Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

เทศกาลมหาพรต (Lent)

 เทศกาลมหาพรต (Lent)



เทศกาลมหาพรต (คาทอลิก) หรือเทศกาลเข้าสู่ธรรม (โปรเตสแตนต์)  (อังกฤษ: Lent; ละติน: Quadragesima แปลว่า ที่สี่สิบ) เป็นหนึ่งในเทศกาลสำคัญของศาสนาคริสต์ เริ่มต้นจากวันพุธรับเถ้าและสิ้นสุดวันอีสเตอร์ รวม 40 วัน โดยเทศกาลนี้มีไว้เพื่อระลึกถึงพระทรมานและการคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ โดยกิจที่คริสต์ศาสนิกชนปฏิบัติในช่วงนี้คือการอธิษฐาน การบริจาคสิ่งของ การอดอาหาร และการไม่ฟุ่มเฟือย

ทั้งนี้ระยะเวลา 40 วันมีความสำคัญเนื่องจากเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลมีความเกี่ยวข้องกับตัวเลข 40 ไม่ว่าจะเป็น การบำเพ็ญเพียรอดอาหารของพระเยซูเป็นเวลา 40 วัน โมเสสอยู่บนเขากับพระเจ้า 40 วัน เกิดน้ำท่วมโลกในสมัยโนอาห์ 40 วัน และการอพยพของชาวยิวเข้าสู่ดินแดนแห่งพันธสัญญาก็ใช้เวลายาวนานถึง 40 ปี อย่างไรก็ดีเมื่อนับวันจริง ๆ แล้วจะเป็น 46 วัน เนื่องจากชาวคริสต์จะไม่จำศีลอดอาหารในวันอาทิตย์ จึงเหลือเพียง 36 วันและต้องเพิ่มวันจำศีลอีก 4 วันให้ครบ 40 วัน เทศกาลมหาพรตจึงเลื่อนมาเริ่มในวันพุธ (วันพุธรับเถ้า) ต่างกับเทศกาลอื่น ๆ ที่เริ่มจากวันอาทิตย์แรก  ธรรมเนียมนี้ปฏิบัติกันในเฉพาะฝั่งศาสนาคริสต์ตะวันตก ส่วนในศาสนาคริสต์ตะวันออกจะเริ่มต้นวันจันทร์ เรียกว่า "วันจันทร์สะอาด" (Clean Monday)  

ชาวคริสต์หมู่มากฉลองเทศกาลนี้ (เช่น โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และแองกลิคัน) ขณะที่บางกลุ่มเริ่มให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้มากขึ้น (เช่น คริสตจักรแบปทิสต์)


การปฏิบัติ


วันพุธก่อนวันอาทิตย์แรกของเทศกาลมหาพรต สัตบุรุษจะรับเถ้าเป็นการเริ่มต้นเทศกาลมหาพรต พิธีเสกและโรยเถ้า ตามปกติจะทำในพิธีมิสซา หลังอ่านพระวรสารและบทเทศน์ ซึ่งให้ความหมายว่า พระวจนะของพระเป็นเจ้าเป็นพลังสำคัญที่ปลุกเร้าจิตใจของคริสตชนให้สำนึกตน กลับใจ และใช้โทษบาปในเทศกาลมหาพรตนี้

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการถ่อมตน ในเทศกาลนี้จึงมีการปฏิบัติต่าง ๆ ดังนี้ :  

  • ตามโบสถ์ต่าง ๆ ในช่วงระหว่างเทศกาลจะจัดดอกไม้น้อยลง เชิงเทียนบนพระแท่นก็จะเปลี่ยนเป็นเชิงเทียนแบบเรียบง่าย ดนตรีจะบรรเลงเบา ๆ
  • เมื่อประกอบพิธีกรรม บาทหลวงจะสวมอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์สีม่วง ซึ่งสื่อความหมายถึงการถ่อมตน สำนึกผิด
  • การอดอาหาร
  • มี "กระปุกมหาพรต" ให้ชาวคริสต์อดออมนำไปบริจาคให้ผู้ยากไร้
  • ภาวนาเป็นพิเศษ ทั้งตามโบสถ์และตามบ้านเรือน

