

แนะนำเทคนิค วิธีขับรถเกียร์ออโต้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

แม้มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยที่มักค่อนขอดว่าขับรถเกียร์ออโต้ไม่มีอะไรยุ่งยาก เพียงแค่เหยียบคันเร่งและเหยียบเบรกเป็นก็เพียงพอแล้ว แต่ในความเป็นจริง การขับรถเกียร์ออโต้มีเทคนิคในการขับขี่เพื่อรีดเอาประสิทธิภาพที่ดีที่สุดแต่ยังคงความปลอดภัยอย่างเต็มเปี่ยมเอาไว้ เรา ได้เรียบเรียงวิธีขับรถเกียร์ออโต้อย่างมีประสิทธิภาพเอาไว้ให้กับทุกคนแล้วดังต่อไปนี้

 





 

รู้จักการปรับเกียร์ในรูปแบบต่าง ๆ

หัวใจสำคัญสำหรับการขับรถเกียร์ออโต้ คือการรู้จักกับเกียร์ในแต่ละช่องว่ามีความหมายอย่างไร และเกียร์ในแต่ละรูปแบบมีจุดประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกันแม้กระทั่งในส่วนของเกียร์ที่ใช้ในการจอดรถระหว่างเกียร์ P และ N ยังมีรูปแบบและวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกันด้วย

 


How to drive an automatic car - step by step guide

โดยเกียร์ที่ใช้ในการขับเคลื่อนรถเกียร์ออโต้ในรูปแบบมาตรฐานคือเกียร์ D ที่ย่อมาจากคำว่า drive นั่นเอง แต่เดิมจะมีเพียงช่องเดียว จนกระทั่งรถเกียร์ออโต้ในยุคใหม่จะเพิ่มอัตราเร่งและการขับขี่ในสภาพพื้นผิวถนนที่แตกต่างกันจึงเพิ่มเกียร์ D ที่มีหมายเลขกำกับเช่น D3 หรือ D2 ต้น

 

โดยความหมายของเกียร์เหล่านี้คือการเพิ่มอัตราทดเพื่อเค้นพลังของเครื่องให้มากขึ้น เหมาะสำหรับการไต่ขึ้นที่ลาดชัน หรือถนนที่มีความลื่นและต้องการการยึดเกาะที่มั่นคง ดังนั้น ควรดูจากคู่มือรถให้ชัดเจนว่าเกียร์สำหรับการขับในแต่ละแบบนั้นเหมาะสมกับสภาพถนนในรูปแบบไหน เพื่อที่ขับเกียร์ออโต้ขึ้นเขาได้อย่างปลอดภัย

 


การวางเท้าสำหรับการขับขี่

ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องใส่ใจเป็นอย่างมาก เพราะหลายคนขับรถเกียร์ออโต้โดยใช้เท้าซ้ายและขวาในการบังคับรถ นั่นคือการใช้เท้าซ้ายในการควบคุมเบรก และเท้าขวาสำหรับการเหยียบคันเร่ง ถือเป็นวิธีการที่ผิดเพราะว่าวิธีการนี้จะทำให้คุณเคยชิน เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้งานรถที่มีแป้นคลัชเพิ่มขึ้นมาอีกคัน จะทำให้เกิดความสับสนในการใช้งานและเป็นอันตรายต่อการขับขี่ได้ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ ควรใช้เท้าข้างขวาเพียงข้างเดียวสำหรับการควบคุมทั้งแป้นความเร็วและแป้นเบรกรถ เมื่อต้องทำการเปลี่ยนแบบรถจะสามารถขับได้ทั้งรถทั่วไปและรถเกียร์ออโต้

 


การเพิ่มความเร็วในการขับรถเกียร์ออโต้ทำอย่างไร ?

