Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2566

เงินเดือนตำรวจไทย 2565

 

เงินเดือนตำรวจไทย 2565


เข้ายาก ใครๆ ก็อยากเรียน! 4 ตำรวจเผยเคล็ดลับ พิชิตโรงเรียนนายร้อย



เปิดเงินเดือนตำรวจไทย 2565 อัปเดตล่าสุด กับภารกิจพิทักษ์สันติราษฎร์

ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ เป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญที่จะช่วยให้บ้านเมือง รวมถึงประชาชนรู้สึกอุ่นใจ มีปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งภารกิจอันหนักอึ้งของตำรวจจะต้องแลกมาด้วยค่าตอบแทน หรือเงินเดือนนั่นเอง โดยข้อมูลตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 ค่าตอบแทนข้าราชการตำรวจตามยศ หรือลำดับขั้น โดยมีรายละเอียดดังนี้


เงินเดือนตำรวจไทย 2565เงินเดือนตำรวจไทย 2565



ข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอก (พิเศษ) ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส.5

  • อัตราเงินเดือน : 24,400-74,320 บาท

ข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจเอก ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส. 4

  • อัตราเงินเดือน : 19,860-70,360 บาท

ข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจโท ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส.3

  • อัตราเงินเดือน : 16,190-58,390 บาท

ข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจตรี ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส.2

  • อัตราเงินเดือน : 13,160-58,390 บาท

ข้าราชการตำรวจยศร้อยตำรวจเอก ร้อยตำรวจโท และร้อยตำรวจตรี ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส.1

  • อัตราเงินเดือน : 6,470-54,820 บาท

ข้าราชการตำรวจยศดาบตำรวจ ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ป.3

  • อัตราเงินเดือน : 10,350-54,820 บาท

ข้าราชการตำรวจยศจ่ายสิบตำรวจ อัตราเงินเดือนจ่าสิบตำรวจ (พิเศษ) ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ป.2

  • อัตราเงินเดือน : 7,140-29,690 บาท



การเลื่อนขั้นเงินเดือนตํารวจ

ข้าราชการตำรวจ จะเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละ 2 ครั้ง ในเดือนเมษายน และเดือนตุลาคม โดยจะมีการเลื่อนขั้นเงินเดือน ดังนี้

การได้ 2 ขั้น คือ ผู้ที่ตั้งใจทำงาน มีผลการปฏิบัติดี หรือผู้บังคับบัญชาพิจารณาเห็นสมควร จะได้เลื่อนขั้นเงินเดือน 2 ขั้น อนึ่งการเลื่อนขั้นเงินเดือน 2 ขั้น หลักเกณฑ์ห้ามเลื่อนติดต่อกันเกิน 2 ปี กล่าวคือ จะเลื่อนเป็น 2-2-2 ไม่ได้ ต้องเลื่อนเป็น 2-2-1.5 เป็น 1.5-2-2 หรือ 2-1.5-2

การได้ 1.5 ขั้น คือ ผู้ที่ทำงานตามปกติหน้าที่ของตนเอง หรือที่มักเรียกกันในวงการตำรวจว่า ” ความชั่วไม่มี ความดีไม่ปรากฎ ” จะได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน 1.5 ขั้น

การงดขั้นเงินเดือน คือ ผู้ที่กระทำผิดวินัยตำรวจ หรือถูกลงโทษให้งดขั้นเดือน ในวงการตำรวจมักเรียกว่า ” ถูกแป๊กขั้น ” หมายถึง ในปีนั้นจะไม่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนเลย



เงินเดือนตํารวจหญิง

เงินเดือนตำรวจหญิง กับเงินเดือนตำรวจชาย ไม่แตกต่างกันหากอยู่ในขั้นเงินเดือนเดียวกัน อยู่ที่วุฒิที่ใช้ในการบรรจุเข้าเป็นข้าราชการตำรวจ และการได้พิจารณาขั้นเงินเดือน 2 ขั้น 1.5 ขั้น หรืองดขั้น ตามความดีความชอบที่เราได้ปฏิบัติหน้าที่


