Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565

President Obama and Prime Minster Yingluck

 

https://youtu.be/vIolISROJgc


President Obama and Thai Prime Minister Yingluck Shinawatra speak before an official dinner honoring President Obama's visit to Thailand. November 18, 2012.

https://youtu.be/xeKAWhabIEM


President Obama and Prime Minister Shinawatra of Thailand hold a press conference in Bangkok, Thailand. November 18, 2012


https://youtu.be/34enMRDXN4w

'ยิ่งลักษณ์' เปิดทำเนียบฯ ถกทวิภาคี'โอบามา' พร้อมจัดเลี้ยงต้อนรับเชิญแขกร่วมงาน โอกาสเยือนไทย 


เมื่อเวลาประมาณ 18.00 น.วันที่ 18 พ.ย.255 นายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และคณะเดินทางมายังทำเนียบรัฐบาล โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย นำประธานาธิบดีสหรัฐเดินตรวจแถวกองทหารเกียรติยศ ที่สนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า จากนั้นประธานาธิบดีสหรัฐลงนามในสมุดเยี่ยม และหารือระดับทวิภาคีเสร็นจแล้วได้แถลงข่าวร่วมกัน

              นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า หลังจากได้หารือกับประธานาธิบดีโอบามา จะทำให้มีการกระชับความสัมพันธ์และพัฒนาในหลายมิติ ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน พร้อมคาดหวังว่าไทยจะเข้าร่วมข้อตกลงยุทธศาสตร์เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ทีพีพี) รวมถึงเรื่องของการค้ามนุษย์ ที่นายกรัฐมนตรีมีความกังวล ซึ่งประธานาธิบดีโอบามารับปากที่จะหาแนวทางแก้ไขในเรื่องนี้
           
              ขณะที่ประธานาธิบดีโอบามา กล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีของไทย และกล่าวชื่นชมไทยที่จะก้าวสู่การเป็นประชาธิปไตย และมีการพัฒนาในเรื่องของประชาธิปไตยมาอย่างยาวนาน พร้อมระบุว่า เอเชียเป็นทวีปแรกที่เดินทางมาเยือน หลังได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐสมัยที่ 2 ซึ่งให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเชีย เพราะถือว่าเป็นภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจที่เติบโต ขณะเดียวกันระบุว่า มีความยินดีที่ได้เดินทางมาเยือนไทยในครั้งนี้ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน และรู้สึกชื่นชอบกับอาหารไทยที่ได้ลิ้มรสในครั้งนี้ด้วย

หลังจบการแถลงข่าวร่วมกันแล้ว ได้เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนถามคำถามได้คนละ 2 คำถาม โดยสื่อไทยที่ได้รับอนุญาตให้ตั้งคำถามคือ ผู้สื่อข่าวจากมติชน และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส จากนั้นเป็นคิวของสื่อต่างประเทศอีก 2 คำถาม โดยคำถามทั้งหมดมีการสกรีนมาก่อนล่วงหน้าแล้ว

 



########


(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ) คำแถลงข่าวร่วมระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

๑. วันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้พบหารือกัน ณ ทำเนียบรัฐบาล ในโอกาสที่ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-สหรัฐฯ จะครบรอบ ๑๘๐ ปี เพื่อกำหนดทิศทางสำหรับความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน และเพิ่มพูนความร่วมมือระดับภูมิภาคในอนาคต


