Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Father's Day in UK

Father's Day in UK


Father's Day is held on the third Sunday of June in the United Kingdom. It is a day to honor fathers and father figures, such as grandfathers and fathers-in-law. Many people make a special effort to visit their fathers or to send them a card or gifts.

เจ้าชายจอร์จแห่งอังกฤษเสด็จสวนสัตว์ออสเตรเลีย-3.jpg

What do people do?

On Father's Day, many people make a special effort to visit their father. They often take or send cards and gifts. Common Father's Day gifts are ties, socks, underwear, sweaters, slippers and other items of clothing. Other people give tools for household maintenance or garden work, luxury food items or drinks.
Many Father's Day gifts have slogans such as "The World's Best Dad", "For My Father" or just a simple "Dad" on them. The increase in print-on-demand services offered by photo processing companies has made personalized gifts even more popular for Father's Day. Photographs of children can be printed on desk calendars, mugs, T-shirts, mouse mats, bags and even ties. Many fathers are expected to take these to the office to remind them of their families while they are working.
In the days and weeks before Father's Day, many schools, Sunday schools and children's organizations help their pupils to prepare a handmade card or gift for their father. Mothers and other family members may help children to make personalized gifts, such as calendars with drawings made by the children.
Some families celebrate Father's Day by planning an outing or weekend trip, perhaps just for the male members of the family. This may be a simple walk in the countryside or a whole planned "experience". Popular Father's Day experiences include driving a fire engine, rally car, tank or even airplane or taking a golf, football or cricket lesson with a celebrity coach. Other families organize a special meal at home or in a pub or restaurant. A common Father's Day meal is a traditional roast dinner with meat, stuffing, potatoes and vegetables, which can be eaten in a pub and accompanied by pints of ale or lager.

Public life

Father's Day is not a bank holiday. In terms of public life, it is a normal Sunday. Public transport systems run to their normal timetables. Pubs and restaurants may be busy, as people take their fathers out for a meal to celebrate.

Background

There are some suggestions that the idea of Father's Day may originate in pagan sun worship. Some branches of paganism see the sun as the father of the universe. Since the summer solstice occurs around the same time of year as Father's Day, some people see a link between the two.
The idea of a special day to honor fathers and celebrate fatherhood was introduced from the United States. There, a woman called Sonora Smart Dodd was inspired by the American Mother's Day celebrations to plan a day to honor fathers. Father's Day has been celebrated in June since 1910 in the USA. The celebrations in the United Kingdom are thought to have been inspired by the American custom of Father's Day. This is in contrast to Mother's Day, which has a very different history in the United States and the United Kingdom.

About Father's Day in other countries

Read more about Father's Day.

Father's Day Observances

WeekdayDateYearNameHoliday typeWhere it is observed
SunJun 171990Father's DayObservance 
SunJun 161991Father's DayObservance 
SunJun 211992Father's DayObservance 
SunJun 201993Father's DayObservance 
SunJun 191994Father's DayObservance 
SunJun 181995Father's DayObservance 
SunJun 161996Father's DayObservance 
SunJun 151997Father's DayObservance 
SunJun 211998Father's DayObservance 
SunJun 201999Father's DayObservance 
SunJun 182000Father's DayObservance 
SunJun 172001Father's DayObservance 
SunJun 162002Father's DayObservance 
SunJun 152003Father's DayObservance 
SunJun 202004Father's DayObservance 
SunJun 192005Father's DayObservance 
SunJun 182006Father's DayObservance 
SunJun 172007Father's DayObservance 
SunJun 152008Father's DayObservance 
SunJun 212009Father's DayObservance 
SunJun 202010Father's DayObservance 
SunJun 192011Father's DayObservance 
SunJun 172012Father's DayObservance 
SunJun 162013Father's DayObservance 
SunJun 152014Father's DayObservance 
SunJun 212015Father's DayObservance 
SunJun 192016Father's DayObservance 
SunJun 182017Father's DayObservance 
SunJun 172018Father's DayObservance 
SunJun 162019Father's DayObservance 
SunJun 212020Father's DayObservance 







ที่มา   ::   http://www.timeanddate.com/holidays/uk/father-day





วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2557

ข้อควรพิจารณาในการประกันอัญมณีสำหรับแหวนแต่งงาน

ข้อควรพิจารณาในการประกันอัญมณีสำหรับแหวนแต่งงาน




แหวนแต่งงาน




         
การซื้อแหวนแต่งงานก็ถือเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง แต่อาจจะแตกต่างออกไปตรงที่มีการซื้อมาแต่ไม่ได้ขายไปเท่านั้นเอง และถึงแม้จะเป็นเช่นนั้นคุณก็ควรจะศึกษาและเลือกซื้อด้วยการพิจารณาอย่างถี่ถ้วยอยู่ดี โดยเฉพาะในส่วนของการรับประกันอัญมณีบนเรือนแหวน เพราะอย่างน้อย ๆ ก็เบาใจได้ว่า หากเกิดอะไรขึ้นกับมันคุณก็ไม่เสียเงินเปล่าอย่างแน่นอน และเพื่อให้ได้การรับประกันอัญมณีที่มีคุณภาพและเชื่อถือได้ ดังนั้น ในวันนี้เราก็เลยขอนำวิธีพิจารณาการรับประกันอัญมณีมาฝากกัน

   
1. รับรองโดยสถาบันที่เชื่อถือได้

          ควรตรวจสอบสถานที่รับประกันอัญมณีให้แน่ใจเสียก่อนว่า อัญมณีเหล่านั้นรับรองโดยสถานบันรับรองอัญมณีที่มีชื่อเสียงและสามารถเชื่อถือได้ อย่างเช่น สถาบันอัญมณีศาสตร์แห่งอเมริกา (GIA)  สถาบันอัญมณีศาสตร์สากล (IGI) หรือห้องปฏิบัติการด้านอัญมณีศาสตร์แห่งยุโรป (EGL) เป็นต้น เพราะถ้าหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นกับอัญมณีบนแหวนแต่งงานของคุณ พวกเขาก็จะสามารถให้ความช่วยเหลือ ในการหาอัญมณีมาทดแทนหรือซ่อมแซมได้

   
2. ศึกษาเงื่อนไขการรับประกันให้ละเอียด
          การรับประกันอัญมณีของแต่ละสถานที่นั้นมีเงื่อนไขแตกต่างกันออกไป ดังนั้น จะดีกว่าหากคุณมีการศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขเหล่านั้นมาล่วงหน้า ว่าตรงกับความต้องการของคุณหรือไม่ เนื่องจากบางแห่งรับประกันเฉพาะความเสียหายที่เกิดจากการผลิตเท่านั้น แต่ไม่ได้รับประกันในกรณีถูกโจรกรรมหรือสูญหาย ซึ่งในปัจจุบันก็มีไม่น้อยที่มีการรับประกันอัญมณีครอบคลุมถึงส่วนนี้ อย่างน้อย ๆ ก็ 1-2 เปอร์เซ็นต์ของราคาซื้อ

