Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2568

ไทรอยด์เป็นพิษ รับมือได้ด้วยการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์

ไทรอยด์เป็นพิษ รับมือได้ด้วยการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์


ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism, Overactive Thyroid) เป็นภาวะเรื้อรังที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ ส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายเสียสมดุลและเกิดความผิดปกติขึ้น เช่น น้ำหนักลด หงุดหงิดง่าย มีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่าย และหัวใจเต้นผิดปกติ เป็นต้น 

คนรอบตัวและตัวผู้ป่วยด้วยภาวะไทรอยด์เป็นพิษอาจพอทราบกันว่า อาการจากภาวะนี้มักรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน จึงควรปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต ทั้งเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย และการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อช่วยบรรเทาอาการ หากทำร่วมกันอย่างสม่ำเสมออาจช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตเป็นปกติมากขึ้น

ไทรอยด์เป็นพิษ

ทำไมผู้ป่วยภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ควรเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ ?

ฮอร์โมนไทรอกซีน (Thyroxine) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมไทรอยด์ โดยฮอร์โมนชนิดนี้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจ ระบบเผาผลาญพลังงาน และเสริมการทำงานของระบบอื่น ๆ ของร่างกาย เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินก็อาจส่งผลให้ระบบเหล่านี้ทำงานผิดเพี้ยน ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติตามมา เช่น ท้องเสีย น้ำหนักลด ขี้ร้อน รู้สึกเหนื่อยล้า หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล หัวใจเต้นรัว มือสั่น หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นต้น

อาการของภาวะไทรอยด์เป็นพิษจึงส่งผลให้ผู้ป่วยมักประสบกับปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยอาจกระทบทั้งในด้านการทำงาน การเรียน หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ รวมไปถึงรูสึกไม่มีความสุขและคุณภาพชีวิตที่แย่ลง จากการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้ดีต่อสุขภาพอาจช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ได้ ด้วยเหตุนี้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างอาจเป็นทางเลือกที่ควรทำอย่างขาดไม่ได้ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


เมื่อไทรอยด์เป็นพิษ ควรใช้ชีวิตอย่างไร ?


ผู้ป่วยหรือผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยจากภาวะนี้อาจลองนำวิธีต่อไปนี้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน


1. เลือกอาหารเพื่อปรับสมดุลไทรอยด์

ผู้ที่ป่วยด้วยภาวะไทรอยด์เป็นพิษสามารถรับประทานอาหารแทบไม่ต่างจากคนทั่วไป เพียงแต่มีอาหารหรือสารอาหารบางอย่างที่ควรใส่ใจเป็นพิเศษ เช่น

  • ธาตุเหล็ก เป็นแร่ธาตุที่ช่วยปรับสมดุลการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้เป็นปกติ โดยอาหารที่มีธาตุเหล็กสามารถหาได้จาก ตับ เนื้อ ปลา เต้าหู้ ข้าวกล้อง ถั่ว ธัญพืช พืชผักใบเขียวอย่างคะน้าและผักสลัด
  • เซเลเนียม (Selenium) มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ บรรเทาการอักเสบของต่อมไทรอยด์ และช่วยลดความเสียหายของเซลล์ภายในร่างกาย โดยเซเลเนียมพบได้ในข้าว ผักใบเขียว เห็ด เนื้อสัตว์ และถั่ว
  • สังกะสี (Zinc) ช่วยเสริมการทำงานของระบบร่างกายหลายระบบโดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกัน เราสามารถรับประทานสังกะสีเพิ่มได้จากเนื้อวัว เห็ด เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดฟักทอง หรือถั่วลูกไก่
  • แคลเซียมและวิตามินดี ช่วยป้องกันการสูญเสียของมวลกระดูกภายในร่างกายที่อาจเกิดจากการเผาผลาญที่มากกว่าปกติ โดยแคลเซียมหาได้จากผักปวยเล้ง ถั่วขาว ผักเคล กระเจี๊ยบเขียว นม ส่วนวิตามินดีเป็นวิตามินที่ร่างกายสังเคราะห์ได้เองเมื่อได้รับแสงแดดในเวลาที่เหมาะสม และพบได้ในอาหารประเภทปลาทะเล เห็ด และตับ
  • ไขมันดีหรือกรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fat) ช่วยให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้อย่างสมดุลและเป็นปกติ ซึ่งไขมันดีหรือกรดไขมันไม่อิ่มตัวหาได้จากปลาทะเล อะโวคาโด น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย ถั่วเปลือกแข็งและถั่วเมล็ดแห้งที่ไม่ใส่เกลือปรุงรส