หลักการปรับระดับขั้นเงินเดือนตำรวจ

ปกติเงินเดือนจะเลื่อนไปตามแท่งของมันจนกว่าจะตัน ส่วนใครรับแท่งไหนนั้น พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติฯ มาตรา 68 ให้เป็นไปตามยศ คือ ส.ต.ต. – ส.ต.อ. ระดับ ป.1 / จ.ส.ต. ระดับ ป.2 / ด.ต. ระดับ ป.3



  • เมื่อเป็นจ่า [ จ.ส.ต. ] จะข้ามจากแท่ง ป.1 มา ป.2 ปัญหาคือ ป.1 ขั้นที่รับอยู่นี้ จะข้ามมารับ ป.2 ขั้นไหน ?


  • กรณีนี้ จะใช้บัญชีปรับระดับในการเทียบ เอาไม้บรรทัดทาบเลย เงินเดือนปัจจุบันตรงกับ ขั้นไหน ก็รับขั้นนั้น [ ตามตัวอย่างกรอบสีแดงดังภาพ ]


เงินเดือนนายสิบตํารวจ ขั้นเงินเดือนตํารวจชั้นประทวน  


1.สายปราบปราม [ นสต. ]

  • นักเรียนนายสิบตำรวจชาย [ นสต. ] หลักสูตร 1 ปี 6 เดือน
  • สมมติสอบเข้ามา บรรจุอายุ 20 ปี บรรจุครั้งแรก ป.1 ขั้น 19 เงินเดือน 10,760 บาท [ จะมีเงินประจำตำแหน่ง ค่าครองชีพ และเงินตามสิทธิอื่น ๆ รวมรับที่ประมาณ 15,000 บาท ]
  • ความชั่วไม่มี ความดีไม่ปรากฏ ได้ปีละ 1.5 ขั้น รับราชการ 9 ปี อายุ 29 ติดยศจ่าสิบตำรวจ [ จสต.] เป็นจ่า จากเงินเดือน ป.1 ขั้น 32.5 ข้ามแท่งไปเป็น ป.2 ขั้น 24.5 เงินเดือน 18,790 บาท
  • รับราชการต่ออีก 3 ปี อายุ 32 ติดยศนายดาบตำรวจ [ ดต. ] เป็นดาบได้มาอีก 4.5 ขั้น จาก ป.2 ขั้น 29 ข้ามแท่งไปเป็น ป.3 ขั้น 21 เงินเดือน 23,340 บาท
  • หลังจากนี้ เหลือขั้นในระดับ ป.3 ให้เลื่อนอีก 26.5 ขั้น สูตรเดิม ความชั่วไม่มี ความดีไม่ปรากฏ ได้ปีละ 1.5 ขั้น ประมาณ 17 ปี อายุ 50 ขั้นจะตัน และเงินเดือนจะตันที่ 54,820 บาท
  • เมื่ออายุ 50 ปี รับราชการมาแล้ว 30 ปี เออลี่รีไทร์ได้บำนาญประมาณ 33,000 บาท ได้ทุกเดือน จนลมหายใจสุดท้ายของชีวิต


2.สายอำนวยการ

2.1 สอบด้วยวุฒิ ม.6

  • สมมติสอบเข้ามา บรรจุอายุ 20 ปี บรรจุครั้งแรก ป.1 ขั้น 13.5 เงินเดือน 8,610 บาท [ จะมีเงินประจำตำแหน่ง ค่าครองชีพ และเงินตามสิทธิอื่น ๆ รวมรับที่ประมาณ 15,000 บาท ]
  • ความชั่วไม่มี ความดีไม่ปรากฏ ได้ปีละ 1.5 ขั้น รับราชการ 9 ปี อายุ 29 ติดยศจ่าสิบตำรวจ [ จสต.] เป็นจ่าจากเงินเดือน ป.1 ขั้น 27 ข้ามแท่งไป ป.2 ขั้น 19 เงินเดือน 15,060 บาท
  • รับราชการต่ออีก 3 ปี อายุ 32 ติดยศนายดาบตำรวจ [ ดต. ] ได้มาอีก 4.5 ขั้น จาก ป.2 ขั้น 23.5 ข้ามแท่งไปเป็น ป.3 ขั้น 15.5 เงินเดือน 18,790 บาท
  • หลังจากนี้ เหลือขั้นในระดับ ป.3 ให้เลื่อนอีก 32 ขั้น สูตรเดิม ความชั่วไม่มี ความดีไม่ปรากฏ ได้ปีละ 1.5 ขั้น  ประมาณ 21 ปี อายุ 53 ขั้น ป.3 จะตันที่เดือนละ 54,820 บาท
  • รับราชการจนอายุ 53 ปี จะได้ปรับยศเป็น ร้อยตำรวจตรี [ ร.ต.ต. ] หรือที่จะเรียกกันว่า ” นายร้อย 53 ” ได้ยศ แต่เงินเดือนไม่ขึ้นแล้ว เพราะ ป.3 กับ ส.1 ตันเท่ากัน
  • เมื่ออายุ 50 ปี รับราชการมาแล้ว 33 ปี เออลี่รีไทร์ได้บำนาญ 36,000 บาท ได้ทุกเดือน จนลมหายใจสุดท้ายของชีวิต


