Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2565

คามิลลา จากนางพาร์กเกอร์ โบลส์ สู่ว่าที่ราชินี

 คามิลลา จากนางพาร์กเกอร์ โบลส์ สู่ว่าที่ราชินี


Camilla

ที่มาของภาพ,CHRIS JACKSON

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรทรงมีพระราชปรารถนาให้ คามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ ได้รับการยอมรับในฐานะสมเด็จพระราชินี (Queen Consort) เมื่อเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระองค์ต่อไป

สมเด็จพระราชินีนาถ ฯ ทรงมีพระราชประสงค์เรื่องนี้ในแถลงการณ์เนื่องในวาระการครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี หรือ การครองราชย์ครบรอบแพลทินัม (Platinum Jubilee) ซึ่งตรงกับวันที่ 6 มิ.ย. 2022

ในเนื้อหาตอนหนึ่งของแถลงการณ์ สมเด็จพระราชินีนาถ ฯ ทรงระบุถึงความโชคดีที่พระองค์ทรงมีครอบครัวที่แน่นแฟ้นและคอยให้ความรักและการสนับสนุนพระองค์เรื่อยมา

"ข้าพเจ้าโชคดีที่มีเจ้าชายฟิลิป ผู้เป็นคู่ครองที่ยินดีจะรับบทบาทคู่สมรส และเสียสละกับภาระหน้าที่ที่มาพร้อมกับบทบาทนี้โดยไม่เห็นแก่ตัว ซึ่งเป็นบทบาทที่ข้าพเจ้าเคยเห็นพระมารดาทำในรัชสมัยพระบิดาของข้าพเจ้า"

นอกจากนี้ทรงขอบใจที่พสกนิกรทุกเชื้อชาติ ศาสนา และอายุ ทั้งในสหราชอาณาจักรและทั่วโลกให้การสนับสนุนพระองค์เสมอมา

"...เมื่อถึงเวลาที่ ชาร์ลส์ ลูกชายของข้าพเจ้าขึ้นเป็นกษัตริย์ ข้าพเจ้ารู้ว่าท่านทั้งหลายจะให้การสนับสนุนแก่เขาและคามิลลา ชายาของเขาแบบเดียวกับที่เคยให้แก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ามีความปรารถนาเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อเวลานั้นมาถึง คามิลลา จะเป็นที่รู้จักในฐานะสมเด็จพระราชินี ในขณะที่เธอยังคงปฏิบัติราชกรณียกิจของเธอ"

Camilla, Duchess of Cornwall and Prince Charles, Prince of Wales attend the wedding of Ben Elliot and Mary-Clare Winwood at the church of St. Peter and St. Paul, Northleach on September 10, 2011 in Cheltenham, England.

ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES

แถลงการณ์ของสมเด็จพระราชินีนาถ ฯ ครั้งนี้นับเป็นการเปิดทางให้ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ได้ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีเคียงคู่กับพระราชโอรสของพระองค์ และเป็นการไขข้อสงสัยที่มีมานานเกี่ยวกับอนาคตของสะใภ้เจ้าพระองค์นี้ ซึ่งทัศนคติในเชิงลบของประชาชนที่มีต่อพระองค์ก่อนหน้านี้ ทำมีการคาดการณ์ว่าเมื่อเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ขึ้นครองราชย์ คามิลลาจะได้ดำรงพระยศเป็นเพียงเจ้าหญิงพระราชชายา (Princess Consort) เท่านั้น

โฆษกแคลเรนซ์เฮาส์ สำนักงานของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ระบุว่า เจ้าชายแห่งเวลส์และดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ "ทรงซาบซึ้งพระทัยและรู้สึกเป็นเกียรติ" ที่สมเด็จพระราชินีนาถ ฯ ทรงมีพระราชปรารถนาเช่นนี้

บีบีซีไทยจะพาไปรู้จักสตรีว่าที่ราชินีพระองค์ต่อไปของอังกฤษผู้นี้

ชีวิตวัยเยาว์

คามิลลา โรสแมรี เกิดเมื่อวันที่ 17 ก.ค. 1947 ที่กรุงลอนดอน ในครอบครัวชนชั้นสูงและตระกูลขุนนางอังกฤษ โดยเป็นบุตรสาวของบรูซ และโรซาลินด์ ชานด์

สารานุกรมบริแทนนิกาของอังกฤษระบุว่า คามิลลาเป็นทายาทของอลิซ เคปเปล ผู้เป็นชู้รักอันยาวนานของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ซึ่งเป็นพระบรมไปยกา (ปู่ทวด) ของสมเด็จพระราชินีนาถ ฯ

