Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

เทศกาลมหาพรต (Lent)

 เทศกาลมหาพรต (Lent)



เทศกาลมหาพรต (คาทอลิก) หรือเทศกาลเข้าสู่ธรรม (โปรเตสแตนต์)  (อังกฤษ: Lent; ละติน: Quadragesima แปลว่า ที่สี่สิบ) เป็นหนึ่งในเทศกาลสำคัญของศาสนาคริสต์ เริ่มต้นจากวันพุธรับเถ้าและสิ้นสุดวันอีสเตอร์ รวม 40 วัน โดยเทศกาลนี้มีไว้เพื่อระลึกถึงพระทรมานและการคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ โดยกิจที่คริสต์ศาสนิกชนปฏิบัติในช่วงนี้คือการอธิษฐาน การบริจาคสิ่งของ การอดอาหาร และการไม่ฟุ่มเฟือย

ทั้งนี้ระยะเวลา 40 วันมีความสำคัญเนื่องจากเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลมีความเกี่ยวข้องกับตัวเลข 40 ไม่ว่าจะเป็น การบำเพ็ญเพียรอดอาหารของพระเยซูเป็นเวลา 40 วัน โมเสสอยู่บนเขากับพระเจ้า 40 วัน เกิดน้ำท่วมโลกในสมัยโนอาห์ 40 วัน และการอพยพของชาวยิวเข้าสู่ดินแดนแห่งพันธสัญญาก็ใช้เวลายาวนานถึง 40 ปี อย่างไรก็ดีเมื่อนับวันจริง ๆ แล้วจะเป็น 46 วัน เนื่องจากชาวคริสต์จะไม่จำศีลอดอาหารในวันอาทิตย์ จึงเหลือเพียง 36 วันและต้องเพิ่มวันจำศีลอีก 4 วันให้ครบ 40 วัน เทศกาลมหาพรตจึงเลื่อนมาเริ่มในวันพุธ (วันพุธรับเถ้า) ต่างกับเทศกาลอื่น ๆ ที่เริ่มจากวันอาทิตย์แรก  ธรรมเนียมนี้ปฏิบัติกันในเฉพาะฝั่งศาสนาคริสต์ตะวันตก ส่วนในศาสนาคริสต์ตะวันออกจะเริ่มต้นวันจันทร์ เรียกว่า "วันจันทร์สะอาด" (Clean Monday)  

ชาวคริสต์หมู่มากฉลองเทศกาลนี้ (เช่น โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และแองกลิคัน) ขณะที่บางกลุ่มเริ่มให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้มากขึ้น (เช่น คริสตจักรแบปทิสต์)


การปฏิบัติ


วันพุธก่อนวันอาทิตย์แรกของเทศกาลมหาพรต สัตบุรุษจะรับเถ้าเป็นการเริ่มต้นเทศกาลมหาพรต พิธีเสกและโรยเถ้า ตามปกติจะทำในพิธีมิสซา หลังอ่านพระวรสารและบทเทศน์ ซึ่งให้ความหมายว่า พระวจนะของพระเป็นเจ้าเป็นพลังสำคัญที่ปลุกเร้าจิตใจของคริสตชนให้สำนึกตน กลับใจ และใช้โทษบาปในเทศกาลมหาพรตนี้

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการถ่อมตน ในเทศกาลนี้จึงมีการปฏิบัติต่าง ๆ ดังนี้ :  

  • ตามโบสถ์ต่าง ๆ ในช่วงระหว่างเทศกาลจะจัดดอกไม้น้อยลง เชิงเทียนบนพระแท่นก็จะเปลี่ยนเป็นเชิงเทียนแบบเรียบง่าย ดนตรีจะบรรเลงเบา ๆ
  • เมื่อประกอบพิธีกรรม บาทหลวงจะสวมอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์สีม่วง ซึ่งสื่อความหมายถึงการถ่อมตน สำนึกผิด
  • การอดอาหาร
  • มี "กระปุกมหาพรต" ให้ชาวคริสต์อดออมนำไปบริจาคให้ผู้ยากไร้
  • ภาวนาเป็นพิเศษ ทั้งตามโบสถ์และตามบ้านเรือน

ทั้งนี้ในระหว่างเทศกาลชาวคริสต์ควรสำรวมจดจ่อใจอยู่ที่พระเยซู สำนึกว่าตนเป็นคนบาป ตระหนักว่าต้องการให้พระเจ้าช่วยเหลือ กลับใจ สารภาพขอให้พระเจ้าอภัย และสร้างสัมพันธ์กับพระเจ้าใหม่  โดยตระหนักได้จากบทภาวนาของประธานของพิธีก่อนเริ่มเทศกาลที่เน้นย้ำคุณลักษณะดังกล่าว:

ข้าแต่พระเจ้า ขอโปรดให้ข้าพเจ้าทั้งหลายเริ่มเทศกาลมหาพรต ต่อสู้กับกิเลสด้วยการถือศีลอดอาหาร โปรดประทานความช่วยเหลือให้ข้าพเจ้าทุกคนรู้จักบังคับตนอย่างเข้มแข็ง เพื่อสามารถต่อต้านความชั่วร้ายฝ่ายวิญญาณด้วยเถิด 

เมื่อครบ 40 วันเป็นวันฉลองพระเยซูคืนพระชนม์ เหมือนกับการอดทนลำบากในช่วงเทศกาล แต่เมื่อตอนท้ายจะมีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ (วันปัสกา) เฉกเช่นเดียวกับหลักความเชื่อที่ว่าพระเยซูถูกตรึงกางเขน ปฏิบัติอย่างต่ำต้อยที่สุด แต่พระองค์จะเสด็จมาใหม่ในพระสิริรุ่งโรจน์


เทศกาลมหาพรต


ความหมายของเทศกาลมหาพรต



     เทศกาลมหาพรต เป็นช่วงเวลาที่พระศาสนจักรกำหนดเพื่อเตรียมสมโภชปัสกา ซึ่งเป็นวันฉลองที่ยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดในรอบปีของพระศาสนจักร เพราะสมโภชปัสกาเป็นการเฉลิมฉลองการที่พระเยซูเจ้าทรงรับทรมาน สิ้นพระชนม์และทรงกลับคืนพระชนมชีพ เพื่อกอบกู้มนุษยชาติให้คืนดีกับพระเจ้า มารับชีวิตร่วมกับพระองค์

         1) สำหรับผู้ใหญ่ที่เตรียมตัวรับศีลล้างบาป (คริสตังสำรอง) เป็นการเตรียมในขั้นตอนสุดท้ายของพิธีรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน

         2) สำหรับคริสตชน การเตรียมสมโภชปัสกาในเทศกาลมหาพรต เป็นโอกาสให้คริสตชนรื้อฟื้นคุณค่าและศักดิ์ศรีของศีลล้างบาปที่เขาได้รับ (คริสตชนจะรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลล้างบาปอย่างสง่าในคืนวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์) และคริสตชนยังเตรียมสมโภชปัสกา 
ด้วยการฟังพระวาจาพระเจ้า กลับใจ ใช้โทษบาป สวดภาวนา และบำเพ็ญกิจเมตตาปรานี

     นอกจากนี้ เทศกาลมหาพรตยังเป็นโอกาสที่จะสอนคำสอนสำหรับคริสตชนผู้ใหญ่ที่ได้รับศีลล้างบาปแล้วตั้งแต่เป็นเด็ก แต่
ยังไม่ได้รับศีลอภัยบาป ศีลมหาสนิท และศีลกำลัง เพื่อให้เขาเติบโตในความเชื่อ และเพื่อเตรียมพวกเขาให้รับศีลศักดิ์สิทธิ์ที่กล่าวนี้

ระยะเวลาของเทศกาลมหาพรต

     เทศกาลมหาพรตเริ่มในวันพุธรับเถ้า และจบลงในวันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์ก่อนพิธีมิสซาตอนเย็นระลึกถึงการเลี้ยงของพระคริสตเจ้า

สัญลักษณ์ 40 วันของเทศกาลมหาพรต

     สัญลักษณ์ 40 วันของเทศกาลมหาพรต มีความหมายเกี่ยวข้องกับเลข 40 ในพระคัมภีร์ จากแบบฉบับของพระเยซูเจ้าที่ทรงอดอาหารในถิ่นทุรกันดารเป็นเวลา 40 วัน (มธ. 4:2 ; ลก. 4:1-2)
 
     นอกจากนั้นในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม ยังได้กล่าวถึงโมเสสอดอาหาร 40 วัน ขณะที่อยู่กับพระยาห์เวห์ในการรื้อฟื้นพันธสัญญาบนภูเขาซีนาย  (อพย. 34:28) เอลียาห์อดอาหาร 40 วัน ขณะที่
ี่เดินทางไปที่ภูเขาโฮเรบ (1 พกษ. 19:8) และชาวอิสราเอลใช้เวลา 40 ปี ในถิ่นทุรกันดารก่อนที่จะเข้าสู่แผ่นดินแห่งพันธสัญญา

     ในพระคัมภีร์เลข 40 เป็นสัญลักษณ์หมายถึง การผ่าน การเตรียมตัว การกลับใจ การใช้โทษบาป การชำระตน การหันหลังให้กับความชั่วร้ายและการตัดสินใจเลือกพระเจ้า

พิธีกรรมในเทศกาลมหาพรต

     เนื่องจากเทศกาลมหาพรต เป็นช่วงเวลาแห่งการเตรียมสมโภชปัสกาประจำปี ดังนั้น  พิธีมิสซา
และพิธีกรรมทำวัตรของพระศาสนจักรในเทศกาลนี้ จึงได้บรรจุพระวาจา ข้อเขียนของปิตาจารย์ และบท
ภาวนา ที่ให้คำสอน ข้อคิด และแนวทางในการปฏิบัติแก่คริสตชนและคริสตังสำรอง จะเห็นได้ว่าพิธีกรร มซึ่งเป็นคำภาวนาของพระศาสนจักรนับว่าเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตของคริสตชนในเทศกาลมหาพรต จึงควรที่เราจะมาทำความเข้าใจพิธีกรรมในเทศกาลมหาพรต โดยในส่วนนี้ขอนำเสนอความหมายของมิสซาในวันพุธรับเถ้า

วันพุธรับเถ้า วันเริ่มต้นของเทศกาลมหาพรต

     วันพุธก่อนวันอาทิตย์แรกของเทศกาลมหาพรต สัตบุรุษจะรับเถ้าเป็นการเริ่มต้นเทศกาลมหาพรต

     พิธีเสกและโรยเถ้า ตามปกติจะทำในพิธีมิสซา หลังอ่านพระวรสารและเทศน์ ซึ่งให้ความหมายว่า พระวาจาของพระเจ้าเป็นพลังสำคัญที่ปลุกเร้าจิตใจของคริสตชนให้สำนึกตน กลับใจ และใช้โทษบาปในเทศกาลมหาพรตนี้

     บทอ่านจากพระคัมภีร์ในพิธีมิสซาวันพุธรับเถ้า บทอ่านแรกจากหนังสือประกาศกโยเอล (ยอล. 2:12-18) กล่าวว่า  
“เจ้าทั้งหลายจงเต็มใจกลับมาหาเรา ด้วยการอดอาหาร ร้องไห้ และเป็นทุกข์คร่ำครวญ ณ บัดนี้เถิด” บทอ่านที่สองนำมาจากจดหมายของนักบุญเปาโลอัครสาวกถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 2 (2 คร. 5:20-6:2) ยังคงกล่าวถึงการกลับใจอย่างต่อเนื่องว่า “จงคืนดีกับพระเจ้าเถิด บัดนี้แหละเป็นเวลาที่เหมาะสม” และพระวรสารนักบุญมัทธิว ให้ความหมายที่แท้จริงของการกลับใจในภาคปฏิบัติ โดยนำเสนอคำสอนของพร ะเยซูเจ้าในเรื่อง “การทำทาน” “การอธิษฐานภาวนา” และ “การจำศีลอดอาหาร” พระองค์ทรงสอนว่า “จงระวังอย่าประกอบกิจ
การดีของท่านต่อหน้ามนุษย์เพื่ออวดเขา มิฉะนั้น ท่านจะไม่ได้รับบำเหน็จจากพระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์”
 (มธ. 6:1-6,16-18)

ความหมายของเถ้า

     เถ้าเป็นเครื่องหมายของ 
“ความทุกข์ถึงบาป” เป็นธรรมเนียมที่ได้มาจากพระคัมภีร์ เราพบความหมายนี้อย่างชัดเจน ในคำ กล่าวประกอบการโรยเถ้าของพระสงฆ์แบบที่หนึ่ง ซึ่งนำมาจากพระวรสารของนักบุญมาระโก (มก. 1:15) ที่กล่าวว่า “จงกลับใจใช้โทษบาป และเชื่อพระวรสารเถิด”