2.2 สอบด้วยวุฒิ ปวช.

  • บรรจุครั้งแรก ป.1 ขั้น 15.5 เงินเดือน 9,330 บาท มากกว่าสอบด้วยวุฒิ ม.6 จำนวน 2 ขั้น เป็นเงิน 720 บาท
  • หลังจากนั้น ก็จะมีวิธีการคำนวณเหมือนกัน กรณี ความชั่วไม่มี ความดีไม่ปรากฎ ได้ 1.5 ขั้นตลอดการรับราชการ ขั้นอาจจะตันอยู่ที่อายุ 52 ปี


กรณี นสต.ชาย สายปราบปราม อายุไม่เกิน 24 ปี สอบโควตาโรงเรียนเตรียมทหาร


  • จะรับตามขั้นเงินเดือนสุดท้าย ก่อนสอบติด จนกว่าจะสำเร็จการศึกษา
  • สมมติ สิบตำรวจตรี [ ส.ต.ต. ] อายุ 18 ปี บรรจุครั้งแรก ป.1 ขั้น 19 เงินเดือน 10,760 บาท
  • ต่อมาสอบโควตาเข้าโรงเรียนเตรียมทหารได้เลย ก็จะรับเงินเดือน 10,760 บาท ตลอด 2 ปี ที่ศึกษาอยู่โรงเรียนเตรียมทหาร [ รับเฉพาะเงินเดือน ไม่รวมเงินสิทธิอื่น ๆ เพราะยังไม่ได้ทำงาน ]
  • จบโรงเรียนเตรียมทหาร ศึกษาต่อโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ก็จะได้รับเงินเดือน 10,760 บาท ตลอด 4 ปี ที่ศึกษาอยู่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ [ รับเฉพาะเงินเดือน ไม่รวมเงินสิทธิอื่น ๆ เพราะยังไม่ได้ทำงาน ]
  • จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ติดยศ ร้อยตำรวจตรี [ ร.ต.ต. ] จะปรับเงินเดือน โดยเป็นสัญญาบัตร ส.1 ขั้น 19.5 เงินเดือน 15,920 บาท [ เงินนี้ยังไม่รวมเงินประจำตำแหน่ง หรือเงินอื่น ๆ ตามสิทธิของทางราชการที่พึงได้อีก เพราะจบมาทำงานแล้ว ]


สรุปขั้นเงินเดือน


  • สายปราบปราม [ หลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจ : นสต. หลักสูตร 1 ปี 6 เดือน ] ขั้นเงินเดือนจะตันที่อายุ 50 ปี รับราชการมาแล้ว 30 ปี เออลี่รีไทร์ได้บำนาญประมาณ 33,000 บาท ได้ทุกเดือน จนลมหายใจสุดท้ายของชีวิต
  • สายอำนวยการ [ จะมีการอบรมหลักสูตรระยะสั้น เมื่อสอบติดจะมีการแจ้งรายละเอียดการอบรม ] สอบด้วยวุฒิ ม.6 บรรจุครั้งแรก ป.1 ขั้น 13.5 เงิน 8,610 บาท ขั้นเงินเดือนจะตันที่อายุ 53 ปี  รับราชการมาแล้ว 33 ปี เออลี่รีไทร์ได้บำนาญ 36,000 บาท ได้ทุกเดือน จนลมหายใจสุดท้ายของชีวิต [ สอบด้วยวุฒิ ปวช. ขั้นจะมากกว่า 2 ขั้น ในการบรรจุครั้งแรก นอกนั้นการคำนวณเหมือนเดิม ]

