Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

แพ็คกระเป๋าเตรียมเข้าห้องคลอด

แพ็คกระเป๋าเตรียมเข้าห้องคลอด
 
 
 
 
Pregnancy Ages 28-41 weeks : ถ้าเหลือเวลาอีกสัก 1 เดือนก่อนถึงกำหนดคลอด ควรลงมือเริ่มจัดกระเป๋าเตรียมไปคลอดได้แล้ว เผื่อเกิดกรณีฉุกเฉินจะได้หยิบฉวยได้ทันท่วงที ซึ่งการจัดกระเป๋านี้ช่วยลดความเครียดกับการคลอดที่กำลังมาถึงได้เยอะเลยนะ เพราะมีอะไรให้ทำโดยไม่ต้องคิดฟุ้งซ่านไงล่ะ




 
 
 

ระหว่างรอคลอด
 
 
- เอกสารสำหรับฝากครรภ์
- นาฬิกาที่มีเข็มวินาทีเพื่อจับเวลาบีบรัดตัวของมดลูก
- กล้องถ่ายรูป หรือ กล้องวิดีโอ (สำหรับกล้องวิดีโอถามทางโรงพยาบาลก่อนว่าอนุญาตให้ถ่ายได้หรือไม่ และถามคนของเราด้วยว่าใจแข็งพอที่เก็บภาพรึเปล่า)
- แท็บเลต ไอแพด หรือ โน้ตบุ๊ค เอาไว้เล่นเกมเพื่อคลายเครียดระหว่างรอคลอด
- นำหมอนส่วนตัวมาใช้ เพื่อให้การนอนสบายมากขึ้น
- ลูกอมรสโปรด ชนิดปราศจากน้ำตาล เพื่อรักษาให้ปากเราชุ่มชื้น
- กระเป๋าใบเล็กสำหรับใส่ แปรงสีฟัน, ยาสีฟัน, สบู่หรือเจลอาบน้ำ, แชมพูสระผม, โลชั่น (กลิ่นที่ชอบ) ลิปมัน, สเปรย์น้ำแร่, กระจก เครื่องสำอาง และ อุปกรณ์ความงามต่างๆ
- แปรง, กิ๊บ และที่คาดผม (สำหรับคุณแม่ที่ผมยาว)
- เตรียมแซนด์วิช และขนมคบเคี้ยว และเสื้อผ้าเผื่อสามี หรือ คนเฝ้าเราด้วย
- ให้คุณแม่เตรียมอาหารที่เราชอบทานไว้ เผื่อว่าอาหารโรงพยาบาลไม่ถูกปากเรา
- ผ้าเช็ดตัวสีเข้ม 1 ผืนและผ้าขนหนูไว้เช็ดหน้า 2 ผืน (บางโรงพยาบาลมีให้)

 
 



สำหรับหลังคลอด


 
 
- กระเป๋าน้ำร้อน สำหรับคลายปวด
- ผ้าอนามัย
- เสื้อชั้นในแบบให้นมลูก และแผ่นซับน้ำนม พร้อมสำรองชุดชั้นใน และกางเกงในอีก 1 ชุด
- หมอนให้นม
- ของใช้จำเป็นสำหรับลูก ได้แก่ ผ้าอ้อม ผ้าห่ม ถุงมือ ถุงเท้า หมวก และเสื้อผ้าเด็กอ่อนที่สวมง่าย 3 ชุด
- ถุงพลาสติกสำหรับใส่เสื้อผ้าใช้แล้ว
- เสื้อผ้าที่สวมสบายโดยเลือกชุดที่มีขนาดใหญ่ไว้ก่อน (เพราะคุณยังดูเหมือนคนท้อง 5 เดือนอยู่) และรองเท้าส้นแบนสำหรับใส่กลับบ้าน
- ชุดนอน ถุงเท้า และ รองเท้าสำหรับเดินในบ้าน เลือกคู่ที่ใส่สบายไม่ลื่น เพราะคุณอาจต้องเดินตลอดหลังจากคลอด หรือเดินเล่นระหว่างให้นมลูก
- หานิยาย หรือนิตยสาร มาอ่านเพื่อผ่อนคลาย และโหลดเพลงที่ชอบจังหวะเบาๆใส่ไว้ในไอพอด เปิดคลอขณะให้นมลูก
- ทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน เพราะบางโรงพยาบาลมีบริการทำสูติบัตรให้
- ของขบเคี้ยว ที่มีประโยชน์ เช่น ลูกเกด ถั่ว แครกเกอร์โฮลวีท เพื่อคลายความหิวระหว่างมื้อ หรือต้องลุกขึ้นมาให้นมลูก
- ใช้แท็บเลต ไอแพด หรือ โน้ตบุ๊ค ประกาศข่าวดีนี้ผ่านทางเฟสบุ๊ค
- เบบี้บุ๊ค เพื่อจดบันทึกเรื่องราวพิเศษๆ จะเป็นสมุดบันทึกอย่างเดียว หรือ scrapbook ที่กำลังฮอตฮิตอยู่ตอนนี้ก็ได้
 