รถเกียร์ออโต้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ระบบเกียร์ทำการทดกำลังเครื่องและเพิ่มอัตราเร็วอย่างเป็นระบบโดยอัตโนมัติ การเหยียบคันเร่งลงไปในทันทีจะสามารถเพิ่มความเร็วรถได้ในทันใด ก็จริง แต่สิ่งที่จะตามมาคือ “ความเค้น” ที่กดลงในชุดระบบเกียร์จะมีเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลที่ตามมาคือการเสื่อมสภาพของระบบเกียร์ เสียหายก่อนอายุการใช้งาน ดังนั้น วิธีการเร่งเครื่องสำหรับรถเกียร์ออโต้คือ การปล่อยให้จังหวะเครื่องยนต์เดินไปตามรอบเครื่อง แม้อาจช้าไม่ทันใจไปบ้าง แต่มั่นใจได้ว่าปลอดภัย ทำให้คุณสามารถควบคุมรถได้เป็นอย่างดี

 


การจอดรถเกียร์ออโต้เพื่อความปลอดภัย


สำหรับการงานรถเกียร์ออโต้ในกรณีที่คุณต้องจอดรถ สามารถแบ่งรูปแบบการจอดรถได้สองรูปแบบคือ การจอดรถรอชั่วคราว เช่นการจอดรถติดไฟแดง และการจอดรถเพื่อการพักรถ มีรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยการจอดรถติดไฟแดง ควรเลือกใช้เกียร์ N สำหรับการจอด และใช้การเหยียบเบรกในการควบคุมรถ เพราะการเกียร์ N ระบบจะไม่ใช้การเบรกในรูปแบบเดียวกับเกียร์ P ทำให้รถพร้อมออกตัวอยู่เสมอ และเป็นการป้องกันการเข้าเกียร์พลาด ส่วนถ้าคุณต้องการจอดรถและดับรถ ควรใช้เกียร์ P ในการจอด เพราะจะทำให้รถของคุณไม่ไถลไปไหนได้

 


การออกตัวจากการจอดรถ

เทคนิคสุดท้ายที่ขอนำมาแบ่งปันสำหรับการขับรถเกียร์ออโต้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือ เทคนิคการออกตัวจากการจอด โดยวิธีการที่ดีที่สุดคือ ในระหว่างการออกตัวควรเอาเท้าวางไว้บนแป้นเบรกไว้ก่อนจนกระทั่งรถเริ่มทำความเร็วได้จึงค่อยเปลี่ยนมาเหยียบแป้นคันเร่ง ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดเหยียบแป้นควบคุมรถผิดในยามเกิดเหตุฉุกเฉินตรงหน้าจะสามารถหยุดรถได้อย่างทันท่วงทีนั่นเอง



ตำแหน่งของเกียร์ออโต้ สัญลักษณ์ของเกียร์ออโต้


อักษรย่อของเกียร์ออโต้


ตำแหน่ง P หมายถึง PARKING ใช้สำหรับจอดรถ และไม่ต้องการให้รถเคลื่อน เมื่อเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่งนี้แล้วรถยนต์จะไม่สามารถเคลื่อนที่ได้


ตำแหน่ง R หมายถึง REVERSE ใช้ในการถอยหลัง เป็นตำแหน่งที่ต้องระวัง ให้เหยียบเบรคทุกครั้งที่เข้าเกียร์ เพื่อให้รถถอยหลังอย่างช้าๆ


ตำแหน่ง N หมายถึง NEUTRAL เป็นตำแหน่งเกียร์ว่าง ใช้ในการหยุดรถชั่วคราวหรือจอดรถในตำแหน่งที่กีดขวางเส้นทางจราจร เมื่อดับเครื่องยนต์และเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่งนี้รถยนต์จะสามารถเคลื่อนที่ได้(ในกรณีที่ไม่ได้ดึงใส่เบรคมือไว้)


ตำแหน่ง D

ตำแหน่ง D หมายถึง DRIVE คือใช้ในการขับขี่เพื่อเดินหน้ารถตามปกติ ระบบเกียร์ออโต้จะทำการเปลี่ยนเกียร์ให้เองตามอัตราความเร็วของการขับขี่และรอบของเครื่องยนต์


ตำแหน่ง 2 ในตำแหน่งนี้เครื่องยนต์จะใช้จำกัดไว้ที่เกียร์ 1และ 2 เพื่อให้เหมาะสมกับการขับขี่ขึ้นทางลาดชันที่ไม่สูงมากนัก และสามารถใช้ความเร็วได้พอสมควร เช่น ทางที่มีเนินสูงชัน ทหางที่คดเคี้ยวไปมา ที่ไม่สามารถใช้ความเร็วสูงได้


