Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555

10 วิธีช่วยกระตุ้นการคลอด

10 วิธีช่วยกระตุ้นการคลอด
10 วิธีช่วยกระตุ้นการคลอด




ทราบหรือไม่ ? ว่ามีคุณแม่เพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่ คลอดตรงตามเวลาที่คุณหมอกำหนดไว้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะคลอดช้าหรือเร็วกว่ากำหนดประมาณ 1-2 สัปดาห์ไม่มากไม่น้อยไปกว่านี้ไปกว่านี้ แต่ถ้าหากใกล้กำหนดวันคลอดแล้ว คุณแม่ยังไม่มีวี่แววของสัญญาณอาการเจ็บท้องคลอด คุณหมออาจแนะนำให้กระตุ้นการคลอด ด้วยวิธี 10 ต่อไปนี้ค่ะ



1. กระตุ้นหัวนม:จะทำให้ร่างกายของคุณแม่ปล่อยฮอร์โมนออกซิโทซินออกมา ซึ่งมีผลให้มดลูกบีบรัดตัว แต่วิธีนี้มีข้อเสียตรงที่การบีบรัดตัวของมดลูกจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มทำ คุณควรปรึกษาคุณหมอก่อน ซึ่งคุณอาจได้รับคำแนะนำให้เริ่มด้วยการคลึงหัวนมเบาๆ เป็นเวลา 15 นาทีแล้วสลับข้างติดต่อกันนาน 1 ชั่วโมง ให้ทำวันละ 3 ครั้ง เท่านี้ คุณก็จะคลอดตรงตามเวลาที่คุณหมอได้กำหนดไว้ แต่ถ้าหากไม่มีเวลา อาจใช้เวลาช่วงอาบน้ำให้ฉีดน้ำฝักบัวไปที่หัวนม โดยจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน การกระตุ้นจึงจะเป็นผล



2. มีเซ็กส์ระหว่างตั้งครรภ์: เมื่อเกิดความรู้สึกทางเพศ ร่างกายของคุณจะปล่อยฮอร์โมนออกซิโทซินออกมา ซึ่งจะมีผลให้มดลูกของคุณบีบรัดตัว นอกจากนี้ ภายในน้ำเชื้ออสุจิจะมีโปรสเตแกลนดิน ซึ่งเป็นสารเคมีที่ถูกใช้ในการกระตุ้นให้มดลูกบีบรัดตัวเช่นกัน หลังมีเพศสัมพันธ์ให้คุณนอนนิ่งๆ สักพักเพื่อให้น้ำเชื้ออสุจิผ่านเข้าไปทางช่องคลอดได้สะดวกขึ้น ผลการกระตุ้นการคลอดจะได้ประสิทธิภาพมากขึ้น



3. กินสัปปะรดสด: วิธีนี้ยังไม่มีผลงานวิจัยออกมาสนับสนุนเป็นที่แน่นอน แต่ผู้หญิงอเมริกันส่วนใหญ่ใช้วิธีนี้ในการกระตุ้นการคลอดเป็นผลสำเร็จหลายราย ซึ่งในสัปประรดเองก็ไม่มีสารที่ที่เป็นผมเสียต่อการตั้งครรภ์ วิธีนี้จึงเป็นอีกวิธีที่น่าลองเช่นกัน



4.เดินเร็ว:การเดินเร็วจะทำให้เกิดแรงกดที่บริเวณช่องคลอด ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้มดลูกเกิดการบีบรัดตัว



5. ดื่มชาสมุนไพร:การดื่มชาใบคาโมไมล์ ราสเบอรี่ หรือชาคูมิน จะช่วยให้ช่องคลอดนุ่ม และหนาตัวขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะที่พร้อมสำหรับการเบ่งท้องคลอด และช่วยให้เกิดการบีบรัดตัวเช่นกัน



6. ดื่มน้ำมากๆ:หรือกินอะไรก็ได้ ที่จะเป็นผลให้ปวดปัสสาวะเข้าห้องน้ำบ่อยๆ เช่น ผลไม้ เพราะการถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ จะทำให้เกิดแรงบีบที่มดลูก



7. กินอีฟเว่นนิ่ง พิมโรส ออยล์: วันละ 2 แคปซูลจะช่วยให้ปากช่องคลอดนุ่ม หนา และกระตุ้นให้เกิดการคลอดขึ้นได้



8. กระตุ้นผ่านทางช่องคลอด:วิธีนี้ต้องให้คุณหมอเป็นผู้ทำให้โดยเฉพาะ โดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อคุณหมอเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องทำการกระตุ้นให้เกิดการคลอดขึ้น คุณหมอจะสวมถุงมือและสอดนิ้วเข้าทางช่องคลอดของคุณเพื่อกระตุ้นให้มดลูกบีบรัดตัว



9. นวดกดจุด: บริเวณข้อเท้าและมือจะมีจุดที่มีเส้นประสาทเชื่อมโยงไปยังมดลูก (เพื่อความปลอดภัยควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญร่วมด้วย) คุณจึงสามารถนวดกดที่บริเวณนี้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการหดรัดตัวที่มดลูกได้เช่นกัน



10. นวดแบบอโรมาเธอราปี:ใช้น้ำมันนวดผสมน้ำมันหอมละเหยเล็กน้อย แล้วใช้นวดเบาๆ ที่บริเวณแผ่นหลัง และท้อง เทคนิคนี้จะช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนออกซิโทซิน และทำให้กระแสการไหลเวียนของเลือดบริเวณมดลูกดีขึ้น