คามิลลา พบเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ครั้งแรกที่การแข่งโปโลในเมืองวินด์เซอร์เมื่อปี 1970 โดยขณะนั้นเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์เพิ่งสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และเตรียมจะเข้าเป็นทหารในกองทัพเรือ

แม้จะมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด แต่หลังจากเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์เข้าเป็นทหารในกองทัพเรือเมื่อปี 1971 ทั้งคู่ก็เริ่มห่างเหินกัน ก่อนที่ในอีก 2 ปีต่อมาคามิลลาจะตกลงปลงใจแต่งงานกับ แอนดรูว์ พาร์กเกอร์ โบลส์ นายทหารหนุ่มผู้เป็นพระสหายของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ และเป็นอดีตคนรู้ใจของเจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี

ในปี 1981 เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเลดี้ไดอานา สเปนเซอร์ แต่ขณะเดียวกันก็มีกระแสข่าวว่า พระองค์ทรงกลับไปสานสัมพันธ์ลึกซึ้งกับคามิลลา ในช่วงทศวรรษที่ 1980

ข่าวซุบซิบที่มีมานานเรื่องสัมพันธ์สวาทระหว่างเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์กับคามิลลา ได้รับการยืนยันจากเจ้าหญิงไดอานาในบทสัมภาษณ์อันลือลั่นที่พระองค์ทรงเปิดเผยในรายการพาโนรามา (Panorama) ของบีบีซีเมื่อปี 1995 ว่า "มีเราสามคนอยู่ในชีวิตสมรสนี้ มันก็เลยแออัดไปหน่อย"

ถ้อยคำดังกล่าวได้กลายเป็นประโยคอันโด่งดังที่บอกเล่าถึงปัญหาในชีวิตคู่ของเจ้าหญิงไดอานากับเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ และได้นำไปสู่การที่ทั้งสองพระองค์ทรงหย่าขาดจากกันในปี 1996

ส่วนชีวิตสมรสของคามิลลา และ แอนดรูว์ พาร์กเกอร์ โบลส์ ก็มาถึงทางตัน และหย่าขาดจากกันในปี 1995 โดยที่ทั้งคู่มีบุตรชายและบุตรสาวด้วยกันสองคน

The Prince of Wales and his friend Camilla Parker Bowles leave the Ritz Hotel in London on Thursday 28 January 1999

ที่มาของภาพ,PA MEDIA

คำบรรยายภาพ,

เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์และคามิลลาออกงานสังคมร่วมกันครั้งแรกที่โรงแรมริทซ์ ในกรุงลอนดอนเมื่อปี 1999

เส้นทางสู่ราชวงศ์

เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์และคามิลลาเข้าพีธีสมรสทางกฎหมายในเมืองวินด์เซอร์ เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2005 โดยสมเด็จพระราชินีนาถ ฯ พระราชทานยศให้เธอเป็น "ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์"

แม้ในช่วงต้นจะมีคนบางส่วนมองคามิลลาเป็นวายร้ายผู้ทำลายชีวิตคู่ดั่งเทพนิยายของเจ้าหญิงไดอานากับเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ แต่เมื่อพระองค์ได้พิสูจน์ตนเองโดยการทรงงานแบ่งเบาพระราชภาระของพระราชสวามีและสมเด็จพระราชินีนาถฯ พระองค์ก็เริ่มได้รับการยอมรับจากคนในราชวงศ์

Camilla and Queen in 2014

ที่มาของภาพ,DANNY LAWSON

ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์โปรดการขี่ม้า และทรงสนับสนุนองค์กรสงเคราะห์สัตว์หลายแห่ง ตลอดจนทรงงานเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือ และการช่วยเหลือผู้ตกเป็นเหยื่อของปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

นอกจากนี้ทรงเป็นที่ชื่นชอบของบรรดาผู้สื่อข่าวสายราชสำนัก จากอุปนิสัยสนุกสนานร่าเริงและมีอัธยาศัยดี

สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ระบุว่า นับแต่ได้ใช้ชีวิตคู่กับคามิลลามา 17 ปี เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ทรงมีอารมณ์ที่ผ่อนคลายมากขึ้นกว่าในอดีต เพราะหลายครั้งคามิลลามักโน้มน้าวให้พระองค์ได้ลองทำสิ่งใหม่ ๆ หรือทำสิ่งที่ทรงพระสำราญ

สมเด็จพระราชินีมีหน้าที่อะไร

Queen Elizabeth holds a sword in order to cut a cake next to Catherine, the Duchess of Cambridge and Camilla, Duchess of Cornwall during a drinks reception on the sidelines of the G7 summit, at the Eden Project in Cornwall, Britain June 11, 2021

