Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ผลเสียที่ต้องระวัง จากการทานวิตามินมากเกินไป

 ผลเสียที่ต้องระวัง

จากการทานวิตามินมากเกินไป  




วิตามิน และ แร่ธาตุ (Micronutrients) คือ สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายในปริมาณน้อย แต่ขาดไม่ได้ ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การดูดซืมสารอาหาร การหายใจระดับเซลล์ และการเจริญเติบโตของร่างกาย ทำให้ร่างกายเกิดความสมดุล และ มีสุขภาพที่ดี พูดง่าย ๆ คือ วิตามินเป็นเหมือนแบตเตอรี่ให้กับรถยนต์ที่จำเป็นจะต้องมี แต่ไม่ได้เป็นพลังงานหลักในการขับเคลื่อนรถยนต์

“สำคัญที่สุดคือร่างกายของเราไม่สามารถผลิตหรือสังเคราะห์วิตามินขึ้นมาได้”

หลายคนจึงหาวิตามินและแร่ธาตุ ที่ช่วยตอบโจทย์สุขภาพมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มเครื่องดื่มที่ผสมวิตามิน อาหารเสริม รวมไปถึงเครื่องสำอางที่มีการเสริมวิตามินหรือสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีวางจำหน่าย และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากตามท้องตลาด 

การเลือกวิตามินเพื่อดูแลสุขภาพนั้น หลายคนเลือกจากเพื่อนแนะนำ หรือ สื่อโฆษณาต่าง ๆ ซึ่งเลือกวิตามินหลากหลายชนิด และปริมาณที่สูง เพื่อเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน และ รวดเร็ว โดยไม่ได้มีการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือตรวจสุขภาพก่อนการรับประทาน

“ร่างกายของแต่ละคนนั้นมีความต้องการวิตามินและแร่ธาตุในปริมาณที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล เช่น เพศ อายุ การรับประทานอาหาร และ ไลฟ์สไตล์ เป็นต้น”

หากคุณได้รับวิตามินและแร่ธาตุในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นของร่างกาย อาจเกิดผลเสียต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบภายใน เช่น ตับ และ ไต ที่มีหน้าที่ในการขับของเสียออกจากร่างกาย ต้องทำงานมากยิ่งขึ้น และอาจเกิดการสะสมในอวัยวะอื่น ๆ ซึ่งนำมาสู่การเกิดภาวะเป็นพิษ หรือผลเสียต่อร่างกายได้

Vitaboost จึงขอนำเสนอผลเสียของวิตามินที่หลาย ๆ คนมักหาซื้อตามท้องตลาดมากที่สุด 6 ชนิด ดังนี้

1. Vitamin A

วิตามินเอ(Vitamin A) หรือ เรตินอล(Retinol)เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน วิตามินเอที่พบส่วนมากมีอยู่ 2 รูปแบบ ดังนี้ 

1.รูปแบบสารให้วิตามินเอ เรียกว่า กลุ่ม Retinoids พบในอาหารที่มาจากเนื้อสัตว์เท่านั้น
2.รูปแบบสารก่อวิตามินเอ เรียกว่า กลุ่ม Caroteniods พบมากในพืชผัก 

ร่างกายดูดซึมวิตามินเอกลุ่ม Retinoids ได้ถึง 70-90% ในขณะที่กลุ่ม กลุ่ม Caroteniods มีการดูดซึมเพียง 5-65% โดยมีการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอกลุ่ม Retinoids ได้บางส่วน

“วิตามินเอ ช่วยป้องกันอาการตาบอดกลางคืนและ ป้องการจอประสาทตาเสื่อม ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงของการเกิดสิว ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย และส่งเสริมความแข็งแรงของกระดูก”

แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ ที่มาจากสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา ตับสัตว์ เนื้อสัตว์ ไข่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม โดยร่างกายสามารถดูดซึมและใช้ประโยชน์ได้มากกว่าแหล่งของวิตามินเอที่มาจากพืช เช่น ผักใบเขียวเข้ม ผักและผลไม้ที่มีสีเหลืองหรือสีส้ม เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ฟักทอง มันเทศเหลือง มะละกอสุก เป็นต้น

ปริมาณวิตามินเอที่ควรได้รับในแต่ละวัน อ้างอิงจากปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน (Dietary Reference Intake : DRI) ในกลุ่มผู้ใหญ่(≥19 ปี) ชายและหญิง เป็น 700 และ 600 mcg ของเรตินอลต่อวัน ตามลำดับ

