Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

โรคพิษสุนัขบ้า

 

โรคพิษสุนัขบ้า




โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) เป็นโรคที่ยังไม่มียารักษาในปัจจุบัน โดยผู้ที่ได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าและไม่ได้รับการป้องกันและรักษาอย่างทันท่วงที มักเสียชีวิตเกือบทุกราย ดังนั้นหากมีการสัมผัสกับสัตว์ที่ต้อง


โรคพิษสุนัขบ้า คืออะไร?

โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) หรือโรคกลัวน้ำ (Hydrophobia) คือ โรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่มีอันตรายร้ายแรง โดยผู้ป่วยที่สัมผัสกับสัตว์ติดเชื้อ จะได้รับเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าในตระกูล Rhabdoviridae ผ่านทางน้ำลายของสัตว์ที่กัด ทำให้เกิดอาการทางระบบประสาท เช่น ชัก ประสาทหลอน อัมพาต โดยโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคร้ายแรงถึงชีวิต เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรค อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถป้องกันได้ โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า




สาเหตุของโรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากอะไร?

สาเหตุของโรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากการสัมผัสกับน้ำลายของสัตว์ที่เป็นพาหะของโรค ผ่านการถูกสัตว์กัด ข่วน หรือน้ำลายกระเด็นเข้าบาดแผลหรือบริเวณผิวหนังที่เป็นรอยถลอก ถูกสัตว์เลียบริเวณเยื่อบุตา จมูก หรือปาก หรือรับประทานเนื้อสัตว์ดิบๆที่มีเชื้อ นอกจากนี้การปลูกถ่ายอวัยวะ (Organ transplantation) ก็อาจเป็นสาเหตุให้ได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้เช่นกัน

สัตว์ที่อาจเป็นพาหะของโรคพิษสุนัขบ้า

สัตว์ที่อาจเป็นพาหะของโรคพิษสุนัขบ้าได้แก่ สัตว์จำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว ค้างคาว สุนัขจิ้งจอก แรคคูน และสัตว์ป่าหลาย ๆ ชนิด โดยสุนัขจรจัดมีแนวโน้มที่จะเป็นพาหะแพร่เชื้อโรคพิษสุนัขบ้าสู่คนได้มากที่สุด



อาการของโรคพิษสุนัขบ้าจะยังไม่แสดงออกในทันทีหลังจากที่ได้รับเชื้อ โดยผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการประมาณ 3 สัปดาห์ ไปจนถึง 3 เดือนหลังได้รับเชื้อ ในบางรายอาจใช้เวลาร่วมปีกว่าที่เชื้อโรคพิษสุนัขบ้าจะแสดงอาการ


อาการของโรคพิษสุนัขบ้าเป็นอย่างไร?

อาการของโรคพิษสุนัขบ้าจะยังไม่แสดงออกในทันทีหลังจากที่ได้รับเชื้อ โดยผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการประมาณ 3 สัปดาห์ ไปจนถึง เดือนหลังได้รับเชื้อ ในบางรายอาจใช้เวลาร่วมปีกว่าที่เชื้อโรคพิษสุนัขบ้าจะแสดงอาการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาด จำนวน และตำแหน่งของบาดแผล โดยเฉพาะตำแหน่งที่มีเส้นประสาทมาเลี้ยงจำนวนมาก (Richly innervated  area) โดยเชื้อโรคจะแพร่กระจายจากบาดแผลเข้าสู่ระบบประสาทและสมอง อาการของโรคพิษสุนัขบ้าแบ่งเป็น ระยะดังนี้