ที่มาของภาพ,REUTERS

คำบรรยายภาพ,

สมเด็จพระราชินีนาถ ฯ กับสองว่าที่ราชินีอังกฤษในอนาคต

สมเด็จพระราชินี เป็นพระอิสริยยศสำหรับพระอัครมเหสีของสมเด็จพระราชาธิบดีที่ยังครองราชสมบัติอยู่ ตามปกติสมเด็จพระราชินีจะไม่มีอำนาจทางการเมืองการปกครองใด ๆ มีเพียงหน้าที่ในการเป็นคู่คิดและให้การสนับสนุนกษัตริย์

แม้จะไม่มีบทบาทอย่างเป็นทางการ แต่สมเด็จพระราชินีก็ถือเป็นผู้มีอิทธิพลสำคัญต่อกษัตริย์ และคอยช่วยแบ่งเบาพระราชภาระในด้านต่าง ๆ

สมเด็จพระราชินีองค์ล่าสุดของราชวงศ์อังกฤษคือ สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระอัครมเหสีในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 และทรงเป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ส่วนเจ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งเอดินบะระ ไม่ทรงมีพระยศเป็น เจ้าชายพระราชสวามี (Prince Consort) เพราะทรงปฏิเสธการรับยศดังกล่าวตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ที่สมเด็จพระราชินีนาถฯ เสด็จขึ้นครองราชย์


วันนี้ที่รอคอยของ “ควีนคามิลลา” เปลี่ยนชู้รักทรหด สู่ราชินีคู่บัลลังก์



ถือเป็นชัยชนะยิ่งใหญ่ของมนุษย์ป้าทั้งโลก!! เมื่อ ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ “คามิลลา ปาร์กเกอร์ โบว์ลส์” ต้นตำรับชู้รักวินด์เซอร์ วัย 74 ได้รับการสนับสนุนเต็มร้อยเป็นครั้งแรกจาก “ควีนเอลิซาเบธที่สองแห่งอังกฤษ” ให้ขึ้นเป็น “สมเด็จพระราชินี” พร้อมทำหน้าที่ค้ำบัลลังก์เคียงข้าง “เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์” เมื่อถึงเวลาผลัดแผ่นดินในอนาคต เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แทนพระราชมารดา ซึ่งปัจจุบันมีพระชนมพรรษา 95 พรรษา


ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ถึงอนาคตไม่แน่นอนของ “ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์” ว่าคงไปได้ไกลแค่พระยศ “เจ้าหญิงพระราชชายา” (Princess Consort) เพราะมีชนักติดหลังเคยเป็นมือที่สามสร้างความร้าวฉานให้ครอบครัว “เจ้าหญิงไดอานา” จนนำไปสู่การหย่าสะท้านโลก แต่เกมพลิกเรื่องราวกลับตาลปัตรกลายเป็นว่า “ควีนเอลิซาเบธที่สอง” ทรงออกโรงปกป้องพระสุณิสาวัยดึกด้วยพระองค์เอง เพื่อสยบดราม่าในอนาคต โดยถือโอกาสเนื่องในวาระการครองสิริราชสมบัติ ครบ 70 ปี แสดงพระราชประสงค์ดังกล่าวชัดเจน


เนื้อหาตอนหนึ่งในแถลงการณ์สำคัญระบุว่า ข้าพเจ้าโชคดีที่มีเจ้าชายฟิลิปคอยเคียงข้างในฐานะพระสวามี ผู้ซึ่งเต็มใจรับบทบาทคู่สมรส และเสียสละกับภาระหน้าที่ที่มาพร้อมบทบาทนี้อย่างไม่เห็นแก่ตัว เมื่อถึงเวลาที่พระราชโอรสของข้าพเจ้า “เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์” ขึ้นเป็นกษัตริย์ ข้าพเจ้ารู้ดีว่าท่านทั้งหลายจะให้การสนับสนุน “เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์” และพระชายา “คามิลลา” ในแบบเดียวกับที่เคยให้การสนับสนุนข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีความปรารถนายิ่งว่า เมื่อเวลานั้นมาถึง “คามิลลา” จะเป็นที่รู้จักในฐานะ “สมเด็จพระราชินี” (Queen Consort) ในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความจงรักภักดี

นี่มันรางวัลแด่ความอึดและความจงรักภักดีชัดๆ นับตั้งแต่จูงมือกันเข้าประตูวิวาห์ เมื่อปี 2005 “ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์” ก็พยายามทำหน้าที่คู่คิดคอยปลอบประโลมจิตใจ “เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์” ในทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะในยามวิกฤติเกิดความแตกแยกภายในครอบครัว คนใกล้ชิดทราบกันดีว่า องค์รัชทายาทอันดับหนึ่งทรงมีความสุขและผ่อนคลายขนาดไหนเมื่อได้อยู่กับคนรักเก่า แม้จะไม่ใช่สาวเอ๊าะๆ แต่ “คามิลลา” ก็มีความกุ๊กกิ๊กในตัว มักชวนพระสวามีทดลองทำสิ่งใหม่ๆสร้างสีสันให้ชีวิตไม่อับเฉา นอกเหนือจากกิจกรรมที่ชอบทำร่วมกัน เช่น การขี่ม้า, ตกปลา, ปลูกต้นไม้, วาดรูป และอ่านหนังสือ ตรงข้ามกับ “เจ้าหญิงไดอานา” ที่มักเอาแต่ใจตัวเองแบบคุณหนูตระกูลสูงศักดิ์ และเรียกร้องความสนใจจากพระสวามี จึงลงเอยด้วยการทะเลาะกันอยู่ร่ำไป


อาจเป็นบุพเพสันนิวาสจริงๆก็ได้ เพราะคู่นี้เขารักกันมาดึกดำบรรพ์ตั้งแต่วัยรุ่น “คามิลลา” คือรักแรกฝังใจเจ็บของ “เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์” ฝ่ายหญิงมาจากครอบครัวชนชั้นสูงตระกูลขุนนางเก่า และที่น่าแปลกคือ “คามิลลา” เป็นทายาทของ “อลิซ เคปเปล” ผู้เป็นชู้รักสุดเสน่หาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ซึ่งเป็นปู่ทวดของควีนเอลิซาเบธที่สอง ทั้งคู่เจอกันครั้งแรกที่บ้านเพื่อน เมื่อปี 1970 ก่อนจะมาออกเดตเป็นแฟนกัน กระทั่งฝ่ายชายต้องไปเป็นทหารประจำกองทัพเรือ ในช่วงต้นปี 1973 ฝ่ายหญิงได้หนีไปแต่งงานกับแฟนเก่านายทหารหนุ่มรุ่นพี่ “แอนดรูว์ ปาร์กเกอร์ โบว์ลส์” เพราะทนแรงกีดกันจากพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ไม่ไหว สาเหตุของการเลิกกันมีหลายเบาะแสมาก แต่ที่แน่ๆคือสาวสังคมผู้เจนโลกอย่าง “คามิลลา” ถูกมองว่าไม่เหมาะเป็นพระชายาของกษัตริย์ในอนาคต

จากปั๊ปปี้เลิฟกลายเป็นรักฝังใจสร้างบาดแผลลึกให้องค์รัชทายาทหนุ่ม กว่าจะหักอกหักใจได้ “เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์” ขังตัวเองอยู่ในห้องหลายวัน ภายหลังทั้งคู่ยังคบหากันในฐานะเพื่อน และเจอกันตามแวดวงขี่ม้าโปโล กระทั่งในปี 1979 “คามิลลา” กลับมาสนิทสนมเกินเพื่อนกับ “เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์” อีกครั้ง เมื่อเจ้าชายหนุ่มทรงสูญเสียพระประยูรญาติชั้นผู้ใหญ่ที่เคารพรักที่สุดอย่าง “ลอร์ดเมานต์แบตเทน” ทำให้ต้องพึ่งการปลอบขวัญและกำลังใจจากคนรักเก่า แม้แต่ในค่ำคืนก่อนการอภิเษกสมรสกับ “เจ้าหญิงไดอานา” ในปี 1981 ว่ากันว่า “เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์” ก็ยังขลุกอยู่บนเตียงกับ “คามิลลา”

ตำนานรักสามเส้าที่สร้างความอับอายขายหน้าให้ราชวงศ์อังกฤษ ถูกเปิดโปงสู่สาธารณชนอย่างเป็นเรื่องเป็นราว เมื่อมีการตีพิมพ์หนังสืออื้อฉาว “Diana : Her True Story” ในปี 1992 ตามมาด้วยการปล่อยเทปลับทางโทรศัพท์ “Camillagate” ในปี 1993 ซึ่งเต็มไปด้วยบทสนทนาทางเพศอันโจ๋งครึ่ม หนักสุดคือ “เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์” อ้อน “คามิลลา” ว่าอยากเกิดใหม่เป็นแทมแพ็กซ์ (ผ้าอนามัยแบบสอด) จนถูกสื่อล้อเลียนว่า “เจ้าชายแทมแพ็กซ์” งานนี้เสื่อมเสียหนักขนาดที่ว่าเจ้าชายคิดจะสละตำแหน่งรัชทายาท ด้วยซ้ำ


