Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ประเทศอิสราเอล

 

ประเทศอิสราเอล






ประเทศอิสราเอล (อังกฤษIsraelฮีบรูיִשְׂרָאֵלอาหรับإِسْرَائِيل) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (อังกฤษState of Israelฮีบรูמְדִינַת יִשְׂרָאֵלอาหรับدَوْلَة إِسْرَائِيل) เป็นประเทศในตะวันออกกลางและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้บนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศเลบานอนทางทิศเหนือ ประเทศซีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศจอร์แดนทางทิศตะวันออก ดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ทางทิศตะวันออกและตะวันตกตามลำดับ และประเทศอียิปต์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศอิสราเอลมีภูมิลักษณ์หลากหลายแม้มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก เทลอาวีฟเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ ส่วนที่ตั้งรัฐบาลและเมืองหลวงตามประกาศคือ เยรูซาเลม แม้อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือเยรูซาเลมยังไม่มีการรับรองในระดับนานาประเทศ



ราชอาณาจักรอิสราเอลและยูดาห์ถือกำเนิดขึ้นระหว่างยุคเหล็ก จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ทำลายอิสราเอลเมื่อราว 720 ปีก่อน ค.ศ. ต่อมายูดาห์ถูกจักรวรรดิบาบิโลเนีย เปอร์เซียและเฮลเลนนิสติกพิชิต และมีอยู่เป็นจังหวัดปกครองตนเองของยิว กบฏแมคาบี (Maccabean Revolt) ที่สำเร็จทำให้เกิดราชอาณาจักรแฮซมาเนียน (Hasmonean) ซึ่งมีเอกราชเมื่อ 110 ปีก่อน ค.ศ. ทว่า ใน 63 ปีก่อน ค.ศ. ตกเป็นรัฐบริวารของสาธารณรัฐโรมันซึ่งต่อมาตั้งราชวงศ์เฮโรเดียนใน 37 ปีก่อน ค.ศ. และ 6 ปีก่อน ค.ศ. สถาปนามณฑลยูเดียของโรมัน ยูเดียเป็นมณฑลหนึ่งของโรมันจนกบฏยิวที่ไม่สำเร็จทำให้เกิดการทำลายเป็นวงกว้าง การขับไล่ประชากรยิว และการเปลี่ยนชื่อภูมิภาคจากจูเดียเป็นซีเรียปาเลสตีนา (Syria Palaestina) มียิวอยู่ในภูมิภาคนี้บ้างเป็นเวลาหลายศตวรรษ ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 อาหรับยึดลิแวนต์จากจักรวรรดิไบแซนไทน์ แล้วอยู่ในการควบคุมของมุสลิมจนสงครามครูเสดครั้งที่หนึ่งในปี 1099 ตามด้วยการพิชิตของอัยยูบิดในปี 1187 รัฐสุลต่านมัมลุกอียิปต์ขยายการควบคุมเหนือลิแวนต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 จนถูกจักรวรรดิออตโตมันพิชิตในปี 1517 ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 ความตื่นตัวเรื่องชาติในหมู่ยิวนำไปสู่การสถาปนาขบวนการไซออนิสต์ในประเทศต่าง ๆ ตามด้วยการเข้าเมืองออตโตมันและบริติชปาเลสไตน์หลายระลอก

ในปี 1947 สหประชาชาติลงมติรับแผนแบ่งส่วนสำหรับปาเลสไตน์ที่แนะนำการสถาปนารัฐอาหรับและยิวและให้เยรูซาเลมอยู่ในการควบคุมของหลายชาติ หน่วยงานยิวยอมรับและผู้นำอาหรับปฏิเสธแผนดังกล่าว ปีต่อมา หน่วยงานยิวประกาศอิสรภาพของรัฐอิสราเอล และสงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948 ในเวลาต่อมาทำให้อิสราเอลครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ของอดีตอาณัติ ส่วนรัฐอาหรับเพื่อนบ้านถือครองเวสต์แบงก์และกาซา นับแต่นั้นอิสราเอลสู้รบในสงครามหลายครั้งกับประเทศอาหรับ และตั้งแต่ปี 1967 ยึดครองดินแดนรวมทั้งเวสต์แบงก์ ที่ราบสูงโกลันและฉนวนกาซา อิสราเอลขยายกฎหมายไปยังที่ราบสูงโกลันและเยรูซาเลมตะวันออก แต่ไม่รวมเวสต์แบงก์ การยึดครองดินแดนปาเลสไตน์เป็นการยึดครองทางทหารยาวนานที่สุดในโลกในสมัยใหม่ ความพยายามระงับข้อพิพาทอิสราเอล–ปาเลสไตน์ยังไม่มีความตกลงสั้นติภาพขั้นสุดท้าย แต่มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์และจอร์แดนแล้ว


ในกฎหมายหลักพื้นฐาน อิสราเอลนิยามตนเองว่าเป็นรัฐยิวและประชาธิปไตย ปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยมีระบบรัฐสภา ประชาชนมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป โดยใช้การลงคะแนนระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อและ นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล และเนสเซทเป็นองค์การบริหารอำนาจนิติบัญญัติสภาเดี่ยวของอิสราเอล อิสราเอลเป็นประเทศพัฒนาแล้ว สมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา และเศรษฐกิจของอิสราเอลใหญ่เป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศราคาตลาดใน พ.ศ. 2554 อิสราเอลมีมาตรฐานการครองชีพสูงสุดในตะวันออกกลางและสูงสุดเป็นอันดับสามในทวีปเอเชีย อิสราเอลมีความคาดหมายการคงชีพสูงสุดประเทศหนึ่งในโลก

ภูมิศาสตร์


แบบเมดิเตอร์เรเนียน ร้อนแห้งในฤดูร้อน เย็นปานกลาง และมีฝนตกเล็กน้อยในฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ย ระหว่าง 8 - 36 องศา ฝนตกประมาณปีละ 64 วัน ปริมาณ 539 มิลลิเมตร มีพรมแดน (ตามเข็มนาฬิกา) ติดกับประเทศเลบานอน ซีเรีย จอร์แดน และอียิปต์ อิสราเอลมีชายฝั่งบนทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อ่าวอะกาบา (Gulf of Aqaba) และทะเลเดดซี


ประวัติศาสตร์

ยุคก่อนประวัติศาสคร์


ประวัติศาสตร์ของอิสราเอลเกิดขึ้นเมื่อพระเจ้าได้ทำพันธสัญญากับท่านอับราฮัม เนื่องจากว่าพระองค์ได้ทรงมองเห็นว่าท่านอับราฮัม เป็นคนชอบธรรมในสายพระเนตรของพระองค์ อับราฮัมมีลูกด้วยกันสองคน คนแรกคือ อิสมาเอล (Yismael) ที่เกิดกับหญิงทาสชื่อว่า นางฮาการ์ (Hagar) คนที่สองคือ อิสอัค (Ishak) หรือไอแซค (Issic) ที่เกิดกับซาราห์ (Sarah) ผู้เป็นบุตรหญิงของบิดาของอับราฮัม แต่ไม่ใด้เกิดจากมารดาเดียวกัน ส่วนเชื้อสายของอิสอัคนั้น เป็นต้นตระกูลของชาวอิสราเอล โดยอิสอัคมีลูกด้วยกันสองคนคือ เอซาว (Esau) และยาโคบ (Jacob) หรืออิสราเอลตามที่พระเจ้าได้ทรงตั้งชื่อให้เมื่อครั้งที่ท่านยาโคบหรือท่านอิสราเอลได้ปล้ำสู้กับพระเจ้าแล้วได้ชัยชนะครั้งที่ข้ามแม่น้ำยับบอก (การปล้ำสู้กันครั้งนี้เป็นเหตุให้ผู้ชายอิสราเอลไม่กินเส้นที่ตะโพก ซึ่งอยู่ที่ข้อต่อตะโพกนั้นจนถึงทุกวันนี้ เพราะพระองค์ทรงถูกต้องข้อต่อตะโพกของยาโคบตรงเส้นเอ็นที่ตะโพก)