การเร่งคลอด


http://www.obgyn.pmk.ac.th/Form/PDF/18.KnowPU.pdf





 
 
 
 
 
 

8 ความคิดเห็น:

  1. วิธีเร่งการเจ็บท้องคลอด


    วิธีเร่งคลอดโดยธรรมชาติ (ต้องทำด้วยความ ระมัดระวัง ) คุณแม่อาจเคยได้ยินมาบ้างเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ ที่จะช่วยให้คุณแม่เจ็บท้องคลอดเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ก่อนจะลองเทคนิคเหล่านี้ คุณแม่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบและปรึกษาคุณหมอเสียก่อน



    พยายามเคลื่อนไหวร่างกาย



    เดินเล่นช้าๆ





    การเดินเล่นจะช่วยให้คุณแม่เจ็บท้องคลอดเร็วขึ้น เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายของคุณแม่จะเป็นการทำให้ตำแหน่งของทารกเคลื่อนต่ำลงมาอยู่ในตำแหน่งการคลอดโดยมีศีรษะเป็นส่วนนำ คุณแม่ควรเดินช้าๆ อย่างผ่อนคลาย และควรมีใครเดินเล่นเป็นเพื่อนหรือเดินเล่นบริเวณรอบๆ บ้านเผื่อในกรณีฉุกเฉิน


    ลูกบอลขนาดใหญ่สำหรับผ่อนคลาย





    คุณแม่อาจหาซื้อลูกบอลขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับผ่อนคลายเวลาเจ็บท้องคลอดเอาไว้ ลูกบอลนี้มีราคาไม่แพงและมีประโยชน์มากทั้งในช่วงตั้งครรภ์และในเวลาเจ็บท้องคลอด เพราะสามารถรองรับร่างกายคุณแม่ได้อย่างอ่อนโยน
    ขอให้คุณแม่นั่งบนลูกบอลนี้และโยกตัวไปมา การทำเช่นนี้จะช่วยเร่งให้ทารกในครรภ์ที่เกินกำหนดมีการเคลื่อนไหว และการแกว่งร่างกายช่วงล่างอย่างเป็นธรรมชาติ ก็จะช่วยกระตุ้นให้ทารกเคลื่อนมาสู่ตำแหน่งการคลอดด้วย




    กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน




    มีสัมพันธ์รักอย่างอ่อนโยน





    การมีเพศสัมพันธ์กับคนรัก เป็นเทคนิคเก่าแก่ที่บอกต่อกันว่าสามารถช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ใกล้คลอด เจ็บท้องคลอดเร็วขึ้นได้ แต่อย่าลืมว่าถ้าคุณมีน้ำเดินแล้ว ห้ามมีเพศสัมพันธ์เป็นอันขาด เพราะเป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการติดเชื้อได้
    สาเหตุที่การมีสัมพันธ์รักกันสามารถช่วยกระตุ้นการเจ็บท้องคลอดให้เร็วขึ้น ก็เพราะเป็นการกระตุ้นการบีบรัดตัวของมดลูก
    สำหรับท่วงท่าที่เหมาะสมในช่วงที่คุณแม่ท้องแก่ คือท่าตะแคง โดยทั้งคุณและคู่รักนอนตะแคงข้าง และคู่ของคุณกอดประชิดทางด้านหลัง หากคู่ของคุณถึงจุดสุดยอดด้วยก็จะเป็นเรื่องดี เพราะในน้ำอสุจินั้นมีฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน ที่ช่วยให้ปากมดลูกอ่อนนุ่มลงและขยายกว้างขึ้น

    นวดเต้านมเบาๆ




    การนวดเต้านมอย่างแผ่วเบา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณหัวนมจะกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก และกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนออกซีโตซิน
    คุณแม่ควรใช้ฝ่ามือนวดบริเวณลานนมอย่างอ่อนโยนสัก 15-20 นาทีทุกๆ ชั่วโมง วันละหลายๆ ครั้งเพื่อให้มีการหลั่งฮอร์โมนออกซีโตซินซึ่งมีผลต่อการเร่งการเจ็บท้องคลอดของครรภ์ที่เกินกำหนด


    อาหารและเครื่องดื่มที่ช่วยเร่งการเจ็บท้องคลอด



    รับประทานอาหารรสจัด





    ตามข้อเท็จจริงแล้วไม่มีหลักฐานที่บ่งบอกว่าการรับประทานอาหารรสจัด สามารถช่วยให้เจ็บท้องคลอดเร็วขึ้นได้ ที่มาของความเชื่อนี้ก็คือบริเวณคอมดลูกและระบบย่อยอาหารของคนเรามีการเชื่อมต่อกันอย่างใกล้ชิดผ่านระบบประสาท ดังนั้น การกระตุ้นระบบใดระบบหนึ่งอาจทำให้อีกระบบได้รับผลกระทบไปด้วย







    หากคุณแม่ชอบทานอาหารรสจัดอยู่แล้ว จะลองใช้วิธีนี้ก็ไม่เสียหายอะไร เพียงแต่ควรระวังผลข้างเคียง เช่น อาการแสบร้อนยอดอก อาหารไม่ย่อย หรือท้องเสีย




