Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หนังสือเดินทาง (ในสวิตเซอร์แลนด์)

หนังสือเดินทาง (ในสวิตเซอร์แลนด์)











1. ขั้นตอนการขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
2. ขั้นตอนการขอหนังสือเดินทางชนิดใหม่ในกรณีเล่มเดิมสูญหาย
3. หนังสือเดินทางชั่วคราวอายุ 1 ปีสำหรับคนไทยที่หนังสือเดินทางสูญหายหรือหมดอายุในสวิตเซอร์แลนด์และต้องเดินทางไปต่างประเทศอย่างเร่งด่วน (Temporary Passport)
4. หนังสือสำคัญประจำตัวสำหรับคนไทยที่หนังสือเดินทางสูญหายหรือหมดอายุในสวิตเซอร์แลนด์และมีความประสงค์จะเดินทางกลับประเทศไทยโดยเร่งด่วน ( Certificate of Identity- C.I.)
5. คำแนะนำในการเก็บรักษาหนังสือเดินทางอีเล็กทรอนิกส์
6. คำถาม-ตอบเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง
7. แบบฟอร์มคำร้องขอหนังสือเดินทางและบันทึกสอบสวน
8. นัดหมายทำหนังสือเดินทางออนไลน์

ขั้นตอนการขอหนังสือเดินทางชนิดใหม่ ( E- Passport Application Basic Guide )
  1. การทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ E-Passport
    1. ท่านจะต้องทำการนัดหมายล่วงหน้าที่หมายเลข 031 970 34 14 – 15 เวลา 09.00- 12.00 น. และเวลาระหว่าง14.00- 17.00 น. หรือสามาระนัดหมายออนไลน์ได้ที่www.thaiembassy.org/bern
    2. การทำ E-passport ต้อง มาด้วยตนเองเท่านั้น กรณีบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุไม่ถึง 20 ปี) ทั้งบิดาและมารดาจะต้องมาด้วย
    3. การขอหนังสือเดินทางใหม่หรือ E-passport ใช้เวลาทำการ 4 ถึง 6 อาทิตย์โดยประมาณ
    4. ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง ( E-Passport) 50 ฟรังก์สวิส ค่าธรรมเนียมการประทับตรายืนยันหมายเลขหนังสือเดินทางฉบับเดิมในหนังสือเดินทางฉบับใหม่ 5 ฟรังก์สวิส ค่าไปรษณีย์ส่งกลับ 7 ฟรังก์สวิส

  2. ต้องกรอกแบบฟอร์มอะไรมาบ้าง?
    1. แบบฟอร์ม คำร้องขอหนังสือเดินทางจำนวน 1 ชุด
    2. แบบฟอร์ม บันทึกสอบสวน ( กรณีหนังสือเดินทางหมดอายุไปแล้ว หรือสูญหาย ) จำนวน 1 ชุด

  3. ต้องเตรียมเอกสารอะไรมาบ้าง?
    1. 3.1 บุคคลที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไไป
      1. หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน พร้อมสำเนา 1 ชุด
      2. สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
      3. รูปถ่ายสีขนาด 2 นิ้ว 1 รูป
      4. ซองจดหมายจ่าหน้าซองถึงตัวท่านเองพร้อมติดแสตมป์ 5 ฟรังก์สวิส
      5. ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง ( E-Passport) 50 ฟรังก์สวิส
      6. ค่าประทับตราหมายเลขหนังสือเดินทางเล่มเดิมในหนังสือเดินทาง ( E-Passport) 5 ฟรังก์สวิส ดังนั้น ข้อ 5+6เท่ากับ 55 ฟรังก์สวิส

    1. 3.2 บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ บิดามารดาจดทะเบียนสมรส
      1. หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน
      2. สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
      3. สำเนาสูติบัตรไทยมาจำนวน 1 ชุด
      4. สำเนา ทะเบียนสมรส ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
      5. สำเนาหน้าหนังสือเดินทาง ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
      6. สำเนาหน้า บัตรประชาชน ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
      7. รูปถ่ายสีขนาด 2 นิ้ว 1 รูป
      8. บิดาและมารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอมที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น

    1. 3.3 บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส
      1. หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน
      2. สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
      3. สำเนาสูติบัตรไทยมาจำนวน 1 ชุด
      4. สำเนา ใบปกครองบุตร หรือ ป.ค. 14 จำนวน 1 ชุด
      5. สำเนาหน้า บัตรประชาชน หรือ ทะเบียนบ้าน ของมารดา จำนวน 1 ชุด
      6. สำเนาหน้าหนังสือเดินทาง ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
      7. รูปถ่ายสีขนาด 2 นิ้ว 1 รูป
      8. บิดาหรือมารดาที่มีอำนาจปกครองบุตรมาลงนามให้ความยินยอมที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น

