Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2565

วัคซีนป้องกัน ตับอักเสบ บี …ดีอย่างไร ?

 วัคซีนป้องกัน ตับอักเสบ บี …ดีอย่างไร ?


 Hepatitis B Vaccination – Who Needs It And When?


Needle showing the hepatitis B vaccine by a doctor.
S










วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี มีประโยชน์อย่างไร ?วัคซีนไวรัสตับอักเสบบีเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพดี โดยในคนทั่วไปหลังฉีดครบจะสามารภสร้างภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบได้ถึง 95%  และสามารถป้องกันการติดเชื้อได้นานตลอดชีวิต 



ไวรัสตับอักเสบบี เป็นไวรัสตับอักเสบที่พบได้บ่อยในคนไทย หากติดเชื้อแล้วไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจนำไปสู่การเป็นตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งตับ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันเรามีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้และลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่จะเกิดตามมา

 

 วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี มีประโยชน์อย่างไร ?

วัคซีนไวรัสตับอักเสบบีเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพดี โดยในคนทั่วไปหลังฉีดครบจะสามารภสร้างภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบได้ถึง 95%  และสามารถป้องกันการติดเชื้อได้นานตลอดชีวิต

 

 

ใครควรฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ?

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่

  • ทารกที่เกิดจากมารดาที่เป็นไวรัสตับอักเสบบี
  • สามีหรือภรรยาของคนที่เป็นไวรัสตับอักเสบบี หรือผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นไวรัสตับอักเสบบี
  • บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ที่ทำงานในสถานพยาบาล
  • ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกไต
  • ผู้ที่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
  • ผู้ป่วยที่ได้รับเลือดบ่อยๆ
  • ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง
  • ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน
  • ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค

 

อย่างไรก็ตามเนื่องจากวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีเป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัยสูงและมีราคาที่ถูกลงมาก ในปัจจุบันจึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนแก่ผู้ที่ยังไม่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและยังไม่มีภูมิต้านทานทุกคน

 

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ต้องฉีดอย่างไร ?

วิธีการฉีดวัคซีน จะฉีดเข้ากล้ามที่ต้นแขนรวม 3 เข็ม ห่างกันที่ 0, 1 เดือน และ 6 เดือน ในผู้ใหญ่ควรตรวจเลือดก่อนฉีดวัคซีนว่ามีการติดเชื้อหรือมีภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบบีแล้วหรือไม่

 

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ต้องกระตุ้นซ้ำหรือไม่ ?

ในคนทั่วไปหลังมีภูมิต้านทานแล้วไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำ ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจะลดลงตามระยะเวลา ในบางคนอาจมีภูมิต้านทานลดลงจนตรวจไม่พบ แต่ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นหากได้รับเชื้อ จึงไม่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นอีก ยกเว้นในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

 

การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี มีผลข้างเคียงหรือไม่ ?

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีเป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง ไม่พบผลข้างเคียงรุนแรง อาจมีไข้ต่ำๆ 1-2 วันหลังฉีด มีผื่นแดงหรือเจ็บบริเวณที่ฉีดได้บ้าง

 

 

Hepatitis B vaccine

วัคซีนตับอักเสบบี



วัคซีนไวรัสตับอักเสบบีเป็นวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี  ข้อแนะนำสำหรับการให้วัคซีนเข็มแรกคือภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากที่เด็กคลอดและหลังจากนั้นก็ควรให้วัคซีนเข็มที่สองหรือสามต่อไป ซึ่งรวมถึงเด็กที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่นเด็กที่ติดเชื้อเฮชไอวี/เอดส์ และเด็กที่คลอดก่อนกำหนด การให้วัคซีนนี้ในฐานะวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันขั้นพื้นฐานแก่ผู้ที่มีสุขภาพดีนั้นพบว่าสามารถป้องกันโรคได้มากกว่า 95% 


ข้อแนะนำสำหรับกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงคือทำการตรวจเลือดเพื่อยืนยันความมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค ส่วนกลุ่มผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำอาจจำเป็นต้องให้วัคซีนเพิ่มเติม แต่ไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับคนส่วนใหญ่ สำหรับกลุ่มผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและไม่มีภูมิคุ้มกันโรค ก็ควรจะให้อิมมูน โกลบูลินของไวรัสตับอักเสบบีร่วมกับการให้วัคซีน การให้วัคซีนสามารถทำได้โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 


