เมนู อาหารสำหรับ ไทรอยด์เป็นพิษ
ไทรอยด์เป็นพิษ #ไทรอยด์เป็นพิษ #ไฮเปอร์ไทรอยด์ #hyperthyroid #gravesdisease
https://youtu.be/SYCU1GM5kFI?si=5XEIU7mQGqcsUvQuเมนู อาหารสำหรับ ไทรอยด์เป็นพิษ ควรเป็นเมนูที่ช่วยลดการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ช่วยลดการดูดซึมไอโอดีนที่อาจทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานหนักขึ้น และช่วยบำรุงสุขภาพเพื่อเสริมธาตุอาหาร รวมทั้งมวลกระดูกที่ร่างกายอาจสูญเสียไปในขณะที่เป็นภาวะไทรอยด์เป็นพิษ นอกจากนี้ ยังควรหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่อาจส่งผลทำให้อาการกำเริบและรุนแรงขึ้น
ไทรอยด์เป็นพิษ คืออะไร
ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) คือ ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่ผลิตฮอร์โมนไทรอกซิน (Thyroxine หรือ T4) มากเกินไป โดยฮอร์โมนไทรอกซินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกาย ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น ส่งผลให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เหงื่อออก หงุดหงิด นอนหลับยากและอ่อนเพลีย เป็นต้น หากปล่อยไว้โดยไม่รักษาอาจเสี่ยงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น กระดูกเปราะ ปัญหาหัวใจ ปัญหาสายตา ผิวบวมแดง ปัญหาต่อมไทรอยด์ขั้นวิกฤต
เมนู อาหารสำหรับ ไทรอยด์เป็นพิษ
ผู้ที่เป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษควรเลือกรับประทานเมนูอาหารที่ช่วยลดการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์และช่วยลดการดูดซึมไอโอดีนที่ส่งผลทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานหนักขึ้น ดังนั้น เมนูสำหรับผู้ที่เป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษอาจมีดังนี้
สำหรับตัวอย่างเมนูอาหารสำหรับไทรอยด์เป็นพิษ อาจมีดังนี้
ทั้งนี้ ควรควบคุมปริมาณเกลือหรือเครื่องปรุงที่มีส่วนผสมของไอโอดีน เพื่อป้องกันการทำงานมากขึ้นของต่อมไทรอยด์
อาหารที่คนไทรอยด์เป็นพิษควรหลีกเลี่ยง
ผู้ที่เป็นไทรอยด์เป็นพิษควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารต่อไปนี้ เพื่อป้องกันอาการที่อาจรุนแรงขึ้น
- 🩸 ไอโอดีนมีความสำคัญต่อการผลิตฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ แต่การรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนสูงเกินไป เช่น เกลือ ปลา หอย ผลิตภัณฑ์จากนม ไข่แดง อาจทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานหนักขึ้นและผลิตฮอร์โมนออกมามากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษมีอาการแย่ลงได้
- 🩸 ไทรอยด์เป็นพิษเป็นโรคที่อาจพบได้บ่อยในผู้ที่เป็นโรคซิลิแอค (Celiac) ดังนั้น ผู้ที่เป็นไทรอยด์เป็นพิษควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกลูเตน เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต ข้าวไรย์ หากงดอาหารเหล่านี้อาจช่วยให้ร่างกายดูดซึมยาไทรอยด์ได้ดีขึ้นด้วย
- 🩸 คาเฟอีน เช่น กาแฟ ชาดำ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น อาการใจสั่น วิตกกังวล นอนไม่หลับ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการที่เหมือนกับอาการไทรอยด์เป็นพิษ ดังนั้น การรับประทานคาเฟอีนจึงอาจทำให้อาการไทรอยด์เป็นพิษแย่ลงได้