ยาโคบ Jacob หรือ อิสราเอล มีลูกด้วยกันสิบสามคนคือ รูเบน สิเมโอน เลวี ยูดาห์ ดาน นัฟทาลี กาด อาเชอร์ อิสสาคาร์ เศบูลุน โยเซฟ และเบนยามิน และดีนาหฺ์ (หลังจากให้กำเนิดเศบูลุน เลอาห์ให้กำเนิดบุตรสาวคือดีนาห์นี่เอง) จากพันธสัญญาระหว่างพระเจ้ากับอับราฮัมพระองค์จึงได้บันดาลให้เกิดภัยแล้งขึ้นทั่วโลก

ต่อมาได้เกิดภัยแล้งขึ้น ยาโคบ หรืออิสราเอล และครอบครัว ต้องทำมาหากินด้วยความยากลำบาก โยเซฟ บุตรคนหนึ่งของยาโคบได้ไปเป็นผู้ดูแลราชอาณาจักรในอียิปต์ เขาได้นำพี่น้องทั้งหมดที่ต้องประสบกับภัยแล้งในคานาอันเข้ามาอยู่อาศัยในแผ่นดินอียิปต์ ครั้นพอสิ้นโยเซฟไป ฟาโรห์องค์ต่อมาได้เกิดความไม่ไว้ใจต่อชาวฮีบรู จึงลดฐานะให้เป็นทาส แล้วเกณฑ์แรงงานไปใช้ในการทำอิฐเพื่อใช้ในการก่อสร้างพีรมิด และมีคำสั่งให้ประหารชีวิตเด็กเกิดใหม่เป็นจำนวนมาก มีทารกเพศชายคนหนึ่งรอดตายจากคำสั่งประหารนั้นมาได้ ชื่อว่า "โมเสส" (Moses) โมเสสเติบโตขึ้น เป็นผู้พาพวกอิสราเอล หรือ ฮีบรูซึ่งนับแต่ผู้ชายได้ถึง 600,000 คน ผู้หญิงและเด็กต่างหาก และยังมีฝูงชนชาติอื่นเป็นจำนวนมากติดตามไปด้วย พร้อมทั้งฝูงสัตว์ คือฝูงแพะแกะและโคจำนวนมาก ออกจากอียิปต์กลับไปสู่ประเทศปาเลสไตน์ โดยพระกรที่เหยียดออก

พวกฮีบรูมีความสามัคคีและมีกำลังเข้มเข็งขึ้น จึงได้ทำการรวบรวมดินแดนโดยรอบ อันได้แก่ ดินแดนของพวกคานัน และพวกอาราเอลไลท์ แต่ก็ถูกรุกรานจากพวกพวกฟิลิเตีย (Philistine) ซึ่งอพยพจากเกาะครีต และเข้ามาตั้งภูมิลำเนาอยู่แถบชายทะเล ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปาเลสไตน์ และพวกอามอไรท์กับฮิตไตท์จากทางเหนือ ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีกษัตริย์ปกครอง พวกอิสราเอลไลท์ได้พร้อมใจกันเลือกหัวหน้ากลุ่มที่เข้มแข็งขึ้นมาผู้หนึ่งชื่อ "ซาอูล" (Saul) ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรก เมื่อประมาณ 1,050 ปี ก่อนคริสตกาล หลังจากนั้น ชาวยิวมีกษัตริย์ที่เก่งกล้าอีก 2 องค์คือกษัตริย์ดาวิดและกษัตริย์โซโลมอน เมื่อกษัตริย์โซโลมอนสิ้นพระชนม์ เมื่อ ปี 930 ก่อนคริสต์ศักราช ทำให้อาณาจักรของโซโลมอนแตกออกป็นสองส่วนคือ อาณาจักรอิสราเอล (The Kingdom of Israel) โดยมีกรุงสะมาเรียเป็นเมืองหลวง และอาณาจักรยูดาห์ (Kingdom of Judah) โดยมีเยรูซาเลมเป็นศูนย์กลาง


ยุคกลางและประวัติศาสตร์ยุคใหม่

ในปี 634–641 บริเวณนี้ รวมทั้งเยรูซาเลม ถูกอาหรับที่เพิ่งเข้ารีตอิสลามพิชิต การควบคุมดินแดนนี้เปลี่ยนแปลงระหว่างรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะฮ์ ฟาติมียะห์ เซลจุก ครูเซเดอร์และอัยยูบิดในช่วงสามศตวรรษถัดมา

ระหว่งการล้อมเยรูซาเลมในสงครามครูเสดครั้งที่หนึ่งในปี 1099 ผู้อยู่อาศัยในนครชาวยิวต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับกำลังประจำที่ตั้งฟาติมียะห์และประชากรมุสลิมซึ่งพยายามปกป้องนครจากนักรบครูเสดอย่างไร้ผล เมื่อนครแตก มีผู้ถูกสังหารหมู่ประมาณ 60,000 คน รวมทั้งยิว 6,000 คนที่ลี้ภัยในธรรมศาลาแห่งหนึ่ง ในเวลานั้นซึ่งล่วงเลยการล่มสลายของรัฐยิวมาครบหนึ่งพันปี มีชุมชนยิวอยู่ทั่วประเทศ มีชุมชนที่ทราบ 50 แห่ง รวมทั้งเยรูซาเลม ไทเบียเรียส รามลา แอชคะลอน เซซาเรีย และกาซา อัลเบิร์ตแห่งอาเคินระบุว่า ผู้


อยู่อาศัยในไฮฟาชาวยิวเป็นกำลังสู้รบหลักของนคร และ "ปะปนกับทหารซาราเซ็น [ฟาติมียะห์]" พวกเขาต่อสู้อย่างกล้าหาญเกือบเดือนจนถูกกองทัพเรือและทัพบกนักรบครูเสดบีบบังคับให้ล่าถอย

ในปี 1165 ไมมอนีดีซ (Maimonides) เยือนเยรูซาเลมและสวดภาวนาบนเนินพระวิหารใน "สถานศักดิ์สิทธิ์ใหญ่" ในปี 1141 กวีชาวสเปนเชื้อสายยิว เยฮูดา ฮาเลวี (Yehuda Halevi) เรียกร้องให้ยิวย้ายไปยังแผ่นดินอิสราเอลซึ่งเขาเดินทางไปด้วยตนเอง ในปี 1887 สุลต่านเศาะลาฮุดดีนพิชิตนักรบครูเสดในยุทธการที่ฮัททิน และต่อมายึดเยรูซาเลมและปาเลสไตน์เกือบทั้งหมด ในเวลานั้น เศาะลาฮุดดีนออกประกาศเชิญชวนยิวให้หวนคืนและตั้งถิ่นฐานในเยรูซาเลม และยูดาห์ อัลฮารีซี (Judah al-Harizi) ระบุว่า "นับแต่อาหรับยึดเยรูซาเลม ชาวอิสราเอลก็อยู่อาศัยที่นั่น" อัลฮารีซีเปรียบเทียบพระราชกฤษฎีกาของเศาะลาฮุดดีนที่อนุญาตให้ยิวตั้งถิ่นฐานในเยรูซาเลมกับพระราชกฤษฎีกาของพระมหากษัตริย์เปอร์เซีย พระเจ้าไซรัสมหาราช เมื่อกว่า 1,600 ปีก่อน

ในปี 1211 ชุมชนชาวยิวในประเทศเข้มแข็งขึ้นเมื่อกลุ่มยิวที่มีแรบไบกว่า 300 คนเป็นหัวหน้าเข้ามาจากฝรั่งเศสและอังกฤษ ซึ่งมีแรบไบแซมซัน เบน อับราฮัมแห่งเซนส์ แนคแมนีดีซ (Nachmanides) แรบไบชาวสเปนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 และผู้นำยิวที่ได้รับการรับรองยกย่องแผ่นดินอิสราเอลอย่างสูงและมองว่านิคมยิวเป็นข้อบัญญัติแน่นอนที่มีผลต่อยิวทุกคน เขาเขียนว่า "หากผู้มิใช่ยิวประสงค์สร้างสันติ เราจักสร้างสันติและปล่อยพวกเขาไว้บนเงื่อนไขชัดเจน แต่สำหรับเรื่องแผ่นดิน เราจักไม่ยอมปล่อยให้ตกอยู่ในมือพวกเขา หรือในดินแดนของชาติใด ไม่ว่าในอายุคนใด"