   
3. ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายโดยตรง

          นอกจากนี้ ควรตรวจสอบให้แน่ใจด้วยว่า ในกรณีที่เกิดความเสียหายกับอัญมณี ผู้ขายอัญมณีจะเป็นผู้รับผิดชอบในการหาอัญมณีทดแทน ซ่อมแซม หรือรับผิดชอบความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับอัญมณีโดยตรงไม่ใช่ผู้ที่รับประกัน เพราะมีบางกรณีที่ผู้รับประกันเป็นคนรับผิดชอบในส่วนดังกล่าว และเกิดความขัดแย้งกันขึ้นเนื่องจากผู้ซื้อประกันไม่ได้ศึกษารายละเอียดให้ถี่ถ้วนเสียก่อน


         
นอกเหนือจาก 3 ข้อนี้แล้วก็มีอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ แม้ว่าการรับประกันอัญมณีจะเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ที่คู่บ่าวสาวจำเป็นต้องศึกษาและคำนึงถึงเรื่องนี้เป็นหลัก แต่ก็ไม่ควรกังวลมากเกินไปจนทำการเลือกแหวนแต่งงานกลายเป็นเรื่องเครียด หรือกลายเป็นเรื่องทำให้พวกคุณต้องทะเลาะกัน ซึ่งอาจจะดีกว่าหากพวกคุณเลือกแหวนแต่งงานด้วยความสนุกสนาน และให้เรื่องการรับประกันเป็นเรื่องรองลงมา





ที่มา   ::         โดยกระปุกดอทคอม




วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557

การพูดในโอกาสต่างๆ

การพูดในโอกาสต่างๆ

                                       

           การพูดในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น นอกจากจะสื่อความรู้ความเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ แล้ว ยังต้องสื่ออารมณ์ ความรู้สึกถ่ายทอดไปสู่กันและกันด้วย ฉะนั้นการพูดจากันนอกจากจะพูดคุยกันตามปกติแล้วยังมีการพูดในโอกาสพิเศษ เช่น การพูดในงามมงคล งานศพ การเข้าสมาคมในโอกาสต่าง ๆ จึงจำเป็นสำหรับทุกคนที่ต้องฝึกฝนการใช้คำพูดให้ถูกต้องไพเราะเหมาะสม เหมาะกับเหตุการณ์ การพูดในโอกาสต่าง ๆ ที่ควรทราบ เช่น การพูดแนะนำ  การพูดแสดงความยินดี  การพูดแสดงความเสียใจ การกล่าวขอบคุณ การกล่าวต้อนรับ การพูดอวยพร การพูดสนทนาทางโทรศัพท์ การพูดเล่าเรื่องหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ


      ๑. การพูดแสดงความยินดี

      ในบางโอกาสผู้ที่เราพบปะหรือคุ้นเคยอาจจะประสบโชคดี มีความสมหวังหรือ มีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตและการงานเราควรจะต้องพูดแสดงความยินดีเพื่อร่วมชื่นชมในความสำเร็จนั้น
            ๑.๑ วิธีการ
                  ๑) ใช้คำพูดให้ถูกต้องเหมาะสม
                  ๒) ใช้น้ำเสียง ท่าทาง สุภาพ นุ่มนวล ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส
                  ๓) พูดช้า ๆ ชัดถ้อยชัดคำ พูดสั้น ๆ ให้ได้ใจความและประทับใจ
            ๑.๒ ตัวอย่าง
      “ขอแสดงความยินดีกับคุณที่ได้รับความไว้วางใจจากชาวบ้านในหมู่บ้านของเรา เลือกคุณด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นมาก ขอให้คุณเป็นผู้นำของพวกเรานาน ๆ สร้างความ เจริญแก่ชุมชนของพวกเราตลอดไปนะครับ ผมดีใจด้วยและขอสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง ความสามารถเลยครับ”


      ๒. การพูดแสดงความเสียใจ

      ในบางโอกาสญาติพี่น้องหรือคนที่เรารู้จักประสบเคราะห์กรรมผิดหวัง เจ็บป่วย หรือเสียชีวิต เป็นมารยาทที่ดีที่เราควรพูดปลอบใจให้กำลังใจแก่ผู้ประสบเคราะห์กรรมเหล่านั้น หรือพูดปลอบใจแก่ญาติพี่น้องของผู้เคราะห์ร้ายนั้น เพื่อให้เขาเกิดกำลังใจต่อไป
            ๒.๑ วิธีการ
                  ๑. พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้เป็นเรื่องปกติ
                  ๒. แสดงความรู้สึกห่วงใยร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วย
                  ๓. พูดด้วยน้ำเสียงแสดงความเศร้าสลดใจ
                  ๔. พูดด้วยวาจาที่สุภาพ
                  ๕. ให้กำลังใจและยินดีที่จะช่วย
            ๒.๒ ตัวอย่าง
     "ดิฉันขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งที่ทราบว่าคุณพ่อของคุณถึงแก่กรรมอย่างปัจจุบันทันด่วนอย่างนี้ ท่านไม่น่าจากเราไปรวดเร็วเลยนะ ดิฉันเห็นใจคุณจริง ๆ ขอให้คุณทำใจดี ๆ ไว้ความตายเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนเลย จะให้ดิฉันช่วยอะไรก็บอกมาเลยไม่ต้องเกรงใจ ดิฉันยินดีช่วยด้วยความเต็มใจจริง ๆ นะคะ”