“ปริมาณสูงสุดของวิตามินเอที่รับได้ในแต่ละวัน {Tolerable Upper Intake Level (ULs)} สำหรับกลุ่มผู้ใหญ่ (≥19 ปี) คือ 3,000 mcg/วัน”

หากร่างกายได้รับปริมาณวิตามินเอที่มากจนเกินไป จะทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ ผิวหนังแห้ง หยาบ และคันบริเวณผิวหนัง มีอาการผมร่วง ริมฝีปากแตก ปวดกระดูกและข้อต่อ มีอาการผิดปกติของตับ ทำให้ระดับเกลือแร่ของกระดูกลดลง ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้ ส่วนในหญิงมีครรภ์ หากที่ได้รับวิตามินเอมากเกินไป มีโอกาสเสี่ยงทำให้ทารกในครรภ์พิการ และ เสียชีวิตได้

ถ้าคุณรับประทานผักและผลไม้ที่มีสีเหลืองหรือสีส้มในปริมาณมาก อาจส่งผลให้ผิวเหลือง หรือตัวเหลืองได้ เพราะผักและผลไม้ที่มีสีเหลืองหรือสีส้มนั้นจะมีสารที่เรียกว่า เบต้าแคโรทีน แต่ร่างกายจะสามารถเปลี่ยนสารนี้ ให้อยู่ในรูปแบบของเรตินอล ซึ่งจะสามารถออกฤทธิ์ได้ที่บริเวณลำไส้และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด อาการที่กล่าวมานี้สามารถหายได้เองจากการหยุดทานวิตามินเอ

“วิตามินเอ เป็นสารอาหารที่ร่างกายผลิตเองไม่ได้ จะต้องได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น ทั้งนี้ต้องบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง”

2. Vitamin C

วิตามินซี(Vitamin C) หรือ กรดแอสคอร์บอก(Ascorbic Acid) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ซึ่งร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินซีได้เอง ดังนั้น จำเป็นจะต้องได้รับวิตามินซีจากอาหาร

วิตามินซี เป็นวิตามินที่เรียกได้ว่า“ของมันต้องมี”เพราะมีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย และมีบทบาทสำคัญในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยสังเคราะห์คอลลาเจนซึ่งเป็นองค์ประกอบในการสร้างกระดูก เอ็น กล้ามเนื้อ ฟัน ผิวหนัง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ช่วยในการสัังเคราะห์คาร์นิทีน ซึ่งมีบทบาทในการช่วยเผาผลาญไขมันให้เกิดพลังงาน ช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็ก มีบทบาทต่อภูมิต้านทาน โดยช่วยการทำงานของเม็ดเลือดขาวและช่วยกระบวนการกลืนทำลายเชื้อโรค (Phagocytic activity) ของเม็ดเลือดขาวในการขจัดเชื้อโรค ยับยั้งการหลั่งสารฮิสตามีนที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ ดังนั้น วิตามินซีช่วยลดการจาม น้ำมูกไหล หรือลดอาการบวมแดงของผื่นบริเวณผิวหนัง และป้องกันการเกิดสารก่อมะเร็งจากการบริโภคเนื้อสัตว์แปรรูปต่าง ๆ

“หากร่างกายขาดวิตามินซี จะทำให้แผลหายช้า มีอาการปวดตามข้อ เลือดออกตามไรฟัน ผิวหนังแตกแห้ง เหงือกบวมแดง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผมร่วง มีอาการซึมเศร้าได้”

แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี ส่วนใหญ่พบในพืชมากกว่าในสัตว์ได้แก่ ผลไม้ เช่น ฝรั่ง มะขามป้อม ลูกพลับ สตรอเบอรี่ ส้มเช้ง เป็นต้น ผักต่าง ๆ เช่น พริกหวาน ผักคะน้า บรอกโคลี ดอกกะหล่ำ ถั่วลันเตา มะเขือเทศ มันฝรั่ง เป็นต้น นอกจากนี้ ผักพื้นบ้านไทย เช่น ยอดสะเดา ใบผอ ผักหวาน มีปริมาณสูงเช่นกัน