ในปี 1260 การควบคุมภูมิภาคปาเลสไตน์ตกเป็นของสุลต่านมัมลุกอียิปต์ ประเทศตั้งอยู่ระหว่างศูนย์กลางอำนาจของมัมลุกสองแห่ง คือ ไคโรและดามัสกัสและมีการพัฒนาบ้างตามถนนส่งจดหมายที่เชื่อมระหว่างสองนคร เยรูซาเลมแม้ไม่มีการคุ้มครองจากกำแพงนครใด ๆ มาตั้งแต่ปี 1219 ก็มีโครงการก่อสร้างใหม่ ๆ ที่ตั้งอยู่รอบมัสยิดอัลอักศอบนเนินพระวิหาร ในปี 1266 สุลต่านไบบาส์ (Baybars) แห่งมัมลุกเปลี่ยนสภาพถ้ำอัครบิดร (Cave of the Patriarchs) ในฮีบรอนเป็นสถานที่คุ้มภัยของอิสลามโดยเฉพาะและห้ามคริสต์ศาสนิกชนและยิวเข้า ซึ่งเดิมสามารถเข้าได้โดยต้องจ่ายค่าธรรมเนียม คำสั่งห้ามมีผลจนอิสราเอลเข้าควบคุมอาคารในปี 1967

ในปี 1516 ภูมิภาคนี้ถูกจักรวรรดิออตโตมันพิชิต และอยู่ในการควบคุมของออตโตมันจนสิ้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อบริเตนพิชิตกำลังออตโตมันและตั้งรัฐบาลทหารขึ้นปกครองทั่วอดีตออตโตมันซีเรีย ในปี 1920 ดินแดนดังกล่าวถูกแบ่งระหว่างบริเตนและฝรั่งเศสภายใต้ระบบอาณัติ และพื้นที่ที่บริเตนบริหารราชการแผ่นดินซึ่งรวมอิสราเอลสมัยใหม่ได้ชื่อว่า ปาเลสไตน์ในอาณัติ


ขบวนการไซออนิสต์และอาณัติของบริเตน

นับแต่มีชุมชนยิวพลัดมาตุภูมิแรกสุด ยิวจำนวนมากหวังคืนสู่ "ไซออน" และ "แผ่นดินอิสราเอล" แม้ปริมาณความพยายามที่ควรใช้ไปเพื่อเป้าหมายนี้เป็นหัวข้อพิพาท ความหวังและความปรารถนาของยิวที่อาศัยอยู่นอกมาตุภูมิเป็นแก่นสำคัญของระบบความเชื่อของยิว หลังยิวถูกขับไล่ออกจากสเปนในปี 1492 บางชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่ในปาเลสไตน์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชุมชนยิวตั้งรกรากในสี่นครศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ เยรูซาเลม ไทเบียเรียส ฮีบรอนและซาเฟ็ด และในปี 1697 แรบไบเยฮูดา ฮาชาซิด (Yehuda Hachasid) นำกลุ่มยิว 1,500 คนไปเยรูซาเลม ในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ผู้คัดค้านลัทธิฮาซิดิมชาวยุโรปตะวันออก ที่เรียก เปรูชิม (Perushim) ตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์

การย้ายถิ่นของยิวสมัยใหม่ระลอกแรกไปปาเลสไตน์ในปกครองของออตโตมัน ที่เรียก อะลียาครั้งแรก (First Aliyah) เริ่มขึ้นในปี 1881 เมื่อยิวหนีโพกรมในยุโรปตะวันออก แม้มีขบวนการไซออนิสต์แล้ว นักหนังสือพิมพ์ชาวออสเตรีย-ฮังการี ทีโอดอร์ เฮิซ (Theodor Herzl) ได้รับความชอบว่าเป็นผู้ก่อตั้งขบวนการการเมืองไซออนิสต์ เป็นขบวนการซึ่งมุ่งสถาปนารัฐยิวในแผ่นดินอิสราเอล ฉะนั้นจึงเสนอทางออกแก่ปัญหาชาวยิวในรัฐยุโรป ร่วมกับเป้าหมายและความสำเร็จของโครงการระดับชาติอื่นในเวลานั้น ในปี 1896 เฮิซจัดพิมพ์หนังสือ รัฐยิว เสนอวิสัยทัศน์รัฐยิวในอนาคต ปีต่อมาเขาเป็นประธานสภาไซออนิสต์ครั้งที่หนึ่ง

อะลียาครั้งที่สอง (ปี 1904–14) เริ่มขึ้นหลังโพกรมคีชีเนฟ (Kishinev pogrom) มียิวประมาณ 40,000 คนตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์ แม้เกือบครึ่งออกจากที่นั้นในที่สุด ผู้เข้าเมืองทั้งสองระลอกแรกเป็นยิวออร์ทอด็อกซ์เสียส่วนใหญ่ แม้อะลียาครั้งที่สองมีกลุ่มสังคมนิยมซึ่งสถาปนาขบวนการคิบบุตส์ (kibbutz) อยู่ด้วย ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบริเตน อาร์เธอร์ แบลเฟอร์ (Arthur Balfour) ส่งปฏิญญาแบลเฟอร์ปี 1917 แก่บารอนรอทส์ไชลด์ (วัลเทอร์ รอทส์ไชลด์ บารอนที่ 2 แห่งรอทส์ไชลด์) ผู้นำชุมชนยิวบริเตน ซึ่งแถลงว่าบริเตนตั้งใจสถาปนา "บ้านชาติ" ของยิวในอาณัติปาเลสไตน์

ในปี 1918 ลีจันยิว กลุ่มซึ่งประกอบด้วยอาสาสมัครไซออนิสต์เป็นหลัก สนับสนุนการพิชิตปาเลสไตน์ของบริเตน การคัดค้านการปกครองของบริเตนและการเข้าเมืองของยิวนำไปสู่เหตุจลาจลในปาเลสไตน์ปี 1920 และการสถาปนาทหารอาสาสมัครยิวที่เรียก ฮาฆอนาฮ์ (Haganah) ซึ่งต่อมาแยกออกมาเป็นกลุ่มกึ่งทหารออกัน (Irgan) และเลฮี (Lehi) ในปี 1922 สันนิบาตชาติให้อาณัติเหนือปาเลสไตน์แก่บริเตนภายใต้เงื่อนไขซึ่งรวมปฏิญญาแบลเฟอร์และคำมั่นแก่ยิว และบทบัญญัติคล้ายกันว่าด้วยชาวปาเลสไตน์เชื้อสายอาหรับ ประชากรของพื้นที่ในเวลานั้นเป็นอาหรับและมุสลิมเป็นหลัก โดยมียิวคิดเป็นประมาณร้อยละ 11 และคริสต์ศาสนิกชนเชื้อสายอาหรับประมาณร้อยละ 9.5 ของประชากร

อะลียาครั้งที่สาม (1919–23) และครั้งที่สี่ (1924–29) นำชาวยิวอีก 100,000 คนมายังปาเลสไตน์ ความรุ่งเรืองของลัทธินาซีและการเบียดเบียนยิวที่เพิ่มขึ้นในทวีปยุโรปคริสต์ทศวรรษ 1930 นำไปสู่อะลียาครั้งที่ห้า โดยมีการไหลบ่าของชาวยิวกว่า 250,000 คน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของกบฏอาหรับปี 1936–39 ระหว่างนั้นทางการอาณัติบริติชร่วมกับทหารอาสาสมัครอาฆอนาห์และออกันฆ่าอาหรับ 5,032 คนและทำให้มีผู้บาดเจ็บ 14,760 คน ทำให้ประชากรอาหรับปาเลสไตน์ชายผู้ใหญ่กว่าร้อยละ 10 ถูกฆ่า ได้รับบาดเจ็บ ถูกจำคุกหรือถูกเนรเทศ บริเตนริเริ่มการจำกัดการเข้าเมืองปาเลสไตน์ของยิวด้วยกระดาษขาวปี 1939 เมื่อประเทศทั่วโลกไม่รับผู้ลี้ภัยยิวที่หนีฮอโลคอสต์ จึงมีการจัดระเบียบขบวนการลับที่เรียก เข็มขัดอะลียา เพื่อนำยิวไปปาเลสไตน์ เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ประชากรยิวของปาเลสไตน์เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 33 ของประชากรทั้งหมด