      ๓. การพูดแนะนำ

     การพบปะบุคคลซึ่งเคยรู้จักกันมาก่อนและบุคคลอื่น ซึ่งไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ก่อนที่จะรู้จักกัน ย่อมจะต้องมีการแนะนำให้รู้จักกัน เพื่อคุยเรื่องอื่น ๆ ต่อไป การแนะนำให้รู้จัก กันมีทั้งการแนะนำ ตนเองและแนะนำผู้อื่น
            ๓.๑ การแนะนำตนเอง คือ การกล่าวถึงตนเองให้ผู้อื่นรู้จัก โอกาสในการแนะนำตนเองมีต่าง ๆ ดังนั้น
                  ๑) ในการติดต่อกัน
                  ๒) ในการประชุม ชุมนุมพิเศษหรืองานเลี้ยงต่าง ๆ 
                  ๓) ในฐานะเป็นสมาชิกใหม่ของชุมชนหรือสถาบัน
                  ๔) ในการเข้าสอบสัมภาษณ์
                  ๕) ในการไปติดต่อขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
                  วิธีการพูดแนะนำตนเอง
                  ๑) การกล่าวถึงเรื่องต่อไปนี้
                        ๑. คำนำคือ กล่าวทักทายผู้ฟังและอารัมภบท เช่น
                              “ท่านประธานและท่านสุภาพชนทุกท่าน”
                              ท่านประธาน พิธีกรและเพื่อนสมาชิก”
                        ๒. ชื่อและนามสกุล
                        ๓. ถิ่นกำเนิด
                        ๔. การศึกษา
                        ๕. ความรู้ความสามารถพิเศษ
                        ๖. ตำแหน่งหน้าที่การงาน
                        ๗. งานอดิเรก (ถ้ามี)
                        ๘. หลักหรือแผนการในการดำเนินชีวิต
                        ๙. ที่อยู่ปัจจุบัน
                        การกล่าวถึงจะมากน้อย หรือจะตัดเรื่องใดออกหรือพลิกแพลง อย่างไรขึ้นอยู่กับสถานที่บุคคลและโอกาสต่าง ๆ ดังกล่าว
                        ๒) แทรกเรื่องราวของชีวิตที่เด่นที่สุด ประทับใจที่สุด หรือเรื่องที่ทำให้เรื่องราวมีรสชาติ น่าสนใจ และเป็นที่ประทับใจผู้ฟัง
                        ๓) เรียบเรียงเรื่องราวให้สัมพันธ์กันโดยไม่สับสน การลำดับเรื่องราวเป็นเทคนิคเฉพาะตน
                        ๔) ข้อความที่กล่าวจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของสถานที่บุคคลและโอกาสด้วย

ตัวอย่างการแนะนำตนเองในที่ชุมนุมชน
ท่านประธาน และสมาชิกชมรมพัฒนาชีวิตทุกท่าน
      ดิฉันขอขอบคุณพิธีกรมากค่ะ ที่ให้โอกาสดิฉันได้แนะนำตัวเอง ดิฉันนางสาวสมปอง สมใจนึก เกิดไกลหน่อยคืออำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูนค่ะ มาอยู่กรุงเทพฯ นี่ ๔ ปีแล้ว โดยดิฉัน ทำงานเป็นพนักงานขาย ที่ร้านดีแอนด์ทีสปอร์ต  ดิฉันเรียนจบชั้นมัธยมปีที่สามที่โรงเรียนใกล้บ้าน นั่นเองค่ะ ความที่เป็นคนช่างพูด หลังจากจบแล้วเพื่อนชวนมาทำงานที่ถูกกับนิสัยก็เลยมา และเนื่องจากดิฉันไม่มีโอกาสได้เรียนต่อ จึงเห็นว่าการศึกษาทางไกลนี้จะช่วยให้ดิฉันพัฒนาชีวิตได้ดียิ่งขึ้นแทนการศึกษาในโรงเรียน จึงสมัครเป็นสมาชิก และต่อไปจะตั้งใจเรียน และร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ทุกกิจกรรมค่ะ ปัจจุบันดิฉันพักอยู่ที่ร้านที่ดิฉันทำงานนั่นแหละค่ะถ้ามีเรื่องใดจะให้ทำติดต่อได้ที่ร้านนั่นเลยสำหรับที่อยู่ของร้าน มีอยู่ในทะเบียนบัญชีรายชื่อ นักศึกษาแล้วค่ะ สวัสดีค่ะ

      ๓.๒ การแนะนำผู้อื่น คือ การแนะนำบุคคลที่ ๓ ให้บุคคลที่ ๒ รู้จักในโอกาสต่าง เช่นเดียวกับการแนะนำตนเอง

          วีการแนะนำผู้อื่น
            ใช้หลักการอย่างเดียวกับการแนะนำตนเองและคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้เพิ่มเติมคือ
            ๑) แนะนำสั้น ๆ 
            ๒) แนะนำเฉพาะเรื่องที่เป็นปมเด่น เรื่องที่เป็นปมด้อยหรือเรื่องที่ไม่เหมาะสมไม่ควรกล่าวถึง เรื่องที่แนะนำควรได้รับอนุญาตจากผู้ถูกแนะนำก่อน
            ๓) การแนะนำระหว่างสุภาพบุรุษกับสุภาพสตรี ต้องแนะนำให้สุภาพบุรุษรู้จักสุภาพสตรี โดยกล่าวนามสุภาพสตรี เช่น “คุณสุดาครับ นี่คุณพนัส รักความดี สมุห์บัญชีธนาคารออมสินสาขานนทบุรี คุณพนัส นี่คุณสุดา มณีแก้วครับ สมุห์บัญชีธนาคารกรุงไทย สาขานนทบุรีในการแนะนำ ถ้าสุภาพบุรุษนั่งอยู่ควรยืนขึ้น แต่สุภาพสตรีถ้านั่งอยู่และได้รับการแนะนำไม่ต้องยืน ถ้าเป็นการแนะนำหลายคนจะนั่งลงเมื่อแนะนำครบทุกคนแล้ว
            ๔) แนะนำผู้อ่อนอาวุโสให้รู้จักผู้อาวุโส โดยเอ่ยนามผู้อาวุโสก่อน เช่น “คุณแม่คะ นี่น้องเพื่อนของลูก” “ผู้จัดการคะ นี่คุณสมพงษ์ ใจซื่อ ประชาสัมพันธ์โรงแรมลานทองค่ะ คุณสมพงษ์คะ นี่คุณสวัสดิ์ เรืองรอง ผู้จัดการบริษัทสมบูรณ์ที่คุณต้องการพบค่ะ”ในเรื่องอาวุโสถือตามวัยวุฒิ บางโอกาสถือตามตำแหน่งหน้าที่การงานผู้แนะนำต้องคำนึงตามโอกาสให้เหมาะด้วย
            ๕) การแนะนำบุคคลต่อที่ประชุมหรือชุมชนต่าง ๆ เอ่ยถึงกลุ่มชนก่อน เช่น 

         “ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย ผู้พูดช่วงเวลาต่อไปนี้คือ คุณสมศักดิ์ รัตนพิศาล  ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนบ้านนาดี ท่านจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ทางด้านการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และจบปริญญาโททางด้านบริหารการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน ประสบการณ์ของท่านเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งวิทยาลัยนานาและทำหน้าที่บริหารงานมา ๕ ปีแล้วผลิตบัณฑิตจนถึง ๔ รุ่น วันนี้ท่านสละเวลาให้เกียรติมาบรรยายเรื่อง “การศึกษากับการพัฒนาชนบท” เชิญท่านรับฟังแนวคิดของวิทยากรได้แล้วครับ

            ๖) การแนะนำบุคคลรุ่นเดียวกัน เพศเดียวกัน จะแนะนำใครก่อนหลังก็ได้ข้อปฏิบัติสำหรับการแนะนำเมื่อผ่านการแนะนำแล้ว ผู้อ่อนอาวุโสยกมือไหว้ผู้อาวุโส และผู้อาวุโสกว่ารับไหว้ ถ้าอาวุโสเท่าเทียมกันก็ยกมือไหว้พร้อมกัน แต่ปัจจุบันมักก้มศีรษะให้แก่กันพอเป็นพิธีก็ได้ การแนะนำในที่ประชุมเมื่อผู้รับการแนะนำต่อที่ประชุมถูกเอ่ยชื่อ ควรยืนขึ้นคารวะต่อ ที่ประชุมและที่ประชุมปรบมือต้อนรับ