 

การเตรียมตัวคลอด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
การเตรียมพร้อมก่อนคลอด
 
 
 

จารึกพระคุณแม่



 

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ราว 8 เดือน ควรตรวจดูว่าได้เตรียมความพร้อมสำหรับการคลอดทารกน้อยแล้วหรือยัง



คุณจะพบกับเหตุการณ์อะไรบ้างเมื่อเข้าห้องคลอด และควรเตรียมของใช้อะไรที่จำเป็นสำหรับการนอนโรงพยาบาล และของใช้สำหรับการดูแลทารกและคุณแม่หลังคลอด


 
 
กระเป๋าเตรียมคลอด
 
 

 
ควรจัดเตรียมพร้อม เพื่อสามารถหยิบฉวยได้ทันที เมื่อต้องการอย่างเร่งด่วน สิ่งของที่ควรเตรียมมีดังนี้


1.ชุดที่จะใส่หลังคลอดกลับบ้าน 1 ชุด
2.ผ้าเช็ดตัวสีเข้ม และผ้าขนหนูเช็ดหน้า 2 ผืน


ผ้าห่อตัว



3.สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน
4.ผ้าอนามัยแบบห่วง
5.หนังสืออ่านเล่น, นิตยสาร, วิทยุเล็กๆ


book



6.เบอร์โทรศัพท์ของญาติพี่น้อง และเพื่อน
7.ของใช้สำหรับทารก ผ้าอ้อม 2 ผืน เข็มกลัดซ่อนปลาย (หรืออาจใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป) เสื้อชุดหมีหรือเสื่อชุดนอน ผ้าขนหนูผืนใหญ่


bodysuit


นอกจากนี้อาจเตรียมยกทรง สำหรับให้นมทารก 2-3 ตัว


bra


 
การเจ็บครรภ์และการคลอด
 
 

 
ในที่สุด การเจ็บครรภ์ และการคลอดก็มาถึง คุณแม่อาจจะรู้สึกหวาดกลัว ตื่นเต้น เพราะจะเป็นช่วงที่มี การเจ็บครรภ์คลอด ซึ่งหลังจากนั้นจะได้พบกับ ทารกตัวน้อย การผจญกับ การเจ็บครรภ์จะผ่านไปได้ ถ้าคุณแม่ได้มีการเตรียมตัวมาก่อน และเข้าใจว่าจะเกิดอะไรขึ้น ในระยะต่างๆ ของการคลอด การให้กำเนิดลูกน้อย เป็นประสบการณ์อันยิ่งใหญ่ ยิ่งคุณแม่สงบใจ และผ่อนคลายได้มากเท่าไร ก็จะสามารถซึมซับความประทับใจ และผ่านประสบการณ์ ครั้งนี้ได้อย่างน่าจดจำ


 
 
การคลอดทางหน้าท้อง
 
 

 
การคลอดทางหน้าท้องหรือผ่าตัดคลอด ทางการแพทย์เรียก ซีซาเรียน เซ็คชั่น (cesarean section) จะเป็นวิธีคลอดที่ใช้สำหรับการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน หรือเกิดปัญหาไม่สามารถคลอดปกติทางหน้าท้องได้ เนื่องจากการคลอดทางหน้าท้องจะต้องมีการให้ยาระงับความรู้สึกมากกว่า และเสียเลือดจากการผ่าตัดมากกว่าการคลอดปกติ โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดทางหน้าท้อง จึงมากกว่าการคลอดทางช่องคลอดปกติ คุณแม่อาจจะรู้สึกผิดหวังที่ไม่สามารถคลอดทารกทางช่องคลอดเองได้ และอาจรู้สึกกลัวการผ่าตัด แต่ความรู้สึกนี้จะน้อยลงหากคุณแม่เข้าใจเหตุผลของการผ่าตัด ทราบถึงขั้นตอนและการปฏิบัติตัวในการผ่าตัดคลอด ก็จะลดความวิตกกังวลลงได้


ในตอนของการผ่าตัดเตรียมคลอด เริ่มด้วยการโกนขนบริเวณอวัยวะเพศ ให้น้ำเกลือที่แขนและใส่สายสวนปัสสาวะ ย้ายเข้าห้องผ่าตัด เตรียมยาระงับความรู้สึกอาจจะใช้วิธีใส่ท่อช่วยหายใจและใช้ดมยาสลบ หรือใช้ยาชาฉีดเข้าโพรงน้ำไขสันหลังหรือเหนือโพรงน้ำไขสันหลัง ซึ่งในกรณีหลังคุณแม่จะสามารถรู้สึกตัวขณะที่ทำการผ่าตัดคลอดทารก และอาจขอดูทารกหลังคลอดทันทีได้


