Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566

โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด

 โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด






รู้จักโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด



ในช่วงฤดูร้อน หลายจังหวัดในประเทศไทยมีอุณหภูมิทะลุสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส จนติด 1 ใน 15 ของเมืองที่ร้อนที่สุดในโลก อากาศที่ร้อนจัดทำให้เสี่ยงต่อโรคลมแดด โรคที่มีอันตรายถึงชีวิต ซึ่งเคยมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคฮีทสโตรกถึง 18 ราย และคาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตสูงขึ้นเรื่อยๆ จากภาวะอากาศร้อนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี

โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heatstroke) เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีความร้อนสูงเกินไปซึ่งมักเกิดจากการทำงาน ใช้แรงงาน หรือออกกำลังกายอย่างหนักในภาวะแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง มักเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงถึง 40 องศาเซลเซียส หรือมากกว่า และมักจะเกิดในช่วงฤดูร้อนหรือบริเวณที่มีความชื้นในอากาศสูง อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญ เช่นสมอง หัวใจ ปอด ไต และกล้ามเนื้อได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้ บางรายถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้



สัญญาณเตือนโรคฮีทสโตรก ที่ควรระวัง


  • ตัวร้อนมาก อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
  • ผิวหนังแห้งและร้อน ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่มีเหงื่อออก
  • ความดันโลหิตลดลง
  • หัวใจเต้นเร็วมาก ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว
  • กระหายน้ำมาก
  • วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง หน้ามืด
  • คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย
  • อาจถึงขั้นชักกระตุก เกร็ง และหมดสติไป



ใครที่มีความเสี่ยงโรคลมแดด ( Heatstroke )


  1. เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าคนหนุ่มสาว
  2. ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง หรือโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน
  3. ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน
  4. ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ
  5. ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดดเป็นเวลานาน เช่น ออกกำลังกาย นักกีฬากอล์ฟ เกษตรกร ผู้ที่ทำกิจกรรมกลางแจ้ง
  6. ผู้ที่ทำงานออฟฟิศ ที่ทำงานในห้องแอร์เป็นเวลานานแล้วออกมาเจอกับอากาศร้อนจัด จนร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  7. ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร่างกายจะสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม และในสภาพอากาศที่ร้อนจัด
  8. แอลกอฮอล์ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น จนอาจทำให้ช็อกและเสียชีวิตได้




พบคนเป็นลมแดด ควรดูแลให้ดีก่อนนำส่งโรงพยาบาล


  1. รีบนำคนป่วยเข้าไปอยู่ในที่ร่ม อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่โดนแสงแดด เพื่อลดอุณหภูมิในร่างกายลง
  2. ให้คนป่วยนอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น
  3. คลายเสื้อผ้าให้หลวม เพื่อระบายความร้อนได้ไวขึ้น
  4. ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น หรือน้ำแข็งประคบตามซอกคอ ตัว รักแร้ ขาหนีบ หน้าผาก ใช้พัดลมช่วยเป่าระบายความร้อน เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกายให้ต่ำลงอย่างรวดเร็วที่สุด
  5. หากไม่หมดสติให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ และรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด



วิธีป้องกันตัวเองจากโรคลมแดด หรือฮีทสโตรก


  1. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรืออยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนจัด
  2. สวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน โปร่ง ไม่หนา น้ำหนักเบา ระบายความร้อนได้ดีและป้องกันแสงแดดได้
  3. จิบน้ำบ่อยๆ อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน ถึงแม้ไม่กระหายน้ำก็ตาม เพื่อเติมความชุ่มชื้นและลดอุณหภูมิร่างกาย
  4. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา รวมถึงกาแฟ และเครื่องดื่มน้ำตาลสูง
  5. อย่าทิ้งเด็ก ผู้สูงอายุ หรือสัตว์เลี้ยงไว้ในรถที่จอดอยู่กลางแจ้ง ความร้อนภายในรถจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคสูงมาก
  6. เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว ไม่ควรอยู่ในที่อากาศร้อนและไม่ควรอยู่ตามลำพัง
  7. สำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย แนะนำออกกำลังกายในที่ที่อากาศถ่ายเท ควรเลือกในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น เนื่องจากเป็นช่วงที่อากาศไม่ร้อนมาก และควรมีการอบอุ่นร่างกายก่อนทุกครั้ง
  8. สวมแว่นกันแดด สวมหมวกปีกกว้าง
  9. ผู้ที่มีโรคประจำตัวหากมีอาการผิดปกติ หรืออาการที่บ่งบอกตามข้างต้น ขอให้รีบพบแพทย์โดยทันที



*** หากพบคนเป็น " ฮีทสโตรก "  หมดสติหรือหายใจติดขัดแจ้ง  1669  ***


ที่มา   ::  https://www.synphaet.co.th


12 ความคิดเห็น:

  1. “ฮีทสโตรก” เสี่ยงถึงชีวิต

    กรมการแพทย์ เตือนคนทำงานกลางแจ้งเสี่ยงโรคลมแดด ผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ และ ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แนะหากมีสัญญาณเตือน เพลียหน้ามืด หรือเริ่มเป็นตะคริว ควรหยุดงานพาหลบแดดเข้าที่ร่มทันที

    ายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ในช่วงนี้ประเทศไทยเข้าสู่หน้าร้อน และมีอากาศร้อนจัด บางพื้นที่อุณหภูมิสูงสุดอาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ประชาชนอาจเป็นโรคลมแดด หรือฮีทสโตรก (Heat Stroke) ได้ คนทำงานกลางแจ้งที่เสี่ยงต่อโรคลมแดด เช่น กรรมกรก่อสร้าง เกษตรกร ทหาร นักกีฬา เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไทรอยด์เป็นพิษ คนอ้วน ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ และ ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์


    ซึ่งโรคจากความร้อนมีอาการหลายอย่างตามลำดับขั้นของอุณหภูมิที่สูงขึ้น เช่น การมีผื่นขึ้นตามตัว ตัวบวม อาการอ่อนเพลีย หรือที่เรียกว่าเพลียแดด เป็นตะคริว คลื่นไส้อาเจียน ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว ชัก มึนงง หน้ามืด หากไม่ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงทีอาจทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้

    การป้องกันโรคลมแดด

    พยายามหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดจัด
    ดื่มน้ำ 1-2 แก้วก่อนออกจากบ้าน และพยายามดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละ 1 ลิตร
    สวมเสื้อผ้าที่โปร่งสบาย สีอ่อน ระบายอากาศได้ดี ไม่รัดรูป สวมแว่นกันแดด กางร่ม ทาโลชั่นกันแดด
    เลือกออกกำลังกายการช่วงเช้าหรือเย็น
    หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
    หากพบเห็นผู้เป็นลมแดดให้รีบนำเข้าที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก ให้นอนราบยกเท้าทั้งสองข้างขึ้นสูง ถอดเสื้อผ้าให้เหลือน้อยชิ้น ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นน้ำแข็งประคบตามซอกคอ หน้าผาก รักแร้ ขาหนีบร่วมกับใช้พัดลมเป่าเพื่อระบายความร้อนและลดอุณหภูมิร่างกายให้ต่ำลงอย่างรวดเร็วที่สุด หากไม่หมดสติให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ และนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว





    ตอบลบ
  2. ฮีตสโตรกจากอากาศร้อน อันตรายถึงชีวิต

    อาการฮีทสโตรก
    ภัยจากอากาศร้อนมีตั้งแต่อาการน้อยจนถึงอาการมาก ผู้ป่วยที่มีอาการน้อยได้แก่ คนไข้ที่มีอาการตั้งแต่การบวมเฉพาะปลายมือ ปลายเท้า คนไข้ที่ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เวียนหัว

    ผู้ป่วยที่มีอาการมาก ได้แก่ กลุ่มคนไข้ที่มีอาการขาดน้ำจากการสูญเสียความร้อนเยอะ และอีกกลุ่มคือกลุ่มฮีทสโตรกหรือโรคลมแดด เป็นกลุ่มที่รุนแรงที่สุด

    ฮีทสโตรกสามารถทำให้เสียชีวิตได้ ความร้ายแรงของฮีทสโตรก คือ ร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น เมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นจะทำให้ระบบในร่างกายทำงานผิดปกติไป โดยความผิดปกติเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ มึนศีรษะ ปวดศีรษะ อันนี้เป็นอาการเริ่มต้น หลังจากนั้น ถ้าเราไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ ก็จะทำให้เกิดอาการฮีทสโตรก ก็จะมีอาการที่มีความรู้สึกตัวที่ผิดปกติไป อาจจะมีภาวะชัก หรือว่าการหมดสติจากการที่หัวใจเราเต้นผิดจังหวะได้ และสุดท้ายคือเสียชีวิตได้

    สาเหตุ
    ฮีตสโตรกหรือโรคลมแดด เกิดจากภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงมากจนทำให้เกิดภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ โดยอาการของกลุ่มฮีทสโตรก ส่วนใหญ่มักจะเกิดในผู้ป่วยที่อยู่กลางแดดนาน ๆ และมีอุณหภูมิกายมากกว่า 40 องศาเซลเซียส ร่วมกับภาวะที่มีความรู้สึกตัวที่ผิดปกติไป เช่น อาจจะหมดสติหรือมีภาวะชักได้ ซึ่งจะแตกต่างจากกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นลมปกติ โดยที่ประวัติที่แตกต่างกันเลยคือ ผู้ป่วยที่เป็นลมปกติไม่ได้อยู่กลางแดด

    สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคลมแดด
    อุณหภูมิที่สูง
    ความชื้น ความชื้นที่สูงทำให้อากาศถ่ายเทไม่ดี ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นได้
    ภาวะแรงลม ถ้าไม่มีลม ก็ไม่สามารถพัดความร้อนได้
    กลุ่มเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะโรคลมแดด
    กลุ่มที่ต้องทำงานอยู่กลางแจ้ง เช่น คนงานก่อสร้าง คนที่เป็นนักวิ่งมาราธอน
    คนสูงอายุ กลุ่มเด็ก พวกนี้จะมีการสูญเสียความร้อนได้มากกว่ากลุ่มวัยรุ่นปกติ
    คนไข้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ต้องใช้ยาโรคประจำตัว เช่น โรคพาร์กินสัน โรคความดันโลหิตสูง กลุ่มนี้ มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคลมแดดได้มากขึ้น
    การปฐมพยาบาล
    การปฐมพยาบาลกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคฮีทสโตรก อย่างแรกคือ ต้องดูว่าคนไข้มีภาวะความรู้สึกตัวที่ผิดปกติไปหรือเปล่า ถ้ามีภาวะความรู้สึกตัวที่ผิดปกติไป ให้ไปคลำชีพจรดูว่าการหายใจเขาผิดปกติหรือเปล่า ถ้ามีการหายใจที่ผิดปกติ ต้องทำ CPR และโทร 1669 เพื่อเรียกรถพยาบาลมารับผู้ป่วยไปโรงพยาบาลอย่างรวดเร็ว

    ในกลุ่มผู้ป่วยที่ยังมีความรู้สึกตัวที่ปกติดีอยู่ ก็สามารถนำผู้ป่วยเข้ามาในที่ร่มได้ และให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้เยอะ ๆ และรีบลดอุณหภูมิกายโดยการใช้น้ำแข็ง หรือการใช้ cool blanket คือการใช้ผ้ายาง ใส่น้ำแข็งลงไป แล้วให้ผู้ป่วยนอนอยู่ในตรงนั้น ถ้ามีพัดลม สามารถเปิดพัดลมได้

    ถ้าใช้เป็นผ้าชุบน้ำ ในคนไข้ที่เป็นโรคกลุ่มฮีทสโตรก มักจะไม่ค่อยได้ผล แต่สามารถใช้ได้ โดยการเช็ดตัวให้เช็ดตัวเหมือนผู้ป่วยที่เป็นไข้ คือเช็ดสวนขึ้นมาเข้าทางหัวใจ เช็ดทางเดียว และเปิดพัดลม

    การป้องกัน
    การดูแลตัวเองในหน้าร้อน คืออย่าไปอยู่กลางแจ้งให้นานเกินไป ถ้ามีร่มก็สามารถใช้ร่มได้ ดื่มน้ำให้มาก ๆ ทานน้ำแข็ง ทานไอศกรีม หรือถ้าอยู่ในบ้าน พยายามเปิดประตู หน้าต่าง อย่าอยู่ในที่อับ อย่าอยู่ในห้องปิด การอยู่ในห้องปิดจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่ได้ แล้วเกิดความร้อนสะสม ทำให้เกิดฮีทสโตรกได้แม้อยู่ในบ้าน

    ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว อย่าออกไปอยู่กลางแดดนานเกินไป ถ้าจำเป็นจริง ๆ ที่จะต้องออกไปอยู่กลางแจ้ง แนะนำว่าเราต้องหาเวลาเข้ามาอยู่ในที่ร่มบ้าง ถ้าเราอยู่กลางแดดนาน ๆ ก็จะเกิดฮีทสโตรกได้

    ข้อควรระวังคือ อย่าทำให้ร่างกายขาดน้ำ เตรียมน้ำ ดื่มน้ำเยอะ ๆ อาจจะต้องเยอะกว่าในฤดูอื่น

    ตอบลบ
  3. Heat Stroke (โรคลมแดด) โรคที่เกิดช่วงหน้าร้อน

    ปัจจุบันภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาที่ทุกคนให้ความสำคัญ เพราะนับวันอุณหภูมิโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร เดิมมีฤดูร้อนเป็นหลักอยู่แล้ว เมื่อมีภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นทำให้สภาพอากาศของประเทศร้อนจัดเพิ่มขึ้น ประชาชนมีความเสี่ยงต่อโรคที่เป็นผลจากความร้อนโดยตรง นั้นก็คือ "โรคฮีทสโตรก" หรือ "โรคลมแดด" (Heat Stroke) ซึ่งมักจะพบในฤดูร้อน โดยเกิดจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้ความร้อนในร่างกาย (Core Temperature) สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส และไม่สามารถระบายความร้อนออกมาทันทีได้ โรคนี้เมื่อเกิดอาการต้องรีบรักษาเนื่องจากมีโอกาสเสียชีวิตสูง