ผลข้างเคียงขั้นรุนแรงของไวรัสตับอักเสบบีนั้นพบได้น้อยมาก ทั้งนี้อาจเกิดความเจ็บปวดที่ตำแหน่งการฉีดวัคซีนบ้าง การใช้วัคซีนนี้กับผู้ที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์หรือระหว่างการให้นมบุตรนั้นมีความปลอดภัย วัคซีนนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร ปัจจุบันวัคซีนนี้มีการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอสายผสม ซึ่งมีทั้งวัคซีนแบบเดี่ยวและแบบผสมร่วมกับวัคซีนตัวอื่นๆ 


ประเทศสหรัฐอเมริกาได้อนุมัติการใช้วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2524  ส่วนวัคซีนรุ่นที่มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นนั้นออกวางจำหน่ายในตลาดครั้งแรกเมื่อปี 2529   วัคซีนนี้อยู่ในทะเบียนยาที่จำเป็นขององค์การอนามัยโลก โดยเป็นยารักษาโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดซึ่งจำเป็นต่อระบบสุขภาพขั้นพื้นฐาน  นับตั้งแต่ปี 2557 ราคาขายส่งของวัคซีนอยู่ที่ระหว่าง 0.58 ถึง 13.20 เหรียญสหรัฐฯ ต่อหนึ่งเข็ม  ในสหรัฐอเมริการาคาจะอยู่ที่ประมาณ 50 ถึง 100 เหรียญสหรัฐฯ



CR   ::   www.synphaet.co.th/  ,   https://th.wikipedia.org/


9 ความคิดเห็น:

  1. วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี

    โรคไวรัสตับอักเสบ บี เป็นโรคซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ติดต่อโดยการสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผล การใช้ของส่วนตัวที่ปนเปื้อนเลือด หรือสารคัดหลั่งร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ เช่น มีดโกน แปรงสีฟัน ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน และจากมารดาสู่ทารก ซึ่งหากร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อได้จะกลายเป็นพาหะของโรค และเพิ่มโอกาสเกิดภาวะตับแข็ง และมะเร็งตับได้

    อาการบ่งชี้...เข้าข่าย “โรคไวรัสตับอักเสบ บี”
    มีไข้ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บชายโครง ตัวเหลือง ตาเหลือง หากร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อได้จะกลายเป็นพาหะของโรค ซึ่งนอกจากจะแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้แล้ว ยังมีโอกาสเกิดภาวะตับแข็ง และมะเร็งตับได้

    วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี
    ทำมาจากโปรตีนผิวนอกของเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง ที่ 0, 1, 6 เดือน

    ผู้ที่ “ควร” เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี

    ผู้ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคไวรัสตับอักเสบ บี
    เด็กแรกเกิดในประเทศไทยทุกคน รวมถึงเด็กที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนนี้มาก่อน
    ผู้ใหญ่ที่เสี่ยงต่อการสัมผัสโรค เช่น คู่สมรสของผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ผู้ที่ต้องได้รับเลือดบ่อยๆ ผู้ป่วยฟอกไต บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ที่ใช้ยาเสพติด ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย ผู้ที่เป็นโรคตับ โรคไตเรื้อรัง
    นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้าไปยังประเทศที่เป็นแหล่งระบาด หรือมีความชุกของโรคสูง
    ในเด็กโตที่อายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไปและผู้ใหญ่ ควรตรวจเลือดก่อนฉีดวัคซีนนี้ เพื่อดูว่ามีภูมิคุ้มกันอยู่ก่อนการฉีดวัคซีนหรือไม่ เนื่องจากบางรายอาจเคยติดเชื้อ และมีภูมิคุ้มกันโรคตามธรรมชาติอยู่แล้ว
    ผู้ที่ “ควรงด” รับวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี

    เคยมีประวัติแพ้วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี ในครั้งก่อน หรือแพ้ต่อส่วนผสมต่างๆ ในวัคซีน
    หากมีไข้ หรือเจ็บป่วยเฉียบพลัน ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อน รอให้หายป่วยก่อนจึงค่อยมารับวัคซีน
    กรณีเป็นหวัดเล็กน้อย ไม่มีไข้ สามารถรับวัคซีนได้
    อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังรับวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี

    วัคซีนอาจทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงได้ แต่อย่างไรก็ตาม อาการแพ้อย่างรุนแรงจากวัคซีนพบได้น้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่มักไม่มีปัญหาใด ๆ
    ปฏิกิริยาที่อาจพบหลังจากฉีด ได้แก่ ไข้ต่ำๆ ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีดวัคซีน ซึ่งมักหายได้เองภายใน 1-2 วัน
    อาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้ ได้แก่ ปวดเมื่อย เพลีย ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ข้ออักเสบ ผื่นที่ผิวหนัง และมี transaminase เพิ่มขึ้นชั่วคราว
    หากมีอาการปวดบวมบริเวณที่ฉีดวัคซีนให้ประคบเย็น แต่ถ้ามีอาการผิดปกติอื่นนอกเหนือจากนี้ควรปรึกษาแพทย์
    หมายเหตุ :

    ในปัจจุบัน ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับการใช้วัคซีนในสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร อย่างไรก็ตามเนื่องจากวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย จึงอาจพิจารณาให้วัคซีนได้ ในกรณีที่มีความจำเป็น และคาดว่าประโยชน์ที่จะได้รับมีมากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
    พบผู้ที่ได้รับวัคซีนครบแล้ว แต่ไม่มีการตอบสนองสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคได้ ร้อยละ 1-3
    โดยทั่วไป ไม่จำเป็นต้องตรวจเลือด เพื่อดูภูมิคุ้มกันภายหลังการฉีดวัคซีน เว้นแต่ในรายที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง เช่น ผู้ป่วยฟอกไต ซึ่งหากพบไม่มีภูมิคุ้มกันตอบสนอง ควรพิจารณาฉีดวัคซีนซ้ำ
    สำหรับผู้ที่มีอายุ 8-65 ปี สามารถใช้วัคซีนรวมป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ เอ และบี ในเข็มเดียวกัน ซึ่งฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง ที่ 0,1 และ 6 เดือน
    การฉัดวัคซีนในกลุ่มผู้ป่วยที่กำลังป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี (Progressive state) หรือเป็นแต่ไม่แสดงอาการ (latent) จะไม่สามารถป้องกันโรคได้
    เนื่องจากไวรัสตับอักเสบบีมีระยะการฟักตัวนาน จึงเป็นไปได้ที่อาจไม่ทราบว่ามีการติดเชื้อระหว่างได้รับวัคซีน ในกรณีนี้อาจทำให้วัคซีนไม่สามารถป้องกันโรคได้
    วัคซีนนี้ไม่สามารถป้องกันเชื้ออื่น ๆ ได้ที่มีผลต่อตับ เช่น ไวรัสตับอักเสบเอ, ซีและอี
    หากมีข้อสงสัย ควรปรึกษาแพทย์



    ตอบลบ
  2. ไวรัสตับอักเสบมหันตภัยร้ายที่ป้องกันได้

    โรคไวรัสตับอักเสบบีและซีมีความสำคัญอย่างไร
    ไวรัสตับอักเสบมี 5 ชนิด ประกอบด้วย ไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดี และอี โดยไวรัสที่เป็นปัญหาสำคัญในบ้านเราได้แก่ ไวรัสตับอักเสบบีและซี เนื่องจากไวรัสทั้งสองชนิดทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และมีมะเร็งตับตามมา ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต

    ในประเทศไทยคาดว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีประมาณร้อยละ 5 ของประชากรหรือประมาณ 3 ล้านคน ส่วนผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมีประมานร้อยละ 1-2 ของประชากรหรือประมาน 1 ล้านคน

    ไวรัสตับอักเสบบี
    ในบ้านเราการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีส่วนใหญ่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก พบว่าช่วง 10-15 ปีแรกจะมีปริมาณไวรัสสูงมาก แต่ตับยังไม่อักเสบ เพราะเม็ดเลือดขาวยังไม่ทราบว่ามีไวรัสอยู่ในร่างกาย จนเข้าสู่วัยรุ่นเมื่อเม็ดเลือดขาวเริ่มตรวจพบและทำลายเซลล์ตับที่มีไวรัสอยู่ จึงทำให้มีไวรัสตับอักเสบเกิดขึ้น ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการของภาวะตับอักเสบเฉียบพลัน ได้แก่ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เจ็บใต้ชายโครงขาว มีไข้ต่ำ ตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม ในผู้ที่มีภูมิต้านทานแข็งแรงพอ จะสามารถควบคุมไวรัสได้ บางรายสามารถกำจัดไวรัสได้หมด การอักเสบก็จะลดลง อาการต่างๆ จะค่อยๆ ดีขึ้นจนเป็นปกติ ในทางกลับกันในผู้ที่มีภูมิต้านทานไม่แข็งแรงพอ ไวรัสที่เหลืออยู่มากก็จะก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรังและมีพังผืดเกิดขึ้นมาแทนที่ ซึ่งในระยะนี้ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ นานวันเข้าก็จะมีภาวะตับแข็งและมะเร็งตับเกิดขึ้น ซึ่งพบประมาณร้อยละ 15-40 ของผู้ป่วยที่มีตับอักเสบเรื้อรัง

    ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 100 เท่า และจะมีความเสี่ยงมากขึ้นอีกหากมีปัจจัยส่งเสริมอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ เพศชายมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ พบว่าผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งตับมีโอกาสมากกว่าคนอื่นๆ มีโรคตับอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การดื่มสุรา การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบดี จะทำให้ตับมีการอักเสบมากขึ้น การได้รับสารก่อมะเร็งโดยเฉพาะสารอะฟลาท็อกซิน (aflatoxin) ซึ่งสร้างจากเชื้อราที่มักพบในธัญพืชที่เก็บไว้นานๆ หรือในที่ชื้น โดยเฉพาะถั่วลิสง ถั่วป่น พริกป่น สารอะฟลาท็อกซินนี้ทนความร้อนเป็นได้ดีไม่ถูกทำลายด้วยการหุงต้ม
    ไวรัสตับอักเสบซี
    การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมักไม่ทำให้เกิดอาการเฉียบพลัน มากกว่าร้อยละ 85 ของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสนี้จะเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติ หากไม่ได้ไปพบแพทย์หรือตรวจเลือดดูค่าการทำงานของตับก็จะไม่ทราบว่าตนเองมีตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งร้อยละ 40-50 ของผู้ป่วยเหล่านี้จะเกิดภาวะตับแข็งภายใน 30-50 ปี และนำไปสู่มะเร็งตับในที่สุด

    ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับเพิ่มขึ้นประมาณ 20 เท่า พบว่าผู้ที่ดื่มสุราหรือมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือเอดส์ร่วมด้วยจะเกิดตับแข็งในเวลาอันรวดเร็ว
    เราจะป้องกันไวรัสตับอักเสบบีและซีได้อย่างไร
    เราสามารถลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีได้หลายวิธี ประกอบด้วย
    1. หลีกเลี่ยงการมีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การเจาะ สักผิวหนัง การใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น การใช้ของมีคมร่วมกับบุคคลอื่น เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ การมีคู่นอนหลายคนหรือมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน บุคลากรทางการแพทย์ ควรสวมถุงมือ แว่นตา หรือชุดคลุม เมื่อต้องสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยทุกครั้ง
    2. หญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ควรพบแพทย์ เพื่อประเมินว่ามีความจำเป็นต้อง กินยาต้านไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่ หากเชื้อไวรัสมีปริมานมากควรได้รับยากินต้านไวรัสช่วง 3 เดือนก่อนคลอด เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก และทารกควรได้รับการฉีดวัคซีนและอินมูโนกลอบบูลิน(hepatitis B immunoglobulin, HBIG) เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกคลอด
    3. การฉีดวัคซีน เรายังสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้โดยการฉีดวัคซีนซึ่งมี

    ตอบลบ
  3. ....ประสิทธิภาพดี โดยฉีดเพียง 3 เข็ด สามารถสร้างภูมิต้านทานซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ตลอดชีวิต ส่วนวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบซีในปัจจุบันยังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย
    ใครควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
    ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่ ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นไวรัสตับอักเสบบีทารกที่เกิดจากมารดาที่เป็นไวรัสตับอักเสบบี บุคลากรทางการแพทย์ สามีหรือภรรยาของผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบบี ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ต้องฟอกไต ผู้ที่ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น ผู้ป่วยที่ต้องได้รับยากดภูมิต้านทานเนื่องจากในปัจจุบันวัคซีนมีราคาถูกลงมากและมีความปลอดภัยสูงจึงควรฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่ยังไม่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและยังไม่มีภูมิต้านทานทุกคน
    ต้องตรวจเลือดก่อนฉีดวัคซีนหรือไม่
    ในทารกไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดก่อนฉีดวัคซีน แต่ในผู้ใหญ่ควรตรวจเลือดก่อน เนื่องจากอาจมีการติดเชื้อหรืออาจมีภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบบีแล้ว โดยตรวจ HBsAg ว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ และตรวจ anti-HBs ว่ามีภูมิต้านทานเกิดขึ้นแล้วหรือไม่ โดยต้องมีระดับของภูมิต้านทานมากกว่า 10 ยูนิต
    ต้องฉีดวัคซีนอย่างไร
    การฉีดวัคซีนแนะนำให้ฉีด 3 เข็ม ที่ 0, 1 และ 6 ตามลำดับ วัคซีนเข็มที่สองไม่ควรฉีดก่อนหนึ่งเดือน หากเลยกำหนดหนึ่งเดือนให้ฉีดเข็มที่สองทันทีที่นึกได้ และนับต่อไปอีกห้าเดือนสำหรับเข็มที่สาม