  1. ระยะแรกเริ่ม (Prodromal phase)
    ผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าในระยะแรกเริ่ม จะมีอาการไม่จำเพาะ ได้แก่ มีไข้ ปวดศีรษะ เจ็บคอ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อยตามตัว กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ระคายเคืองบริเวณที่ถูกสัตว์กัดเป็นอย่างมาก มีอาการเจ็บแปลบคล้ายหนามทิ่มตำ โดยระยะนี้ อาจกินระยะเวลาเฉลี่ย 2-10 วัน
  2. ระยะที่มีอาการทางระบบประสาท (Acute neurologic phase)
    ผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าในระยะนี้ จะมีอาการแบ่งได้ 2 ประเภท
    • ภาวะสมองอักเสบ (Encephalitis)ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ กลัวลม กลัวน้ำ กล้ามเนื้อกระตุก กล้ามเนื้อหดเกร็ง เพ้อ เห็นภาพหลอน นอนไม่หลับ
    • ภาวะอัมพาตแบบกล้ามเนื้ออ่อนแรงปวกเปียก (Flaccid paralysis) ผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้อหดตัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  3. ระยะโคม่า หรือ ระยะสุดท้าย (Coma)
    ผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าในระยะนี้ จะพบภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ระบบหายใจล้มเหลว หัวใจหยุดเต้น และมักเสียชีวิตภายใน 2 สัปดาห์


หากถูกสุนัขกัด หรือ สัตว์กัด ควรทำอย่างไร?

หากถูกสัตว์ที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ากัด หรือข่วนส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ควรปฎิบัติตน ดังนี้

  1. ล้างบาดแผลทุกแผลด้วยน้ำ และฟอกสบู่หลาย ๆ ครั้ง ให้สะอาดลึกถึงก้นแผลอย่างน้อย 15 นาที เช็ดแผลให้แห้ง และใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น กลุ่มยาโพวิโดนไอโอดีน (Povidone-iodine)
  2. หากสัตว์ที่กัดมีเจ้าของ ให้สอบถามประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และคอยสังเกตอาการของสัตว์ที่กัดอย่างน้อย 10 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าสัตว์ไม่มีอาการของโรคพิษสุนัขบ้า
  3. รีบพบแพทย์ให้เร็วเพื่อรับการป้องกัน และรักษาที่ถูกต้อง โดยแพทย์พิจารณาทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า กลุ่มยา Post-exposure prophylaxis/PEP รวมถึงวัคซีนป้องกันบาดทะยัก และยาปฎิชีวนะ โดยหากสัตว์ที่กัดมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคพิษสุนัขบ้า แพทย์อาจพิจารณาให้ยาอิมมูโนโกลบุลิน (Immunoglobulins) ซึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อพิษสุนัขบ้าร่วมด้วย


วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ต้องฉีดกี่เข็ม?

กระทรวงสาธารณสุข และ สภากาชาดไทยแนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่จำนวน 1-5 เข็ม ขึ้นอยู่กับว่าเคยฉีดวัคซีนมาก่อนหรือไม่ โดยมีวิธีการฉีด แบบ ดังนี้

  1. การฉีดวัคซีนใต้ผิวหนัง (Intradermal: ID)
  2. การฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular: IM)

วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจัดว่าเป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง สามารถฉีดได้ทุกเพศ ทุกวัย รวมทั้งเด็ก และสตรีมีครรภ์ หากผู้ที่ถูกสัตว์กัดได้รับวัคซีนเข็มแรกหลังจากที่ถูกสัตว์กัดโดยเร็ว และมาฉีดวัคซีนจนครบจำนวนตามเข็มที่แพทย์สั่ง ก็จะสามารถป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้



เราจะป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างไร?

โรคพิษสุนัขบ้าสามารถป้องกันได้ โดยการดูแลสุขภาพอนามัยของสัตว์เลี้ยงให้ปลอดภัย และให้อยู่ห่างจากสัตว์ป่า เพื่อลดความเสี่ยง ในการสัมผัสกับสัตว์ติดเชื้อ รวมทั้งปฏิบัติตามข้อปฎิบัติต่าง ๆ ดังนี้

  • นำสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข และแมว เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องการโรคพิษสุนัขบ้าจนครบตามจำนวนเข็มที่สัตวแพทย์กำหนดและฉีดซ้ำทุกปี
  • จัดที่อยู่อาศัยที่เป็นกิจลักษณะให้สัตว์เลี้ยง ให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในกรง หรือในบ้านเวลากลางคืน ไม่ปล่อยสัตว์เลี้ยงไปในที่สาธารณะ
  • ไม่สัมผัสสัตว์ป่า หรือปล่อยให้สัตว์เลี้ยงสัมผัสกับสัตว์ป่าหรือสัตว์จรจัด เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสที่สัตว์เลี้ยงจะถูกกัด
  • หากพบสัตว์จรจัด ที่ต้องสงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานท้องถิ่นที่รับผิดชอบทันที
  • แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบป้องกันล่วงหน้าในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น สัตวแพทย์ ผู้ที่ทำงานในสวนสัตว์ ผู้ที่ทำงานในห้องทดลองที่มีความเสี่ยงสัมผัสกับไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า ผู้ที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกลที่มีการระบาดของโรคและผู้ที่ชื่นชอบการตั้งแคมป์ เดินป่า ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่ยังไม่มียารักษาในปัจจุบัน ผู้ที่ได้รับเชื้อโดยที่ไม่ได้รับการป้องกันและรักษาอย่างทันท่วงทีมักเสียชีวิตเกือบทุกราย ดังนั้นหากมีการสัมผัสกับสัตว์ที่ต้องสงสัยว่าอาจเป็นโรคพิษสุนัขบ้า แนะนำให้รีบมาพบแพทย์ เพื่อพิจารณาฉีดวัคซีนและหรือยาป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยเร็วที่สุด



#โรคพิษสุนัขบ้า    #Rabies     #โรคกลัวน้ำ      #Hydrophobia


ที่มา   ::      https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/rabies

5 ความคิดเห็น:

  1. โรคพิษสุนัขบ้า ติดเชื้ออาจถึงตายได้!

    โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) หรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดเชื้อในระบบประสาทจากสัตว์สู่คน เชื้อโรคพิษสุนัขบ้าไม่ได้พบแค่ในสุนัขเท่านั้น แต่พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น สุนัข แมว วัว ลิง หนู กระต่าย เป็นต้น ผู้ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะเสียชีวิตเกือบทุกราย เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียารักษา แต่ป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน!

    อาการโรคพิษสุนัขบ้า มีอะไรบ้าง ?

    🟠 อาการเริ่มแรก : ไข้ต่ำ เจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย และต่อมาจะมีอาการคันบริเวณแผลที่ถูกกัด มีอาการคลุ้มคลั่ง
    🟠 อาการทางประสาท : กระสับกระส่าย กลัวแสง ไม่ชอบเสียงดัง กระวนกระวาย มีอาการหนาวสั่น กลืนลำบากโดยเฉพาะของเหลว อย่างเช่นน้ำ โดยจะมีอาการเกร็ง ทำให้ไม่อยากดื่มน้ำ
    🟠 อาการสุดท้าย : เกร็ง หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก กล้ามเนื้อกระตุก รวมถึงแขนขาอ่อนแรงลง หมดสติและเสียชีวิตในที่สุด



    หากติดเชื้อแล้ว…โอกาสเสียชีวิตสูง

    🟠 พิษสุนัขบ้า เกิดจากเชื้อไวรัส ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
    🟠 คนเราติดเชื้อพิษสุนัขบ้า จากสุนัขมากที่สุด
    🟠 การล้างแผลด้วยน้ำและเบตาดีน หลังถูกกัด หรือ สัมผัสสัตว์ต้องสงสัย ช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อได้อย่างมาก


    อาการหลังจากติดเชื้อพิษสุนัขบ้า
    (ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงหลังได้รับเชื้อประมาณ 3 สัปดาห์ – 6 เดือน หรืออาจนานถึง 1 ปี

    🟠 เริ่มแรกจะมีไข้ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คันรุนแรงบริเวณบาดแผล
    🟠 มีอาการทางประสาท คลุ้มคลั่ง กลัวแสงกลัวคน ไม่อบเสียงดัง
    🟠 ภาวะหายใจล้มเหลว แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หัวใจหยุดเต้น โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด


    หากถูกกัดแล้ว ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไร?

    🟠 ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด ฟอกสบู่เบาๆ ให้ถึงก้นแผล และล้างสบู่ออกให้หมด (ทำซ้ำเป็นเวลานาน 15 นาที)
    🟠 ทายาเบตาดีน การล้างแผลจะช่วยโอกาสการติดเชื้อได้ถึง 80%
    🟠 รีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อจะได้ประเมินระดับของบาดแผล และฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า


    หมายเหตุ : โรคพิษสุนัขบ้าไม่สามารถรักษาได้ แต่สามารถป้องกันได้ การป้องกันตนเองที่ดีที่สุดคือ ป้องกันไม่ให้ถูกสัตว์มีเชื้อกัด และรับวัคซีนเมื่อถูกสัตว์ที่ไม่มั่นใจว่ามีเชื้อกัดทันที หากไม่มั่นใจควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียด


    ตอบลบ
  2. 7 เรื่องน่ารู้... กับโรคพิษสุนัขบ้า

    สัตว์อะไรบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคพิษสุนัขบ้า?

