Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2566

ทะเบียนบ้านเล่มเหลืองหรือท.ร.13

 ทะเบียนบ้านเล่มเหลืองหรือท.ร.13



ปกติคนจะรู้แต่ทะเบียนบ้านเล่มสีน้ำเงิน แต่ชาวต่างชาติเวลาจะขอ ID ต้องใช้เล่มเหลือง

ทะเบียนบ้านเล่มเหลืองหรือท.ร.13 มีไว้ทำไม

แน่นอนว่าเอกสารนี้มีประโยชน์มากมาย คุ้มกับการเสียเวลาดำเนินการแน่นอน ชาวต่างชาติที่มีชื่อในทะเบียนบ้านไทยจะได้สิทธิในการทำนิติกรรมในประเทศไทย เช่น ทำใบขับขี่ ทำเอกสารสัญญาต่างๆ ยื่นขอ PR หรือขอสัญชาติ

และใช้ยืนยันถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย นอกจากนั้นยังช่วยในการทำเอกสารบัตรประจำตัวชาวต่างชาติหรือบัตรชมพูได้อย่างง่ายดายอีกด้วย

ชาวต่างชาติที่จะขอท.ร.13 ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง?


ถึงแม้จะเป็นชาวต่างชาติที่เข้าประเทศมาแบบถูกกฎหมาย แต่อาจจะไม่ใช่ทุกคนที่จะขอท.ร.13 ได้ เพราะคุณสมบัติที่กำหนดไว้ มี 2 กรณีหลักๆดังต่อไปนี้

1. กรณีสมรสกับผู้มีสัญชาติไทย

2. กรณีซื้ออสังหาริมทรัพย์และมีชื่อตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์
กรณีนอกเหนือจากสองข้อนี้ หากต้องการยื่นขอทะเบียนบ้านเล่มเหลืองหรือ ท.ร.13 ทางเจ้าบ้านจะต้องแสดงความจำนงมาดำเนินการกับทางเขตหรืออำเภอ และจะต้องผ่านการสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่ถึงเหตุผลจำเป็นในการขอเอกสารนี้

กรณีที่เจ้าของบ้านหรือเจ้าบ้านต้องการขอเอกสารนี้ให้กับชาวต่างชาติที่เป็นผู้เช่าหรือเป็นเพื่อนหรือคู่ค้าทางธุรกิจก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยสามารถติดต่อเขตหรืออำเภอที่มีทะเบียนบ้านอยู่เพื่อขอรายละเอียดและลิสต์ของเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ได้เลย
สำหรับชาวต่างชาติที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์และมีชื่อตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ให้เตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

หนังสือเดินทางฉบับจริง

สำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองโดยสถานทูตและแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานกงสุลไทย

ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย (กรณีทำงานในประเทศไทย)
ท.ร.14 ฉบับภาษาไทย

สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์พร้อมเอกสารยืนยันการถือกรรมสิทธิ์

รูปถ่าย 1.5 นิ้วจำนวน 2 รูป

**นอกจากนี้ต้องมีพยาน 2 คน และอย่าลืมให้พยานเตรียมบัตรประชาชนให้เรียบร้อย

หมายเหตุ เอกสารการยื่นขอทะเบียนบ้านเล่มเหลืองจะมีความแตกต่างไปในแต่ละเขตและอำเภอ บางอำเภออาจจะเรียกขอเอกสารเพิ่มเติม

จึงแนะนำให้โทรสอบถามกับทางสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอที่ต้องการไปเพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้านก่อนเดินทางไปยื่นเอกสาร


ขั้นตอนการยื่นขอท.ร.13

ทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานครให้ติดต่อที่สำนักงานเขต ส่วนทะเบียนบ้านในต่างจังหวัดใหัติดต่อที่ว่าการอำเภอ โดยควรโทรสอบถามถึงเอกสารที่ต้องใช้ก่อนเสมอ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา
ขั้นตอนการดำเนินการ

นำเอกสารทั้งหมดไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่

เจ้าหน้าที่ตรวจความเรียบร้อยสมบูรณ์ของเอกสาร จากนั้นจะนัดวันสัมภาษณ์แก่เจ้าบ้าน ชาวต่างชาติที่ต้องการใส่ชื่อเป็นผู้อาศัย และพยาน (หรือบางเขตก็จะทำการสัมภาษณ์ในวันเดียวกันเลยหากเตรียมเอกสารและพยานบุคคลมาพร้อม)