    ลองดื่มชาใบราสเบอร์รี่





    ถึงแม้จะมีคำเล่าลือว่าการดื่มชาใบราสเบอรี่มีส่วนช่วยกระตุ้นให้คุณแม่เจ็บท้องคลอดเร็วขึ้น และชาชนิดนี้มีความปลอดภัยจนคุณแม่สามารถจิบชาได้ตลอดระยะเวลาที่ตั้งครรภ์ แต่ก็ขอแนะนำให้คุณแม่รอจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสมจะดีกว่า คุณแม่ไม่ควรจิบชาใบราสเบอร์รี่จนกว่าจะถึงสัปดาห์ที่ 34 ของการตั้งครรภ์ หากต้องการจะทดลองชานี้ คุณแม่อาจหาซื้อใบชามาชงดื่ม หรือใบราสเบอร์รี่ที่สกัดในรูปเม็ด ซึ่งมีจำหน่ายตามร้านขายยาและอาหารเพื่อสุขภาพ แต่ควรปรึกษาสูติแพทย์ก่อนทดลอง หากคุณแม่ได้รับคำแนะนำให้ผ่าตัดคลอด หรือเคยคลอดลูกก่อนกำหนด หรือถ้าคุณแม่ยังหวาดกลัวการผ่าตัดคลอดครั้งที่ผ่านมา คุณแม่ควรปรึกษากับคุณหมอก่อนดื่มหรือรับประทานชาราสเบอร์รี่ แม้ว่าคุณแม่อาจรู้สึกอึดอัดเมื่อตั้งครรภ์เกินกำหนด แต่ก็อย่าลืมว่าลูกน้อยจะใกล้ออกมาดูโลกในไม่ช้านี้แล้ว ขอให้คุณแม่ทำใจให้สบายและออมแรงเอาไว้ให้มากที่สุดสำหรับวันสำคัญที่ใกล้จะมาถึง เรื่องนี้ ไม่ควร ใจร้อนเร่งธรรมชาติมากเกินไปนัก


    .

    ตอบลบ
  2. จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อต้องเร่งคลอด


    ตามธรรมชาติแล้ว คุณแม่จะเริ่มเจ็บครรภ์เมื่อมีอายุครรภ์ระหว่าง37- 41สัปดาห์ค่ะ ดังนั้นคุณแม่จึงควรที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับ“การเร่งให้คลอด”ในกรณีที่อายุครรภ์เกินกำหนด


    สาเหตุที่ต้องเร่งคลอด


    สาเหตุที่ทำให้ต้องร่องคลอดหรือชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดมีอยู่ด้วยกันหลายอย่าง เช่น

    ถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว แต่คุณแม่ยังไม่เริ่มมีอาการหดรัดตัวของมดลูก
    อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนในครรภ์ ของคุณแม่ และจำเป็นจะต้องทำคลอดลูกน้อยโดยเร็ว
    เกินกำหนดคลอดมานานแล้วแต่ยังไม่คลอด




    ขั้นตอนในการชักนำให้เจ็บครรภ์คลอด




    สูติแพทย์และพยาบาลผดุงครรภ์สามารถชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดได้หลายวิธี แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตาม อย่างมากที่สุด คุณแม่จะรู้สึกเจ็บ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่การฝึกหายใจก็จะช่วยให้คุณแม่ผ่านพ้นขั้นตอนนี้ไปได้ด้วยดี โปรดจำไว้ว่าเมื่อชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดแล้ว กระบวนการต่างๆ จะดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น จึงควรเตรียมตัวให้พร้อม ในทางตรงข้าม บางครั้งก็อาจใช้เวลาถึง 2-3 วัน จึงจะเริ่ม มีอาการเจ็บครรภ์คลอด ดังนั้น จึงไม่ต้องตกใจหากไม่มีอะไรเกิดขึ้นโดยทันที




    รายการด้านล่างนี้เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ ที่ใช้สำหรับเร่งคลอด




    การกวาดปากมดลูก (Membrane sweep)– วิธีนี้คล้ายกับการตรวจภายในมาก สูติแพทย์จะใช้นิ้วกวาดปากมดลูกเพื่อค่อยๆ ขยายปากมดลูกและกระตุ้นให้เริ่มมีการเจ็บครรภ์ ถ้าทำสำเร็จ มักจะเริ่มมีการเจ็บครรภ์ภายใน 24-48 ชั่วโมง ( วิธีนี้อาจใช้ไม่ได้ผลเสมอไป จึงไม่ต้องกังวลถ้าไม่ประสบความสำเร็จ )



    การเจาะถุงน้ำคร่ำ– แพทย์จะใช้เครื่องมือที่มีลักษณะเรียวยาวคล้ายเข็มถักโครเชเจาะถุงน้ำคร่ำให้แตกเพื่อกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก แต่วิธีนี้ก็ไม่สามารถรับประกันว่าจะได้ผลร้อย เปอร์เซ็นต์อีกเช่นกัน




    การใช้ฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin)– เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์ โดยอาจจะใช้ในรูปของเจลหรือยาเหน็บช่องคลอดโดยสอดเข้าไปที่บริเวณคอมดลูก




    ยาเร่งคลอด (Syntocinon)– สามารถให้ผ่านสายน้ำเกลือ ถ้าคุณแม่รับยาผ่านสายน้ำเกลือ ขอให้ใช้สายน้ำเกลือที่ค่อนข้างยาวเพื่อที่จะได้ขยับตัวไปมาระหว่างที่มีการเจ็บครรภ์ ยาเร่งคลอดอาจกระตุ้นให้มีการหดรัดตัวของมดลูกค่อนข้างแรง ดังนั้น คุณแม่จึงอาจต้องใช้การฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลัง เพื่อระงับความเจ็บปวดด้วย วิธีนี้ มักจะใช้ร่วมกับการเจาะถุงน้ำคร่ำ




    .