การได้รับสารอาหารเหล่านี้อาจช่วยให้ต่อมไทรอยด์และฮอร์โมนไทรอกซินอยู่ในสภาวะที่สมดุล จึงอาจช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นได้ แต่ควรรับประทานเป็นประจำและในปริมาณที่เหมาะสม


2. งดอาหารที่กระตุ้นอาการไทรอยด์เป็นพิษ

อาหารบางชนิดอาจกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์และส่งผลให้อาการรุนแรงขึ้น จึงควรงดหรือลดปริมาณของอาหารต่อไปนี้

  • อาหารที่มีไอโอดีน อย่างเกลือผสมไอโอดีน ถั่วเปลือกแข็งและถั่วเมล็ดแห้งที่ปรุงรสด้วยเกลือ ไข่แดง นมและผลิตภัณฑ์จากนม อาหารทะเล สาหร่าย และอาหารรสเค็มชนิดอื่น ๆ
  • กลูเตน เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบได้ในอาหารประเภทข้าวและธัญพืช เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ มอลต์ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากอาหารเหล่านี้ อย่างขนมปังและเครื่องดื่ม เป็นต้น ซึ่งการได้รับกลูเตนอาจกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์เกิดการอักเสบได้
  • ไนเตรต สารชนิดนี้ช่วยในการดูดซึมไอโอดีน จึงอาจทำให้อาการของภาวะไทรอยด์เป็นพิษรุนแรงมากขึ้น ไนเตรตพบได้ในผักกาดหอม ผักชีลาว ผักคึ่นช่าย กะหล่ำปลี หัวไชเท้า แครอท และพาร์สลีย์

นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะอาจกระตุ้นอาการทางระบบประสาทและหัวใจ อย่างภาวะวิตกกังวล ความเครียด และภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ


3. ออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่ส่งผลดีต่อร่างกายในแทบทุกสภาวะ สำหรับภาวะไทรอยด์เป็นพิษก็เช่นกัน โดยการออกกำลังกายอาจช่วยปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น กระตุ้นการดูดซึมแคลเซียมและแร่ธาตุที่อาจช่วยเพิ่มมวลกระดูกภายในร่างกาย ช่วยควบคุมความอยากอาหารและควบคุมน้ำหนักของร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมด้วย และช่วยให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยภาวะไทรอยด์เป็นพิษควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักจนเกินไป เช่น การวิ่ง การออกกำลังกายแบบ HIIT (High Intensity Interval Training) หรือการออกกำลังกายประเภทอื่น ๆ ที่ต้องใช้พลังงานมาก


4. ทำกิจกรรมลดความเครียด

ระดับฮอร์โมนไทรอกซินที่สูงเกินอาจกระตุ้นการทำงานของสมองและระบบประสาท ทำให้เกิดความรู้สึกเครียด วิตกกังวล และหงุดหงิดง่าย โดยอาการเหล่านี้อาจสร้างความรู้สึกทางลบต่อผู้ป่วยและคนรอบตัวได้ แต่ในเบื้องต้นอาจบรรเทาและควบคุมอาการเหล่านี้ด้วยการทำกิจกรรมที่ช่วยลดความเครียด อย่างการออกกำลังกาย การนั่งสมาธิ และการทำงานอดิเรก ในขณะเดียวกัน ผู้ป่วยควรทำความเข้าใจอาการที่เกิดขึ้นก็อาจช่วยลดความรู้สึกในทางลบที่มีต่อตนเองได้อีกทาง