    ที่พบมากที่สุดคือสุนัข รองลงมาคือแมว ม้า ลิงและปศุสัตว์(วัว,ควาย) สัตว์แทะจำพวกหนู กระรอก กระแต มีรายงานว่าพบเชื้อไวรัสในน้ำลายได้ แต่พบน้อย



    1) สัตว์อะไรบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคพิษสุนัขบ้า?

    ที่พบมากที่สุดคือสุนัข รองลงมาคือแมว ม้า ลิงและปศุสัตว์(วัว,ควาย) สัตว์แทะจำพวกหนู กระรอก กระแต มีรายงานว่าพบเชื้อไวรัสในน้ำลายได้ แต่พบน้อย

    2) ถ้าถูกสัตว์กัดจะมีโอกาสเป็นโรคพิษสุนัขบ้าเพียงใด?

    -ถ้าสัตว์ที่กัดไม่ได้ติดเชื้อพิษสุนัขบ้า จะไม่มีโอกาสเป็นโรค

    -ถ้าไม่ทราบว่าสัตว์เป็นโรคหรือไม่ ต้องคิดว่าสัตว์เป็นโรคไว้ก่อน

    -ผู้ที่ถูกสุนัขหรือสัตว์ที่เป็นโรคกัด ไม่ป่วยเป็นโรคทุกราย โอกาสเป็นโรคโดยเฉลี่ยประมาณ 35% ขึ้นกับบริเวณที่ถูกกัด

    ถ้าถูกกัดที่ขา โอกาสเป็นโรคประมาณ 21 %

    ถ้าถูกกัดที่ใบหน้า โอกาสเป็นโรคประมาณ 88 %

    ถ้าแผลตื้น แผลถลอก โอกาสเป็นโรคจะน้อยกว่า แผลลึกหลายๆแผล

    3) เชื้อติดต่อมาสู่คนได้อย่างไร?

    เชื้อไวรัสจะอยู่ในน้ำลาย ทางติดต่อสู่คนที่พบบ่อยคือถูกกัด โดยทั่วไปเชื้อจะเข้าทางผิวหนังปกติไม่ได้ แต่อาจเข้าทางผิวหนังที่มีบาดแผลอยู่เดิม หรือรอยข่วน นอกจากนี้ยังเข้าได้ทางเยื่อเมือก(mucosa) ได้แก่ เยื่อบุตา

    เยื่อบุจมูก ภายในปาก ทวารหนัก และ อวัยวะสืบพันธุ์ แม้ว่าเยื่อเมือกจะไม่มีบาดแผล สำหรับทางติดต่อที่มีใน รายงานแต่พบน้อย ได้แก่ ทางการหายใจ, ทางการปลูกถ่ายกระจกตา

    4) ถูกสุนัขบ้ากัด นานเท่าใดจึงมีอาการ?

    ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งปรากฏอาการของโรคพิษสุนัขบ้า หรือที่เรียกว่าระยะฟักตัว จะแตกต่างกันได้มาก พบได้ตั้งแต่ 4 วันจนถึง 4 ปี ผู้ป่วยประมาณ 70% จะเป็นโรคภายใน 3 เดือน

    หลังถูกกัด, ประมาณ 96% จะเป็นโรคภายใน 1 ปีหลังถูกกัด แต่ส่วนมากมักมีอาการในช่วงระหว่าง สัปดาห์ที่ 3 จนถึงเดือนที่ 4

    5) สุนัขที่เป็นโรคอาการเป็นอย่างไร?