    ตอบลบ
  3. กระตุ้นหัวนมช่วยให้คลอดลูกตามกำหนด




    ว่าที่คุณแม่ที่มีแนวโน้มจะคลอดช้ากว่ากำหนด เพียงการนวดหน้าอกตนเองทุกวันก็ช่วยให้คลอดได้ตามกำหนดโดยไม่ต้องหันไปพึ่งยาเพื่อแก้ปัญหา นี่เป็นข่าวที่พอล แมคคาธีรายงานไว้ในนิตยสาร American Health ฉบับตุลาคม 1985

    เนื้อข่าวของพอลอ้างอิงถึงผลการศึกษาโดยแพทย์แห่งศูนย์การแพทย์ทหารบกเลตเตอร์แมน ในซานฟรานซิสโกเมื่อปีกลาย ซึ่งสรุปนัยได้ว่า การกระตุ้นหน้าอกตนเองภายใต้การดูแลของแพทย์ มีประโยชน์ทั้งเร่งเวลาคลอดและกระตุ้นมดลูกให้พร้อมต่อการคลอด

    ตามปกติแล้ว วิธีธรรมดาที่จะเร่งทารกในครรภ์ให้คลอดเร็วขึ้นโดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์การแพทย์ คือ การฉีดฮอร์โมนออกซิโตซิน (Oxytocin มีฤทธิ์บีบกล้ามเนื้อมดลูกทางหลอดเลือดดำ) ซึ่งจออกฤทธิ์ภายใน 6 ชั่วโมง แต่ปัจจัยอีกอย่างที่จะเอื้อให้การคลอดเป็นไปโดยราบรื่นก็คือ มดลูกจะต้อง “สุกงอม” กล่าวคือ คอมดลูกต้องอ่อนตัว บางลง และขยายกว้างขึ้น การฉีดออกซิโตซิน (Oxytocin) นี้ จะว่าไปแล้วเป็นวิธีโน้มน้าวการคลอดโดยไม่ใช่ธรรมชาติ ช่วยให้มดลูกสุกงอม และสถิติของอเมริกาชี้ว่า เกือบครึ่งหนึ่งของการโน้มน้าวการคลอดด้วยวิธีนอกเหนือธรรมชาติทั้งหมด ต้องหันไปหาการทำคลอดด้วยวิธผ่าท้องในที่สุด

    นพ.จอห์น อีเลียท และนพ.เจมส์ เฟลเฮอร์ตีแห่งศูนย์ฯ เลดเตอร์แมน ได้ทดลองโดยให้ว่าที่คุณแม่ ที่ตั้งครรภ์ได้ 39 สัปดาห์ จำนวน 100 คน ค่อยๆ นวดหัวนมทั้งสองข้างด้วยปานิ้วมือของตนวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง ทั้งนี้โดยใช้ครีมทาผิวช่วยเพื่อมิให้เกิดการระคายเคือง

    เมื่อถึงสัปดาห์ที่ 42 ปรากฏว่า ว่าที่คุณแม่ที่นวดหน้าอกตัวเอง 5 คนเท่านั้น จากจำนวน 100 คนดังกล่าว มีคอมดลูกที่ยังไม่อ่อนตัว ในขณะที่ว่าที่คุณแม่จากกลุ่มควบคุม (กลุ่มควบคุม คือ ว่าที่คุณแม่อีก 100 คนเช่นกันที่ไม่นวดหน้าอกตัวเองเพื่อเป็นกลุ่มเปรียบเทียบ) ที่คอมดลูกยังไม่พร้อมถึง 17 คน ในสัปดาห์นี้เช่นกัน ว่าที่คุณแม่ที่นวดหน้าอก 89 คน คลอดลูกได้ด้วยวิธีธรรมชาติ เทียบกับ 77 คนในกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ยังพบว่า โดยถัวเฉลี่ยแล้วมดลูกของผู้ที่นวดครบ 3 ชั่วโมงในแต่ละวัน จะพร้อมหรือสุกงอมต่อการคลอดเร็วกว่าของผู้ที่นวดแล้วหยุดไปเลย เป็นเวลา 4 วัน

    การทดลองนี้พอจะอธิบายได้ด้วยหลายทฤษฏี แต่ทฤษฏีหนึ่งที่ดูมีความน่าเชื่อถือเป็นพิเศษก็คือ ข้อเสนอของอีเลียทที่ว่า การกระตุ้นหัวนมอาจจะเป็นการเตรียมฮอร์โมนออกซิโตซิน (Oxytocin) ให้พร้อมที่จะหลั่ง เพียงแต่ว่า จำนวนที่หลั่งน้อยกว่าการฉีดมาก และใช้เวลาหลั่งเพื่อช่วยการคลอดเป็นระยะหลายวัน ไม่ใช่แค่ชั่วโมง ดังนั้นคอมดลูกจึงมีเวลาพอในการปรับตัว

    อย่างไรก็ตาม การคลอดเร็วเกินไปย่อมเสี่ยงอันตราย แพทย์จึงสนับสนุนให้ว่าที่คุณแม่คลอดช้ากว่ากำหนดอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ก่อนแพทย์จะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ กระบวนการของธรรมชาติ แม้กระนั้น นายแพทย์อีเลียทก็มีความเห็นว่า หลังจากราวๆ สัปดาห์ที่ 42 ผ่านไปแพทย์ก็อาจใช้ยาโน้มน้าวการคลอดเพื่อแก้ปัญหาก็ได้

    ข่าวการทดลองนี้พอจะกล่าวได้ว่า นักวิจัยบางคนในวงการแพทย์สหรัฐ ได้เสนอสมมติฐานออกมาแล้วว่า การกระตุ้นหน้าอกตัวเองอย่างมีระเบียบแบบแผน อาจจะทำให้ว่าที่คุณแม่มีมดลูกที่พร้อมต่อเหตุการณ์สำคัญก็ได้





    .