     
เถ้ายังหมายถึงสภาพของมนุษย์คนบาป ซึ่งพยายามแสดงความสำนึกผิดของตนต่อพระเจ้าออกมาเป็นพิธีภายนอก ให้เห็นว่าเขาต้องการกลับใจ เพราะหวังว่าพระเจ้าจะทรงพระกรุณาให้อภัย เครื่องหมายประการนี้จึงเป็นการเริ่มเดินทางมุ่งสู่การกลับใจซึ่งค่อย ๆ พัฒนาขึ้นโดยการรับศีลอภัยบาปในเทศกาลมหาพรต ความต่ำต้อยของมนุษย์อันเป็นผลมาจากบาป ถูกกล่าวถึงในคำกล่าวประกอบ การโรยเถ้าของพระสงฆ์แบบที่สอง โดยเทียบจากหนังสือปฐมกาล (ปฐก. 3:19) ที่กล่าวว่า “มนุษย์เอ๋ย จงระลึกเถิดว่า เจ้าเป็นแค่ฝุ่นดิน และจะกลับเป็นฝุ่นดินอีก”

     ในบทเสกเถ้าทั้ง 2  แบบ ให้ความหมายอย่างชัดเจนว่า  เทศกาลมหาพรตเป็นช่วงเวลาที่
คริสตชนเตรียมสมโภชปัสกา เช่น 
“ขอโปรดสดับฟังคำอ้อนวอนของข้าพเจ้าทั้งหลาย และทรง พระเมตตาประทานพระพรแก่ข้ารับใช้ของพระองค์ ผู้เข้ามารับการโรยเถ้าเหล่านี้ “ (บทภาวนาเสกเถ้าแบบที่ 1)

     เครื่องหมายการเป็นทุกข์กลับใจในพิธีกรรม
 “พิธีเสกและโรยเถ้า” แสดงออกอย่างชัดเจนในช ีวิตคริสตชน เห็นได้จากการที่วันพุธรับเถ้าเป็นวันใช้โทษบาปสากลของพระศาสนจักร โดยคริสตชนผู้มีอายุตั้งแต่ 14 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปต้องอดเนื้อ และคริสตชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จนถึงอายุ 59 ปีบริบูรณ์ ต้องอดอาหาร

     
เถ้ายังอาจหมายถึงความสกปรก (บาป) ซึ่งใช้น้ำชำระให้สะอาดได้ (ศีลล้างบาป) ฉะนั้น เราเริ่มเทศกาลมหาพรตด้วยพิธีโรยเถ้า จึงเป็นเครื่องหมายที่นำไปสู่ความสมบูรณ์ครบครันในการรื้อฟื้นคำมั่นสัญญาแห่งศีลล้างบาปของค ริสตชน และการล้างบาปคริสตชนใหม่ (ตามธรรมเนียมของพระศาสนจักร) ในคืนวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ (มิสซาตื่นเฝ้าปัสกา)
 
     สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ ธรรมเนียมที่ให้โรยเถ้าที่ได้จากใบลานซึ่งเสกในปีก่อนนั้น เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 12 มีความหมายดี เพราะ
ใบลานหมายถึงชัยชนะของพระเยซูเจ้าในฐานะกษัตริย์ในการเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มอย่างสง่า (ภาพอนาคตของการกลับคืนชีพ) เมื่อเอามาเผาเป็นเถ้ าและโรยเพื่อเตือนใจให้คริสตชนใช้โทษบาปแล้ว ยังเป็นสิ่งที่บอกคริสตชนว่า การใช้โทษบาปนี้มีเป้าห มายเพื่อเตรียมการฉลองชัยชนะแห่งการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้า







Date of Easter (2000-2099)


Date of Easter (2000-2099)


YearsEaster DateYearsEaster DateYearsEaster DateYearsEaster DateYearsEaster Date
2000April 232001April 152002March 312003April 202004April 11
2005March 272006April 162007April 82008March 232009April 12
2010April 42011April 242012April 82013March 312014April 20
2015April 52016March 272017April 162018April 12019April 21
2020April 122021April 42022April 172023April 92024March 31
2025April 202026April 52027March 282028April 162029April 1
2030April 212031April 132032March 282033April 172034April 9
2035March 252036April 132037April 52038April 252039April 10
2040April 12041April 212042April 62043March 292044April 17
2045April 92046March 252047April 142048April 52049April 18
2050April 102051April 22052April 212053April 62054March 29
2055April 182056April 22057April 222058April 142059March 30
2060April 182061April 102062March 262063April 152064April 6
2065March 292066April 112067April 32068April 222069April 14
2070March 302071April 192072April 102073March 262074April 15
2075April 72076April 192077April 112078April 32079April 23
2080April 72081March 302082April 192083April 42084March 26
2085April 152086March 312087April 202088April 112089April 3
2090April 162091April 82092March 302093April 122094April 4
2095April 242096April 152097March 312098April 202099April 12


เทศกาลมหาพรต” เป็นช่วงเวลาแห่งการเตรียมใจเริ่มจากวันพุธรับเถ้าจนถึงวันอีสเตอร์รวมทั้งหมด 46 วัน


พุธรับเถ้า (Ash Wednesday)


เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของศาสนาคริสต์ โดยเป็นวันเริ่มต้นของเทศกาลมหาพรต ซึ่งจะมีระยะเวลา 46 วันก่อนวันปัสกา แต่ละปีวันที่จะเปลี่ยนไปเพราะยึดตามวันปัสกาเป็นหลัก


ชื่อวันมาจากการที่บาทหลวงจะใช้นิ้วหัวแม่มือแตะเถ้าและทำเครื่องหมายกางเขนบนหน้าผากของชาวคริสต์ หรืออาจจะโรยเถ้าบนศีรษะซึ่งสื่อความหมายถึงความสุภาพถ่อมตนต่อพระเจ้า สำนึกถึงความต้อยต่ำของตนเอง เนื่องจากในสมัยพระคัมภีร์เถ้าเป็นสัญลักษณ์ของการไว้อาลัย ชาวคริสต์เกือบทุกนิกายจะมีพิธีนี้ ทั้งคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และแองกลิกัน

วันพุธรับเถ้า (Ash Wednesday)

  • วันพุธที่ 14 ก.พ. 2024
  • วันพุธที่ 5 มี.ค. 2025
  • วันพุธที่ 18 ก.พ. 2026
  • วันพุธที่ 10 ก.พ. 2027

อาทิตย์ทางตาล (Palm Sunday)


มีบันทึกในประวัติศาสตร์ว่าพระเยซูทรงเสด็จเข้าสู่เยรูซาเล็มเหมือนอย่างกษัตริย์ผู้พิชิต เหตุการณ์ถูกบันทึกในพระกิตติคุณทั้งสี่ฉบับคือ มัทธิว 21:1–11, มาระโก 11:1–11, ลูกา 19:28, และยอห์น 12:12–19 ที่เรียกว่าทางตาลเพราะประชาชนต้อนรับพระองค์ด้วยการปูเส้นทางด้วยเสื้อผ้าและใบปาล์ม หรือใบตาล เพื่อให้พระเยซูทรงลาผ่านเข้ามายังเยรูซาเล็ม ประเด็นสำคัญคือพระเยซูเสด็จมาอย่างผู้พิชิตเพื่อพระองค์จะทรงยอมสิ้นพระชนม์ไถ่บาปเราบนไม้กางเขนในสัปดาห์ต่อมาในวันศุกร์ประเสริฐ (Good Friday) และวันอีสเตอร์ (Easter Sunday) ในวันอาทิตย์


วันอาทิตย์ทางตาล (Palm Sunday)

  • วันอาทิตย์ที่ 24 มี.ค. 2024
  • วันอาทิตย์ที่ 13 เม.ย. 2025
  • วันอาทิตย์ที่ 29 มี.ค. 2026
  • วันอาทิตย์ที่ 21 มี.ค. 2027


ศุกร์ประเสริฐ (Good Friday)


วันศุกร์ประเสริฐ หรือ Good Friday เป็นชื่อเรียกวันที่พระเยซูคริสต์ถูกตรึงและสิ้นพระชนม์ เป็นอะไรที่แย่นะ ทำไมเรียกว่า good?

มีข้อสังเกตทางภาษาว่า ในเยอรมันใช้คำว่า Karfreitag แปลว่า Sorrowful Friday ซึ่งตั้งชื่อได้เศร้ามาก ส่วนในอังกฤษ ใช้คำว่า God’s Friday ภายหลังเพี้ยนมาเป็น Good Friday


แล้วอะไรคือ Good Friday?


1. วันที่พระเยซูคริสต์ถูกตรึงบนไม้กางเขน และตายไถ่บาป
2. วันที่ศพของพระเยซูคริสต์ถูกนำไปฝังในอุโมงค์
3. วันที่ “ดีสำหรับเรา” ที่พระเยซูรับบาปโทษแทนเรา เพื่อเราจะรับการรักษาให้หายดี


ชาวคริสทำอะไรในวันนี้?


1. ระลึกถึงการไถ่ของพระเยซูคริสต์ และขอบคุณพระเจ้าสำหรับการเสียสละของพระองค์
2. ทานอาหารร่วมกัน พูดถึงพระคุณความรักของพระเยซูคริสต์ในชีวิตเรา
3. รับพิธีมหาสนิทด้วยความซาบซึ้งใจ
แต่ถ้าไม่เอาที่มาของคำมาเป็นประเด็น ความจริงคำว่า Good Friday แม้จะไม่ good สำหรับพระเยซูที่โดนหนักขนาดนั้น แต่ก็ good สำหรับเรา เพราะเป็นวันที่พระเยซูคริสต์ได้ทรงสำแดงความรักโดยสละชีพของพระองค์อย่างเต็มใจเพื่อไถ่โทษบาปของเรา

วันศุกร์ประเสริฐ (Good Friday)

  • วันศุกร์ที่ 29 มี.ค. 2024
  • วันศุกร์ที่ 18 เม.ย. 2025
  • วันศุกร์ที่ 3 เม.ย. 2026
  • วันศุกร์ที่ 26 มี.ค. 2027


อีสเตอร์ (Easter Sunday)


ก่อนปี ค.ศ.336 คริสเตียนไม่มีการฉลองวันเกิดของพระเยซูหรือวันคริสต์มาส งานฉลองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือเทศกาลอีสเตอร์หรือวันที่พระเยซูทรงฟื้นคืนพระชนม์


การฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูในวันอีสเตอร์มีความหมายมากสำหรับคริสเตียน หากพระองค์ไม่ฟื้นคืนพระชนม์ คำสอนของพระเยซูคงเป็นได้แค่ปรัชญาศาสนาอันดีงามของมนุษยชาติโดยไม่มีผลใดใดต่อการช่วยกู้ทางจิตวิญญาณของมนุษย์แต่อย่างใด แต่เมื่อพระองค์ฟื้นคืนพระชนม์ ไม่ใช่เพียงคำสอนของพระองค์จะมีน้ำหนักมากขึ้น แต่การฟื้นจากความตายเป็นการเอาชนะศัตรูตัวสุดท้ายของความบาปคือความตายและอำนาจของความบาปที่ครอบงำชีวิตมนุษย์มาโดยตลอด (1 โครินธ์ 15:55–57)


วันอีสเตอร์ (Easter Sunday)

  • วันอาทิตย์ที่ 31 มี.ค. 2024
  • วันอาทิตย์ที่ 20 เม.ย. 2025
  • วันอาทิตย์ที่ 5 เม.ย. 2026
  • วันอาทิตย์ที่ 28 มี.ค. 2027
  • วันอาทิตย์ที่ 16 เม.ย. 2028
  • วันอาทิตย์ที่ 1 เม.ย. 2029
  • วันอาทิตย์ที่ 21 เม.ย. 2030
  • วันอาทิตย์ที่ 13 เม.ย. 2031
  • วันอาทิตย์ที่ 28 มี.ค. 2032
  • วันอาทิตย์ที่ 17 เม.ย. 2033
  • วันอาทิตย์ที่ 9 เม.ย. 2034



เราจึงเฉลิมฉลองอีสเตอร์และทั้งหมดนี้ด้วยความเชื่อ เป็นการเฉลิมฉลองความเป็นไปได้แล้วที่เราจะเอาชนะตัวเก่า นิสัยบาป และเติบโตขึ้นในการดำเนินชีวิตตามพระประสงค์ของพระเจ้า ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้เพราะการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์พระเจ้าของเราทั้งหลาย



ที่มา    ::       https://th.wikipedia.org/wiki/    ,   http://www.shb.or.th/article/lokkhamson/lent/lent.html   ,    https://pantip.com/topic/33247511   ,     https://kanoklee.medium.com/    ,   https://www.kamsondeedee.com/main/doccuments/docs-liturgy/82-lent-pascal