ตำแหน่ง L หมายถึง LOWในตำแหน่งนี้เครื่องยนต์จะใช้จำกัดไว้ที่เกียร์ 1เท่านั้น ใช้สำหรับการขับขี่ขึ้นทางลาดชันที่สูงมาก และต้องใช้ความเร็วต่ำมาก


** กรณีที่ติดไฟแดงนานๆควรโยกมาทีทำตัว N เพื่อตัดระบบการทำงานของเกียร์และลดการสึกหรอภายในห้องเกียร์




ขั้นตอนวิธีการขับรถเกียร์ออโต้


1. การสตาร์ท ตำแหน่งเกียร์ควรอยู่ที่ P ใช้เท้าขวาเหยียบเบรกไว้ แล้วก็บิดกุญแจสตาร์ท





2. การขับเดินหน้า ขณะที่เท้ายังคงเหยียบเบรก ให้เลื่อนตำแหน่งเกียร์มาเป็นตำแหน่ง D หรือ D4 จากนั้นค่อยๆ ผ่อนเท้าออกจากเบรก ซึ่งตอนนี้รถจะแล่นไปได้เองอย่างช้าๆ แล้วเราจึงค่อยๆ เหยียบคันเร่งเพื่อให้ได้ตามความเร็วที่เราต้องการ


การขับขึ้นลง ทางลาดชัน


3. การขับขึ้นลง ทางลาดชัน ผ่อนความเร็วรถแล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง L แล้วก็เหยียบคันเร่งไปตามความต้องการ


4. การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ L มาเป็น D ผ่อนความเร็ว แล้วเลื่อน มาที่ตำแหน่ง D แล้วขับไปตามปกติ


5. การจอดรถ ค่อยๆ ผ่อนความเร็วรถเมื่อรถจอดสนิทก็เลื่อนตำแหน่งมาที่ P ใส่เบรกมือ ดับเครื่อง


6. การจอดรถในลักษณะกีดขวางคันอื่น หรือการจอดแบบปลดเกียร์ว่าง เมื่อจอดปกติตามข้อ 3 แล้ว แต่ไม่ต้องดึงเบรกมือขึ้นก็กดปุ่มเล็กๆ แล้วเลื่อนตำแหน่งเกียร์ไปที่ N


จอดติดไฟแดง


7. การจอดกรณีติดไฟแดง เหยียบเบรกค้างไว้แล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง N



8. การถอยหลัง เหยียบเบรกค้างไว้แล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง R ค่อยๆ ผ่อนเบรกเพราะรถจะถอยได้เอง แต่ถ้าต้องการให้ถอยเร็วหรือกรณีถอยขึ้นที่สูงก็อาจเหยียบคันเร่งแบบค่อย เหยียบ


Automatic gear system

The automatic gear transmission system uses torque to shift gears



How to Understand Automatic Car Gears - Reverse (R) mode







Automatic Car 

วิธีขับรถเกียร์ออโต้

การขับรถเกียร์ออโต้

เกียร์ออโต้



ที่มา    ::      https://www.mrkumka.com/article/car-guide/how-to-drive-automatic-car/   ,   https://www.mokkalana.com/3752/  ,   https://prinkotakoon.blogspot.com/2023/05/automatic-car.html

3 ความคิดเห็น:

  1. เทคนิคการขับรถยนต์เกียร์ออโต้ให้ปลอดภัย


    เทคนิคการขับรถยนต์เกียร์ออโต้


    รถยนต์ทั่วไปที่นิยมขับขี่ในท้องถนนส่วนใหญ่มักขับเคลื่อนด้วยระบบเกียร์ออโต้ เพราะระบบเกียร์ออโต้ให้ความสะดวกสบายในการขับขี่ โดยเฉพาะในสภาพการจราจรที่ติดขัด ทำให้การขับเคลื่อนต้องมีการชะลอตัวและเบรคอย่างกระชั้นชิดอยู่เสมอ

    ในการขับขี่รถยนต์เกียร์ออโต้ ผู้ขับขี่ควรจดจำตำแหน่ง และจดจำการใช้เกียร์แต่ละเกียร์ให้ได้ ซึ่งเกียร์ออโต้แต่ละตำแหน่งมีดังนี้