ทั้งนี้ในระหว่างเทศกาลชาวคริสต์ควรสำรวมจดจ่อใจอยู่ที่พระเยซู สำนึกว่าตนเป็นคนบาป ตระหนักว่าต้องการให้พระเจ้าช่วยเหลือ กลับใจ สารภาพขอให้พระเจ้าอภัย และสร้างสัมพันธ์กับพระเจ้าใหม่  โดยตระหนักได้จากบทภาวนาของประธานของพิธีก่อนเริ่มเทศกาลที่เน้นย้ำคุณลักษณะดังกล่าว:

ข้าแต่พระเจ้า ขอโปรดให้ข้าพเจ้าทั้งหลายเริ่มเทศกาลมหาพรต ต่อสู้กับกิเลสด้วยการถือศีลอดอาหาร โปรดประทานความช่วยเหลือให้ข้าพเจ้าทุกคนรู้จักบังคับตนอย่างเข้มแข็ง เพื่อสามารถต่อต้านความชั่วร้ายฝ่ายวิญญาณด้วยเถิด 

เมื่อครบ 40 วันเป็นวันฉลองพระเยซูคืนพระชนม์ เหมือนกับการอดทนลำบากในช่วงเทศกาล แต่เมื่อตอนท้ายจะมีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ (วันปัสกา) เฉกเช่นเดียวกับหลักความเชื่อที่ว่าพระเยซูถูกตรึงกางเขน ปฏิบัติอย่างต่ำต้อยที่สุด แต่พระองค์จะเสด็จมาใหม่ในพระสิริรุ่งโรจน์


เทศกาลมหาพรต


ความหมายของเทศกาลมหาพรต



     เทศกาลมหาพรต เป็นช่วงเวลาที่พระศาสนจักรกำหนดเพื่อเตรียมสมโภชปัสกา ซึ่งเป็นวันฉลองที่ยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดในรอบปีของพระศาสนจักร เพราะสมโภชปัสกาเป็นการเฉลิมฉลองการที่พระเยซูเจ้าทรงรับทรมาน สิ้นพระชนม์และทรงกลับคืนพระชนมชีพ เพื่อกอบกู้มนุษยชาติให้คืนดีกับพระเจ้า มารับชีวิตร่วมกับพระองค์

         1) สำหรับผู้ใหญ่ที่เตรียมตัวรับศีลล้างบาป (คริสตังสำรอง) เป็นการเตรียมในขั้นตอนสุดท้ายของพิธีรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน

         2) สำหรับคริสตชน การเตรียมสมโภชปัสกาในเทศกาลมหาพรต เป็นโอกาสให้คริสตชนรื้อฟื้นคุณค่าและศักดิ์ศรีของศีลล้างบาปที่เขาได้รับ (คริสตชนจะรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลล้างบาปอย่างสง่าในคืนวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์) และคริสตชนยังเตรียมสมโภชปัสกา 
ด้วยการฟังพระวาจาพระเจ้า กลับใจ ใช้โทษบาป สวดภาวนา และบำเพ็ญกิจเมตตาปรานี

     นอกจากนี้ เทศกาลมหาพรตยังเป็นโอกาสที่จะสอนคำสอนสำหรับคริสตชนผู้ใหญ่ที่ได้รับศีลล้างบาปแล้วตั้งแต่เป็นเด็ก แต่
ยังไม่ได้รับศีลอภัยบาป ศีลมหาสนิท และศีลกำลัง เพื่อให้เขาเติบโตในความเชื่อ และเพื่อเตรียมพวกเขาให้รับศีลศักดิ์สิทธิ์ที่กล่าวนี้

ระยะเวลาของเทศกาลมหาพรต

     เทศกาลมหาพรตเริ่มในวันพุธรับเถ้า และจบลงในวันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์ก่อนพิธีมิสซาตอนเย็นระลึกถึงการเลี้ยงของพระคริสตเจ้า

สัญลักษณ์ 40 วันของเทศกาลมหาพรต

     สัญลักษณ์ 40 วันของเทศกาลมหาพรต มีความหมายเกี่ยวข้องกับเลข 40 ในพระคัมภีร์ จากแบบฉบับของพระเยซูเจ้าที่ทรงอดอาหารในถิ่นทุรกันดารเป็นเวลา 40 วัน (มธ. 4:2 ; ลก. 4:1-2)
 