    การฉีดให้ฉีดเข้ากล้ามที่ต้นแขนเท่านั้น ยกเว้นในทารกควรฉีดเข้ากล้ามที่หน้าขาเพราะแขนมีขนาดเล็กมาก ขนาดที่ฉีดหากอายุน้อยกว่า 18 ปีให้ใช้ขนาดเด็กและมากกว่า 18 ปี ให้ใช้ขนาดผู้ใหญ่

    วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีในปัจจุบันผลิตโดยใช้วิธีทางพันธุวิศวกรรมทั้งสิ้น ไม่มีวัคซีนที่ผลิตจากน้ำเลือดอีกแล้ว การฉีดวัคซีนทั้งสามเข็มจะใช้ของบริษัทใดสามารถใช้ทดแทนกันได้หมด

    การฉีดวัคซีน มีผลเสียหรือไม่

    การฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีมีความปลอดภัยสูง ไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรง บางรายอาจมีไข้ต่ำๆ 1-2 วัน เจ็บหรือมีผื่นแดงบริเวณที่ฉีดวัคซีน
    ต้องเจาะเลือดซ้ำเพื่อดูภูมิต้านทานหลังฉีดวัคซีนครบหรือไม่

    เมื่อฉีดวัคซีนครบสามเข็ม โดยทั่วไปจะมักภูมิต้านทานเกิดขึ้นร้อยละ 95 จึงไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดซ้ำ เพื่อดูว่ามีภูมิต้านทานหรือไม่ ยกเว้นในบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงควรตรวจดูระดับของภูมิต้านทาน 1-2 เดือน หลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่สาม
    หากฉีดวัคซีนแล้วภูมิต้านทานไม่ขึ้น ควรทำอย่างไร

    ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็มแล้วภูมิต้านทานไม่ขึ้น พบได้น้อยประมาณร้อยละ 5 แนะนำให้ฉีดวัคซีนซ้ำ โดยอาจเพิ่มจำนวนเป็น 4 เข็ม ที่ 0,1,2 และ 6 เดือน หรือเพิ่มขนาดของวัคซีน หรือเปลี่ยนวิธีการฉีดจากฉีดเข้ากล้ามเนื้อเป็นเข้าชั้นผิวหนัง (intradermal injection) ซึ่งจะกระตุ้นภูมิต้านทานได้มากขึ้น

    จำเป็นต้องฉีดวัดซีนกระตุ้นหรือไม่
    ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นหลังจากฉีดวัคซีนครบจะค่อยๆ ลดลงตามระยะเวลามากกว่า 1 ใน 3 อาจมีภูมิตกลงจนตรวจไม่พบ แต่ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นอย่างรวดเร็ว หากได้รับเชื้อจึงไม่มีความจำเป็นต้องฉีดกระตุ้นอีก ยกเว้นในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดหรือผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

    หากโดนเข็มตำต้องทำอย่างไร
    หากบุคลากรทางการแพทย์โดนเข็มเจาะเลือดของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีตำ
    - หากยังไม่มีภูมิต้านทาน การฉีดวัคซีน 3 เข็มอย่างเดียว อาจสร้างภูมิต้านทานไม่ทัน ต้อง

    ฉีดอิมมูโน กลอบบูลิน (hepatitis B immunoglobulin; HBIG)ร่วมด้วยเสมอเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
    - ในกรณีที่มีภูมิต้านทานแต่ระดับน้อยกว่า 10 ยูนิต ควรได้รับการฉีดอิมมูโนกลอบบูลิน ร่วมกับ

    วัคซีน 1 เข็ม เพื่อกระตุ้นภูมิต้านทาน เนื่องจากภูมิต้านทานที่มีอยู่อาจไม่สูงเพียงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อ
    - ในกรณีที่ภูมิต้านทานมากกว่า 8 ยูนิต ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม นอกเหนือจากไวรัสตับอักเสบบี ผู้ที่โดนเข็มตำควรได้รับการตรวจเลือดเพื่อดูไวรัสตับอักเสบซีและเอชไอวีร่วมด้วย






    ตอบลบ
  4. ไวรัสตับอักเสบบีคืออะไร?
    ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B virus: HBV) เป็นไวรัสที่ทำให้ตับเกิดการติดเชื้อและอักเสบ ผู้ติดเชื้อที่อายุต่ำกว่า 5 ปีและผู้ใหญ่ที่มีภูมิคุ้มกันส่วนมากมักไม่มีอาการแสดง