ปริมาณวิตามินซีที่ควรได้รับในแต่ละวัน อ้างอิงจากปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน (Dietary Reference Intake : DRI) ในกลุ่มผู้ใหญ่(≥19 ปี) ชายและหญิง เป็น 100 และ 85 mg ต่อวัน ตามลำดับ

“ปริมาณสูงสุดของวิตามินเอที่รับได้ในแต่ละวัน {Tolerable Upper Intake Level (ULs)} คือ 2,000 mg/วัน”

วิตามินซี มีความเป็นพิษน้อย ผลข้างเคียงที่ไม่ถึงประสงค์ขึ้นอยู่กับปริมาณวิตามินซีที่บริโภค เช่น อาการคลื่นไส้ ปวดท้องเกรงในช่องท้อง และท้องเสีย เป็นต้น

“วิตามินซี เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำและถูกขับออกจากปัสสาวะ มีรายงานพบผลข้างเคียงค่อนข้างน้อยจากการได้รับวิตามินซีปริมาณสูง”

3. Vitamin D

วิตามินดี(Vitamin D) หรือ แคลซิเฟอรอล(Calciferol) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน หลายคนมักเรียกว่า “วิตามินแดด” ร่างกายสามารถสร้างได้เองจากผิวหนังเมื่อสัมผัสกับแสงแดดที่มากับรังสี UVB

หน้าที่ของวิตามินดี ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้ของเราเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อเดินทางไปสะสมที่กระดูกได้ดีขึ้น ทำให้ป้องกันการเกิดภาวะกระดูกบางและกระดูกพรุนได้ ช่วยเพิ่มการหลั่งอินซูลินที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และช่วยลดภาวะความเครียดได้ดี โดยทำให้สมองหลังสาร serotonin มากขึ้น

“วิตามินดีมีบทบาทสำคัญต่อผลของการรักษาภาวะติดเชื้อทางเดินหายใจ และ ลดความรุนแรงของ COVID-19 ด้วย”

ส่วนใหญ่ 80-90% ร่างกายได้รับวิตามินดีจากการสร้างวิตามินดีที่ผิวหนังหลังจากที่ได้รับแสงแดด (UVB) และ อีกประมาณ 10-20% จากอาหารและการทานอาหารเสริม แหล่งอาหารที่อุดมด้วยวิตามินดี ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาเทราท์ ปลาทูน่า ปลาซาดีน ปลาคอด เห็ดหอม น้ำมันตับปลา และไข่แดง

“เนื่องจากแหล่งอาหารตามธรรมชาติมีวิตามินดีน้อย ประเทศไทยจึงได้เติมวิตามินดี (fortification) ลงไปในอาหาร เช่น นมและผลิตภัณฑ์จากนม นมถั่วเหลือง โยเกิร์ต น้ำส้ม และอาหารเช้าประเภทซีเรียล“

ปริมาณวิตามินดีที่แนะนำให้บริโภคต่อวันได้รับในแต่ละวัน อ้างอิงจากปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคในแต่ละวันสำหรับคนปกติ (Recommended Dietary Allowances :RDA ) ในกลุ่มผู้ใหญ่(อายุ 19 – 70 ปี) ชายและหญิง คือ 600 IUต่อวัน

“ปริมาณสูงสุดของวิตามินดีที่รับได้ในแต่ละวัน {Tolerable Upper Intake Level (ULs)} คือ 4,000 IUต่อวัน”

การได้รับวิตามินดีมากเกินไปทำให้เกิดภาวะเป็นพิษ ซึ่งอาการของภาวะวิตามินดีเป็นพิษ เกิดจากระดับแคลเซียมในเลือดสูง โดยมีการดังนี้ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง สับสน ขาดสมาธิ ซึม เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก ปวดท้องแบบโรคกระเพาะ ปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย

“แคลเซียมและฟอสเฟตที่สูงนานจะไปสะสมที่ไต เกิดแคลเซียมตกตะกอนในเนื้อไต (nephrocalcinosis) หรือตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ (soft tissue calcification)”

4. Vitamin E

วิตามินอี(Vitamin E) หรือ โทโคฟีรอล(Tocopherol)เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน การดูดซึมวิตามินอีในอาหารขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำย่อยจากตับอ่อน กรดน้ำดี และการรวมตัวเป็นกลุ่ม (Micelle formation) วิตามินอีถูกขนส่งในกระแสเลือดโดยจับกับไลโปโปรตีนไปเก็บที่เนื้อเยื่อต่าง ๆ วิตามินอีส่วนใหญ่ถูกขับออกทางอุจจาระ 