การเลือกวิธีระงับความรู้สึกจะได้รับการพิจารณาโดยวิสัญญีแพทย์ โดยร่วมกับการตัดสินใจของคุณแม่ด้วย หลังได้รับยาระงับความรู้สึก แพทย์จะทำการผ่าตัดคลอดโดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง แผลผ่าตัดปกติจะมี 2 ชนิดคือ แผลตามยาวจากใต้สะดือถึงบริเวณเหนือหัวหน่าว กับแผลตามขวางหรือแผลบิกินี ซึ่งจะอยู่เหนือแนวขนที่อวัยวะเพศเล็กน้อย สำหรับไหมที่เย็บแผลอาจเป็นไหมที่ไม่ละลายซึ่งจำเป็นต้องตัดไหมประมาณ 5-7 วันหลังคลอด และไหมที่ละลายซึ่งไม่ต้องตัดไหมในกรณีที่ไม่มีปมไหม


การเกิดแผลเป็นนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยได้แก่ ลักษณะของแผลผ่าตัด แรงตึงของแผล และลักษณะผิวหนังของคุณแม่แต่ละคน ดังนั้น คุณแม่ควรใส่ใจ ในเรื่องความปลอดภัย และระวังดูแลบาดแผลไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ มากกว่าการวิตกเรื่องแผลเป็น หลังผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว จะสังเกตอาการต่อในห้องพักฟื้นประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นจึงย้ายคุณแม่ไปสู่หอผู้ป่วยหลังคลอด สำหรับคุณแม่ที่ผ่าตัดคลอด ปกติแพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านใน 5-7 วันหลังคลอด


 
 
 
 
 


บทความโดย น.พ. ภาวิน พัวพรพงษ์
 
 
 



 
 
 
การเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด
 
 
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ราวๆ  8 เดือนควรตรวจดูว่าได้เตรียมความพร้อมสำหรับการคลอดทารกน้อยแล้วหรือยังควรเตรียมของใช้ที่จำเป็นสำหรับการนอนโรงพยาบาลและของใช้สำหรับการดูแลทารกและคุณแม่หลังคลอดด้วย
กระเป๋าเตรียมคลอดควรจัดเตรียมพร้อมเพื่อสามารถหยิบฉวยได้ทันทีเมื่อต้องการอย่างเร่งด่วน

- ชุดที่จะใส่หลังคลอดกลับบ้าน 1 ชุด

-ผ้าเช็ดตัวสีเข้มและผ้าขนหนูเช็ดหน้า 2 ผืน

-สบู่

-ยาสีฟันแปรงสีฟัน

-ผ้าอนามัยแบบห่วง

-หนังสืออ่านเล่น,นิตยสาร,วิทยุเล็กๆ

-เบอร์โทรศัพท์ของญาติพี่น้องและเพื่อน

-สำเนาเอกสารบัตรประจำตัวประชาชนของคุณพ่อและคุณแม่สำเนาทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรสเพื่อใช้ในการทำสูติบัตร

-ของใช้สำหรับทารกผ้าอ้อม 2 ผืน เข็มกลัดซ่อนปลาย (หรืออาจใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป)เสื้อชุดหมีหรือเสื่อชุดนอนผ้าขนหนูผืนใหญ่

-นอกจากนี้อาจเตรียมยกทรงสำหรับให้นมทารก 2-3 ตัว


 

 

 

การเจ็บครรภ์และการคลอด


 
ในที่สุดการเจ็บครรภ์และการคลอดก็มาถึงคุณแม่อาจจะรู้สึกหวาดกลัวตื่นเต้นเพราะจะเป็นช่วงที่มีการเจ็บครรภ์คลอดซึ่งหลังจากนั้นจะได้พบกับทารกตัวน้อยการผจญกับการเจ็บครรภ์จะผ่านไปได้ถ้าคุณแม่ได้มีการเตรียมตัวมาก่อนและเข้าใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นในระยะต่างๆ ของการคลอดการให้กำเนิดลูกน้อยเป็นประสบการณ์อันยิ่งใหญ่ยิ่งคุณแม่สงบใจและผ่อนคลายได้มากเท่าไรก็จะสามารถซึมซับความประทับใจและผ่านประสบการณ์ครั้งนี้ได้อย่างน่าจดจำ

การคลอดจะแบ่งเป็น 3 ระยะ



ระยะที่หนึ่งจะเป็นช่วงที่คุณแม่มีอาการเจ็บครรภ์สม่ำเสมอและถี่ขึ้นจะพบท้องแข็งเกร็งเป็นก้อนนูนขึ้นมาเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูกเป็นระยะๆระยะนี้จะกินเวลานาน 8-10 ชั่วโมงในท้องแรกและ 6-8 ชั่งโมงในท้องหลังการผ่านช่วงเวลานี้จะสำเร็จได้ด้วยดีหากมีการอบรมเรื่องการคลอดมาก่อนร่วมกับการพยายามผ่อนคลายสงบใจและปล่อยตัวตามสบาย

