Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ผ่าตัดคลอด VS คลอดปกติ

ผ่าตัดคลอด VS คลอดปกติ
 
 
 
ผ่าตัดคลอด VS คลอดปกติ





เมื่อวันครอบกำหนดคลอดใกล้เข้ามาคุณแม่ตั้งครรภ์มัก มีความสงสัยเรื่องวิธีการคลอด ว่าจะคลอดวิธีไหนดี ระหว่างการคลอดปกติ (Normal Labor) หรือ การผ่าตัดคลอด (Cesarean Section) โดยคำตอบที่ได้จากแพทย์แต่ละท่านก็แตกต่างกันไปตามความเชื่อและประสบการณ์ของแพทย์แต่ละท่าน


โดยปกติแพทย์จะแนะนำให้คลอดปกติเองก่อน ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ส่งเสริมให้เกิดการคลอดเองตามธรรมชาติก่อน เพราะเชื่อว่าเสียเลือดน้อย ฟื้นตัวไว และกลับสู่ภาวะปกติได้เร็ว โอกาสของการคลอดได้เองสูงร้อยละ 80 - 90 และได้กำหนดอัตราการผ่าตัดคลอดไว้ว่าไม่ควรเกินร้อยละ 15 ซึ่งยึดเป็นหลักปฏิบัติ โดยเฉพาะโรงพยาบาลรัฐ แต่ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนไป หญิงตั้งครรภ์ต้องการความสะดวกสบายเพิ่มขึ้น ต้องการฤกษ์วันคลอดที่แน่นอน ประกอบกับอยากคลอดชนิดที่ไม่ต้องมีอาการเจ็บปวดมาก จึงเป็นเหตุให้สถานการณ์การผ่าตัดคลอดในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นทุกปี เช่นในประเทศที่เจริญแล้วอย่างอเมริกามีอัตราการผ่าตัดคลอดร้อยละ 32 ขณะที่ประเทศจีนมีอัตราการผ่าตัดคลอดสูงถึงร้อยละ 46

ในประเทศไทยเองอัตราการผ่าคลอดจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 34 โดยรัฐบรรจุเข้าสู่แผนพัฒนาประเทศ มุ่งลดอัตราการผ่าคลอด เพื่อลดรายจ่ายของประเทศ เพราะการผ่าตัดคลอดใช้วัสดุ อุปกรณ์ เวชภัณฑ์ และกำลังคนที่มากกว่าการคลอดปกติ เป็นที่มาของรายจ่ายสำหรับการคลอดที่สูงขึ้น โดยปกติการผ่าคลอดควรมีข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้ เช่น มีภาวะผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกและอุ้งเชิงกราน (Cephalopelvic disproportion:CPD) ทำให้เด็กไม่สามารถลอดผ่านเชิงกรานแม่ออกมาได้ มีความผิดปกติชองรก เช่น รกเกาะต่ำ ขวางทางออกของทารก (Placenta previa) หรือ รกลอกตัวก่อนกำหนด (Placental abruption) ทำให้มีการตกเลือดก่อนคลอด มีภาวะแทรกซ้อนที่ต้องทำให้คลอดโดยเร็ว เช่น สายสะดือย้อย (Umbilical cord prolapsed) ทารกอยู่ในภาวะวิกฤต เสียงหัวใจลูกเต้นช้าผิดปกติ (Fetal distress) ภาวะความดันโลหิตสูง ครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรง หรือ มีการแตกของมดลูก (Uterine rupture) มีการคลอดที่เนิ่นนาน (Prolong of labor) หรือประสบความล้มเหลวจากการชักนำคลอด (Failure induction) ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าขวาง (Transverse lie), ท่าก้น (Breech presentation) หรือครรภ์แฝด มารดาเคยผ่าตัดคลอดมาก่อน (Previous cesarean section) หรือเคยผ่าตัดมดลูกจนทะลุเข้าไปชั้นเยื่อบุโพรงมดลูก (Previous uterine scare) ซึ่งเสี่ยงต่อการแตกของมดลูกหากมีการคลอดเองเกิดขึ้น นอกจากนี้การติดเชื้อของมารดา เช่น มารดาเป็นโรคเริมที่อวัยวะเพศขณะเข้าสู่ระยะคลอด ซึ่งสามารถติดต่อสู่ลูกน้อยผ่านการคลอดทางช่องคลอดจะเห็นว่าข้อบ่งชี้บางข้อในแต่ละโรงพยาบาล อาจตั้งไว้ไม่เหมือนกัน ขึ้นกับความพร้อมของบุคคลากร และเครื่องมือของแต่ละโรงพยาบาล

