เก็บรักษาน้ำนมแม่... ไม่ใช่เรื่องยาก
เป็นความใฝ่ฝันของผู้หญิงทุกคนที่ได้เป็นแม่ คือ ต้องการให้ลูกน้อยที่เพิ่งคลอดออกมาได้ดูดนมแม่ แต่คุณแม่หลายท่านก็เป็นกังวลว่าอาจเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ซึ่งตอบได้เลยว่าไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากอีกต่อไป เพียงแต่คุณแม่ต้องทำความเข้าใจขั้นตอนและวิธีเก็บอย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นวิธีที่เข้าใจง่ายและไม่ยุ่งยากเลย
แล้วจะปั๊มนมตอนไหน ?
· คุณแม่ต้องปั๊มนมให้บ่อยเท่ากับที่ลูกดูด อาจจะทุก 2-3 ชั่วโมง ถ้าต้องไปทำงานก็ให้ปั๊มช่วงสายๆ 1 ครั้ง พักกลางวัน 1 ครั้ง และช่วงบ่ายๆ 1 ครั้ง หากคุณแม่ใช้เครื่องปั๊มที่ปั๊มได้ทั้งสองข้างในครั้งเดียว ส่วนมากจะปั๊มประมาณ 15-20 นาที
สิ่งควรทำและไม่ควรทำ
ควรทำ
|
ไม่ควรทำ
|
เขียนวัน เวลา ที่บรรจุน้ำนมแม่ใส่ในถุงเก็บน้ำนม เพื่อที่จะได้รู้ว่าควรใช้ถุงไหนก่อนหลัง เมื่อต้องการนำนมที่แช่แข็งไว้มาใช้ ให้ละลายนมแม่ด้วยการนำมาแช่ในตู้เย็นปกติก่อนล่วงหน้า 1 คืน จากนั้นก็นำมาแช่ในน้ำอุ่นก่อนป้อนให้ลูก
|
ไม่ควรอุ่นนมแม่ในเตาไมโคเวฟ หรือใช้กาต้ม เพราะจะเป็นการทำลายสารอาหารในนมแม่
|
แช่น้ำนมที่ปั๊มออกมา และจะใช้ภายในวันนั้น โดยเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาได้ โดยไม่ต้องแช่แข็ง
|
ไม่ควรแช่น้ำนมแม่บนฝาตู้เย็น เพราะอุณหภูมิไม่คงที่
|
น้ำนมแม่หลังจากปั๊มออกมา ควรที่จะเก็บใส่ในถุงเก็บน้ำนมแม่ โดยการเขียนวันเวลา ที่ได้ปั๊มนมไว้บนถุง และควรที่จะแบ่งปริมาณน้ำนมให้พอดีกับมื้อหนึ่งที่ลูกกิน ปริมาณนมที่เหมาะสำหรับทารกโดยประมาณ คือ ทารกแรกเกิดถึงสองเดือน ปริมาณนมต่อมื้อ 2-5 ออนซ์ ลูกอายุ 2-4 เดือน ปริมาณนมต่อมื้อ 4-6 ออนซ์ ลูกอายุ 4-6 เดือน ปริมาณนมต่อมื้อ 5-7 ออนซ์
น้ำนมแม่เก็บได้นานแค่ไหน ?
น้ำนมที่ปั๊มออกมา เก็บไว้ในถุงเก็บนม แช่ตู้เย็นในอุณหภูมิที่ต่างกัน ระยะเวลาการเก็บไว้ได้ก็จะต่างกันด้วย
วิธีการเก็บ
|
ระยะเวลาที่เก็บได้
|
เก็บที่อุณหภูมิมากกว่า 25 องศาเซลเซียส
|
1 ชั่วโมง
|
เก็บที่อุณหภูมิน้อยกว่า 25 อาศาเซลเซียส
|
4 ชั่วโมง
|
เก็บในกระติกน้ำแข็ง
|
1 วัน
|
ในตู้เย็นช่องธรรมดา
|
2-3 วัน
|
ในตู้เย็นช่องแช่แข็งแบบประตูเดียว
|
2 สัปดาห์
|
ในตู้เย็นช่องแช่แข็งแบบประตูแยก
|
4-6 เดือน
|
ตู้แช่แข็งชนิดพิเศษ (อุณภูมิ -19 องศาเซลเซียส)
|
มากกว่า 6 เดือน
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น