เมื่อคุณแม่มีอาการเจ็บครรภ์คลอดมีมูกเลือดหรือน้ำเดินซึ่งเป็นอาการนำมาโรงพยาบาลเมื่อมาถึงห้องคลอดเจ้าหน้าที่จะถามรายละเอียดของการเจ็บครรภ์ว่าเริ่มต้นเมื่อใดถี่บ่อยแค่ไหนมีมูกเลือดจากช่องคลอดหรือน้ำเดินหรือไม่จากนั้นจะมีแพทย์ถามประวัติซ้ำพร้อมตรวจร่างกายวัดความดันโลหิตชีพจรการหายใจอุณหภูมิชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงตรวจหน้าท้องและตรวจภายในว่าปากมดลูกเปิดมากแค่ไหนแล้วจากนั้นจะตรวจปัสสาวะเพื่อดูน้ำตาลและโปรตีนเพื่อค้นหาภาวะแทรกซ้อนต่างๆหากพบว่าปากมดลูกเปิดไม่มากจะทำการสวนอุจจาระแล้วย้ายเข้ารอคลอดในห้องรอคลอด

ห้องรอคลอดจะมีพยาบาลและแพทย์มาตรวจการหดรัดตัวของมดลูกและตรวจภายในเป็นระยะเพื่อดูความก้าวหน้าของการคลอดการคลอดจะเข้าสู่ระยะที่สองเมื่อปากมดลูกเปิดเต็มที่หรือปกติประมาณ 10 เซนติเมตรในระยะนี้คุณแม่มักจะได้รับคำแนะนำให้งดน้ำงดอาหารและได้รับน้ำเกลือเพื่อการเตรียมพร้อมสำหรับการดมยาสลบในการผ่าคลอดและภาวะฉุกเฉินในการสตั้งครรภ์ต่างๆสำหรับอาการเจ็บครรภ์ในระยะนี้แพทย์อาจพิจารณาให้ยาระงับความรู้สึกวิธีต่างๆ หรือใช้ยาแก้ปวดตามความเหมาะสม ในบางสถานพยาบาลคุณพ่ออาจมีส่วนร่วมในการลดความเจ็บปวดจากการเจ็บครรภ์คลอดโดยอยู่ข้างเตียง พูดให้กำลังใจ นวดหรือกดบริเวณสันหลังส่วนเอวอันจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี การมีส่วนร่วมในกระบวนการคลอดและส่งเสริมแรงใจให้แก่มารดาเป็นอย่างมาก


ระยะที่สองเป็นระยะที่ปากมดลูกเปิดเต็มที่และจะมีการคลอดของทารกจนเสร็จสิ้นในระยะนี้คุณแม่จะได้รับการย้ายเข้าสู้ห้องคลอดและนอนอยู่ในท่าเตรียมคลอดซึ่งจะอยู่ในท่านอนหงายศีรษะยกสูงหรือขึ้นขาหยั่งจากนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการคลอดทารกคือแรงเบ่งของคุณแม่การเรียนรู้และได้รับการอบรมเรื่องการเบ่งคลอดจะช่วยให้คุณแม่ออกแรงเบ่งตลอดได้ถูกวิธีโดยเมื่อมีการเจ็บครรภ์คลอดมดลูกเริ่มหดรัดตัวคุณแม่ควรหายใจเข้าลึกกลั้น และเบ่งยาวเมื่อหมดแรงเบ่งสูดหายใจเข้าลึก กลั้น และเบ่งยาวซ้ำในการหดรัดตัวของมดลูก 1 ครั้งควรเบ่งยาวได้ 2-3 ครั้งขณะที่คุณแม่เบ่งพยาบาลหรือบางแห่งคุณพ่อจะช่วยให้กำลังใจ ให้จังหวะ และเชียร์เบ่งการเบ่งคลอดที่ถูกต้องจะทำให้ทารกเคลื่อนตัวลงมาอย่างเหมาะสมเมื่อทารกเคลื่อนตัวลงมาที่ปากช่องคลอดแพทย์จะช่วยทำคลอดโดยฉีดยาชาระงับความรู้สึกบริเวณฝีเย็บและอาจพิจารณาตัดฝีเย็บเพื่อช่วยเหลือกลไกการคลอดหลังจากนั้น แพทย์จะทำคลอดทารก

เมื่อทารกคลอดแพทย์จะทำการดูดน้ำคร่ำในปากและจมูกของทารกโดยใช้ลูกยางแดงเพื่อเป็นการกระตุ้นทารกและช่วยให้ทารกเริ่มหายใจจากนั้น จะเช็ดตัวทารกให้แห้งห่มผ้าให้อบอุ่นและอาจพิจารณานำทารกมาวางไว้บนหน้าอกคุณแม่เพื่อกระตุ้นความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูก และให้ทารกดูดนมเพื่อกระตุ้นกลไกการสร้างและหลั่งน้ำนมขณะเดียวกัน แพทย์ก็จะพิจารณาทำคลอดรกซึ่งจะเป็นการคลอดในระยะที่สามระยะที่สองนี้โดยปกติในท้องแรกจะใช้เวลา 1-2 ชั่วโมงส่วนในท้องหลังจะใช้เวลา ½ -1 ชั่วโมง