    P ( PARKING ) ตำแหน่งที่ใช้สำหรับจอด เพื่อไม่ต้องการให้รถเคลื่อนที่ ซึ่งล้อรถยนต์จะถูกล็อคเอาไว้ไม่สามารถทำให้เคลื่อนที่ได้ เช่น การจอดบนทางลาดชัน ต้องการจอดรถทิ้งไว้ สำหรับการใช้งานเกียร์ในตำแหน่งนี้ หลังจากเหยียบเบรคเพื่อหยุดรถ อย่าเพิ่งปล่อยเบรค ให้จับคันเกียร์กดปุ่มปลดล็อค แล้วโยกคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง P หลังจากนั้นให้ปล่อยเบรค แล้วจึงดับเครื่องยนต์

    R ( REVERSE ) ใช้สำหรับการถอยหลัง เมื่อใช้เกียร์ R จะต้องเหยียบเบรค เพื่อให้รถหยุดสนิทจากนั้นจับคันเกียร์กดปุ่มปลดล็อค แล้วจึงโยกคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง R หลังจากนั้นปล่อยเบรค กดคันเร่ง ให้รถเคลื่อนตัวถอยหลัง

    N ( NEUTRAL) ตำแหน่งเกียร์ว่าง ใช้เมื่อต้องการสตาร์ทเครื่องยนต์ หรือต้องการจอดทิ้งไว้โดยไม่ล็อคล้อ อาจใช้งานในขณะที่เครื่องยนต์ยังคงทำงานอยู่ เช่น การจอดรถในสภาพการจราจรติดขัด หรือเมื่อติดไฟแดง

    D4 หมายถึง เกียร์ออโต้ 4 สปีด ใช้ในการขับทั่วไป เช่น การเดินหน้า การทำงานของเกียร์ D4 มีการทำงานลักษณะ 4 สปีด คือ เกียร์มีการเปลี่ยนไปตามลำดับ จากเกียร์ 1 ไปเกียร์ 2 จากเกียร์ 2 ไปเกียร์ 3 จากเกียร์ 3 ไปเกียร์ 4 หากผู้ขับขี่เหยียบคันเร่งมาก เกียร์ก็จะเปลี่ยนตามอัตราความเร่งที่เพิ่มขึ้น เมื่อมีการลดความเร็วลง เกียร์จะเปลี่ยนจากเกียร์ 4 ไปเกียร์ 3 หรือจากเกียร์ 3 ไปเกียร์ 2 หรือจากเกียร์ 2ไปเกียร์ 1 ตามลำดับจากมากไปหาน้อย ขึ้นอยู่กับอัตราเร่งที่ลดลง

    D3 หมายถึง เกียร์ออโต้ 3 สปีด ใช้สำหรับรถขึ้นหรือลงเนิน นอกจากนี้ยังใช้ในกรณีที่ต้องการเพิ่มกำลังให้กับเครื่องยนต์และระบบเบรคมากขึ้น ผู้ขับขี่สามารถใช้การ KICK DOWN ในกรณีที่ต้องการเร่งความเร็วเพื่อแซง โดยการเหยียบคันเร่งให้จม หลังจากนั้นเกียร์จะเปลี่ยนอัตโนมัติ สามารถใช้ได้ในตำแหน่ง D4 และ D3

    D2 หมายถึง เกียร์ 2 ใช้เพื่อให้เครื่องยนต์เพิ่มกำลังเบรคมากขึ้น ในกรณีที่มีการขับขี่ขึ้นลงเขา เพื่อเพิ่มกำลังขับเคลื่อน นอกจากนี้ยังสามารถใช้ได้ในกรณีที่ รถติดหล่ม หรือการขับขี่ในถนนลื่น

    D1 หมายถึง เกียร์ 1 ใช้สำหรับการขับรถขึ้น-ลงเขาที่สูงชันมากๆ

    การขับเคลื่อนด้วยระบบเกียร์ออโต้ หากได้รับการขับขี่อย่างถูกต้อง นอกจากจะทำให้การขับขี่สะดวกสบายแล้ว ยังเพิ่มความปลอดภัยให้กับการขับขี่ยวดยานอีกด้วย



