Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566

“ โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก “ ภัยร้ายช่วงหน้าร้อน

 “ โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก “ ภัยร้ายช่วงหน้าร้อน





“โรคลมแดด” หรือ “ฮีทสโตรก” ( Heatstroke ) คือ โรคอันตรายที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อน โดยเกิดจากที่อยู่ท่ามกลางอากาศร้อนมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เมื่อเกิดอาการควรได้รับการรักษาในทันที เพราะอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า อาจทำให้อันตรายถึงแก่ชีวิตได้


อาการของโรคลมแดด


    
ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงถึง 40 องศา
•  
ไม่มีเหงื่อออก รู้สึกกระหายน้ำมาก
•  
หายใจถี่ ชีพจรเต้นแรง
•  
ปวดศีรษะ หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำ
•  
อ่อนเพลีย คลื่นไส ้อาเจียน




การป้องกันโรคลมแดด


•  
ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
•  
ใส่เสื้อผ้าสีอ่อน ระบายอากาศได้ดี
•  
ใช้ครีมกันแดด SPF 15 และไม่ควรทาครีมกันแดดหนาจนเกินไป
•  
หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดด หรือ การเล่นกีฬาในสภาพอากาศที่ร้อนจัด
•  
งดเครื่องดื่มแอลกฮอล์




หากพบผู้มี “อาการโรคลมแดด” ขอให้รีบนำเข้าที่ร่มอากาศถ่ายเทได้สะดวก ให้นอนราบยกเท้าทั้งสองข้างขึ้นสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียน ถอดเสื้อผ้าให้เหลือน้อยชิ้น คลายชุดชั้นใน ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น น้ำแข็งประคบตามซอกคอ หน้าผาก รักแร้ ขาหนีบร่วมกับใช้พัดลมเป่า เพื่อระบายความร้อนและลดอุณหภมิร่างกายให้ต่ำลงอย่างรวดเร็วที่สุด หากไม่หมดสติให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ และนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด



ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข




3 ความคิดเห็น:

  1. ฮีทสโตรก(Heat Stroke) หรือ โรคลมแดดคืออะไร อาการและการปฐมพยาบาล



    ฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด

    ในช่วงเวลาที่กำลังจะเข้าสู่ช่วงหน้าร้อนแบบนี้ อุณหภูมิประเทศไทยอาจมีแนวโน้มที่จะพุ่งสูงถึง 41 องศาซึ่งเป็นอุณหภูมิที่สูงมากและอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ หนึ่งในอาการที่เราควรหันมาให้ความสนใจก็คือ อาการฮีทสโตรกหรือโรคลมแดด เป็นภาวะวิกฤตที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับความร้อนในร่างกาย และไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเรื่อยๆ เกินกว่า 41 องศา ส่งผลให้มีอาการหน้ามืด ปวดศีรษะ เพ้อ ชัก หายใจเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ หากปล่อยไว้นานเกินไปจะส่งผลเสียต่อ หัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ หรืออาจเสียชีวิตได้



    อาการที่บ่งบอกว่าเป็นฮีทสโตรก

    1. อุณหภูมิร่างกายสูงเกินกว่า 40 องศา
    2. วิงเวียน ปวดศีรษะ คลื่นไส้
    3. กระหายน้ำมาก
    4. มีอาการเหงื่อออกหรือภาวะที่ไม่มีเหงื่อแม้อากาศร้อนมาก
    5. หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็วแต่ชีพจรเต้นช้าลง ความดันโลหิตต่ำ
    6. เพ้อ ไร้สติ พูดไม่รู้เรื่อง
    7. ชักกระตุก หมดสติเป็นลม



    การปฐมพยาบาล

    1. นำผู้ป่วยย้ายไปอยู่ในที่ร่มและอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อให้อุณหภูมิร่างกายลดลง
    2. จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนราบและยกขาทั้งสองข้างให้สูงกว่าระดับศีรษะเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ดียิ่งขึ้น
    3. ถอดรองเท้า ถุงเท้า หากใส่เสื้อผ้าที่หนาให้ถอดออกหรือปลดกระดุมเพื่อให้หายใจสะดวก
    4. นำผ้าชุบน้ำเย็นหรืออุณหภูมิห้องเช็ดตัวผู้ป่วย ประคบตามซอกคอ ข้อพับแขนและขา เปิดพัดลมช่วยได้เพื่อให้อุณหภูมิร่างกายลดลงได้เร็วขึ้น
    5. หากผู้ป่วยยังมีสติควรให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ
    6. หลังจากปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด


    วิธีป้องกันการเป็นลมแดดหรือเป็นฮีทสโตรก

    อากาศในประเทศไทยช่วงหน้าร้อนจะมีอุณหภูมิที่สูงมากโดยอาจสูงได้ถึง 44 องศา และหากเราต้องออกเดินทางไปเรียน ทำงานหรือทำธุระข้างนอกควรจะปกป้องการเป็นฮีทสโตรกยังไงดี วันนี้เรามาแชร์วิธีการป้องกันการเป็นฮีทสโตรกกันดีกว่า

    1. ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยควรดื่มก่อนออกไปข้างนอก 1-2 แก้วและดื่มอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วตลอดวัน
    2. สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน ผ้าบางน้ำหนักเบา ใส่แว่นหรือกางร่มเมื่อต้องออกไปกลางแจ้งเพื่อป้องกันร่างกายถูกแสงแดดโดยตรง
    3. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้งหรือในช่วงเวลาที่อุณหภูมิสูง เป็นไปได้ควรออกกำลังตอนช่วงเช้าหรือช่วงเย็น
    4. ไม่ควรทิ้งเด็กหรือสัตว์เลี้ยงไว้ในรถที่ปิดสนิทเด็ดขาด เพราะภายในรถจะมีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นสูงได้เร็วมาก อาจสูงได้ถึง 50 องศาเลยทีเดียว
    งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์ ป้องกันการขับน้ำทางปัสสาวะออกจากร่างกาย


    สรุป
    ฮีทสโตรกเราอาจมองข้างหรือไม่ได้ให้ความสนใจกับมันขนาดนั้น แต่จริงๆแล้วมันอาจสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งตัวเองและคนใกล้ชิด หากพบใครที่มีอาการฮีทสโตรกตามด้านบนที่กล่าวมา ควรรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้น และรีบนำตัวส่งแพทย์ทันที


    ตอบลบ
  2. รู้จัก "ฮีทสโตรก" หรือ โรคลมแดด ภัยร้ายใกล้ตัวช่วงหน้าร้อน

    ทำความรู้จัก "ฮีทสโตรก" หรือ โรคลมแดด โรคอันตรายที่พบบ่อยในช่วงหน้าร้อน อาการรุนแรงอาจถึงขั้นหมดสติหรืออันตรายถึงึชีวิตได้ หากรักษาล่าช้า
    เนื่องจากประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการแล้ว สภาพอากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง มีโอกาสป่วยโรค "ฮีทสโตรก" (Heat stroke) ได้ ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด

    "ฮีทสโตรก" (Heat stroke) หรือ โรคลมแดด ภัยร้ายช่วงหน้าร้อนนั้น เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ จากสภาพอากาศที่เกือบ 40 องศาฯ ทำให้ผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง หรือผู้ที่ต้องตากแดดเป็นเวลานานอาจมีอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ คล้ายจะเป็นลมก็เป็นได้

    "ฮีทสโตรก" (Heat stroke) หรือ โรคลมแดด ที่อาจจะทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ เพราะเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิพุ่งสูงถึง 40 องศาเซลเซียส อาจเกิดภาวะผิดปกติทางสมองเพราะการปรับตัวของร่างกาย อาจส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ หรือส่งผลกระทบต่อระบบประสาท หัวใจ ไต หรือระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น วดมึนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ตัวร้อน กระหายน้ำ เหงื่อออกมาก จนกระทั่งไม่มีเหงื่อในที่สุด และหัวใจเต้นแรง กระสับกระส่าย อาจเป็นลม หมดสติ เป็นตะคริว เดินเซ หากอันตรายกว่านั้นนอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด

    สังเกตอาการของ "ฮีทสโตรก" (Heat stroke) หรือ โรคลมแดด

    1. ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงถึง 40 องศา
    2. ไม่มีเหงื่อออก รู้สึกกระหายน้ำมาก
    3. หายใจถี่ ชีพจรเต้นแรง
    4. ปวดศีรษะ หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำ
    5. อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน


    สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป มี 6 กลุ่ม

    1. ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดด เช่น ออกกำลังกาย
    2. เด็กเล็กและผู้สูงอายุ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าคนหนุ่มสาว
    3. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง
    4. ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก
    5. ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ โดยร่างกายของคนอ้วนและผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอจะตอบสนองต่อความร้อนที่ได้รับช้ากว่าปกติ
    6. ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัวได้มากขึ้น ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่สูงกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม ซึ่งแอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้รวดเร็ว และออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้น ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจทำงานหนักเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย อาจทำให้ช็อกและเสียชีวิต