      ๔. การกล่าวขอบคุณ

           การกล่าวขอบคุณอาจใช้ได้หลายโอกาส เช่น การกล่าวขอบคุณเมื่อผู้พูดหรือวิทยากรพูดจบ กล่าวขอบคุณเมื่อมีผู้กล่าวต้อนรับ กล่าวขอบคุณผู้มาร่วมงานหรือในกิจกรรมกล่าวขอบคุณเมื่อมีผู้มอบของขวัญหรือของที่ระลึก ขอบคุณแต่ละโอกาสดังต่อไปนี้
            ๔.๑ การกล่าวขอบคุณผู้พูด เมื่อผู้พูดพูดจบลงผู้กล่าวขอบคุณหรือผู้ที่ทำหน้าที่พูดแนะนำควรจะกล่าวสรุปเน้นถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการพูดครั้งนี้อย่างสั้น ๆ แล้วจึงกล่าวขอบคุณ
            ๔.๒ การกล่าวขอบคุณเมื่อมีผู้กล่าวต้อนรับหรือการกล่าวตอบรับ เมื่อผู้กล่าวต้อนรับ พูดจบแล้ว ผู้กล่าวตอบรับควรจะกล่าวตอบในลักษณะที่แสดงความรู้สึกที่มีต่อการต้อนรับ และเนื้อหา ในการกล่าวตอบรับจะต้อง สอดคล้องกับการกล่าวต้อนรับ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการแสดงความสัมพันธ์ อันดีของทั้งสองฝ่ายที่มีต่อกัน ผู้กล่าวขอบคุณควรจะเน้นจุดสำคัญ และกล่าวเชื้อเชิญให้ผู้ต้อนรับ ไปเยือนสถานที่ของตนบ้าง
            ๔.๓ การกล่าวขอบคุณผู้มาร่วมในงานหรือในกิจกรรม ในการกล่าวขอบคุณผู้มาร่วมในงาน หรือในกิจกรรมนั้นควรแสดงไมตรีจิตต่อแขกที่มาร่วมในงานแสดงความขอบคุณอย่างจริงใจ และกล่าวขออภัยในความบกพร่อง ของกิจกรรมที่จัดขึ้น
            ๔.๔ การกล่าวขอบคุณหรือตอบรับเมื่อมีผู้มอบของขวัญหรือของที่ระลึก ผู้กล่าวตอบรับควรจะได้แสดงความชื่นชมในสิ่งของที่ได้รับมอบและกล่าวถึงความรู้สึกหลังจากได้รับ มอบสิ่งของนั้นแล้ว


          วิธีการกล่าวขอบคุณ 

            ๑) การขอบคุณ การพูดหรือขอบคุณ ใช้ในโอกาสที่มีผู้อื่นได้ช่วยเหลือหรือมีบุญคุณ แก่เราถือว่าเป็นมารยาทที่จะต้องแสดงความยินดีและกล่าวขอบคุณในน้ำใจของเขา คือ เป็นการแสดงออกถึงการรู้คุณผู้อื่น เป็นวัฒนธรรมที่ดีงามที่ควรรักษาไว้อย่างยิ่ง
            ๑. คำว่า ขอบใจ นิยมใช้พูดเพื่อแสดงความขอบใจแก่คนที่มีอายุน้อยกว่าเรา เช่น พี่ขอขอบใจน้องมากที่ช่วยยกกระเป๋าให้
            ๒. คำว่า ขอบคุณ นิยมใช้พูดเพื่อแสดงความขอบคุณสำหรับผู้ที่เสมอกันหรือผู้ที่มีอาวุโสกว่าผู้พูด เช่น
ผมขอขอบคุณคุณวิไลพรมากที่มาส่งผมที่สถานีรถไฟวันนี้
            ๓. หากต้องการยกย่องเทิดทูนผู้ที่ตนเคารพนับถือมาก ที่ท่านกรุณาช่วยเหลือเรา หรือให้สิ่งใดแก่เราก็ควรกล่าวว่า ขอบพระคุณ เช่น ลูกขอกราบขอบพระคุณคุณพ่อคุณแม่มากที่ซื้อของมาฝาก
            ๔. ควรพูดด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล ชวนฟัง สุภาพ ไม่รีบร้อนจนเกินไป
            ๕. ควรแสดงท่าทางที่เป็นมิตร นอบน้อม มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส
            ๖. ควรพูดให้ผู้ฟังรู้สึกว่า เราซาบซึ้งในพระคุณและจะพยายามหาโอกาสที่จะตอบแทนในโอกาสต่อไป
            ๗. หากเป็นการกล่าวขอบคุณในนามตัวแทน หมู่คณะ ควรพูดให้ชัดเจนว่า กล่าวขอบคุณในนามของหมู่คณะใด เนื่องในโอกาสอะไร ขอบคุณใคร พูดให้สั้น กะทัดรัด 
ได้ความดี
            ๘. โดยทั่วไปแล้ว ถ้าเป็นการขอบคุณผู้ที่เคารพนับถือ หรือผู้มีอาวุโสมากกว่าเราการกล่าวขอบคุณมักจะกล่าวพร้อม ๆ กับยกมือไหว้ด้วยเสมอ



ตัวอย่างการกล่าวขอบคุณ

      ๑) การกล่าวขอบคุณผู้มีอาวุโสกว่า
             ดิฉันรู้สึกซาบซึ้งในความกรุณาของท่านกำนันเป็นอย่างยิ่งที่ได้มอบโต๊ะเก้าอี้ จำนวน ๑๐ ชุด      แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนนี้ นับเป็นบุญกุศลอันดียิ่งที่เด็ก ๆ   จะได้มีโต๊ะ      เก้าอี้พอเพียงแก่การศึกษาเล่าเรียน ดิฉันและเด็ก ๆ  มีความยินดีในเมตตาจิตของ      ท่านกำนันเป็นอย่างมาก จึงขอกราบขอบพระคุณในความกรุณาของท่านกำนัน ไว้ ณ ที่นี้
          ขอกราบขอบพระคุณค่ะ (พูดจบพร้อมกับยกมือไหว้)
      ๒) การกล่าวขอบคุณในนามหมู่คณะบุคคล
          ผมในนามผู้นำชาวบ้านป่าตาล ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงต่อท่านนายอำเภอ        ตลอดจนเจ้าหน้าที่จากอำเภอทุกท่านที่ได้มาบริการความสะดวกสบายแก่ประชาชนในบ้านป่าตาลโดยการนำอำเภอเคลื่อนที่มาบริการวันนี้หากมีสิ่งใดขาดตกบกพร่องในการต้อนรับขับสู้ผมและชาวบ้านก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ผมและชาวบ้านทุกคนรู้สึก      ซาบซึ้งและยินดีในความกรุณาของท่านนายอำเภอและเจ้าหน้าที่ทุกท่านผมในนามชาวบ้านป่าตาลไม่มีสิ่งใดจะตอบแทนนอกจากจะขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้ (ยกมือไหว้)