ขั้นเงินเดือนตํารวจ ขั้นละกี่บาท

ขั้นเงินเดือนตำรวจมีวิธีการคิดแบบข้างต้น แต่ละขั้นจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับว่าเป็นระดับไหน ป.1 ,ป.2 ,ป.3 ,ส.1 ,ส.2 ,ส.3 ฯลฯ ตามตารางด้านบน


เงินเดือนนายร้อยตํารวจ ขั้นเงินเดือนตำรวจชั้นสัญญาบัตร


ขั้นเงินเดือนนายร้อยตำรวจ ก็มีวิธีคิดคล้ายกับนายสิบตำรวจ โดยจะเปลี่ยนจาก ป.1 [ ป. ย่อมาจากชั้นประทวน หรือนายสิบตำรวจ ] เป็น ส.1 [ ส. ย่อมาจากชั้นสัญญาบัตร หรือนายร้อยตำรวจ ]

สมมติสอบนายร้อย สายสอบสวนได้  ก็จะเทียบตารางตามด้านบนคล้าย ๆ กับของนายสิบตำรวจ เทียบและคำนวณไปเรื่อย ๆ

  • บรรจุครั้งแรก ส.1 ขั้น 19.5 เงินเดือน 15,920 บาท
  • ส.1 ขั้นสูงสุด (รวมขั้นเยียวยาแล้ว) คือ 56.5
  • ถ้าไม่ได้ขึ้นตำแหน่งสารวัตร [ สว. ] มีขั้นเหลือให้เลื่อนอีก 38 ขั้น
  • สูตรเดิม ความชั่วไม่มี ความดีไม่ปรากฎ เลื่อนปีละ 1.5 ขั้น ตลอดอายุราชการ ใช้เวลาประมาณ 25 ปี ขั้นเงินเดือนจะตัน

ใครจะเป็น รอง สารวัตร [ รอง สว. คือ ตำแหน่ง มียศตั้งแต่ ร.ต.ต. ถึง ร.ต.อ. ] นานขนาดนั้น ?

  • ปัจจุบันมี รอง สว. อยู่ประมาณ 34,000 คน
  • มีตำแหน่งให้เลื่อนขึ้น ปีละไม่เกิน 1,500 ตำแหน่ง
  • รอง สว. คนสุดท้าย ที่จะได้เลื่อนขึ้นเป็น สว. อาจต้องใช้เวลาถึง 22 ปี
  • อาจจะมีคนเงินเดือนตันที่ ส.1 ยศ ร.ต.อ. เงินเดือน 54,820 บาท แต่ก็ถือว่าเงินเดือนเยอะพอสมควร

นายร้อยตำรวจ สายสอบสวน หรือพนักงานสอบสวน [ พงส. ] บรรจุครั้งแรก คือ ส.1 ขั้น 19.5 เงินเดือน 15,920 บาท โดยจะมีเงินประจำตำแหน่งเพิ่มขึ้นมาอีก นอกเหนือจากเงินเดือน ดังนี้

  1. รองสารวัตร สอบสวน เงินประจำตำแหน่ง 12,000 บาท [ ยศร้อยตำรวจตรี – ร้อยตำรวจเอก ]
  2. สารวัตร สอบสวน เงินประจำตำแหน่ง 14,400 บาท [ ยศร้อยตำรวจเอก – พันตำรวจโท ]
  3. รองผู้กำกับการ สอบสวน เงินประจำตำแหน่ง 17,300 บาท [ ยศพันตำรวจโท ]
  4. ผู้กำกับการ สอบสวน เงินประจำตำแหน่ง 21,000 บาท [ ยศพันตำรวจเอก ]




ยศตำรวจไทย

Police Ranks
 


ยศตำรวจภาษาไทย      ตัวย่อ                 ยศตำรวจภาษาอังกฤษ                  ตัวย่อ

พลตำรวจเอก                พล.ต.อ.                 Police General                             Pol.Gen.