15 ความคิดเห็น:

  1. พิธีกรรมในเทศกาลมหาพรต


    เนื่องจากเทศกาลมหาพรต เป็นช่วงเวลาแห่งการเตรียมสมโภชปัสกาประจำปี ดังนั้น พิธีมิสซา
    และพิธีกรรมทำวัตรของพระศาสนจักรในเทศกาลนี้ จึงได้บรรจุพระวาจา ข้อเขียนของปิตาจารย์ และบท
    ภาวนา ที่ให้คำสอน ข้อคิด และแนวทางในการปฏิบัติแก่คริสตชนและคริสตังสำรอง จะเห็นได้ว่าพิธีกรร มซึ่งเป็นคำภาวนาของพระศาสนจักรนับว่าเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตของคริสตชนในเทศกาลมหาพรต จึงควรที่เราจะมาทำความเข้าใจพิธีกรรมในเทศกาลมหาพรต โดยในส่วนนี้ขอนำเสนอความหมายของมิสซาในวันพุธรับเถ้า


    วันพุธรับเถ้า วันเริ่มต้นของเทศกาลมหาพรต

    วันพุธก่อนวันอาทิตย์แรกของเทศกาลมหาพรต สัตบุรุษจะรับเถ้าเป็นการเริ่มต้นเทศกาลมหาพรต

    พิธีเสกและโรยเถ้า ตามปกติจะทำในพิธีมิสซา หลังอ่านพระวรสารและเทศน์ ซึ่งให้ความหมายว่า พระวาจาของพระเจ้าเป็นพลังสำคัญที่ปลุกเร้าจิตใจของคริสตชนให้สำนึกตน กลับใจ และใช้โทษบาปในเทศกาลมหาพรตนี้

    บทอ่านจากพระคัมภีร์ในพิธีมิสซาวันพุธรับเถ้า บทอ่านแรกจากหนังสือประกาศกโยเอล (ยอล. 2:12-18) กล่าวว่า “เจ้าทั้งหลายจงเต็มใจกลับมาหาเรา ด้วยการอดอาหาร ร้องไห้ และเป็นทุกข์คร่ำครวญ ณ บัดนี้เถิด” บทอ่านที่สองนำมาจากจดหมายของนักบุญเปาโลอัครสาวกถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 2 (2 คร. 5:20-6:2) ยังคงกล่าวถึงการกลับใจอย่างต่อเนื่องว่า “จงคืนดีกับพระเจ้าเถิด บัดนี้แหละเป็นเวลาที่เหมาะสม” และพระวรสารนักบุญมัทธิว ให้ความหมายที่แท้จริงของการกลับใจในภาคปฏิบัติ โดยนำเสนอคำสอนของพร ะเยซูเจ้าในเรื่อง “การทำทาน” “การอธิษฐานภาวนา” และ “การจำศีลอดอาหาร” พระองค์ทรงสอนว่า “จงระวังอย่าประกอบกิจ
    การดีของท่านต่อหน้ามนุษย์เพื่ออวดเขา มิฉะนั้น ท่านจะไม่ได้รับบำเหน็จจากพระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์” (มธ. 6:1-6,16-18)




    ความหมายของเถ้า

    เถ้าเป็นเครื่องหมายของ “ความทุกข์ถึงบาป” เป็นธรรมเนียมที่ได้มาจากพระคัมภีร์ เราพบความหมายนี้อย่างชัดเจน ในคำ กล่าวประกอบการโรยเถ้าของพระสงฆ์แบบที่หนึ่ง ซึ่งนำมาจากพระวรสารของนักบุญมาระโก (มก. 1:15) ที่กล่าวว่า “จงกลับใจใช้โทษบาป และเชื่อพระวรสารเถิด”
    เถ้ายังหมายถึงสภาพของมนุษย์คนบาป ซึ่งพยายามแสดงความสำนึกผิดของตนต่อพระเจ้าออกมาเป็นพิธีภายนอก ให้เห็นว่าเขาต้องการกลับใจ เพราะหวังว่าพระเจ้าจะทรงพระกรุณาให้อภัย เครื่องหมายประการนี้จึงเป็นการเริ่มเดินทางมุ่งสู่การกลับใจซึ่งค่อย ๆ พัฒนาขึ้นโดยการรับศีลอภัยบาปในเทศกาลมหาพรต ความต่ำต้อยของมนุษย์อันเป็นผลมาจากบาป ถูกกล่าวถึงในคำกล่าวประกอบ การโรยเถ้าของพระสงฆ์แบบที่สอง โดยเทียบจากหนังสือปฐมกาล (ปฐก. 3:19) ที่กล่าวว่า “มนุษย์เอ๋ย จงระลึกเถิดว่า เจ้าเป็นแค่ฝุ่นดิน และจะกลับเป็นฝุ่นดินอีก”

    ในบทเสกเถ้าทั้ง 2 แบบ ให้ความหมายอย่างชัดเจนว่า เทศกาลมหาพรตเป็นช่วงเวลาที่
    คริสตชนเตรียมสมโภชปัสกา เช่น “ขอโปรดสดับฟังคำอ้อนวอนของข้าพเจ้าทั้งหลาย และทรง พระเมตตาประทานพระพรแก่ข้ารับใช้ของพระองค์ ผู้เข้ามารับการโรยเถ้าเหล่านี้ “ (บทภาวนาเสกเถ้าแบบที่ 1)

    เครื่องหมายการเป็นทุกข์กลับใจในพิธีกรรม “พิธีเสกและโรยเถ้า” แสดงออกอย่างชัดเจนใน ชีวิตคริสตชน เห็นได้จากการที่วันพุธรับเถ้าเป็นวันใช้โทษบาปสากลของพระศาสนจักร โดยคริสตชนผู้มีอายุตั้งแต่ 14 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปต้องอดเนื้อ และคริสตชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จนถึงอายุ 59 ปีบริบูรณ์ ต้องอดอาหาร

    เถ้ายังอาจหมายถึงความสกปรก (บาป) ซึ่งใช้น้ำชำระให้สะอาดได้ (ศีลล้างบาป) ฉะนั้น เราเริ่มเทศกาลมหาพรตด้วยพิธีโรยเถ้า จึงเป็นเครื่องหมายที่นำไปสู่ความสมบูรณ์ครบครันในการรื้อฟื้นคำมั่นสัญญาแห่งศีลล้างบาปของค ริสตชน และการล้างบาปคริสตชนใหม่ (ตามธรรมเนียมของพระศาสนจักร) ในคืนวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ (มิสซาตื่นเฝ้าปัสกา)

    สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ ธรรมเนียมที่ให้โรยเถ้าที่ได้จากใบลานซึ่งเสกในปีก่อนนั้น เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 12 มีความหมายดี เพราะใบลานหมายถึงชัยชนะของพระเยซูเจ้าในฐานะกษัตริย์ในการเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มอย่างสง่า (ภาพอนาคตของการกลับคืนชีพ) เมื่อเอามาเผาเป็นเถ้าและโร ยเพื่อเตือนใจให้คริสตชนใช้โทษบาปแล้ว ยังเป็นสิ่งที่บอกคริสตชนว่า การใช้โทษบาปนี้มีเป้าหมายเพื่อเตรียมการฉลองชัยชนะแห่งการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้า


    http://www.shb.or.th/article/lokkhamson/lent/lent.html

    ตอบลบ
  2. เทศกาลมหาพรต (Lent)

    ความหมายของเทศกาลมหาพรต

    เทศกาลมหาพรต เป็นช่วงเวลาที่พระศาสนจักรกำหนดเพื่อเตรียมสมโภชปัสกา ซึ่งเป็นวันฉลองที่ยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดในรอบปีของพระศาสนจักร เพราะสมโภชปัสกาเป็นการเฉลิมฉลองการที่พระเยซูเจ้าทรงรับทรมาน สิ้นพระชนม์และทรงกลับคืนพระชนมชีพ เพื่อกอบกู้มนุษยชาติให้คืนดีกับพระเจ้า มารับชีวิตร่วมกับพระองค์

    1) สำหรับผู้ใหญ่ที่เตรียมตัวรับศีลล้างบาป (คริสตังสำรอง) เป็นการเตรียมในขั้นตอนสุดท้ายของพิธีรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน

    2) สำหรับคริสตชน การเตรียมสมโภชปัสกาในเทศกาลมหาพรต เป็นโอกาสให้คริสตชนรื้อฟื้นคุณค่าและศักดิ์ศรีของศีลล้างบาปที่เขาได้รับ (คริสตชนจะรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลล้างบาปอย่างสง่าในคืนวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์) และคริสตชนยังเตรียมสมโภชปัสกา ด้วยการฟังพระวาจาพระเจ้า กลับใจ ใช้โทษบาป สวดภาวนา และบำเพ็ญกิจเมตตาปรานี

    นอกจากนี้ เทศกาลมหาพรตยังเป็นโอกาสที่จะสอนคำสอนสำหรับคริสตชนผู้ใหญ่ที่ได้รับศีลล้างบาปแล้วตั้งแต่เป็นเด็ก แต่
    ยังไม่ได้รับศีลอภัยบาป ศีลมหาสนิท และศีลกำลัง เพื่อให้เขาเติบโตในความเชื่อ และเพื่อเตรียมพวกเขาให้รับศีลศักดิ์สิทธิ์ที่กล่าวนี้


    ระยะเวลาของเทศกาลมหาพรต
    เทศกาลมหาพรตเริ่มในวันพุธรับเถ้า และจบลงในวันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์ก่อนพิธีมิสซาตอนเย็นระลึกถึงการเลี้ยงของพระคริสตเจ้า

    สัญลักษณ์ 40 วันของเทศกาลมหาพรต

    สัญลักษณ์ 40 วันของเทศกาลมหาพรต มีความหมายเกี่ยวข้องกับเลข 40 ในพระคัมภีร์ จากแบบฉบับของพระเยซูเจ้าที่ทรงอดอาหารในถิ่นทุรกันดารเป็นเวลา 40 วัน (มธ. 4:2 ; ลก. 4:1-2)

    นอกจากนั้นในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม ยังได้กล่าวถึงโมเสสอดอาหาร 40 วัน ขณะที่อยู่กับพระยาห์เวห์ในการรื้อฟื้นพันธสัญญาบนภูเขาซีนาย (อพย. 34:28) เอลียาห์อดอาหาร 40 วัน ขณะที่เดินทางไปที่ภูเขาโฮเรบ (1 พกษ. 19:8) และชาวอิสราเอลใช้เวลา 40 ปี ในถิ่นทุรกันดารก่อนที่จะเข้าสู่แผ่นดินแห่งพันธสัญญา

    ในพระคัมภีร์เลข 40 เป็นสัญลักษณ์หมายถึง การผ่าน การเตรียมตัว การกลับใจ การใช้โทษบาป การชำระตน การหันหลังให้กับความชั่วร้ายและการตัดสินใจเลือกพระเจ้า


    ตอบลบ
  3. สาส์น ของ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ในโอกาสเทศกาลมหาพรต ประจำปี 2024

    พระเจ้าทรงนำเราผ่านทะเลทรายสู่อิสรภาพ

    พี่น้องที่รัก

    เมื่อพระเจ้าของเราเผยแสดงพระองค์เอง สารของพระองค์มักจะเกี่ยวข้องกับอิสรภาพเสมอ: “เราคือพระยาห์เวห์พระเจ้าของท่าน เป็นผู้นำท่านออกจากแผ่นดินอียิปต์ ให้พ้นจากการเป็นทาส” (อพย 20:2) คำเหล่านี้เป็นคำแรกของพระบัญญัติสิบประการ ที่ประทานแก่โมเสสบนภูเขาซีนาย ผู้ที่ได้ยินคำเหล่านี้คุ้นเคยกับการอพยพที่พระเจ้าตรัสถึงเป็นอย่างดี ประสบการณ์การเป็นทาสของพวกเขายังคงฝังลึกอยู่ในใจ ในทะเลทรายพวกเขาได้รับ “บัญญัติสิบประการ” เป็นถนนสู่อิสรภาพ เราเรียกคำเหล่านั้นว่า “พระบัญญัติ” เพื่อเน้นย้ำถึงพลังแห่งความรักที่พระเจ้าทรงใช้ในการหล่อหลอมประชากรของพระองค์ เสียงเรียกร้องสู่อิสรภาพเป็นเสียงเรียกร้องที่ต้องอาศัยความพยายาม ไม่ใช่สำเร็จได้ในทันที ต้องค่อยๆ เติบโตไปพร้อมกับการเดินทาง เช่นเดียวกับอิสราเอลในทะเลทรายที่ยังคงยึดติดกับอียิปต์ มักจะโหยหาอดีตและบ่นต่อต้านพระเจ้าและโมเสส เช่นเดียวกันในปัจจุบัน ประชากรของพระเจ้าก็ยังคงยึดติดกับพันธนาการแห่งการกดขี่ที่พวกเขาควรจะปล่อยไว้ข้างหลัง เราตระหนักถึงความจริงข้อนี้ ในช่วงเวลาที่เรารู้สึกสิ้นหวัง เดินทางผ่านชีวิต เหมือนเดินผ่านทะเลทราย โดยไม่มีแผ่นดินแห่งพันธสัญญาเป็นจุดหมายปลายทาง มหาพรตคือเทศกาลแห่งพระหรรษทาน ที่ทะเลทรายสามารถกลับกลายเป็นสถานที่แห่งรักแรกของเราอีกครั้งตามคำทำนายของประกาศกโฮเชยา (เทียบ ฮชย 2:16-17) พระเจ้าทรงหล่อหลอมประชากรของพระองค์ ทรงทำให้เราสามารถทิ้งการเป็นทาสไว้เบื้องหลัง และประสบกับการผ่านพ้นจากความตายไปสู่ชีวิต เหมือนเจ้าบ่าว พระเจ้าทรงดึงดูดเราให้กลับมาหาพระองค์อีกครั้งด้วยการกระซิบคำรักแก่หัวใจของเรา