     นอกจากนั้นในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม ยังได้กล่าวถึงโมเสสอดอาหาร 40 วัน ขณะที่อยู่กับพระยาห์เวห์ในการรื้อฟื้นพันธสัญญาบนภูเขาซีนาย  (อพย. 34:28) เอลียาห์อดอาหาร 40 วัน ขณะที่
ี่เดินทางไปที่ภูเขาโฮเรบ (1 พกษ. 19:8) และชาวอิสราเอลใช้เวลา 40 ปี ในถิ่นทุรกันดารก่อนที่จะเข้าสู่แผ่นดินแห่งพันธสัญญา

     ในพระคัมภีร์เลข 40 เป็นสัญลักษณ์หมายถึง การผ่าน การเตรียมตัว การกลับใจ การใช้โทษบาป การชำระตน การหันหลังให้กับความชั่วร้ายและการตัดสินใจเลือกพระเจ้า

พิธีกรรมในเทศกาลมหาพรต

     เนื่องจากเทศกาลมหาพรต เป็นช่วงเวลาแห่งการเตรียมสมโภชปัสกาประจำปี ดังนั้น  พิธีมิสซา
และพิธีกรรมทำวัตรของพระศาสนจักรในเทศกาลนี้ จึงได้บรรจุพระวาจา ข้อเขียนของปิตาจารย์ และบท
ภาวนา ที่ให้คำสอน ข้อคิด และแนวทางในการปฏิบัติแก่คริสตชนและคริสตังสำรอง จะเห็นได้ว่าพิธีกรร มซึ่งเป็นคำภาวนาของพระศาสนจักรนับว่าเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตของคริสตชนในเทศกาลมหาพรต จึงควรที่เราจะมาทำความเข้าใจพิธีกรรมในเทศกาลมหาพรต โดยในส่วนนี้ขอนำเสนอความหมายของมิสซาในวันพุธรับเถ้า

วันพุธรับเถ้า วันเริ่มต้นของเทศกาลมหาพรต

     วันพุธก่อนวันอาทิตย์แรกของเทศกาลมหาพรต สัตบุรุษจะรับเถ้าเป็นการเริ่มต้นเทศกาลมหาพรต

     พิธีเสกและโรยเถ้า ตามปกติจะทำในพิธีมิสซา หลังอ่านพระวรสารและเทศน์ ซึ่งให้ความหมายว่า พระวาจาของพระเจ้าเป็นพลังสำคัญที่ปลุกเร้าจิตใจของคริสตชนให้สำนึกตน กลับใจ และใช้โทษบาปในเทศกาลมหาพรตนี้

     บทอ่านจากพระคัมภีร์ในพิธีมิสซาวันพุธรับเถ้า บทอ่านแรกจากหนังสือประกาศกโยเอล (ยอล. 2:12-18) กล่าวว่า  
“เจ้าทั้งหลายจงเต็มใจกลับมาหาเรา ด้วยการอดอาหาร ร้องไห้ และเป็นทุกข์คร่ำครวญ ณ บัดนี้เถิด” บทอ่านที่สองนำมาจากจดหมายของนักบุญเปาโลอัครสาวกถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 2 (2 คร. 5:20-6:2) ยังคงกล่าวถึงการกลับใจอย่างต่อเนื่องว่า “จงคืนดีกับพระเจ้าเถิด บัดนี้แหละเป็นเวลาที่เหมาะสม” และพระวรสารนักบุญมัทธิว ให้ความหมายที่แท้จริงของการกลับใจในภาคปฏิบัติ โดยนำเสนอคำสอนของพร ะเยซูเจ้าในเรื่อง “การทำทาน” “การอธิษฐานภาวนา” และ “การจำศีลอดอาหาร” พระองค์ทรงสอนว่า “จงระวังอย่าประกอบกิจ
การดีของท่านต่อหน้ามนุษย์เพื่ออวดเขา มิฉะนั้น ท่านจะไม่ได้รับบำเหน็จจากพระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์”
 (มธ. 6:1-6,16-18)

ความหมายของเถ้า

     เถ้าเป็นเครื่องหมายของ 
“ความทุกข์ถึงบาป” เป็นธรรมเนียมที่ได้มาจากพระคัมภีร์ เราพบความหมายนี้อย่างชัดเจน ในคำ กล่าวประกอบการโรยเถ้าของพระสงฆ์แบบที่หนึ่ง ซึ่งนำมาจากพระวรสารของนักบุญมาระโก (มก. 1:15) ที่กล่าวว่า “จงกลับใจใช้โทษบาป และเชื่อพระวรสารเถิด”