    คำแนะนำสำหรับประชาชนในการดูแลสุขภาพ

    1. สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน ระบายความร้อนได้ดี ควรอยู่ในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
    2. เลี่ยงการกินยาแก้แพ้หรือยาลดน้ำมูก
    3. ลดหรือเลี่ยงทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงกลางแจ้งนานๆ
    4. ใช้ครีมกันแดดที่ SPF15 ขึ้นไป สวมแว่นกันแดด กางร่ม สวมหมวกปีกกว้าง
    5. ควรดื่มน้ำ 2-3 ลิตรต่อวัน หรืออย่างน้อย 6-8 แก้ว เพื่อชดเชยการเสียน้ำในร่างกายจากเหงื่อออก
    6. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
    7. ผู้ที่ออกกำลังกาย ควรเลือกในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น เนื่องจากเป็นช่วงที่อากาศไม่ร้อนมาก และเป็นเวลาที่เหมาะสม


    *** หากพบคนเป็น " ฮีทสโตรก " หมดสติหรือหายใจติดขัดแจ้ง 1669 ***




    ตอบลบ
  3. ฮีทสโตรก ภัยเงียบในช่วงฤดูร้อน!

    ฮีทสโตรก ภัยเงียบในช่วงฤดูร้อน!



    ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ลำแสงของดวงอาทิตย์ จะตั้งฉากกับผิวพื้นโลกในเวลาเที่ยงวัน ทำให้ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์อย่างเต็มที่ ในช่วงตอนกลางวันหลายพื้นที่ในประเทศไทยอาจมีอุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียสเลยก็ว่าได้ จากสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นในช่วงนี้ แน่นอนว่าใครที่ต้องเผชิญกับแดดแรงๆ ร่างกายอาจเกิดภาวะขาดน้ำ และทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาโดยเฉพาะ โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heat Stroke)



    โรคลมแดด หรือฮีทสโตรก (Heatstroke) คืออะไร?

    ภาวะที่อุณหภูมิภายในร่างกายสูงเกิน 40 – 41องศาเซลเซียส และไม่สามารถระบายความร้อนให้กลับมาปกติได้ จึงส่งผลต่อระบบอวัยวะภายในอย่างระบบประสาท หัวใจ และไต จนทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะวิกฤต ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจส่งผลให้เสียชีวิตได้



    สัญญาณเตือน

    1. ตัวร้อนจัด มีไข้สูง กว่า 40 – 41 องศาเซลเซียส
    2. รู้สึกปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
    3. กระหายน้ำมาก
    4. ในระยะเริ่มต้น มักมีเหงื่อออกมาก แต่หากผ่านไปสักพัก จะมีภาวะไร้เหงื่อ แม้อยู่ในสถานที่ร้อนจัด แต่ไม่มีเหงื่อออก
    5. รู้สึกเหนื่อย หายใจเร็ว ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตลดลง
    6. ปัสสาวะสีเข้มผิดปกติ
    7. เป็นลม หรือหมดสติ


    การช่วยเหลือเบื้องต้น

    1. รีบนำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
    2. นอนราบยกขาสูงทั้งสองข้าง เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น
    3. คลายเสื้อผ้าให้หลวมเพื่อระบายความร้อน
    4. ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตัว หรือน้ำแข็งประคบตาม ซอกคอ ขาหนีบ รักแร้ เพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย
    5. หากอาการไม่ดีขึ้นใน 30 นาที ให้นำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด


    วิธีง่ายๆลดเสี่ยงฮีทสโตรก

    1. ดื่มน้ำให้พอเพียงวันละ 8-10 แก้ว เพื่อเติมความชุ่มชื้นและลดอุณหภูมิร่างกาย
    2. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง
    3. ใส่เสื้อผ้าระบายอากาศได้ดีและป้องกันแดดได้
    4. หากทำงานหรือเล่นกีฬา ไม่ควรหักโหม
    5. ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
    6. ควรดูแลเด็กและผู้สูงอายุเป็นพิเศษ


    ทั้งนี้ หากพบเจอผู้มีอาการจากภาวะอากาศร้อน ควรให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้ามีอาการรุนแรงหรือหมดสติควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที แม้ว่าฮีทสโตรกจะเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว แต่เราสามารถดูแลและป้องกันตัวเองได้ด้วยการสังเกตุอาการ หากจำเป็นต้องออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรป้องกันตัวเองตามคำแนะนำเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอาการฮีทสโตรก





    ตอบลบ