ระยะที่สามเป็นระยะที่จะเกิดการคลอดของรกหลังทารกคลอดปกติรกจะเริ่มลอกตัวเมื่อรกลอกตัวแล้วแพทย์จะพิจารณาทำคลอดรกโดยอาจจะทำการกดบริเวณหน้าท้องหรือท้องน้อยของคุณแม่เพื่อดันไล่รกลงมาที่ช่องคลอดและช่วยทำคลอดรกหลังคลอดรกแพทย์จะทำการตรวจสอบหาบาดแผลในช่องทางคลอดและพิจารณาเย็บซ่อมแซมโดยใช้ยาระงับความรู้สึกโดยมากระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที

หลังจากระยะนี้แล้ว คุณแม่จะพักอยู่ในห้องคลอดต่อไปประมาณ 1-2 ชั่วโมงหลังจากนั้นจะได้รับการย้ายเข้าสู่หอผู้ป่วยหลังคลอดซึ่งในระยะนี้คุณแม่มักจะหลับเนื่องจากการเหนื่อยและอ่อนเพลียจากการคลอดการพักผ่อนในโรงพยาบาลมักใช้เวลาเพียง 1-2 วันหลังคลอดในกรณีที่คลอดปกติทางช่องคลอดจากนั้น แพทย์มักอนุญาตให้คุณแม่และทารกกลับไปพักผ่อนต่อที่บ้านได้







การคลอดโดยใช้เครื่องมือช่วยคลอด




การคลอดที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็นการคลอดปกติทางช่องคลอด ในกรณีที่มีความผิดปกติของท่าของทารก ทารกอยู่ในภาวะคับขัน แรงเบ่งของแม่ หรือแรงหดรัดตัวของมดลูก การคลอดอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องมือช่วยคลอด

เครื่องมือที่ใช้ช่วยคลอดที่ได้รับความนิยมมี 2 ชนิดคือ


1.คีมช่วยคลอด

2.เครื่องดูดสุญญากาศ

เครื่องมือทั้งสองชนิดนี้ใช้ในกรณีที่คุณแม่ไม่มีแรงเบ่งหรือมีภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ไม่สามารถออกแรงเบ่งคลอดได้ เช่น ความดันโลหิตสูงโรคหัวใจ เป็นต้นหรือในกรณีที่ทารกอยู่ในภาวะคับขันจำเป็นต้องรีบให้คลอดในกรณีที่ปากมดลูกเปิดเต็มที่แล้วและทารกลงมาอยู่ต่ำใกล้บริเวณปากช่องคลอดการเลือกใช้เครื่องมือช่วยคลอดแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับท่าของทารกความชำนาญของผู้ทำคลอดและความเร่งด่วนที่จำเป็นต้องรีบทำคลอด


การช่วยคลอดโดยใช้คีมก่อนที่จะช่วยคลอด แพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณอุ้งเชิงกราน แล้วสอดคีมเข้าไปด้านข้างของศีรษะทารกทีละข้างจากนั้นจึงทำการดึงอย่างนุ่มนวลผ่านช่องคลอดคุณแม่อาจช่วยการคลอดได้โดยเบ่งเมื่อศีรษะเด็กเคลื่อนลงมาต่ำจึงทำการตัดฝีเย็บแล้วทำคลอดส่วนศีรษะ คลายคีมออก ทำคลอดส่วนลำตัวและแขนขาตามปกติทารกที่คลอดโดยวิธีนี้ มักพบรอยแดงบริเวณคีมคีบ ซึ่งจะหายไปเองภายใน 2-3 วัน


การช่วยคลอดโดยเครื่องสุญญากาศเช่นเดียวกันจะต้องทำการฉีดยาบริเวณอุ้งเชิงกรานแล้วใส่โลหะกลมรูปร่างคล้ายถ้วยเล็กๆ เข้าไปดูดกับหนังศีรษะทารกจากนั้นดูดอากาศในถ้วยออกเพื่อให้เป็นสุญญากาศแล้วดึงให้ทารกเคลื่อนต่ำลงมาพร้อมกับแรงเบ่งของคุณแม่เมื่อศีรษะลงมาต่ำตัดฝีเย็บท่าคลอดส่วนศีรษะปิดเครื่องดูดสุญญากาศ ถ้วยจะหลุดออก แล้วทำคลอดส่วนที่เหลือของทารกตามปกติทารกที่คลอดโดยวิธีนี้มักมีศีรษะนูนเป็นลักษณะคล้ายจุก ซึ่งเกิดจากแรงดูดของเครื่องดูดสุญญากาศ ซึ่งปกติจะหายไปใน 1-2 วัน

การคลอดโดยใช้เครื่องมือช่วยคลอดหากไม่พบภาวะแทรกซ้อนของคุณแม่และทารก คุณแม่สามารถจะกลับไปพักผ่อนที่บ้านได้ในระยะเดียวกันกับการคลอดปกติ






การคลอดทารกที่ส่วนนำเป็นก้น

               
 