     
เถ้ายังหมายถึงสภาพของมนุษย์คนบาป ซึ่งพยายามแสดงความสำนึกผิดของตนต่อพระเจ้าออกมาเป็นพิธีภายนอก ให้เห็นว่าเขาต้องการกลับใจ เพราะหวังว่าพระเจ้าจะทรงพระกรุณาให้อภัย เครื่องหมายประการนี้จึงเป็นการเริ่มเดินทางมุ่งสู่การกลับใจซึ่งค่อย ๆ พัฒนาขึ้นโดยการรับศีลอภัยบาปในเทศกาลมหาพรต ความต่ำต้อยของมนุษย์อันเป็นผลมาจากบาป ถูกกล่าวถึงในคำกล่าวประกอบ การโรยเถ้าของพระสงฆ์แบบที่สอง โดยเทียบจากหนังสือปฐมกาล (ปฐก. 3:19) ที่กล่าวว่า “มนุษย์เอ๋ย จงระลึกเถิดว่า เจ้าเป็นแค่ฝุ่นดิน และจะกลับเป็นฝุ่นดินอีก”

     ในบทเสกเถ้าทั้ง 2  แบบ ให้ความหมายอย่างชัดเจนว่า  เทศกาลมหาพรตเป็นช่วงเวลาที่
คริสตชนเตรียมสมโภชปัสกา เช่น 
“ขอโปรดสดับฟังคำอ้อนวอนของข้าพเจ้าทั้งหลาย และทรง พระเมตตาประทานพระพรแก่ข้ารับใช้ของพระองค์ ผู้เข้ามารับการโรยเถ้าเหล่านี้ “ (บทภาวนาเสกเถ้าแบบที่ 1)

     เครื่องหมายการเป็นทุกข์กลับใจในพิธีกรรม
 “พิธีเสกและโรยเถ้า” แสดงออกอย่างชัดเจนในช ีวิตคริสตชน เห็นได้จากการที่วันพุธรับเถ้าเป็นวันใช้โทษบาปสากลของพระศาสนจักร โดยคริสตชนผู้มีอายุตั้งแต่ 14 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปต้องอดเนื้อ และคริสตชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จนถึงอายุ 59 ปีบริบูรณ์ ต้องอดอาหาร

     
เถ้ายังอาจหมายถึงความสกปรก (บาป) ซึ่งใช้น้ำชำระให้สะอาดได้ (ศีลล้างบาป) ฉะนั้น เราเริ่มเทศกาลมหาพรตด้วยพิธีโรยเถ้า จึงเป็นเครื่องหมายที่นำไปสู่ความสมบูรณ์ครบครันในการรื้อฟื้นคำมั่นสัญญาแห่งศีลล้างบาปของค ริสตชน และการล้างบาปคริสตชนใหม่ (ตามธรรมเนียมของพระศาสนจักร) ในคืนวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ (มิสซาตื่นเฝ้าปัสกา)
 
     สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ ธรรมเนียมที่ให้โรยเถ้าที่ได้จากใบลานซึ่งเสกในปีก่อนนั้น เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 12 มีความหมายดี เพราะ
ใบลานหมายถึงชัยชนะของพระเยซูเจ้าในฐานะกษัตริย์ในการเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มอย่างสง่า (ภาพอนาคตของการกลับคืนชีพ) เมื่อเอามาเผาเป็นเถ้ าและโรยเพื่อเตือนใจให้คริสตชนใช้โทษบาปแล้ว ยังเป็นสิ่งที่บอกคริสตชนว่า การใช้โทษบาปนี้มีเป้าห มายเพื่อเตรียมการฉลองชัยชนะแห่งการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้า







Date of Easter (2000-2099)


Date of Easter (2000-2099)


YearsEaster DateYearsEaster DateYearsEaster DateYearsEaster DateYearsEaster Date
2000April 232001April 152002March 312003April 202004April 11
2005March 272006April 162007April 82008March 232009April 12
2010April 42011April 242012April 82013March 312014April 20
2015April 52016March 272017April 162018April 12019April 21
2020April 122021April 42022April 172023April 92024March 31
2025April 202026April 52027March 282028April 162029April 1
2030April 212031April 132032March 282033April 172034April 9
2035March 252036April 132037April 52038April 252039April 10
2040April 12041April 212042April 62043March 292044April 17
2045April 92046March 252047April 142048April 52049April 18
2050April 102051April 22052April 212053April 62054March 29
2055April 182056April 22057April 222058April 142059March 30
2060April 182061April 102062March 262063April 152064April 6
2065March 292066April 112067April 32068April 222069April 14
2070March 302071April 192072April 102073March 262074April 15
2075April 72076April 192077April 112078April 32079April 23
2080April 72081March 302082April 192083April 42084March 26
2085April 152086March 312087April 202088April 112089April 3
2090April 162091April 82092March 302093April 122094April 4
2095April 242096April 152097March 312098April 202099April 12