พลตำรวจโท                 พล.ต.ท.                 Police Lieutenant General          Pol.Lt.Gen.

พลตำรวจตรี                 พล.ต.ต.                 Police Major General                  Pol.Maj.Gen.

พันตำรวจเอก               พ.ต.อ.                    Police Colonel                              Pol.Col.

พันตำรวจโท                พ.ต.ท.                    Police Lieutenant Colonel           Pol.Lt.Col.

พันตำรวจตรี                 พ.ต.ต.                   Police Major                                 Pol.Maj.

ร้อยตำรวจเอก             ร.ต.อ.                     Police Captain                              Pol.Capt.

ร้อยตำรวจโท              ร.ต.ท.                     Police Lieutenant                         Pol.Lt.

ร้อยตำรวจตรี               ร.ต.ต.                    Police Sub-Lieutenant                Pol.Sub-Lt.

ดาบตำรวจ                  ด.ต.                     Police Senior Sergeant Major    Pol.Snr.Sgt.Maj.

จ่าสิบตำรวจ               จ.ส.ต.                     Police Sergeant Major                 Pol.Sgt.Maj.

สิบตำรวจเอก             ส.ต.อ.                     Police Sergeant                             Pol.Sgt.

สิบตำรวจโท              ส.ต.ท.                     Police Corporal                            Pol.Cpl.

สิบตำรวจตรี              ส.ต.ต.                     Police Lance Corporal                 Pol.L/Cpl.    




 


ที่มา   ::    https://www.sanook.com/money/883835/  ,  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ,   http://www.royalthaipolice.go.th/admin/download/file/Police_English.xls   ,  https://tutordd.com/


3 ความคิดเห็น:

  1. พระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2565 แต่การพิจารณาอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจแบบใหม่ยังอยู่ในกระบวนการ โดย พ.ร.บ นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างฐานเงินเดือนใหม่ที่เป็นธรรมต่อนายตำรวจชั้นผู้น้อย และป้องกันการคอร์รัปชัน หรือการเก็บส่วยของเจ้าหน้าที่รัฐ



    อัตรา เงินเดือนตำรวจ 2566 ประเภทมียศ
    ข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจเอก ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของระดับ ส.9

    อัตราเงินเดือน : 78,030 บาท
    ข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจเอก ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส.8

    อัตราเงินเดือน : 39,090 – 76,800 บาท
    ข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจโท ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส.7

    อัตราเงินเดือน : 35,090 – 76,800 บาท
    ข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจตรี ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส.6

    อัตราเงินเดือน : 29,980 – 76,800 บาท
    ข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอก (พิเศษ) ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส.5

    อัตราเงินเดือน : 26,460 – 74,320 บาท
    ข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจเอก ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส.4

    อัตราเงินเดือน : 22,700 – 70,360 บาท
    ข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจโท ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส.3

    อัตราเงินเดือน : 19,410 – 58,390 บาท
    ข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจตรี ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส.2

    อัตราเงินเดือน : 16,920 – 58,390 บาท
    ข้าราชการตำรวจยศร้อยตำรวจเอก ร้อยตำรวจโท และร้อยตำรวจตรี ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส.1

    อัตราเงินเดือน : 12,530 – 54,820 บาท
    ข้าราชการตำรวจยศดาบตำรวจ ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ป.3

    อัตราเงินเดือน : 14,030 – 54,820 บาท
    ข้าราชการตำรวจยศจ่าสิบตำรวจ อัตราเงินเดือนจ่าสิบตำรวจ (พิเศษ) ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ป.2

    อัตราเงินเดือน : 12,330 – 29,690 บาท
    ข้าราชการตำรวจยศจ่าสิบตำรวจ สิบตำรวจเอก สิบตำรวจโท และสิบตำรวจตรี ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ป.๑

    อัตราเงินเดือน : 8,610 – 21,980 บาท
    ข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจสำรอง ให้ได้รับเงินเดือนระดับ พ.๑