จุดจบของชู้รักมาถึง เมื่อข่าวซุบซิบใต้เตียงได้รับการยืนยันจากปาก “เจ้าหญิงไดอานา” ขณะให้สัมภาษณ์รายการพาโนรามาของสำนักข่าวบีบีซี เมื่อปี 1995 ว่า มีเราสามคนอยู่ในชีวิตสมรสนี้ มันก็เลยแออัดไปหน่อย สุดท้ายต้องจบลงด้วยการหย่าร้างในปี 1996

ภายหลัง “เจ้าหญิงไดอานา” สิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อปี 1997 และ “คามิลลา” ได้หย่าขาดจากสามีในปี 1995 “เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์” จึงทำตามใจปรารถนาที่รอคอยมาทั้งชีวิต ฝ่าดงหนามจูงมือ “คามิลลา” เข้าประตูวิวาห์สมดังหวัง เมื่อปี 2005 แม้จะถูกมองว่าเป็นมือที่สามทำลายชีวิตคู่ดุจเทพนิยายของ “เจ้าหญิงไดอานา” กับ “เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์” แต่เมื่อ “ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์” พิสูจน์ตัวเองว่าทรงสามารถแบ่งเบาพระราชภาระของพระสวามีและควีนเอลิซาเบธที่สองด้วยความจงรักภักดี จึงเริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆจากพระบรมวงศานุวงศ์ แม้จะมีข่าวลือว่าแอบชิงดีชิงเด่นกับลูกสะใภ้ดาวเด่น “ดัชเชสแห่งเคมบริดจ์”

ทั้งนี้ “ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์” โปรดการขี่ม้า และสนับสนุนองค์กรสงเคราะห์สัตว์ อีกทั้งยังทุ่มเทเวลาให้กับการส่งเสริมการรู้หนังสือ และช่วยเหลือเหยื่อของปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เชื่อมั่นว่าต่อไปเมื่อขึ้นเป็น “สมเด็จพระราชินี” จะทำหน้าที่แบ่งเบาพระราชภาระในด้านต่างๆได้เป็นอย่างดีในฐานะพระราชวงศ์อาวุโส พร้อมเป็นคู่คิดคู่ค้ำบัลลังก์ยืนหยัดเคียงข้างกษัตริย์พระองค์ใหม่ของอังกฤษ กอบกู้ภาพลักษณ์ติดลบของราชวงศ์วินด์เซอร์ให้กลับมาเป็นบวกยกกำลังสองอีกครั้ง.



สองพระองค์ปรากฏตัวที่ British Museum for a British Asian Trustสองพระองค์ปรากฏตัวที่ British Museum for a British Asian Trust


Prince CharlesPrince Charles

เจ้าชายแห่งเวลส์และดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ เข้าพระราชพิธีอภิเษกสมรสเมื่อปี 2005เจ้าชายแห่งเวลส์และดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ เข้าพระราชพิธีอภิเษกสมรสเมื่อปี 2005

.


https://youtu.be/WWNoU_0W3PU


https://youtu.be/U5TTMLmjP68


https://youtu.be/t_rJ8n8vvIQ



https://youtu.be/nfS1VxwHjXU


The Queen has offered her support to have the Duchess of Cornwall become Queen Camilla one day.
ALASTAIR GRANT/AP
The Queen has offered her support to have the Duchess of Cornwall become Queen Camilla one day.


ที่มา   ::  https://www.bbc.com/thai  , www.thairath.co.th/ ,   www.nationtv.tv/

3 ความคิดเห็น:

  1. เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์เรียกคามิลล่า "สุดที่รัก"



    เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์และคามิลล่า ปาร์คเกอร์-โบลส์ ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ทรงปรากฏพระองค์ในที่สาธารณะเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 ทรงประกาศว่าพระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะให้คามิลล่าขึ้นเป็นราชินีเมื่อเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ได้ขึ้นครองราชย์

    ทั้งสองพระองค์ปรากฏตัวที่ British Museum for a British Asian Trust ในกรุงลอนดอนเมื่อวานนี้ ( 9 กุมภาพันธ์ ) ท่ามกลางแขกเหรื่อประมาณ 350 คนโดยทรงกล่าวถึงคามิลล่าเป็นภาษาอูรดูว่า "my mehbooba"(มาย เมฮะบูบา ) ซึ่งแปลว่า "สุดที่รัก" ของข้าพเจ้า

    ภาษาอูรดูเป็นภาษาในกลุ่มอินโด-อารยันซึ่งพัฒนามาจากหลายภาษารวมกันคือเปอร์เซีย ตุรกี อาหรับ ฮินดีและสันสกฤต ส่วนใหญ่นิยมพูดในภูมิภาคเอเชียใต้โดยเฉพาะในอินเดียและปากีสถานและมีบ้างในแอฟริกา

    เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ทรงกล่าวเต็มๆว่าไม่น่าเชื่อว่าเป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้วที่ข้าพเจ้าและเมฮะบูบา (ซึ่งหมายถึงคามิลล่าสุดที่รัก) จะได้มาอยู่กับทุกท่านเพื่อเฉลิมฉลองงานของกองทุนบริติช เอเชียที่ได้ช่วยแก้ปัญหาให้กับทั่วโลกโดยเฉพาะการสูญเสียชีวิตจำนวนมหาศาลเพราะการระบาดของโควิดที่ส่งผลกระทบอย่างหนักทั่วเอเชียใต้



    เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ทรงก่อตั้งกองทุนบริติช เอเชียขึ้นในปี 2550 เพื่อช่วยแก้ปัญหาความยากจน ความไม่เท่าเทียมและความอยุติธรรมในเอเชียใต้



    ตอบลบ
  2. จากอดีต ‘มือที่สาม’ สู่ ‘ว่าที่ราชินี’ ดัชเชส ‘คามิลลา’ อาจเป็นผู้ต่ออายุราชวงศ์อังกฤษ?
    เรื่องฮือฮาในวันครบรอบการครองราชย์ 70 ปีของ ‘ควีนเอลิซาเบธที่ 2’ แห่งราชวงศ์อังกฤษ คือการที่พระองค์ตรัสในเชิงสนับสนุน ‘คามิลลา’ ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ พระชายาองค์ที่ 2 ในเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ให้เป็น ‘ว่าที่ราชินี’ พระองค์ต่อไป ทำให้สื่อระบุว่าดัชเชสฯ คามิลลาได้พิสูจน์ตัวเองที่เคยถูกตีตราเป็น ‘มือที่สาม’ ในการเสกสมรสระหว่างเจ้าฟ้าชายกับเจ้าหญิงไดอานา อดีตพระชายา และอาจกลายเป็นกุญแจสำคัญที่จะต่ออายุให้ราชวงศ์อังกฤษได้ เพราะบทบาทการเป็น ‘หลังบ้าน’ ที่คอยส่งเสริมเจ้าฟ้าชายช่วยให้ภาพลักษณ์ของราชวงศ์ดูดีขึ้น แต่ไม่กี่วันต่อมาก็มีเสียงคัดค้านจากประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับสถานะ ‘ว่าที่ราชินี’ โดยมีเหตุผลหลายข้อด้วยกัน

    เมื่อราชินีตรัสสนับสนุน ‘ว่าที่ราชินี’ ก็กลายเป็นประเด็นทันที
    ที่จริงแล้วการฉลองวาระครบรอบ 70 ปีการครองราชย์ หรือ Platinum Jubilee ของสมเด็จพระราชินีนาถ ‘ควีน’ เอลิซาเบธที่ 2 ประมุขแห่งสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพอังกฤษ ถูกยกให้เป็นพระราชพิธีสำคัญที่จะสร้างความยินดีให้เหล่ารอยัลลิสต์อังกฤษกันบ้าง หลังจากที่ปี 2021 ควีนทรงสูญเสียเจ้าชายฟิลิปผู้ทรงเป็นพระสวามีไป ทั้งยังอยู่ในช่วงที่ทั่วประเทศเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แถมต้นปีที่ผ่านมาก็มีประเด็นเจ้าชายแอนดรูว์ โอรสพระองค์ที่ 2 ของควีนถูกผู้หญิงคนหนึ่งยื่นฟ้องต่อศาลสหรัฐอเมริกาว่าถูกเจ้าชายล่วงละเมิดทางเพศสมัยที่ยังเป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี และศาลก็ ‘รับฟ้อง’ ด้วย

    แต่พอถึงกำหนดเฉลิมฉลองจริงเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2022 ก็มีประเด็นเกิดขึ้น และเป็นเรื่องที่สื่อหลายสำนักในต่างประเทศพร้อมใจกันรายงาน ก็คือกรณีที่ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ทรงมีพระราชดำรัส ‘แสดงความปรารถนาอย่างจริงใจ’ ต่อคามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอล พระสุณิสา (สะใภ้) ของพระองค์ โดยหวังว่าคามิลลาจะได้รับการยอมรับจากสาธารณชนในฐานะ ‘ราชินี’ ในวันที่เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ รัชทายาทลำดับที่ 1 ขึ้นครองราชย์ในอนาคต