    ตอบลบ
  4. การเร่งคลอด




    คือการทำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอด เพื่อจะให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลงเมื่ออายุครรภ์ของคุณแม่มากกว่า 28 สัปดาห์ หรือว่าทารกมีน้ำหนักตัวตั้งแต่ 1,000 กรัมขึ้นไป ในกรณีที่ไม่ทราบอายุครรภ์

    การเร่งคลอด คือการทำให้การเจ็บครรภ์คลอด ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีการดำเนินการคลอดที่เร็วขึ้น

    ประเมินก่อนการชักนำการคลอด

    1. อายุครรภ์ที่แน่นอน โดยคุณหมอจะตรวจสอบประวัติการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายประวัติการฝากครรภ์ การดิ้นของทารกในครรภ์ และการตรวจด้วยอัลตราซาวนด์ เพื่อประเมินอายุครรภ์ได้อย่างถูกต้อง เพราะการประเมินอายุครรภ์ผิดพลาดอาจทำให้เกิดอันตรายต่อทั้งมารดาและทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชักนำการคลอดก่อนเวลาอันควร

    2. ความพร้อมในการดูแลทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนดมีสุขภาพไม่แข็งแรงหรือมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ซึ่งมักต้องอยู่ในความดูแลในหน่วยทารกแรกเกิดของสถานพยาบาลที่มีความพร้อมทั้งเครื่องมือ และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ
    หากคุณหมอที่คุณแม่ได้ทำการฝากท้องอยู่พิจารณาร่วมกับกุมารแพทย์ แล้วเห็นว่ายังไม่มีความพร้อมในการดูแลทารกที่กำลังจะคลอดออกมา ก็อาจส่งตัวคุณแม่ให้ไปคลอดในโรงพยาบาลที่มีความพร้อม หรือกรณีที่เป็นไม่รุนแรงนัก ก็จะพิจารณาให้ดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไป โดยจะนัดตรวจติดตามสุขภาพของมารดา และทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิดครับ

    3. สุขภาพทารกในครรภ์ การชัดนำการคลอดมักจะใช้เวลาหลายชั่วโมงจนถึงเป็นวัน คุณหมอจึงต้องประเมินว่าทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงพอที่จะทนต่อความเครียดจากการขาดออกซิเจนในขณะมดลูกหดรัดตัวหรือไม่ และควรตรวจติดตามการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด หรืออาจพิจารณาผ่าท้องคลอดหากทารกในครรภ์ไม่สามารถทนต่อความเครียดจากการขาดออกวิเจนในระหว่างการเจ็บครรภ์ได้

    4. สภาพของปากมดลูก ถ้าปากมดลูกยังไม่พร้อม การชักนำการคลอดจะมีโอกาสล้มเหลวสูง ซึ่งคุณหมอจะมีทางเลือก คือ ปรับสภาพปากมดลูกให้มีความพร้อมในการใช้ยา หรือผ่าท้องทำคลอด ถ้าไม่ใช่อาการเร่งด่วน คุณหมอก็จะรอให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไป

    คุณแม่คงพอจะเข้าใจเรื่องการชักนำการคลอด และการเร่งคลอดพอสมควร การขอข้อมูลเพิ่มเติมโดยปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์ จะช่วยให้คุณแม่รู้ถึงประโยชน์และอันตรายต่อคุณแม่และลูกในครรภ์ และในฉบับหน้าผมจะเล่าถึงวิธีการชักนำการคลอดและการใช้ยา






    .

    ตอบลบ
  5. การชักนำให้เจ็บครรภ์คลอด

    การชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดคือ การใช้ยา หรือการเจาะถุงน้ำคร่ำเพื่อให้มดลูกหดรัดตัวเกิดการเจ็บครรภ์คลอด ในขณะที่คุณแม่ยังไม่เริ่มเจ็บครรภ์เลย สำหรับการเจาะถุงน้ำคร่ำจะได้กล่าวโดยละเอียดในหัวข้อต่อไป นวัตกรรมนี้ นับว่าเป็นจุดพลิกผันทางสูติกรรม เนื่องจากมนุษย์เราสามารถกำหนดให้เกิดการเจ็บครรภ์ได้ โดยใช้ยาออกซิโทซิค (oxytocic drug) ยาในกลุ่มนี้มีหลายชนิด เช่น ยา syntocinon ยาในกลุ่ม prostaglandin เป็นต้น ยาเหล่านี้จะทำให้มดลูกหดรัดตัว คล้ายกับหน้าที่ของฮอร์โมนออซิโทซิน

    มีอยู่กรณีหนึ่งที่อาจทำให้มีความสับสนในการใช้คือ “การเร่งคลอด” ซึ่งหมายความว่า การที่คุณแม่เจ็บครรภ์เอง แต่ปากมดลูกเปิดขยายเพิ่มไม่ดี โดยมีสาเหตุจากการที่มดลูกหดรัดตัวไม่ดี ซึ่งต่างจาก “การชักนำให้เจ็บครรภ์คลอด” ที่คุณแม่ยังไม่เริ่มเจ็บครรภ์ แต่เราสามารถทำให้เริ่มเจ็บครรภ์ได้ดังที่กล่าวมาแล้ว ดังนั้นจึงเป็นข้อบ่งชี้ของการใช้ยาออกซิโทซิค ซึ่งผมขอเรียกว่า “ยาเร่งคลอด” เนื่องจากยานี้สามารถใช้ได้ทั้งชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดและเร่งคลอด