    1. 3.4 บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ บิดามารดาได้จดทะเบียนหย่าเเล้ว
      1. หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน
      2. สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
      3. สำเนาสูติบัตรไทยจำนวน 1 ชุด
      4. สำเนา ใบหย่า ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
      5. สำเนา ใบปกครองบุตรหรือ ป.ค. 14 หรือ บันทึกการหย่าที่ระบุผู้มีอำนาจในการปกครองบุตร จำนวน 1 ชุด
      6. สำเนา หน้าบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน ของผู้ปกครองบุตร จำนวน 1 ชุด
      7. สำเนาหน้าหนังสือเดินทางของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
      8. รูปถ่ายสีขนาด 2 นิ้ว 1 รูป
      9. บิดาหรือมารดาที่มีอำนาจปกครองต้องมาลงนามให้ความยินยอมที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น
การออกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Passport) จะออกตามข้อมูลในทะเบียนราษฎรของผู้ร้องที่ประเทศไทย ทั้งนี้ นามสกุลในหนังสือเดินทางเล่มใหม่จะตรงกับหลักฐานทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน โดยจะไม่ขึ้นอยู่กับหนังสือเดินทางเล่มเดิม ถ้าผู้ร้องต้องการให้นามสกุลในหนังสือเดินทางเป็นนามสกุลหลังการสมรส/หย่า จะต้องแก้ไขนามสกุลในทะเบียนราษฎรในเขตหรืออำเภอที่ท่านมีทะเบียนบ้านอยู่ หากท่านมีข้อสงสัยหรือคำถามใดๆเดี่ยวกับการขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ สามารถติดต่อสอบถามทางสถานเอกอัครราชทูตได้ที่ โทร. 031 970 34 14 – 15 เวลา 09.00 – 12.00 น. และเวลา 14.00 – 17.00 น. Email: embassy.bern@gmail.com การทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่หรือ E-passport ไม่สามารถดำเนินการทางไปรษณีย์ได้ ( เนื่องจากต้องมีการพิมพ์ลายนิ้วมือด้วย )

ขั้นตอนการขอหนังสือเดินทางชนิดใหม่ในกรณีเล่มสูญเดิมหาย Lost Passport Application Basic Guide
  1. การขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่( E-Passport )กรณีเล่มเดิมสูญหาย
    1. ท่านจะต้องทำการนัดหมายล่วงหน้ากับฝ่ายกงสุลสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์นที่หมายเลข 031 970 34 14 – 15 เวลา 09.00- 12.00 น.และระหว่างเวลา 14.00 – 17.00 น.หรือสามารถนัดหมายออนไลน์ได้ที่ www.thaiembassy.org/bern
    2. การทำ E-passport ต้อง มาด้วยตนเองเท่านั้น กรณีบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุไม่ถึง 20 ปี) ทั้งบิดาและมารดาจะต้องมาด้วย
    3. บุคคลที่เดินทางมาสวิตฯโดยวีซ่าท่องเที่ยว (Tourist Visa) ไม่สามารถขอ E-passport ใหม่ได้ โดยสถานเอกอัครราชทูตฯจะออก CI ( Certificate of Identity ) ให้ท่านใช้เดินทางกลับประเทศไทย
    4. การขอหนังสือเดินทางใหม่หรือ E-passport ใช้เวลาทำการ 4 ถึง6 อาทิตย์โดยประมาณเนื่องจากต้องส่งคำร้องไปดำเนินการที่กรุงเทพฯ
    5. ค่าธรรมเนียม 50 ฟรังก์สวิส ค่าประทับตราในหนังสือเดินทาง 5 ฟรังก์สวิสและค่าไปรษณีย์ลงทะเบียนส่งกลับอีก 7 ฟรังก์สวิส
  2. ต้องกรอกแบบฟอร์มอะไรมาบ้าง?
    1. แบบฟอร์ม คำร้องขอหนังสือเดินทางจำนวน 1 ชุด
    2. แบบฟอร์ม บันทึกสอบสวน ( กรณีหนังสือเดินทางหมดอายุไปแล้ว หรือสูญหาย ) จำนวน 1 ชุด

