Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2563

เวย์โปรตีน กับ โปรตีนสกัดจากพืช อย่างไหนดีกว่ากัน

 

เวย์โปรตีน กับ โปรตีนสกัดจากพืช อย่างไหนดีกว่ากัน

โปรตีนมีส่วนสำคัญกับโครงสร้างของร่างกายมนุษย์ นับได้ว่าเป็นสารอาหารหลักและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก เพราะว่าเราอาจจะได้กรดอะมิโนบางชนิดไม่เพียงพอจากการรับประทานอาหารตามปกติในชีวิตประจำวัน



โปรตีนมีอยู่ในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว เต้าหู้ และพืชบางชนิด


โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าได้รับกรดอะมิโนที่จำเป็นไม่เพียงพอ จะมีผลทำให้ร่างกายไม่สามารถเสริมสร้างหรือซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ





ดังนั้น จึงมีการรับประทานอาหารเสริมโปรตีนอย่างกว้างในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา และมีพัฒนาการในการเลือกวัตถุดิบชนิดต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตอาหารเสริมโปรตีนออกมาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโทย์ความต้องการของผู้บริโภค โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้วัตถุดิบหลักๆ ดังนี้



ภาพแสดง กระบวนการผลิตเวย์โปรตีน



1. เวย์โปรตีน
 เป็นโปรตีนที่สกัดจากหางนมที่เหลือจากกระบวนการผลิตเนยแข็ง โดยสกัด คาร์โบไฮเดรท ไขมัน เกลือแร่ออก เหลือแต่ส่วนที่เป็นโปรตีน ซึ่งมีโปรตีน ประมาณ 81.2
จากนั้น นำมาผ่านกระบวนการทำให้เป็นผง พร้อมชง

แต่ผลที่ตามมาของเวย์โปรตีนนั้น เนื่องจากผลิตจากนมสัตว์เป็นหลัก จึงมีผลทำให้แพ้ในกลุ่มคนที่แพ้นม ซึ่งคิดเป็น 74
% ของคนไทยทั้งหมด  บางรายทานเวย์โปรตีนไปแล้วอาจจะมีสิวขึ้นได้ รวมถึงเวย์โปรตีนมีไขมัน คอเลสเตอรอล และไม่เหมาะกับคนที่รับประทานเจ




2. โปรตีนสกัดจากพืช
 โปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเหลือง ถั่วพี มันฝรั่ง และข้าว โดยธรรมชาติจะให้กรดอะมิโนจำกัดชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดแตกต่างกัน เช่น ถั่วมีกรดอะมิโนไลซีนสูงแต่ให้กรดอะมิโนเมไธโอนีนต่ำ หรือ ข้าวมีกรดอะมิโนเมไธโอนีนสูง แต่ให้กรดอะมิโนไลซีนต่ำ

แต่เราสามารถแก้ปัญหากรดอะมิโนจำกัดของพืชแต่ละชนิดได้ง่ายๆ ด้วยการเลือกรับประทานอาหารเสริมโปรตีนสกัดจาก ถั่วพี ถั่วเหลือง มันฝรั่งและข้าว ซึ่งจะได้กรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน สามารถเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้เทียบเท่ากับเวย์โปรตีนแต่ปลอดภัยกว่าเวย์ ไม่พบปัญหาท้องอืด และไม่ต้องกังวลถึงปัญหาไขมันและคอเลสเตอรอลสูง


 


ขอบคุณข้อมูล นพ.สิทธวีร์ เกียรติชวนันท์, Success Magazine ปีที่ 3 ฉบับที่ 20

ขอบคุณภาพประกอบ : www.pixabay.com



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น