      ๕. การกล่าวอวยพร

            การพูดอวยพร มักใช้ควบคู่ไปกับการแสดงความยินดีหรือแสดงความปรารถนาดี เพราะก่อนจะอวยพรมักต้องแสดงความยินดีมาก่อน หรือถ้าเป็นการกล่าวแสดงความยินดีโดยแท้จริงก็มักลงท้ายด้วยการอวยพร
            การอวยพรมีหลายโอกาส เช่น ในงานมงคลสมรส งานวันเกิด งานวันปีใหม่ขึ้นบ้านใหม่ ตลอดจนการอวยพรของผู้หลักผู้ใหญ่ ซึ่งมักเรียกว่า อำนวยพร (อำนวยอวยพร อวยชัยให้พร ให้ศีลให้พร) แก่ลูกหลาน ลูกศิษย์ ผู้ใต้บังคับบัญชา ฯลฯ ข้อปฏิบัติโดยทั่วไปในการพูดอวยพรมีดังนี้
            ๑) พูดด้วยท่าทีร่าเริงเป็นการแสดงความยินดีไปในตัว
            ๒) เริ่มต้นด้วยเสียงค่อนข้างดังเล็กน้อย เป็นการเรียกความสนใจเพราะงานชนิดนี้ มักมีเสียงรบกวนมาก ข้อความตอนต้นควรเป็นใจความง่าย ๆ สั้น ๆ
            ๓) ควรดำเนินเรื่องให้เป็นไปตามความเหมาะสม เช่น ถ้าเป็นงานวันเกิด ควรกล่าวถึงความสำคัญในวันเกิด แล้วจึงพูดถึงคุณงามความดี และเกียรติคุณของเจ้าภาพตามสมควร ถ้าเป็นการแต่งงาน ควรเริ่มด้วยการบอกกล่าว ถึงความสัมพันธ์ของท่านกับคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย ถ้าผู้พูดรู้จักทั้งคู่ ถ้ามีประสบการณ์มากพอควรให้ข้อคิดในชีวิตการสมรส แล้วกล่าวแสดงความยินดีที่ทั้งสองฝ่ายได้สมรสกัน อันจะเป็นการก่อสร้างรากฐาน เป็นครอบครัวที่ดีต่อไป
            ๔) ลงท้ายด้วยการกล่าวคำอวยพร ขอให้มีความสุขความเจริญก้าวหน้าสืบต่อไปการพูดอวยพรถือเป็นการพูดในงานมงคล ไม่ควรจะให้มีถ้อยคำซึ่งไม่น่าปรารถนา (ไม่เป็นมงคล) ในคำกล่าว เช่น ในงานวันเกิด ไม่ควรมีคำว่า “ตาย” “แก่” “เจ็บป่วย” ฯลฯ ในงานสมรสไม่ควรมีคำว่า “แต่งงานใหม่” ฯลฯ อยู่ด้วยจะดีมาก ไม่ควรพูดยืดยาว ซ้ำซาก ควรทักทายที่ประชุมให้ถูกต้องตามลำดับ คำขึ้นต้นควรให้เร้าความสนใจตอนจบใช้ถ้อยคำ ให้ประทับใจ ในเรื่องจะกล่าวถึง การกล่าวอวยพรเฉพาะงานมงคลที่ใช้กันอยู่เสมอ คือ
      ๕.๑ การกล่าวอวยพรในงานมงคลสมรส การกล่าวในพิธีมงคลสมรส จะใช้เวลาไม่เกิน ๑๐ นาที โดยปกติจะใช้เวลา ๕ – ๗ นาที นิยมพูดปากเปล่า ซึ่งมีหลักการกล่าวที่ควรยึดเป็นแนวปฏิบัติ ดังนี้
            ๑) กล่าวคำปฏิสันถาร
            ๒) กล่าวถึงความรู้สึกว่าเป็นเกียรติที่ได้ขึ้นมาอวยพร
            ๓) ความสัมพันธ์ของผู้พูดกับคู่บ่าวสาว
            ๔) ให้คำแนะนำในการดำเนินชีวิตและการครองรัก
            ๕) อวยพรและเชิญชวนให้ดื่มอวยพร
      ๕.๒ การกล่าวอวยพรในวันขึ้นปีใหม่ การกล่าวคำอวยพรในวันขึ้นปีใหม่มักจะพูดปากเปล่า โดยมีหลักที่ควรยึดเป็นแนวปฏิบัติในการกล่าวดังนี้
            ๑) กล่าวคำปฏิสันถาร
            ๒) กล่าวถึงชีวิตในปีเก่าที่ผ่านมา
            ๓) กล่าวถึงการเริ่มต้นชีวิตใหม่ในปีใหม่
            ๔) อวยพร
      ๕.๓ การกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด การกล่าวในพิธีดังกล่าวนิยมพูดปากเปล่า มีหลักการที่ควรยึดเป็นแนวการปฏิบัติในการกล่าวดังนี้
            ๑) คำปฏิสันถาร
            ๒) กล่าวรู้สึกเป็นเกียรติที่มีโอกาสกล่าวคำอวยพร
            ๓) การสร้างคุณงามความดี หรือพูดถึงความสัมพันธ์ที่ผู้พูดมีต่อท่านผู้นั้น
            ๔) การเป็นที่พึ่งของบุตรหลาน
            ๕) อวยพรให้มีความสุข
      วิธีการกล่าวอวยพร มีข้อปฏิบัติที่ควรจำดังนี้
      ๑. ควรกล่าวถึงโอกาสและวันสำคัญนั้น ๆ ที่ได้มาอวยพรว่าเป็นวันสำคัญอย่างไรในโอกาสดีอย่างไร มีความหมายแก่เจ้าภาพหรือการจัดงานนั้น อย่างไรบ้าง
      ๒. ควรใช้คำพูดที่สุภาพ ไพเราะ ถูกต้อง เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง
      ๓. ควรกล่าวให้สั้น ๆ ใช้คำพูดง่าย ๆ ฟังเข้าใจดี กะทัดรัด กระชับความ น่าประทับใจ
      ๔. ควรกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้อวยพรกับเจ้าภาพ กล่าวให้เกียรติ ชมเชยในความดีของเจ้าภาพและแสดงความปรารถนาดีที่มีต่อเจ้าภาพ
      ๕. ควรใช้คำพูดอวยพรให้ถูกต้อง หากเป็นการอวยพรผู้ใหญ่นิยมอ้างถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือมาประทานพร

ตัวอย่างการกล่าวอวยพรวันเกิด                                                        
        วันนี้เป็นวันอันเป็นมงคลยิ่งคือวันเกิดของหลานรักของลุง ลุงมีความยินดีอย่างยิ่ง ที่เห็นหลานโตวันโตคืน ตลอดเวลา๑๐กว่าปีที่ผ่านมาลุงเฝ้าดูความเจริญ ของหลาน ด้วยความชื่นใจ มาวันนี้ครบรอบวันเกิดปีที่ ๑๑ แล้วลุงขอให้หลานรักมีแต่ความสุข ความเจริญ มีอายุมั่นขวัญยืน เป็นที่รักของปู่ย่าตายายตลอดไป

ตัวอย่างการอวยพรคู่บ่าวสาว
         สวัสดี……ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพทุกท่านผมรู้สึกมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติ จากเจ้าภาพให้ขึ้นมากล่าวในวันนี้ ผมขอกล่าวจากความรู้สึกที่ได้มา   พบเห็นงานมงคลสมรสในวันนี้ ผมประทับใจมากที่ได้เห็นใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสของเจ้าบ่าวและเจ้าสาว ทั้งคู่มีความเหมาะสมกันดีมาก ทั้งผมเองก็เป็นผู้ที่เคย   ทำงานร่วมกันมาทั้งสองคน รู้สึกชอบพออัธยาศัยเป็นอย่างดีและ เห็นว่าทั้งคู่มีความเข้าอกเข้าใจ ซื่อสัตย์ รักมั่นต่อกันมานานปี เมื่อมางานมงคลสมรสครั้งนี้ ผมจึงมีความปลื้มปีติเป็นอย่างมากที่ทั้งสองมีความสมหวังสมปรารถนาด้วยกัน      ผมหวังว่าทั้งสองจะครองรักกันให้มั่นคงจีรังได้นานแสนนาน  จึงขออวยพรให้คู่บ่าวสาว  จงรักกัน เข้าใจกัน ทะนุถนอมน้ำใจ มีความซื่อสัตย์ จริงใจต่อกันและรู้จักให้อภัยต่อกัน  ให้มีความร่มเย็นเป็นสุขทุกคืนทุกวัน สวัสดีครับ 


      ๖. การกล่าวต้อนรับ

            ในโอกาสที่มีผู้มาใหม่ เช่น เจ้าหน้าที่ใหม่ นักศึกษาใหม่ หรือผู้ที่มาเยี่ยมเพื่อ พบปะชมกิจการ ในโอกาสเช่นนี้จะต้องมีการกล่าวต้อนรับเพื่อแสดงอัธยาศัยไมตรีและแสดง ความยินดี ผู้กล่าวต้อนรับควรเป็นผู้มีฐานะ มีเกียรติเหมาะสมกับฐานะผู้มาเยือน ถ้าเป็นการ กล่าวต้อนรับนิสิตหรือนักศึกษาใหม่ก็มุ่งหมายที่จะให้ความอบอุ่นใจ และให้ทราบถึง สิ่งที่ควรปฏิบัติร่วมกันในสถานศึกษานั้น ๆ เป็นต้น การกล่าวต้อนรับควรยึดแนวปฏิบัติดังนี้
            ๖.๑ เริ่มด้วยการกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสต้อนรับผู้มาใหม่ (ผู้มาเยี่ยม หรือผู้มาร่วมงาน)
            ๖.๒ กล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการเยี่ยมเยือน เพื่อให้เห็นว่าฝ่ายต้อนรับนั้นเห็นความสำคัญของการเยี่ยม ถ้าเป็นผู้ร่วมงาน ก็ควรกล่าวถึงหน้าที่การงาน กิจการในปัจจุบันที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับผู้มาใหม่ ถ้าเป็นนิสิตหรือนักศึกษาใหม่ ก็ควรชี้ให้เห็นคุณค่าและความจำเป็นที่จะต้องศึกษาวิชาต่าง ๆ แนะนำให้รู้จักสถานศึกษา รวมทั้งให้รู้สึกภูมิใจที่ได้มาศึกษาในสถานศึกษาแห่งนั้น
            ๖.๓ แสดงความหวังว่าผู้มาเยี่ยมจะได้รับความสะดวกสบายระหว่างที่พำนักอยู่ในสถานที่นั้น หรือระหว่างการเยี่ยมเยือนนั้น
            ๖.๔ สรุปเป็นทำนองเรียกร้องให้อาคันตุกะกลับมาเยี่ยมเยือนอีก ส่วนในกรณีที่เป็นผู้มาใหม่ก็หวังว่าจะได้ร่วมงานกันตลอดไปด้วยความราบรื่น
          วิธีการกล่าวต้อนรับ
            ๑. ควรกล่าวต้อนรับสั้น ๆ และไม่ควรพูดเกิน ๑๕ นาที
            ๒. ในกรณีผู้มาเยี่ยมนั้นมาเป็นกลุ่มในนามของสถาบัน เช่น องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาเยี่ยมองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้กล่าวต้อนรับ จะกล่าวแสดงความยินดีและกล่าวอ้างถึง ความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้งสองสถาบัน พร้อมทั้งย้ำถึงความร่วมมือของสถาบันทั้งสองในโอกาสต่อไปด้วย จะจบด้วยการสรุปตามหลักข้างต้นก็ได้


