วีซ่าพำนักระยะยาวในประเทศสวิตเซอร์
วีซ่าพำนักระยะยาว
หากท่านประสงค์ที่จะพำนักอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มากกว่า 90 วัน ท่านควรยื่นขอวีซ่าประเภทพำนักระยะยาว
การพำนักอยู่มากกว่า 90 วัน ไม่ใช่วีซ่าเชงเก้งและไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในข้อตกลงเชงเก้น
ประเภทของวีซ่าระยะยาวมีดังต่อไปนี้
- ติดตามไปอยู่อาศัยกับครอบครัว ซึ่งจะพำนักระยะยาว
- ศึกษาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ระยะยาว
- คู่สมรสของชาวสวิส ซึ่งจะพำนักระยะยาว
- คู่สมรสของพลเมืองสหภาพยุโรป ซึ่งจะพำนักระยะยาว
โปรดทราบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2 553เป็นต้นไป บุคคลผู้ถือหนังสือเดินทางทูตของประเทศไทย (Thai diplomatic passport) ที่ต้องการเดินทางไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพียงระยะสั้น (ไม่เกิน 90 วัน) สามารถเดินทางได้เลย ไม่จำเป็นต้องทำการสมัครขอวีซ่า แต่ยังต้องทำการสมัครขอวีซ่าในกรณีที่ต้องการเดินทางมากกว่า 90 วัน (วีซ่าระยะยาว)
สถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจำประเทศไทยรับผิดชอบเป็นตัวแทนในการออกวีซ่าสำหรับพำนักระยะสั้น ให้กับประเทศลิกเตนสไตน์
บุคคลสัญชาติอื่น
บุคคลบางสัญชาติ ที่ได้รับการยกเว้นการขอวีซ่าเชงเก้น สำหรับวีซ่าพำนักระยะสั้น หรือ วีซ่าเดินทางผ่านราชอาณาจักร
- พลเมืองสัญชาติยุโรป ซึ่งมี 27 ประเทศสมาชิกรวมถึง ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ และนอร์เวย์
- พลเมืองบางสัญชาติที่มีวัตถุประสงค์เพื่อท่องเที่ยวหรือเพื่อธุรกิจ (ไม่อนุญาตให้มีการจ้างงานในเขตเชงเก้น) ซึ่งจะพำนักน้อยกว่า 3 เดือนไม่จำเป็นต้องขอวีซ่า (สัญชาติที่ไม่ต้องขอวีซ่า)
- ผู้ถือหนังสือเดินทางLaisser Passer ขององการสหประชาชาติ (United Nations ) นั้นไม่ว่าจะเป็นบุคคลสัญชาติใดก็ตาม ไม่จำเป็นต้องทำการขอวีซ่าเพื่อเดินทางเข้าเขตประเทศสวิตเซอร์แลนด์
สัญชาติ แอลเบเนีย และ บอสเนีย
ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2553 เป็นต้นไป (หนังสือเดินทางซึ่งบันทึกลักษณะเฉพาะทางชีวภาพของบุคคล) ของประเทศ แอลเบเนีย และ ประเทศบอสเนีย จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอวีซ่าประเภทพำนักระยะสั้น
สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางที่ไม่ใช่หนังสือเดินทางไบโอเมตริกซ์ จำเป็นต้องยื่นขอวีซ่าประเภทพำนักระยะสั้นตามข้อกำหนดเดิม
ข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับประเทศ แอลเบเนีย และ ประเทศบอสเนียนั้น ผู้ถือหนังสือเดินทางที่ไม่ใช่แบบไบโอเมตริกซ์ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอวีซ่าสำหรับ วีซ่าสนามบิน ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2553 เป็นต้นไป เช่นกัน
สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางที่ไม่ใช่หนังสือเดินทางไบโอเมตริกซ์ จำเป็นต้องยื่นขอวีซ่าประเภทพำนักระยะสั้นตามข้อกำหนดเดิม
ข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับประเทศ แอลเบเนีย และ ประเทศบอสเนียนั้น ผู้ถือหนังสือเดินทางที่ไม่ใช่แบบไบโอเมตริกซ์ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอวีซ่าสำหรับ วีซ่าสนามบิน ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2553 เป็นต้นไป เช่นกัน
ยื่นคำขอวีซ่าที่ไหน
วิธีดำเนินการขอวีซ่าที่สถานฑูตของตนเองอีกด้วย
- ถ้าท่านต้องการเดินทาง เพียงหนึ่งประเทศใน ประเทศเชงเก้น คุณควรยื่นคำร้องที่สถานฑูตหรือ สถานกงสุล ของประเทศนั้นๆ ที่ท่านจะเดินทางไป
- ถ้าคุณต้องการเดินทาง หลายประเทศในประเทศเชงเก้น คุณควรยื่นขอคำร้องที่สถานทูตหรือ สถานกงสุลของประเทศที่คุณจะพำนักอยู่นานที่สุด หรือประเทศจุดหมายปลายทางหลักพิจารณาจากวัตถุประสงค์การเดินทาง การเดินทางโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดต่อทางธุรกิจในเขตประเทศเชงเก้นจะได้รับการพิจารณาว่าเป็นประเทศจุดหมายปลายทางหลัก ในการรับคำร้องและการพิจารณามากกว่า วัตถุประสงค์เพื่อการเดินทางประเภท ท่องเที่ยว เยี่ยมญาติ หรือเดินทางส่วนตัว ในประเทศสมาชิกอื่นๆ
- ถ้าคุณต้องการเดินทางหลายประเทศในประเทศเชงเก้น แต่ยังไม่ทราบจุดหมายปลายทาง (ระยะเวลาที่พำนักในประเทศเชงเก้นต่างเท่ากันทุกประเทศ) คุณควรยื่นขอคำร้องที่สถานฑูตหรือ สถานกงสุลในประเทศที่คุณที่คุณพำนักเป็นประเทศแรก
แบบฟอร์มการสมัครเชงเก้นวีซ่า (สำหรับการสมัครวีซ่าและเอกสารสนับสนุนเพิ่มเติม)
การพำนักในเขตเชงเก้นรวมระยะเวลาทั้งหมดต้องไม่เกิน 3เดือนในช่วงระยะเวลา 6 เดือน สำหรับจุดประสงค์เพื่อการท่องเที่ยว, เยี่ยมเยียน ฯลฯ
- ภาษาเยอรมัน – ภาษาอิตาเลี่ยน
- ภาษาอังกฤษ – ภาษาเยอรมัน
- ภาษาฝรั่งเศส – ภาษาอังกฤษ
- ภาษาอารบิค – ภาษาฝรั่งเศส
- ภาษาจีน(แบบใหม่) - ภาษาฝรั่งเศส
- ภาษาจีน(ดั้งเดิม) – ภาษาฝรั่งเศส
- ภาษารัสเซีย – ภาษาเยอรมัน
- ภาษาสเปน – ภาษาฝรั่งเศส
- ภาษาโปรตุเกส – ภาษาฝรั่งเศส
- ภาษาตุรกี - ภาษาเยอรมัน
- ภาษาเซอร์เบีย – ภาษาเยอรมัน
- ภาษาอัลบาเนีย – ภาษาเยอรมัน
- ภาษาอารบิค – ภาษาอังกฤษ
วีซ่าระยะยาว (ประเภทD) แบบฟอร์มการสมัครวีซ่า
การพำนักระยะยาว (มากกว่า3เดือน) ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ (เช่นการจ้างงาน, การรวมตัวอยู่กับครอบครัว)
การพำนักระยะยาว (มากกว่า3เดือน) ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ (เช่นการจ้างงาน, การรวมตัวอยู่กับครอบครัว)