นอกจากนี้ เพื่อผลการรักษาและการใช้ชีวิตที่เป็นปกติ ผู้ป่วยควรใช้ยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เป็นหลัก เพราะบางรายอาจมีข้อจำกัดบางอย่างที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในรูปแบบเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ตาม หากลองทำตามวิธีเหล่านี้ แล้วเกิดอาการอื่น ๆ ตามมา ควรไปพบแพทย์ทันที



ไทรอยด์เป็นพิษ กับอาหารแต่ละชนิดที่ควรหลีกเลี่ยง 

ไทรอยด์เป็นพิษ ห้ามกินอะไร


- อาหารที่มีไอโอดีนและซีลีเนียมสูง

สำหรับคนที่เป็นไทรอยด์เป็นพิษหรือไฮเปอร์ไทรอยด์ จะมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์สูงอยู่แล้ว ตามที่บอกไปในตอนต้น ดังนั้นจึงควรงดอาหารไอโอดีสูงที่พบได้ในอาหารทะเลจำพวก ปลา หอยกาบ กุ้ง หอยนางรม รวมถึงไข่ กระเทียม เห็ด เมล็ดงา อีกทั้งยังมีอาหารที่มีซีลีเนียมสูง ซึ่งพบได้ในปลาทูน่า เห็ด เนื้อวัว เมล็ดทานตะวัน เครื่องในสัตว์ และถั่วเหลือง เนื่องจากอาหารเหล่านี้จะเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากยิ่งขึ้นไปอีก


- นมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม นมและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมจะส่งผลกระทบต่อต่อมไทรอยด์ เนื่องจากนมเต็มไปด้วยไอโอดีนและซีลีเนียม ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ และมันจะไปกระตุ้นให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ให้มากขึ้น ดังนั้นจึงควรทานไม่ปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อไม่ให้อาการแย่ลงกว่าเดิม


- แอลกอฮอล์และคาเฟอีน

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน อย่างพวก เหล้า เบียร์ หรือเครื่องดื่มทุกชนิดที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ รวมถึง ชา กาแฟ และเครื่องดื่มชูกำลังต่างๆ โดยปกติหากดื่มมากเกินไปก็ส่งผลเสียต่อร่างกายอยู่แล้ว

แต่สำหรับผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษควรหลีกเลี่ยงหรือไม่แตะต้องเลยได้ยิ่งดี เพราะมันจะไปกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานไม่คงที่ และทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินความพอดีด้วย


- อาหารที่มีไขมันสูง

ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษจะต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง รวมถึงอาหารที่มีไขมันทรานส์ ซึ่งพบได้ในมาการีนชนิดแท่ง เนยขาว คุกกี้ เค้ก แครกเกอร์ เฟรนช์ฟรายส์ โดนัท ขนมอบ และเบเกอรี่ทั้งหลาย รวมถึงบรรดาอาหารประเภททอดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีอาหารที่ไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งพบได้ใน เนื้อวัวติดมัน เนื้อแกะ เนื้อหมู แฮม เบคอน เนื้อไก่ที่มีหนัง ไขมันวัว น้ำมันหมู ครีม เนย ชีส และผลิตภัณฑ์จากนมต่างๆ เพราะไขมันเหล่านี้จะทำให้ต่อมไทรอยด์มีอาการอักเสบมากขึ้น


ทางที่ดีควรเปลี่ยนไปทานไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพร่างกายแทน โดยไขมันชนิดนี้จะพบได้มากในปลาทะเล เช่น ปลาจะระเม็ดขาว ปลาสำลี ปลากะพงขาว ปลาทู ปลาเก๋า เป็นต้น และปลาน้ำจืด เช่น ปลาดุก ปลาสวาย ปลาช่อน ปลานิล ปลากราย เป็นต้น


