นับลูกดิ้น เช็กความผิดปกติ
อีกหนึ่งความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ก็คือลูกดิ้น เป็นความรู้สึกพิเศษที่ผู้หญิงท้องเท่านั้นจะเข้าใจได้ การดิ้นของลูกนอกจากเป็นการยืดเส้นยืดสายแล้ว สำหรับคุณแม่ยังเป็นการช่วยเตือถึงสุขภาพของลูกน้องได้อีกด้วย
การนับหรือสังเกตว่าลูกน้อย ในครรภ์ของคุณเตะหรือเปล่า สุดแสนจะง่ายดาย คุณจะได้รู้ว่าเทวดาหรือนางฟ้าน้อยๆ ในครรภ์ของคุณอยู่ดีมีสุขหรือเปล่า เป็นอะไรที่คุณสามารถทำเองได้ที่บ้านโดยไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลให้เสียเวลาและเสียสตางค์ สิ่งที่ดีสำหรับการสังเกตว่าลูกเตะบ่อยหรือเปล่าก็คือคุณจะได้รู้ว่าลูกในครรภ์มีการเคลื่อนไหวที่เพียงพอและเหมาะสมกับอายุครรภ์หรือเปล่า ถ้าไม่เป็นไปตามจังหวะปกตินั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกความผิดปกติ และคุณอาจจะต้องเริ่มปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์เพื่อเช็กอาการดังกล่าว
เริ่มนับตอนไหนดีน้า
ลองทำตารางนับการเตะหรือขยับตัวของลูกดู เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการนับคือเวลาที่ลูกตื่นตัวที่สุดซึ่งเวลาที่ว่านี้คุณแม่น่าจะรู้ดีที่สุด แต่จะให้ดีก็น่าจะเป็นเวลาที่คุณสามารถจะบันทึกได้ว่าลูกดิ้นประมาณวันละ 4 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น แต่ถ้าไม่สะดวกจะนั่งนานๆ ต้องทำงานหรือมีภาระทำให้ไม่สามารถนับได้บ่อยครั้งนักคุณหมอท่านแนะนำมาว่าให้นับลูกดิ้นเป็นเวลา 1 ชั่วโมง หลังอาหารเช้า กลางวัน และเย็น จากนั้นคุณก็เริ่มต้นนับการดิ้นหรือการเตะของลูกในวันต่อไปในเวลาเดิมที่คุณได้เริ่มต้นไว้ค่ะ และในระหว่างที่นับอยู่นั้นคุณอาจจะลองทานอาหารเล็กๆ น้อยๆ ไปด้วย คุณอาจจะสังเกตไปด้วยในระหว่างนั้นว่าลูกในครรภ์มีการตอบสนองอย่างไรต่ออาหารที่คุณทานเข้าไปนั้น เช่น ดิ้นมากกว่าและแรงกว่าปกติที่คุณไม่ทานอาหารหรือไม่
จะนับแล้วจ้า
ก่อนจะเริ่มนับให้คุณผ่อนคลายร่างกายก่อนให้เต็มที่ เดินสบายๆ แล้วออกกำลังกายเล็กๆ น้อยให้พอเส้นสายขยายออก เข้าห้องน้ำทำธุระให้เรียบร้อย นอนตะเเคงบนโซฟานุ่มสบาย หรือถ้าไม่อยากนอนคุณก็แค่นั่งผ่อนคลายบนโซฟา แล้วเริ่มจับเวลาตามที่กำหนด จากนั้นก็บันทึกจำนวนครั้งที่ลูกในครรภ์เตะค่ะ ในการขยับตัวแต่ละครั้งให้คุณแม่ลองใส่ใจและสังเกตเป็นพิเศษ และลองดูว่าลูกเตะกี่ครั้งในเวลาที่คุณเฝ้าสังเกตดูอยู่ ทำเครื่องหมายลงในตารางเมื่อลูกขยับตัวแต่ละครั้ง
ตารางที่ทำมาเพื่อสังเกตจำนวนครั้งในการขยับตัวของลูก เพื่อความสะดวกลองเริ่มทำเป็นรายสัปดาห์ดูค่ะ จากนั้นเมื่อได้หลายๆ สัปดาห์หรือเป็นเดือนแล้วคุณอาจจะนำตารางบันทึกการขยับตัวมาลองดูเปรียบเทียบบางครั้งคุณอาจจะพบความผิดปกติที่เกิดขึ้น หรือถ้าไม่พบ สิ่งที่คุณจะได้รับจากการบันทึกการขยับตัวในครั้งนี้ก็คือ ได้เรียนรู้พัฒนาการและทำให้ความสัมพันธ์ของคุณกับลูกยิ่งแน่นแฟ้นมากกว่าเดิม มันเหมือนกับว่าคุณสื่อสารกับลูกได้ใกล้ชิดขึ้น
ตัวอย่าง Kick Count Chart
Kick Count Chart
| |||||||
Week1.....
| |||||||
เวลา
|
จันทร์
|
อังคาร
|
พุธ
|
พฤหัส
|
ศุกร์
|
เสาร์
|
อาทิตย์
|
08.00 | |||||||
09.00 | |||||||
10.00 | |||||||
Note |
สิ่งสำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งที่คุณจะลืมไม่ได้เลยก็คือ ให้หมั่นคุยกับคุณหมอที่คุณฝากครรภ์ถึงอาการและความผิดปกติต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้น มีคำถามอะไรอย่าเก็บไว้ในใจคนเดียว และถ้าคุณดูรวมๆ แล้วพบว่าลูกคุณมีการเคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ หรือการขยับเคลื่อนไหวนั้นดูไม่แข็งแรงเท่าที่ควรจะเป็น อย่ารอช้าเชียวนะ ให้รีบปรึกษาคุณหมอเพื่อหาทางแก้ไขก่อนที่มันจะสายเกินไปนะ
นับลูกดิ้น ยังไงดีนะ
นพ. พันศักดิ์ ศุกระฤกษ์ ให้ความรู้เรื่องการนับการดิ้นของลูกในครรภ์ไว้ว่า วิธีการฝึกการนับลูกดิ้นนั้นฝึกได้ดังนี้คือ นับลูกดิ้นเป็นเวลา 1 ชั่วโมงหลังอาหารเช้า กลางวัน และเย็น ถ้าดิ้นรวมกันมากกว่า 10 ครั้ง ถือว่าดิ้นปกติ หรืออีกวิธีหนึ่งให้เริ่มนับตั้งแต่ตื่นนอนว่าลูกดิ้นกี่ครั้งแล้วถ้านับการดิ้นได้ครบ 10 ครั้งแล้ว ก็หยุดนับได้ถือเป็นปกติ ทั้งสองวิธี การนับนั้นถ้าได้น้อยกว่า 10 ครั้ง ให้ไปพบแพทย์ที่ฝากครรภ์ในวันรุ่งขึ้น ส่วนการดิ้นแรงหรือดิ้นเบานั้นเป็นเรื่องของความรู้สึก ขอให้ดิ้นก็พอแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น