ทารกที่มีส่วนนำเป็นก้นเมื่อครบกำหนดคลอดพบ 3 ใน 100 รายของการคลอด การคลอดทารกที่มีส่วนนำเป็นก้นจะยากกว่าปกติเนื่องจากศีรษะที่เป็นส่วนที่โตที่สุดของร่างกายจะคลอดเป็นลำดับสุดท้าย ทำให้เกิดความยากลำบากในการทำคลอดการเลือกวิธีการคลอดว่าจะคลอดทางช่องคลอดหรือผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องนั้นขึ้นอยู่กับลำดับครรภ์ขนาดทารก ลักษณะอุ้งเชิงกรานของแม่และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น สายสะดือย้อย รกเกาะต่ำ ซึ่งการตัดสินใจเลือกวิธีการคลอดนั้นคุณแม่จะได้รับคำแนะนำเรื่องข้อมูลจากแพทย์และทำการตัดสินใจพร้อมครอบครัว ปัจจุบันแนวโน้มการคลอดทางช่องคลอดของทารกที่มีส่วนนำเป็นก้นลดน้อยลง ส่วนใหญ่มักจะได้รับการผ่าตัดคลอด อย่างไรก็ตาม การคลอดทารกที่มีส่วนนำเป็นก้นถือเป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งซึ่งจำเป็นจะต้องมีกุมารแพทย์ร่วมดูแลขณะทำการคลอดด้วยเสมอ







การคลอดทางหน้าท้อง




การคลอดทางหน้าท้องหรือผ่าตัดคลอดทางการแพทย์เรียกซีซาเรียน เซ็คชั่น (cesarean section)จะเป็นวิธีคลอดที่ใช้สำหรับการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนหรือเกิดปัญหาไม่สามารถคลอดปกติทางหน้าท้องได้เนื่องจากการคลอดทางหน้าท้องจะต้องมีการให้ยาระงับความรู้สึกมากกว่าและเสียเลือดจากการผ่าตัดมากกว่าการคลอดปกติโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดทางหน้าท้องจึงมากกว่าการคลอดทางช่องคลอดปกติคุณแม่อาจจะรู้สึกผิดหวังที่ไม่สามารถคลอดทารกทางช่องคลอดเองได้และอาจรู้สึกกลัวการผ่าตัดแต่ความรู้สึกนี้จะน้อยลงหากคุณแม่เข้าใจเหตุผลของการผ่าตัดทราบถึงขั้นตอนและการปฏิบัติตัวในการผ่าตัดคลอดก็จะลดความวิตกกังวลลงได้

ขั้นตอนของการผ่าตัดเตรียมคลอดเริ่มด้วยการโกนขนบริเวณอวัยวะเพศให้น้ำเกลือที่แขนและใส่สายสวนปัสสาวะย้ายเข้าห้องผ่าตัดเตรียมยาระงับความรู้สึกอาจจะใช้วิธีใส่ท่อช่วยหายใจและใช้ดมยาสลบหรือใช้ยาชาฉีดเข้าโพรงน้ำไขสันหลังหรือเหนือโพรงน้ำไขสันหลังซึ่งในกรณีหลังคุณแม่จะสามารถรู้สึกตัวขณะที่ทำการผ่าตัดคลอดทารกและอาจขอดูทารกหลังคลอดทันทีได้การเลือกวิธีระงับความรู้สึกจะได้รับการพิจารณาโดยวิสัญญีแพทย์โดยร่วมกับการตัดสินใจของคุณแม่ด้วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกแพทย์จะทำการผ่าตัดคลอดโดยปกติจะใช้เวลาประมาณ ½ -1 ชั่วโมงแผลผ่าตัดปกติจะมี 2 ชนิดคือแผลตามยาวจากใต้สะดือถึงบริเวณเหนือหัวหน่าวกับแผลตามขวางหรือแผลบิกินีซึ่งจะอยู่เหนือแนวขนที่อวัยวะเพศเล็กน้อยสำหรับไหมที่เย็บแผลอาจเป็นไหมที่ไม่ละลายซึ่งจำเป็นต้องตัดไหมประมาณ 5-7 วันหลังคลอดและไหมที่ละลายซึ่งไม่ต้องตัดไหมในกรณีที่ไม่มีปมไหมการเกิดแผลเป็นนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยได้แก่ลักษณะของแผลผ่าตัดแรงตึงของแผลและลักษณะผิวหนังของคุณแม่แต่ละคนดังนั้น คุณแม่ควรใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยและระวังดูแลบาดแผลไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆมากกว่าการวิตกเรื่องแผลเป็นหลังผ่าตัดเรียบร้อยแล้วจะสังเกตอาการต่อในห้องพักฟื้นประมาณ 1 ชั่วโมงจากนั้นจึงย้ายคุณแม่ไปสู่หอผู้ป่วยหลังคลอดสำหรับคุณแม่ที่ผ่าตัดคลอดปกติแพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านใน5-7 วันหลังคลอด
 
 