วิตามินอี ทำหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ มีบทบาทในการป้องกันไม่ให้กรดไขมันไม่อิ่มตัวและส่วนประกอบเยื่อหุ้มเซลล์ของอวัยวะของร่างกายถูกทำลาย ช่วยในกระบวนการย่อยไขมัน ช่วยต่อต้านการอักเสบ ยับยั้งการจับกันของเกล็ดเลือด และช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

“มีรายงานวิจัยพบว่า อาหารประเภทไขมันช่วยเพิ่มการดูดซึมวิตามินอี โดยกระตุ้นการหลั่งกรดน้ำดี และการเกิด micelles”

แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอี ได้แก่ น้ำมันพืชชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันจมูกข้าวสาลี เป็นต้น และถั่วเมล็ดแห้ง ส่วนเนื้อสัตว์ต่าง ๆ นม ไข่ ผักและผลไม้ต่าง ๆ มีวิตามินอีน้อย เนื่องจากจะพบปริมาณวิตามินอีมากในอาหารที่มีไขมัน

“น้ำมันพืชที่ใช้ทอดซ้ำจะมีปริมาณวิตามินอีลดลง เนื่องจากวิตามินอีสลายตัวที่อุณหภูมิสูง”

ปริมาณวิตามินอีที่แนะนำให้บริโภคต่อวันได้รับในแต่ละวัน อ้างอิงจากอ้างอิงจากปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน (Dietary Reference Intake : DRI) ในกลุ่มผู้ใหญ่(อายุ 19 – 70 ปี) ชายและหญิง ต้องการ คือ 13 mg และ 11 mgต่อวัน ตามลำดับ

“ปริมาณสูงสุดของวิตามินอีที่รับได้ในแต่ละวัน {Tolerable Upper Intake Level (ULs)} คือ 300 mgต่อวัน”

การได้รับวิตามินอีในปริมาณสูงเป็นเวลานาน ๆ อาจส่งผลต่อความผิดปกติของการทำงานในร่างกายได้ เช่น มีภาวะเลือดออกที่อวัยวะต่าง ๆ (Hemorrhage) พบการแข็งตัวของเลือดช้าลง โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะขาดวิตามินเค เป็นต้น

“ข้อควรระวังในการให้วิตามินอีเสริมในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด เนื่องจากวิตามินอีสามารถยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกง่ายได้”

5. Zinc

สังกะสี(Zinc) เป็นแร่ธาตุที่พบในร่างกาย 85% อยู่ที่กระดูกและกล้ามเนื้อ 10% อยู่ที่ตับอ่อน ตับ และเลือด ในส่วนของเม็ดเลือดนั้น 80% อยู่ในเม็ดเลือดแดง และ 20% อยู่ในน้ำเลือด  

สังกะสีมีบทบาทสำคัญต่อการดูดซึมโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ช่วยสังเคราะห์ DNA และ RNA ซึ่งมีความสำคัญในการแบ่งเซลล์และการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย มีบทบาทในการควบคุมการแสดงออกของพันธุกรรมต่าง ๆ  และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

“ร่างกายมีการขับธาตุสังกะสีออกจากอุจจาระเป็นหลัก  ซึ่งปริมาณที่ถูกขับออกมาแปรผันโดยตรงกับปริมาณที่ถูกดูดซึมและระดับธาตุสังกะสีในร่างกายขณะนั้น นอกจากนี้ยังมีการสูญเสียธาตุสังกะสีผ่านทางปัสสาวะ เหงื่อ ผิวหนัง เส้นผม น้ำอสุจิ เลือดประจำเดือน และน้ำนมแม่”

แหล่งอาหารที่ดีที่สุดของสังกะสี คือ เนื้อสัตว์และเครื่องในสัคว์ สัตว์น้ำเปลือกแข็งโดยเฉพาะหอยนางรม สัตว์ปี และปลา รองลงมาคือไข่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม และพืชตระกูลถั่วมีธาตุสังกะสีปานกลางแต่มีสารไฟเตทสูง

“สารไฟเตท (Phytate) มีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมสังกะสี”

ปริมาณสังกะสีที่แนะนำให้บริโภคต่อวันได้รับในแต่ละวัน อ้างอิงจากปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคในแต่ละวันสำหรับคนปกติ (Recommended Dietary Allowances :RDA ) ในกลุ่มผู้ใหญ่(≥19 ปี) ชายและหญิง คือ 11 และ 9 mgต่อวัน ตามลำดับ