หลังสงครามโลกครั้งที่สองและเอกราช

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง บริเตนขัดแย้งรุนแรงกับชุมชนยิวเรื่องการจำกัดการเข้าเมืองของยิว ตลอดจนความขัดแย้งกับชุมชนอาหรับเรื่องระดับขีดจำกัด ฮาฆอนาห์เข้าร่วมกับออกันและเลฮีในการต่อสู้ด้วยอาวุธต่อการปกครองของบริเตน ขณะเดียวกัน ผู้รอดชีวิตและผู้ลี้ภัยฮอโลคอสต์ชาวยิวหลายแสนคนแสวงชีวิตใหม่ห่างไกลจากชุมชนที่ถูกทำลายในทวีปยุโรป ยีชูฟ (Yishuv) พยายามนำผู้ลี้ภัยเหล่านี้มาปาเลสไตน์ แต่มีจำนวนมากถูกปฏิเสธหรือถูกบริเตนจับขังไว้ในค่ายกักกันในอัตลิตและไซปรัส

วันที่ 22 กรกฎาคม 1946 ออกันโจมตีสำนักงานใหญ่บริหารราชการแผ่นดินของบริเตนสำหรับปาเลสไตน์ ซึ่งตั้งอยู่ที่โรงแรมคิงดาวิดในเยรูซาเลม มีผู้เสียชีวิตหลายสัญชาติรวม 91 คน และได้รับบาดเจ็บอีก 46 คนโรงแรมนั้นยังเป็นที่ตั้งของสำนักเลขาธิการรัฐบาลปาเลสไตน์และสำนักงานใหญ่ของกองทัพบริเตนในปาเลสไตน์และทรานส์เจอร์แดน ทีแรกการโจมตีนี้ได้รับความเห็นชอบจากฮาฆอนาห์ เข้าใจว่าเหตุนี้เป็นการตอบโต้ปฏิบัติการอะกาธา (การตีโฉบฉวยเป็นวงกว้างรวมทั้งต่อหน่วยงานยิว ซึ่งทางการบริติชเป็นผู้ลงมือ) และเป็นครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดต่อชาวบริติชระหว่างสมัยอาณัติ ในปี 1947 รัฐบาลบริติชประกาศว่าจะถอนตัวออกจากปาเลสไตน์ โดยแถลงว่าไม่สามารถบรรลุวิธีระงับปัญหาที่ทั้งอาหรับและยิวยอมรับ

วันที่ 15 พฤษภาคม 1947 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่เพิ่งตั้งได้ข้อสรุปว่าให้ตั้งคณะกรรมการพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยปาเลสไตน์ "เพื่อเตรียมรายงานว่าด้วยปัญหาปาเลสไตน์สำหรับข้อพิจารณาในสมัยประชุมสามัญแห่งสมัชชาฯ" ในรายงานของคณะกรรมการฯ ลงวันที่ 3 กันยายน 1947 ถึงสมัชชาใหญ่ฯ คณะกรรมการฯ ส่วนใหญ่ในบทที่ 6 เสนอแผนแทนที่อาณัติปาเลสไตน์ด้วย "รัฐอาหรับเอกราช รัฐยิวเอกราช และนครเยรูซาเลม ... โดยอย่างหลังให้อยู่ภายใต้ระบบภาวะทรัสตีระหว่างประเทศ" วันที่ 29 พฤศจิกายน สมัชชาใหญ่ฯ รับข้อมติที่ 181 (II) แนะนำการมีมติเห็นชอบและการนำไปปฏิบัติซึ่งแผนการแบ่งพร้อมสหภาพเศรษฐกิจ แผนที่แนบกับข้อมติมีความสำคัญที่เสนอโดยคณะกรรมการฯ ส่วนใหญ่ในรายงานวันที่ 3 กันยายน หน่วยงานยิวซึ่งเป็นผู้แทนชุมชนยิวที่ได้รับการรับรอง ยอมรับแผนนี้ ฝ่ายสันนิบาตอาหรับและคณะกรรมการสูงอาหรับปาเลสไตน์ปฏิเสธ และบ่งชี้ว่าจะปฏิเสธแผนแบ่งส่วนใด ๆ วันรุ่งขึ้น คือ 1 ธันวาคม 1947 คณะกรรมการสูงอาหรับประกาศการหยุดงานประท้วงสามวัน และแก๊งอาหรับเริ่มโจมตีเป้าหมายยิว ทีแรกยิวเป็นฝ่ายตั้งรับเมื่อสงครามกลางเมืองปะทุ แต่ในต้นเดือนเมษายน 1948 เปลี่ยนเป็นฝ่ายบุก เศรษฐกิจปาเลสไตน์อาหรับล่มสลายและชาวอาหรับปาเลสไตน์หลบหนีหรือถูกขับไล่ 250,000 คน

วันที่ 14 พฤษภาคม 1948 หนึ่งวันก่อนอาณัติบริติชหมดอายุ เดวิด เบนกูเรียน หัวหน้าหน่วยงานยิว ประกาศ "การสถาปนารัฐยิวในแผ่นดินอิสราเอล เรียก รัฐอิสราเอล" การพาดพิงเดียวในข้อความของประกาศฯ ถึงเขตแดนของรัฐใหม่คือการใช้คำว่าแผ่นดินอิสราเอล (Eretz-Israel) วันรุ่งขึ้น กองทัพประเทศอาหรับสี่ประเทศ คือ อียิปต์ ซีเรีย ทรานส์จอร์แดนและอิรัก ยาตราเข้าอดีตปาเลสไตน์ในอาณัติบริเตน เปิดฉากสงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948 ทหารสมทบจากประเทศเยเมน โมร็อกโก ซาอุดีอาระเบียและซูดานเข้าร่วมสงครามด้วย ความมุ่งหมายปรากฏของการบุกครองคือการป้องกันการถสาปนารัฐยิวตั้งแต่เริ่มบังคับและผู้นำอาหรับบางคนพูดถึงการผลักดันยิวตกทะเล เบนนี มอร์ริสว่า ยิวรู้สึกว่ากองทัพอาหรับที่กำลังบุกครองมุ่งฆ่าล้างบางยิว สันนิบาตอาหรับแถลงว่าการบุกครองเป็นไปเพื่อฟื้นฟูกฎหมายและความสงบเรียบร้อยและป้องกันการนองเลือดเพิ่มอีก

หลังการสู้รบนานหนึ่งปี มีการประกาศการหยุดยิงและมีการสถาปนาพรมแดนชั่วคราว เรียก เส้นเขียว (Green Line) จอร์แดนผนวกดินแดนที่เรียก เวสต์แบงก์ รวมทั้งเยรูซาเลมตะวันออก และอียิปต์ควบคุมฉนวนกาซา สหประชาชาติประมาณว่าชาวปาเลสไตน์กว่า 700,000 คนถูกขับไล่หรือหลบหนีจากกำลังอิสราเอลที่กำลังรุกคืบระหว่างความขัดแย้งนั้น ซึ่งภาษาอารบิกเรียก นัคบา ("หายนะ") ส่วน 156,000 คนยังอยู่และกลายเป็นพลเมืองอิสราเอลเชื้อสายอาหรับ


ปีแรก ๆ ของรัฐอิสราเอล


ประเทศอิสราเอลได้รับเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติด้วยคะแนนเสียงฝ่ายข้างมากเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 1949 ทั้งอิสราเอลและจอร์แดนสนใจความตกลงสันติภาพอย่างจริงใจ แต่บริเตนขัดขวางความพยายามของจอร์แดนเพื่อเลี่ยงความเสียหายต่อผลประโยชน์ของบริเตนในอียิปต์ ในปีแรก ๆ ของรัฐ ขบวนการไซออนิสต์เลเบอร์ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเดวิด เบนกูเรียนเป็นผู้นำ ครอบงำการเมืองอิสราเอล คิบบุตซิม หรือชุมชนระบบนารวม มีบทบาทสำคัญในการสถาปนารัฐใหม่