เทศกาลมหาพรต” เป็นช่วงเวลาแห่งการเตรียมใจเริ่มจากวันพุธรับเถ้าจนถึงวันอีสเตอร์รวมทั้งหมด 46 วัน


พุธรับเถ้า (Ash Wednesday)


เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของศาสนาคริสต์ โดยเป็นวันเริ่มต้นของเทศกาลมหาพรต ซึ่งจะมีระยะเวลา 46 วันก่อนวันปัสกา แต่ละปีวันที่จะเปลี่ยนไปเพราะยึดตามวันปัสกาเป็นหลัก


ชื่อวันมาจากการที่บาทหลวงจะใช้นิ้วหัวแม่มือแตะเถ้าและทำเครื่องหมายกางเขนบนหน้าผากของชาวคริสต์ หรืออาจจะโรยเถ้าบนศีรษะซึ่งสื่อความหมายถึงความสุภาพถ่อมตนต่อพระเจ้า สำนึกถึงความต้อยต่ำของตนเอง เนื่องจากในสมัยพระคัมภีร์เถ้าเป็นสัญลักษณ์ของการไว้อาลัย ชาวคริสต์เกือบทุกนิกายจะมีพิธีนี้ ทั้งคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และแองกลิกัน

วันพุธรับเถ้า (Ash Wednesday)

  • วันพุธที่ 14 ก.พ. 2024
  • วันพุธที่ 5 มี.ค. 2025
  • วันพุธที่ 18 ก.พ. 2026
  • วันพุธที่ 10 ก.พ. 2027

อาทิตย์ทางตาล (Palm Sunday)


มีบันทึกในประวัติศาสตร์ว่าพระเยซูทรงเสด็จเข้าสู่เยรูซาเล็มเหมือนอย่างกษัตริย์ผู้พิชิต เหตุการณ์ถูกบันทึกในพระกิตติคุณทั้งสี่ฉบับคือ มัทธิว 21:1–11, มาระโก 11:1–11, ลูกา 19:28, และยอห์น 12:12–19 ที่เรียกว่าทางตาลเพราะประชาชนต้อนรับพระองค์ด้วยการปูเส้นทางด้วยเสื้อผ้าและใบปาล์ม หรือใบตาล เพื่อให้พระเยซูทรงลาผ่านเข้ามายังเยรูซาเล็ม ประเด็นสำคัญคือพระเยซูเสด็จมาอย่างผู้พิชิตเพื่อพระองค์จะทรงยอมสิ้นพระชนม์ไถ่บาปเราบนไม้กางเขนในสัปดาห์ต่อมาในวันศุกร์ประเสริฐ (Good Friday) และวันอีสเตอร์ (Easter Sunday) ในวันอาทิตย์


วันอาทิตย์ทางตาล (Palm Sunday)

  • วันอาทิตย์ที่ 24 มี.ค. 2024
  • วันอาทิตย์ที่ 13 เม.ย. 2025
  • วันอาทิตย์ที่ 29 มี.ค. 2026
  • วันอาทิตย์ที่ 21 มี.ค. 2027


ศุกร์ประเสริฐ (Good Friday)


วันศุกร์ประเสริฐ หรือ Good Friday เป็นชื่อเรียกวันที่พระเยซูคริสต์ถูกตรึงและสิ้นพระชนม์ เป็นอะไรที่แย่นะ ทำไมเรียกว่า good?

มีข้อสังเกตทางภาษาว่า ในเยอรมันใช้คำว่า Karfreitag แปลว่า Sorrowful Friday ซึ่งตั้งชื่อได้เศร้ามาก ส่วนในอังกฤษ ใช้คำว่า God’s Friday ภายหลังเพี้ยนมาเป็น Good Friday


แล้วอะไรคือ Good Friday?