    แต่เดิมนั้น การให้ยาเร่งคลอด ถูกสงวนเอาไว้ใช้เพื่อชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดในคุณแม่ที่มีความเสี่ยงต่อบางภาวะซึ่งควรจะต้องให้คลอด เช่น ตั้งครรภ์เกินกำหนด หรือเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ เนื่องจากว่ายาเร่งคลอดอาจก่อให้เกิดโทษได้ เช่น ภาวะมดลูกหดรัดตัวถี่กว่าปกติ (hyperstimulation) ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อทารกได้ ภาวะมดลูกแตก อุบัติการณ์ของการเกิดภาวะบิลิรูบินสูงในเลือดของทารก และการคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากประเมินอายุครรภ์ผิด คิดว่าครรภ์ครบกำหนดแล้ว

    ในปัจจุบันนี้ มีการนิยมใช้ยาเร่งคลอด เพื่อให้คุณแม่คลอดในเวลาที่เหมาะสม คือในวันและเวลาทำการปกติที่แพทย์อยู่ในโรงพยาบาลโดยส่วนใหญ่แล้วก็คือเวลาราชการนั่นเอง ซึ่งบางคนเรียกว่า “daylight obstetrics” ซึ่งผมตั้งชื่อว่า “สูติศาสตร์แสงตะวัน” ซึ่งการกระทำเช่นนี้อาจก่อให้เกิดการกระทำต่อไปนี้ เช่น เมื่อให้ยาเร่งคลอด ซึ่งปกติจะทำให้คุณปวดมากกว่า คุณแม่ที่เจ็บครรภ์คลอดเอง ทำให้เราต้องใช้ยาแก้ปวด ซึ่งอาจทำให้คุณแม่อ่อนล้าและเหนื่อยหรืออาจทำให้ทารกเกิดภาวะเครียดจากการให้ยาเร่งคลอดเกินขนาด ซึ่งอาจจะต้องช่วยคลอดโดยใช้คีม หรือเครื่องดูดสุญญากาศ หรือผ่าตัดคลอด

    การที่มีการแทรกแซงอันถัดๆ มา หลังจากการแทรกแซงครั้งแรกนี้เรียกว่า cascade of intervention ดังนั้น หากไม่แทรกแซงตั้งแต่ต้นแล้ว ก็สามารถตัดการแทรกแซงอันถัดๆ มาได้ทั้งหมด นอกจากนี้การใช้ยาเร่งคลอดก็จะทำให้คุณแม่สามารถกำหนดวันคลอดของลูกได้ ตามฤกษ์ยามที่ต้องการ ข้อเสียของยาเร่งคลอดประการต่อมา การใช้ยาเร่งคลอดในรายที่ปากมดลูกยังเปิดไม่พร้อมต่อการคลอด อาจจะมีโอกาสถูกผ่าตัดสูงขึ้น โดยที่หากเจ็บครรภ์คลอดเองแล้วอาจจะคลอดเองได้ ประการสุดท้าย คือคุณแม่ที่ได้รับยาเร่งคลอดจะเจ็บครรภ์มากกว่าคุณแม่ที่ไม่ได้รับยา เนื่องจากฮอร์โมนเอนดอร์ฟีน ไม่ได้เพิ่มมากขึ้นได้สัดส่วนกับฮอร์โมนออกซิโทซินที่ได้รับจากภายนอก




    ...

    ตอบลบ
  6. ...ต่อ...




    ความจริงแล้ว การที่คุณแม่เจ็บครรภ์เอง เป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุดตามธรรมชาติสำหรับคุณแม่ ดังนั้น การคลอดจึงไม่ควรถูกชักนำให้เกิดขึ้น เพื่อความสะดวกสบายของผู้ดูแลการคลอด หรือฤกษ์ยามที่ดีที่สุดจากการทำนายของหมอดู การชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดนั้น ควรจะถูกจัดไว้เฉพาะที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เท่านั้น

    แต่เดิมนั้น การให้ยาเร่งคลอด ถูกสงวนเอาไว้ใช้เพื่อชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดในคุณแม่ที่มีความเสี่ยงต่อบางภาวะซึ่งควรจะต้องให้คลอด เช่น ตั้งครรภ์เกินกำหนด หรือเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ เนื่องจากว่ายาเร่งคลอดอาจก่อให้เกิดโทษได้ เช่น ภาวะมดลูกหดรัดตัวถี่กว่าปกติ (hyperstimulation) ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อทารกได้ ภาวะมดลูกแตก อุบัติการณ์ของการเกิดภาวะบิลิรูบินสูงในเลือดของทารก และการคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากประเมินอายุครรภ์ผิด คิดว่าครรภ์ครบกำหนดแล้ว

    ในปัจจุบันนี้ มีการนิยมใช้ยาเร่งคลอด เพื่อให้คุณแม่คลอดในเวลาที่เหมาะสม คือในวันและเวลาทำการปกติที่แพทย์อยู่ในโรงพยาบาลโดยส่วนใหญ่แล้วก็คือเวลาราชการนั่นเอง ซึ่งบางคนเรียกว่า “daylight obstetrics” ซึ่งผมตั้งชื่อว่า “สูติศาสตร์แสงตะวัน” ซึ่งการกระทำเช่นนี้อาจก่อให้เกิดการกระทำต่อไปนี้ เช่น เมื่อให้ยาเร่งคลอด ซึ่งปกติจะทำให้คุณปวดมากกว่า คุณแม่ที่เจ็บครรภ์คลอดเอง ทำให้เราต้องใช้ยาแก้ปวด ซึ่งอาจทำให้คุณแม่อ่อนล้าและเหนื่อยหรืออาจทำให้ทารกเกิดภาวะเครียดจากการให้ยาเร่งคลอดเกินขนาด ซึ่งอาจจะต้องช่วยคลอดโดยใช้คีม หรือเครื่องดูดสุญญากาศ หรือผ่าตัดคลอด