      ๗. การพูดสนทนาทางโทรศัพท์

            การติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์นับเป็นการสื่อสารที่รวดเร็ว สะดวก ประหยัดและแทบจะใช้ได้ทั่วโลกอย่างไม่จำกัดพื้นที่ จึงเป็นการสื่อสารที่นิยมกันมากที่สุด การพูดโทรศัพท์มีความสำคัญและมีบทบาทอย่างมากในการดำรงชีวิต ดังนั้นควรต้องระมัดระวังการใช้คำพูดในการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ควรได้มีการศึกษาที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับมารยาท ประเพณีปฏิบัติที่ควรทำในขณะติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ ซึ่งมีหลักดังนี้
            ภาษาที่ใช้ในการพูดโทรศัพท์ การพูดโทรศัพท์ควรใช้ภาษาให้เหมาะสมตามสถานการณ์ต่าง ๆ ดังนี้
            ๗.๑ กล่าวทักทายเมื่อรับโทรศัพท์ด้วยคำว่า “สวัสดี” พร้อมทั้งแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ให้ทราบ และถามความประสงค์ของผู้ที่โทรมาว่าต้องการติดต่อกับใคร เรื่องอะไร แล้วรีบติดต่อให้ทันที หากผู้ที่ต้องการติดต่อไม่อยู่ ก็ถามความประสงค์ของผู้ที่โทรว่าต้องการฝากข้อความ หรือเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกลับได้ภายหลังหรือไม่
            ๗.๒ กรณีที่เราเป็นผู้ติดต่อไป ควรตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ให้ถูกต้องเสียก่อน และระบุชื่อผู้รับให้ชัดเจน หากต้องขอร้องให้ผู้รับสายไปตามให้ ต้องขอบคุณผู้รับสายทันที ในกรณีที่ต้องฝากข้อความหรือเบอร์โทรกลับ ควรเป็นข้อความที่ชัดเจนและสั้นที่สุด
            ๗.๓ การพูดโทรศัพท์ควรใช้เวลาจำกัด พูดคุยเฉพาะเรื่องที่จำเป็นโดยเฉพาะโทรศัพท์สาธารณะหรือโทรศัพท์ที่มีผู้ใช้ร่วมด้วยหลายคน เช่น หน่วยงาน องค์การ บริษัท และควรใช้ภาษาน้ำเสียงที่ชัดเจน สุภาพและเป็นมิตร
            ๗.๔ ใช้ถ้อยคำที่เหมาะสม เลือกคำที่จำเป็นมาใช้ เช่น ขออภัย ขอโทษ ขอบคุณ กรุณา ฯลฯ
            ๗.๕ ในกรณีมีผู้โทรมาผิด ควรบอกสถานที่ที่ถูกต้องให้ทราบหรือถ้าเราโทรไปผิดก็ควรจะกล่าวคำขอโทษอย่างสุภาพ
            ๗.๖ ในขณะโทรศัพท์หากมีความจำเป็นต้องหยุดพูดชั่วขณะต้องบอกให้ผู้ที่กำลังพูดโทรศัพท์อยู่ทราบและขอให้รอ เช่น กรุณารอสักครู่นะครับ
            ๗.๗ ไม่ควรวางหูโทรศัพท์ก่อนจบการพูดและไม่ควรปล่อยให้ผู้โทรศัพท์มาคอยนาน
            ๗.๘ ไม่อม ขบเคี้ยวอาหารขณะโทรศัพท์
            ๗.๙ ไม่ปล่อยโทรศัพท์เรียกสายนานเกินไป



ขอขอบคุณที่มา :: 
http://www.norsorpor.com/ข่าว/n1662200/นายกฯ%20ร่วมอวยพรวันเกิด%20?เสธ.หนั่น?
http://www.radompon.com/resourcecenter/?q=node/8
http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1577















วิธีรับมือเมื่อลูกเป็นเด็ก ODD มีภาวะดื้อและต่อต้าน

วิธีรับมือเมื่อลูกเป็นเด็ก ODD มีภาวะดื้อและต่อต้าน




โรคเด็กดื้อต่อต้าน





เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
          การดื้อการซนเป็นเรื่องธรรมชาติของเด็ก ๆ แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่เริ่มสังเกตเห็นว่ากาการดื้อซนของเจ้าตัวเล็กชักจะหนักข้อเกินเด็กทั่วไป บางทีลูกของคุณพ่อคุณแม่อาจเข้าข่ายเด็กที่มี "ภาวะดื้อและต่อต้าน" (Oppositional Defiant Disorder; ODD) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า โรคดื้อ ก็เป็นได้ค่ะ อาการของเด็กที่เป็นโรคดื้ออาจใกล้เคียงกับเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น (attention deficit disorder) หรือมีพฤติกรรมต่อต้านสังคมอยู่บ้าง (conduct disorder) แต่สำหรับเด็กที่จัดว่าเป็นโรคดื้อ จะเข้าข่ายตามอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 4 ประการหรือมากกว่า      ความอดทนต่ำ 

      
เถียงผู้ใหญ่ หรือคนที่โตกว่า 

      
ไม่ยอมรับผิด โทษผู้อื่นในความผิดที่เกิดขึ้นเพราะตัวเอง 

      
ไม่ยอมทำตามสิ่งที่ผู้ใหญ่บอก 

      
ตั้งใจก่อกวนให้ผู้อื่นเกิดความรำคาญ และรู้สึกรำคาญการกระทำของคนอื่น ๆ ได้ง่ายเช่นกัน 

      
โมโหง่าย ก้าวร้าว เจ้าคิดเจ้าแค้น มุ่งร้ายผู้อื่น 
         หากลูกของคุณมีอาการเหล่านี้ติดต่อกันเป็นนิสัยมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป ก็สงสัยไว้ก่อนได้เลยว่าเจ้าหนูอาจเป็นโรคดื้อเข้าให้แล้ว โดยสาเหตุที่ทำให้ลูกมีอาการดื้อและต่อต้าน เกิดขึ้นได้จากปัจจัยทั้งทางชีวภาพ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และปัจจัยด้านจิตใจ 
         การเลี้ยงลูกที่มีภาวะดื้อและต่อต้านเป็นงานท้าทายอย่างยิ่งสำหรับคุณพ่อคุณแม่ แต่จากผลการศึกษาเด็กที่เป็นโรคดื้อหลาย ๆ ชิ้นก็ชี้ตรงกันว่า เด็กสามารถดีขึ้นได้หากได้รับการดูแลเลี้ยงดูอย่างเหมาะสมจากคนในครอบครัว ตอนนี้จึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่จะหาวิธีเลี้ยงดูที่เหมาะสมต่ออาการดื้อต่อต้านของคุณลูก ซึ่งเราก็มีคำแนะนำในการรับมือดังนี้เลยค่ะ 
1. รับมืออย่างใจเย็น ข่มความโกรธให้ได้
         สิ่งแรกที่คุณต้องเรียนรู้และทำให้ได้ ก็คือการข่มอารมณ์ตัวเอง และรับมือความดื้อแสนดื้อของลูกอย่างใจเย็น เรื่องนี้นับเป็นสิ่งที่ท้าทาย และทำได้ยากในช่วงแรก ๆ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องพยายามทำให้ได้นะคะ จากนั้นจึงค่อยบอกเขาว่าสิ่งที่เขาทำไม่ดีอย่างไร พ่อแม่ไม่ชอบใจเลยนะคะ บอกว่าลูกควรทำอย่างไรให้ถูกต้อง แล้วจบการโต้เถียงให้สงบที่สุด อย่าพยายามเถียงแย้งกลับ หรือใช้กำลังกับลูกเด็ดขาดเชียว เพราะเด็กอาจซึมซับพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องนี้ไปใช้ด้วย 
2. สังเกตพฤติกรรมปัญหาของลูก 
         คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องสังเกตพฤติกรรมของลูกเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างครอบคลุมและถูกจุด นอกจากสังเกตพฤติกรรมเขาที่บ้านแล้ว ก็ยังต้องขอความร่วมมือไปยังคุณครูให้ช่วยสอดส่องและดูแลพฤติกรรมลูกมากเป็นพิเศษ เพราะเด็กบางคนมีปัญหามากเมื่ออยู่ที่โรงเรียน บ้างมีปัญหามากเมื่ออยู่กับเพื่อน ๆ คุณจึงต้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิดลูกในเวลานั้น ช่วยดูแลเป็นหูเป็นตาให้ พร้อมทั้งให้ช่วยระบุปัญหาเด่น ๆ ในพฤติกรรมของลูกให้ด้วย เพื่อให้คุณสามารถวางแผนในการปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมของลูกได้อย่างครอบคลุม 