    สุนัขที่ป่วยจะเริ่มปล่อยเชื้อออกมาทางน้ำลายตั้งแต่ 3 วันก่อนมีอาการ ไปจนถึง 2 วันหลังมีอาการ

    หลังจากนั้นจะปล่อยเชื้อออกมาทางน้ำลายตลอดเวลาจนกระทั่งตาย

    -ระยะฟักตัว พบบ่อยในระยะ 3-8 สัปดาห์ แต่พบได้ตั้งแต่ 10 วันจนถึง 6 เดือน

    ตอบลบ
  3. อาการของโรคแบ่งได้ 2 แบบ คือ

    แบบดุร้าย เป็นแบบที่พบบ่อย

    แบบซึม จะแสดงอาการไม่ชัดเจน



    อาการของโรคแบ่งได้ 3 ระยะ

    1. ระยะอาการนำ สุนัขจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น จากเคยเชื่อง ชอบเล่นกลายเป็นซึม กินข้าวกินน้ำ น้อยลง ระยะนี้กินเวลา 2-3 วันก่อนเข้าระยะที่สอง

    2. ระยะตื่นเต้น เป็นอาการทางระบบประสาท สุนัขจะกระวนกระวาย ไม่อยู่นิ่ง กัดทุกอย่างที่ขวางหน้า ตัวแข็ง น้ำลายไหล

    ลิ้นห้อย ต่อมามีกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง ทรงตัวไม่ได้ ล้มแล้วลุกไม่ขึ้น ระยะพบได้ 1-7 วันก่อนเข้าระยะท้าย

    3. ระยะอัมพาต จะเกิดอาการอัมพาตทั่วตัว ถ้ามีอาการอัมพาตสุนัขจะตายใน 24 ชม. รวมระยะเวลาที่เริ่มมีอาการ จนถึงตายจะไม่เกิน 10 วัน ส่วนใหญ่ตายใน 4-6 วัน

    ในแบบซึมอาจมีระยะอัมพาตนานได้ถึง 2-4 วัน และ ในสุนัขที่เป็นโรคที่พิษบ้าจะไม่แสดง อาการกลัวน้ำให้เห็น

    6) อาการพิษสุนัขบ้าในคนเป็นอย่างไร?

    แบ่งได้ 2 แบบคล้ายสัตว์ คือ แบบกระสับกระส่าย,ดุร้าย(เกิดจากเชื้อไวรัสเพิ่มจำนวนอยู่ในสมองมาก)แบบนี้พบได้บ่อย และ แบบอัมพาต (เกิดจากเชื้อไวรัสเพิ่มจำนวนมากในไขสันหลัง)

    อาการในคนแบ่งได้ 3 ระยะ

    1. ระยะอาการนำ จะเริ่มมีไข้ อ่อนเพลียคล้ายไข้หวัด อาจมีปวดท้องคลื่นไส้อาเจียน อาการที่แปลกไป

    คือ อารมณ์เปลี่ยนแปลง กังวล กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ

    อาการนำที่ชัดเจนที่พบบ่อยในคนไทย คือ อาการคันรอบๆบริเวณที่ถูกกัด หรือคันแขนขาข้างที่ถูกกัด อาจมีอาการชา เจ็บเสียวรอบๆบริเวณที่ถูกกัด

    2. ระยะอาการทางระบบประสาท แบ่งย่อยได้เป็น

    -อาการกลัวน้ำ จะมีอาการตึง แน่นในลำคอ กลืนอาหารแข็งได้ แต่กลืนอาหารเหลวลำบาก เวลากินน้ำจะสำลักและเจ็บปวดเนื่องจากกล้ามเนื้อในลำคอกระตุกเกร็ง





    ภาพที่อธิบายไว้ถึงอาการกลัวน้ำ คือ ผู้ป่วยหิวน้ำ พยายามเอื้อมมือหยิบถ้วยน้ำมาจิบช้าๆ แต่พอถ้วยยาแตะริมฝีปาก ผู้ป่วยเริ่มมือสั่น หายใจสะอึก เห็นกล้ามเนื้อลำคอกระตุกเกร็ง แหงนหน้าขึ้น พ่นน้ำพ่นน้ำลายกระจายทั่ว ถ้วยหล่นจากมือพร้อมทั้งเปล่งเสียงร้อง แสดงความเจ็บปวดไม่เป็นภาษาคน บางคนที่กล้ามเนื้อควบคุมสายเสียงเป็นอัมพาต จะได้ยินคล้ายเสียงหมาเห่าหอน ผู้ป่วยจะตายใน 2-3 วันหลังจากมีอาการกลัวน้ำ

