มารู้จักร่างกายของลูกวัย "เบบี้" กันดีกว่า
เมื่อสิ่งมีชีวิตตัวเล็ก ๆ ที่เรียกว่า "ลูก" เกิดมาเป็นสมาชิกใหม่ในบ้าน คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทั้งหลายคงจะเฝ้ามองดูลูกรักอย่างไม่รู้จักเบื่อหน่าย แล้วสำรวจร่างกายด้วยความสนใจใคร่รู้ไปด้วย วันนี้ทีมงาน Life & Family จะพาไปทำความรู้จักร่างกายของเจ้าตัวเล็กวัยแรกเกิดกัน ว่าแต่จะมีส่วนไหนสำคัญอย่างไรบ้างนั้น ไปติดตามกันค่ะ
ศีรษะ
ศีรษะลูกใหญ่กว่าลำตัวมาก ด้านข้างอาจดูบวม เพราะขณะคลอดกระดูกกะโหลกยังไม่เชื่อมต่อ จึงถูกบีบให้ซ้อนกัน ซึ่งอาการนี้จะยุบหายไปเองใน 2-3 สัปดาห์
กระหม่อม
กลางศีรษะมีกระหม่อมนิ่ม ๆ เป็นจุดที่กระดูกกะโหลกบรรจบกัน แต่ยังเชื่อมกันไม่สนิท จะปิดสนิทเมื่ออายุราว ๆ 18 เดือน ถ้าเห็นกระหม่อมเต้นตุบ ๆ ก็อย่ากังวลจนไม่กล้าสัมผัส ซึ่งสัมผัสได้ แต่เวลาสัมผัสอย่ากดแรงเกินไปเท่านั้นเอง
ผิว
ผิวลูกมีไขเคลือบ ซึ่งช่วยหล่อลื่นเวลาคลอด ช่วยป้องกันการติดเชื้อทางผิว ซึ่งไขจะค่อย ๆ หลุดลอกไปเองใน 1-2 วัน ด้านระบบไหลเวียนของเลือดยังไม่เข้าที่ กลไลการควบคุมเส้นเลือดฝอยยังทำงานไม่ดี บางส่วนขยายตัว บางส่วนตีบ ทำให้ผิวบางส่วนจึงดูซีดเป็นจ้ำสีขาวสลับกับสีคล้ำ ซึ่งเกิดขึ้นระยะสั้น ๆ เท่านั้นก็จะหายไป ส่วนเม็ดขาวเล็ก ๆ ที่ขึ้นเป็นผดผื่นบนใบหน้า เป็นเพราะต่อมไขมันอุดตัน ไม่นานก็จะหายไปเองเช่นกัน
มือเท้า
ปลายมือปลายเท้ามักมีสีเขียวคล้ำ เพราะกลไกการควบคุมเส้นเลือดฝอยยังทำงานไม่เต็มที่ ผิวบางส่วนจึงดูแห้ง และหลุดลอกซึ่งจะหายไปเองในเวลาไม่กี่วัน ส่วนขาอาจดูโก่งไปบ้าง เพราะคุดคู้อยู่ในท้องแม่มานาน
เล็บ
เล็บจะยาว และแหลม คุณแม่อาจเล็มออกบ้างเล็กน้อยแต่อย่าตัดจนสั้นมาก ควรตัดเล็บเวลาลูกหลับ ไม่ควรใช้กรรไกรปลายแหลม เพราะอาจทิ่มถูกนิ้วลูกได้ ดังนั้น ควรใช้ที่ตัดเล็บสำหรับเด็กจะดีกว่า
สำหรับการตัดเล็บ ก่อนตัดต้องทำความสะอาดกรรไกรด้วยแอลกอฮอล์ก่อน จากนั้นล้างมือแม่ให้สะอาด ทาเบบี้ออยล์ของเด็กที่มีส่วนผสมของวิตามินอีบริเวณเล็บลูก เพื่อช่วยให้เล็บลูกนุ่มขึ้น ทำให้การตัดง่ายขึ้นด้วย
สะดือ
สายสะดือจะค่อย ๆ เหี่ยว และหลุดไปเองราว ๆ 10 วันหลังคลอด บางคนอาจมีสะดือจุ่นมาก เวลาร้องจะยิ่งโป่ง เมื่อกล้ามเนื้อหน้าท้องแข็งแรงดี สะดือก็จะไม่โป่งออกมา แต่ถ้าหลัง 1 ขวบแล้วยังโป่งอยู่ควรปรึกษาคุณหมอดีที่สุด
สำหรับการเช็ดสะดือให้ลูกนั้น มีเคล็ดลับง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
- หากสายสะดือยังไม่หลุดให้เช็ดทำความสะอาดรอบสะดือหลังอาบน้ำ หรือหลังเช็ดตัวลูกทุกครั้ง