เมื่อสัมภาษณ์เสร็จแล้ว หากเอกสารถูกต้องและไม่มีปัญหาอะไร เจ้าหน้าที่จะแจ้งระยะเวลาการออกทะเบียนบ้านเล่มเหลือง และจะนัดวันให้ไปรับเล่มทร.13 หรืออาจมีการขอเบอร์ติดต่อไว้ เพื่อแจ้งให้มารับเล่ม

การดำเนินการทั้งหมดจะใช้เวลาอย่างน้อย 7 วันทำการ แล้วแต่เขตพื้นที่ที่ดำเนินการ แน่นอนว่าในเขตกรุงเทพมหานครจะใช้เวลาน้อยกว่า

เนื่องจากเจ้าหน้าที่มีความคุ้นเคยในการทำเอกสารนี้ ส่วนการดำเนินเรื่องในอำเภอต่างจังหวัด อาจใช้เวลาดำเนินการนาน 2-4 สัปดาห์



undefined

3. เอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อใช้ยื่นขอ “ท.ร.13”

สำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการยื่นขอ ท.ร.13 นะคะจะแบ่งได้เป็น 2 กรณีดังนี้ค่ะ

1. กรณีชาวต่างชาติที่สมรสกับผู้มีสัญชาติไทย

  • หนังสือเดินทางฉบับจริง
  • สำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองโดยสถานทูตและแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานกงสุลไทย
  • ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย (กรณีทำงานในประเทศไทย)
  • ทะเบียนสมรส
  • สูติบัตรบุตร (กรณีมีบุตร)
  • รูปถ่าย 1.5 นิ้วจำนวน 2 รูป
  • บัตรประชาชนตัวจริงของเจ้าบ้าน
  • บัตรประชาชนตัวจริงของคู่สมรส
  • ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านเล่มจริง
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (เตรียมมาเผื่อ)
  • พยานบุคคลพร้อมบัตรประชาชน อย่างน้อย 2 คน (พยานควรเป็นคนที่รู้จักกัน)

เอกสารดังกล่าวต้องให้ทั้ง “เจ้าบ้าน” และ “ชาวต่างชาติ” เตรียมมาให้ครบถ้วนนะคะ

**คู่สมรสชาวไทยต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันเท่านั้น**

2. กรณีที่ชาวต่างชาติซื้ออสังหาริมทรัพย์และมีชื่อตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์

  • หนังสือเดินทางฉบับจริง
  • สำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองโดยสถานทูตและแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานกงสุลไทย
  • ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย (กรณีทำงานในประเทศไทย)
  • ท.ร.14 ฉบับภาษาไทย
  • หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด และ หนังสือสัญญาซื้อขาย อช. 23
  • รูปถ่าย 1.5 นิ้วจำนวน 2 รูป
  • พยานบุคคลพร้อมบัตรประชาชน อย่างน้อย 2 คน (พยานควรเป็นคนที่รู้จักกัน)
  • เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ใบขับขี่ วุฒิการศึกษา กรีนการ์ด
  • รูปถ่ายหน้าบ้านให้เห็นหมายเลขบ้าน และในห้องหรือในบ้านที่พักอาศัยจริง

ในการเตรียมเอกสารสำหรับการยื่นขอ ท.ร.13 เบื้องต้นนั้นในแต่ละอำเภอ หรือ จังหวัดอาจจะมีการขอเอกสารเพิ่มเติมน้อง Genie แนะนำว่าควรโทรสอบถามกับทางสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลานะคะ

undefined

4. ขั้นตอนในการดำเนินการยื่นขอ ท.ร.13

สำหรับขั้นตอนการดำเนินการนะคะ สามารถจำแนกได้เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้