การเข้าเมืองอิสราเอลระหว่างปลายคริสต์ทศวรรษ 1940 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1950 ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการเข้าเมืองอิสราเอลและสถาบันการเข้าเมืองมิชอบด้วยกฎหมายที่เอกชนสนับสนุน ทั้งสองกลุ่มอำนวยความสะดวกแก่ลอจิสติกส์การเข้าเมืองเป็นประจำเช่น การจัดหาการขนส่ง แต่ฝ่ายหลังเข้าร่วมในปฏิบัติการลับในหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตะวันออกกลางและยุโรปตะวันออก ที่ซึ่งชีวิตชาวยิวเชื่อว่าตกอยู่ในอันตรายและการออกจากที่เหล่านั้นยาก มีการยุบสถาบันการเข้าเมืองมิชอบด้วยกฎหมายในปี 1953 การเข้าเมืองเป็นไปตามแผนหนึ่งล้าน ผู้เข้าเมืองมีเหตุผลหลากหลาย บ้างมีความเชื่อแบบไซออนิสต์หรือมาเพราะคำมั่นสำหรับชีวิตที่ดีกว่านอิสราเอล แต่บ้างย้ายเพื่อหนีการเบียดเบียนหรือถูกขับไล่

การไหลบ่าของผู้รอดชีวิตจากฮอโลคอสต์และยิวจากประเทศอาหรับและมุสลิมเข้าประเทศอิสราเอลระหว่างสามปีแรกเพิ่มจำนวนยิวจาก 700,000 คนเป็น 1.4 ล้านคน ภายในปี 1958 ประชากรอิสราเอลเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านคน ระหว่างปี 1948 และ 1970 มีผู้ลี้ภัยชาวยิวประมาณ 1,150,000 คนย้ายถิ่นเข้าประเทศอิสราเอล ผู้เข้าเมืองใหม่บางส่วนมาเป็นผู้ลี้ภัยโดยไม่มีทรัพย์สินติดตัวและกำหนดให้ำนักในค่ายชั่วคราวเรียก มาอะบารอต (ma'abarot) ภายในปี 1952 มีกว่า 200,000 คนอาศัยอยู่ในนครเต๊นท์เหล่านี้ ยิวที่มาจากทวีปยุโรปมักได้รับการปฏิบัติดีกว่ายิวจากประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ หน่วยเคหะที่สงวนไว้สำหรับยิวกลุ่มหลักมักได้รับกำหนดใหม่แก่ยิวกลุ่มแรก ส่งผลให้ยิวจากดินแดนอาหรับโดยทั่วไปอาศัยอยู่ในค่ายเปลี่ยนผ่านนานกว่า ความตึงเครียดซึ่งพัฒนาขึ้นระหว่างสองกลุ่มจากการเลือกปฏิบัติดังกล่าวดำเนินมาถึงทุกวันนี้ ระหว่างช่วงนี้ อาหาร เครื่องนุ่งห่มและเฟอร์นิเจอร์จำเป็นต้องได้รับการปันส่วน ซึ่งเรียก ยุครัดเข็มขัด ความจำเป็นเพื่อระงับวิกฤตการณ์นำให้เบนกูเรียนลงนามความตกลงค่าปฏิกรรมกับประเทศเยอรมนีตะวันตก ทำให้เกิดการประท้วงขนาดใหญ่ของยิวซึ่งโกรธแค้นกับแนวคิดที่ว่าอิสราเอลสามารถระงับค่าตอบแทนเป็นเงินจากฮอโลคอสต์


ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1950 ประเทศอิสราเอลถูกเฟดายีนปาเลสไตน์ (Palestinian fedayeen) โจมตีบ่อยครั้ง โดยมีเป้าหมายต่อพลเรือนเกือบทั้งหมด ส่วนใหญ่จากฉนวนกาซาที่อียิปต์ยึดครอง นำให้เกิดการตีโฉบฉวยโต้ตอบ ในปี 1956 บริเตนใหญ่และฝรั่งเศสมุ่งเข้าควบคุมคลองสุเอซอีกครั้ง ซึ่งอียิปต์โอนเป็นของรัฐ การปิดล้อมคลองสุเอซและช่องแคบติรานมิให้อิสราเอลขนส่งทางเรือ ร่วมกับปริมาณการโจมตีของเฟดายีนต่อประชากรภาคใต้ของอิสราเอลที่เพิ่มขึ้น และถ้อยแถลงร้ายแรงและคุกคามของอาหรับล่าสุด ทำให้อิสราเอลโจมตีอียิปต์ อิสราเอลเข้าเป็นพันธมิตรลับกับบริเตนใหญ่และฝรั่งเศส และสามารถเอาชนะได้คาบสมุทรไซนาย แต่ถูกสหประชาชาติกดดันให้ถอนกำลังเพื่อแลกกับการรับประกันสิทธิการเดินเรือของอิสราเอลในทะเลแดงโดยทางช่องแคบติรานและคลองฯ สงครามนั้น ซึ่งเรียก วิกฤตการณ์คลองสุเอซ ทำให้ลดการแทรกซึมชายแดนอิสราเอลลดลงอย่าง

สำคัญ ในค้นคริสต์ทศวรรษ 1960 อิสราเอลจับตัวอาชญากรสงครามนาซี อดอล์ฟ ไอชมันน์ในประเทศอาร์เจนตินาและนำตัวมาไต่สวนในอิสราเอล การไต่สวนนั้นมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อความตระหนักสาธารณะของฮอโลคอสต์ ไอชมันน์ยังเป็นผู้เดียวที่ถูกประหารชีวิตในประเทศอิสราเอลจากคำพิพากษาของศาลพลเรือนอิสราเอลจนถึงปัจจุบัน


นับแต่ปี 1964 ประเทศอาหรับที่กังวลต่อแผนของอิสราเอลในการปันน้ำจากแม่น้ำจอร์แดนสู่ที่ราบชายฝั่ง พยายามหันเหต้นน้ำเพื่อตัดทรัพยากรน้ำของอิสราเอล ยั่วยุความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลฝ่ายหนึ่ง และซีเรียและเลบานอนอีกฝ่ายหนึ่ง นักชาตินิยมอาหรับซึ่งมีประธานาธิบดีอียิปต์ ญะมาล อับดุนนาศิร เป็นผู้นำ ปฏิเสธที่จะรับรองอิสราเอลและเรียกร้องให้ทำลายล้างอิสราเอล ภายในปี 1966 ความสัมพันธ์อาหรับ–อิสราเอลเสื่อมลงถึงขั้นที่มีการยุทธ์จริงจังระหว่างกำลังอิสราเอลและอาหรับ ในเดือนพฤษภาคม 1967 อียิปต์ประชุมกองทัพใกล้ชายแดนกับอิสราเอล ขับไล่กำลังรักษาสันติภาพสหประชาชาติซึ่งประจำอยู่ในคาบสมุทรไซนายตั้งแต่ปี 1957 และสกัดการเข้าถึงทะเลแดงของอิสราเอล รัฐอาหรับอื่นระดมกำลังเช่นกัน อิสราเอลย้ำว่าการกระทำเหล่านี้เป็นเหตุแห่งสงคราม และในวันที่ 5 มิถุนายน เปิดฉากการโจมตีก่อนต่ออียิปต์ จอร์แดน ซีเรียและอิรักตอบสนองและโจมตีอิสราเอล ในสงครามหกวัน อิสราเอลพิชิตจอร์แดนและยึดเวสต์แบงก์ พิชิตอียิปต์และยึดฉนวนกาซาและคาบสมุทรไซนาย และพิชิตซีเรียและยึดที่ราบสูงโกลัน ขอบเขตของเยรูซาเลมขยายใหญ่ขึ้น รวมเยรูซาเลมตะวันออก และเส้นเขียวปี 1949 กลายเป็นเขตแดนบริหารราชการแผ่นดินระหว่างอิสราเอลและดินแดนยึดครอง


นับแต่สงครามปี 1967 และข้อมติ "สามไม่" ของสันนิบาตอาหรับ ระหว่างสงครามการบั่นทอนกำลังปี 1967–1970 อิสราเอลเผชิญการโจมตีจากอียิปต์ในไซนาย จากกลุ่มปาเลสไตน์ที่มุ่งเป้าชาวอิสราเอลในดินแดนยึดครอง ในดินแดนอิสราเอล และทั่วโลก กลุ่มปาเลสไตน์และอาหรับที่สำคัญที่สุดคือ องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) ซึ่งสถาปนาในปี 1964 ซึ่งเดิมมุ่งมั่นเพื่อ "การต่อสู้ด้วยอาวุธว่าเป็นทางเดียวในการปลดปล่อยบ้านเกิด" ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 กลุ่มปาเลสไตน์เปิดฉากการโจมตีเป็นระลอก ต่อเป้าหมายอิสราเอลและยิวทั่วโลก รวมทั้งการสังหารหมู่นักกีฬาอิสราเอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 1972 ในมิวนิก รัฐบาลอิสราเอลตอบโต้ด้วยการทัพลอบฆ่าต่อผู้อยู่เบื้องหลังการสังหารหมู่ การทิ้งระเบิดทางอากาศและการตีโฉบฉวยต่อสำนักงานใหญ่ PLO ในประเทศเลบานอน