การดูแลสุขภาพหลังคลอด




หลังคลอดใหม่ ๆ คุณแม่มักจะรู้สึกไม่ค่อยสบายไปหมดและอาจเจ็บระบบในช่วงวันแรกๆ หลังการคลอดนอกจากนี้ ยังอาจตกใจกับรูปร่างตนเองหลังคลอดที่จากท้องเต่งตึงกลายเป็นหน้าท้องหย่อนๆ เต้านมจะใหญ่ ต้นขาจะอวบหนา ซึ่งการบริหารหลังการคลอดสม่ำเสมอจะช่วยให้รูปร่างกระชับและคุณแม่จะรู้สึกดีขึ้น

 
 
การปฏิบัติตัวของคุณแม่หลังคลอด
 

-การรับประทานอาหาร สามารถรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้ตามปกติ เน้นอาหารที่มีโปรตีนสูงเพื่อเสริมสร้างรักษาแผลจากการคลอด ไม่มีอาหารแสลง ไข่ ผัก ผลไม้สามารถรับประทานได้ ดังนั้นหากคุณแม่ต้องการหรืออยากรับประทานอาหารประเภทใดเป็นพิเศษไม่ต้องกังวล จะมีข้อห้ามก็แต่ยาดองเหล้า เพราะจะมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ซึ่งจะผ่านทางน้ำนมเวลาให้นมบุตร

-การปฏิบัติตัวตามชีวิตประจำวัน สามารถทำได้ตามปกติการเดิน ควรเริ่มเดินให้เร็ว หลังพักฟื้นแล้วหลังคลอด สำหรับผู้คลอดที่คลอดทางช่องคลอดและคลอดโดยการผ่าตัดหน้าท้องตามยาว หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดบ่อยๆเพราะอาจปวดตึงแผลได้ ในผู้ที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอดตามขวาง มักไม่มีปัญหากับการขึ้นลงบันไดการยืน ยืนตัวตรงตามปกติ ไม่ควรงอตัวเพราะจะทำให้ปวดหลัง การนั่ง ควรนั่งตัวตรง โดยเฉพาะขณะให้นมบุตรควรให้หมอนหรือฟูกรองใต้ทารกเพื่อให้ระดับของปากทารกอยู่ในตำแหน่งของหัวนมพอดี การก้มหรือนั่งงอตัวให้นมบุตร จะทำให้อาการปวดหลังมีมากขึ้น ในกรณีที่คลอดทางช่องคลอดหากปวดตึงแผลฝีเย็บเวลานั่ง อาจใช้ห่วงที่ใช้ฝึกว่ายน้ำเด็กรองบริเวณก้น เพื่อลดการกดทับแผลและลดการกดการไหลเวียนของเลือดบริเวณแผล การนอน ควรนอนหงาย แต่หากเป็นคนชอบนอนตะแคงก็สามารถทำได้

-การอาบน้ำ สามารถอาบได้ แนะนำให้ฝักบัวหรือการตักอาบ ไม่ควรอาบน้ำแบบแช่ หรืออาบน้ำตามแม่น้ำลำคอง เพราะจะทำให้แผลบวมและอักเสบได้ง่าย

-การเบ่งอุจจาระหลังคลอดคุณแม่มักปวดแผล ทำให้กลั้นไม่อยากจะถ่ายอุจจาระจึงมีปัญหาเรื่องถ่ายอุจจาระลำบาก ต้องเบ่ง ส่งผลเกิดความกลัวว่าจะเกิดแผลแยก วิธีแก้คือพยายามลุกขึ้นเดินไปมาทันทีที่ทำได้ เพื่อช่วยให้ลำไส้ทำงาน ดื่มน้ำมาก ๆ และกินอาหารที่มีกากและเส้นใยสูงเพื่อกระตุ้นการถ่ายอุจจาระ จะทำให้ถ่ายได้สะดวกและลดการเบ่งอุจจาระลงได้

-การให้นมบุตร สามารถให้ในท่านั่ง ท่ายืน ท่านอน แนะนำให้ให้ทุก 2-3 ชั่วโมง โดยให้วันละ 8 ครั้งในเวลากลางวันให้บ่อยครั้งหรือถี่หน่อย เนื่องจากส่วนใหญ่ทารกจะหลับกลางวันและตื่นเวลากลางคืน การปลุกทารกเพื่อให้รับประทานในช่วงเวลากลางวันตามเวลา จะทำให้กลางคืนทารกจะตื่นน้อยลงและเป็นการฝึกให้ทารกรู้จักเวลารับประทานอาหารที่เหมาะสมด้วย

-การดูแลแผล สำหรับแผลบริเวณฝีเย็บ ทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำสบู่เหมือนกับเวลาอาบน้ำปกติโดยเวลาล้างให้ล้างแผลจากด้านหน้ามาด้านหลังซับให้แห้งด้วยผ้าสะอาด แผลในบริเวณนี้ส่วนใหญ่จะเจ็บมากในช่วง 1-2 วันแรก และจะค่อยๆ ลดลง จะเจ็บอยู่ราว 1-2 สัปดาห์สำหรับแผลผ่าตัดคลอด ส่วนใหญ่มักปิดแผลอยู่ราว 5-7 วัน ช่วงที่ปิดแผลห้ามแผลโดนน้ำ ยกเว้นผ้าปิดแผลเป็นชนิดกันน้ำซึ่งจะสามารถอาบน้ำได้ตามปกติ แผลจากการผ่าตัดคลอดนี้มักจะเจ็บอยู่ราว 2-3 สัปดาห์