๒. ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้แสดงความปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้รับโปรดเกล้าให้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และในโอกาสดังกล่าวได้ถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ นอกจากนี้ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ยืนยันการสนับสนุนที่ยาวนานของสหรัฐฯ ต่อประชาธิปไตยในประเทศไทย และยินดีต่อความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของไทยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ย้ำด้วยว่า ไทยเป็นพันธมิตรตามสนธิสัญญาที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชีย ผู้นำประเทศทั้งสองเห็นพ้องร่วมกันว่า ความเป็นพันธมิตรนี้มีรากฐานมาจากความมุ่งมั่นร่วมกันในเรื่องประชาธิปไตย การดำเนินการตามกฎหมาย สิทธิมนุษยชนที่เป็นสากล การเป็นสังคมเปิด และการค้าเสรี ซึ่งได้ช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของสองประเทศให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น นายกรัฐมนตรีกล่าวเสริมว่า ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและสหรัฐฯ ที่ยาวนานถึง ๑๘๐ ปี จากการลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและการค้าในปี ๒๓๗๖ เป็นหุ้นส่วนที่ไม่เพียงแต่ยืนหยัดตามกาลเวลาและส่งผลประโยชน์แก่ทั้งสองประเทศ แต่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความมีเสถียรภาพ ความเจริญมั่งคั่งและการสร้างงานทั้งระหว่างหุ้นส่วนทั้งสองและกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยรวมด้วย

๓. ผู้นำประเทศทั้งสองยินดีที่มีการเจรจาหารือในระดับสูงระหว่างไทยและสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่องและครอบคลุมมิติที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงการหารือทางยุทธศาสตร์ไทย-สหรัฐฯ ครั้งที่ ๔ ในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๕ การเดินทางเยือนสหรัฐฯ ของนายกรัฐมนตรีในเดือนกันยายน ๒๕๕๕ เพื่อเข้าร่วมการประชุมสามัญสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ครั้งที่ ๖๗ การประชุมหารือยุทธศาสตร์ความมั่นคงไทย-สหรัฐฯ ครั้งที่ ๒ ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๕ และการเยือนประเทศไทยของนาย Leon Panetta รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕

๔. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันว่า การเจรจาหารือในระดับสูงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้การดำรงความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทย-สหรัฐฯ ในมิติต่าง ๆ ประสบความสำเร็จ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความลึกซึ้งและความหลากหลายของความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการเมือง ความมั่นคง

ด้านเศรษฐกิจ ด้านวิชาการ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการพัฒนา ผู้นำทั้งสองได้ย้ำเน้นว่าการหารือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างไทย-สหรัฐฯ เป็นกรอบการหารือที่สำคัญที่ช่วยกำหนดประเด็นภายใต้ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ และยินดีต่อผลการประชุมหารือยุทธศาสตร์ความมั่นคงไทย-สหรัฐฯ ครั้งที่ ๒ ซึ่งช่วยตอกย้ำว่าความร่วมมือด้านกลาโหมระหว่างไทย-สหรัฐฯ ช่วยเสริมความร่วมมือระหว่างกันที่มีอยู่แล้วในด้านการเมือง และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ในการนี้ ผู้นำทั้งสองยังเห็นพ้องด้วยว่า การเจรจาหารือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงกลาโหมของไทยและสหรัฐฯ จะเป็นเวทีที่ช่วยเพิ่มพูนความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศทั้งสอง

๕. ผู้นำทั้งสองได้เน้นถึงโครงการหุ้นส่วนเชิงสร้างสรรค์ไทย-สหรัฐฯ ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัย ธุรกิจต่าง ๆ และนวัตกรรมสาขาอื่น ๆ ในประเทศทั้งสองว่า เป็นตัวอย่างสำคัญของความร่วมมือที่มองไปข้างหน้าของทั้งสองชาติ และเป็นเวทีที่จะขยายความร่วมมือไปสู่สาขาใหม่ ๆ นายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่าไทยยินดีส่งเสริมและสนับสนุนการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาและการไปมาหาสู่ระหว่างประชาชนของทั้งสองอย่างต่อเนื่อง ผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ โครงการทุนการศึกษาฟูลไบรท์และหน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกาประเทศไทยซึ่งฉลองการดำเนินงานในประเทศไทยครบรอบ ๕๐ ปี ในปีนี้