1. นำเอกสารทั้งหมดที่เราเตรียมมา ไปยื่นให้เจ้าหน้าที่

2. เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบความเรียบร้อย และ ความสมบูรณ์ของเอกสารทั้งหมด จากนั้นจะนัดวันสัมภาษณ์เจ้าบ้าน และ ชาวต่างชาติที่ต้องการใส่ชื่อเป็นผู้อาศัย และพยาน (หรือบางเขตก็จะทำการสัมภาษณ์ในวันเดียวกันเลย หากเตรียมเอกสารและพยานบุคคลมาพร้อมค่ะ)

3. เมื่อสัมภาษณ์เสร็จแล้ว หากเอกสารถูกต้องและไม่มีปัญหาอะไร เจ้าหน้าที่จะแจ้งระยะเวลาการออกทะเบียนบ้านเล่มเหลือง และจะนัดวันให้ไปรับเล่ม ท.ร.13 หรืออาจมีการขอเบอร์ติดต่อไว้ เพื่อแจ้งให้มารับเล่มนั่นเองค่ะ

สำหรับระยะเวลาในการดำเนินการนะคะ จะใช้เวลาประมาณ 7 วันทำการ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับพื้นที่เขต หรือ อำเภอนั้นๆด้วยค่ะ

แต่สำหรับในเขตของกรุงเทพมหานครนั้นจะใช้เวลาทำการประมาณ 3 - 5 วันเนื่องจากเจ้าหน้าที่มีการคุ้นชินในการทำเอกสารอยู่แล้วนั่นเองค่ะ

สถานที่ที่ให้บริการ / ติดต่อ

  • ให้ติดต่อสำนักงานเขตที่อาศัยอยู่ต่างจังหวัด
  • สำนักทะเบียนอำเภอ
  • สำนักทะเบียนท้องถิ่น




CR. ::  www.genie-property.com




7 ความคิดเห็น:

  1. ทะเบียนบ้านแบบ ท.ร. 13 (เล่มสีเหลือง)



    สำหรับทะเบียนบ้านแบบ ท.ร.13 หรือ ทะเบียนบ้านเล่มสีเหลืองนะคะจะใช้สำหรับให้ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และมีหนังสือเดินทางเข้าประเทศไทยที่ยังไม่หมดอายุ ซึ่งชาวต่างชาติที่มีสิทธิ์ขอ ท.ร.13 นั้นจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ค่ะ

    กรณีที่สมรสกับผู้ที่มีสัญชาติไทย
    กรณีที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ และ มีชื่อของตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์
    ซึ่งถ้าหากนอกเหนือจากกรณีด้านบนแล้วนั้น หากมีความจำเป็น หรือ ต้องการที่จะยื่นขอ ท.ร.13 นั้นจะต้องให้ทางเจ้าบ้านเป็นผู้ดำเนินการกับทางเขต หรือ พื้นที่อำเภอของทะเบียนบ้านนั้นๆ โดยจะต้องผ่านการสัมภาษณ์จากเจ้าหน้าที่ถึงเหตุผลที่ต้องการให้ชาวต่างชาติเข้าอยู่นั้นเองค่ะ

    เมื่อชาวต่างชาติยื่นขอ ท.ร.13 ได้แล้วนั้นจะสามารถทำนิติกรรมภายในประเทศไทยได้ยกตัวอย่างเช่น การทำใบขับขี่, ทำเอกสารสัญญาต่างๆ หรือแม้กระทั่งการขอ PR หรือเรียกง่ายๆว่าการขอสัญชาตินั่นเองค่ะ เท่านั้นยังไม่พอนะคะการมี ท.ร.13 นั้นจะยังช่วยให้สามารถทำเอกสารบัตรประจำตัวชาวต่างชาติ หรือ บัตรชมพูได้อย่างรวดเร็ว และ ง่ายดายมากๆเลยค่ะ



    ตอบลบ
  2. ทะเบียนบ้านต่างชาติ แบบ สีเหลือง ท.ร.13
    -เป็นทะเบียนบ้านสำหรับคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับกาผ่อนผันให้ อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ใน กรณีที่คนต่างชาติเป็นสามีหรือภรรยาคุณ ถ้าหากคุณหรือบิดามารดาของคุณเป็นเจ้าบ้านให้เจ้าบ้านไปแจ้งต่อสำนักทะเบียนตามภูมิลำเนาที่บ้านตั้งอยู่ โดยกรอกคำร้องเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร(ท.ร.13) ขอเพิ่มชื่อบุคคลในทะเบียนบ้านเอกสารที่เตรียมไป คือ สำเนาทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้านบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน หนังสือ เดินทางของคนต่างชาติ ทะเบียนสมรสใบอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานหรือหลักฐานอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ ในประเทศไทยเป็นการถาวรหรือชั่วคราว