    อัตราเงินเดือน : 3,070 – 6,790 บาท




    ตอบลบ
  2. อัตรา เงินเดือนข้าราชการ 2566 แต่ละตำแหน่ง ขั้นต่ำ-ขั้นสูง เท่าไหร่


    ปัจจุบันข้าราชการพลเรือนสามัญ แบ่งบัญชีเงินเดือนออกเป็น 4 บัญชี ตามประเภทตำแหน่ง ได้แก่ ประเภทบริหารประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ และประเภททั่วไป ซึ่งแต่ละประเภทได้มีการกำหนดเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของแต่ละระดับไว้ ตาม พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558

    เงินเดือนข้าราชการ 2566 ขั้นต่ำ-ขั้นสูง ตำแหน่งทั่วไป
    1.ระดับปฏิบัติงาน

    ขั้นสูง : 21,010 บาท

    ขั้นต่ำ : 4,870 บาท

    2.ระดับชำนาญงาน

    ขั้นสูง : 38,750 บาท

    ขั้นต่ำ : 10,190 บาท

    3.ระดับอาวุโส

    ขั้นสูง : 54,820 บาท

    ขั้นต่ำ : 15,410 บาท

    4.ระดับทักษะพิเศษ

    ขั้นสูง : 69,040 บาท

    ขั้นต่ำ : 48,220 บาท

    อัตราเงินเดือนข้าราชการ ขั้นต่ำ-ขั้นสูง ตำแหน่งวิชาการ
    1.ระดับปฏิบัติการ

    ขั้นสูง : 26,900 บาท

    ขั้นต่ำ : 8,340 บาท

    ขั้นต่ำชั่วคราว : 7,140 บาท

    2.ระดับชำนาญการ

    ขั้นสูง : 43,600 บาท

    ขั้นต่ำ : 15,050 บาท

    ขั้นต่ำชั่วคราว : 13,160 บาท

    3.ระดับชำนาญการพิเศษ

    ขั้นสูง : 58,390 บาท

    ขั้นต่ำ : 22,140 บาท

    ขั้นต่ำชั่วคราว : 19,860 บาท

    4.ระดับเชี่ยวชาญ

    ขั้นสูง : 69,040 บาท

    ขั้นต่ำ : 31,400 บาท

    ขั้นต่ำชั่วคราว : 24,400 บาท

    5.ระดับทรงคุณวุฒิ

    ขั้นสูง : 76,800 บาท

    ขั้นต่ำ : 43,810 บาท

    ขั้นต่ำชั่วคราว : 29,980 บาท

    เงินเดือนข้าราชการ 2566 ขั้นต่ำ-ขั้นสูง ตำแหน่งอำนวยการ
    ขั้นสูง

    ระดับต้น : 59,500 บาท
    ระดับสูง : 70,360 บาท
    ขั้นต่ำ

    ระดับต้น : 26,660 บาท
    ระดับสูง : 32,850 บาท
    ขั้นต่ำชั่วคราว

    ระดับต้น : 19,860 บาท
    ระดับสูง : 24,400 บาท
    อัตราเงินเดือนข้าราชการ ขั้นต่ำ-ขั้นสูง ตำแหน่งบริหาร
    ขั้นสูง

    ระดับต้น : 74,320 บาท
    ระดับสูง : 76,800 บาท
    ขั้นต่ำ

    ระดับต้น : 51,140 บาท
    ระดับสูง : 56,380 บาท
    ขั้นต่ำชั่วคราว

    ระดับต้น : 24,400 บาท
    ระดับสูง : 29,980 บาท
    ปรับเงินเดือนข้าราชการเมื่อไหร่
    การปรับเงินข้าราชการจะมีการประเมินผลการเลื่อนเงินเดือน กำหนดปีละ 2 รอบ

    ช่วงแรก ประเมินผล 1 ต.ค. – 31 มี.ค. มีผลปรับเงินเดือน ในวันที่ 1 เม.ย.
    ช่วงสอง ประเมินผล 1 เม.ย. – 30 ก.ย. มีผลเลื่อนเงินเดือน ในวันที่ 1 ต.ค.