-การออกกำลังกาย หากคลอดปกติทางช่องคลอด สามารถบริหารหน้าท้องที่หย่อนหยานได้ตั้งแต่หลังคลอด พร้อมการฝึกบริหารอุ้งเชิงกรานโดยฝึกขมิบช่องคลอด ซึ่งจะช่วยให้แผลกระชับและหายเร็วขึ้น สำหรับการผ่าตัดคลอด การบริหารหน้าท้องเริ่มได้หลังคลอด 6 สัปดาห์







สิ่งที่คุณแม่ต้องเผชิญในช่วงระยะเวลาหลังคลอด
 

-ปวดท้องน้อยหลังคลอด อาจรู้สึกมีอาการปวดเกร็งในช่องท้องและมักเป็นในขณะที่ลูกดูดนมอาการนี้เป็นจากการที่มดลูกรัดตัว ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีและเป็นลักษณะที่ปกติเมื่อคุณแม่เข้าใจจะทำให้ลดความวิตกกังวลลง อาการปวดนี้ถ้าเป็นมากอาจกินยาแก้ปวดพาราเซตามอลบรรเทาอาการปวดได้

-ปัสสาวะผิดปกติหลังคลอดใหม่ๆ อาจมีอาการปัสสาวะลำบากเนื่องจากปวดและระบมแผลบริเวณฝีเย็บไม่ควรกลั้นปัสสาวะ เพราะอาจเป็นสาเหตุของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แนะนำให้ปัสสาวะเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้หลังคลอดโดยอาจจะลุกขึ้นเดินไปมา เพื่อกระตุ้นให้อยากปัสสาวะปกติหลังคลอดร่างกายจะพยายามขับน้ำที่สะสมไว้เกินในขณะตั้งครรภ์ ดังนั้นคุณแม่จะพบว่าตัวเองปัสสาวะบ่อยในวันแรก ๆ หลังคลอดได้

-น้ำคาวปลาจะมีน้ำคาวปลาสีแดงออกมา 2-3 วัน จากนั้นจะจางลงเรื่อย ๆ จนเป็นสีเหลืองประมาณ 10 วัน และค่อย ๆ หมดไปคุณแม่ควรใส่ผ้าอนามัยสังเกตสีและกลิ่นของน้ำคาวปลา ถ้าน้ำคาวปลายังมีสีแดงตลอดเกิน 2 สัปดาห์หรือมีกลิ่นเหม็นควรรีบมาพบแพทย์ไม่แนะนำให้คุณแม่ใช้ผ้าอนามัยแบบสอดเพราะจะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย

-อารมณ์เศร้าผู้หญิงประมาณครึ่งหนึ่งจะรู้สึกซึมเศร้าในช่วงสองสามวันหลังคลอด สาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนของระดับฮอร์โมนอย่างรวดเร็วและหมดความรู้สึกตื่นเต้นซึ่งผ่านไปแล้วเมื่อพ้นการคลอดอารมณ์เศร้านี้ส่วนใหญ่จะหายไปได้เอง และมักไม่เป็นอยู่นานเกิน 2 สัปดาห์ การเอาใจใส่จากคุณพ่อและครอบครัวจะทำให้ภาวะนี้หายไปได้เร็วขึ้น ถ้ามีอาการรุนแรงหรือเป็นนานเกินจากนี้ ควรปรึกษาแพทย์







ข้อสงสัยของคุณแม่
 

จะเริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไร?”

เวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ คือ เมื่อพร้อมด้วยกันทั้งคู่คุณแม่บางคนอาจจะยังเจ็บระบบเกินกว่าจะมีเพศสัมพันธ์ได้แต่เมื่ออาการลดลงแล้วอาจอยากลองดูขึ้นอยู่กับความพร้อมของร่างกายแต่ควรนุ่มนวลและช้า ๆ พยายามผ่อนคลายให้มากอาจใช้สารหล่อลื่นช่วย เพราะช่องคลอดอาจแห้งกว่าปกติได้ในระหว่างให้นมบุตร







การตรวจสุขภาพหลังคลอด




หลังคลอดบุตร ส่วนใหญ่แพทย์จะนัดมาตรวจสุขภาพหลังคลอดราว 4-6 สัปดาห์หลังคลอด เพื่อตรวจว่าสภาวะร่างกายของคุณแม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้วหรือยัง จะมีการตรวจหน้าท้อง การตรวจภายใน ตรวจมะเร็งปากมดลูก และแนะนำการปฏิบัติตัว การออกกำลังกาย การมีเพศสัมพันธ์ การวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิด สำหรับคุณแม่ที่มีข้อสงสัยหรือปัญหาเรื่องการดูแลบุตรก็สามารถสอบถามจากคุณหมอเพิ่มเติมได้