    การอพยพจากการเป็นทาสสู่อิสรภาพ ไม่ใช่เพียงการเดินทางที่เป็นนามธรรม หากต้องการให้การเฉลิมฉลองเทศกาลมหาพรตของเราเป็นรูปธรรม ก้าวแรกคือต้องปรารถนาที่จะเปิดตาของเราให้กว้างเพื่อรับรู้ความจริง เมื่อพระเจ้าตรัสเรียกโมเสสจากพุ่มไม้ที่ลุกเป็นไฟ พระองค์ทรงแสดงให้เห็นทันทีว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้มองเห็น และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือทรงได้ยิน “เราสังเกตเห็นความทุกข์ยากของประชากรของเราในอียิปต์ เราได้ยินเสียงร้องเพราะความทารุณของนายงาน เรารู้ดีถึงความทุกข์ทรมานของเขา เราลงมาช่วยเขาให้พ้นมือชาวอียิปต์ และนำเขาออกจากแผ่นดินนั้น ไปสู่แผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์และกว้างใหญ่ ไปยังแผ่นดินที่มีน้ำนมและน้ำผึ้งไหลบริบูรณ์” (อพย 3:7-8) ในทุกวันนี้ก็เช่นกัน เสียงร้องของพี่น้องของเราจำนวนมากที่ถูกกดขี่ก็ดังก้องไปถึงสวรรค์ ลองถามตัวเองว่า เราได้ยินเสียงร้องนั้นหรือไม่? มันรบกวนเราหรือไม่ มันกระตุ้นเตือนเราหรือไม่ มีหลายสิ่งหลายอย่างที่คอยแยกเราออกจากกัน ปฏิเสธความเป็นพี่น้อง ที่ผูกพันเราเข้าไว้ด้วยกันตั้งแต่แรกเริ่ม

    ในระหว่างการเดินทางเยือนเกาะลัมเปดูซาของพ่อ เพื่อต่อต้านกระแสเฉยเมยทั่วโลก พ่อได้ตั้งคำถามสองข้อที่ทวีความเร่งด่วนขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือ “ท่านอยู่ไหน” (ปฐก 3:9) และ “น้องชายท่านอยู่ที่ไหน” (ปฐก 4:9) เส้นทางมหาพรตของเราจะมีความชัดเจนก็ต่อเมื่อ เราหันกลับมาฟังคำถามสองข้อนี้อีกครั้ง และตระหนักว่าแม้กระทั่งทุกวันนี้ เรายังคงอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ฟาโรห์ กฎเกณฑ์ที่ทำให้เราอ่อนล้าและเฉยชา รูปแบบการพัฒนาที่แบ่งแยกและพรากอนาคตของเรา โลก อากาศ และน้ำล้วนปนเปื้อน แม้แต่วิญญาณของเราก็เช่นกัน แม้ศีลล้างบาปจะเป็นจุดเริ่มต้นการปลดปล่อยของเรา แต่ภายในเรายังคงมีแรงปรารถนาที่ไม่อาจอธิบายได้ต่อการเป็นทาส มันเป็นเสมือนกับแรงดึงดูดไปสู่ความมั่นคงในสิ่งที่คุ้นเคย ซึ่งทำให้เราสูญเสียอิสรภาพ


    ตอบลบ
  4. ในเรื่องราวการอพยพ มีรายละเอียดสำคัญประการหนึ่ง นั่นคือ พระเจ้าทรงเป็นผู้เห็น ทรงเมตตา และทรงประทานอิสรภาพ มิได้รอให้ชาวอิสราเอลเป็นฝ่ายร้องขอ กษัตริย์ฟาโรห์ปิดกั้นความฝัน บดบังวิสัยทัศน์แห่งสวรรค์ ทำให้ผู้คนเชื่อว่าโลกใบนี้ที่เหยียบย่ำศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และปฏิเสธสายสัมพันธ์อันแท้จริง จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลงได้ กษัตริย์ฟาโรห์กดขี่ทุกสิ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง ลองถามตัวเอง เราต้องการโลกใบใหม่หรือไม่ เราพร้อมที่จะละทิ้งการประนีประนอมกับโลกใบเก่าไหม ประจักษ์พยานของพี่น้องพระสังฆราชจำนวนมาก รวมถึงผู้ทำงานเพื่อสันติภาพและความยุติธรรม ทำให้พ่อเชื่อมั่นยิ่งขึ้นว่า เราจำเป็นต้องต่อสู้กับภาวะขาดแคลนความหวังที่สกัดกั้นความฝันและเสียงร้องอันเงียบงันที่ดังไปถึงสวรรค์ และกระตุ้นพระหทัยของพระเจ้า ภาวะ “ขาดแคลนความหวัง” นี้ ไม่ต่างจากความคิดถึงสมัยเป็นทาสที่ทำให้ชาวอิสราเอลในทะเลทรายเป็นอัมพาต ไม่สามารถก้าวต่อไปได้ การอพยพนั้นถูกขัดจังหวะได้ มิฉะนั้น เราจะอธิบายความจริงที่ว่า มนุษยชาติมาถึงจุดเริ่มต้นของภราดรภาพสากล ทั้งในพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ ทางวิชาการ ทางวัฒนธรรม และทางกฎหมาย จนเราสามารถรับรองศักดิ์ศรีของมนุษย์ทุก ๆ คนได้ กระนั้นเรายังคงคลำทางอยู่ในความมืดมิดของความไม่เท่าเทียมและความขัดแย้ง

    พระเจ้าไม่ทรงละทิ้งเรา ให้เราต้อนรับมหาพรตดังเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่เตือนเราว่า “เราคือพระยาห์เวห์พระเจ้าของท่าน เป็นผู้นำท่านออกจากแผ่นดินอียิปต์ ให้พ้นจากการเป็นทาส” (อพย 20:2) เทศกาลมหาพรตนี้เป็นเทศกาลแห่งการกลับใจ ฤดูกาลแห่งอิสรภาพ ดังที่เราระลึกถึงในวันอาทิตย์แรกของเทศกาลมหาพรตที่เล่าว่า พระเยซูเจ้าเองทรงได้รับการดลใจจากพระจิตเจ้าไปยังถิ่นทุรกันดาร เพื่อเผชิญมารผจญด้วยจิตอิสระ ตลอด 40 วัน พระองค์ทรงยืนอยู่เบื้องหน้าเราและยืนเคียงข้างเราในฐานะพระบุตรผู้ทรงรับเอากาย ไม่เหมือนกษัตริย์ฟาโรห์ พระเจ้าไม่ทรงปรารถนาจะมีคนรับใช้ ทว่าทรงปรารถนาให้เรามีสถานะเป็นบุตรธิดาของพระองค์ ทะเลทรายนี้เป็นสถานที่ที่อิสรภาพของเราจะสุกงอม ผ่านการตัดสินใจด้วยตัวเราเอง ไม่หวนกลับไปสู่ภาวะทาสอีก มหาพรตเป็นโอกาสที่เราจะค้นพบเกณฑ์ใหม่แห่งความยุติธรรม และค้นพบชุมชนที่จะร่วมเดินไปบนเส้นทางที่ไม่เคยก้าวเดินมาก่อน

    อย่างไรก็ตาม ดังที่หนังสืออพยพและการที่พระเยซูเจ้าทรงเผชิญการล่อลวงในทะเลทรายชี้ให้เห็นชัดว่าสิ่งนี้พัวพันกับการต่อสู้ดิ้นรน พระสุรเสียงของพระเจ้าผู้ตรัสว่า “ท่านเป็นบุตรที่รักของเรา” (มก 1:11) และ “ท่านต้องไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากเรา” (อพย 20:3) ถูกศัตรูและคำลวงคัดค้าน ศัตรูที่น่ากลัวยิ่งกว่าฟาโรห์คือรูปเคารพที่เราสร้างขึ้นเอง ซึ่งเปรียบเสมือนเสียงของปีศาจกระซิบอยู่ในใจ เราอาจจะถูกล่อลวงด้วยอำนาจต่าง ๆ ด้วยการให้ตนเองเป็นผู้ที่อยู่เหนือผู้อื่นและปกครองชีวิตของผู้อื่น มนุษย์ทุกคนรู้ว่าคำโกหกเหล่านี้สามารถยั่วยวนใจได้มากแค่ไหน มันเป็นเส้นทางที่หลายคนได้เดินทางไปแล้ว เราอาจจะยึดติดอยู่กับเงินตรา หรือการทำสิ่งที่ตนอยากทำ แนวคิดหรือจุดมุ่งหมายต่างๆ หรือตำแหน่งของเรา ธรรมเนียมของเรา หรือเราอาจจะยึดติดอยู่กับคนอื่นๆ แทนที่มันจะทำให้เราก้าวเดินไปข้างหน้า มันกลับทำให้เรากลายเป็นอัมพาต แทนที่เราจะได้พบปะกับผู้อื่น มันกลับทำให้เรามีความขัดแย้ง ทว่า มีมนุษยชาติใหม่ ก่อร่างจากคนตัวเล็ก ๆ คนอ่อนน้อม ผู้ไม่โอนอ่อนต่อคำลวง ชนกลุ่มนี้ต่างกับผู้บูชารูปเคารพที่ไร้เสียง ตาบอด หูหนวก และเคลื่อนไหวไม่ได้ (เทียบ สดด 114:4) ผู้ยากจนทางจิตวิญญาณมีหัวใจเปิดกว้าง พร้อมรับ เป็นพลังแห่งความดีอันเงียบงันที่เยียวยาและพยุงโลกใบนี้


    ตอบลบ
  5. เทศกาลมหาพรต เป็นเวลาที่เราจะต้องลงมือทำ การลงมือทำก็หมายถึงการหยุดพักด้วย การหยุดพักเพื่อสวดภาวนา เพื่อเราจะได้รับฟังพระวาจาของพระเจ้า เช่นเดียวกับชาวสะมาเรียที่หยุดเพื่อช่วยเหลือพี่น้องที่บาดเจ็บ ความรักต่อพระเจ้าและความรักต่อเพื่อนมนุษย์เป็นสิ่งเดียวกัน การไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกเหนือจากพระเจ้า หมายถึงการหยุดพักต่อพระพักตร์พระเจ้าเคียงข้างพี่น้องที่บาดเจ็บของเรา ด้วยเหตุนี้ การภาวนา การทำทาน และการถือศีลอด จึงไม่ใช่กิจกรรมที่แยกจากกัน แต่เป็นการเคลื่อนไหวอันเดียวกันของการเปิดใจ ละทิ้งตัวตน โดยขับไล่รูปเคารพที่ถ่วงเราไว้ ความยึดติดที่คุมขังเรา เมื่อนั้น จิตใจที่หดหู่และโดดเดี่ยวจะฟื้นคืนชีพอีกครั้ง ดังนั้น ชะลอฝีเท้าและหยุดพัก มิติด้านการภาวนาของชีวิตที่มหาพรตช่วยให้เราค้นพบใหม่ จะปลดปล่อยพลังใหม่ในการประทับอยู่ของพระเจ้า เราจะกลายเป็นพี่น้องที่อ่อนไหวต่อความรู้สึกของกันมากขึ้น แทนที่จะเห็นเพื่อนเป็นภัยหรือศัตรู เรากลับค้นพบเพื่อนร่วมทาง นี่คือพระสุบินของพระเจ้า ดินแดนแห่งพันธสัญญาที่เราเดินทางไปหลังจากละทิ้งการเป็นทาสไว้เบื้องหลัง