1. วันที่พระเยซูคริสต์ถูกตรึงบนไม้กางเขน และตายไถ่บาป
2. วันที่ศพของพระเยซูคริสต์ถูกนำไปฝังในอุโมงค์
3. วันที่ “ดีสำหรับเรา” ที่พระเยซูรับบาปโทษแทนเรา เพื่อเราจะรับการรักษาให้หายดี


ชาวคริสทำอะไรในวันนี้?


1. ระลึกถึงการไถ่ของพระเยซูคริสต์ และขอบคุณพระเจ้าสำหรับการเสียสละของพระองค์
2. ทานอาหารร่วมกัน พูดถึงพระคุณความรักของพระเยซูคริสต์ในชีวิตเรา
3. รับพิธีมหาสนิทด้วยความซาบซึ้งใจ
แต่ถ้าไม่เอาที่มาของคำมาเป็นประเด็น ความจริงคำว่า Good Friday แม้จะไม่ good สำหรับพระเยซูที่โดนหนักขนาดนั้น แต่ก็ good สำหรับเรา เพราะเป็นวันที่พระเยซูคริสต์ได้ทรงสำแดงความรักโดยสละชีพของพระองค์อย่างเต็มใจเพื่อไถ่โทษบาปของเรา

วันศุกร์ประเสริฐ (Good Friday)

  • วันศุกร์ที่ 29 มี.ค. 2024
  • วันศุกร์ที่ 18 เม.ย. 2025
  • วันศุกร์ที่ 3 เม.ย. 2026
  • วันศุกร์ที่ 26 มี.ค. 2027


อีสเตอร์ (Easter Sunday)


ก่อนปี ค.ศ.336 คริสเตียนไม่มีการฉลองวันเกิดของพระเยซูหรือวันคริสต์มาส งานฉลองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือเทศกาลอีสเตอร์หรือวันที่พระเยซูทรงฟื้นคืนพระชนม์


การฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูในวันอีสเตอร์มีความหมายมากสำหรับคริสเตียน หากพระองค์ไม่ฟื้นคืนพระชนม์ คำสอนของพระเยซูคงเป็นได้แค่ปรัชญาศาสนาอันดีงามของมนุษยชาติโดยไม่มีผลใดใดต่อการช่วยกู้ทางจิตวิญญาณของมนุษย์แต่อย่างใด แต่เมื่อพระองค์ฟื้นคืนพระชนม์ ไม่ใช่เพียงคำสอนของพระองค์จะมีน้ำหนักมากขึ้น แต่การฟื้นจากความตายเป็นการเอาชนะศัตรูตัวสุดท้ายของความบาปคือความตายและอำนาจของความบาปที่ครอบงำชีวิตมนุษย์มาโดยตลอด (1 โครินธ์ 15:55–57)


วันอีสเตอร์ (Easter Sunday)

  • วันอาทิตย์ที่ 31 มี.ค. 2024
  • วันอาทิตย์ที่ 20 เม.ย. 2025
  • วันอาทิตย์ที่ 5 เม.ย. 2026
  • วันอาทิตย์ที่ 28 มี.ค. 2027
  • วันอาทิตย์ที่ 16 เม.ย. 2028
  • วันอาทิตย์ที่ 1 เม.ย. 2029
  • วันอาทิตย์ที่ 21 เม.ย. 2030
  • วันอาทิตย์ที่ 13 เม.ย. 2031
  • วันอาทิตย์ที่ 28 มี.ค. 2032
  • วันอาทิตย์ที่ 17 เม.ย. 2033
  • วันอาทิตย์ที่ 9 เม.ย. 2034



เราจึงเฉลิมฉลองอีสเตอร์และทั้งหมดนี้ด้วยความเชื่อ เป็นการเฉลิมฉลองความเป็นไปได้แล้วที่เราจะเอาชนะตัวเก่า นิสัยบาป และเติบโตขึ้นในการดำเนินชีวิตตามพระประสงค์ของพระเจ้า ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้เพราะการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์พระเจ้าของเราทั้งหลาย



ที่มา    ::       https://th.wikipedia.org/wiki/    ,   http://www.shb.or.th/article/lokkhamson/lent/lent.html   ,    https://pantip.com/topic/33247511   ,     https://kanoklee.medium.com/    ,   https://www.kamsondeedee.com/main/doccuments/docs-liturgy/82-lent-pascal