    อาการเบื้องต้นของโรคฮีทสโตรก

    มีไข้สูงมากกว่า 40.5 องศาเซลเซียส
    เมื่อยล้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
    อาการทางผิวหนัง : ไม่มีเหงื่อออก ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดงมากขึ้น
    อาการทางระบบประสาท : ปวดศีรษะ สับสน ตอบสนองช้า ชัก ไม่รู้สึกตัว หมดสติ
    อาการทางระบบไหลเวียนโลหิตและระบบการหายใจ : ความดันโลหิตต่ำ หายใจเร็ว มีการคั่งของของเหลวในปอด หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปัสสาวะออกน้อยหรือสีเข้ม เพราะมีการสลายกล้ามเนื้อ นำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลัน
    ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้

    สาเหตุของการเกิดโรคฮีทสโตรก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

    Classical Heat Stroke เกิดจากความร้อนในสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่มีมากเกินไปส่วนใหญ่เกิดในช่วงที่มีอากาศร้อน พบบ่อยในผู้ที่มีอายุมากและมีโรคเรื้อรัง มักเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง อาการที่สำคัญ คือ อุณหภูมิร่างกายสูง ไม่มีเหงื่อ มักเกิดในช่วงมีคลื่นความร้อนสูง ( Heat Wave) และอยู่ในบ้านที่ปิดมิดไม่มีที่ระบายอากาศ
    Exertional Heat Stroke เกิดจากการออกกำลังที่หักโหมเกินไป มักจะเกิดในหน้าร้อนโดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงานและนักกรีฑา อาการคล้ายกับ Classical แต่ต่างตรงที่กลุ่มผู้ป่วยประเภทนี้จะมีเหงื่อออกมากต่อมาเหงื่อจะหยุดออก นอกจากนี้ยังพบการเกิดการสลายเซลล์กล้ามเนื้อลาย โดยจะมีอาการแทรกซ้อน ได้แก่ ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง ระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ และพบไมโอโกลบินในปัสสาวะด้วย เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน หมดสติ ชัด อาจมีเลือดออกทุกทวาร
    สัญญาณสำคัญของโรคฮีทสโตรก

    สัญญาณสำคัญของโรคฮีทสโตรก ก็คือ ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกกระหายน้ำมาก วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียน ซึ่งต่างจากการเพลียจากแดดทั่วๆ ไป หากเกิดอาการดังกล่าวจะต้องหยุดพักทันที

    การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเจอผู้ป่วยสงสัยโรคฮีทสโตรก

    นำผู้มีอาการเข้าร่ม นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถอดเสื้อผ้าออก
    ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว คอ รักแร้ ข้อพับ ขาหนีบ ศีรษะ ร่วมกับการใช้พัดลมเป่า พ่นละอองน้ำ ระบายความร้อน
    เทน้ำเย็นราดลงบนตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุด แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล
    วิธีการป้องกันโรคฮีทสโตรก

    หากรู้ว่าจะต้องไปทำงานท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อน ก็ควรเตรียมตัวโดยการออกกำลังกายกลางแจ้งอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ อย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้ร่างกายชินกับสภาพอากาศร้อน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ( Heat Acclimatization)
    ดื่มน้ำ 1-2 แก้ว ก่อนออกจากบ้านในวันที่มีอากาศร้อนจัด และหากต้องอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนหรือออกกำลังกลางสภาพอากาศร้อน ควรดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละ 1 ลิตร แม้จะไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ตาม และแม้ว่าจะทำงานในที่ร่มก็ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
    สวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน ไม่หนา น้ำหนักเบา และสามารถระบายความร้อนได้ดี
    ก่อนออกจากบ้านควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่าเอสพีเอฟ 15 ขึ้นไป
    หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดในวันที่อากาศร้อนจัด หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในอากาศร้อนจัด ควรดื่มน้ำให้เพียงพอระหว่างออกกำลังกาย
    หลีกเลี่ยงการกินยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก โดยเฉพาะก่อนการออกกำลังกายหรือการอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนเป็นเวลานาน
    หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยาเสพติดทุกชนิด
    ในเด็กเล็กและคนชราควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ต้องจัดให้อยู่ในห้องที่อากาศระบายได้ดี และอย่าปล่อยให้เด็กหรือคนชราอยู่ในรถที่ปิดสนิทตามลำพัง



    ตอบลบ
  4. 1 Heat Stroke คืออะไร

    คือ ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัว กับความร้อนที่สูงมากขึ้นได้ ทำให้อุณหภูมิทั่วร่างกายสูง เกิน 40.5 C จนระบบการทำงานต่างๆ เสียไป โดยเฉพาะที่สมอง ทำให้เกิดอาการคล้าย หลอดเลือดสมอง (stroke) คือ ซึม อ่อนแรง ชักเกร็ง แต่ไม่ได้มีความผิดปกติจากหลอดเลือด โดยตรง เป็นผลเกิดจากความร้อนที่มากเกินไป ทำให้สมองทำงานผิดปกติ เลยเรียกว่า Heat Stroke

    นอกจากนี้ ความร้อน ยังไปทำลาย ระบบต่างๆ ได้มากมาย อาทิ กล้ามเนื้อ เกิดภาวะกล้ามเนื้อแตกสลาย จนไตวายได้

    2 Heat Stroke เกิดจากอะไร

    ความร้อนในร่างกายมาจาก ปัจจัยภายใน และ ภายนอก

    ภายใน ได้แก่ การออกกำลังที่หนัก ร่างกายจะร้อนขึ้น ส่วนภายนอกได้แก่ อากาศ แสงแดด Heat Wave ต่างๆ

    ปกติเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น สมองส่วน Hypothalamus จะกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้เราเหงื่อออก และ เลือดไปเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น ทำให้เราระบายความร้อนผ่านทางการระเหยของเหงื่อที่ผิวหนัง ทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลง

    แต่เมื่อสมดุลตรงนี้เสียไป เช่น อากาศร้อนมากๆ พร้อมออกกำลังหนักมาก เป็นเวลานาน หรือ การระบายความร้อนที่ทำได้ลดลง เช่น อากาศมีความชื้นสูง ทำให้การระบายเหงื่อพาความร้อนไปในอากาศเกิดลดลง

    ภาพรวมทำให้ สมดุลของการระบายความร้อนทำได้ไม่ดี จึงนำไปสู่อุณหภูมิร่างกายที่ค่อยๆสูงขึ้น จนสูงมากและเกิด Heat Stroke ในที่สุด
    กลุ่ม Heat Stroke ที่เกิดจากการออกกำลัง ออกแรง ฝึกทหาร และระบายความร้อนไม่ทัน เราเรียกกลุ่มนี้ว่า Exertional heat stroke

    3 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด Heat Stroke ง่ายขึ้น มาจาก

    การออกกำลังที่หนักในที่อากาศร้อนนานๆ, อากาศที่ร้อนมาก โดยเฉพาะการเกิด Heat Wave, การไม่ชินสภาวะ อากาศร้อน หรือมีอากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน, อากาศที่ชื้นมาก เกิน 75% จนทำให้การระบายเหงื่อยากขึ้น

    ดื่มน้ำไม่พอ ร่างกายขาดน้ำ

    ดื่ม เครื่องดื่ม ที่มี คาเฟอีน และ Alcohol ทำให้ร่างกายเสียน้ำจากปัสสาวะมากกว่าปกติ