- อาหารที่กินแล้วแพ้

หากผู้ป่วยต่อมไทรอยด์เป็นพิษพบว่าทานอาหารชนิดใดแล้วมีอาการแพ้ ให้เลิกทานอาหารชนิดนั้นไปเลย เพราะจะทำให้อาการยิ่งทรุดหนักกว่าเดิม ซึ่งอาหารที่ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษส่วนใหญ่จะแพ้ได้แก่ ข้าวสาลี นม ไข่ ปลา ถั่ว หอย และสัตว์น้ำที่มีเปลือกหุ้ม รวมไปถึงปลาทะเลบางชนิด แนะนำว่าควรไปตรวจกับแพทย์เพื่อให้ทราบแน่ชัด จะได้ไม่ต้องเสี่ยงต่อการไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้ทำงานมากเกินปกติ


- อาหารที่มีวิตามินบีสูง

วิตามินบี 2 บี 3 บี 6 และบี 12 เป็นวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะกับระบบการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งวิตามินบีทั้ง 4 ชนิดนี้ มีหน้าที่สำคัญในการช่วยให้ร่างกายผลิตฮอร์โมน T4 ที่เป็นหนึ่งในฮอร์โมนไทรอยด์ของร่างกาย โดยวิตามินบีเหล่านี้มักจะมีอยู่ในอาหารต่างๆ อย่าง ไข่แดง เครื่องในสัตว์ ปลาทะเล ยีสต์ ธัญพืชชนิดต่างๆ ถั่วลันเตา นม เห็ด และเมล็ดอัลมอนด์ แต่สำหรับผู้ที่มีอาการไทรอยด์เป็นพิษ ควรงดหรือลดอาหารเหล่านี้ให้น้อยลง เพื่อจะได้ไม่กระตุ้นให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากยิ่งขึ้น


- ผักตระกูลกะหล่ำ

ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษจะต้องทานผักตระกูลกะหล่ำให้น้อยลง ไม่ว่าจะเป็น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว บรอกโคลี คะน้า หรือหัวไชเท้า เพราะพืชเหล่านี้มีสารที่จะไปขัดขวางการจับไอโอดีนของต่อมไทรอยด์ จึงทำให้เมื่อร่างกายได้รับไอโอดีนมากเกินไป จึงเป็นสาเหตุให้เกิดอาการคอพอกได้นั่นเอง


ถึงจะไม่เป็นมิตรกับไทรอยด์เท่าไรนัก แต่ผักตระกูลกะหล่ำปลี ก็มีสรรพคุณด้านการยับยั้งมะเร็ง จึงมีความจำเป็นต้องทานผักชนิดนี้อยู่บ้าง โดยการทานให้ปลอดภัยจะต้องนำมาต้มให้สุกเสียก่อน เพื่อให้สารพิษต่างๆ หายไป ดังนั้นจึงห้ามทานแบบดิบๆ เด็ดขาด รวมถึงสาหร่าย หน่อไม้ และหน่อไม้ฝรั่งด้วย


- อาหารแปรรูปต่างๆ

ในอาหารแปรรูปต่างๆ เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน กุนเชียง และอาหารกระป๋อง มักมีปริมาณโซเดียมสูง ซึ่งไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังอาจทำให้ผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากขึ้นด้วย เนื่องจากได้รับโซเดียมในปริมาณที่มากเกินไป


ไทรอยด์เป็นพิษ ควรกินอะไร


- วิตามินดี

การได้รับวิตามินดีอย่างเหมาะสมในระหว่างการรักษาและหลังการรักษาสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียเนื้อกระดูก และช่วยเพิ่มเนื้อกระดูกขึ้นมาได้ ซึ่งวิตามินดีนอกจากจะได้รับจากแสงแดดในยามเช้าแล้ว ยังสามารถได้รับจากอาหารต่างๆ อย่างพวก นม ปลาทะเล เห็ด และไข่ ได้เช่นกัน