    รูปแบบซีนอดของพระศาสนจักรซึ่งเรากำลังค้นพบและพัฒนาในช่วงเวลาหลายปีนี้ ชี้ให้เห็นว่ามหาพรตยังเป็นช่วงเวลาแห่งการตัดสินใจร่วมกัน การตัดสินใจเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงการตัดสินใจใหญ่ๆ ที่ทวนกระแส ผลักดันให้วิถีชีวิตของปัจเจกบุคคลและชุมชนเปลี่ยนแปลง เช่น วิธีการจัดหาสินค้า การดูแลธรรมชาติ และการพยายามรวมเอาผู้ที่ถูกลืมและถูกมองข้ามไว้ พ่อขอเชิญชวนชุมชนคริสต์ทุกแห่ง ให้จัดช่วงเวลาพิเศษสำหรับสมาชิกได้ทบทวนวิถีชีวิต ตรวจสอบบทบาทของตัวเองในสังคม และการมีส่วนร่วมเพื่อให้สังคมดีขึ้น พวกเราจะพ่ายแพ้ หากการใช้โทษบาปอย่างคริสตชนของเราสะท้อนถึงรูปแบบการใช้โทษบาปที่พระเยซูเจ้าทรงตำหนิ พระองค์ตรัสกับพวกเราเช่นกันว่า “เมื่อท่านทั้งหลายจำศีลอดอาหาร จงอย่าทำหน้าเศร้าหมองเหมือนบรรดาคนหน้าซื่อใจคด เขาทำหน้าหมองคล้ำ เพื่อแสดงให้ผู้คนรู้ว่าเขากำลังจำศีลอดอาหาร” (มธ 6:16) ตรงกันข้าม จงให้ผู้คนเห็นใบหน้าที่เบิกบาน สัมผัสกลิ่นอายแห่งอิสรภาพ และสัมผัสถึงความรักที่สร้างสิ่งใหม่ทั้งหมด เริ่มต้นจากสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ และกับคนที่อยู่ใกล้ชิด เราทุกคนในชุมชนคริสต์สามารถทำได้

    หากมหาพรตนี้ กลายเป็นช่วงเวลาแห่งการกลับใจ ผู้คนบนโลกที่กำลังกังวลใจจะสังเกตเห็นประกายของความคิดสร้างสรรค์และแสงแห่งความหวังใหม่ พ่อขอทบทวนคำพูดที่กล่าวกับเยาวชนซึ่งได้พบกันที่ลิสบอน เมื่อฤดูร้อนที่ผ่านมา “จงอย่าหยุดแสวงหาและพร้อมที่จะเสี่ยง ในช่วงเวลานี้ เราเผชิญกับความเสี่ยงมหาศาล เราได้ยินเสียงร้องขออันเจ็บปวดของผู้คนมากมาย แท้จริงแล้ว เรากำลังเผชิญสงครามโลกครั้งที่สามที่เกิดขึ้นทีละน้อยเป็นส่วนๆ ทว่า จงหาญกล้าที่จะมองโลกของเรา มิใช่ในแง่ความเสื่อมสลาย แต่เป็นกระบวนการแห่งการให้กำเนิดใหม่ มิใช่ใกล้จุดจบ แต่เป็นจุดเริ่มต้นของบทใหม่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ เราต้องการความกล้าหาญที่จะคิดเช่นนี้” (ปาฐกถาแก่นักศึกษามหาวิทยาลัย, 3 สิงหาคม 2023) ความกล้าหาญนี้คือความกล้าหาญแห่งการกลับใจ เกิดจากการหนีพ้นจากทาส เพราะความเชื่อและความรักนำพาความหวังที่เหมือนเด็กน้อยจับมือเดิน สอนให้เธอก้าวเดิน ในขณะเดียวกัน เธอก็นำความเชื่อและความรักก้าวไปข้างหน้า (เทียบ CH. PEGUY “มุขแห่งธรรมล้ำลึกของจริยธรรมประการที่ 2”)

    พ่อขออวยพรให้ทุกคน เดินทางอย่างดีตลอดเทศกาลมหาพรตนี้

    ให้ไว้ ณ วันที่ 3 ธันวาคม 2023 กรุงโรม มหาวิหารนักบุญยอห์นลาเตรัน

    วันอาทิตย์แรกแห่งการเตรียมรับเสด็จพระคริสตสมภพ

    สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส

    ตอบลบ
  6. เทศกาลมหาพรต 40 วันแห่งการฟื้นฟูชีวิตคริสตชน

    เทศกาลมหาพรต 40 วันแห่งการฟื้นฟูชีวิตคริสตชน

    เทศกาลมหาพรต คือช่วงเวลา 40 วันที่พระศาสนจักรกำหนดให้เป็นช่วงเวลาของการเตรียมฉลองปัสกา เดิมทีเดียวมีระเวลาเพียง 3 สัปดาห์ ภายหลังได้เพิ่มเข้ามาอีก 2 สัปดาห์รวมเป็น 5 สัปดาห์ โดยเริ่มต้นที่วันอาทิตย์
    ต่อมาได้เพิ่มเข้ามาอีก 4 วันให้ครบ 40 วัน เพื่อเตือนใจให้ระลึกถึง 40 วันแห่งการจำศีลอดอาหารในถิ่นทุรกันดารของพระเยซูเจ้าก่อนจะเริ่มภารกิจของพระองค์ โดยเริ่มต้นที่วันพุธรับเถ้าอย่างในปัจจุบัน

    ในระยะเริ่มแรก เทศกาลมหาพรตถือเป็นช่วงเวลาสำหรับการเตรียมผู้ที่จะรับศีลล้างบาปและการเฉลิมฉลองปัสกา ต่อมาภายหลังได้ถือเป็นช่วงเวลาของการเป็นทุกข์กลับใจและใช้โทษบาปสำหรับผู้ที่รับศีลล้างบาปแล้ว

    เทศกาลมหาพรตเป็นเหมือนกับฤดูใบไม้ผลิในพระศาสนจักร เป็นช่วงเวลาของการเกิดใหม่และพื้นฟูชีวิตคริสตชน เป็นเวลาพิเศษแห่งพระพรและการเปลี่ยนแปลงชีวิตของตนผ่านทาง การอธิษฐานภาวนาอย่างเพียรทน การใช้โทษบาป และการช่วยเหลือแบ่งปันคนขัดสน ซึ่งพระศาสนจักรถือว่านี่คือหนทางที่ดีที่สุดของการมีส่วนในพระมหาทรมาน การสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า
    นักบุญเคลเมนต์กล่าวว่า “การอดอาหารดีกว่าการอธิษฐานภาวนา” การอดอาหารจึงเป็นเครื่องมือที่ดีอย่างหนึ่งของพระศาสนจักรสำหรับการใช้โทษบาป เพื่อคริสตชนจะได้รู้จักเพียงพอเรื่องการกินดื่ม รู้จักแบ่งปันและเห็นอกเห็นใจผู้ยากไร้ที่ต้องการความช่วยเหลือ จะได้มีสายตาในแบบเดียวกับพระเยซูเจ้า “เมื่อพระเยซูเจ้าทอดพระเนตรเห็นประชาชน ก็ทรงสงสาร” (มธ 9:36) ซึ่งเป็นหัวข้อสำคัญในสารมหาพรตประจำปี 2006 ของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16

    การอดอาหารไม่ควรถือเป็นเรื่องล้าสมัยแต่ต้องกระทำควบคู่ไปกับกิจการดี ดังสุภาษิตอิตาลีที่ว่า “ใครที่อดอาหาร แต่ไม่ประกอบการดีอื่น ช่วยประหยัดรายจ่ายของเขา แต่นำไปสู่นรก” (Who fasts, but does no other good, saves his bread but go to Hell.) ดังนั้น เพื่อได้รับพระเมตตาจากพระเจ้าเราต้องแสดงออกให้เห็นถึงพระทัยดีและพระพักตร์ที่ทรงเมตตาของพระเยซูเจ้าต่อผู้อื่น
    อเล็กซานเดอร์ โป๊ป กล่าวว่า “ผิดพลาดคือมนุษย์ อภัยไม่สิ้นสุดคือพระเจ้า” (To err is human, forgive Divine.) นี่คือธรรมชาติมนุษย์ที่เราต้องยอมรับและสำนึกเสมอว่าเราเป็นคนบาป บาปนี่เองได้ส่งผลร้ายต่อตัวเราและสังคม ทำให้ความสัมพันธ์อันดีของเรากับพระเจ้าและเพื่อนพี่น้องถูกตัดขาด แต่พระเยซูเจ้าทรงเชื้อเชิญเราให้กลับมาหาพระองค์ทางศีลแห่งการคืนดี ซึ่งเป็นท่อธารแห่งพระพรที่สะท้อนให้เห็นถึงความรักและการให้อภัยไม่สิ้นสุดของพระองค์

    40 วันในเทศกาลมหาพรตจึงเป็นช่วงเวลาพิเศษแห่งการฟื้นฟูชีวิตคริสตชน กลับใจและคืนดีกับพระเจ้า เถ้าที่โรยบนศีรษะของเราในวันพุธรับเถ้า เป็นเครื่องหมายถึงความสำนึกในความต่ำต้อยของเราเอง อีกทั้งเตือนใจเราให้เอาใจใส่ในการฟังพระวาจาของพระเจ้า “จงกลับใจและเชื่อพระวรสารเถิด” (มก 1: 15) พร้อมที่จะกลับใจใหม่และคืนดีกับพระองค์

    การกลับใจและเชื่อข่าวดี ย่อมพบอุปสรรคเหมือนพระเยซูเจ้าที่ถูกปีศาจทดลองในถิ่นทุรกันดาร เราคริสตชนไม่อาจหลีกพ้นการทดลองเช่นกัน เพื่อเอาชนะการทดลองและบรรลุถึงการกลับใจภายในที่ว่านี้ เราต้องถือมหาพรตด้วยการ

    · อธิษฐานภาวนามากกว่าที่เคยปฏิบัติ
    · พลีกรรมใช้โทษบาปด้วยการอดอาหาร อดสิ่งที่เราชอบหรือลดละเลิกสิ่งที่ไม่ดีต่างๆ
    · และปฏิบัติกิจเมตตาต่อผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ

    ขอให้เราเริ่มต้นเทศกาลมหาพรตปีนี้ด้วยข้อตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต กลับใจ และเชื่อพระวรสาร แล้วพระเยซูเจ้าจะให้เรามีส่วนในความยินดีของพระองค์เมื่อวันสมโภชปัสกามาถึง

    บทบรรณาธิการ, สารอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง, ปีที่ 1 ฉบับที่ 7, (มีนาคม, 2549)
    จากหนังสือ เทศกาลมหาพรต 40 วันแห่งการฟื้นฟูชีวิตคริสตชน, หน้า 1-3

    ตอบลบ
  7. การฟื้นคืนชีพของพระเยซูเจ้าสำคัญอย่างไร

    การฟื้นคืนชีพของพระเยซูเจ้าสำคัญอย่างไร
    ความเชื่อเรื่องการฟื้นคืนชีพของบรรดาผู้ตายเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมาโดยตลอด คนบางกลุ่มก็เชื่อว่าเป็นความจริง เช่นพวกฟารีสี แต่บางพวกก็ว่าไม่จริง เช่น พวกซัดดูสีเป็นต้น


    สำหรับเราคริสตชน เชื่อว่าพระเยซูเจ้าทรงฟื้นคืนชีพจากความตายอย่างแน่นอน ความตายไม่สามารถเอาชนะพระองค์ได้ เพราะพระองค์ทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้า ทรงเป็นพระเจ้าของคนเป็น ทรงเป็นอยู่ตลอดไป ทรงเป็นนิรันดร์ หลักฐานจากพระคัมภีร์ที่แสดงให้เราได้ทราบถึงความจริงประการนี้ก็คือ พระคูหาที่ฝังพระศพของพระองค์ว่างเปล่า และการที่พระองค์ทรงปรากฏพระองค์ให้บรรดาสานุศิษย์บางคนได้เห็น แม้ว่าคำตอบเช่นนี้อาจจะไม่สามารถทำให้หลายๆคนอิ่มใจได้แต่จากชีวิตของบรรดาอัครสาวกที่ได้เห็นพระองค์แล้ว กลับมีความกล้าหาญที่จะยืนยันถึงความจริงประการนี้ และออกไปเทศนาสั่งสอนเรื่องชีวิตและคำสั่งสอนของพระองค์อย่างถวายชีวิตเพื่อพระองค์นี้แหละที่ทำให้เราได้เห็นพลังชีวิตจากความเชื่อศรัทธาในพระเยซูเจ้า

    คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกข้อที่ 651-655 ได้สอนถึงความหมายของการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้าที่มีผลต่อชีวิตของเราไว้ดังนี้