    ส่วนผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันอาจเริ่มแสดงอาการภายใน 3 เดือนหลังติดเชื้อ บางรายอาจเกิดอาการติดเชื้อเฉียบพลัน โดยเฉพาะผู้สูงอายที่อายุ 60 ปีขึ้นไป

    ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีส่วนมากมักมีอาการในระยะสั้น เมื่อร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาก็จะหายเป็นปกติ

    แต่บางคนอาจนำไปสู่การติดเชื้อเรื้อรังมากกว่า 6 เดือน และอาจนำไปสู่โรคร้ายแรง เช่นตับแข็ง มะเร็งตับ ไวรัสตับอักเสบบีจึงอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่นำไปสู่การเสียชีวิตได้

    เชื้อสามารถติดต่อกันได้ผ่านทางเลือดและของเหลวในร่างกาย เช่น เลือด น้ำลาย และน้ำอสุจิ

    วัคซีนไวรัสตับอักเสบบีคืออะไร?
    วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี คือวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้ตับอักเสบ หากฉีดครบโดสตั้งแต่อายุไม่เกิน 6 เดือน อาจให้ผลป้องกันการติดเชื้อได้ตลอดชีวิต

    ระดับภูมิคุ้มกันอาจค่อยๆ น้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่หากได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบเข้าไป ภูมิคุ้มกันก็จะกลับมาทำงานได้อย่างรวดเร็ว

    ใครควรฉีดวัคฉีนตับอักเสบบี?
    ตามที่ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (Centers for disease control and prevention: CDC) แนะนำ

    ผู้ที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ทุกคนควรฉีด โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีโอกาสเสี่ยงรับเชื้อมากกว่าคนทั่วไป ดังนี้

    ผู้ที่คนในครอบครัวมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
    ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
    ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเกี่ยวกับตับ เช่น ตับแข็ง ไขมันพอกตับ
    ผู้ที่ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
    ผู้ที่จำเป็นต้องกินยากดภูมิต้านทาน
    ผู้ที่เดินทางต่างประเทศบ่อยๆ โดยเฉพาะประเทศที่มีไวรัสตับอักเสบบีเยอะ
    ผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างฟอกเลือด
    ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV
    ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอายุตั้งแต่ 19-59 ปี หากอายุ 60 ปีขึ้นไป แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าควรฉีดหรือไม่



    ตอบลบ
  5. ใครไม่ควรฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี?
    โดยปกติแล้ววัคซีนไวรัสตับอักเสบบีมีความปลอดภัยสูง แต่เช่นเดียวกับวัคซีนหลายๆ ชนิดที่มีข้อยกเว้นบางประการ และควรแจ้งกับแพทย์ก่อนรับวัคซีน ดังนี้

    ผู้ที่มีอาการแพ้วัคซีนไวรัสตับอักเสบบีอย่างรุนแรงในเข็มแรก
    ผู้ที่ไวต่อยีสต์หรือส่วนประกอบใดๆ ในวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
    ผู้ที่กำลังมีอาการป่วย อาจต้องรอให้หายสนิทก่อนจึงจะมาปรึกษาแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนอีกครั้ง
    วัคซีนไวรัสตับอักเสบฉีดตอนไหน และฉีดกี่เข็ม?
    ผู้ที่ทำการฝากครรภ์กับแแพทย์มักได้รับคำแนะนำให้ฉีดวัคซีนตับอักเสบบีตั้งแต่แรกเกิด และจะฉีดครบ 3 เข็มตั้งแต่อายุ 6-18 เดือน

    แต่ผู้ที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อนเลยก็สามารถฉีดได้เช่นกัน เพราะมีโอกาสที่จะรับเชื้อได้เมื่ออายุมากขึ้น

    ระยะเวลาการฉีดทั้ง 3 เข็มอาจมีดังนี้

    เข็มแรก สามารถนัดวันและเวลาได้ตามที่สะดวก
    เข็มที่สอง ฉีดห่างจากเข็มแรก 1 เดือน
    เข็มที่สาม ฉีดห่างจากเข็มแรก 6 เดือน
    หากลืมฉีดหรือมีเหตุให้เลื่อนนัด ให้รีบกลับไปปรึกษาแพทย์ทันทีที่สะดวก เพื่อให้แพทย์ประเมินความเหมาะสมในการฉีดให้ต่อ

    สิ่งที่ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
    เพื่อลดความเสี่ยงและผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีหากมีอาการใดๆ ดังต่อไปนี้

