มะเร็งรังไข่...ป้องกันได้ด้วยการตรวจ
‘มะเร็ง’ เป็นดั่งภัยเงียบของผู้คนในสมันนี้ เพราะว่ามะเร็งบางชนิดไม่มีสัญญาณหรืออาการบ่งบอก มารู้ตัวอีกทีก็สายไปเสียแล้ว เนื่องจากลุกลามจนถึงขั้นเลวร้าย แล้วการรักษาก็ค่อนข้างจะยุ่งยาก เพราะอาศัยการรักษาด้วยการผ่าตัดธรรมดาคงจะไม่ได้ ต้องอาศัยการรักษาอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น การฉายแสง การใช้ยาเคมีบำบัด เป็นต้น แต่ถึงกระนั้นก็ใช่ว่าจะหายขาดได้เสมอไป อาจทำได้แค่ประทังไว้ไปเท่านั้น ดังนั้นการตรวจหามะเร็งเสียแต่เนิ่นๆ จึงมีความจำเป็นในปัจจุบัน
หนึ่งในมะเร็งที่เกิดขึ้นมากกับผู้หญิงก็ คือ มะเร็งรังไข่ แต่ไม่ใช่มะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ก็เพราะสามารถตรวจได้ง่าย พียงแค่ดูด้วยอัลตราซาวนด์ก็รู้ได้แล้ว ดังนั้นในผู้หญิงอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปขอแนะนำให้ตรวจอัลตราซาวนด์ปีละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย เพื่อตรวจดูรังไข่ที่มีอยู่ในท้องน้อย ซึ่งหากตรวจดูด้วยการตรวจภายในโอกาสที่จะพลาดคือไม่รู้นั้นมีสูงมาก เพราะถ้าเนื้องอกนั้นมีขนาดเล็กน้อยกว่า 3 เซนติเมตรจะไม่สามารถรู้ได้เลย แต่ถ้าอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอดเป็นดีที่สุด เพราะมีขนาดเล็กแค่ 3 เซนติเมตรก็สามารถรู้ได้
จากนั้นเมื่อเห็นด้วยอัลตราซาวนด์แล้ว ก็ใช่ว่ามันจะเป็นมะเร็งเสมอไป แต่บอกได้เลยว่าส่วนมากแล้วไม่ใช่มะเร็งของรังไข่ แต่ก็ต้องติดตามผลต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อดูว่ารังไข่นั้นโตขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ ถ้าหากโตขึ้นก็ต้องว่ากันต่ไป แต่ถ้าไม่โตขึ้นหรือมีขนาดเล็กลงอาจเป็นซีสต์ของรังไข่ได้ แบบนี้ก็ไม่น่าห่วงเท่าไร แต่ก็ต้องเฝ้าดูกันต่อไป หรือตรวจด้วยการตรวจเลือดที่หาตัวที่เกี่ยวกับมะเร็ง เช่น Ca-125 มีค่าขึ้นสูงก็ต้องผ่าตัดเอาเนื้องอกออกมาดูด้วยตา และส่งตรวจทางพยาธิต่อไป และถ้าไม่ใช่มะเร็งก็แล้วไป แต่ถ้าใช่ก็ต้องรักษากันตามขั้นตอน
อย่างที่บอก ว่ามะเร็งของรังไข่เป็นภัยเงียบถ้าไม่ตรวจเลยก็จะไม่รู้ จนกว่าจะเป็นมากแล้ว ที่เป็นมาก หมายความว่าเป็นขั้นที่รักษาไม่หายแล้ว อย่างไรก็ตามการรักษามะเร็งนั้น ในปัจจุบันมีแพทย์เฉพาะทางมะเร็ง เพราะแพทย์เฉพาะทางเหล่านี้จะรู้วิธีการรักษาอย่างถูกต้อง อย่างน้อยก็ดีกว่าแพทย์ทั่วไปๆ ซึ่งรู้กว้างแต่รู้ไม่ลึก อย่างไรก็ดี สุดท้ายนี้ขอเตือนคุณแม่ทุกคนหมั่นตรวจหามะเร็งต่างๆ โดยเฉพาะมะเร็งที่พบได้ง่าย และตามหาไม่ยากเท่าใดอย่างมะเร็งรังไข่นี้
ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่
• จำนวนการตกไข่ที่เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
•การทานอาหาร มะเร็งรังไข่มักจะสัมพันธ์กับอาหารประเภทไขมัน และโปรตีน (เนื้อสัตว์)
การตรวจวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ - กว่า 75% ของผู้ที่เป็นมะเร็งมักที่จะตรวจพบก็เมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายแล้ว มะเร็งชนิดนี้จึงน่ากลัวและทำการบำบัดรักษาได้ยากดังนั้นผู้หญิงควรที่จะมีการตรวจสุขภาพโดยเฉพาะการตรวจหามะเร็งรังไข่ก่อนที่จะสายเกินไป
อาการ - จะปวดที่บริเวณท้องน้อย มีการบวมที่ท้องมะเร็งรังไข่มักจะเชื่อมต่อกับมะเร็งอีกหลายชนิด ดังนั้นควรที่จะตรวจวินิจฉัยหาเซลล์มะเร็งหลายๆ ชนิดไปพร้อมกันด้วย อย่างเช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่มะเร็งผนังมดลูก และมะเร็งปากมดลูก
วิธีตรวจ
- การตรวจด้วยวิธีเอ็มอาร์ไอ
- ทำอัลตราซาวนด์บริเวณภายในเชิงกราน และภายในอวัยวะเพศ
การตรวจเลือดหาตัวบ่งชี้มะเร็ง
- ตัวบ่งชี้มะเร็ง CA-125 ระดับผิดปกติอยู่ที่ 35 U/L ทั้งนี้หากพบค่า CA-125 มากกว่าระดับผิดปกติ 2 เท่าควรเข้ารับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ตรวจโซโนแกรม และทำ CT สแกน
- ตัวบ่งชี้มะเร็ง AFP และ BHCG
- ตัวบ่งชี้มะเร็ง CA19-9 และ CEA จะช่วยบ่งชี้มะเร็งที่มีลักษณะเป็นเยื่อเมือก ซึ่งค่า CA125 ยังไม่ปรากฏ
ที่มา :: http://www.pregnancysquare.com/momlife/first-pregnancy/12/มะเร็งรังไข่ป้องกันได้ด้วยการตรวจ/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น