    ใส่เสื้อผ้าที่หนาและไม่ระบายอากาศ

    4 อาการของ Heat Stroke ที่เราต้องสังเกต

    ปวดศีรษะ ขณะออกกำลัง, HR (ฮาร์ตเรต-จังหวะการเต้นของหัวใจ) ไม่ลง แม้ เบาการออกกำลังลง, คลื่นไส้ อาเจียน, ผิวหนังแดง ร้อน แห้ง บางรายอาจมีเหงื่อได้, เป็นตะคริวตามกล้ามเนื้อ หลายๆ ที่, หน้ามืด เป็นลม, ถ้าเป็นหนัก จะเริ่มมีอาการทางสมอง เบลอ พูดจาสับสน ชักเกร็ง หมดสติ

    ดังนั้น ถ้าเริ่มมีอาการปวดหัว HR สูงแปลกๆ กว่าที่เคย คลื่นไส้ อาเจียน ขณะออกกำลัง ให้สงสัยว่า เราอาจเริ่มมีอาการของ Heat Stroke ได้ ให้หยุดออกกำลังทันที และรีบทำให้ร่างกายเย็นลง แจ้งเพื่อนๆ ที่ไปด้วยกันทันที




    ตอบลบ
  5. 5 เราสามารถป้องกัน และลดการเกิดได้อย่างไร

    ตรงไปตรงมา หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก เวลาที่อากาศร้อนจัด เช่นเลือกเวลาออกกำลังกายตอน เช้า และเย็น

    ดูอุณหภูมิก่อนออกกำลังกาย ถ้าเกิน 38 องศาเซลเซียส ควรหลีกเลี่ยง หรือต้องเตรียมตัวให้พร้อม

    ถ้าจำเป็นต้องฝึกซ้อม เพื่อให้ร่างกายทนความร้อน ต้องค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อฝึกให้ร่างกายปรับตัว

    ดื่มน้ำให้เพียงพอ พรมน้ำตามร่างกายเป็นระยะๆ เอาแค่พอประมาณ ไม่เปียกโชก สามารถลดอุณหภูมิได้ ไม่ควรฝึกอดน้ำ หรือกินน้ำน้อยๆ ระหว่างแข่งหรือซ้อม

    สวม เสื้อ กางเกง ที่ระบายอากาศ ระบายความร้อนได้ดี

    6 ข้อแนะนำการดื่มน้ำในวันที่อากาศร้อนมาก

    แนะนำให้ดื่มน้ำ 700 ml ก่อนออกกำลัง 2 ชั่วโมง ค่อยๆ ดื่มเรื่อยๆ และพิจารณาดื่ม Sports Drink ประมาณ 250 ml แทนน้ำเปล่าบางส่วน
    ทุก 20 นาทีของการออกกำลังกาย ให้ดื่มน้ำอย่างน้อย ประมาณ 250 ml สลับกับเกลือแร่
    สังเกตสีปัสสาวะคร่าวๆ ว่าเรากินน้ำพอไหม ถ้าเข้มมาก แสดงว่าร่างกายยังขาดน้ำ

    7 เมื่อพบ คนที่สงสัยเป็น Heat Stroke ต้องทำยังไง
    Heat Stroke เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ทุกนาทีมีค่า ไม่แพ้ โรคหัวใจ โทรเรียก รถพยาบาลและต้องรีบ ทำให้อุณหภูมิคนที่เป็น ลดลงสู่ระดับปกติ อย่างเร็วที่สุด
    พาไปที่ๆ อากาศเย็น เพื่อลดอุณหภูมิ แช่น้ำเย็น หรือ หาน้ำแข็ง มาประคบตามตัวตาม ขาหนีบ รักแร้ คอ หลัง เพื่อลดอุณหภูมิกาย ลดความเสียหายระบบต่างๆ ในร่างกาย ที่เกิดจากความร้อน จนกว่าจะนำส่ง รพ. ตรงนี้ช่วยได้มากๆ อย่ารอเฉยๆ นะครับ

    สุดท้าย

    ช่วงนี้หน้าร้อนแล้ว เรายังสามารถออกกำลังกลางแจ้งได้รวมถึงแข่งกีฬา แต่ต้องเพิ่มความระวังในการออกกำลังกายที่หนักในวันที่อากาศร้อน และความชื้นสูง ต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ ขณะออกกำลังกาย

    ทุกงานแข่ง นอกจากรู้ระยะทาง เส้นทางแข่งแล้ว เราต้องรู้ อุณหภูมิ และความชื้นวันแข่ง เพื่อปรับความหนักในการ ออกกำลัง วางแผนการกินน้ำ แข่งกีฬาอย่างเหมาะสม และรู้เท่าทันอาการเริ่มแรกของ Heat Stroke นะครับ

    หมอแอร์

    (ขอบคุณเฟซบุ๊ก Akanis Srisukwattana)




    ตอบลบ
  6. ฮีทสโตรก ภัยเงียบในช่วงฤดูร้อน!

    ฮีทสโตรก ภัยเงียบในช่วงฤดูร้อน!



    ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ลำแสงของดวงอาทิตย์ จะตั้งฉากกับผิวพื้นโลกในเวลาเที่ยงวัน ทำให้ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์อย่างเต็มที่ ในช่วงตอนกลางวันหลายพื้นที่ในประเทศไทยอาจมีอุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียสเลยก็ว่าได้ จากสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นในช่วงนี้ แน่นอนว่าใครที่ต้องเผชิญกับแดดแรงๆ ร่างกายอาจเกิดภาวะขาดน้ำ และทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาโดยเฉพาะ โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heat Stroke)



    โรคลมแดด หรือฮีทสโตรก (Heatstroke) คืออะไร?

    ภาวะที่อุณหภูมิภายในร่างกายสูงเกิน 40 – 41องศาเซลเซียส และไม่สามารถระบายความร้อนให้กลับมาปกติได้ จึงส่งผลต่อระบบอวัยวะภายในอย่างระบบประสาท หัวใจ และไต จนทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะวิกฤต ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจส่งผลให้เสียชีวิตได้



    สัญญาณเตือน

    ตัวร้อนจัด มีไข้สูง กว่า 40 – 41 องศาเซลเซียส
    รู้สึกปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
    กระหายน้ำมาก
    ในระยะเริ่มต้น มักมีเหงื่อออกมาก แต่หากผ่านไปสักพัก จะมีภาวะไร้เหงื่อ แม้อยู่ในสถานที่ร้อนจัด แต่ไม่มีเหงื่อออก
    รู้สึกเหนื่อย หายใจเร็ว ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตลดลง
    ปัสสาวะสีเข้มผิดปกติ
    เป็นลม หรือหมดสติ


    การช่วยเหลือเบื้องต้น

    รีบนำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
    นอนราบยกขาสูงทั้งสองข้าง เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น
    คลายเสื้อผ้าให้หลวมเพื่อระบายความร้อน
    ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตัว หรือน้ำแข็งประคบตาม ซอกคอ ขาหนีบ รักแร้ เพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย
    หากอาการไม่ดีขึ้นใน 30 นาที ให้นำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด


    วิธีง่ายๆลดเสี่ยงฮีทสโตรก

    ดื่มน้ำให้พอเพียงวันละ8-10แก้ว เพื่อเติมความชุ่มชื้นและลดอุณหภูมิร่างกาย
    หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง
    ใส่เสื้อผ้าระบายอากาศได้ดีและป้องกันแดดได้
    หากทำงานหรือเล่นกีฬา ไม่ควรหักโหม
    ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
    ควรดูแลเด็กและผู้สูงอายุเป็นพิเศษ