    ตอบลบ
  2. สัญลักษณ์เกียร์ออโต้ ที่คนขับต้องรู้


    สัญลักษณ์เกียร์ออโต้ P (Parking) = จอดรถ
    P ย่อมาจาก Parking แปลว่าจอดรถ ซึ่งก็คือเราจะเข้าเกียร์นี้เมื่อถึงเวลาตอนจอดรถนั่นเอง โดยปกติจะมีไว้สำหรับสถานที่ที่มีไว้สำหรับจอดรถ เช่นลานจอดรถ โรงรถ เป็นการจอดรถที่นิ่งสนิท ไม่เคลื่อนที่ หรือจอดตรงทางลาดชันที่ต้องการล็อคล้อไว้ไม่ให้เคลื่อนที่ แต่ต้องดูว่าไม่ได้เป็นการจอดรถขวางใครไว้ เพราะรถจะเลื่อนไม่ได้ หากจอดในที่ที่ควรต้องเลื่อนรถก็ไม่ควรเข้าเกียร์ P แต่ควรเป็นเกียร์ว่างเพื่อให้คนอื่นเคลื่อนรถเราออกไปได้

    R (Reverse) = ถอยหลัง
    เกียร์ R เป็นเกียร์ถอย สำหรับถอยรถไปข้างหลัง อาจจะถอยเข้าซอง ถอยออกจากซอง หรือถอยเพราะมีอะไรข้างหน้าขวางอยู่ จำไว้ว่าถ้าจะถอยไม่ว่าด้วยอะไรก็ต้องก็ต้องเข้าเกียร์ R ทั้งนั้น ซึ่งเมื่อเข้าเกียร์แล้ว รถจะค่อยๆ ถอยช้าๆ ดังนั้นควรต้องเหยียบเบรกเอาไว้เสมอ และค่อยๆ ถอย และดูข้างหลังว่ามีสิ่งกีดขวางหรือมีคนอยู่หรือไม่ ค่อยๆ ขยับไปทีละน้อย ไม่ควรเหยียบคันเร่ง เพราะอาจตกใจจนรถพุ่ง เกิดอุบัติเหตุได้

    N (Neutral) = เกียร์ว่าง
    เกียร์ N ย่อมาจาก Neutral ซึ่งก็หมายถึงเกียร์ปกติที่ยังไม่ได้เข้าเกียร์ใดๆ หรือเราเรียกว่า เกียร์ว่าง นั่นเอง โดยปกติเราจะเข้าเกียร์ N ในการจอดรถแบบชั่วคราว เช่น รถที่จอดติดไฟแดง รวมไปถึงการจอดรถในที่จอดรถ กรณีที่อาจกีดขวางทางผู้อื่น หรือเราไปจอดซ้อนคันอื่นอยู่ ซึ่งต้องปลดเกียร์ว่างเอาไว้ และปลดเบรกมือด้วย เพื่อให้รถคันที่จอดก่อนเราสามารถเลื่อนเข็นรถออกไปได้

    D (Drive) = เดินหน้า
    จำง่ายๆ เลย D Drive หรือ D เดินหน้า เมื่อเข้าเกียร์ D ก็คือการเตรียมตัวขับต่อยาวๆ โดยรถจะเริ่มออกตัวแล่นไปเองช้าๆ เมื่อเหยียบคันเร่ง ซึ่งในเกียร์ออโต้นั้น เราไม่จำเป็นต้องปรับเกียร์ 1 2 34 ด้วยตัวเอง แต่เมื่อรอบเครื่องถึง เกียร์จะเปลี่ยนลำดับขึ้นลงเอง ซึ่งเกียร์ D นี้จะเหมาะกับการขับขี่ในทางราบ

    ทีนี้ เรายังเห็นเกียร์ D ที่มีตัวเลขอยู่ด้วย เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการขับขี่ เมื่อรถขับในที่ลาดชัน โดยมีความหมายคือ