    ตอบลบ
  3. ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 กำหนดระดับเงินเดือน ตำรวจชั้น “ยศต่ำกว่าจ่าสิบตำรวจ” ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ป.1 ในอัตรา 4,870 – 21,480 บาท โดยทั่วไปการเริ่มต้นชีวิตตำรวจชั้นประทวน หลังสำเร็จการฝึกแล้ว ส่วนใหญ่แล้วจะได้รับยศ “สิบตำรวจตรี” โดยจะถูกส่งไปประจำตามหน่วยต่างๆ ด้วยเงินเดือน ป.1 ขั้น 8.5 หรือ 6,970 บาท

    ยศขยับเป็น “จ่าสิบตำรวจ” และ “จ่าสิบตำรวจ (พิเศษ)” ได้รับเงินเดือนระดับ ป.2 ในอัตราเริ่มต้นที่ 7,140 บาท สิ้นสุดเพดานเงินเดือนที่ 29,690 บาท

    ยศสูงสุดของตำรวจชั้นประทวน คือ “ดาบตำรวจ” ได้รับเงินเดือนระดับ ป.3 โดยเริ่มต้นที่ 10,350 บาท ไปสิ้นสุดที่ 38,750 บาท

    ขณะที่ตำรวจชั้นสัญญาบัตร ผู้ที่มียศร้อยตำรวจตรีขึ้นไป ได้แก่

    ร้อยตํารวจเอก ร้อยตํารวจโท และร้อยตํารวจตรี ได้รับเงินเดือนในระดับ (ส.1) อัตราเริ่มต้น 6,470 – 38,750 บาท ดังนี้
    พันตํารวจตรี ให้ได้รับเงินเดือนระดับ (ส.2) 13,160 – 38,750 บาท
    พันตํารวจโท ให้ได้รับเงินเดือนระดับ (ส.3) 16,190 – 54,820 บาท
    พันตํารวจเอก ให้ได้รับเงินเดือนระดับ (ส.4) 19,860 – 58,390 บาท
    พันตํารวจเอก (พิเศษ) ให้ได้รับเงินเดือนระดับ (ส.5) 24,400 – 69,040 บาท
    ทั้งนี้ จากเงินเดือนต่ำสุดของยศต่ำกว่าจ่าสิบตำรวจ ไปจนถึงเงินเดือนสูงสุดของ ยศพันตํารวจเอก อัตราเงินเดือนพันตํารวจเอก (พิเศษ) หากคิดเป็นรายวัน หาร 30 วัน เงินที่จะได้รายวันต่ำสุด คือ 162 บาท ส่วนสูงสุดคือ วันละ 2,301 บาท

    แต่ที่ยังไม่ใช่รายได้สุทธิ เพราะยังมีค่าตำแหน่ง ประมาณ 3,000 บาทขึ้นไป ในสายงานปราบปราม, สืบสวน, จราจร เงินรางวัลค่าปรับสูงสุด 10,000 บาทต่อเดือน (เฉพาะสายงานจราจร) เบี้ยเลี้ยง รวมทั้งค่ารางวัลนำจับ ซึ่งเฉลี่ยแล้วรายได้ตำรวจชั้นประทวน จะอยู่ที่ 25,000 ต่อเดือน รายได้ตำรวจชั้นสัญญาบัตร อยู่ที่ 46,000 ต่อเดือน

    ขณะที่ ตำรวจทำงานคล้ายโรงพยาบาล หรือ ร้านสะดวกซื้อที่เปิด 24 ชั่วโมง มีการแบ่งเวร แบ่งวันหยุด ทำงานกันวันละ 8 – 24 ชั่วโมง หากแบ่งออกเป็น 2 – 3 กะ ก็จะมาทำงานทุกวัน แต่หากลากยาว 24 ชั่วโมง ในวันถัดไปมักจะเป็นวันหยุด สลับมาทำงานแบบวันเว้นวัน แล้วแต่โรงพักจะจัดสรร เนื่องจากจำนวนตำรวจในแต่ละท้องถิ่นมีไม่เท่ากัน แต่ในทุกๆวัน จะมีนายตำรวจประจำอยู่แทบทุกสายงาน อาทิ ตำรวจเวรสอบสวน , ออกตรวจพื้นที่ , ร้อยเวรประจำการ , ตำรวจชั้นผู้ใหญ่

    ตอบลบ