    1. การฟื้นคืนชีพของพระเยซูเป็นการยืนยันว่าทุกสิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำและทรงสั่งสอนนั้นเป็นความจริงทุกประการ แม้มนุษย์อาจจะไม่สามารถเข้าใจได้หมดแต่ก็ได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้อง นักบุญเปาโลยืนยันว่า “หากพระเยซูคริสต์มิได้ทรงฟื้นพระชนม์ การเทศนาของเราก็หาประโยชน์อะไรมิได้ และความเชื่อของเราก็ไร้ประโยชน์ด้วย” (1 คร.15:14)

    2. การคืนชีพของพระเยซูคริสตเจ้าเป็นการกระทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้กล่าวไว้ในพระคัมภีร์ทั้งพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่สำเร็จลุล่วงไปตามคำทำนาย

    3. การคืนชีพขององค์พระเยซูที่ทรงถูกตรึงบนไม้กางเขนเป็นการแสดงให้เห็นว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้าและทรงเป็นพระเจ้าเอง

    4. ในการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้านั้นทำให้เราเข้าสู่ “ชีวิตใหม่” คือ ได้รับความชอบธรรม จากการอภัยบาปของพระเจ้า การมีชัยชนะเหนือความตายอันเนื่องมาจากบาป การได้เข้ามีส่วนในพระหรรษทาน(พระพร)ของพระเจ้า และการได้รับเข้ามาเป็นบุตรของพระเจ้า

    5. สุดท้ายการคืนชีพของพระเยซูเจ้าทำให้เราแน่ใจว่าเราจะได้กลับคืนชีพเช่นเดียวกับพระองค์ด้วย


    ตอบลบ
  8. วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ ระลึกถึงพระทรมานของพระคริสตเจ้า

    วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ ระลึกถึงพระทรมานของพระคริสตเจ้า
    ตามธรรมเนียมเก่าแก่ที่สุด วันนี้และวันพรุ่งนี้ พระศาสนจักรไม่ประกอบพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ใดๆเลย และถือว่าเป็นวันบังคับให้ทุกคนทำการจำศีลอดอาหาร วันนี้แท่นบูชาต้องไม่มีของวางอยู่ คือ ไม่มีกางเขน ไม่มีเชิงเทียน และไม่มีผ้าปู

    ในตอนบ่ายวันนี้ คือ ราวบ่ายสามโมง (เว้นแต่จะเลือกเวลาบ่ายกว่านั้นเนื่องจากเหตุผลด้านอภิบาลสัตบุรุษ)มีการประกอบพิธีระลึกถึงพระทรมานของพระคริสตเจ้า ซึ่งมีสามภาคคือ ภาควจนพิธีกรรม ภาคนมัสการกางเขน และภาครับศีลมหาสนิท
    วันนี้มีการแจกศีลมหาสนิทแก่สัตบุรุษเฉพาะในระหว่างพิธีระลึกถึงพระทรมานของพระคริสตเจ้าเท่านั้น แต่พระสงฆ์จะส่งศีลให้คนไข้ได้ไม่ว่าเวลาใด
    พระสงฆ์สวมอาภรณ์สีแดง เหมือนกับสำหรับประกอบพิธีบูชามิสซาฯ เดินไปยังแท่นบูชา เมื่อแสดงความเคารพแล้ว ก็หมอบราบลง หรือถ้าเห็นสมควรจะคุกเข่าก็ได้ แล้วทุกคนภาวนาเงียบๆครู่หนึ่ง ครั้นแล้ว พระสงฆ์กับผู้ช่วยเดินไปยังที่นั่ง หันหน้ามาทางสัตบุรุษ พนมมือ สวดภาวนาตามพิธีที่กำหนดไว้ต่อไป

    ภาควจนพิธีกรรม
    พิธีกรรมในวันนี้เราจะได้รับฟังบทอ่านจากพระคัมภีร์ 3 บทด้วยกัน ประกอบด้วยบทอ่านที่ หนึ่งจากพันธสัญญาเดิมอิสยาห์ 52:13-53:12 ซึ่งเป็นเรื่องที่กล่าวถึงผู้รับใช้ที่ต้องทนทุกข์ทรมาน และยอมตาย ยอมถูกกล่าวหาว่าเป็นคนบาป ยอมรับแบกบาปของคนทั้งหลาย และอ้อนวอนแทนคนบาป ซึ่งเป็นการบ่งบอกล่วงหน้าถึงองค์พระเยซูเจ้านั้นเอง บทอ่านที่สองเป็นบทจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวฮิบรู 4:14-16, 5:7-9 ซึ่งพูดถึงพระเยซูคริสต์ทรงเป็นมหาปุโรหิตที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับประชาชน ทรงมาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยมนุษย์ให้หลุดพ้นจากบาป บทอ่านที่สามเป็นบทอ่านจากพระวรสารของนักบุญยอห์น 18:1-9:42 เป็นเรื่องเล่าถึงเหตุการณ์พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้าทั้งแต่ตอนถูกจับกุมจนการนำพระศพของพระองค์ไปฝังในคูหา

    จากนั้นเป็นบทภาวนาเพื่อมวลชนที่ค่อนข้างจะมากกว่าบทภาวนาเพื่อมวลชนปรกติที่เราภาวนากันในวันอาทิตย์ สำหรับจุดประสงค์ที่เราภาวนาในโอกาสนี้มี 10 เจตนาด้วยกัน เช่น เพื่อขอให้พระเจ้าทรงคุ้มครองพระศาสนจักรคาทอลิกให้มีความสงบสุขและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อพระสันตะปาปา เพื่อพระสังฆราช เพื่อพระสงฆ์นักบวช เพื่อผู้ที่เตรียมตัวรับศีลล้างบาป เพื่อเอกภาพของบรรดาคริสตชนนิกายต่างๆ เพื่อผู้ที่ไม่เชื่อพระเจ้า เพื่อผู้ปกครองประเทศ เพื่อผู้ที่มีความเดือดร้อนต่างๆ เป็นต้น

    ภาคนมัสการกางเขน
    ภาคนี้เป็นการแสดงกางเขนต่อหน้าสัตบุรุษอย่างสง่า พระสงฆ์ถือไม้กางเขนที่มีผ้าคลุมไว้พร้อมกับผู้ช่วยพิธีกรรมสมองคนถือเทียนที่จุดแล้วมายังพระแท่น พระสงฆ์ยืนหน้าพระแท่น เปิดผ้าคลุมตอนบนออกเล็กน้อย ชูกางเขนขึ้นร้องเพลงว่า “นี่คือไม้กางเขนที่พระผู้ไถ่โลกได้ตรึงแขวนอยู่” สัตบุรุษหรือนักขับร้องร้องรับว่า “เชิญมากราบนมัสการร่วมกันเถิด” จากนั้นพระสงฆ์เปิดผ้าคลุมเป็นครั้งที่สองโดยเปิดผ้าคลุมจากแขนขวา ชูขึ้นแล้วขับร้องเหมือนครั้งแรก จากนั้นพระสงฆ์เปิดผ้าคลุมด้านแขนซ้าย และทำเช่นเดียวกับสองครั้งแรก เมื่อขับร้อง “เชิญมากราบฯ”จบทุกครั้งให้สัตบุรุษคุกเข่ากราบลง นมัสการพระเจ้าเงียบๆครู่หนึ่ง จากนั้นพระสงฆ์นำกางเขนไปวางไว้ตรงกลางพร้อมกับเชิงเทียนเพื่อให้สัตบุรุษเข้ามาแสดงความเคารพกางเขนเป็นรายบุคคลหรือเป็นหมู่คณะ

    กางเขนที่นำมาให้แสดงความเคารพนั้นให้มีแต่กางเขนเดียว ถ้ามีคนจำนวนมากให้พระสงฆ์ชูกางเขนไว้เพื่อให้สัตบุรุษนมัสการอย่างเงียบ ๆ เมื่อแสดงความเคารพหมดแล้วให้นำกางเขนไปตั้งไว้ในที่ที่เคยตั้งบนพระแท่น ให้ตั้งเชิงเทียบที่จุดข้างพระแท่นหรือใกล้กางเขน



    ภาครับศีลมหาสนิท
    เมื่อทุกคนได้แสดงความเคารพต่อกางเขนแล้ว พระสงฆ์จะนำศีลมหาสนิทจากที่ที่ได้นำไปรักษาไว้มายังพระแท่น เริ่มภาครับศีลฯด้วยการสวดบทข้าแต่พระบิดาฯ บทลูกแกะพระเจ้า แล้วนั้นเชิญสวดสัตบุรุษเข้ามารับศีลมหาสนิทพร้อมกัน เมื่อทุกคนรับศีลมหาสนิทเสร็จแล้วพระสงฆ์จะภาวนาและการปกมืออวยพรสัตบุรุษทุกคน จากนั้นให้ทุกคนเดินออกจากวัดอย่างเงียบๆ ให้เอาทุกสิ่งทุกอย่างออกจากแท่น คงเหลือแต่แท่นบูชาว่างเปล่า เป็นอันเสร็จพิธีในวันนี้


    ตอบลบ
  9. วันพฤหัสฯศักดิ์สิทธิ์(Holy Thursday)

    วันพฤหัสฯศักดิ์สิทธิ์(Holy Thursday)
    วันพฤหัสฯศักดิ์สิทธิ์คือวันพฤหัสฯในสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ของเราคริสตชน ในวันนี้เป็นวันสำคัญเพราะเป็นวันระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระเยซูเจ้า คือการรับทานอาหารค่ำครั้งสุดท้ายกับบรรดาอัครสาวกก่อนที่จะถูกจับกุมและรับการพิพากษาให้ประการชีวิตโดยการตรึงร่างไว้กับไม้กางเขน


    การรับทานเลี้ยงอาหารค่ำครั้งสุดท้ายครั้งนี้ถือว่าเป็น “ต้นแบบ” หรือ “กำเนิด” ของพิธีทานเลี้ยงศักดิ์สิทธิ์ที่เราเรียกว่า “พิธีศีลมหาสนิท” หรือ “พิธีบูชามิสซาขอบพระคุณ” นั้นเอง
    ดังนั้นพิธีกรรมสำคัญในวันนี้ประกอบด้วย การรื้อฟื้นคำมั่นสัญญาแห่งการเป็นสงฆ์ พิธีเสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ การระลึกถึงการเลี้ยงอาหารค่ำครั้งสุดท้ายของพระเยซูคริสตเจ้าหรือการล้างเท้าอัครสาวก ซึ่งพิธีกรรมต่างๆเหล่านี้เกี่ยวข้องกับพิธีศีลมหาสนิททั้งสิ้น
    ตั้งแต่เช้าของวันพฤหัสฯพระสังฆราชจะเฉลิมฉลองพิธีบูชามิสซาขอบพระคุณพร้อมกับบรรดาพระสงฆ์ที่อยู่ภายใต้การปกครอง ณ อาสนวิหารประจำสังฆมณฑล(ถ้ามีเหตุผลจำเป็นอาจจะใช้สถานที่อื่นก็ได้) ทั้งนี้เพื่อแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวของสังฆภาพภายในสังฆมณฑล(เขตปกครอง) ดังนั้นจึงห้ามไม่ให้พระสงฆ์ถวายพิธีบูชามิสซาฯใดๆที่ไม่มีสัตบุรุษเข้าร่วมพิธี แต่ให้มีพิธีมิสซาฯในวัดเพื่อระลึกถึงการทานเลี้ยงอาหารค่ำของพระเยซูเจ้าในเวลาค่ำเท่านั้น

    การรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งการเป็นสงฆ์ของพระเยซูคริสตเจ้า
    การรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งการเป็นสงฆ์ของพระเยซูคริสตเจ้า
    ในระหว่างพิธีมิสซาฯหลังจากบทเทศน์แล้ว พระสังฆราชจะปราศรัยกับบรรดาพระสงฆ์ในการปกครองของท่านให้ซื่อสัตย์ในการปฏิบัติหน้าที่ โดยให้รื้อฟื้นคำปฏิญาณที่ได้ให้ไว้กับพระสังฆราชและต่อหน้าพี่น้องสัตบุรุษ 3 ประการ คือ ให้ยึดมั่นคำสัญญาที่ได้ให้ไว้ในวันรับศีลบวช(นบนอบ ยากจน บริสุทธิ์) ให้มีชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์สนิทสนมกับพระเยซูคริสตเจ้า และให้ปฏิบัติหน้าที่โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆและอบรมสั่งสอนสัตบุรุษด้วยความเสียสละซื่อสัตย์

    นอกจากนั้นพระสังฆราชยังได้ขอให้พี่น้องสัตบุรุษได้สวดภาวนาให้พระสงฆ์และพระสังฆราชเองจะได้เป็นนายชุมภาพบาลที่ดี เป็นอาจารย์ และผู้รับใช้ที่ของทุกคน

    การเสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์
    ต่อจากการรื้อฟื้นและบทภาวนาของมวลชนจะเป็นพิธีเสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ 3 ประเภท คือ น้ำมันเจิมคนไข้ น้ำมันคริสตังค์สำรอง และน้ำมันคริสตมา

    น้ำมันเจิมคนไข้ พระสงฆ์จะใช้เจิมทาให้กับบุคคลที่อยู่ในภาวะวิกฤติหรืออันตรายต่อชีวิต เช่น ไม่สบายอย่างหนัก ต้องผ่าตัด ต้องเข้าไปในสถานที่เสี่ยงต่อชีวิต ต้องไปออกรบ ฯลฯ เพื่อขอพระเจ้าประทานพลังกำลังให้สามารถต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บทั้งทางร่างกายและเป็นต้นทางจิตใจ เพราะผลของการรับพิธีเจิมคนไข้นี้อาจจะทำให้ผู้ป่วยหายจากความเจ็บป่วย และช่วยชำระล้างโทษของบาปที่ผู้รับได้กระทำมาในชีวิต

    ตอบลบ
  10. น้ำมันคริสตังค์สำรอง พระสงฆ์จะเจิมทาน้ำมันนี้ให้กับบรรดาผู้ที่สมัครเข้ามาเป็นคริสตชนหลังจากที่ได้เรียนคำสอนจนมีความรู้และความเชื่อในพระเจ้าอย่างพอเพียงแล้ว รวมทั้งเจิมทาให้กับบันดาลูกๆของคริสตชนที่นำมาเข้าพิธีล้างบาปเพื่อเป็นลูกของพระเจ้าอย่างสมบูรณ์

    น้ำมันคริสมา เป็นน้ำมันที่ใช้ในหลายโอกาสด้วยกัน คือ เจิมทาให้กับผู้รับศีลล้างบาปใหม่เป็นศีลกำลังหรือรับรองผู้รับศีลล้างบาปให้เป็นคริสตชนที่สมบูรณ์โดยรับพระพรจากพระจิตอย่างสมบูรณ์ เจิมทาที่มือของผู้ที่เข้ารับศีลบวชเป็นสังฆนุกรและพระสงฆ์ เจิมทาที่ศีรษะของพระสังฆราชในพิธีบวชเป็นพระสังฆราช

    น้ำมันคริสตมา โดยปรกติทำมาจากน้ำมันมะกอกอย่างดี(แต่อนุญาตให้ทำจากน้ำมันพืชอื่นๆได้ตามความจำเป็น) ในระหว่าพิธีพระสังฆราชจะผสมน้ำมันหอมหรือเครื่องหอมลงไปในน้ำมันมะกอก น้ำมันหอมนี้หรือที่เรียกว่า Balsam มีคุณสมบัติเป็นเครื่องหอมและเป็นยา ในสมัยโบราณใช้เจิมผู้ที่จะเป็นกษัตริย์และสงฆ์ เป็นเครื่องหมายถึงการประทับอยู่ของคุณความดีและการบำบัดรักษา
    การระลึกถึงการทานเลี้ยงอาหารค่ำครั้งสุดท้ายของพระเยซูเจ้า

    การระลึกถึงการทานเลี้ยงอาหารค่ำครั้งสุดท้ายของพระเยซูเจ้า
    ในตอนค่ำจะมีพิธีบูชามิสซาของพระคุณเพื่อระลึกถึงอาหารค่ำครั้งสุดท้ายของพระเยซูคริสเจ้า เคยมีธรรมเนียมที่ให้วัดต่างๆในสังฆมณฑลทำพิธีต้อนรับน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับการเสกจากพระสังฆราชในตอนเช้าที่อาสนวิหาร บทเทศน์ของพระสงฆ์จะอ้างอิงถึงเหตุการณ์สามประการนี้คือ การรื้อฟื้นคำมั่นสัญญาของการเป็นพระสงฆ์ การตั้งศีลมหาสนิท และความสุภาพถ่อมตนเพื่อรับใช้โดยการล้างเท้าให้บรรดาอัครสาวก
    หลังจากบทเทศน์แล้วมีธรรมเนียมทำพิธีล้างเท้าอัครสาวกโดยการเลือกสัตบุรุษ 12 มาแทนอัครสาวกแล้วพระสงฆ์ทำพิธีล้างเท้าให้ (พิธีนี้ไม่บังคับ) จากนั้นเป็นพิธีรับศีลมหาสนิทซึ่งจะต้องเตรียมแผ่นศีลฯให้เพียงพอสำหรับวันศุกร์ด้วย เพราะวันศุกร์จะไม่มีพิธีบูชามิสซาฯ
    เมื่อรับศีลมหาสนิทเสร็จแล้วจะมีพิธีแห่ศีลมหาสนิทอย่างสง่าไปยังตู้ศีลฯที่จัดเตรียมไว้เป็นพิเศษเพื่อให้สัตบุรุษได้ทำการนมัสการศีลมหาสนิทจนกระทั่งถึงเที่ยงคืน และเชิญชวนให้สัตบุรุษมาภาวนาเฝ้าศีลมหาสนิทในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์

    ตอบลบ
  11. ทำไมพระเยซูเจ้าจึงต้องเสด็จลงมาบังเกิดเป็นมนุษย์

    ทำไมพระเยซูเจ้าจึงต้องเสด็จลงมาบังเกิดเป็นมนุษย์
    มีหลายคนถามว่า... ทำไมต้องเป็นพระเยซูด้วย?
    พระเยซูมีความสำคัญอย่างไร? พระเยซูเกิดมาทำไม?
    ใน “บทข้าพเจ้าเชื่อ” เวลาที่เราสวดในพิธีบูชามิสซาฯตอบยืนยันเราว่า “เพราะเห็นแก่เรามนุษย์ และเพื่อช่วยเราให้รอด พระองค์จึงเสด็จจากสวรรค์ พระองค์ทรงรับเอากายจากพระนางมารีพรหมจารี ด้วยอานุภาพของพระจิต และมาบังเกิดเป็นมนุษย์”


    จากข้อความเชื่อนี้ คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก(CCC 456-460) ได้สรุปถึงความสำคัญของการบังเกิดมาเป็นมนุษย์ของพระเยซูเจ้าไว้ดังนี้

    1. พระเยซูเจ้าทรงบังเกิดมาเป็นมนุษย์เพื่อช่วยเราให้รอด โดยให้เรามนุษย์ได้คืนดีกับพระบิดาเจ้า หลังจากที่บิดามารดาเดิมของเรา(อาดัมและเอวา)ได้ทำบาปกำเนิด ซึ่งผลของบาปกำเนิดทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยชาติกับพระเจ้าขาดสะบั้นลง ดังนั้นการบังเกิดมาเป็นมนุษย์ของพระเยซูเจ้าจึงเป็นเครื่องบูชาชดเชยความผิดบาปของมนุษย์ และทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้ากลับมีความสัมพันธ์อันดีคืนมา “พระองค์ได้ปรากฏมาเพื่อยกบาปให้หมดสิ้นไป”(1ยน.3:5)

    2. การเสด็จมาบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระเยซูเจ้าทำให้เราได้รับรู้ถึงความรักของพระเจ้า ตามที่นักบุญยอห์นได้เขียนสอนเราว่า พระเจ้าทรงรักโลก จนได้ประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ เพื่อว่าผู้ใดเชื่อในพระองค์ ก็จะไม่พินาศ แต่จะมีชีวิตนิรันดร์(ยน.3:16)

    3. พระเยซูทรงบังเกิดมาเพื่อเป็นแบบอย่างแห่งความศักดิ์สิทธิ์สำหรับเรา ทรงเป็นหนทางให้เราได้เดินตาม ทรงเป็นความจริงให้เรายึดถือ และทรงเป็นชีวิตที่ทำให้เรามีชีวิต ถ้าเราต้องการทราบว่าเราจะต้องประพฤติปฏิบัติตนอย่างไรให้เราศึกษาแบบอย่างชีวิตของพระองค์แล้วเราก็จะได้รับคำตอบ “จงเรียนรู้จากเรา..”(มธ.11:29) “เราเป็นหนทาง ความจริงและชีวิต ไม่มีผู้ใดมาถึงพระบิดาได้นอกจากผ่านทางเรา”(ยน.14:6)

    4. พระเยซูทรงรับเอากายมาเป็นมนุษย์เพื่อให้เรามนุษย์ “มีส่วนในพระธรรมชาติของพระเจ้า” (2 ปต.1:4) พระเยซูเจ้าทรงยกฐานะของมนุษย์ให้สามารถเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ ตามที่นักบุญอาธานาเซียสอนว่า “เพราะว่าพระบุตรของพระเจ้าได้เสด็จมาเป็นมนุษย์ เพื่อทำให้เราเป็นพระเจ้า” และนักบุญโทมัสได้อธิบายว่า “พระบุตรองค์เดียวของพระเจ้า ด้วยความปรารถนาที่จะให้เรามีส่วนในพระเทวภาพของพระองค์ ก็ได้รับเอาธรรมชาติของเรามนุษย์ เพื่อว่าเมื่อพระองค์ทรงเป็นมนุษย์แล้ว พระองค์จะได้ทรงทำให้มนุษย์เป็นพระเจ้า”

    นี่คือบุญวาสนาของเรามนุษย์ที่ได้รู้จักพระเยซูเจ้า และรับพระเยซูเจ้าเป็นพระเจ้าประจำชีวิตของเรา ไม่มีอะไรที่จะมีคุณค่าเท่ากับชีวิตของพระเยซูเจ้า การบังเกิดมาเป็นมนุษย์ของพระองค์นั้นนำศักดิ์ศรีอันยิ่งใหญ่มามอบให้กับเรามนุษย์ ไม่ว่าเราจะเป็นใครก็ตาม เราก็สามารถเข้ามามีชีวิตร่วมกับพระองค์ได้ เพียงแต่ขอให้เราเปิดใจต้อนรับพระองค์เท่านั้น เรามนุษย์คนบาปธรรมดาๆคนหนึ่งก็จะกลับเป็นบุตรของพระเจ้าได้เพียงพริบตา

    ตอบลบ
  12. อาทิตย์ใบลาน (Palm Sunday)

    อาทิตย์ใบลาน (Palm Sunday)
    “อาทิตย์ใบลาน” เป็นวันฉลองของคริสตชนก่อนการฉลองวันปัสกาหนึ่งสัปดาห์ ช่วงเวลาหนึ่งสัปดาห์ระหว่างนี้ เราเรียกว่า “สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์”
    ในวันนี้เรามีพิธี “แห่ใบลาน” ธรรมเนียมแห่ใบลานนี้เราจำลองเอาเหตุการณ์ที่บรรดาประชาชนชาวอิสราเอลถือใบปาล์มออกไปรับเสด็จพระเยซูเจ้าครั้งที่พระองค์เสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มอย่างสง่า(เทียบ ยอห์น 12:13)เพื่อรับทรมานและความตายมาระลึกถึงเพื่อเตรียมจิตใจให้เข้าสู่พระธรรมล้ำลึกแห่งการไถ่บาปของพระองค์บนไม้กางเขน



    เราเรียกว่าแห่ใบลานไม่ใช่แห่ใบปาล์มเพราะในเมืองไทยของเราในสมัยก่อนนั้นหาใบลานได้ง่ายกว่า แต่ความจริงแล้วเราจะใช้ใบไม้ของต้นไม้อะไรก็ได้ที่หาง่ายๆในท้องถิ่นมาใช้ก็ได้ เพราะเป็นเพียงสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเท่านั้น

    พิธีในวันนี้จะจัดขึ้นก่อนพิธีบูชามิสซาขอบพระคุณหลักในวันอาทิตย์โดยให้สัตบุรุษชุมนุมกันอยู่นอกวัดในสถานที่ที่ได้จัดเตรียมไว้เป็นพิเศษ พระสงฆ์จะทำพิธีอวยพร(เสก:ทำให้ศักดิ์สิทธิ์)แล้วแจกให้สัตบุรุษทุกคนถือแห่กันเป็นกระบวนเข้ามาในวัด โดยร่วมกันขับร้องสรรเสริญสดุดีพระเยซูคริสตเจ้าในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์และพระผู้ไถ่ของเรา

    การกระทำเช่นนี้เป็นสัญลักษณ์ที่หมายถึงการเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มทั้งจิตวิญญาณและร่างกายของพระเยซูเจ้าเองเพื่อรับทรมานด้วยความเต็มพระทัย เพื่อทำให้แผนการไถ่บาปด้วยการรับความตายบนไม้กางเขนสำเร็จไปตามความในพระคัมภีร์

    บทภาวนาเพื่อการอวยพร(เสก)ใบลานนั้นเตือนใจเราที่ชุมนุมพร้อมกันอยู่นั้นให้ต้อนรับพระเยซูเจ้าเข้าสู่ชีวิตของเราทุกคน และให้เราเป็นประจักษ์พยานแห่งความเชื่อเรื่องของพระองค์แก่ทุกๆคนต่อไป