แน่นอนว่ามันอาจดูเหมือนย้อนแย้งไปสักหน่อย เพราะอาหารทั้งหลายที่มีวิตามันดีสูงล้วนอยู่ในกลุ่มอาหารที่ผูัป่วยไทรอยด์เป็นพิษไม่ควรทานทั้งสิ้น แต่ว่าก็ควรทานบ้างในปริมาณที่เหมาะสม ให้พอดีต่อร่างกาย และเพื่อความแน่ใจ ทางที่ดีควรจะขอคำปรึกษาจากแพทย์เรื่องการทานอาหารเหล่านี้จะดีที่สุด



- ทองแดง

ผู้ป่วยทั้งไทรอยด์เป็นพิษและภาวะขาดไทรอยด์ หากขาดธาตุทองแดงจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและคอเลสเตอรอลสูง ดังนั้นร่างกายจึงควรได้รับทองแดงที่มีความจำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์

ควรทานอาหารที่มีแร่ธาตุทองแดงในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งสารอาหารชนิดนี้มีอยู่มากใน เนื้อปู หอยนางรม กุ้งล็อบสเตอร์ ถั่วเปลือกแข็ง เนื้อวัว เมล็ดทานตะวัน ถั่วขาว ถั่วลูกไก่ ถั่วเหลือง เห็ดชิทาเกะ ข้าวบาร์เลย์ มะเขือเทศ และดาร์กช็อกโกแลต


- สังกะสี

สังกะสีเป็นแร่ธาตุที่มีความเกี่ยวโยงโดยตรงกับระดับฮอร์โมนไทรอยด์ เพราะโรคไทรอยด์ทั้ง 2 ชนิด ไม่ว่าจะเป็นชนิดไทรอยด์เป็นพิษ หรือ ภาวะขาดไทรอยด์ ต่างก็มีสาเหตุมาจากการขาดสังกะสีด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรรับประทานอาหารที่มีสังกะสีให้มากขึ้น แต่ควรทานในปริมาณที่พอเหมาะกับร่างกาย

ควรปรึกษาแพทย์ถึงปริมาณของสังกะสีที่สามารถทานได้ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับโรคไทรอยด์ชนิดที่เป็นอยู่ ส่วนอาหารที่มีสังกะสีก็ได้แก่ เนื้อวัว หอยนางรม ปลาซาร์ดีน ถั่วเหลือง วอลนัท เมล็ดทานตะวัน เมล็ดอัลมอนด์ ขิง ธัญพืชต่างๆ และเมเปิ้ลไซรัป เป็นต้น


- กลูเตน

ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษสามารถทานอาหารที่มีกลูเตนได้ เช่น ข้าวสาลี หรือข้าวบาเลย์ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ แต่สำหรับผู้ที่แพ้กลูเตนอยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารประเภทนี้

เนื่องจากกลูเตนจะเข้าไปทำลายระบบการทำงานของลำไส้เล็ก ทำให้เกิดการขัดขวางการดูดซึมยารักษาต่อมไทรอยด์ ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินไป ดังนั้นหากรู้ว่าตนเองแพ้กลูเตนอยู่แล้วก็ไม่ควรทานอาหารที่มีกลูเตนอีก


- สารต้านอนุมูลอิสระ

สารต้านอนุมูลอิสระที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างวิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินอี มีหน้าที่ช่วยให้ต่อมไทรอยด์ต่อสู้กับภาวะการถูกทำลายด้วยสารอนุมูลอิสระ และป้องกันการเสื่อมสภาพก่อนวัยของต่อมไทรอยด์


อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงได้แก่ องุ่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ถั่วเปลือกแข็ง ธัญพืชชนิดต่างๆ และชาเขียว เป็นต้น


อาหารการกินที่ควรและไม่ควรสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษนั้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และซับซ้อนมากพอสมควรเลยล่ะ เพราะอาหารบางชนิดก็ควบอยู่ในหมวดที่สามารถกินได้และกินไม่ได้พร้อมกัน ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อจะได้ปรับพฤติกรรมการกินของตัวเองให้ควบคู่กับการทานยารักษา ได้อย่างปลอดภัยและถูกวิธีนั่นเอง



ที่มา    ::      https://www.pobpad.com/  ,   https://www.terrabkk.com/ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น