    -ในกรณีที่ คนต่างชาติชื้ออพาร์ทเม้นท์หรือคอนโดเป็นของเจ้าของ ท่านผู้นั้นสามารถยื่นขอมีทะเบียนบ้านของตนบุคคลต่างด้าวนั้นเข้าเมืองโดย ชอบด้วยกฎหมายและได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือมีใบสำคัญ ประจำตัวคนต่างด้าวหรือเป็นคนต่างด้าวตามที่กฎหมายกำหนดมีสิทธิซื้อห้องชุด ได้ไม่เกินร้อยละ 49 ของจำนวนห้องชุดทั้งหมดในอาคารนั้นและมีสิทธิขอทะเบียนบ้านได้ ประเภท (ท.ร.13) โดยนำหลักฐานตามข้อ1 ไปติดต่อสำนักงานเขตที่อาคารนั้นตั้งอยู่

    -กรณีที่มีการชื้อคอนโด มีชื่อทั้งคนต่างชาติ และคนไทยร่วมด้วย เวลาไปทำทะเบียนบ้านใครจะได้เป็นเจ้าบ้านการเป็น เจ้าบ้านไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนั้น เจ้าบ้านหมายความว่า ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของผู้เช่าหรือในฐานะอื่นใดก็ตาม หน้าที่ของเจ้าบ้านเจ้าบ้านเป็นผู้มีหน้าที่ต้องแจ้งเกี่ยวกับการต่าง ๆ ที่ได้บัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 เช่นการแจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งบ้านที่อยู่ หรือเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับบ้าน ดัง นั้นเมื่อคนต่างด้าวและคนไทยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ควรให้คนไทยเป็นเจ้าบ้านเพื่อดำเนินการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เพราะสื่อสารภาษาไทยได้ดีกว่าคนต่างชาติ

    สำหรับเอกสารที่ต้องใช้ เมื่อต้องการทำทะเบียนบ้านเล่มเหลือง (ท.ร.13) ได้แก่
    1.สำเนา Passport
    2.หนังสือแจ้งที่พักอาศัยสำหรับชาวต่างชาติ ที่ออกให้โดย ตม.
    3.ทะเบียนสมรส
    4.สูติบัตร
    5.รูปถ่าย 2 นิ้ว 5 รูป ใช้ 2 รูปที่ด่าน ตม. อีก 3 รูปที่สำนักงานเขต
    6.สำเนาทะเบียนบ้านไทย ที่จะทำการแจ้งให้ชาวต่างชาติเข้ามาพักอาศัย
    7.พยานบุคคล 2 คน พร้อมทั้งสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนของพยาน


    ตอบลบ
  3. บ้านและทะเบียนบ้าน

    หลักเกณฑ์

    บ้าน หมายความว่า โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีเจ้าบ้านครอบครอง และให้หมายความรวมถึงแพ หรือเรือซึ่งจอดเป็นประจำและใช้เป็นที่อยู่ประจำ หรือสถานที่หรือยานพาหนะอื่น ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยประจำได้ด้วย

    ทะเบียนบ้าน หมายความว่า ทะเบียนประจำบ้านแต่ละบ้าน ซึ่งแสดงเลขประจำบ้านและ รายการของคน ทั้งหมดผู้อยู่ในบ้าน แยกเป็นหลายลักษณะ คือ

    ทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ใช้สำหรับลงรายการของคนที่มีสัญชาติไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญ ประจำตัวคนต่างด้าว
    ทะเบียนบ้าน (ท.ร.13) ใช้ลงรายการของคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ใน ลักษณะชั่วคราว หรือเข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
    ทะเบียนบ้านกลาง มิใช่ทะเบียนบ้าน แต่เป็นทะเบียน ซึ่งผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนดให้จัดทำขึ้น สำหรับลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้าน
    ทะเบียนบ้านชั่วคราว เป็นทะเบียนประจำบ้านที่ออกให้กับบ้านที่ปลูกสร้างในที่สาธารณะ หรือโดยบุกรุก ป่าสงวน หรือโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือตามกฎหมายอื่น ทั้งทะเบียนบ้านชั่วคราวเป็นเอกสารราชการใช้ได้เหมือนทะเบียนบ้าน และผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านชั่วคราวคงมีสิทธิและ หน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
    ทะเบียนบ้านชั่วคราวของสำนักทะเบียน เป็นทะเบียนบ้านที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลาง กำหนดให้ ทุกสำนักทะเบียนจัดทำขึ้น เพื่อใช้ลงรายการของบุคคลซึ่งขอแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) เพื่อเดินทางไปต่างประเทศ ให้ทุกบ้านมีเลขประจำบ้าน บ้านใดยังไม่มีเลขประจำบ้าน ๆ ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งเพื่อขอ เลขประจำบ้านภายในสิบห้าวันนับแต่วันสร้างบ้านเสร็จ
    การตรวจสภาพบ้านโดยบ้านแต่ละหลังที่จะกำหนดเลขประจำบ้านใช้ได้อย่างน้อยจะต้องมีการก่อสร้างในส่วนที่เป็นรากฐานของบ้านและมุงหลังคาเรียบร้อยแล้วหรือถ้าเป็นตึกหรืออาคารลักษณะอื่นในทำนองเดียวกัน จะต้องมีการก่อสร้างเป็นปริมาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยมีหนังสือรับรองจากวิศวกรหรือนายช่างโยธาที่ควบคุมก่อสร้าง นายทะเบียนจัดทำทะเบียนชั่วคราว และสำเนาทะเบียนบ้านชั่วคราว และสำเนาทะเบียนบ้านชั่วคราวฉบับเจ้าบ้านโดยระบุข้อความว่า “บ้านอยู่ระหว่างก่อสร้าง”

    เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

    1. หนังสือขออนุญาตปลูกสร้างบ้าน หรือหนังสือสัญญาซื้อขายบ้าน (ถ้ามี)
    2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
    3. บัตรประจำตัวผู้แจ้งหรือผู้ได้รับมอบหมาย
    4. หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)

    ขั้นตอนการติดต่อ

    1. เมื่อสร้างบ้านเสร็จแล้วไปติดต่อ ณ สำนักทะเบียน ที่ได้ปลูกสร้างบ้าน
    2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานเมื่อถูกต้องแล้ว จะจัดทำหลักฐานทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน
    3. มอบสำเนาทะเบียนบ้านให้แก่ผู้แจ้ง

    เจ้าบ้านและการมอบหมาย

    หลักเกณฑ์
    เจ้าบ้าน หมายความว่า ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะ อื่นใดก็ตาม ในกรณีที่ไม่ปรากฏเจ้าบ้าน หรือเจ้าบ้านไม่อยู่ ตาย สูญหาย สาบสูญ หรือไม่สามารถปฏิบัติ กิจการได้ ให้ถือว่าผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านในขณะนั้นเป็นเป็นเจ้าบ้าน

    หน้าที่ของเจ้าบ้าน
    เจ้าบ้าน เป็นผู้มีหน้าที่ต้องแจ้งเกี่ยวกับการต่าง ๆ ที่ได้บัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 เช่น การแจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งย้ายที่อยู่ หรือเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับบ้าน โดยอาจมอบหมายให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทนได้ หากเจ้าบ้านไม่อยู่ เช่น ไปต่างประเทศ หรืออยู่แต่ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านผู้หนึ่งผู้ใดสามารถ ดำเนินการแจ้งโดยทำหน้าที่เจ้าบ้านได้ โดยนายทะเบียนบ้านจะบันทึกถ้อยคำ ให้ได้ข้อเท็จจริงว่า บุคคลดังกล่าวเป็น ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านแทนเจ้าบ้านในขณะนั้น

    เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
    1. หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้านระบุรายละเอียดชัดเจนว่ามอบให้ใครทำอะไร และลงชื่อผู้มอบ
    2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
    3. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
    4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบหมาย หรือผู้ทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้าน