    คริสตชนมักจะนำเอาใบลานที่ได้รับในวันนี้ไปประดับบ้านเรือนด้วยความเคารพเพื่อเตือนใจให้คิดถึงของพระเยซูเจ้าเป็นต้นในเรื่องพระมหาทรมานของพระองค์ พระศาสนจักรถือว่าใบลานเป็นเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์อย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับรูปหรือภาพที่ผ่านการอวยพร(เสก)จากพระสงฆ์แล้ว


    ตอบลบ
  13. การทำบุญ

    การทำบุญ
    เข้าสู่เทศกาลมหาพรตแล้ว อยากจะทำบุญทำกุศลบ้างจะทำอะไรดี??
    การทำบุญตามหลักคาทอลิก คือ กิจการที่เรากระทำกับผู้อื่นเพื่อแสดงออกถึงความรัก ความเห็นอกเห็นใจ หรือการช่วยเหลือผู้ที่กำลังตกอยู่ในความยากลำบากต่างๆ คนที่สิ้นหวัง คนที่กำลังอยู่ในความทุกข์


    เราคาทอลิก แยกการทำบุญออกเป็น 2 ประเภท คือ การทำบุญฝ่ายกาย และการทำบุญฝ่ายจิตใจ

    การทำบุญฝ่ายกาย(Corporal Works) ได้แก่
    (1)การให้อาหารคนที่หิว
    (2)ให้น้ำแก่คนที่กระหาย
    (3)ให้เสื้อผ้าแก่คนที่ไม่มีนุ่งไม่มีห่ม
    (4)ให้ที่พักแก่คนที่ไร้ที่อยู่
    (5)เยื่ยมคนเจ็บไข้ได้ป่วย
    (6)เยี่ยมคนติดคุก
    (7)ฝังศพผู้ล่วงลับ

    การทำบุญฝ่ายจิตใจ(Spiritual Works)ได้แก่
    (1)ให้คำแนะนำแก่ผู้ที่สงสัย
    (2)สอนคนที่ไม่รู้
    (3)ตักเตือน-แก้ไขคนบาป
    (4)บรรเทาใจผู้ตกทุกข์ได้ยาก
    (5)ให้อภัยแก่ผูที่ทำผิด
    (6)อดทนและมีความเพียรต่อความผิดของคนอื่น
    (7)ภาวนาให้กับผู้อื่นทั้งที่มีชีวิตอยู่และที่ได้ตายไปแล้ว

    การทำความดีไม่ต้องรอเวลา ทำเดี๋ยวนี้ ทำที่นี้ ทำได้เลย

    ตอบลบ
  14. การพลีกรรมคืออะไร
    ในข้อกำหนดของพระศาสนจักรว่าด้วยเรื่องการจำศีลในเทศกาลมหาพรตข้อที่ 2 ระบุว่า "ทุกวันศุกร์ตลอดปี และทุกวันในเทศกาลมหาพรต เป็นวันพลีกรรมในพระศาสนจักรทั่วไป" (กฏหมายพระศาสนจักรมาตรา 1250) และข้อที่ 3 ระบุว่า "ทุกวันศุกร์ตลอดปี ยกเว้นวันฉลองใหญ่ เป็นวันอดเนื้อหรืออาหารอื่นตามข้อกำหนดของสภาพระสังฆราชฯ วันพุธรับเถ้าและวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นวันอดเนื้อและอดอาหาร"(กฏหมายฯมาตรา 1251)

    จากข้อกำหนด ทำให้เราทราบว่า "วันศุกร์" เป็นวันพิเศษสำหรับเราคาทอลิก เพราะ "วันศุกร์" เป็นวันที่เราระลึกถึงพระมหาทรมานและความตายของพระเยซูเจ้าเพื่อชดใช้โทษบาปของเรามนุษย์ เมื่อพระเยซูเจ้าทรงให้ชีวิตของพระองค์เป็นสินไถ่หรือไถ่ถอนเราจากโทษนรก เราจะอยู่นิ่งเฉยได้อย่างไร ??? เราจะไม่ทำอะไรบ้างเพื่อแสดงถึงความกตัญญูรู้คุณของเราต่อพระองค์บ้างเลยหรือ???

    เราแต่ละคนอาจจะหาข้อตั้งใจและปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อสนองตอบความรักและความเสียสละของพระเยซูเจ้าได้เอง แต่พระศาสนจักรได้ให้ข้อกำหนดเพื่อให้เราคาทอลิกทุกคนได้ปฏิบัติอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยเสนอแนะกิจกรรม 3 ประการนี้คือ
    1) การพลีกรรม
    2) การอดเนื้อ
    3) การอดอาหาร

    ในครั้งนี้ขอพูดถึง "การพลีกรรม"

    การพลีกรรมคืออะไร
    การพลีกรรม คือ การยอมรับความทุกข์ยากลำบาก ความเจ็บปวด หรือการปฏิเสธตนเองที่จะละเว้นกิจกรรมที่นำความสุขหรือความสนุกส่วนตัว หรือตั้งใจ ลด-ละ-เลิก กิจการที่ไม่ดี ซึ่งอาจจะเป็นการยึดติดในบาปต่าง ๆ หรือนิสัยที่ไม่ดีของตัวเรา โดยเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจ ความจริงใจ และด้วยใจเสรีของเราเอง โดยมีจุดประสงค์เพื่อจะได้ทำตัวเองให้ใกล้ชิดพระเจ้ามากยิ่งขึ้น และเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ให้กับชีวิตของเราเอง

    กิจการต่าง ๆ ของการพลีกรรมเป็นการกระทำเพื่อจะทำให้ผู้ปฏิบัตินั้นได้ "หันหลัง" ให้กับความโน้มเอียงไปในทางบาป และในเวลาเดียวกันการพลีกรรมทำให้เราได้ "หันหน้า" เข้าหาพระเจ้า

    การพลีกรรมเป็นวัตรปฏิบัติประการหนึ่งในวิถีชีวิตของเราคริสตชน ทั้งนี้เพื่อให้เราได้เข้ามีส่วนร่วมกับพระมหาทรมานของพระเยซูคริสต์ ตามที่พระเยซูเจ้าทรงสอนเราว่า "ถ้าผู้ใดอยากติดตามเราก็จงเลิกนึกถึงตนเอง จงแบกไม้กางเขนของตนทุกวันและติดตามเรา" (ลก 9:23)

    การพลีกรรม เป็นการแสดงออกของท่าทีของจิตใจที่ "ไม่ยึดติด" กับวัตถุสิ่งของหรือเรื่องภายนอกทางร่างกาย แต่แสดงให้เห็นว่าผู้ประพฤติปฏิบัติเช่นนี้มีจิตใจที่สูง มีจิตใจที่ผูกพันกับสิ่งที่ดี ๆ ผูกพันกับเรื่องที่มีคุณค่าต่อจิตวิญญาณ

    การพลีกรรมจะช่วยทำให้ผู้ปฏิบัติได้มีจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความปิติสุข ซึ่งเป็นความสุขที่สืบเนื่องมาจากความรัก ความเป็นพี่เป็นน้อง และการเป็นสานุศิษย์ที่แท้จริงของพระเยซูเจ้า

    การพลีกรรมเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเป็นกิจการที่ช่วยทำให้เราตระหนักถึงผลร้ายของบาป และรู้เท่าทันอันตรายของบาป

    การพลีกรรมช่วยทำให้เราเกิดความเข็มแข็งและเพียรทนต่อสู้กับตนเองและการประจญเพื่อจะได้เอาชนะความโน้มเอียงและนิสัยที่ไม่ดีในตัวเอง เพื่อความรอดพ้นฝ่ายวิญญาณของเราเองและของโลก และยังเป็นการร่วมมือกันสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้าอีกด้วย

    การพลีกรรมเป็นการส่งเสริมให้เราเห็นถึงความสำคัญของ "การใช้โทษบาป" ซึ่งทำให้เราต้องร้องขอความเมตตาและพระหรรษทานจากพระเจ้า เพื่อเราจะได้มีพละกำลังที่เข็มแข็งจนสามารถเอาชนะความอ่อนแอในตัวของเราได้

    ดังนั้น ทุกวันศุกร์ อย่าลืม "พลีกรรม"

    ตอบลบ
  15. เลข 40

    เลข 40
    เลข 40 เป็นตัวเลขที่เราพบบ่อยๆในพระคัมภีร์ จำนวน 40 นี้จะต้องมีความหมายอื่น ๆ ที่สำคัญมากกว่าแค่เป็นตัวเลขธรรมดาอย่างแน่นอน จากคู่มือศึกษาพระคัมภีร์เราพบว่ามีการพูดถึงเลข 40 นี้มากกว่า 100 ครั้งทั้งในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ และการอ้างอิงถึงจำนวน 40 นี้มักจะพูดถึงช่วงเวลาแห่งการ “ความทุกข์ทรมานและการทดสอบ”



    พระศาสจักรให้เราเฉลิมฉลองเทศกาลมหาพรต โดยกำหนดให้ใช้เวลา 40 เพื่อให้เราคริสตชนได้ “ร่วมใจกับธรรมล้ำลึกของพระเยซูเจ้าในที่เปลี่ยว” ซึ่งพระองค์ต้องทนทุกข์ทรมานและทรงถูกทดลองต่างๆจากปีศาจ ทั้งนี้เพื่อแสดง พระองค์ทรงสามารถเอาชนะปีศาจได้ และเรามนุษย์เองก็จะสามารถเอาชนะปีศาจได้เช่นกัน ถ้าเรายึดพระเยซูเจ้าเป็นที่พึ่งของเรา

    ให้เราดูซิว่าเลข 40 ในพระคัมภีร์มีเหตุการณ์สำคัญ ๆ อะไรเกิดขึ้นบ้าง

    เราได้เรียนรู้เรื่องราวของโนอาห์กับเรือของเขาที่ต้องสู้ทนกับพายุฝนที่ตกหนักตลอด 40 วัน 40 คืน (ปฐมกาล 7:12) โมเสสเองได้ขึ้นไปเฝ้าพระเจ้าบนภูเขาซีนาย 40 วัน 40 คืน(อพยพ 24:18)

    ชาวอิสราเอลต้องเดินทางรอนแรมอยู่ในถิ่นทุรกันดารถึง 40 ปี ก่อนที่จะได้เข้าสู่ดินแดนแห่งพระสัญญา(เฉลยธรรมบัญญัติ 8:2) ดาวิดปกครองอิสราเอล 40 ปี (2ซามูเอล 5:4) เช่นเดียวกับซาโลมอนปกครองอิสราเอลต่อจากดาวิด 40 ปี (2พงศาวดาร 9:30)

    ประกาศกเอลียาห์เดินทาง 40 วัน 40 คืน ไปถึงโฮเรบภูเขาของพระเจ้า(1พงศ์กษัตริย์ 19:8) ประกาศกโยนาห์ประกาศว่าเมืองนินะเวห์จะต้องล่มสลายถ้าประชาชนไม่ยอมกลับใจใช้โทษบาป (โยนาห์ 3:4)

    พระเยซูเจ้าทรงใช้เวลา 40 วัน 40 คืนเตรียมจิตใจเข้ารับพิธีล้างจากท่านยอห์นก่อนเริ่มพันธกิจเปิดเผยของพระองค์(มัทธิว 4:2; มาร์โก 1:13; ลูกา 4:2) และพระเยซูเจ้าหลังจากที่ได้กลับฟื้นคืนชีพได้ปรากฏพระองค์แก่บรรดาอัครสาวก โดยสนทนากับเขาถึงเราพระอาณาจักรของพระเจ้าตลอด 40 วันนั้น (กิจการฯ1:3)

    ตลอดเวลา 40 วัน หรือ 40 ปีจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ได้อ้างถึงนี้ จึงเป็นช่วงเวลาแห่งการพิสูจน์ความเชื่อของบุคคลที่กระทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า โดยอาศัยความเพียรทน ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบอดทน เอาชนะการเห็นแก่ตนเอง ต่อสู้เพื่อจะได้ปฏิบัติหน้าทีที่สำคัญเพื่ออาณาจักรสวรรค์อย่างแท้จริง

    ดังนั้น 40 วัน 40 คืน ในเทศกาลมหาพรต เราจะทำอย่างไรดี เพื่อเราจะได้ หันหน้าเข้าหาพระเจ้า และหันหลังให้ความไม่ดีต่าง ๆ ในชีวิต เพื่อเราจะได้ชื่อว่าเป็น “นักสู้เพื่อยิ่งใหญ่” เช่นเดียวกับบรรพบุรุษแห่งความเชื่อของเรา

    ตอบลบ