    - อาการกลัวลม ผู้ป่วยจะสะดุ้งผวาเมื่อถูกลมพัด

    - อาการประสาทไว ผู้ป่วยจะกลัว สะดุ้งเกร็งต่อสัมผัสต่างๆ ไม่ชอบแสงสว่าง ไม่อยากให้ใครมาถูกต้องตัว

    - อาการคลุ้มคลั่งประสาทหลอน ผู้ป่วยอาจอาละวาด ดุร้ายน่ากลัว

    - อาการอื่นๆ เช่นมาด้วยอัมพาต

    3. ระยะสุดท้าย ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว เข้าสู่ระยะโคม่า

    ในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา จะมีชีวิตไม่เกิน 7 วัน หลังจากเริ่มอาการนำและอยู่ไม่เกิน 3 วัน หลังมีอาการทางระบบประสาท



    7) ควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกสุนัขข่วน,กัด ?

    1. รีบล้างแผลด้วยน้ำและสบู่หลายๆครั้ง พยายามล้างให้เข้าถึงรอยลึกของแผล ถ้าไม่มีสบู่ใช้ผงซักฟอกแทนก็ได้

    2. ทำความสะอาดซ้ำด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเช่น 70% alcohol

    3. ถ้าแผลฉกรรจ์มีเลือดออก ควรปล่อยให้เลือดออกระยะหนึ่งเพื่อล้างน้ำลายซึ่งอาจมีเชื้อไวรัสออก

    4. ถ้าสามารถเฝ้าดูอาการสัตว์ (กรณีที่มีเจ้าของ หรือทราบตัวเจ้าของ) ควรกักขังและเฝ้าดูอาการอย่างน้อย 10 วัน

    5. กรณีที่สัตว์ตาย ควรนำส่งเพื่อตรวจหาเชื้อด้วย

    6. ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และ วัคซีนป้องกันบาดทะยักทันที ไม่ว่าจะสามารถเฝ้าดูอาการได้หรือไม่ โดยเฉพาะสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของหรือกัดแล้วหนี ควรมา รพ.ทันที ไม่ควรและไม่จำเป็นที่จะต้องรอให้สุนัขมีอาการก่อน เพราะระยะฟักตัวทั้งในคนและสัตว์ไม่แน่นอน (เป็นช่วงที่กว้าง)

    คนอาจมีอาการก่อนสัตว์ได้

    7. ประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าของสัตว์,สัตว์มีเจ้าของไม่เคยออกนอกบ้าน ไม่เคยไปกัดกับใคร อาจช่วยลดโอกาสการเป็นโรคของสัตว์ดังกล่าวลง แต่ไม่ได้บอกว่าจะไม่เป็นโรค เพราะฉะนั้นควรปฏิบัติ ตามข้อ1-6 เหมือนเดิม

    8. กรณีที่เป็นแผลฉีกขาด อาจทำแผลไปก่อน โดย ยังไม่ต้องเย็บแผลเนื่องจากแผลสกปรก โอกาสติดเชื้อจะสูงมาก โดยเฉพาะถ้าเย็บแผล



    โดย นพ.ธเนศ พัวพรพงษ์ ศัลยแพทย์รพ.วิภาวดี

    ตอบลบ
  4. โรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากอะไร
    โรค พิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ “เรบีส์” (Rabies virus) เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายของคนหรือสัตว์ก็ตาม เชื้อไวรัสนี้จะเข้าไปฝังตัวอยู่ในระบบประสาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สมองและเยื่อหุ้มสมอง ทำให้เกิดอาการอย่างรวดเร็วจนทำให้เสียชีวิตได้ และที่น่ากลัวที่สุดคือปัจจุบันโรคนี้ยังไม่มียารักษา คนหรือสัตว์ที่ติดเชื้อนี้มีโอกาสเสียชีวิตสูงถึง100 เปอร์เซ็นต์