    เกียร์ D3 ใช้เมื่ออยู่บนถนนที่มีความลาดชันน้อย เช่น การขึ้นสะพาน หรือใช้ในกรณีต้องเร่งเครื่องแซงเพื่อให้รถมีกำลังมากขึ้นพอที่จะแซงคันข้างหน้าได้
    เกียร์ D2 หรือเกียร์ 2 ใช้กับถนนที่มีความลาดชัน เช่น ขับรถขึ้นเขาที่มีความลาดเอียงพอสมควร แต่ไม่ได้สูงมาก เช่น ขับไปตามภูเขา หรือเส้นทางคดเคี้ยว ขับขึ้นลานจอดรถในห้าง เป็นต้น
    เกียร์ D1 หรือเกียร์ L หรือเกียร์ต่ำ เป็นเกียร์ที่เหมาะสำหรับการขับรถขึ้นภูเขาสูง ที่มีความลาดชันมาก รวมไปถึงการลงเขาด้วย ซึ่งรถจะใช้ความเร็วต่ำมาก เพื่อลดการเหยียบเบรกของเรา ลดการสิ้นเปลืองผ้าเบรก และปลอดภัยกว่า
    S (Sport) = สปอร์ต
    สำหรับรถรุ่นใหม่ๆ บางรุ่น จะมีสัญลักษณ์เกียร์เพิ่มขึ้นมาอีก เช่น เกียร์ S หรือเกียร์สปอร์ต โดยจะช่วยให้เปลี่ยนอัตราทดเกียร์ช้าลง เพิ่มรอบเครื่องให้สูงขึ้น รถจะมีกำลังมากขึ้นในยามจำเป็น ไว้ใช้สำหรับเร่งแซง ถ้าให้จำง่ายๆ คือ S เอาไว้แซง ซึ่งดูแล้วหน้าที่จะคล้ายๆ กับเกียร์ D3

    B (Brake) = เบรก
    อีกหนึ่งเกียร์ไม่คุ้นสำหรับรถรุ่นใหม่ก็คือเกียร์ B เอาไว้เบรกหรือลดความเร็วลงนั่นเอง เหมาะกับเวลาที่รถกำลังลงเขา โดยให้เกียร์ช่วยเบรกโดยไม่จำเป็นต้องเหยียบเบรกตลอดเวลา ทำหน้าที่คล้ายๆ กับเกียร์ L หรือ D1

    รู้จักกับเกียร์กันมากขึ้นแล้ว ไม่ว่ารถรุ่นใหม่หรือรุ่นเก่าเราก็สามารถเปลี่ยนเกียร์ให้เหมาะสมกับการขับขี่ เพื่อให้การขับขี่ปลอดภัย และไม่ว่าคุณจะเช่ารถประเภทไหน ก็ไม่ต้องงงกับสัญลักษณ์เกียร์ออโต้เหล่านี้อีกต่อไป





    ตอบลบ
  3. มือใหม่ต้องรู้! ตำแหน่งของเกียร์อัตโนมัติ

    1. P (Parking) ใช้สำหรับจอดรถ (แบบล็อกล้อ) ⛔

    การที่เราจะเปลี่ยนมาที่เกียร์ P นั้นก็ควรจะเปลี่ยนต่อเมื่อรถจอดนิ่งสนิทแล้ว และต้องการดับเครื่องเพื่อเลิกใช้งาน เพราะจะเป็นการล็อคล้อไว้ไม่ให้รถเคลื่อนได้

    หากต้องการจอดในพื้นที่ทางลาดชันเกียร์ P นี้เช่นกัน โดยขอแนะนำให้ ดึงเบรกมือเสริมไว้ด้วย เพื่อป้องกันเกียร์เสียหายกรณีที่ถูกชนท้าย

    #ข้อระวัง ควรใช้เกียร์นี้เฉพาะในตอนที่จอดรถในตำแหน่งที่ไม่กีดขวางรถคันอื่นด้วย รวมถึงก่อนสตาร์ทรถเราควรเช็กให้ตำแหน่งเกียร์อยู่ที่ P ด้วยเช่นกัน!!