    ขั้นตอนการติดต่อ
    1. ไปติดต่อ ณ สำนักทะเบียนที่ปรากฏหลักฐานตามทะเบียนบ้าน
    2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และดำเนินการตามความประสงค์ของผู้แจ้ง
    3. คืนหลักฐานแก่ผู้แจ้ง


    ตอบลบ
  4. การจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้าน

    หลักเกณฑ์
    การจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้านมีหลายกรณี ได้แก่
    1. ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านถึงแก่ความตาย
    2. กรณีบุคคลมีชื่อซ้ำในทะเบียนบ้านเกินกว่า 1 แห่ง
    3. กรณีบุคคลมีชื่อในทะเบียนบ้านโดยมิชอบด้วยกฎหมายและระเบียบ

    เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
    1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีรายการบุคคลชื่อซ้ำเกินกว่า 1 แห่ง หรือบุคคลที่มีชื่อในทะเบียนบ้านโดยมิชอบ หรือบุคคลที่ตายไปนานแล้ว หรือบุคคลที่ตายในต่างประเทศ
    2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือผู้แจ้ง
    3. ใบมรณบัตร (ถ้ามี)
    4. หลักฐานการตายซึ่งออกโดยสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ หรือหลักฐานการตายที่ออกโดยรัฐบาลของประเทศนั้นซึ่งได้แปลและรับรองว่าถูกต้องโดยกระทรวงการต่างประเทศ

    ขั้นตอนในการติดต่อ
    1. ยื่นเอกสารหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ปรากฏรายการบุคคลที่ต้องการจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนบ้าน
    2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานสอบสวนเจ้าบ้านและพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือให้ปรากฏข้อเท็จจริง
    3. รวบรวมหลักฐานเสนอผู้มีอำนาจในการอนุมัติแล้วจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนบ้าน
    4. คืนหลักฐานแก่ผู้แจ้ง



    ตอบลบ
  5. ทำไมทะเบียนบ้านเล่มเหลืองจึงมีความจำเป็น
    แน่นอนว่ามีวิธีอื่นที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้อย่างมีความสุขโดยไม่ต้องมีทะเบียนบ้าน แต่ถ้าคุณมีความจำเป็นต้องยืนยันที่อยู่ของคุณเป็นประจำ และไม่อยากเดินทางไปมาสถานทูตบ่อยๆ เพื่อรับหนังสือคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรหรือใบรับรองถิ่นที่อยู่ ทะเบียนบ้านเล่มเหลืองนี้จะมีประโยชน์มากทีเดียว

    ทะเบียนบ้านเล่มเหลืองซี่งไม่มีการหมดอายุนี้เป็นที่ยอมรับเป็นรูปแบบการยืนยันตัวตนรูปแบบหนึ่งโดยมีชื่อและที่อยู่ตามกฎหมายของคุณพิมพ์อยู่ในนั้นด้วย ดังนั้น เมื่อคุณมีทะเบียนบ้านเล่มเหลืองนี้ (และบัตรประจำตัวประชาชน) คุณก็ไม่จำเป็นต้องขอหนังสือคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรหรือใบรับรองถิ่นที่อยู่อื่นใดเพื่อพิสูจน์ที่อยู่ของคุณในประเทศไทยอีก

    ขอรับทะเบียนบ้านเล่มเหลือง + บัตรประชาชนสีชมพูได้อย่างไร
    การขอรับทะเบียนบ้านเล่มเหลืองนั้นไม่ง่ายเหมือนเพียงไปปรากฎตัวที่อำเภอแล้วมอบเอกสารตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น

    สำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ นี่คือรายการเอกสารที่จำเป็นในการยื่นของทะเบียนบ้าน

    ทางอำเภอจะมีเอกสารใด ๆ ที่เป็นภาษาอังกฤษให้ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับคุณ นี่คือรายชื่อเอกสารที่จำเป็น (ดูภาพประกอบข้างต้น)