    การติดโรคและสัตว์อื่นที่เป็นพาหะ
    เชื้อ ไวรัสเรบีส์ปนอยู่ในน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อ และติดต่อ สู่คนผ่านทางบาดแผลหรือเนื้อเยื่ออ่อน สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ การถูกสุนัขกัด และน้อยคนนักที่จะทราบว่าคนที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าไม่จำเป็นต้องโดนกัด เสียจนเหวอะหวะ เพียงแค่ถูกสัตว์เลีย หรือข่วน หรือน้ำลายจากสัตว์ที่ติดเชื้อกระเด็นเข้าบาดแผล หรือเข้าตา จมูก ปาก ทวารหนัก หรือแม้แต่อวัยวะสืบพันธุ์ที่แม้จะไม่มีบาดแผลก็อาจทำให้ติดเชื้อโรคพิษ สุนัขบ้าได้เช่นกัน

    เนื่องจากคนไทยเรียกโรคนี้ว่า โรคพิษสุนัขบ้า เป็นเหตุให้เรามักระวังแค่สุนัขเท่านั้น แท้ที่จริงแล้วสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ก็เป็นพาหะนำโรคพิษสุนัขบ้าได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น แมว หนู กระต่าย กระรอก กระแต ลิง ชะนี วัว ควาย ค้างคาว เป็นต้น โดยทั้งหมดส่งต่อเชื้อผ่านทางน้ำลายด้วยการกัด เลีย หรือน้ำลายกระเด็นโดนได้เช่นเดียวกับสุนัข


    วิธีสังเกตอาการของสัตว์ติดเชื้อพิษสุนัขบ้า
    สัตว์ที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า มักมีอาการหลัก 2 ประเภท คือ

    ประเภทดุร้าย
    เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด จะดุร้าย พยายามไล่กัดคนหรือสัตว์อื่นๆที่อยู่ใกล้เคียง หากโดนกักขัง อาจกัดโซ่ กัดกรง อย่างเกรี้ยวกราดจนฟันหัก ลิ้นเป็นแผลและมีเลือดออก อาการดุร้ายจะเกิดขึ้นเพียง 2-3 วัน หลังจากนั้นจะค่อยๆอ่อนเพลีย ขาหลังไม่มีแรง เดินโซเซ และตายในที่สุด
    ประเภทเซื่องซึม
    สังเกตอาการได้ยากมากเนื่องจาก มักไม่ไล่กัดผู้อื่นหากไม่ถูกรบกวน แต่จะเซื่องซึม ปากอ้าไม่ยอมหุบ ลิ้นมีสีแดงคล้ำห้อยออกมานอกปาก อาจลุกนั่ง ยืน และเดินไปมาบ่อย ๆ หรือกินของแปลก ๆ เช่น ใบไม้ ก้อนหิน หรือกินปัสสาวะของตัวเอง

    “เมื่อเห็นสัตว์เดินโซเซอยู่ตามท้องถนน
    ไม่ว่าจะมีท่าทางดุร้ายเกรี้ยวกราด หรือเซื่องซึม
    ก็ควรอยู่ให้ห่าง และเตือนคนรอบข้างให้ระวัง
    แล้วแจ้งหน่วยงานราชการหรือผู้เชี่ยวชาญให้มาจัดการทันที”

    ทำอย่างไรเมื่อ....โดนกัดเข้าให้แล้ว

    หลักที่ต้องจำให้ขึ้นใจก็คือ เมื่อถูกกัดไม่ว่าแผลจะใหญ่หรือเล็กไม่ว่าจะมีเลือดออกหรือไม่ แค่รอยข่วน รอยช้ำเขียว หรือแค่ถูกเลียก็ตาม หากไม่แน่ใจว่าสัตว์ตัวนั้นฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแล้วหรือยัง ให้คิดไว้ก่อนเสมอว่าเป็นสัตว์ที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า และควรปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