วันที่ 6 ตุลาคม 1973 ระหว่างที่ยิวกำลังจัดยมคิปปูร์ ซึ่งเป็นเทศกาลสำคัญที่สุดของยิว กองทัพอียิปต์และซีเรียเปิดฉากการโจมตีอย่างจู่โจมต่อกำลังอิสราเอลในคาบสมุทรไซนายและที่ราบสูงโกลัน ซึ่งเปิดฉากสงครามยมคิปปูร์ สงครามยุติในวันที่ 25 ตุลาคมโดยอิสราเอลสามารถผลักดันกำลังอียิปต์และซีเรียแต่สูญเสียทหารกว่า 2,500 นายในสงครามที่คร่าชีวิต 10,000–35,000 คนในเวลาประมาณ 20 วัน การสอบสวนภายในถือว่ารัฐบาลพ้นความรับผิดชอบสำหรับความล้มเหลวทั้งก่อนหน้าและระหว่างสงคราม แต่สาธารณะบีบบังคับให้นายกรัฐมนตรีโกลดา เมอีร์ลาออก ในเดือนกรกฎาคม 1976 มีเครื่องบินโดยสารหนึ่งถูกกองโจรปาเลสไตน์จี้ระหว่างบินจากอิสราเอลไปประเทศฝรั่งเศส และลงจอดที่เอ็นเทบเบ (Entebbe) ประเทศอูกันดา คอมมานโดอิสราเอลดำเนินปฏิบัติการซึ่งสามารถช่วยเหลือตัวประกันชาวอิสราเอลได้สำเร็จ 102 คนจาก 106 คน


การเมืองการปกครอง


อิสราเอลปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยสมาชิกสภาคเนสเซ็ทมีวาระครั้งละ 7 ปี ประธานาธิบดีคนปัจจุบันได้แก่นาย Reuven Rivlin ซึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งเมื่อ 24 กรกฎาคม 2014

บริหาร

คณะรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งมีวาระครั้งละ 4 ปี นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นัฟตาลี เบนเนตต์

นิติบัญญัติ

สมาชิกสภา Knesset ซึ่งทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎรและสถาบันทางนิติบัญญัติ ประกอบด้วยสมาชิก 120 คน มีวาระครั้งละ 4 ปี

ตุลาการ

บทความหลัก: กฎหมายอิสราเอล

การแบ่งเขตการปกครอง


ประเทศอิสราเอลแบ่งเป็น 6 เขต (เมโฮซอต [mehozot]; เอกพจน์ เมฮอซ [mehoz]) และ 13 เขตย่อย (นาฟอต [nafot]; เอกพจน์ นาฟา [nafa])

เขตเมืองเอกนครใหญ่สุดประชากร[214]
ยิวอาหรับรวมหมายเหตุ
เยรูซาเลมเยรูซาเลม67%32%1,083,300a
เหนือนาซาเรธอิลลิตนาซาเรธ43%54%1,401,300
ไฮฟาไฮฟา68%26%996,300
กลางรามลาริชอนเลซิออน88%8%2,115,800
เทลอาวีฟเทลอาวีฟ93%2%1,388,400
ใต้เบียร์ชีบาอัชดอด73%20%1,244,200
ยูเดียและซามาเรียArielModi'in Illit98%0%399,300b
^a รวมยิวกว่า 200,000 คนและอาหรับ 300,000 คนในเยรูซาเลมตะวันออก
^b เฉพาะพลเมืองอิสราเอล


เศรษฐกิจ

โครงสร้าง


ระบบเศรษฐกิจอิสราเอลมีลักษณะผสมผสานระหว่างการที่รัฐเข้าไปมีบทบาทควบคุมกิจการที่มีกำลังการผลิตและการจ้างงานสูง ขณะที่ภาคเอกชนก็สามารถมีกิจการได้โดยเสรี โดยทั่วไปแล้ว เศรษฐกิจของอิสราเอลจะอยู่ใต้อิทธิพลของความจำเป็นด้านความมั่นคง

  • ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ต้นไม้ ธาตุทองแดง โปแตช ก๊าซธรรมชาติ หินฟอสเฟต โบรมีน
  • อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 1.9 (ปี 2549)
  • อัตราผู้ว่างงาน ร้อยละ 8.5 (ปี 2549)
  • สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์ software เพชรเจียระไน ผลิตภัณฑ์เกษตร เสื้อผ้า
  • สินค้านำเข้าที่สำคัญ วัตถุดิบ อาวุธยุทโธปกรณ์ เชื้อเพลิง เพชร เมล็ดข้าว สินค้าอุปโภคบริโภค
  • ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี เบลเยี่ยม สวิตเซอร์แลนด์ จีน ฮ่องกง
    • ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม ฮ่องกง สหราชอาณาจักร
    • ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร



รู้จัก "อิสราเอล" ดินแดนแห่งประวัติศาสตร์นับพันปี


จากสถานการณ์ การสู้รบครั้งใหม่ ระหว่างอิสราเอล และ กลุ่มฮามาส จนส่งผลกระทบต่อแรงงานไทยที่ไปประกอบอาชีพค้าแรงงานที่ประเทศอิสราเอล จนทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

จากสถานการณ์ การสู้รบครั้งใหม่ ระหว่างอิสราเอล และ กลุ่มฮามาส จนส่งผลกระทบต่อแรงงานไทยที่ไปประกอบอาชีพค้าแรงงานที่ประเทศอิสราเอล จนทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ไทยพีบีเอส พาไปรู้จัก ประเทศอิสราเอล ให้มากขึ้น

อิสราเอล (Israel) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล เป็นประเทศในตะวันออกกลางและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้บนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศเลบานอนทางทิศเหนือ ประเทศซีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศจอร์แดนทางทิศตะวันออก

อิสราเอล มีพื้นที่ราว 27,800 ตร.กม.(รวมพื้นที่ของฝ่ายปาเลสไตน์) จากเหนือถึงใต้มีความยาว 470 กม.สามารถเดินทางด้วยรถยนต์จากเหนือสุดถึงใต้สุดใช้เวลา 9 ชม. จากตะวันตกไปตะวันออก มีความกว้างสุด 135 กม.ใช้เวลา 90 นาที

อิสราเอล มีเมืองหลวงคือ กรุงเทลอาวีฟ ขณะที่ยังมี "เยรูซาเล็ม" เมืองสำคัญและเป็นที่รู้จักอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีเมืองสำคัญคือ ไฮฟา เอลัท และเบียร์เชวา

ประชากรมีทั้งสิ้น ราว 9.4 ล้านคน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค.64 ) ประชากรราว 90 % อาศัยอยู่ในเขตเมืองที่ทันสมัย บางส่วนอาศัยอยู่ในเขตเมืองเก่า ขณะที่ ประชากรราว 6 % อยู่ในชนบทโดยเป็นสมาชิกสหกรณ์ 2 ลักษณะคือ คิบบุตซ์ และโมชาฟ

ชาวอิสราเอลมีหลายชาติพันธุ์ ทั้งชาวยิว และชนอาหรับพื้นเมือง รวมทั้งชาวยิวที่อพยพมาจากยุโรป แอฟริกา เอเชีย และประเทศตะวันออกกลางอื่น ๆ ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ อาทิ เทลอาวีฟ เยรูซาเล็ม และไฮฟา ที่เหลือกระจัดกระจายตามพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศชาวอิสราเอล ร้อยละ 79.8 นับถือศาสนายูดาย (Judaism) ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลาม (14 %) คริสต์ (2%)

ขณะที่ ภาษาราชการคือ ภาษาฮิบรู (Hebrew) ทั้งนี้ ชาวอิสราเอลเชื้อสายอาหรับจะใช้ภาษาอารบิก (Arabic) ทั้งนี้ ประชาชนส่วนใหญ่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดี อิสราเอล มีวันหยุดราชการคือ ศุกร์ (บ่าย) เสาร์ (ทั้งวัน) ขณะที่ สกุลเงิน คือ เชคเกล มีอัตราแลกเปลี่ยนประาณ 1 เชคเกล เท่ากับ 10 บ.