    ซึ่งจะล็อคล้อไว้ไม่ให้รถเคลื่อน โดยเราจะเปลี่ยนเกียร์มาที่ P เมื่อรถจอดนิ่งสนิทแล้วและต้องการดับเครื่อง เลิกใช้งาน หรือเมื่อต้องการจอดรถบนทางลาดชัน (ข้อแนะนำ : ควรดึงเบรกมือ เสริมด้วย เพื่อป้องกันเกียร์เสียหาย ถ้าถูกชนท้าย) นอกจากนั้น ก่อนสตาร์ทรถ ตำแหน่งเกียร์ควรจะอยู่ที่ P เช่นเดียวกัน

    2. R (Reverse) เกียร์ถอยหลัง ?⁉

    เมื่อเราเปลี่ยนเกียร์มาอยู่ที่ตำแหน่ง R แล้ว รถของเราก็จะถอยหลังได้เองอย่างช้าๆ โดยที่เรานั้นไม่ต้องเหยียบคันเร่งเลย

    #ข้อระวัง ไม่ควรเหยียบคันเร่งทันทีในขณะที่ถอยหลัง เนื่องจากจะทำให้รถถอยอย่างรวดเร็ว จนบางครั้งอาจจะเกิดอุบัติเหตุชนคนได้!

    3. ตำแหน่ง N (Neutral) เกียร์ว่าง ?

    เราจะใช้เกียร์นี้ก็ต่อเมื่อต้องการจอดรถไว้ชั่วคราว เพราะการที่เกียร์อยู่ในตำแหน่ง N นี้ รถเราก็จะยังสามารถถูกเลื่อนหรือเข็นได้

    ซึ่งเหมาะจะใช้ในกรณีการจอดรถในห้าง จอดรถขวางหน้ารถคันอื่น จอดรถติดไฟแดง และจอดรถขวางทางเข้าออก

    การที่เราใส่เกียร์ N ไว้ ผู้อื่นจะยังพอขยับรถเราไม่ให้ขวางทางออกของรถเขาได้ และข้อสำคัญในกรณีนี้ก็คืออย่าลืมปลดเบรกมือออกด้วยนะคะ ^^

    4. ตำแหน่ง D (Drive) เกียร์ขับ ??
    D เป็นตำแหน่งสำหรับเคลื่อนที่ไปด้านหน้า ซึ่งโดยปกติแล้ว เกียร์ D ถือว่าครอบคลุมการขับขี่ในทุกรูปแบบ หากคุณเป็นมือใหม่หัดขับ การใช้ตำแหน่งเกียร์ D อย่างเดียวก็เพียงพอต่อการเดินทางทั่วไปแล้ว

    สำหรับรถบางรุ่นที่มีตำแหน่งเป็นตัวเลข เช่น 2, 3 และ 4 หรือ มีอักษร D ควบคู่ เช่น D2, D3 และ D4 นั่นหมายถึง อัตราทดสูงสุดที่ยอมให้เกียร์ทด ยกตัวอย่างเช่น ตำแหน่ง 2 หมายถึง รถจะใช้เพียงเกียร์ 1-2 เท่านั้น เช่นเดียวกับตำแหน่งเกียร์ 4 รถจะใช้เพียงเกียร์ 1-4 ไม่ปรับเป็นเกียร์ 5 ให้แต่อย่างใด

    5. ตำแหน่ง L (Low) ใช้สำหรับขึ้น-ลงเนิน ?

    หากว่าเราต้องการที่จะขับรถขึ้น-ลงเนินหรือภูเขาที่มีความสูงชันมากๆ ก็ควรที่จะใช้เกียร์ L โดยเฉพาะในตอนลงเขา เกียร์ L จะเป็นการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรก เพื่อลดการเหยียบเบรกของเรา ทำให้เราสามารถยืดอายุผ้าเบรกของเราไปได้

    6. ตำแหน่ง S (Sport) ใช้สำหรับการเร่งแซง ?

    เกียร์ S บางคันอาจเป็นปุ่ม Sport ซึ่งโหมดสปอร์ตจะปรับสมองกลเกียร์ให้เปลี่ยนอัตราทดในรอบเครื่องยนต์ที่สูงขึ้น ช่วยเพิ่มกำลังจากเครื่องยนต์ให้เร่งแซงได้ฉับไวกว่าปกติ

    #ข้อระวัง ไม่ควรใช้โหมด Sport ขณะขับขี่ทางไกลด้วยความเร็วสูง เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันอย่างมาก!


    ตอบลบ