- ภาษาเยอรมัน – ภาษาอิตาเลี่ยน
- ภาษาอังกฤษ – ภาษาเยอรมัน
- ภาษาฝรั่งเศส – ภาษาอังกฤษ
- ภาษาอารบิค – ภาษาฝรั่งเศส
- ภาษาจีน(แบบใหม่) - ภาษาฝรั่งเศส
- ภาษาจีน(ดั้งเดิม) – ภาษาฝรั่งเศส
- ภาษารัสเซีย – ภาษาเยอรมัน
- ภาษาสเปน – ภาษาฝรั่งเศส
- ภาษาโปรตุเกส – ภาษาฝรั่งเศส
- ภาษาตุรกี - ภาษาเยอรมัน
- ภาษาเซอร์เบีย – ภาษาเยอรมัน
- ภาษาอัลบาเนีย – ภาษาเยอรมัน
- ภาษาอารบิค – ภาษาอังกฤษ
จดหมายเชิญสำหรับผุ้เยี่ยมเยียน
บริษัทประกันที่ได้รับการอนุมัติจากสถานทูตสวิสเซอร์แลนด์
จดหมายเชิญนั้นจะต้องใช้ในกรณีที่ผู้สมัครต้องการเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนหรือเยี่ยมญาติระยะสั้น และจะมีการเข้าพักที่อพาร์ทเม้นท์หรือบ้านของบุคคลดังกล่าว
สหภาพยุโรป
ตอบลบประเทศดังต่อไปนี้เป็นประเทศที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป
•กรีซ
•ไซปรัส
•เดนมาร์ก
•เนเธอร์แลนด์
•บัลแกเรีย
•เบลเยียม
•โปรตุเกส
•โปแลนด์์
•ฝรั่งเศส
•ฟินแลนด์
•มอลต้า
•เยอรมัน
•โรมาเนีย
•ลักเซมเบิร์ก
•ลัตเวีย
•ลิทัวเนีย
•สหราชอาณาจักร
•สวีเดน
•สาธารณรัฐเช็ก
•สเปน
•สโลวะเกีย
•สโลวีเนีย
•ออสเตรีย
•อิตาลี
•ไอร์แลนด์
•เอสโตเนีย
•ฮังการี
.
สัญชาติที่ไม่ต้องขอวีซ่าเชงเก้นในกรณีพำนักระยะสั้น ไม่เกิน 3 เดือน เพื่อท่องเที่ยว เยี่ยมส่วนตัว หรือ ธุรกิจ
ตอบลบ•เอนโดรล่า
•แอนติกาและบาร์บูดา
•อาร์เจนติน่า
•ออสเตรเลีย
•บาร์เบโดส
•บราซิล
•บรูไนดารุสซาลาม
•แคนาดา
•ชิลี
•คอสตาริกา
•โครเอเชีย
•เอล ซัลวาดอร์
•กัวเตมาลา
•โฮลีซี (วาติกัน)
•ฮอนดูรัส
•อิสราเอล
•ญี่ปุ่น
•มาซิโดเนีย*
•ลิกเตนสไตน์
•มาเลเซีย
•หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา
•มอริเชียส
•เม็กซิโก
•โมนาโค
•มอนเตเนโกร*
•นิการากัว
•นิวซีแลนด์
•ปานามา
•ปารากวัย
•ซานมาริโน
•เซอร์เบีย*
•เซเชลส์
•สิงคโปร์
•เกาหลีใต้
•สหรัฐอเมริกา
•อุรุกวัย
•เวเนซุเอล่า
ผู้ถือหนังสือเดินทางจากเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ผู้ถือหนังสือเดินทางจากเขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ผู้ถือหนังสือเดินทางไต้หวัน ที่หมายเลขประจำตัวประชาชนถูกระบุไว้ในหน้าที่ 3 ของหนังสือเดินทาง
ผู้ถือใบอนุญาติการพำนักที่ฝรั่งเศสที่ยังมีอายุสามารถใช้การได้
ผู้ถือใบอนุญาติการพำนักที่ออกโดยประเทศที่ยึดปฎิบัติตามต่อข้อตกลงเชงเก้น
ผู้ถือเอกสารการเดินทางที่ออกโดยประเทศที่ยึดปฏิบัติตามต่อข้อตกลงเชงเก้น
ผู้ถือหนังสือเดินทางของBritish National Overseas
*หมายเหตุ : สำหรับผู้ที่ถือหนังสือเดินทางที่บันทึกข้อมูลทางชีวภาพเท่านั้น (Biometric Passport)
.
สิทธิการพำนักในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ตอบลบ- ผู้ที่สมรสกับชาวสวิสมีสิทธิอยู่ในสวิตฯได้โดยจะได้ใบอนุญาตพำนักประเภท บี (B-Ausweis) ซึ่งมีสิทธิในการทำงาน ขึ้นอยู่กับรัฐที่อยู่อาศัย และหลังจากได้ใบอนุญาตประเภท บี 5 ปีเต็มแล้ว จะได้ใบอนุญาตประเภท ซี (C-Ausweis)ต่อไป
- การยื่นคำร้องขอสัญชาติเมื่ออยู่ครบ 5 ปี ต้องยื่นขอจากอำเภอในเขตที่พักอาศัย อาจต้องใช้เวลานานพร้อมทั้งค่าธรรมเนียมที่ค่อนข้างสูง
- กรณีหญิงที่แต่งงานกับชายชาวสวิส ที่ใช้ชีวิตคู่ 3 ปีขึ้นไป และอยู่ในประเทศสวิตฯเป็นเวลาติดต่อกัน 5 ปี จะสามารถยื่นคำร้องขอสัญชาติได้(Gesuch um erleichterte Einbuergerung)
-หลังจากแต่งงานเรียบร้อยแล้ว หากมีความประสงค์จะนำบุตรที่เกิดมาจากสามีเดิมมาอยู่ที่สวิตช์ด้วยจะต้องยื่นคำร้องพร้อมใบรับรองสิทธิอำนาจในการปกครองบุตรแค่เพียงผู้เดียว (จากสามีเดิม)Sorgenrecht ต่อกรมตำรวจต่างด้าวก่อนจะไปรับบุตรมา เมื่อทางกรมตำรวจฯตรวจสอบเรียบร้อยแล้วจึงจะออกใบอนุญาตแก่บุตรต่อไป
- บุตรที่มีสิทธิมาอยู่กับมารดาได้นั้น ต้องมีอายุไม่เกิน 18 ปีเท่านั้น
- หญิงไทยที่มีสันชาติสวิสหรือมีใบอนุญาตพำนักประเภท ซี(C-Ausweis) แล้วมีความประสงค์รับบิดามารดาหรือคนใดคนหนึ่งมาอยู่สวิตช์ สามารถยื่นคำร้องต่อหน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองในเขตรัฐที่ตนอยู่อาศัยแต่ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
สำหรับBern นั้นมีโอกาสได้รับอนุญาตน้อยมากกรณีที่มีความจำเป็นจริงๆอาจทำคำร้องเพิ่มเติมจะสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับเหตุผลของการร้องเรียน
ผู้ที่สมรสกับชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
- ในกรณีของผู้ที่มีใบอนุญาตพำนักประเภทซี แล้วจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติซึ่งจะได้ใบอนุญาตพำนักประเภทบี และสามรถทำงานตามกฎหมายของรัฐที่อยู่อาศัย
- ในกรณีของผู้ที่มีใบอนุญาตพำนักประเภท บี จดทะเบียนสมรสครั้งใหม่กับชาวสวิสหรือต่างชาติที่มีใบอนุญาตพำนักในประเทศสวิตฯหลังจากการจดทะเบียนสมรส ต้องเริ่มใช้ใบอนุญาตพำนักประเภทบีใหม่(อาจมีข้อยกเว้น) ขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละรัฐและเริ่มนับเวลาใหม่
- ในกรณีของผู้มีวีซ่านักท่องเที่ยวแล้วประสงค์จะจดทะเบียนสมรสกับชายต่างชาติที่มีสิทธิพำนัก และมีอาชีพการงาน จะต้องยื่นคำร้องแสดงความจำนงที่จะนำภรรยาหรือสามีมาอยู่ในประเทศสวิตฯ(Familiennachzug)
ทางราชการจะมาตรวจสอบที่อยู่อาศัยและตรวจสอบด้านการเงินของผู้ร้องก่อนจะออกใบอนุญาตพำนักให้
.