    ทั้งนี้ หากพบเจอผู้มีอาการจากภาวะอากาศร้อน ควรให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้ามีอาการรุนแรงหรือหมดสติควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที แม้ว่าฮีทสโตรกจะเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว แต่เราสามารถดูแลและป้องกันตัวเองได้ด้วยการสังเกตุอาการ หากจำเป็นต้องออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรป้องกันตัวเองตามคำแนะนำเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอาการฮีทสโตรก





    ตอบลบ
  7. Heat Stroke (ฮีทสโตรก) โรคลมแดด

    Heat Stroke (ฮีทสโตรก) โรคลมแดด เป็นโรคที่น่ากลัว ถ้าหากวินิจฉัยช้าหรือรักษาได้ไม่ทัน ถึงขั้นเสียชีวิตได้!!!
    สาเหตุ:
    ในชีวิตประจำวันของเรายากที่จะหลีกเลี่ยงความร้อนที่เกิดขึ้นได้ พอโดนแดดนานๆ อาจเกิดโรคลมแดดขึ้นซึ่งมีที่มาจากความร้อน 2 แหล่งคือ
    1. ความร้อนจากภายนอก เช่น แสงแดด หรือที่ที่มีอุณหภูมิสูง
    2. ความร้อนจากภายใน คือ ความร้อนภายในร่างกาย ที่เกิดจากการเผาผลาญจะทำให้เกิดความร้อนภายในร่างกาย
    ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้ง 2 อย่าง โดยปรกติอุณหภูมิร่างกายเราจะอยู่ที่ 36-37.5 องศาเซลเซียส แต่พอเจอกับสภาพอากาศร้อนๆ ร่างกายก็จะพยายามหาทางจัดการกับความร้อน ร่ายกายจะปรับตัวมีการสูบฉีดโลหิต และหัวใจเต้นแรงขึ้น เลือดจะไปเลี้ยงที่ผิวหนังมากขึ้น เส้นเลือดที่ผิวหนังขยายตัว ต่อมเหงื่อทำงานมากขึ้น ทำให้มีเหงื่อออกมากร่างกายก็จะเสียน้ำ พอร่างกายขาดน้ำมากๆ ร่างกายจะนำเลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญแทน พอถึงจุดนึงเลือดก็จะไปเลี้ยงไม่พอ จากนั้นไต ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่มีหน้าที่กรองของเสีย และกำจัดเกลือแร่ ก็จะทำงานหนักของเสียในร่างกายก็คั่นค้าง ทำให้เกลือแร่ในร่างกายผิดปรกติไปจนทำให้เกิดไตวาย
    ความแตกต่างระหว่างโรคลมแดด และเป็นลม
    คนที่เป็นโรคลมแดดตัวจะแห้ง เนื่องจากเหงื่อออกไปเยอะจนไม่มีจะออกแล้ว และตัวจะร้อนมากอุณหภูมิร่างกายพุ่งสูงมาก อาจสูงขึ้นมากกว่า 40 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว
    กลุ่มเสี่ยงโรคลมแดด :
    – เด็ก และผู้สูงอายุ
    – ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ หรือโรคผิวหนังบางชนิดที่ระบายเหงื่อได้ไม่ดี เป็นต้น
    – กลุ่มผู้ทานยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น
    – ผู้ที่มีอาการไม่สบายอยู่ก่อน เช่น ท้องเสีย ถ่ายเหลว หรือคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งขาดน้ำอยู่ก่อนแล้ว
    – ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ
    การป้องกัน :
    – หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดนานๆ โดยเฉพาะเด็ก และผู้สูงอายุ หากจำเป็น ควรสวมหมวก หรือกางร่มบ้างก็ดี
    – พักผ่อนให้เพียงพอ
    – ดื่มน้ำให้เพียงพอ
    – สวมเสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่นจน อึดอัด และระบายอากาศได้ดี
    การดูแลผู้ป่วยโรคลมแดด เมื่อพบเจอผู้ป่วยโรคลมแดดควรปฏิบัติดังนี้ :
    – ย้ายผู้ป่วยเข้าในร่ม และอากาศถ่ายเทได้สะดวก ห้ามคนทั่วไปมามุง
    – ถ้าเสื้อผ้าระบายอากาศไม่ดีให้ปลดเสื้อเล็กน้อย
    – นำผ้าชุบน้ำธรรมดา หรือน้ำเย็นมาเช็ดตัว ตามแขน ขา ข้อพับ ซอกคอ ข้อแขนต่างๆ
    – ถ้ารู้สึกตัวดี ให้ดื่มน้ำได้ แต่ถ้าหากไม่รู้สึกตัว อย่าเพิ่งให้ดื่ม เพราะอาจจะสำลัก และอาจทำให้ปอดอักเสบติดเชื้อได้




    ตอบลบ
  8. รู้ทัน รู้ป้องกัน ฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด

    ในชีวิตประจำวันเราย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเจอแสงแดด โดยเฉพาะอากาศที่ร้อนจัด ย่อมส่งผลต่อการปรับสภาพของร่างกาย ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือการดูแลและปกป้องร่างกาย หากอยู่ในสภาวะฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด

    โรคฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดดเกิดจากอะไร

    เกิดจากอุณหภูมิของร่างกายเราสูงมากจนเกินไป ไม่สามารถที่จะขับอุณหภูมิออกได้ แล้วมีลักษณะอาการเหมือนจะเป็นลม คือมีอาการวิงเวียนเป็นหลัก สาเหตุเนื่องจากร่างกายเราถูกแสงแดดมากเกินไป หรืออยู่ในที่อากาศร้อนอบอ้าว ร่างกายไม่สามารถที่จะถ่ายเทอากาศออกได้ และทำให้ความร้อนในร่างกายไม่สามารถที่จะระเหยออกไปได้ เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงมากจนเกินไป โดยอาจจะเกิดจากสถานที่ร้อน หรือออกกำลังกายมากเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อสร้างความร้อนมาก ก็อาจทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ร่างกายรับไม่ไหว จึงเกิดปฏิกิริยาการตอบสนอง การหายใจล้มเหลวได้

    สัญญาณเตือนการเป็นโรคลมแดด

    ผู้ป่วยมีอาการกระหายน้ำมาก ร่างกายเราจะขาดน้ำเพราะอุณหภูมิสูงเกินไป
    มีอาการเวียนศีรษะ มองอะไรแล้ว งงๆ มึนๆ
    สังเกตเหงื่อของคนไข้ จะแห้ง ผิวแห้ง แล้วมีการระเหยของน้ำหมด ทำให้ระบบประสาททำงานไม่ปกติ
    บุคคลใดบ้างที่มีความเสี่ยงต่อโรคลมแดด

    กลุ่มอายุ
    ได้แก่เด็กและผู้สูงวัย

    กลุ่มที่มีโรคประจำตัว
    กลุ่มความดันโลหิตสูงที่รับประทานยาบางชนิด เช่นยาขับน้ำปัสสาวะ บางรายที่มีความดันโลหิตสูงจะต้องกินยาลดความดันหลายตัว บางรายกินยาลดความดันที่เป็นยาขับปัสสาวะร่วมด้วย ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคลมแดดมากขึ้นเพราะว่าน้ำไม่เพียงพอ