  3. ต้องเตรียมเอกสารอะไรมาบ้าง?
    1. 3.1 บุคคลที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไไป
      1. สำเนา บัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
      2. หลักฐาน ใบแจ้งความตำรวจในเขตที่หนังสือเดินทางสูญหาย จำนวน 1 ชุด
      3. หลักฐาน ยืนยันการมีวีซ่าอยู่ในสวิตฯ อาทิ สำเนาหน้าหนังสือเดินทางที่มีวีซ่าสวิส เป็นต้น
    1. 3.2 บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ บิดามารดาจดทะเบียนสมรส
      1. เอกสารในข้อ 3.1
      2. สำเนาสูติบัตรไทยมาจำนวน 1 ชุด
      3. สำเนา ทะเบียนสมรส ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
      4. สำเนาหน้าหนังสือเดินทาง ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
      5. สำเนาหน้า บัตรประชาชนและ ทะเบียนบ้าน ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
    1. 3.3 บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส
      1. เอกสารในข้อ 3.1
      2. สำเนาสูติบัตรไทยมาจำนวน 1 ชุด
      3. สำเนา ใบปกครองบุตร หรือ ป.ค. 14 จำนวน 1 ชุด
      4. สำเนาหน้า บัตรประชาชน หรือ ทะเบียนบ้าน ของมารดา จำนวน 1 ชุด
      5. สำเนาหน้าหนังสือเดินทาง ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
      6. หากไม่มีเอกสารตามข้อ 3.3 ใหญ่ ข้อ 2 ย่อยจะต้องมากรอก แบบฟอร์มบันทึกสอบปากคำ ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เท่านั้น
    1. 3.4 บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ บิดามารดาได้จดทะเบียนหย่าเเล้ว
      1. เอกสารในข้อ 3.1
      2. สำเนาสูติบัตรไทยจำนวน 1 ชุด
      3. สำเนา ใบหย่า ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
      4. สำเนา ใบปกครองบุตรหรือ ป.ค. 14 หรือ บันทึกการหย่าที่ระบุผู้มีอำนาจในการปกครองบุตร จำนวน 1 ชุด
      5. สำเนา หน้าบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน ของผู้ปกครองบุตร จำนวน 1 ชุด
      6. สำเนาหน้าหนังสือเดินทางของบิดาหรือมารดา จำนวน 1 ชุด
      7. หากไม่มีเอกสารตามข้อ 3.3 ใหญ่ ข้อ 2 ย่อยจะต้องมากรอก แบบฟอร์มบันทึกสอบปากคำ ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เท่านั้น
การออกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Passport) จะออกตามข้อมูลในทะเบียนราษฎรของผู้ร้องที่ประเทศไทย ทั้งนี้ นามสกุลในหนังสือเดินทางเล่มใหม่จะตรงกับหลักฐานทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน โดยจะไม่ขึ้นอยู่กับหนังสือเดินทางเล่มเดิม การทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่หรือ E-passport ไม่สามารถดำเนินการทางไปรษณีย์ได้

หนังสือเดินทางชั่วคราวอายุ 1 ปี (Temporary Passport)

หนังสือเดินทางชั่วคราวอายุ 1 ปี สำหรับกรณีคนไทยที่เดินทางไปสวิตเซอร์แลนด์ และหนังสือเดินทางสูญหายหรือหมดอายุซึ่งคนไทยมีบ่อยครั้งที่ไม่ได้ดูวันหมดอายุของหนังสือเดินทางและมีความจำเป็นเร่งด่วน ไม่อาจรอการออกหนังสือเดินทาง E-Passport ซึ่งต้องส่งไปผลิตเล่มที่กระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพฯ ได้ และมีความจำเป็นเร่งด่วนต้องเดินทางไป ต่างประเทศ ในกรณีที่หนังสือเดินทางสูญหาย คนไทยดังกล่าวสามารถนำหลักฐานไปยื่นขอหนังสือเดินทางชั่วคราว อายุ 1 ปี
  1. หลักฐานที่ต้องใช้ในกรณีหนังสือเดินทางสูญหาย
    1. ใบแจ้งความหาย
    2. สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาหนังสือเดินทางเล่มเดิม
    3. ภาพถ่ายขนาดเดียวกับที่ใช้ในหนังสือเดินทางจำนวน 3 รูป
    4. แบบฟอร์มคำร้องขอหนังสือเดินทาง จำนวน 2 ชุด
    5. บันทึกสอบสวน จำนวน 2 ชุด
    6. ค่าธรรมเนียม 20 ฟรังก์สวิส
    7. ค่าประทับตราในหนังสือเดินทาง 5 ฟรังก์สวิส
  2. หลักฐานที่ต้องใช้ในกรณีหนังสือเดินหมดอายุ( กรณีมีเหตุผลความจำเป็นต้องเดินทางกลับประเทศไทยโดยเร่งด่วน)
    1. สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาหนังสือเดินทางเล่มเดิม
    2. ภาพถ่ายขนาดเดียวกับที่ใช้ในหนังสือเดินทางจำนวน 3 รูป
    3. แบบฟอร์มคำร้องขอหนังสือเดินทาง จำนวน 2 ชุด
    4. บันทึกสอบสวน จำนวน 2 ชุด
    5. ค่าธรรมเนียม 20 ฟรังก์สวิส
    6. ค่าประทับตราในหนังสือเดินทาง 5 ฟรังก์สวิส
หมายเหตุ หนังสือเดินทางชั่วคราว 1 ปีไม่สามารถต่ออายุได้

