Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2565

วันจักรี 6 เมษายน ประวัติวันจักรี วันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์

 

วันจักรี 6 เมษายน ประวัติวันจักรี วันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์



วันจักรี (Chakri Memorial Day) ตรงกับวันที่ 6 เมษายนของทุกปี อันเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเสด็จปราบดาภิเษกขี้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีและเป็นวันครบรอบการก่อตั้งราชวงศ์จักรี ในวันนี้จึงถือเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งที่พวกเราชาวไทยควรให้ความระลึกถึง กว่าจะมาเป็นสยามได้ในทุกวันนี้

อ่านบทความ: ราชวงศ์จักรี และรายละเอียดทั้งหมด

DSC_0704_Cover-620x392

ความสำคัญของวันจักรี

วันจักรี (Chakri Memorial Day) คือ วันที่ระลึกถึงมหาจักรีบรมราชวงศ์ เป็นวันที่ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี อีกทั้งยังเริ่มก่อสร้างพระนครแห่งใหม่ในนาม กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ ที่นับว่าเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ถัดจากกรุงธนบุรี ซึ่งเมื่อครั้งที่กรุงธนบุรีเป็นราชธานีนั้น มีอาณาบริเวณรวมทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้เป็นเมืองหลวงที่มีแม่น้ำไหลผ่านกลางเมือง ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเปลี่ยนนามใหม่ จาก กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ เป็น กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ ซึ่งช่วงเวลาตั้งแต่ก่อตั้งกรุงเทพมหานครฯ เมื่อปี พ.ศ. 2325 มักเรียกกันว่า สมัยรัตนโกสินทร์ เช่นเดียวกันกับที่เคยเรียกยุคสมัยที่ผ่านมาในสยาม โดยพระเจ้าแผ่นดินในสมัยรัตนโกสินทร์นี้ได้สืบสันตติวงศ์ต่อเนื่องกันมาในราชวงศ์เดียวกันจนถึงปัจจุบัน มี 9 รัชกาล รวมระยะเวลาแล้วกว่า 234 ปี

จากบันทึกตามประวัติศาสตร์ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปของบูรพมหากษัตริย์ 4 พระองค์ (รัชกาลที่ 1 – รัชกาลที่ 4) ขึ้นประดิษฐานเอาไว้สำหรับให้พระมหากษัตริย์พระองค์ต่อๆ ไป ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนทั่วไปได้ถวายความเคารพสักการะ เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณเป็นธรรมเนียมปีละหนึ่งครั้ง และได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนสถานที่ประดิษฐานหลายต่อหลายครั้ง

จนมาถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เคลื่อนย้ายพระบรมรูปของบูรพมหากษัตริย์ 4 พระองค์มาไว้ ณ ปราสาทเทพบิดร ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ 5 พระชนกชาถ ซึ่งพระที่นั่งสำหรับประดิษฐานพระบรมรูปองค์นี้ รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดให้ซ่อมแซมจากพุทธปรางค์ปราสาทเพื่อการนี้โดยเฉพาะ และได้พระราชทานพระนามว่า ปราสาทเทพบิดร โดยได้มีการซ่อมแซ่มและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง 5 รัชกาลแล้วเสร็จในเดือนเมษายน พ.ศ. 2461 จากนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูปขึ้นในวันที่ 6 เมษายนปีเดียวกัน อีกทั้ยังโปรดให้เรียกวันที่ 6 เมษายนนี้ว่า วันจักรี

กิจกรรมที่นิยมปฏิบัติในวันจักรี

เนื่องในวันจักรี 6 เมษายนของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ จะเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ไปเป็นประธานในพิธีทางศาสนาประกอบการบำเพ็ญพระราชกุศลให้กับบูรพมหากษัตริย์ ณ พระอุโบสถ และจะทรงสักการะพระบรมรูป สมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์ ณ ปราสาทเทพบิดร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อจากนั้นจะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลา ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่ชานชาลา เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า

ในขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นิสิต นักศึกษา หน่วยงานรัฐบาลและเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปจากทุกสาขาอาชีพ ต่างพร้อมใจกันเข้าร่วมพิธีวางพวงมาลา และบำเพ็ญกุศลให้กับพระมหากษัตริย์ ผู้ที่ทรงอุทิศพระองค์เพื่อความสงบสุขของอาณาประชาราษฎรอย่างแท้จริง

นอกจากนั้น ในวันที่ 6 เมษายน ซึ่งเป็นวันจักรีของทุกปี รัฐบาลยังได้ประกาศเป็นวันหยุดราชการ แต่หากในปีใดที่วันจักรีตรงกับวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ ก็ให้หยุดชดเชยได้ในวันทำการวันต่อไป

b
ภาพประกอบ airportthai.co.th









1 ความคิดเห็น:

  1. ประวัติ วันจักรี


    การก่อตั้งราชวงศ์จักรี
    สำหรับประวัติวันจักรี โดยราชวงศ์จักรี เป็นราชวงศ์ถัดจากสมเด็จพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี ซึ่งปกครองราชอาณาจักรที่สืบทอดกรุงศรีอยุธยามาจนเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เกิดขึ้นจากการที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) ขุนนางซึ่งดำรงตำแหน่งสมุหนายก (จักรี) ในราชสำนักของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงยกทัพกลับ จากเขมรเพื่อเข้าปราบปรามการจลาจลในกรุงธนบุรี ภายหลังบ้านเมืองสงบเรียบร้อยแล้ว มุขอำมาตย์ราชมนตรีและราษฎรพร้อมใจอัญเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ (ภายหลังปรากฏพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 แล้วย้ายศูนย์กลางการปกครองจากกรุงธนบุรีมายังกรุงเทพมหานครตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 ซึ่งเป็นเมืองหลวงมาจนถึงปัจจุบัน


    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญ รุ่งเรืองเหมือนเมื่อครั้งบ้านเมืองยังดี ทรงฟื้นฟูการพระศาสนา พระราชภารกิจที่สำคัญยิ่งของพระองค์คือ ทรงสร้างพระนคร ป้อม ปราสาทราชมณเฑียร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชพิธีเฉลิมฉลองพระนคร พระราชทานนามพระนครที่สร้างใหม่นี้ว่า “กรุงเทพ มหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” (ใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนจากบวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์) และโปรดให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวไทยเป็น อเนกนานัปประการ

    ตอบลบ