    กลุ่มที่ออกกำลังกาย
    บางรายที่ออกกำลังกายมากเกินไป และอยู่ในที่โล่งแจ้งถูกแสงแดด

    กลุ่มที่เป็นนักกีฬา
    มักจะออกกำลังกาย ในพื้นที่ปลอดอากาศ ไม่มีที่ระบายของอากาศ และอุณหภูมิไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคลมแดดได้มากขึ้น



    อุณหภูมิในร่างกายที่สูงขึ้น ต้องอยู่ในระยะเวลากี่นาทีในร่างกาย ที่อาจทำให้เกิดโรคลมแดดได้

    โดยปกติร่างกายเรา จะมีระบบสมองที่คอยควบคุมให้ร่ายกายของเราไม่ให้มีอุณหภูมิที่สูงมากจนเกินไป ซึ่งร่างกายปกติจุอยู่ในปริมาณ 37.5 องศา ถึงแม้ว่าอุณหภูมิภายนอก จะหนาวมากหรือร้อนมากก็ตาม สมองเราจะสั่งร่างกายทันที ให้มีการปรับอุณหภูมิให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ให้เหมาะกับตัวเรา หากร่างกายปรับได้ไม่ทัน จะมีอาการทางระบบประสาท ไม่ว่าจะนานเท่าไหร่ก็ตามก็สามารถเกิดฮีทสโตรกได้

    เกณฑ์การวินิจฉัย

    อุณหภูมิเป็นหลัก ไม่ขึ้นกับระยะเวลา
    ระบบประสาทที่ผิดปกติไป เช่นอาการวิงเวียนศีรษะ และบางคนมีอาการรุนแรง เกิดอาการชักกระตุกกล้ามเนื้อเกร็งเนื่องจากกล้ามเนื้อจะเสียสมดุลเกิดขึ้น แล้วถ้าหากยังไม่ได้รับการรักษา อย่างทันท่วงที ไม่เพียงแต่สมองที่ทำให้เกิดลักษณะของอาการชักกระตุกเท่านั้น แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ เซลล์ในร่างกายต่างๆซึ่งปกติใช้อุณหภูมิในการที่จะคงระดับเซลล์ ก็จะสูญเสียไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น ระบบการหายใจล้มเหลว หายใจถี่ขึ้นและล้มเหลวในที่สุด บางรายอาจต้องนอนห้อง ICU ใส่เครื่องช่วยหายใจ หากเป็นผู้ป่วยโรคไตอาจทำให้เกิดไตวายได้ ผู้ป่วยฮีทสโตรกเป็นภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง ต้องระวังเป็นอย่างมาก ทำให้อัตราการเสียชีวิต และหากไม่ได้รับการรักษา เพราะมีผลกระทบต่ออวัยวะทุกส่วน
    เราป้องกันโรคลมแดดได้อย่างไรบ้าง

    เมื่อเรารู้ว่าปัจจัยเสี่ยงต่อโรคลมแดด เกิดจากการที่เราไปสัมผัสอากาศร้อนมากและนานเกินไป ต้องหลีกเลี่ยงตรงบริเวณนั้น
    บุคคลที่มีความเสี่ยงคือเด็กและผู้สูงวัย ที่ได้รับยาบางชนิดต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
    พยายามอยู่ในที่มีการระเหยหรือว่าลดความร้อนได้ เช่น ใส่เสื้อผ้าหลวมๆ ไม่อึกอัดจนเกินไป
    อยู่ใกล้แหล่งน้ำ คือสามารถที่จะหยิบน้ำขึ้นมาดื่มได้ จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคลมแดดได้ หรือ วันหนึ่งควรดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อย 1 ลิตรต่อวัน คือให้ได้ 8 แก้วต่อวัน หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดโดยตรง ให้สวมหมวก เสื้อ ผ้าระบายความร้อนได้ดี
    หากเราพบผู้ป่วยโรคลมแดด ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไร

    หลักการโดยง่ายในการรักษาโรคลมแดด คือทำอย่างไรก็ได้ให้อุณหภูมิของร่างกายลดให้ลงเร็วที่สุด ในบางกรณีคนไข้อาจช่วยเหลือตัวเองไม่ดีเท่าที่ควร เพราะอาจมีอาการเวียนศีรษะ หรือบางราย จะมีอาการกล้ามเนื้อเกรง เดินโซเซ เมื่อพบเห็นควรปฐมพยาบาล ดังต่อไปนี้

    พาผู้ป่วยเข้าไปอยู่ในที่ร่มก่อน
    ให้ระบายอากาศอย่างรวดเร็ว เช่นปลดกระดุมเสื้อ หากเสื้อผ้าหนาให้ถอดออกเพื่อระบายอุณหภูมิในร่างกาย
    หากผู้ป่วยยังมีสติให้ดื่มน้ำเย็น ในกรณีหมดสติหลีกเลี่ยงการป้อนน้ำเพราะจะทำให้คนไข้เกิดอาการสำลัก นอกจากนี้ให้นำผ้าเย็นประคบตามซอกต่างๆของร่างกายผู้ป่วย เพื่อให้ความร้อนระเหยไปตามผ้า หลังจากนั้นนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด




    ตอบลบ
  9. รู้จัก "ฮีทสโตรก" หรือ โรคลมแดด ภัยร้ายใกล้ตัวช่วงหน้าร้อน

    ทำความรู้จัก "ฮีทสโตรก" หรือ โรคลมแดด โรคอันตรายที่พบบ่อยในช่วงหน้าร้อน อาการรุนแรงอาจถึงขั้นหมดสติหรืออันตรายถึงึชีวิตได้ หากรักษาล่าช้า
    เนื่องจากประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการแล้ว สภาพอากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง มีโอกาสป่วยโรค "ฮีทสโตรก" (Heat stroke) ได้ ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด

    "ฮีทสโตรก" (Heat stroke) หรือ โรคลมแดด ภัยร้ายช่วงหน้าร้อนนั้น เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ จากสภาพอากาศที่เกือบ 40 องศาฯ ทำให้ผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง หรือผู้ที่ต้องตากแดดเป็นเวลานานอาจมีอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ คล้ายจะเป็นลมก็เป็นได้

    "ฮีทสโตรก" (Heat stroke) หรือ โรคลมแดด ที่อาจจะทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ เพราะเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิพุ่งสูงถึง 40 องศาเซลเซียส อาจเกิดภาวะผิดปกติทางสมองเพราะการปรับตัวของร่างกาย อาจส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ หรือส่งผลกระทบต่อระบบประสาท หัวใจ ไต หรือระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น วดมึนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ตัวร้อน กระหายน้ำ เหงื่อออกมาก จนกระทั่งไม่มีเหงื่อในที่สุด และหัวใจเต้นแรง กระสับกระส่าย อาจเป็นลม หมดสติ เป็นตะคริว เดินเซ หากอันตรายกว่านั้นนอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด

    สังเกตอาการของ "ฮีทสโตรก" (Heat stroke) หรือ โรคลมแดด

    1. ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงถึง 40 องศา
    2. ไม่มีเหงื่อออก รู้สึกกระหายน้ำมาก
    3. หายใจถี่ ชีพจรเต้นแรง
    4. ปวดศีรษะ หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำ
    5. อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน


    สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป มี 6 กลุ่ม

    1. ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดด เช่น ออกกำลังกาย
    2. เด็กเล็กและผู้สูงอายุ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าคนหนุ่มสาว
    3. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง
    4. ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก
    5. ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ โดยร่างกายของคนอ้วนและผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอจะตอบสนองต่อความร้อนที่ได้รับช้ากว่าปกติ
    6. ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัวได้มากขึ้น ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่สูงกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม ซึ่งแอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้รวดเร็ว และออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้น ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจทำงานหนักเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย อาจทำให้ช็อกและเสียชีวิต


    คำแนะนำสำหรับประชาชนในการดูแลสุขภาพ

    1. สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน ระบายความร้อนได้ดี ควรอยู่ในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
    2. เลี่ยงการกินยาแก้แพ้หรือยาลดน้ำมูก
    3. ลดหรือเลี่ยงทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงกลางแจ้งนานๆ
    4. ใช้ครีมกันแดดที่ SPF15 ขึ้นไป สวมแว่นกันแดด กางร่ม สวมหมวกปีกกว้าง
    5. ควรดื่มน้ำ 2-3 ลิตรต่อวัน หรืออย่างน้อย 6-8 แก้ว เพื่อชดเชยการเสียน้ำในร่างกายจากเหงื่อออก
    6. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
    7. ผู้ที่ออกกำลังกาย ควรเลือกในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น เนื่องจากเป็นช่วงที่อากาศไม่ร้อนมาก และเป็นเวลาที่เหมาะสม


    *** หากพบคนเป็น " ฮีทสโตรก " หมดสติหรือหายใจติดขัดแจ้ง 1669 ***




    ตอบลบ
  10. วิธีลดความเสี่ยง ‘ฮีทสโตรก’


    ท่ามกลางอากาศร้อนของเมืองไทย อาจส่งผลให้เกิด ภาวะ ‘ฮีทสโตรก’ ที่อาจนำมาซึ่งอันตรายจนถึงชีวิตได้

    โดยฮีทสโตรก (Heat Stroke) เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดได้ โดยอาการของโรคดังกล่าว มีดังนี้

    - ตัวร้อน มีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิน 40 องศาเซลเซียส แต่ไม่มีเหงื่อออก
    - มีอาการ ปวดศีรษะ มึนงง หน้ามืด เพ้อ กระสับกระส่าย
    - หายใจเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ชีพจรเต้นเร็ว
    - คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย
    - กระหายน้ำมาก
    - บางรายถ้ามีอาการถึงขั้นชัก เกร็ง ช็อก หรือ หมดสติ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจจะทำให้เสียชีวิตได้

    ผู้ที่มีความเสี่ยง “โรคฮีทสโตรก” ได้แก่

    1. ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน

    2. เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ และผู้สูงอายุ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าหนุ่มสาว

    3. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น

    4. ผู้ที่มีภาวะอ้วน

    5. ผู้พักผ่อนไม่เพียงพอ โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะอ้วนร่วมด้วย จะส่งผลต่อกลไกควบคุมอุณหภูมิในร่างกายด้วย

    6. ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ซึ่งฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัวได้มากขึ้น ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่สูงมากกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม โดยในสภาพอากาศที่ร้อนจัด แอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้รวดเร็ว และออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้น มีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจต้องทำงานหนักเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย อาจทำให้ช็อกและเสียชีวิตได้

    8 วิธีลดความเสี่ยงโรคฮีทสโตรก

    1. สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี
    2. ควรอยู่ในอากาศที่ถ่ายเทได้สะดวก
    3. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง
    4. สวมแว่นกันแดด กางร่ม หรือ สวมหมวกปีกกว้าง
    5. ดื่มน้ำบ่อย ๆ ให้มากกว่าปกติ เพื่อชดเชยการเสียน้ำในร่างกายจากการเหงื่อออก
    6. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    7.ไม่ควรทิ้งเด็ก ผู้สูงอายุ หรือ สัตว์เลี้ยงไว้ในรถที่จอดไว้กลางแจ้ง เนื่องจากอุณหภูมิภายในรถจะสูงกว่าภายนอก
    8. สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ ควรเลือกช่วงเช้า หรือ ช่วงเย็นเพราะว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม

    อย่างไรก็ตาม ถ้าสงสัยว่ามีผู้ที่มีอาการป่วยจากภาวะอากาศร้อน ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยให้ดื่มน้ำเย็น และเช็ดตัวด้วยน้ำเย็น และให้อยู่ในที่ระบายอากาศที่ดี ซึ่งถ้ามีอาการที่รุนแรง หรือ หมดสติ ควรรีบส่งโรงพยาบาลทันที


    ตอบลบ
  11. วิธีป้องกันฮีทสโตรก อันตรายในช่วงหน้าร้อน


    ฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด เป็นภาวะที่มักเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงกว่า 40 องศาเซลเซียสภายในเวลา 10-15 นาทีเมื่ออยู่ท่ามกลางอากาศร้อนจัดติดต่อกัน ซึ่งหากมีอาการของภาวะฮีทสโตรกเกิดขึ้น ร่างกายจะไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในและอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ในเวลาต่อมา

    โดยทั่วไป ร่างกายจะเย็นลงได้เองเมื่อมีการขับเหงื่อออก แต่อุณหภูมิในร่างกายของผู้ป่วยที่มีภาวะฮีทสโตรกจะยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง จนอาจทำให้สมองหรืออวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายได้รับความเสียหายได้ เราทุกคนจึงควรทราบถึงสัญญาณและวิธีการป้องกันฮีทสโตรกที่เหมาะสมเพื่อความปลอดภัยของสุขภาพในช่วงหน้าร้อน

    สัญญาณของอาการฮีทสโตรกที่ควรรู้
    ภาวะฮีทสโตรกอาจส่งผลให้ร่างกายของผู้ป่วยมีอาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น ผิวร้อน อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียสแต่ไม่มีเหงื่อออก ลิ้นบวมและแห้ง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผิวแห้งและเปลี่ยนเป็นสีแดง มึนงง การรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง เดินโซเซ คลื่นไส้ อาเจียน พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง เวียนหัวหรือปวดหัวตุบ ๆ หัวใจเต้นช้าหรือเร็วผิดปกติ ชักหรือหมดสติ

    ฮีทสโตรกป้องกันได้อย่างไรบ้าง
    การป้องกันภาวะฮีทสโตรกสามารทำได้ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น