สภาพภูมิอากาศ เป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน ร้อนแห้งในฤดูร้อน เย็นปานกลาง และมีฝนตกเล็กน้อยในฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ย ระหว่าง 8 - 36 องศา ฝนตกประมาณปีละ 64 วัน ปริมาณ 539 มิลลิเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ ค่อนข้างหลากลาย โดยมีทั้งที่ราบชายฝั่งทะเล (ภาคตะวันตก) หุบเขาเทือกเขา (ภาคตะวันออก) และทะเลทราย (ภาคใต้) ทะเลสาบ Deadsea บริเวณภาคใต้ถือว่าเป็นจุดที่อยู่ต่ำสุดของโลก

นอกจากนี้ อิสราเอลมีพืชเเละสัตว์ หลากลหาย เนื่องมาจากภูมิประเทศและอากศมีความหลากหลาย ในอิสราเอลมีนกมากกว่า 380 ชนิด มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเเละสัตว์เลื้อยคลานกว่า 150 ชนิด พืชกว่า 3,000 ชนิด (โดยที่ 150 ชนิดเป็นพืชพื้นเมืองของอิสราเอล) มีการสร้างอ่างเก็บน้ำ ตามธรรมชาติถึง 150 เเห่งทั่วประเทศบนพื้นที่เกือบ 400 ตารางไมล์ (ประมาณ 1,000 ตร.กม.)

ขณะที่ ในภูมิภาคนี้ซึ่งค่อนข้างขาดแคลนน้ำ อิสราเอล จึงมีความพยายามอย่างจริงจังในการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์ที่สุดรวมถึงหาเเหล่งน้ำใหม่ ๆ อยู่เสมอ ในช่วงคริสตทศวรรษที่ 60 อิสราเอล เชื่อมเเหล่งน้ำจืดเข้าด้วยกัน เส้นเลือดใหญ่หรือระบบส่งน้ำเเห่งชาติ ส่งน้ำจากทางเหนือลงมาทางภาคกลางเเละภาคใต้ที่แห้งแล้ง โครงการเพื่อการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพหลายโครงการยังดำเนินอยู่ รวมทั้งการทำฝนเทียม การนำน้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์และการกลั่นน้ำจืดจากทะเล

ขณะที่ วัฒนธรรม ของ อิสราเอลมีวัฒนธรรมทั้งเก่า และใหม่ผสมผสานกัน กล่าวคือ วัฒนธรรมโบราณของยิวที่เก่าแก่กว่า 4,000 ปี และวัฒนธรรมใหม่ที่เกิดจากการหลั่งไหลของชาวยิวจากทั่วโลกที่กลับเข้าไปตั้งถิ่นฐานในอิสราเอลภายหลังการก่อตั้งรัฐอิสราเอลเมื่อวันที่ 14 พ.ค.2491 อิสราเอล มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญได้แก่ 

1.โดมแห่งศิลา หรือ โดมสีทอง (Dome of the Rock) ศาสนสถานสำคัญของศาสนาอิสลาม สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ.687 – 691 ตั้งอยู่กลางเมือง และถือว่าเป็นสิ่งก่อสร้างของอิสลามที่เก่าที่สุดในโลก

2.กำแพงร้องไห้ (Wailling Wall) เป็นกำแพงสูงตระหง่าน ทางทิศตะวันตกของเนินพระวิหาร ซึ่งเป็นที่ตั้งของโดมครอบหิน กำแพงร้องไห้นี้ เป็นสัญลักษณ์ของการที่คนอิสราเอลได้หวนคืนสู่แผ่นดินแห่งพันธสัญญา เป็นสถานที่ศักดิ์ของชาวยิว และยังเป็นที่นมัสการและอธิษฐานภาวนาสำหรับบุคคลทั่้วไป

3.ทะเลเดดซี (Dead Sea) ทะเลที่ไม่มีวันจม ทะเลสาบที่มีชื่อเสียงระดับโลก ทะเลเดดซีตั้งอยู่ตรงเขตแดนประเทศจอร์แดนและอิสราเอล กำเนิดมาจากแม่น้ำจอร์แดนเป็นสายหลักไหลมายังพื้นที่ของทะเลเดดซี

4.สวนบาไฮการ์เดน (Baha’i Garden) ที่เมืองไฮฟา ทางตอนเหนือของอิสราเอล เป็นสถานที่ที่สวยงามอย่างมาก โดยมีสวนระเบียงดอกไม้ที่ยื่นออกมา 19 ชั้น ลดหลั่นลงมาตามลาดเขาเป็นขั้นบันไดทั้งหมด 1,700 ขั้น ความยาวเกือบ 1.6 กม. 

5.ปราสาทมาซาด้า (Masada Fortress) มาซาด้า ป้อมปราการโบราณกลางทะเลทราย อายุกว่า 2,000 ปี ใช้เวลาก่อสร้างกว่า 7 ปี อยู่บนยอดเขาสูงประมาณ 120 ม. เหนือทะเลสาบเดดซี ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี ค.ศ.2001 

 

เรื่องน่ารู้อิสราเอล ประเทศมากภูมิหลัง ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ 3 ศาสนา

 อิสราเอล (Israel) ประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน หลายคนน่าจะยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับประเทศนี้เท่าไรนัก วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับประเทศนี้ให้มากขึ้นกัน ทั้งในเรื่องราวประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ตลอดจนวิถีชีวิตต่าง ๆ 

ที่ตั้งของประเทศอิสราเอล

          อิสราเอล เป็นประเทศในตะวันออกกลาง บนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีจำนวนประชากรประมาณ 9 ล้านคน ประกอบด้วยหลากหลายชาติพันธุ์ ทั้งชาวยิว ชาวอาหรับ รวมถึงชาวยิวที่อพยพมาจากยุโรป แอฟริกา เอเชีย และประเทศในตะวันออกกลางอื่น ๆ

เมืองหลวงของอิสราเอล

          หลายคนอาจมีความสงสัยว่าเมืองหลวงของอิสราเอลคือ กรุงเทลอาวีฟ (Tel Aviv) หรือ เยรูซาเลม (Jerusalem) กันแน่ ? แต่จากเว็บไซต์ กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ ระบุว่า กรุงเทลอาวีฟ เป็นเมืองหลวงของอิสราเอล แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากนานาชาติ ด้วยกรณีพิพาทในเรื่องของดินแดนและเชื้อชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง

ภาพจาก trabantos / Shutterstock.com

          ในขณะที่เยรูซาเลมเป็นเมืองที่มีความสำคัญและเก่าแก่ ตลอดจนมีประเด็นขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ ซึ่งต่างฝ่ายต่างบอกว่าเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของทั้ง 2 รัฐ โดยอ้างอิงถึงสถานที่สำคัญของศาสนายูดาห์และศาสนาอิสลาม ที่ตั้งอยู่ในเขตเยรูซาเลมทั้งคู่ และกลายเป็นปัญหาทางการเมืองที่ยังคงยืดเยื้อมาจนถึงปัจจุบัน

ก่อนที่จะมีอิสราเอล

          ก่อนที่เราจะรู้เรื่องราวการก่อกำเนิดของประเทศอิสราเอล เห็นทีต้องย้อนกลับไปรู้จักกับดินแดนปาเลสไตน์ ที่ถือกันว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับ 3 ศาสนา คือ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม โดยดินแดนนี้เป็นที่ตั้งของเมืองเยรูซาเลมอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งชาวคริสต์เชื่อว่าเป็นสถานที่ตรึงไม้กางเขนพระเยซู ชาวมุสลิมเชื่อว่ามัสยิดอัลอักศอในเมืองนี้ เป็นสถานที่ที่นบีมุฮัมมัดได้เดินทางสู่ฟากฟ้า และชาวยิวเชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งพันธสัญญาที่พระเจ้าประทานให้