ดังนั้นในโรงพยาบาลที่ค่อนข้างมีแนวปฏิบัติอย่างเคร่งครัดก็จะไม่ผ่าตัดให้ถ้าไม่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดดังกล่าว แต่ก็มีอีกหลายๆโรงพยาบาลที่สามารถผ่าตัดคลอดได้ ตามความต้องการของหญิงตั้งครรภ์ ในกรณีหลังถ้าเลือกได้ จึงค่อยมาพิจารณาข้อดีข้อเสียของการคลอดปกติและผ่าตัดคลอด ส่วนหัตถการการช่วยคลอด เช่น การใช้ครีมหรือเครื่องดูด จะใช้ช่วยคลอดในกรณีที่แรงเบ่งของแม่ไม่ดี มีการคลอดระยะที่สองเนิ่นนาน เมื่อพิจารณาแล้วว่าสามารถคลอดได้ทางช่องคลอด

การผ่าตัดคลอด VS การคลอดปกติ
1. ระยะเวลาการคลอดปกติมักรอให้มีการเข้าสู่ระยะคลอดตามธรรมชาติ จึงไม่สามารถระบุหรือกำหนดวันที่หรือเวลาที่แน่นอนได้ และระยะเวลาในการรอคลอดท้องแรกและท้องหลังก็มีความแตกต่างกัน ทำให้ไม่สามารถเด็ก เนื่องจากการผ่าตัดผู้ป่วยแต่ละรายไม่สามารถคาดเดาได้ ว่าจะมีพังพืดมากน้อยเพียงใด การรีบเร่งเพื่อให้ได้ฤกษ์ตามที่คนไข้ขอ อาจทำให้เกิดอันตรายจากการผ่าตัดทั้งต่อแม่และเด็ก เช่นรีบกรีดจนไปโดนอวัยวะข้างเคียงหรือส่วนของทารกในครรภ์ ดังนั้นควรกำหนดเป็นช่วงเวลาอย่างน้อย 5-10 นาที การผ่าตัดคลอดต้องมีการยืนยันอายุครรภ์ที่แน่นอนจากการตรวจอัลตร้าซาวนด์ เพื่อป้องกันการคาดเคลื่อนของประจำเดือน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผ่าตัดคลอดเอาเด็กไม่ครบกำหนดออกมาได้ โดยปกติอายุครรภ์ที่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดคลอดอยู่ที่ประมาณ 38 สัปดาห์ (เผื่อ 1 สัปดาห์ จากอยุครรภ์ที่ครบกำหนด 37 สัปดาห์) บางกรณีเช่น รกเกาะต่ำ อาจมีการนัดผ่าตัดเร็วขึ้นเพื่อป้องกันการตกเลือด จากการที่มดลูกบีบตัวของมดลูก เมื่อเข้าสู่ระยะคลอด
2.อาการปวดการคลอดปกติ เมื่อถึงระยะก้าวหน้าของการคลอด (Active phase) มดลูกจะมีการบีบตัวที่แข็งและถี่ขึ้น เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวด ช่วงนี้จึงมักให้ยาแก้ปวด โดยมากใช้กลุ่มยาฉีดแก้ปวด เช่น เพทิดิน (Pethidine)หรือ มอร์ฟีน (Morphine) ที่อาจทำให้ง่วงซึม หรือคลื่นไส้อาเจียนหลังการให้ยา บางรายที่กลัวเรื่องปวดมาก อาจใช้วิธีบล็อกหลัง (Painless labor) ซึ่งมีฤทธิ์ลดอาการปวดได้ดีกว่ายาฉีด แต่ก็มีข้อเสียคือ อาจทำให้ไม่มีแรงเบ่งตามธรรมชาติ เนื่องจากยาบล็อกหลังอาจไปกดการทำงานของระบบสั่งการของกล้ามเนื้อสำหรับการเบ่งคลอด จนอาจต้องเพิ่มการใช้เครื่องมือในการช่วยคลอด เช่น การใช้ครีมดึง (Forceps) หรือเครื่องดูด (Vacuum) และหลังคลอดอาจมีอาการปวดตึงๆ แผลอยู่ 2-3 วัน ขึ้นอยู่กับขนาดการฉีกขาดของแผลที่ช่องคลอด แต่การผ่าตัดคลอด จะนัดผ่าในช่วงที่ยังไม่มีอาการปวด