    หลักฐานประกอบการเพิ่มชื่อ
    หนังสือเดินทาง ให้สถานทูตประเทศนั้นๆ ให้การรับรอง พร้อมการรับรองคำแปล ที่กองสัญชาติ และนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศ
    พยานบุคคล 2 คน ญาติ อายุเกิน 25 ปี พร้อมสำเนา บัตร (พยาน 1 ใน 2 คน สามารถเป็นล่ามได้)
    3.สำเนาทะเบียนบ้านที่จะเพิ่มชื่อ
    สูติบัตร
    ใบสำคัญการสมรส / หย่า / บันทึกฐานะครอบครัวฯ
    ใบสำคัญถิ่นที่อยู่
    ใบอนุญาตทํางาน
    ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
    สัญญาซื้อขายห้องชุดตัวจริง พร้อมสำเนาโฉนด
    ใบแปลงสัญชาติไทยและประกาศราชกิจจานุเบกษา
    ใบอนุญาตให้ได้สัญชาติไทย
    รูปถ่ายหน้าตรง 1.5 นิ้ว จำนวน 4 รูป
    รูปถ่ายให้เห็นหน้าบ้าน ในบ้าน ตัวบ้าน พร้อมตัวผู้ร้อง จำนวน 2 -3 รูป
    หลักฐานสำคัญแสดงความสัมพันธ์ครอบครัว
    อื่นๆ (การเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล)


    ตอบลบ
  6. การเพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้านเล่มเหลืองสำหรับชาวต่างชาติ “ท.ร.13 มีอะไรต้องรู้บ้าง และต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง”

    ปกติแล้วคนไทยจะคุ้นเคยกับทะเบียนบ้านเล่มสีน้ำเงิน หรือท.ร.14 แต่รู้หรือไม่ว่ายังมีทะเบียนบ้านอีกแบบ คือท.ร.13 หรือที่เป็นเล่มสีเหลืองด้วย ซึ่งความแตกต่างคือเล่มสีน้ำเงินนั้นสำหรับผู้มีสัญชาติไทย ส่วนเล่มสีเหลืองสำหรับชาวต่างชาติ บทความนี้จะรวบรวมถึงความสำคัญของทะเบียนบ้านเล่มเหลือง

    ประโยน์ของทะเบียนบ้านเล่มเหลือง
    ทะเบียนบ้านเล่มเหลืองหรือท.ร.13 มีไว้ทำไม แน่นอนว่าเอกสารนี้มีประโยชน์มากมาย คุ้มกับการเสียเวลาดำเนินการแน่นอน ชาวต่างชาติที่มีชื่อในทะเบียนบ้านไทยจะได้สิทธิในการทำนิติกรรมในประเทศไทย เช่น ทำใบขับขี่ ทำเอกสารสัญญาต่างๆ ยื่นขอ PR หรือขอสัญชาติ และใช้ยืนยันถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย นอกจากนั้นยังช่วยในการทำเอกสารบัตรประจำตัวชาวต่างชาติหรือบัตรชมพูได้อย่างง่ายดายอีกด้วย

    ชาวต่างชาติที่จะขอท.ร.13 ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง?
    ถึงแม้จะเป็นชาวต่างชาติที่เข้าประเทศมาแบบถูกกฎหมาย แต่อาจจะไม่ใช่ทุกคนที่จะขอท.ร.13 ได้ เพราะคุณสมบัติที่กำหนดไว้ มี 2 กรณีหลักๆดังต่อไปนี้

    1. กรณีสมรสกับผู้มีสัญชาติไทย

    2. กรณีซื้ออสังหาริมทรัพย์และมีชื่อตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์

    กรณีนอกเหนือจากสองข้อนี้ หากต้องการยื่นขอทะเบียนบ้านเล่มเหลืองหรือ ท.ร.13 ทางเจ้าบ้านจะต้องแสดงความจำนงมาดำเนินการกับทางเขตหรืออำเภอ และจะต้องผ่านการสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่ถึงเหตุผลจำเป็นในการขอเอกสารนี้ กรณีที่เจ้าของบ้านหรือเจ้าบ้านต้องการขอเอกสารนี้ให้กับชาวต่างชาติที่เป็นผู้เช่าหรือเป็นเพื่อนหรือคู่ค้าทางธุรกิจก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยสามารถติดต่อเขตหรืออำเภอที่มีทะเบียนบ้านอยู่เพื่อขอรายละเอียดและลิสต์ของเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ได้เลย


