Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

ทำอย่างไรดี เมื่อลูกขาโก่ง

ทำอย่างไรดี เมื่อลูกขาโก่ง

วิดีโอ YouTube







ทำอย่างไรดี เมื่อลูกขาโก่ง (Mother & Care)         


ทำไมเบบี๋จึงขาโก่ง?         

โดยทั่วไปแล้วเมื่อเบบี๋คลอดออกมา คุณแม่หลายท่านอาจสังเกตเห็นว่าขาและเข่าของลูกโก่งหรือโค้งงอเล็กน้อยทั้งสองข้างหรือข้างเดียว หรือปลายเท้าบิดเข้าด้านใน ซึ่งอาการนี้มักพบได้บ่อยในทารกแรกเกิด          

สาเหตุที่ทำให้ลูกขาโก่งอาจเกิดขึ้นเพราะตอนที่อยู่ในท้องแม่ในระยะสุดท้ายก่อนคลอด ตัวเด็กใหญ่ขึ้นจึงต้องเบียดตัวเองให้อยู่ในมดลูกที่มีเนื้อที่จำกัด ทารกส่วนใหญ่จึงมักจะอยู่ในท่าขัดสมาธิและงอสะโพกให้มากที่สุด         

นช่วงแรกเกิดถึงขวบปีแรก เบบี๋จะมีอาการขาโก่ง ซึ่งอาการนี้จะค่อยๆ คลายออกตามธรรมชาติและการเจริญเติบโต เมื่อลูกเริ่มใช้เข่าหัดคลานหรือหัดเดิน ก็จะทำให้ข้อสะโพกแข็งแรงขึ้นและกระดูกจะค่อยๆ ปรับตัวเองให้ตรงขึ้น ทำให้อาการขาโก่งหรือเข่าโค้งปรับเข้าสู่ปกติได้เองเมื่อลูกอายุ 18-24 เดือน ดังนั้น ถ้าลูกขาโก่งในช่วงทารกถือว่าเป็นภาวะปกติทางสรีระร่างกายค่ะ         



สังเกตขาของเบบี๋..ขาโก่งแบบนี้ปกติไหม?         

อาการขาโก่งของเบบี๋ คุณแม่สามารถสังเกตได้ง่ายๆ ค่ะ โดยถ้าเป็นอาการขาโก่งปกติมักจะเป็นตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งขาและเข่าจะโก่งหรือโค้งงอเท่าๆ กัน ทั้งขาซ้ายและขาขวา หากคุณแม่คอยสังเกตไปเรื่อยๆ จะเห็นว่าขาของลูกจะตรงขึ้นอย่างช้าๆ เมื่อเริ่มโตขึ้นค่ะ

ทั้งนี้ ถ้าเป็นอาการขาโก่งตั้งแต่แรกเกิดในลักษณะนี้คุณแม่ไม่จำเป็นต้องดัดขาเพื่อให้ขาของลูกตรง เพราะขาของลูกจะตรงเป็นปกติได้ตามวัยอยู่แล้ว
         

อีกสาเหตุหนึ่งของอาการขาโก่งของเบบี๋เกิดจากความผิดปกติหรือผิดรูปของกระดูก โดยคุณแม่สามารถสังเกตขาของลูกได้ ดังนี้          


- ขาทั้ง 2 ข้าง มีความโก่งไม่เท่ากัน          

- ขาโก่งหรือบิดมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ตรงขึ้นตามอายุ

- ขาโก่งมากในบางตำแหน่ง โดยมุมที่โก่งหักเป็นมุมแหลม

- ขาโก่งร่วมกับตัวเตี้ย (ต้องวัดส่วนสูงและเทียบกับเส้นค่าเฉลี่ยตามวัย)
นอกจากนี้ โรคกระดูกบางโรคอาจมีสาเหตุจากพันธุกรรม และถ้าลูกตัวอ้วนมากก็ทำให้มีโอกาสป่วยเป็นโรคกระดูกงอหรือขาโก่งได้ง่าย ซึ่งคุณแม่ต้องสังเกตสัดส่วนอื่นๆ ของร่างกายลูกประกอบด้วย

ดังนั้น หากลูกมีอาการขาโก่งไม่หายตามวัยและคุณแม่ไม่ทราบสาเหตุ ก็ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจดูให้แน่ใจ เพื่อจะได้รักษาอาการได้ง่าย เพราะหากพบว่าลูกมีอาการผิดปกติของกระดูกเมื่อลูกโตแล้ว การรักษาจะยากยิ่งขึ้นเพราะกระดูกของลูกเริ่มแข็งขึ้นแล้วค่ะ
         



ป้องกันไม่ให้เบบี๋ขาโก่งได้อย่างไร?         