    มีไข้ หรือเกิดการติดเชื้อ
    เป็นโรคหัวใจ
    เป็นผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
    มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
    เป็นโรคไต
    อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ หรือกำลังพยายามมีลูก
    อยู่ระหว่างให้นมบุตร
    แพทย์จะเป็นผู้ประเมินความเหมาะสมว่าควรฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี หรือเว้นออกไปก่อน ขึ้นอยู่กับแต่ละคน

    วัคซีนไวรัสตับอักเสบบีปลอดภัยไหม?
    ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) แนะนำว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ถือว่ายังน้อยกว่าการติดไวรัสตับอักเสบบี

    นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1982 ได้มีการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีไปแล้วกว่า 100 ล้านคนในประเทศสหรัฐอเมริกา และยังไม่มีการรายงานผลกระทบรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

    ผลข้างเคียงของวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
    โดยปกติวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีค่อนข้างมีความปลอดภัย แต่บางคนอาจมีผลเคียงเล็กน้อย ดังนี้

    มีผื่นหรือรอยแดงบริเวณที่ฉีด
    ปวดหัว
    เวียนหัว
    อ่อนเพลีย
    อารมณ์แปรปรวน
    เจ็บคอ
    น้ำมูกไหล
    มีไข้
    คลื่นไส้



    ตอบลบ
  6. หากลืมนัดฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีทำอย่างไร?
    การฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีให้มีประสิทธิภาพจะต้องฉีดให้ครบโดสเท่านั้น หากลืมกำหนดนัดฉีดวัคซีน ให้ติดต่อผู้ให้บริการเพื่อนัดหมายใหม่ทันทีที่นึกออก

    วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ราคาพิเศษ
    ข้อควรระวังของวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
    ยาบางชนิดอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของไวรัสตับอักเสบบี หากใช้ยาใดๆ ดังต่อไปนี้ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนฉีดวัคซีน

    ยาที่กดการทำงานของภูมิคุ้มกัน เช่น Adalimumab, Anakinra, Infliximab เป็นต้น
    ยารักษาโรคมะเร็ง
    ยากลุ่มสเตียรอยด์ เช่น Prednisone, Cortisone
    อย่างไรก็ตาม รายการดังกล่าวไม่ใช่ทั้งของปัจจัยที่อาจกระทบต่อประสิทธิภาพของวัคซีนได้ การบอกข้อมูลสุขภาพ ประวัติการใช้ยา อาหารเสริม และสมุนไพรกับแพทย์อย่างครบถ้วน รวมถึงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และสารเสพติด จะช่วยให้แพทย์กำหนดแนวทางได้อย่างเหมาะสมขึ้น

    โดยสรุปแล้ว แม้จะมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้บ้าง หรือบางคนอาจมีอายุเลยวัยที่ควรฉีดมาแล้ว แต่หากเทียบผลกระทบกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ การฉีดวัคซีนป้องกันก็ยังคงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ



    ตอบลบ
  7. ไวรัสตับอักเสบเอและบี ป้องกันได้ด้วยวัคซีน


    การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบนอกจากจะส่งผลให้ตับไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติแล้ว หากปล่อยไว้จนตับอักเสบเรื้อรัง อาจทำให้เกิดโรคตับแข็ง และเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับได้
    ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ สามารถติดต่อได้ผ่านการรับประทานอาหาร น้ำดื่ม หรือสัมผัสสิ่งปนเปื้อนเชื้อไวรัสหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาจส่งผลให้ตับวาย
    การฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอเป็นการป้องกันโรคที่ได้ผลเกือบ 100% และสามารถป้องกันการติดเชื้อได้นานตลอดชีวิต
    โรคไวรัสตับอักเสบ คืออะไร
    โรคไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis) เป็นภาวะที่เกิดการอักเสบของตับ จากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซึ่งมีหลายสายพันธุ์ ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดี และอี โดยไวรัสทั้งหมดมีการติดต่อแตกต่างกันไปตามชนิดและลักษณะเฉพาะ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบนอกจากจะส่งผลให้ตับเสียหาย ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติแล้ว หากปล่อยไว้จนตับอักเสบเรื้อรัง อาจทำให้เกิดโรคตับแข็ง และเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับได้