    ตอบลบ
  7. เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการขอท.ร.13
    1. สำหรับชาวต่างชาติที่สมรสกับผู้มีสัญชาติไทย ให้ทั้งเจ้าบ้านและชาวต่างชาติเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

    หนังสือเดินทางฉบับจริง
    สำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองโดยสถานทูตและแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานกงสุลไทย
    ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย (กรณีทำงานในประเทศไทย)
    ทะเบียนสมรส
    สูติบัตรบุตร (กรณีมีบุตร)
    รูปถ่าย 1.5 นิ้วจำนวน 2 รูป
    บัตรประชาชนตัวจริงของเจ้าบ้าน
    บัตรประชาชนตัวจริงของคู่สมรส
    ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านเล่มจริง
    สำเนาทะเบียนบ้าน (เตรียมมาเผื่อ)
    **คู่สมรสชาวไทยต้องอยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันเท่านั้น

    **นอกจากนี้ต้องมีพยาน 2 คน และอย่าลืมให้พยานเตรียมบัตรประชาชนให้เรียบร้อย (กรณีสมรส พยาน 2 คนสามารถเป็นเจ้าบ้านและคู่สมรส)

    2. สำหรับชาวต่างชาติที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์และมีชื่อตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ให้เตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

    หนังสือเดินทางฉบับจริง
    สำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองโดยสถานทูตและแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานกงสุลไทย
    ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย (กรณีทำงานในประเทศไทย)
    ท.ร.14 ฉบับภาษาไทย
    สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์พร้อมเอกสารยืนยันการถือกรรมสิทธิ์
    รูปถ่าย 1.5 นิ้วจำนวน 2 รูป
    **นอกจากนี้ต้องมีพยาน 2 คน และอย่าลืมให้พยานเตรียมบัตรประชาชนให้เรียบร้อย
    หมายเหตุ เอกสารการยื่นขอทะเบียนบ้านเล่มเหลืองจะมีความแตกต่างไปในแต่ละเขตและอำเภอ บางอำเภออาจจะเรียกขอเอกสารเพิ่มเติม จึงแนะนำให้โทรสอบถามกับทางสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอที่ต้องการไปเพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้านก่อนเดินทางไปยื่นเอกสาร

    ขั้นตอนการยื่นขอท.ร.13
    ทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานครให้ติดต่อที่สำนักงานเขต ส่วนทะเบียนบ้านในต่างจังหวัดใหัติดต่อที่ว่าการอำเภอ โดยควรโทรสอบถามถึงเอกสารที่ต้องใช้ก่อนเสมอ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา

    ขั้นตอนการดำเนินการ

    นำเอกสารทั้งหมดไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่
    เจ้าหน้าที่ตรวจความเรียบร้อยสมบูรณ์ของเอกสาร จากนั้นจะนัดวันสัมภาษณ์แก่เจ้าบ้าน ชาวต่างชาติที่ต้องการใส่ชื่อเป็นผู้อาศัย และพยาน (หรือบางเขตก็จะทำการสัมภาษณ์ในวันเดียวกันเลยหากเตรียมเอกสารและพยานบุคคลมาพร้อม)
    เมื่อสัมภาษณ์เสร็จแล้ว หากเอกสารถูกต้องและไม่มีปัญหาอะไร เจ้าหน้าที่จะแจ้งระยะเวลาการออกทะเบียนบ้านเล่มเหลือง และจะนัดวันให้ไปรับเล่มทร.13 หรืออาจมีการขอเบอร์ติดต่อไว้ เพื่อแจ้งให้มารับเล่ม
    การดำเนินการทั้งหมดจะใช้เวลาอย่างน้อย 7 วันทำการ แล้วแต่เขตพื้นที่ที่ดำเนินการ แน่นอนว่าในเขตกรุงเทพมหานครจะใช้เวลาน้อยกว่า เนื่องจากเจ้าหน้าที่มีความคุ้นเคยในการทำเอกสารนี้ ส่วนการดำเนินเรื่องในอำเภอต่างจังหวัด อาจใช้เวลาดำเนินการนาน 2-4 สัปดาห์


    ตอบลบ