    รีบล้างแผลทันทีด้วยน้ำสะอาด เพื่อล้างเลือดและน้ำลายของสัตว์ออกจากแผล
    จากนั้นฟอกแผลด้วยสบู่ 2-3 ครั้ง แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
    เช็ดบริเวณรอบบริเวณรอบแผลด้วยแอลกอฮอล์ หรือน้ำยาโพวิโดนไอโอดีน หรือทิงเจอร์ไอโอดีน แล้วรีบไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนภายในวันนั้นทันที
    หากเป็นไปได้ ให้จับสัตว์ตัวนั้นขังกรง และเฝ้าสังเกตอาการของสัตว์อย่างน้อย10-15 วัน ระหว่างนั้นหากสัตว์ตัวนั้นตาย ให้นำซากมาตรวจพิสูจน์เชื้อ โดยควรส่งให้เร็วที่สุด ภายใน 24 ชั่วโมง หรือ ติดต่อสำนักงานปศุสัตว์เขต ปศุสัตว์จังหวัด ปศุสัตว์อำเภอหรือติดต่อสอบถาม ฝ่ายควบคุมโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน กองควบคุมโรคระบาด กรมปศุสัตว์ โทร 02-653-447,02 653-444 ต่อ 4141, 4142,4117
    หากเป็นสัตว์จรจัดหรือสัตว์ป่า ไม่จำเป็นต้องติดตามหาสัตว์นั้น แต่ผู้ถูกกัดควรรีบไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทันที

    ตอบลบ
  5. หากปล่อยไว้ ไม่ฉีดวัคซีน....

    ผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำๆ ใน 2-3 วันแรก อาจมีอาการเจ็บคอ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คันหรือปวดแสบปวดร้อนบริเวณแผลที่ถูกกัด ทั้งๆ ที่แผลอาจหายเป็นปกติแล้ว จากนั้นจะค่อยๆมีอาการทางระบบประสาท เช่น ตื่นเต้นง่าย กระสับกระส่าย กลัวแสง กลัวลม กลัวเสียงดัง กลืนน้ำลำบากและเจ็บมากเวลากลืนเนื่องจากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืนเกิด อาการเกร็งตัว มักบ้วนน้ำทิ้ง เป็นที่มาของคำว่า “โรคกลัวน้ำ” ผู้ป่วยจะน้ำลายไหลมาก ต้องบ้วนทิ้ง อาละวาด เอะอะ และจะค่อยๆ เซื่องซึมลง ชัก เป็นอัมพาต ความดันโลหิตต่ำลง ช็อคและเสียชีวิตภายใน 5-13 วันหลังจากที่รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย



    ทำอย่างไรจึงจะปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า

    แม้อาการโรคพิษสุนัขบ้าจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่โรคนี้กลับสามารถป้องกันได้ง่ายมาก โดยการ
    ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสัตว์ในชุมชน ซึ่งประเทศไทยมีการรณรงค์ฉีดวัคซีนนี้ฟรีจากหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่จะกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปภายในปี พ.ศ. 2563

    เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว เราลองเหลียวดูบรรดาสัตว์เลี้ยงของเรา สัตว์เลี้ยงเพื่อนบ้าน หรือสัตว์จรจัดรอบๆตัวเราสิคะ ว่าได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าครบทุกตัวแล้วหรือยัง ตามพระราชบัญญัติ โรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2538 เมื่อสุนัขได้รับการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า จะต้องได้รับเหรียญแขวนคอ และใบรับรองการฉีดวัคซีนไว้เป็น หลักฐาน เมื่อท่านนำสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีน โปรดขอรับเหรียญแขวนคอและแขวนให้สัตว์เลี้ยงของเรา เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้ผู้พบเห็นทราบว่า สัตว์เลี้ยงของเราได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว



    ท่านทราบหรือไม่?



    เชื้อโรคพิษสุนัขบ้า เมื่ออยู่นอกร่างกายจะตายได้ง่ายมาก ยกตัวอย่างเช่น

    หากถูกแสงแดด หรือแสงยูวี (UV) เชื้อนี้จะตายภายใน 1 ชั่วโมง
    หากต้มในน้ำเดือด เชื้อจะตายภายใน 5 -10 นาที
    หากทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ ทิงเจอร์ไอโอดีน โพวีโดนไอโอดีน สบู่ ผงซักฟอก หรือฟอร์มาลีน เชื้อจะตายภายในเวลารวดเร็ว
    อย่าลืมนะคะ...เมื่อสัมผัสน้ำลายสัตว์หรือโดนสัตว์กัด ต้องรีบล้างแผลด้วยน้ำสะอาด ฟอกสบู่หลายๆครั้งและรีบไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนค่ะ


    ที่มา : ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ

    ตอบลบ