    ความจริงแล้ว การที่คุณแม่เจ็บครรภ์เอง เป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุดตามธรรมชาติสำหรับคุณแม่ ดังนั้น การคลอดจึงไม่ควรถูกชักนำให้เกิดขึ้น เพื่อความสะดวกสบายของผู้ดูแลการคลอด หรือฤกษ์ยามที่ดีที่สุดจากการทำนายของหมอดู การชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดนั้น ควรจะถูกจัดไว้เฉพาะที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เท่านั้น






    ...

    ตอบลบ
  7. การเจาะถุงน้ำคร่ำ




    ในหลายๆ โรงพยาบาล การเจาะถุงน้ำคร่ำเป็นหัตถการอย่างหนึ่ง นิยมทำกันอย่างเป็นกิจวัตร เพื่อเร่งคลอดโดยมีความเชื่อว่าจะทำให้ระยะเวลาการคลอดสั้นลง จากการศึกษาก็พบว่าทำให้ระยะที่ 1 ของการเจ็บครรภ์คลอดสั้นลง 30-60 นาที แต่ไม่มีผลในระยะที่ 2 ของการเจ็บครรภ์คลอด และการเห็นสีของน้ำคร่ำว่ามีขี้เทาหรือไม่ นอกจากนี้การเจาะถุงน้ำคร่ำเป็นการชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดได้ แต่โดยทั่วไปมักจะนิยมใช้ควบคู่กับการใช้ยาเร่งคลอดด้วย

    ก่อนอื่นคุณแม่ควรจะทราบก่อนว่า ถุงน้ำคร่ำมีประโยชน์อย่างไรต่อลูกน้อย ถุงน้ำคร่ำมีหน้าที่สำคัญหลายประการ เช่น ทำหน้าที่เหมือนเบาะคอยป้องกัน มิให้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะสายสะดือถูกบีบรัด เวลาที่มดลูกหดรัดตัวในขณะเจ็บครรภ์คลอด โดยจะกระจายแรงบีบนี้ไปทั่วๆ ทั้งถุงน้ำ ป้องกันการติดเชื้อต่อทารก นอกจากนี้ยังทำให้มีสภาวะเป็นเหมือนลิ่ม ช่วยขยายปากมดลูกในช่วงต้นๆ ของระยะที่ 1 ของการเจ็บครรภ์คลอด
    การเจาะถุงน้ำคร่ำมีข้อเสียหลายประการ กล่าวคือ อาจทำให้เกิดภาวะสายสะดือย้อยออกมา โอกาสติดเชื้อต่อมารดาและทารกเพิ่มขึ้น การเจาะถุงน้ำแต่เนิ่นๆ อาจทำให้เกิดอุบัติการณ์บวมของหนังศีรษะ และไขมันที่อยู่ใต้หนังศีรษะ (caput succedaneum) ตลอดจนเกิดการผิดรูป (misalignment) ของกะโหลกศีรษะสูงขึ้น

    โดยปกติ การพบขี้เทาในน้ำคร่ำแบบน้อย (mild meconium-stained amiotic fluid) อาจพบได้ในทารกปกติที่ไม่มีปัญหา แต่หากพบขี้เทาในน้ำคร่ำ แบบปานกลางหรือข้น (moderate, thick meconium-stained amniotic fluid) อาจพบในทารกที่อาจมีปัญหาสุขภาพ เช่น ภาวะเครียด เป็นต้น ซึ่งในกรณีดังกล่าว เราสามารถตรวจได้จากการฟังเสียงหัวใจทารก มีความผิดปกติหรือโดยการใช้เครื่องอิเลคทรอนิค (electronic fetal monitor) บางครั้งภาวะขี้เทานี้อาจพบร่วมกับการมีน้ำคร่ำน้อย ดังนั้นเมื่อเจาะถุงน้ำแล้ว อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสายสะดือ ดังที่กล่าวมาแล้วมากขึ้น

    เมื่อพิจารณาดูผลได้ผลเสียของการเจาะถุงน้ำแล้ว จะพบว่าการเจาะถุงน้ำแต่เนิ่นๆ อย่างเป็นกิจวัตรเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น การเจาะถุงน้ำคร่ำควรมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เช่น ในกรณีรกลอกตัวก่อนกำหนด การเจาะถุงน้ำคร่ำเป็นการลดความกดดันต่อมดลูก การชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดโดยใช้ร่วมกับยาเร่งคลอด หรือกรณีที่ปากมดลูกเปิดขยายไม่เพิ่มตามเกณฑ์ที่เหมาะสม การเจาะถุงน้ำคร่ำก็เป็นการเร่งคลอดอย่างหนึ่ง