    ท่าทีนี้ทำให้สื่อตีความว่านี่คือการแสดงความยอมรับอย่างเป็นทางการของควีนเอลิซาเบธที่ 2 ต่อคามิลลาซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกเรียกว่า ‘ผู้หญิงร้ายกาจ’ (wicked woman) เพราะใครที่เคยดูซีรีส์ The Crown และตามข่าวราชวงศ์ต่างประเทศก็คงรู้กันอยู่แล้วว่าคามิลลาถูกตีตราว่าเป็น ‘มือที่สาม’ ในการเสกสมรสระหว่างเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์และไดอานา อดีตพระชายา ทำให้ทั้งคู่ประกาศแยกทางกันในปี 1992 ก่อนจะดำเนินเรื่องหย่าขาดอย่างเป็นทางการในปี 1996 และไดอานาก็จากโลกนี้ไปตลอดกาลในปี 1997 เพราะอุบัติเหตุทางรถยนต์

    การที่ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ทรงเลือกวันสำคัญของพระองค์ตรัสถึงคามิลลา ทำให้สื่ออังกฤษบางสำนักมองว่านี่คือการแสดงความยอมรับคามิลลาในฐานะ ‘สมาชิกราชวงศ์’ อย่างเปิดเผยที่สุด และบางสื่อมองว่าคามิลลาเป็นผู้ที่จะ ‘ต่ออายุ’ ให้แก่ราชวงศ์อังกฤษได้

    ผู้เชี่ยวชาญด้านราชวงศ์มองว่าตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา ดัชเชสคามิลลาได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าสามารถทำหน้าที่ ‘หลังบ้าน’ ได้เป็นอย่างดี เพราะคอยส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ของเจ้าฟ้าชายโดยไม่แย่งชิงความสนใจของสาธารณชนมาสู่ตัวเอง ซึ่งการคาดคะเนนี้เป็นการเปรียบเทียบคามิลลากับอดีตพระชายาไดอานาอย่างชัดเจน เพราะถึงแม้ฝ่ายหลังจะถูกยกย่องจากสื่อมวลชนและคนอังกฤษจำนวนมากว่าเป็น ‘เจ้าหญิงของประชาชน’ (People’s Princess) แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ราชวงศ์อังกฤษต้องการ

    ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น?

    อันที่จริงก็ไม่ใช่เรื่องเข้าใจยากถ้าผู้หญิงคนหนึ่งจะตัดพ้อสามีที่มีความสัมพันธ์นอกสมรส แต่สิ่งที่ไดอานาเปิดเผยสู่สาธารณชนทำให้สื่อแท็บลอยด์พุ่งเป้าไปยังเรื่องรักๆ ใคร่ๆ อันอื้อฉาวแทนที่จะสนใจการปฏิบัติหน้าที่ด้านการกุศลและพิธีการระดับประเทศต่างๆ ของสมาชิกราชวงศ์ และส่งผลให้ ‘สถาบันอันเก่าแก่’ มีภาพลักษณ์ติดลบ เพราะคนจำนวนมากเห็นใจเจ้าหญิงผู้อาภัพที่ต้องประสบปัญหาชีวิตสมรส แถมฝั่ง ‘ครอบครัวสามี’ ก็ไม่แสดงท่าทีเอื้ออาทรอะไรให้คนได้เห็น เพราะมีธรรมเนียมว่ากิจการในรั้วในวังไม่ควรเปิดเผยต่อสาธารณะ


    ตอบลบ
  3. ...ต่อ...


    เมื่อ ‘สะใภ้หลวง’ ลำดับที่ 2 อย่างคามิลลาไม่ทำตัวเป็นจุดสนใจและปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายไปอย่างเงียบๆ ทั้งยังสามารถสร้างสายสัมพันธ์อันดีกับสื่อมวลชนได้ ก็ทำให้สถานะของคามิลลาในราชวงศ์ ‘มั่นคง’ ขึ้นเรื่อยๆ จนได้รับ ‘ไฟเขียว’ จากควีน เพราะพิสูจน์ได้แล้วว่าการดำรงอยู่ของดัชเชสแห่งคอร์นวอลช่วยให้เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ปฏิบัติราชกรณียกิจได้อย่างราบรื่น ไม่ตกเป็นเป้าโจมตีจากสาธารณชนเหมือนสมัยที่ยังครองคู่กับอดีตชายา

    แน่นอนว่าพูดอย่างนี้คงฟังดูใจร้ายกับเจ้าหญิงไดอานา แต่ถ้ามองในแง่ความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ในอังกฤษ ก็ต้องบอกว่าการแสดงตัวแบบ ‘โลว์โปรไฟล์’ ของคามิลลา ช่วยให้ราชวงศ์มีเสถียรภาพขึ้นจริง ไม่ตกเป็นเป้าของสื่อแท็บลอยด์รายวัน เพราะยังมีสมาชิกพระองค์อื่นที่เป็นเหมือน ‘สายล่อฟ้า’ ดึงดูดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อยู่แล้ว