“ปริมาณสูงสุดของสังกะสีที่รับได้ในแต่ละวัน {Tolerable Upper Intake Level (ULs)} คือ 40 mgต่อวัน”

หากได้รับสังกะสีมากเกินไปทำให้มีระดับคลอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เมื่อได้รับสังกะสีในปริมาณสูงติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน สังกะสีจะเข้าไปแทนที่ทองแดงและเหล็กในเลือด ก่อให้เกิดโรคโลหิตจางจากการขาดทองแดง เพราะสังกะสีจะไปลดการดูดซึมธาตุเหล็กและทองแดงได้ ในหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับสังกะสีมากเกินไป อาจทำให้ทารกพิการและเสียชีวิตได้

6. Iron

ธาตุเหล็ก(Iron)เป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อระบบเลือด ซึ่งสีแดงของเลือดที่เราเห็นคือเกิดจากธาตุเหล็กจับกับโปรตีน เรียกว่า “ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin)”  หรือ “ฮีม (Heme)” ธาตุเหล็กที่ได้รับจากอาหาร จะกระจายไปตามไขกระดูกก่อนการไหลเวียนไปทั่วร่างกายเพื่อนำออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แหล่งสะสมธาตุเหล็กที่สำคัญ คือ ตับ

ธาตุเหล็กสามารถพบได้ในอาหารจำพวก ตับ เลือด เนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อสัตว์สีแดงเช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เป็นต้น อาหารทะเล ผักสีเขียวเข้ม เช่น คะน้า ตำลึง ผักโขม ผักบุ้ง บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น  ซีเรียล ธัญพืชและถั่วเมล็ดแห้ง และอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เช่น ส้ม ฝรั่ง พริกหวาน สตรอเบอรี่ จะช่วยเสริมสร้างการดูดซึมธาตุเหล็กเข้าไปได้อย่างสะดวกขึ้น และยังมีรูปแบบเป็น ยา และอาหารเสริมที่จำหน่ายทั่วไปในท้องตลาดอีกด้วย

อาหารบางประเภทขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กของร่างกายได้ เช่น นมและผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วเหลือง ข้าวไม่ขัดสี ชา กาแฟ เป็นต้น

“ปริมาณธาตุเหล็กที่แนะนำให้บริโภคต่อวันได้รับในแต่ละวัน อ้างอิงจากปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคในแต่ละวันสำหรับคนปกติ (Recommended Dietary Allowances :RDA ) ในกลุ่มผู้ใหญ่ (≥19 ปี) ชายและหญิง คือ 11.5 และ 10-20 mgต่อวันตามลำดับ”

หากร่างกายได้รับธาตุเหล็กในปริมาณสูงอาจทำให้มีภาวะเป็นพิษเฉียบพลัน โดยมีอาการอาเจียน และ ท้องเสียอย่างรุนแรง ธาตุเหล็กในปริมาณสูงเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้เกิดความเป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะภายใน และ และอาจเสียชีวิตได้

สรุป

ณ ปัจจุบันเทรนด์การดูแลสุขภาพด้วยวิตามิน และ แร่ธาตุ เป็นที่นิยมและมีจัดจำหน่ายมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งหลายคนเลือกทานวิตามินตามความเชื่อ การแนะนำจากคนรอบข้าง หรือจากสื่อโฆษณาต่าง ๆ จนลึมนึกถึงความต้องการวิตามินที่แท้จริงของร่างกาย  จนทำให้เกิดผลเสียต่าง ๆ ตามมา

การดูแลสุขภาพที่เข้าถึงปัญหาสุขภาพได้ดีที่สุด คือ “การตรวจสุขภาพอย่างละเอียด” เพราะจะทำให้คุณรู้ถึงปัญหาและวิธีการรักษาหรือป้องกันได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด จึงแนะนำให้ตรวจวิเคราะห์ระดับวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระก่อนการทานวิตามิน เพื่อให้ทราบถึงความต้องการชนิดและปริมาณวิตามินที่ร่างกายต้องการอย่างแท้จริง อีกทั้งยังป้องกันการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการรับวิตามินมากเกินความต้องการ


ที่มา  ::   https://vitaboost.me/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น