    ตอบลบ
  8. ไวรัสตับอักเสบเอ
    ไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดเอ (Hepatitis A virus; HAV) สามารถติดต่อได้จากการรับประทานอาหาร น้ำดื่ม หรือสัมผัสสิ่งปนเปื้อนเชื้อไวรัส โดยเชื้อจะเข้าฝังตัวในลำไส้ แล้วค่อยๆ กระจายไปสู่ตับ จนเกิดการอักเสบของตับหลังจากได้รับเชื้อราว 1-2 สัปดาห์ ส่งผลให้เกิดภาวะอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และดีซ่าน ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาจส่งผลให้ตับวาย และเสียชีวิตได้

    สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอแล้วจะไม่เป็นซ้ำอีก รวมถึงผู้ที่มีภูมิคุ้มกันหรือฉีดวัคซีนป้องกันก็จะสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอได้เช่นกัน

    วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ
    การฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอเป็นการป้องกันโรค ที่ได้ผลเกือบ 100% และภูมิคุ้มกันที่ได้จากวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอจะอยู่ติดตัวไปได้ตลอด สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่เริ่มพาลูกๆ ออกไปมีกิจกรรมนอกบ้าน หรือเริ่มเข้าโรงเรียน อาจได้รับเชื้อจากการรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ หรือสัมผัสกับเชื้อได้ง่าย โดยฉีดวัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 6 เดือน สำหรับผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบเอ สามารถรับการฉีดวัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 6-12 เดือน โดยสามารถขอคำแนะนำหรือปรึกษาแพทย์

    ผู้ที่ควรฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ
    ผู้ที่จะเดินทางไปยังสถานที่ ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ซึ่งควรได้รับการฉีดวัคซีนก่อนเดินทางประมาณ 1 เดือน
    ผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบเอ
    ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องและมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ทั้งจากคน สัตว์และสิ่งแวดล้อม เช่น ผู้ดูแลผู้ป่วย หรือผู้ที่ทำงานในบ่อบำบัดน้ำเสีย
    ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน
    ผู้ที่ใช้ยาเสพติดทุกประเภท
    ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรัง
    บุคลากรที่ทำงานในโรงพยาบาลหรือห้องปฏิบัติการ
    พ่อครัว แม่ครัวที่ต้องปรุงอาหารเป็นประจำ



    ตอบลบ
  9. ไวรัสตับอักเสบบี
    ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (Hepatitis B virus; HBV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่อันตรายอย่างยิ่ง หากได้รับเชื้อแล้วไม่ได้รับรักษา อาจนำไปสู่การอักเสบเรื้อรัง ตับวาย ตับแข็ง และมะเร็งตับ โดยสามารถติดต่อผ่านทางการคลอด การสัมผัสเลือดหรือแผลเปิดของผู้ติดเชื้อ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ และการใช้อุปกรณ์ที่แหลมคมหรือของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น เข็มฉีดยา มีดโกนหนวด หรือแปรงสีฟัน

    วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
    อาจเรียกได้ว่าเป็นวัคซีนป้องกันมะเร็งชนิดแรก เนื่องจากสามารถช่วยป้องกันมะเร็งตับ อันเกิดต่อเนื่องจากภาวะไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งตับถึง 80% และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับสองของโรคมะเร็งทั้งหมด

    วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ประกอบด้วยโปรตีนจากผิวของไวรัส (HBsAg) ซึ่งไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แต่จะไปกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย สามารถฉีดป้องกันได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิด โดยฉีดเหมือนกับผู้ใหญ่ ทั้งหมด 3 เข็ม หลังจากฉีดเข็มแรกแล้ว 1 เดือนจึงฉีดเข็มที่ 2 และฉีดเข็มที่ 3 หลังจากฉีดเข็มที่ 2 แล้ว 5 เดือน

    เมื่อฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ครบ 3 เข็ม ส่วนใหญ่พบว่าร่างกายสร้างภูมิคุมกันได้มากถึง 97% และสามารถป้องกันการติดเชื้อได้นานตลอดชีวิต อย่างไรก็ตาม หลังจากได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม ประมาณ 1-2 เดือน ควรเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อยืนยันว่ามีภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี หากยังไม่มีภูมิต้านทาน ควรฉีดวัคซีนเพิ่มตามคำแนะนำของแพทย์

    ผู้ที่ควรฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
    ทารกแรกเกิด เด็ก และวัยรุ่นที่ไม่ได้รับวัคซีนเมื่อแรกเกิด
    ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่ทำงานในสถานพยาบาล
    ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง
    ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกไต
    ผู้ป่วยที่ได้รับเลือดบ่อยๆ
    ผู้ที่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
    ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
    ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเนื่องจากปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรมทางเพศ เช่น รักร่วมเพศ มีคู่นอนหลายคน



    ตอบลบ