- จับสายสะดือยกให้สูงขึ้น จับปลายเชือกที่ผูกสายสะดือยกขึ้น อีกมือให้ใช้สำลีสะอาดชุบแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ พันไม้สอดเข้าไปเช็ดสะดือให้สะอาดทั้งถึง โดยเช็ดสายสะดือด้านในเบา ๆ ไปถึงโคนสะดือ
- ใช้สำลีพันปลายไม้อันใหม่เช็ดขอบสะดือเป็นวงกว้าง และบริเวณรอบสายสะดือให้สะอาดอีกครั้ง โดยไม่ใช้ส่วนที่เช็ดแล้วมาเช็ดซ้ำอีก
- หลังเช็ดสะดือแล้วไม่ควรโรยแป้ง เพราะจะทำให้สะดือแห้งช้า และยังเป็นที่หมักหมมของเชื้อโรค ควรเปิดสะดือลูกให้ถูกอากาศบ่อย ๆ สะดือจะได้ไม่อับชื้น
- ถ้าสายสะดือหลุดแล้ว แต่สะดือยังไม่แห้งสนิท ควรเช็ดทำความสะอาดต่อไปก่อน จนกว่าจะเห็นว่าสายสะดือแห้งสนิทแล้วค่อยเลิกเช็ด
- ถ้าเห็นว่าสะดือของลูกอักเสบ สะดือแดงผิดปกติ หรือสะดือมีหนอง ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอทันที
- จับสายสะดือยกให้สูงขึ้น จับปลายเชือกที่ผูกสายสะดือยกขึ้น อีกมือให้ใช้สำลีสะอาดชุบแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ พันไม้สอดเข้าไปเช็ดสะดือให้สะอาดทั้งถึง โดยเช็ดสายสะดือด้านในเบา ๆ ไปถึงโคนสะดือ
- ใช้สำลีพันปลายไม้อันใหม่เช็ดขอบสะดือเป็นวงกว้าง และบริเวณรอบสายสะดือให้สะอาดอีกครั้ง โดยไม่ใช้ส่วนที่เช็ดแล้วมาเช็ดซ้ำอีก
- หลังเช็ดสะดือแล้วไม่ควรโรยแป้ง เพราะจะทำให้สะดือแห้งช้า และยังเป็นที่หมักหมมของเชื้อโรค ควรเปิดสะดือลูกให้ถูกอากาศบ่อย ๆ สะดือจะได้ไม่อับชื้น
- ถ้าสายสะดือหลุดแล้ว แต่สะดือยังไม่แห้งสนิท ควรเช็ดทำความสะอาดต่อไปก่อน จนกว่าจะเห็นว่าสายสะดือแห้งสนิทแล้วค่อยเลิกเช็ด
- ถ้าเห็นว่าสะดือของลูกอักเสบ สะดือแดงผิดปกติ หรือสะดือมีหนอง ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอทันที
เต้านม
ทั้งลูกสาว และลูกชายอาจมีเต้านมที่โตกว่าปกติ บางครั้งมีน้ำนมไหลออกมา อย่ากังวลใจ เพราะอีกไม่นานก็จะหายไปเอง ระหว่างนี้ห้ามบีบออก เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบจนเป็นฝีได้
ดวงตา
มีน้ำตาที่มีไลโซไซม์ ไว้รักษาดวงตา ทำความสะอาดดวงตา และฆ่าเชื้อโรคให้ลูกอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเช็ด รวมทั้งเปลือกตาลูกอาจดูบวมได้ ซึ่งอาการนี้จะยุบหายไปภายใน 2-3 วัน
ใบหู
ควรใช้สำลีซับ ๆ เฉพาะภายนอก ถ้ามองเห็นว่าหูไม่สะอาด ไม่ควรล้วงเข้าไปในรูหู เพราะในหูมีแก้วหู ถ้านำสิ่งใดแยงเข้าไป อาจถูกแก้วหูทะลุได้
ขน
คุณพ่อคุณพ่ออาจเห็นขนอ่อนปกคลุมร่างกาย บางคนมีเพียงบนศีรษะ บางคนคลุมทั่วไหล่ ซึ่งขนอ่อนเหล่านี้จะค่อย ๆ หลุดลอกออกไปภายใน 2-3 สัปดาห์ และขนที่แท้จริงจะงอกขึ้นมาแทนที่ ส่วนสีผมนั้นมักเปลี่ยนไปเมื่อโตขึ้น
รู้แบบนี้แล้ว เรามาดูแลร่างกายเจ้าตัวเล็กเพื่อสุขภาพที่ดีกันค่ะ
ที่มา :: www.manager.co.th