3. ตั้งกฎที่ต้องการให้ลูกปฏิบัติตามอย่างชัดเจน
         คุณพ่อคุณแม่ต้องระลึกเอาไว้เสมอว่า เป็นหน้าที่ของคุณที่จะต้องอบรมให้เขาปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เนื่องด้วยเด็กที่มีอาการดื้อและต่อต้านมักพยายามละเมิดกฎเกณฑ์อยู่เสมอ แถมยังไม่ค่อยยอมรับว่าตัวเองผิดด้วย ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องตั้งกฎ หรือข้อตกลงที่ลูกต้องเคารพและปฏิบัติตามไว้อย่างชัดเจน อาจเขียนติดแปะไว้ในที่สังเกตง่ายอย่างตู้เย็น หรือปฏิทิน เพื่อใช้ชี้ให้เห็นและใช้อ้างอิงได้ทันทีเมื่อเขาได้ละเมิดข้อตกลงที่สร้างไว้ เพื่อจะได้บอกว่าเขาทำผิด และจะได้ปรับปรุงตัวในบัดนั้น อย่างไรก็ดีสิ่งที่ทำคัญที่สุดของการสร้างกฎก็คือ มันต้องเป็นข้อตกลงที่คุณกับลูกมีร่วมกัน และไม่ควรมีมากข้อเกินไปด้วยค่ะ
4. ไม่ใจอ่อนกับบทลงโทษที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว 
         หากลูกทำผิดจากกฎที่ตกลงกันไว้ ก็ต้องลงโทษลูกด้วยบทลงโทษที่ตกลงไว้แล้วว่าเขาจะต้องเผชิญหากมีพฤติกรรมไม่น่ารัก และต้องลงโทษเช่นนั้นทุกครั้ง ไม่มีอ่อนข้อหรือยอมยกเว้นให้ เพราะมีความเป็นไปได้สูงว่าเด็ก ๆ ที่มีอาการดื้อต่อต้านจะได้ใจ และไม่เชื่อหรือเคารพในกฎที่ได้ตกลงกันไว้อีกต่อไป หากได้ผู้ใหญ่ใจอ่อนยอมลงให้แล้วครั้งหนึ่ง อันจะทำให้การปรับปรุงพฤติกรรมของเขายากขึ้นอีกนั่นเอง 

5. ยังคงให้ความสัมพันธ์ในด้านบวกกับลูก แม้วันที่เขาทำตัวไม่น่ารัก
         เด็ก ๆ ที่เป็นโรคดื้อมีโอกาสถูกทำโทษได้บ่อยกว่าเด็กคนอื่น ๆ จึงเป็นไปได้ว่าเด็ก ๆ จะฝังใจพ่อแม่ไม่รักเขาเอาง่าย ๆ และนั่นสามารถทำให้พฤติกรรมของเขาดำเนินไปในทิศทางแย่ลง ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหาเวลาพูดคุย และอยู่ใกล้ชิดกับลูกในทุก ๆ วัน อาจด้วยการทำกิจกรรมที่ลูกชอบร่วมกัน และทำเช่นนั้นเป็นประจำทุก ๆ วัน แม้ในวันที่เขาเพิ่งจะทำตัวไม่น่ารักมา จากการศึกษาพบว่าการทำเช่นนี้ส่งผลดีต่อการปรับปรุงพฤติกรรมของลูกในระยะยาว 
6. อย่าเก็บสิ่งที่ลูกดื้อกับคุณมาเป็นอารมณ์ 
         แม้พฤติกรรมของเด็กที่เป็นโรคดื้อนั้นจะเป็นความดื้อด้านชนิดที่คุณแทบทนไม่ได้ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องระลึกให้ขึ้นใจว่า นั่นเป็นเพราะลูกมีภาวะผิดปกติด้านอารมณ์และพฤติกรรม และมีคุณเท่านั้นที่จะช่วยปรับปรุงแก้ไขให้พฤติกรรของเขาดีขึ้นได้ เพราะฉะนั้นแม้จะรู้สึกโกรธที่ลูกทำตัวไม่น่ารักเอาเอาเสียเลย ทำตัวต่อต้านอย่างที่สุด หรือพูดจาเพื่อให้คุณเสียใจ ก็ขออย่าได้เก็บมาเป็นอารมณ์โกรธส่วนตัว จะอย่างไรก็จงให้ความรักความเข้าใจแก่เขา และพยายามช่วยเขาปรับปรุงพฤติกรรม เพื่อให้ลูกเติบโตไปเป็นเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่เป็นปัญหาต่อผู้อื่นในอนาคต 
7. มองหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ 
         หากการรับมือกับความดื้อต่อต้านของลูกดูจะกลายเป็นสิ่งที่เริ่มจะเกินกำลังของคุณแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ได้ทันที เช่น นักจิตเวชเด็กที่จะสามารถให้คำแนะนำ และวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม หรืออาจเข้าร่วมสมาคมผู้ปกครองที่มีลูกซึ่งมีอาการดื้อต่อด้านเช่นเดียวกันก็ได้ รับรองจะได้รับคำแนะนำดี ๆ จากคุณพ่อคุณแม่หัวอกเดียวกันกับผู้มีประสบการณ์ตรงในการแก้ปัญหามาก่อน หรืออย่างน้อยก็เป็นพื้นที่ให้คุณพ่อคุณแม่ได้ระบายปัญหา และขอกำลังใจจากคุณพ่อคุณแม่ท่านอื่น ๆ ก็จะช่วยให้มีพลัง และกำลังใจในการดูแลคุณลูกแสนดื้อให้กลายเป็นเด็กที่ดีขึ้นต่อไปได้ค่ะ 
          เด็ก ๆ ที่มีภาวะดื้อต่อต้าน ไม่ว่าจะมีพฤติกรรมไม่น่ารักอย่างไร แต่เขาก็สมควรจะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างอ่อนโยนไม่ต่างจากเด็กคนอื่น ๆ โดยเฉพาะจากผู้ที่เป็นพ่อแม่ซึ่งเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับเขามากที่สุด ยิ่งต้องดูแลและรับมือด้วยความเข้าอกเข้าใจ พร้อมทั้งค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยสามารถใช้คำแนะนำทั้ง 7 ข้อด้านบนนี้ เป็นแนวทางในการดูแลแก้ปัญหาของคุณลูกได้เลยนะคะ ยังไงก็ขอให้ลูกของคุณพ่อคุณแม่ดื้อน้อยลง และเป็นเด็กที่น่ารักขึ้นทุกวันเลยค่ะ









ที่มา  ::      กระปุกดอทคอม