    ความยุ่งยากที่ราชวงศ์ต้องเผชิญ ถ้า ‘คามิลลา’ ขึ้นเป็นราชินี
    แม้จะมีผู้ประเมินว่าการอวยพรของควีนเอลิซาเบธที่ 2 ให้ดัชเชสคามิลลาได้รับการยอมรับในฐานะว่าที่ราชินีคือการเตรียมตัว ‘เปลี่ยนผ่านรัชสมัย’ ให้มีความราบรื่นที่สุด แต่ก็ยังไม่อาจรับประกันได้ว่าจะไม่เกิดแรงต่อต้านในอนาคต เพราะผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่จัดทำโดย YouGov เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2021 มีเพียง 42 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เห็นว่าคามิลลาเหมาะจะเป็นว่าที่ราชินี ซึ่งในจำนวนนี้ก็ระบุด้วยว่าถ้าเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ขึ้นครองราชย์เมื่อไร ดัชเชสแห่งคอร์นวอลควรได้รับพระอิสริยยศ ‘เจ้าหญิงพระราชชายา’ หรือ Princess Consort แทนที่จะเป็น ‘สมเด็จพระราชินี’ หรือ Queen Consort ตามพระราชประเพณีดั้งเดิม และ 26 เปอร์เซ็นต์มองว่าคามิลลาไม่ควรได้รับอิสริยยศใด โดยเหตุผลหลักที่ทำให้คนกลุ่มนี้คัดค้านก็เป็นเพราะยังไม่อาจลืมเรื่องมือที่สามในอดีตได้

    อีกประเด็นหนึ่งที่คนตั้งคำถามเพิ่มเติม คือ คามิลลาไม่ได้เป็นพระมารดาแท้ๆ ของเจ้าชายวิลเลียม รัชทายาทลำดับ 2 ซึ่งมีสิทธิขึ้นครองราชย์ต่อจากเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ จึงมีผู้คาดการณ์ว่าถ้าในอนาคต เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ขึ้นเป็นกษัตริย์และสวรรคตไปก่อนคามิลลา เจ้าชายวิลเลียมก็จะไม่สามารถประกาศให้ดัชเชสแห่งคอร์นวอลเป็น ‘ควีนมัม’ หรือพระราชมารดา (สมเด็จพระพันปีหลวง) โดยอัตโนมัติได้ และน่าจะเป็นเรื่องที่สมาชิกราชวงศ์ต้องหารือกันอย่างหนักเพื่อให้เหมาะสมตามขนบธรรมเนียม หรือถ้าจะปรับเปลี่ยนก็ต้องดูท่าทีของประชาชนด้วย

    อย่างไรก็ดี คณะที่ปรึกษา (Councillor) ของราชวงศ์ที่จะต้องระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ในอนาคตก็ลดจำนวนลงไปครึ่งหนึ่งแล้ว เพราะเจ้าชายแอนดรูว์ พระโอรสอีกพระองค์ของควีนเอลิซาเบธฯ เพิ่งถูกปลดจากการเป็นสมาชิกระดับอาวุโส หลังจากถูกกล่าวหาเกี่ยวกับคดีทางเพศในสหรัฐฯ ขณะที่เจ้าชายแฮร์รีก็ประกาศลาออกจากฐานันดรศักดิ์พร้อมชายาชาวอเมริกัน ‘เมแกน มาร์เคิล’ ไปตั้งแต่ปี 2020 จึงพ้นจากสถานะที่จะปฏิบัติพระกรณียกิจหรือมีส่วนร่วมกับพระราชพิธีต่างๆ ไปแล้ว

    จากกรณีที่ว่ามา ทำให้กลุ่มผู้สนับสนุนให้อังกฤษเปลี่ยนไปสู่ระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยแทนการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุข ตั้งคำถามว่าประชาชนจะต้องแบกรับภาระยุ่งยากซับซ้อนในครอบครัว ‘ชนชั้นสูง’ ไปเพื่ออะไร แม้แต่การสืบทอดตำแหน่งก็ยังต้องปรึกษาหารือกันยุ่งยาก เพราะปมเรื่องความสัมพันธ์ในอดีตที่ส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน และระยะเวลา 70 ปีที่ผ่านมาในรัชสมัยของควีนเอลิซาเบธที่ 2 ก็น่าจะเพียงพอแล้วที่ต้องนำงบประมาณจากภาษีประชาชนไปสนับสนุนการดำรงอยู่ของราชวงศ์


    อ้างอิง

    BBC Thai.







    ตอบลบ