และใช้วิธีบล็อกหลัง (Spinal or Epidural block) หรือการดมยาสลบ (General anesthesia) ขึ้นกับสภาพคนไข้และการพิจารณาตามความเหมาะสมของหมอดมยา ซึ่งปัจจุบันการดมยาสลบจะใช้ในกรณีที่ฉุกเฉินจริงๆเท่านั้น เพราะต้องรีบผ่าตัด เพื่อไม่ให้แก๊สดมยาสลบผ่านจากแม่ไปมีผลต่อการหายใจของลูกในท้อง ดังนั้นวิธีการบล็อกหลังจึงมีการใช้แพร่หลายที่สุดในปัจจุบัน และสามารถเติมยาแก้ปวดร่วมเข้าไปในขณะบล็อกหลัง ทำให้มีฤทธิ์ แก้ปวดต่อเนื่องได้อีกระยะหนึ่งในช่วงหลังคลอด (8-12 ชั่วโมง)
3. ค่าใช้จ่ายแน่นอนการคลอดเองแม่เบ่งเอง หมอทำคลอดหนึ่งคน ผู้ช่วยอีกหนึ่งคน เครื่องไม้เครื่องมือก็ไม่ได้มีอะไรที่สิ้นเปลืองมาก ใช้แต่ไหมเย็บแผล ราคาจึงถูกกว่าการผ่าตัดคลอดอย่างแน่นอน ในขณะที่การผ่าตัดคลอดต้องใช้ทั้ง ทีมหมอดมยา ทีมหมอผ่าตัด ทีมพยาบาลช่วยการผ่าตัด เครื่องมือ หรืออุปกรณ์สิ้นแปลืองก็มากกว่า ทั้งไหมเย็บแผล ยาชา ยาปฏิชีวนะ ดังนั้น ค่าใช้จ่ายของการผ่าตัดคลอดจึงสูงกว่าการคลอดปกติ ประมาณ 1-2 เท่า
4. เกี่ยวกับทารกเด็กที่ผ่านการคลอดปกติทางช่องคลอด ลูกจะได้รับการไล่น้ำในปอด ในขณะที่ทรวงอกของทารกผ่านช่องคลอดแม่ ซึ่งเป็นผลดีต่อการหายใจ ทำให้ถุงลมในปอดทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าสได้ดี แต่ในเด็กที่ผ่าตัดคลอด ไม่ได้ผ่านขบวนการดังกล่าว อาจทำให้มีการค้างของน้ำในปอด ซึ่งอาจมีผลต่อการหายใจของทารกในระยะแรกได้ (Transient tachypnia of the newborn: TTN) ศีรษะของเด็กที่ผ่านการคลอดปกติทางช่องคลอด จะเรียวยาว เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหนังศีรษะเพื่อให้ลอดเชิงกรานแม่ออกมาได้ และจะกลับสู่ภาวะปกติ ใน 1-2 วันหลังคลอด ขณะที่เด็กที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอด ศีรษะจะค่อนข้างกลมปกติ
การเกิดสายสะดือพันคอ หรือสายสะดือถูกกดทับ หรือภาวะมดลูกบีบตัวมากกว่าปกติ และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการเต้นของหัวใจทารกผิดปกติ มักเกิดจากการคลอดปกติทางช่องคลอดมากกว่า การเกิดภาวะดังกล่าวจะทำให้เลือดไปเลี้ยงลูกได้น้อยลง ซึ่งถ้าไม่ได้รับการแก้ไขได้ทันท่วงที อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิต
5. ภาวะแทรกซ้อน หรือผลในอนาคตการผ่าตัดคลอด ไม่ได้ยืนยันว่าปลอดภัยร้อยเปอร์เซนต์ การผ่าตัดคลอดอาจจะมีผลข้างเคียงจากการบล็อกหลัง เช่น บล็อกในระดับที่สูงเกินไป จนทำให้กล้ามเนื้อหายใจไม่ทำงาน (High block) การผ่าตัดอาจเกิดอันตรายต่ออวัยวะข้างเคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ โดยเฉพาะการผ่าตัดซ้ำในท้องหลัง ที่อาจเกิดพังพืดจากการผ่าตัดในครั้งก่อน อันตรายจากการแพ้ยา การให้เลือด เพราะการผ่าตัดคลอดมีโอกาสใช้ยามากกว่า และโอกาสเสียเลือดสูงกว่าการคลอดปกติ (ปกติการคลอดปกติเสียเลือดประมาณ 300 มิลลิลิตร การผ่าตัดคลอดเสียเลือดประมาณ 500 มิลลิลิตร) การผ่าตัดคลอดทำให้ท้องต่อไปควรต้องมีการผ่าตัดคลอดซ้ำ ซึ่งควรเว้นระยะห่างของการมีบุตรไว้อย่างน้อย 1-2 ปีขึ้นอยู่กับชนิดของการผ่าตัด เพื่อมดลูกได้พักตัว ส่วนผ่าตัดได้กี่ครั้งไม่มีใครกำหนดไว้ตายตัว ขึ้นอยู่กับปริมาณพังผืดที่เกิดขึ้น ควรสอบถามจากแพทย์ที่ผ่าตัด ถ้าแพทย์บอกว่าพังผืดมาก การผ่าตัดครั้งต่อไปความเสี่ยงก็จะสูงขึ้น (โดยปกติแพทย์แนะนำให้ผ่าตัด 2 ครั้ง ครั้งที่ 3 สงวนไว้กรณีที่มีความจำเป็น เช่นยังไม่ได้เพศที่ต้องการ ผ่าตัดครั้งที่ 4-5 แพทย์ส่วนใหญ่ไม่แนะนำ) แผลผ่าตัดปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นแผลแบบบิกินนี่ ซึ่งหายแล้วบางครั้งแถบมองไม่เห็นแผล และมีความตึงของแผลน้อย ทำให้ไม่ค่อยมีผลต่อการทำงานหรือทำกิจกรรมในอนาคต ข้อดีอีกอย่างของการผ่าตัดคลอดคือ ถ้าต้องการทำหมัน สามารถทำได้เลยระหว่างผ่าตัดคลอด โดยไม่ต้องเปิดแผลเพิ่ม ขณะที่การคลอดปกติ ถ้าต้องการทำหมัน ต้องทำหลังคลอดเสร็จ โดยมีการเปิดแผลบริเวณใต้สะดือเพิ่ม เพื่อเข้าไปผูกและตัดท่อนำไข่ในช่องท้อง
การคลอดเองไม่ได้ปลอดภัย ร้อยเปอร์เซนต์เช่นกัน โอกาสเกิดอันตรายขณะคลอดก็มีไม่น้อย เช่น อันตรายจากการใช้ยากระตุ้นการบีบตัวของมดลูก (Oxytocin) สายสะดือพันคอ หรือถูกกดทับทำให้เลือดไปเลี้ยงทารกน้อยลง เสียงหัวใจลูกผิดปกติ อาจต้องได้รับการผ่าตัดแบบฉุกเฉิน หรือการที่ทารกตัวโต อาจตามมาด้วยปัญหาการคลอดที่เนิ่นนาน คลอดยาก ติดไหล่ ซึ่งเกิดอันตรายต่อ อวัยวะต่างๆ ของทารกได้ รวมถึงการฉีกขาดของทางคลอด ทั้งปากมดลูกและช่องคลอด รวมถึงลำไส้ส่วนล่าง ( rectum) ถ้าบาดแผลฉีกขาดค่อนข้างลึกมาก การคลอดทางช่องคลอดอาจทำให้อวัยวะในอุ้งเชิงกราน มดลูก ผนังช่องคลอดทางด้านหน้า และด้านหลัง เกิดอาการหย่อนตัว ถ้าไม่ได้รับการฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้ถูกวิธี อาจมีปัญหาะระยะยาวในเรื่องของการขับถ่ายทั้งปัสสาวะและอุจจาระ รวมถึงการมีเพศสัมพันธุ์ ที่เรียกว่า กระบังลมหย่อนไดด้ในอนาคต



จะเห็นได้ว่าการคลอดทั้งสองแบบก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียต่างกัน ขึ้นกับว่าคุณแม่ให้ความสำคัญกับข้อใดมากกว่ากัน และขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอนาคตด้วย

โดย นพ.นิวัฒน์ อรัญญาเกษมสุข
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น