หากลูกขาโก่งไปตามพัฒนาการของขา คุณแม่ก็ไม่ต้องเป็นกังวลและปล่อยไปตามธรรมชาติดีที่สุด แต่คุณแม่สามารถป้องกันไม่ให้ลูกน้อยขาโก่งมากขึ้นหรือกระดูกขาผิดรูปได้ ดังนี้

1. ให้ลูกได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอ
เพื่อให้ร่างกายสามารถรักษาภาวะสมดุลของระดับแคลเซียมในเลือดและในกระดูก ถ้าขาดวิตามินดีจะทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน ขาจะโก่งหรือถ่างเนื่องจากไม่สามารถรับน้ำหนักตัวได้ โดยวิตามินดีจะมีอยู่ในอาหาร เช่น นม ตับสัตว์ ไข่แดง เป็นต้น และคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปเดินเล่นนอกบ้านเพื่อรับวิตามินดีจากแสงแดดยามเช้าบ้าง ก็จะช่วยเสริมสร้างกระดูกของลูกน้อยให้แข็งแรง

2. การดัดหรือยืดขาทารกเบาๆ หลังอาบน้ำ อาจไม่เกี่ยวกับการโก่งหรือไม่โก่งของขา แต่การดัดหรือยืดขาของลูกเบาๆ จะช่วยให้ลูกได้ยืดเส้นยืดสาย ทั้งนี้ คุณแม่อาจใช้วิธีการนวดคลึงเบาๆ บริเวณขาของลูก ก็จะช่วยให้ขาของลูกแข็งแรงและลูกก็จะสบายตัวยิ่งขึ้นค่ะ

3. นอกจากการนวดหรือดัดขาของลูกแล้ว คุณแม่ต้องคอยจัดท่านั่งและท่านอนของเบบี๋ ให้อยู่ในท่าที่ถูกต้อง เพื่อจะไม่ทำให้เกิดการโค้งงอหรือการผิดรูปของกระดูก
         


Tips : การยืดและนวดขาให้ลูกน้อย คุณแม่สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้         


- นวดขาลูกทีละข้าง โดยจับขายกขึ้นแล้วใช้มืออีกข้างจับรอบขานวดคลึงเป็นวงกลม เริ่มจากต้นขาค่อยๆ ไล่ไปปลายเท้า แล้วใช้หัวแม่มือกดฝ่าเท้าลูกเบาๆ จากนั้นใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างคลึงขาลูกไปมาเบาๆโดยให้สองมือของคุณแม่สวนทางกัน เริ่มจากหัวเข่าไล่ไปจนถึงข้อเท้า คลึงไปมา 5-10 ครั้ง

- หากเบบี๋อยู่ในวัยที่สามารถคลานหรือเริ่มหัดเดินแล้ว คุณแม่สามารถทำท่าแยกขาให้ลูกได้ โดยคุณแม่นั่งด้านหลังลูก แล้วจับขาลูกทั้งสองข้างค่อยๆ แยกออกด้านข้าง จากนั้นให้ลูกโน้มตัวไปด้านหน้า โดยที่คุณแม่ยังจับขาไว้ ซึ่งท่านี้จะช่วยให้เด็กได้ยืดตัวมากขึ้นและช่วยดัดขาให้ตรงขึ้นด้วย

- ในขณะที่นวดหรือยืดขาของลูก หากลูกร้องหรือขาแดง แสดงว่าคุณแม่ออกแรงมากเกินไปจนทำให้ลูกเจ็บ ให้หยุดนวดหรือนวดให้เบาลงค่ะ










ที่มา   ::      (Mother & Care)