๖. ผู้นำทั้งสองเห็นพ้องร่วมกันว่า การฉลองครบรอบ ๑๘๐ ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปีหน้าจะเป็นโอกาสอันดีที่จะยกระดับความเป็นหุ้นส่วนไทย-สหรัฐฯ ให้เป็นไปตามศักยภาพทางยุทธศาสตร์อย่างแท้จริง ประธานาธิบดีสหรัฐฯ แสดงความชื่นชมในความพยายามของไทยในการส่งเสริมสันติภาพและสร้างความเจริญมั่งคั่งในภูมิภาค โดยผ่านโครงการพัฒนาต่างๆ ในภูมิภาค ในขณะที่นายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีต่อบทบาทที่สร้างสรรค์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาค ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบว่าการเกี่ยวพันอย่างรอบด้านและในมิติที่หลากหลายของสหรัฐฯ กับภูมิภาค จะช่วยส่งเสริมสันติภาพ ความเจริญมั่งคั่ง การพัฒนาอย่างยั่งยืน และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนต่อประชาชน

๗. ในด้านความร่วมมือด้านกลาโหม ทั้งสองฝ่ายยินดีกับความสำเร็จที่เกิดจากการฝึกโคบร้าโกลด์ประจำปีซึ่งขณะนี้มีประเทศที่เข้าร่วมและประเทศที่สังเกตการณ์รวม ๒๗ ประเทศ การปฏิบัติการรักษาสันติภาพระหว่างประเทศของไทยในดาร์ฟู และการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยต่อต้านโจรสลัดของไทยในอ่าวเอเดน ประธานาธิบดีโอบามายินดีต่อการเป็นเจ้าภาพร่วมของไทยกับสาธารณรัฐเกาหลีในการฝึกซ้อมเตรียมรับภัยพิบัติภายใต้การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในปี ๒๕๕๖

๘. นายกรัฐมนตรียินดีต่อนโยบายของสหรัฐฯ ที่จะเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนกับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น และการสนับสนุนของสหรัฐฯ ต่อความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนใน บูรณาการและการพัฒนาของภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านการมีส่วนร่วมของสหรัฐฯ ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ และการประชุมสุดยอดภูมิภาคเอเชียตะวันออก ประธานาธิบดีโอบามาได้กล่าวถึงความสำคัญของการประชุมสุดยอดภูมิภาคเอเชียตะวันออกที่เพิ่มขึ้นในการเป็นเวทีระดับภูมิภาคของผู้นำในเอเชียแปซิฟิกที่จะหารือประเด็นทางการเมืองและยุทธศาสตร์ ผู้นำทั้งสองได้ยืนยันความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในภูมิภาครวมถึงเวทีพหุภาคีอื่นๆ ในภูมิภาค เช่น การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค และการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค)

๙. ผู้นำทั้งสองตระหนักถึงความความสำคัญของการสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคบนพื้นฐานของการเคารพซึ่งกันและกัน และการแก้ข้อพิพาทอย่างสันติและเป็นไปตามหลักสากลของกฎหมายระหว่างประเทศ ผู้นำทั้งสองรับทราบถึงความคืบหน้าในการเจรจาที่จะนำไปสู่แนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้ภายใต้การเป็นประเทศผู้ประสานงานของไทยในกรอบอาเซียน-จีน นายกรัฐมนตรีชื่นชมบทบาทที่สำคัญของสหรัฐฯ ในเรื่องข้อริเริ่มลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ในขณะที่ประธานาธิบดีย้ำถึงการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของสหรัฐฯ ต่อการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และเน้นย้ำการส่งเสริมบทบาทสตรีในฐานะเสาหลักหนึ่งของ ข้อริเริ่มลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ผู้นำทั้งสองยินดีที่มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจความร่วมมือสามฝ่ายระหว่างองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ และสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของไทย เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค

๑๐. ผู้นำทั้งสองเห็นร่วมกันว่า จำเป็นต้องมีความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างไทยและสหรัฐฯ ในการเผชิญหน้าต่อความท้าทายใหม่ ๆ อาทิ ความมั่นคงทางนิวเคลียร์ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การบรรเทาภัยพิบัติ การลักลอบค้าสัตว์ป่า ซึ่งกลายเป็นความห่วงกังวลของโลก ผู้นำทั้งสองยินดีกับผลการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยความมั่นคงทางนิวเคลียร์ที่กรุงโซล และให้คำมั่นว่าจะทำงานร่วมกันต่อไปในการจัดการกับภัยคุกคามจากนิวเคลียร์ รวมถึงการเข้าร่วมในความริเริ่มระดับโลกเพื่อการต่อต้านการก่อการร้ายที่ใช้นิวเคลียร์ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ประธานาธิบดีโอบามาแสดงความยินดีที่ประเทศไทยประกาศรับรองหลักการสกัดกั้นของความริเริ่มด้านความมั่นคงเกี่ยวกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

๑๑. ประธานาธิบดีโอบามาและนายกรัฐมนตรีเห็นพ้องที่จะเสริมสร้างความพยายามร่วมกันในการต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ อาทิ การต่อต้านการค้ามนุษย์ การต่อต้านยาเสพติด ตลอดจนความพยายามที่จะรักษาความปลอดภัยตามพรมแดน ท่าอากาศยาน และท่าเรือ ประธานาธิบดีโอบามาและนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความเป็นหุ้นส่วนร่วมกันด้านสาธารณสุข และงานที่ดำเนินอยู่เพื่อพัฒนาวัคซีนสำหรับโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องและไข้เลือดออก รวมทั้งการป้องกันภัยจากโรคระบาดเช่น ไข้หวัดนก และการปราบปรามมาลาเรียที่ดื้อยาหลายชนิด ผู้นำทั้งสองยังเห็นพ้องกันว่า การเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทย-สหรัฐฯ จะเอื้อประโยชน์ให้ความร่วมมือระหว่างกันสามารถเอาชนะอุปสรรคและความท้าทายข้ามพรมแดนทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกได้

๑๒. ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ตระหนักถึงบทบาทของไทยในการเป็นศูนย์กลางสำหรับการเชื่อมโยงอาเซียน และสนับสนุนบทบาทที่สำคัญของไทยในการสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผู้นำทั้งสองยินดีที่จะมีการประชุมคณะมนตรีภายใต้กรอบความตกลงการค้าและการลงทุน ซึ่งเป็นพื้นฐานของความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในความเป็นหุ้นส่วนนี้ ภายใต้บริบทนี้ ผู้นำทั้งสองเห็นพ้องร่วมกันที่จะส่งเสริมการค้าการลงทุนในภูมิภาค การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน โอกาสทางเศรษฐกิจของสตรี และความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนกับประชาชนร่วมกัน ผ่านแผนงาน ๕ ปีของสหรัฐฯ และอาเซียน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยินดีต่อความสนใจของไทยในการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกซึ่งจะขึ้นอยู่กับการดำเนินการตามกระบวนการภายในที่จำเป็นของไทย ผู้นำทั้งสองยินดีที่จะมีการประชุมคณะมนตรีร่วมภายใต้กรอบความตกลงการค้าและการลงทุนระหว่างกันอีก ซึ่งเป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่การส่งเสริมการค้าและปรึกษาหารือเกี่ยวกับข้อผูกพันสำหรับการเข้าร่วมของไทยในความตกลงที่มีมาตรฐานสูงซึ่งรวมถึงความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก

๑๓. นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีโอบามา เห็นพ้องร่วมกันที่จะคงการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงระหว่างไทยและสหรัฐฯ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความต่อเนื่องและความคืบหน้าในความร่วมมือในมิติต่าง ๆ ระหว่างประเทศทั้งสองต่อไป

กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

https://youtu.be/7ko01ojc0As
https://youtu.be/fyofIAay5Dw


President Obama and Thai Prime Minister Yingluck Shinawatra speak before an official dinner honoring President Obama's visit to Thailand.
https://youtu.be/GzW3uMbEE34



ที่มา   ::   The Obama White House  ,   https://www.komchadluek.net/news/145096    ,  กระทรวงการต่างประเทศ

The Obama White House


1 ความคิดเห็น:


  1. เหตุผล 9 ข้อว่าทำไมถึงไม่เอาข้อตกลง “ทีพีพี” ของสหรัฐฯ

    1. ทีพีพี เป็นข้อตกลงเขตการค้าเสรีรูปแบบใหม่ของสหรัฐฯ ที่จะทำให้เกิดการผูกขาดตลาดยาเพียงไม่กี่บริษัท และขยายการผูกขาดตลาดให้ยาวนานเกินกว่า 20 ปี ซึ่งจะมีผลทำให้ยามีราคาแพงขึ้นอย่างมหาศาล

    2. ทีพีพี จะผูกมัดไม่ประเทศคู่ค้าสามารถต่อรองราคายาได้ และไม่ยอมให้มีกลไกควบคุมราคายาและการใช้ยาอย่างเหมาะสมที่จะกระทบผลกำไรของบรรษัทยาข้ามชาติ

    3. ทีพีพี จะทำให้ประเทศคู่เจรจาไม่สามารถนำมาตรการยืดหยุ่นด้านทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ซีแอล มาใช้เพื่อปกป้องหรือแก้ไขปัญหาการขาดแคลนยาจำเป็นในราคาที่เหมาะสมของประเทศได้

    4. ทีพีพี จะทำให้บรรษัทข้ามชาติสามารถแทรกแซงหรือยับยั้งนโยบายหรือการออกกฎหมายภายในประเทศที่คุ้มครองสุขภาพประชาชนจากสินค้าทำลายสุขภาพ เช่น บุหรี่ และแอลกอฮอล์ และการรักษาสิ่งแวดล้อมและฐานทรัพยากร

    5. ทีพีพี เป็นการริบรอนอธิปไตยทางศาลของประเทศคู่ค้า เพราะบรรษัทข้ามชาติสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือให้มีการยกเลิกนโยบายหรือกฎหมายที่ทำให้ผลกำไรของบรรษัทฯ เสียหาย ถึงแม้ว่านโยบายหรือกฎหมายเหล่านั้นจะมีเพื่อคุ้มครองสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนก็ตาม ซึ่งจะตัดสินโดย “คณะอนุญาโตตุลาการ” ภายนอกประเทศ

    6. ทีพีพี เป็นข้อตกลงการค้าที่บ่อนทำลายความมั่นคงทางการเงิน เพราะจะจำกัดสิทธิของประเทศในการใช้มาตรการและนโยบายควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุน เพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินและการคลังและทางเศรษฐกิจของประเทศ

    7. ทีพีพี จะทำให้ต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรสูงขึ้น เพราะมีการผูกขาดเมล็ดพันธุ์และอนุญาตให้มีการจดสิทธิบัตรพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ได้ ซึ่งทำให้เกษตรกรต้องพึ่งพาเมล็ดพันธุ์หรือพันธุ์สัตว์ของบรรษัทยักษ์ใหญ่และไม่สามารถใช้ขยายพันธุ์ต่อได้

    8. ทีพีพี จะจำกัดสิทธิ์ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในโลกอินเตอร์เน็ตได้อย่างเสรีอีกต่อไป

    9. ทีพีพี เป็นการเจรจาที่ไม่โปร่งใส เพราะกำหนดให้การเจรจาจะต้องกระทำอย่างเป็นความลับ ไม่ให้เผยแพร่เนื้อหาการเจรจาให้ภายนอกได้รับรู้ก่อนการเจรจาจะเสร็จสิ้นหรือมีการตกลงกัน

    ทีพีพี คือ ข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership Agreement) ที่มีประเทศสหรัฐฯ เป็นแกนนำริเริ่มและผลักดันให้เกิดการเจรจา หรืออีกนัยหนึ่ง ทีพีพี คือ ข้อตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement, FTA) หรือ เอฟทีเอ ที่สหรัฐฯ เคยพยายามกดดันให้ไทยเจรจาและเซ็นข้อตกลงด้วยแต่ไม่สำเร็จ


    CR :: https://prachatai.com/journal/2012/11/43715


    ตอบลบ