    ดื่มน้ำในปริมาณมากตลอดทั้งวันเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำและรักษาอุณหภูมิในร่างกายให้คงที่ หรือดื่มน้ำอย่างน้อย 1–2 แก้วก่อนออกไปอยู่กลางแจ้งในวันที่อากาศร้อนมาก แต่ไม่ควรดื่มน้ำเย็นจัดเพราะอาจทำให้ปวดบีบท้อง และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์
    เลือกสวมเสื้อผ้าที่มีสีอ่อน เนื้อผ้าบางเบา ระบายอากาศและความร้อนได้ดีอย่างผ้าฝ้ายหรือผ้าลินิน
    สวมหมวก แว่นตาดำหรือทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 เป็นอย่างน้อยทุก ๆ 2 ชั่วโมงเมื่อต้องอยู่กลางแจ้ง
    หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือการอยู่กลางแดดในวันที่อากาศร้อนจัด หากจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งให้เลือกทำในช่วงที่อากาศเย็นลงแล้ว หรือหลบเข้ามาพักในที่ร่มและดื่มน้ำเป็นระยะ
    หากออกกำลังกายกลางแจ้ง ควรพักดื่มน้ำทุก ๆ 20 นาทีแม้ไม่หิวน้ำ รวมทั้งควรชั่งน้ำหนักตัวก่อนและหลังการออกกำลังกายเพื่อเปรียบเทียบปริมาณของเหลวที่สูญเสีย และเพื่อให้ทราบปริมาณของเหลวที่ต้องดื่มเพื่อทดแทน
    ปรับปริมาณการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้น้อยลง แต่แบ่งมื้ออาหารออกเป็นหลาย ๆ มื้อแทน
    ทำให้ร่างกายเย็นอยู่เสมอด้วยการอาบน้ำหรือเช็ดตัวด้วยน้ำเย็น แช่เท้าในน้ำเย็น ปิดม่าน เปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ
    รับประทานยาอย่างระมัดระวัง เนื่องจากยาบางชนิดอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำหรือไม่สามารถระบายความร้อนได้ตามปกติ อีกทั้งยังควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาลดน้ำมูกหรือยาแก้แพ้หากต้องออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งติดต่อกันเป็นเวลานาน
    ตรวจดูว่ามีภาวะขาดน้ำหรือไม่จากสีของปัสสาวะ หากสังเกตเห็นว่าปัสสาวะมีสีเข้ม ให้ดื่มน้ำเพิ่มจนกว่าปัสสาวะจะเปลี่ยนเป็นสีอ่อนหรือใส
    ห้ามปล่อยให้เด็ก ผู้สูงอายุ หรือสัตว์เลี้ยงอยู่ในรถที่จอดทิ้งไว้โดยเด็ดขาด เนื่องจากอุณหภูมิในรถจะเพิ่มสูงขึ้นจนอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
    หากป้องกันการเกิดฮีทสโตรกด้วยวิธีดังกล่าวแล้ว แต่ยังคงสังเกตเห็นว่าตนเองหรือบุคคลใกล้ชิดมีอาการคล้ายกับภาวะฮีทสโตรก ควรโทรเรียกรถพยาบาลพร้อมทั้งปฐมพยาบาลในเบื้องต้นด้วยการย้ายผู้ป่วยเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นหรือมีร่มเงา

    นอกจากนั้น ควรถอดเสื้อผ้าชั้นนอกออก และทำให้ร่างกายของผู้ป่วยเย็นลงด้วยการฉีดน้ำ เช็ดตัวด้วยน้ำเย็นหรือจับแช่น้ำเย็น เปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ ประคบน้ำแข็งห่อผ้าขนหนูบริเวณหัว ซอกคอ รักแร้ และขาหนีบ เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ปลอดภัยมากที่สุด



    ตอบลบ
  12. ฮีทสโตรก(Heat Stroke) หรือ โรคลมแดดคืออะไร อาการและการปฐมพยาบาล



    ฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด

    ในช่วงเวลาที่กำลังจะเข้าสู่ช่วงหน้าร้อนแบบนี้ อุณหภูมิประเทศไทยอาจมีแนวโน้มที่จะพุ่งสูงถึง 41 องศาซึ่งเป็นอุณหภูมิที่สูงมากและอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ หนึ่งในอาการที่เราควรหันมาให้ความสนใจก็คือ อาการฮีทสโตรกหรือโรคลมแดด เป็นภาวะวิกฤตที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับความร้อนในร่างกาย และไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเรื่อยๆ เกินกว่า 41 องศา ส่งผลให้มีอาการหน้ามืด ปวดศีรษะ เพ้อ ชัก หายใจเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ หากปล่อยไว้นานเกินไปจะส่งผลเสียต่อ หัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ หรืออาจเสียชีวิตได้



    อาการที่บ่งบอกว่าเป็นฮีทสโตรก

    1. อุณหภูมิร่างกายสูงเกินกว่า 40 องศา
    2. วิงเวียน ปวดศีรษะ คลื่นไส้
    3. กระหายน้ำมาก
    4. มีอาการเหงื่อออกหรือภาวะที่ไม่มีเหงื่อแม้อากาศร้อนมาก
    5. หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็วแต่ชีพจรเต้นช้าลง ความดันโลหิตต่ำ
    6. เพ้อ ไร้สติ พูดไม่รู้เรื่อง
    7. ชักกระตุก หมดสติเป็นลม



    การปฐมพยาบาล

    1. นำผู้ป่วยย้ายไปอยู่ในที่ร่มและอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อให้อุณหภูมิร่างกายลดลง
    2. จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนราบและยกขาทั้งสองข้างให้สูงกว่าระดับศีรษะเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ดียิ่งขึ้น
    3. ถอดรองเท้า ถุงเท้า หากใส่เสื้อผ้าที่หนาให้ถอดออกหรือปลดกระดุมเพื่อให้หายใจสะดวก
    4. นำผ้าชุบน้ำเย็นหรืออุณหภูมิห้องเช็ดตัวผู้ป่วย ประคบตามซอกคอ ข้อพับแขนและขา เปิดพัดลมช่วยได้เพื่อให้อุณหภูมิร่างกายลดลงได้เร็วขึ้น
    5. หากผู้ป่วยยังมีสติควรให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ
    6. หลังจากปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด


    วิธีป้องกันการเป็นลมแดดหรือเป็นฮีทสโตรก

    อากาศในประเทศไทยช่วงหน้าร้อนจะมีอุณหภูมิที่สูงมากโดยอาจสูงได้ถึง 44 องศา และหากเราต้องออกเดินทางไปเรียน ทำงานหรือทำธุระข้างนอกควรจะปกป้องการเป็นฮีทสโตรกยังไงดี วันนี้เรามาแชร์วิธีการป้องกันการเป็นฮีทสโตรกกันดีกว่า

    1. ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยควรดื่มก่อนออกไปข้างนอก 1-2 แก้วและดื่มอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วตลอดวัน
    2. สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน ผ้าบางน้ำหนักเบา ใส่แว่นหรือกางร่มเมื่อต้องออกไปกลางแจ้งเพื่อป้องกันร่างกายถูกแสงแดดโดยตรง
    3. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้งหรือในช่วงเวลาที่อุณหภูมิสูง เป็นไปได้ควรออกกำลังตอนช่วงเช้าหรือช่วงเย็น
    4. ไม่ควรทิ้งเด็กหรือสัตว์เลี้ยงไว้ในรถที่ปิดสนิทเด็ดขาด เพราะภายในรถจะมีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นสูงได้เร็วมาก อาจสูงได้ถึง 50 องศาเลยทีเดียว
    งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์ ป้องกันการขับน้ำทางปัสสาวะออกจากร่างกาย


    สรุป
    ฮีทสโตรกเราอาจมองข้างหรือไม่ได้ให้ความสนใจกับมันขนาดนั้น แต่จริงๆแล้วมันอาจสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งตัวเองและคนใกล้ชิด หากพบใครที่มีอาการฮีทสโตรกตามด้านบนที่กล่าวมา ควรรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้น และรีบนำตัวส่งแพทย์ทันที






    ตอบลบ