อาหารที่แนะนำ & ควรหลีกเลี่ยง เมื่อไทรอยด์เป็นพิษ
https://youtu.be/UxSd296X3uc?si=9xYR9bNnkA2AK3IS#ไทรอยด์เป็นพิษ! #ไทรอยด์ #ไทรอยด์เป็นพิษ #hyperthyroidism #อาหาร
ที่มา :: https://hellokhunmor.com/
เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ
ตอบลบเมนูที่ผู้ป่วยควรรับประทาน
🎯 เมนูธาตุเหล็ก เช่น ซีเรียล, ลูกเกด, ถั่วขาวหรือดำ และดาร์กช็อกโกแลต เป็นต้น
🎯 เมนูที่มีไอโอดีนต่ำ เช่น ไข่ดาว, สมุนไพร, ผักและผลไม้, เนื้อไก่, เนื้อวัว
🎯 เมนูที่มีซิลีเนียม เช่น ผักปวยเล้ง, แฮม, ทูน่า, คอตเทจชีส
🎯 เมนูที่มีแคลเซียมและวิตามินดี เช่น นม, ชีส, โยเกิร์ต, ไอศกรีม, น้ำส้ม เป็นต้น
🎯 เมนูผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี, กะหล่ำดาว, บรอกโคลี,คะน้า, ผักใบเขียว
เมนูที่ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง
🎯 อาหารที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา, กาแฟ, น้ำอัดลม และเครื่องดื่มชูกำลัง
🎯 อาหารที่มีกลูเตน เช่น ข้าวบาร์เลย์, ข้าวสาลี, ข้าวโอ๊ต และข้าวไรย์ เป็นต้น
🎯 อาหารทะเล เพราะไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ได้รับไอโอดีนรังสี
7 กลุ่มอาหารต้านไทรอยด์เป็นพิษ
ตอบลบ“ต่อมไทรอยด์” เป็นต่อมที่อยู่บริเวณลำคอ ด้านหน้าลูกกระเดือก และติดกับหลอดลม ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนในการทำงานของร่างกาย แต่ปัญหา คือ หากต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากไป ทำให้เกิดผลกระทบกับร่างกาย หรือเรียกว่า “ไทรอยด์เป็นพิษ”
“ต่อมไทรอยด์”เป็นต่อมที่อยู่บริเวณลำคอ ด้านหน้าลูกกระเดือก และติดกับหลอดลม ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนในการทำงานของร่างกาย แต่ปัญหา คือ หากต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากเกินไป จะทำให้เกิดผลกระทบกับร่างกาย หรือเรียกว่า “ไทรอยด์เป็นพิษ” ทำให้ระบบเผาผลาญของร่างกายทำงานมากขึ้น น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้งๆที่รับประทานอาหารได้มากกว่าปกติ อุจจาระ ปัสสาวะบ่อย และอาจมีปัญหาสมาธิสั้น
ส่วนภาวะที่ไทรอยด์เป็นพิษขั้นวิกฤติ ผู้ป่วยจะมีอาการหัวใจเต้นเร็วมากผิดปกติ มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส อาเจียน ท้องเสีย ตัวและตาจะเหลือง สับสนมึนงงอย่างรุนแรง มีภาวะขาดน้ำและอาจช็อก หรืออาจมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย เพราะฉะนั้นโรคไทรอยด์เป็นพิษจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจ หากมีอาการควรรีบมาพบแพทย์เพื่อรักษาให้ทันท่วงที หากรักษาช้าอาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
อาหารที่ช่วยบำรุงมี 7 กลุ่ม คือ
1. ไอโอดีน ในปลา หอยกาบ กุ้ง หอยนางรม ไข่ กระเทียม ฯลฯ
2. วิตามีนบี ในไข่แดง เครื่องในสัตว์ ปลา ธัญพืชต่าง ๆ ถั่วลันเตา นม เห็ด เมล็ดอัลมอนด์ ฯลฯ
3. ธาตุซีลีเนียม ในปลาทูน่า เห็ด เครื่องในสัตว์ ถั่วเหลือง ฯลฯ
4. สังกะสี ในเมล็ดทานตะวัน เนื้อแกะ ถั่วพีแคน ธัญพืชต่าง ๆ หอยนางรม ปลาซาร์ดีน ฯลฯ
5. ทองแดง ในถั่วเหลือง เห็ดชิตาเกะ ข้าวบาร์เล มะเขือเทศ และดาร์กช็อกโกแลต
6. สารต้านอนุมูลอิสระ ในแครอท ผักโขม ถั่วเลนทิล ถั่วเหลือง ถั่วขาว เครื่องในสัตว์
7. ธาตุเหล็ก ในเครื่องในสัตว์ หอยนางรม ผักโขม ถั่วเหลือง ถั่วขาว และเมล็ดฟักทอง