    การที่มีการแทรกแซงอันถัดๆ มา หลังจากการแทรกแซงครั้งแรกนี้เรียกว่า cascade of intervention ดังนั้น หากไม่แทรกแซงตั้งแต่ต้นแล้ว ก็สามารถตัดการแทรกแซงอันถัดๆ มาได้ทั้งหมด นอกจากนี้การใช้ยาเร่งคลอดก็จะทำให้คุณแม่สามารถกำหนดวันคลอดของลูกได้ ตามฤกษ์ยามที่ต้องการ ข้อเสียของยาเร่งคลอดประการต่อมา การใช้ยาเร่งคลอดในรายที่ปากมดลูกยังเปิดไม่พร้อมต่อการคลอด อาจจะมีโอกาสถูกผ่าตัดสูงขึ้น โดยที่หากเจ็บครรภ์คลอดเองแล้วอาจจะคลอดเองได้ ประการสุดท้าย คือคุณแม่ที่ได้รับยาเร่งคลอดจะเจ็บครรภ์มากกว่าคุณแม่ที่ไม่ได้รับยา เนื่องจากฮอร์โมนเอนดอร์ฟีน ไม่ได้เพิ่มมากขึ้นได้สัดส่วนกับฮอร์โมนออกซิโทซินที่ได้รับจากภายนอก




    ที่มา http://sites.google.com/site/thaicenterinfrance/kar-chakna-kar-khlxd-kar-reng-khlxd






    .

    ตอบลบ
  8. จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อต้องเร่งคลอด




    ตามธรรมชาติแล้ว คุณแม่จะเริ่มเจ็บครรภ์เมื่อมีอายุครรภ์ระหว่าง37- 41สัปดาห์ค่ะ ดังนั้นคุณแม่จึงควรที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับ“การเร่งให้คลอด”ในกรณีที่อายุครรภ์เกินกำหนด เพราะหากได้รับรู้รายละเอียดเกี่ยวกับทางเลือกในการชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดทั้งหมดแล้ว คุณแม่จะรู้สึกสบายใจมากขึ้นกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อเวลานั้นมาถึง และไม่ต้องวิตกกังวลนะคะ เพราะขั้นตอนในการชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดนั้นไม่ทำให้รู้สึกเจ็บแต่อย่างใด แต่จะทำให้การเจ็บท้องคลอดดำเนินไปอย่างรวดเร็ว หากคุณแม่มีข้อสงสัยใดๆ สามารถโทรศัพท์สอบถามดูเม็กซ์แคร์ไลน์ได้เสมอค่ะ

    สาเหตุที่ต้องเร่งคลอด

    สาเหตุที่ทำให้ต้องร่องคลอดหรือชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดมีอยู่ด้วยกันหลายอย่าง เช่น

    ถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว แต่คุณแม่ยังไม่เริ่มมีอาการหดรัดตัวของมดลูก
    อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนในครรภ์ ของคุณแม่ และจำเป็นจะต้องทำคลอดลูกน้อยโดยเร็ว
    เกินกำหนดคลอดมานานแล้วแต่ยังไม่คลอด

    ขั้นตอนในการชักนำให้เจ็บครรภ์คลอด

    สูติแพทย์และพยาบาลผดุงครรภ์สามารถชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดได้หลายวิธี แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตาม อย่างมากที่สุด คุณแม่จะรู้สึกเจ็บ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่การฝึกหายใจก็จะช่วยให้คุณแม่ผ่านพ้นขั้นตอนนี้ไปได้ด้วยดี โปรดจำไว้ว่าเมื่อชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดแล้ว กระบวนการต่างๆ จะดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น จึงควรเตรียมตัวให้พร้อม ในทางตรงข้าม บางครั้งก็อาจใช้เวลาถึง 2-3 วัน จึงจะเริ่ม มีอาการเจ็บครรภ์คลอด ดังนั้น จึงไม่ต้องตกใจหากไม่มีอะไรเกิดขึ้นโดยทันที

    รายการด้านล่างนี้เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ ที่ใช้สำหรับเร่งคลอด

    การกวาดปากมดลูก (Membrane sweep)– วิธีนี้คล้ายกับการตรวจภายในมาก สูติแพทย์จะใช้นิ้วกวาดปากมดลูกเพื่อค่อยๆ ขยายปากมดลูกและกระตุ้นให้เริ่มมีการเจ็บครรภ์ ถ้าทำสำเร็จ มักจะเริ่มมีการเจ็บครรภ์ภายใน 24-48 ชั่วโมง ( วิธีนี้อาจใช้ไม่ได้ผลเสมอไป จึงไม่ต้องกังวลถ้าไม่ประสบความสำเร็จ )

    การเจาะถุงน้ำคร่ำ– แพทย์จะใช้เครื่องมือที่มีลักษณะเรียวยาวคล้ายเข็มถักโครเชเจาะถุงน้ำคร่ำให้แตกเพื่อกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก แต่วิธีนี้ก็ไม่สามารถรับประกันว่าจะได้ผลร้อย เปอร์เซ็นต์อีกเช่นกัน

    การใช้ฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin)– เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์ โดยอาจจะใช้ในรูปของเจลหรือยาเหน็บช่องคลอดโดยสอดเข้าไปที่บริเวณคอมดลูก

    ยาเร่งคลอด (Syntocinon)– สามารถให้ผ่านสายน้ำเกลือ ถ้าคุณแม่รับยาผ่านสายน้ำเกลือ ขอให้ใช้สายน้ำเกลือที่ค่อนข้างยาวเพื่อที่จะได้ขยับตัวไปมาระหว่างที่มีการเจ็บครรภ์ ยาเร่งคลอดอาจกระตุ้นให้มีการหดรัดตัวของมดลูกค่อนข้างแรง ดังนั้น คุณแม่จึงอาจต้องใช้การฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลัง เพื่อระงับความเจ็บปวดด้วย วิธีนี้ มักจะใช้ร่วมกับการเจาะถุงน้ำคร่ำ



    ที่มา http://www.dumex.co.th/pregnancy/labour_and_birth/article/what_if_i_have_to_be_induced




    .

    ตอบลบ