Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โรคกระเพาะอาหารในคุณแม่ตั้งครรภ์

โรคกระเพาะอาหารในคุณแม่ตั้งครรภ์
 
 
โรคกระเพาะอาหารในคุณแม่ตั้งครรภ์





โรคกระเพาะอาหารหรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า Peptic Ulcer คือ การเป็นแผลบริเวณกระเพาะอาหารหรือเกิดเป็นแผลที่บริเวณลำไส้เล็กส่วนต้นซึ่งอยู่ติดกับกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื้อรัง คือ หลังจากการรักษาแผลให้หายแล้ว ก็มักจะกลับมาเป็นแผลอีกไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ปัจจุบันเชื่อว่าโรคกระเพาะอาหารมีผลมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร หรือ H. Pylori


อาการของโรคกระเพาะอาหารส่วนใหญ่มีอาการปวดท้องบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ มีอาการจุก เสียด แน่น เจ็บแสบหรือร้อน อาการจะสัมพันธ์กับการกิน หรือชนิดของอาหาร เช่น อาจปวดมากตอนหิวเมื่อรับประทานอาหารอาการจะทุเลาลง แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดมากขึ้นหลังอาหาร โดยเฉพาะหากรับประทานอาหารรสจัด เป็นต้น


สำหรับในคุณแม่ตั้งครรภ์นั้น มักจะมีอาการคล้ายโรคกระเพาะอาหารหรือ Heartburn คือ มีอาการแสบบริเวณลิ้นปี่ เรอเปรี้ยว และอาจมีความรู้สึกขมที่ลิ้น ความเจ็บปวดมักเกิดขึ้นในอก และอาจกระจายถึงคอ เป็นสาเหตุของอาการเจ็บคอและอาการไอเรื้อรังได้ ซึ่งในหญิงตั้งครรภ์ส่วนมากแล้วเกิดจากการที่มีฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว ซึ่งกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารก็ได้รับผลกระทบด้วย ดังนั้นจึงอาจมีน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารและระคายเคืองหลอดอาหารจนคุณแม่รู้สึกแสบบริเวณลิ้นปี่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 6-12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ และในช่วงใกล้คลอด





กรณีเช่นนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์เพียงแต่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารเท่านั้น ก็จะช่วยให้อาการทุเลาลงได้ คือ



1. รับประทานอาหารทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง

2. รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย

3. รับประทานอาหารตรงตามเวลาทุกมื้อ

4. เคี้ยวอาหารให้ละเอียดทุกคำก่อนกลืน

5. ไม่รับประทานให้อิ่มมากจนเกินไป

6. ไม่นอนทันทีหลังรับประทานอาหาร

7. งดอาหารรสเผ็ด กาแฟ ช็อกโกแลต อาหารรสเปรี้ยวจัด ของดอง และน้ำอัดลม

8. ลดอาหารไขมันสูงซึ่งย่อยยาก แต่ยังคงรับประทานอาหารที่มีไขมันเล็กน้อย เพราะไขมันจะช่วยยับยั้งการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหาร และยังช่วยนำพาวิตามินที่ละลายในไขมัน

9. ระวังการดื่มน้ำปริมาณมากพร้อมหรือหลังอาหารทันที ให้พยายามดื่มน้ำให้พอเพียงระหว่างมื้ออาหารแทน

10. หากอาหารไม่ทุเลา สามารถรับประทานยาลดกรดตามแพทย์สั่งได้


อย่างไรก็ตาม ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการของโรคกระเพาะอาหารเรื้อรังมาก่อนตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ระบบทางเดินอาหารอย่างสม่ำเสมอ และหลังคลอดควรเข้ารับการตรวจรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม

ในปัจจุบันการตรวจหาเชื้อ H. Pylori สามารถทำได้โดยวิธีการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารแล้วตัดเนื้อเยื่อบุกระเพาะอาหารมาตรวจหาเชื้อ H. Pylori หากพบว่ามีการติดเชื้อ แพทย์จะให้ยาลดการหลั่งกรด ร่วมกับยาปฏิชีวนะ เป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ และนัดมาทำการตรวจติดตามผล หากตรวจไม่พบเชื้อ H. Pylori เมื่อ 4 สัปดาห์หลังจากหยุดรักษาจึงจะถือว่าการรักษาได้ผล




โดย นพ. มรว.ทองทิศ ทองใหญ่
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น