          และด้วยความสำคัญของดินแดนแห่งนี้ที่เชื่อมโยงกับความเชื่อของแต่ละศาสนา จึงทำให้ต่างฝ่ายอยากที่จะครอบครองดินแดนนี้จนกลายเป็นความขัดแย้งมาอย่างยาวนาน ซึ่งในอดีตดินแดนแห่งนี้มีชาวยิวและชาวฮิบรูเคยอาศัยอยู่ก่อนแล้ว แต่มีเหตุให้ต้องย้ายออกไปยังดินแดนอื่น ๆ หากแต่สิ่งที่ยังอยู่ในใจของพวกเขานั่นคือ ความปรารถนาที่จะกลับมายังดินแดนศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้เหมือนเดิม 

กำเนิดอิสราเอล

          ย้อนกลับไปเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อครั้งจักรวรรดิออตโตมันพ่ายแพ้และยอมยกดินแดนปาเลสไตน์ให้กับอังกฤษ และได้อนุญาตให้ชาวยิวอพยพเข้ามาอยู่ได้ จึงทำให้ชาวปาเลสไตน์ในพื้นที่เกิดความไม่พอใจ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เริ่มมีชาวยิวจากยุโรปอพยพเข้ามา และปัญหาก็เริ่มเกิดขึ้น เมื่อชาวยิวคิดว่าดินแดนแห่งนี้เป็นสิ่งที่พวกเขาสมควรได้รับจากการที่พระเจ้าประทานให้ ในขณะที่ชาวปาเลสไตน์ก็คิดว่าทำไมถึงต้องยอมแบ่งดินแดน ความขัดแย้งจึงค่อย ๆ ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จนเมื่ออังกฤษได้ถอนกำลังออกจากพื้นที่ จึงทำให้ชาวยิวสถาปนา The state of Israel เป็นเหตุให้ชาวอาหรับที่อยู่รอบบริเวณเกิดความไม่พอใจ จนเกิดเป็นสงครามแย่งชิงพื้นที่ เกิดเป็นปัญหาซับซ้อนที่ยังคงยืดเยื้อมาจนถึงปัจจุบัน

ภูมิประเทศอิสราเอล

          พื้นที่ครึ่งหนึ่งของอิสราเอลเป็นภูเขา ที่เหลือทางตอนใต้เป็นที่ราบสูงและทะเลทราย จึงทำให้สภาพอากาศทั่วไปมีแดดจัดเกือบตลอดทั้งปี หากจะแตกต่างกันบ้างตามแต่ละภูมิภาค ได้แก่
 

  • ทางตอนเหนือ อากาศอบอุ่นและค่อนข้างเย็นในช่วงฤดูหนาว ส่วนแถบภูเขาและที่ราบสูงจะมีหิมะตก
     
  • ทางแถบชายฝั่งทะเลและตอนกลาง มีอากาศร้อนชื้นและเย็น
     
  • ทางภาคตะวันออกและตอนใต้ มีอากาศร้อนจัดในตอนกลางวัน และอากาศเย็นในช่วงกลางคืน

สถานที่ท่องเที่ยวอิสราเอล มีอะไรบ้าง ?

          อิสราเอล นอกจากจะเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยเรื่องราวประวัติศาสตร์เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลกแล้ว ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็น
 

  • เมืองเทลอาวีฟ (Tel Aviv)

    เมืองท่าที่มีความสำคัญของอิสราเอล ผู้คนตลอดจนอาคารบ้านเรือนที่นี่ดูโอ่อ่า ทันสมัย และสะอาดตา ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร บาร์ และห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ตลอดจนผู้คนที่นี่ค่อนข้างมีความหลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวยิวที่ย้ายกลับมาจากที่ต่าง ๆ ยิ่งเพิ่มเสน่ห์ให้กับเมืองเทลอาวีฟ ในแง่ของการผสมผสานวัฒนธรรมอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เรียกได้ว่าเป็นเมืองที่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก

  • เมืองเยรูซาเลม (Jerusalem)

    เมืองสำคัญของอิสราเอล เต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ในฐานะดินแดนศักดิ์สิทธิ์อันเป็นต้นกำเนิดของทุกอย่าง เหตุการณ์สำคัญในพระคัมภีร์ถูกจารึกไว้ว่าเกิดขึ้นที่นี่ อีกทั้งชาวมุสลิมเชื่อว่าเป็นเมืองที่นบีมุฮัมมัดถูกรับขึ้นไปบนสวรรค์ และชาวยิวก็ถือเอาส่วน Western Wall เป็นแหล่งศักดิ์สิทธิ์ของตัวเองเช่นกัน นั่นจึงทำให้เมืองเยรูซาเลมมีความสำคัญยิ่งสำหรับทุกคนในอิสราเอล

          ภายในเมืองเยรูซาเลมยังมีศาสนสถานต่าง ๆ เช่น Dome of the Rock มัสยิดอัลอักศอ, Wailing Wall กำแพงร้องไห้ และ Church of the Holy Sepulchre โบสถ์พระคูหาศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานทางศาสนา ทั้งคริสต์ อิสลาม และยูดาห์ อันอบอวลไปด้วยวัฒนธรรมทางศาสนาที่แตกต่างกันมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ภาพจาก photo.ua / Shutterstock.com

  • ทะเลสาบเดดซี (Dead sea)

    จุดเด่นทางภูมิศาสตร์ของอิสราเอลที่มีทั้งทะเลทราย ภูเขา ทะเลสาบ และชายหาด จึงทำให้มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่น่าสนใจ หนึ่งในนั้นต้องมี “ทะเลสาบเดดซี” ทะเลสาบที่มีความเข้มข้นของเกลือสูงมาก จนมีชื่อเสียงเป็นที่ร่ำลือว่าสามารถลอยตัวอยู่ได้โดยไม่มีวันจม ไม่ว่าจะน้ำหนักน้อยหรือมากขนาดไหน นั่นเป็นเพราะน้ำในทะเลสาบมีความหนาแน่นมากกว่าร่างกายของเรานั่นเอง

  • ทะเลสาบกาลิลี (Sea of Galilee)

    ทะเลสาบที่เต็มไปด้วยเรื่องเล่ามากมายเกี่ยวกับพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ในพระคัมภีร์ เช่น การเดินบนน้ำ การฝ่าพายุในทะเลสาบกาลิลี และคำสอนต่าง ๆ หลายคนที่มีโอกาสมาเยือนทะเลสาบกาลิลี มักจะอดใจไม่ได้ที่จะชื่นชมกับวิวโดยรอบ ทั้งยังสะดวกสบาย เพราะมีทั้งโรงแรมและบ้านพักให้บริการมากมาย จึงเหมาะเป็นที่เที่ยวพักผ่อนสำหรับทุกคนโดยแท้

  • ป้อมปราสาทมาซาดา (Masada Fortress)

    ป้อมปราการที่อยู่กลางทะเลทรายยูเดีย เปรียบดั่งเป็นสัญลักษณ์ยิ่งใหญ่ของชาวยิว ในฐานะที่มั่นสุดท้ายที่ชาวยิวใช้เป็นที่ต่อต้านการรุกรานของโรมัน สร้างขึ้นโดยพระเจ้าเฮโรดมหาราช กษัตริย์โรมันแห่งยูเดีย มีลักษณะเป็นภูเขาสลับซับซ้อน บวกกับภูมิทัศน์รอบด้านที่ดูแปลกตา มองออกไปเบื้องหน้าไกล ๆ จะเห็นทะเลสาบเดดซี รวมถึงยังเป็นจุดสำหรับชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งของอิสราเอลเลยทีเดียว

  • สวนบาไฮ (Baha’i Shrine and Gardens)

    สวนที่สร้างขึ้นโดยผู้นับถือศาสนาบาไฮ ตั้งอยู่บนเทือกเขา Camel มีลักษณะเป็นสวนสวยจัดลดหลั่นลงมาเป็นขั้นบันได โดยได้รับการตกแต่งอย่างสวยงาม มองไปเบื้องล่างจะเห็นเมืองไฮฟาและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่ทั้งสวยและอากาศดี เป็นความงดงามที่สมบูรณ์แบบสุด ๆ ขณะเดียวกันก็เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเป็นรอบ ๆ โดยจะมีไกด์พาชม


ข้อมูล

https://www.planetworldwide.com/blog/WailingWall-1927.html  

https://www.yingpook.com/blogs/world/bestofisrael 

https://th.tripadvisor.com/Attractions-g293977-Activities-Israel.html

https://telaviv.thaiembassy.org/

สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย 

https://www.thaipbs.or.th/news/content/332616

https://th.wikipedia.org/wiki/  ,  kapook.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น