หนังสือสำคัญประจำตัว (Certificate of Identity –C.I)

หนังสือสำคัญประจำตัว (Certificate of Identity –C.I) มีอายุการใช่งาน 7 - 15 วันนับจากวันออก นั้นหมายถึงท่านต้องเดินทางกลับประเทศไทยภายในเจ็ดถึงสิบห้าวันนับจากวันที่หนังสือเล่มนี้ได้รับการประทับตรา หนังสือประจำตัวนี้จะถูกออกให้ก็ต่อเมื่อคนไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในสวิตเซอร์แลนด์แล้วหนังสือเดินทางสูญหาย หรือหมดอายุในสวิตฯและมีความประสงค์จะเดินทางกลับ ประเทศไทยโดยเร่งด่วน

การทำหนังสือประจำตัวนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 5 วันทำการ
  1. หลักฐานที่ต้องใช้ในกรณีหนังสือเดินทางสูญหาย
    1. ใบแจ้งความหนังสือเดินทางหาย
    2. สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และ สำเนาหนังสือเดินทางเล่มเดิม
    3. ภาพถ่ายขนาดเดียวกับที่ใช้ในหนังสือเดินทางจำนวน 3 รูป
    4. แบบฟอร์มคำร้องขอหนังสือเดินทาง จำนวน 2 ชุด
    5. บันทึกสอบสวน จำนวน 2 ชุด
    6. บันทึกประกอบคำร้องกรณีหนังสือเดินทางสูญหาย จำนวน 2 ชุด
  2. หลักฐานที่ต้องใช้ในกรณีหนังสือเดินหมดอายุ
    1. สำเนาบัตรประชาชน สำเนา ทะเบียนบ้าน และสำเนาหนังสือเดินทางเล่มเดิม
    2. ภาพถ่ายขนาดเดียวกับที่ใช้ในหนังสือเดินทางจำนวน 3 รูป
    3. แบบฟอร์มคำร้องขอหนังสือเดินทางชั่วคราว จำนวน 2 ชุด
    4. บันทึกสอบสวน จำนวน 2 ชุด
    5. ค่าธรรมเนียม หนังสือเดินทาง 50 ฟรังก์สวิส

กรณีคนไทยใน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์หนังสือเดินทางสูญหาย

กรณีคนไทยใน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์หนังสือเดินทางสูญหาย และประสงค์จะยื่นขอหนังสือเดินทาง เล่มใหม่กับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น ให้ดำเนินการดังนี้

ขั้นตอนการดำเนินการ
  1. แจ้งความที่สถานีตำรวจเพื่อเอาใบแจ้งความมาประกอบการทำหนังสือเดินทาง
  2. ดาวน์โหลดและกรอกแบบฟอร์มคำร้องขอหนังสือเดินทาง )จำนวน 2 ชุด
  3. เตรียมภาพถ่ายขนาดเดียวกับที่ใช้ในหนังสือเดินทางจำนวน 4 รูป
  4. ดาวน์โหลดและกรอกบันทึกสอบสวน จำนวน 2 ชุด
  5. ดาวน์โหลดและกรอกบันทึกประกอบคำร้องกรณีหนังสือเดินทางสูญหาย จำนวน 2 ชุด
  6. เตรียมสำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านหรือใบสูติบัตร
  7. นำใบแจ้งความ พร้อมเอกสารประกอบข้างต้นมานที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น Kirchstrasse 56 3097 Liebefeld, Bern
  8. เตรียมค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทางจำนวน 50 ฟรังก์สวิสและ 5 ฟรังก์สวิสเพื่อเป็นค่าประทับตราในหนังสือเดินทางและอีก 5 ฟรังก์สวิสเพื่อเป็นค่าไปรษณีย์ส่งกลับ โดยจ่าหน้าซองจดหมายชื่อและที่อยู่ถึงตัวท่านเอง
คำแนะนำในการเก็บรักษาหนังสือเดินทางอีเล็กทรอนิกส์
  1. ห้ามขีด เขียน แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลภายในเล่มหนังสือเดินทางอีเล็กทรอนิกส์
  2. ห้ามแกะ ตัด เย็บ เจาะรู หรือกระทำใด ๆ ที่อาจทำให้ปกหนังสือเดินทางอีเล็กทรอนิกส์ได้รับความเสียหาย
  3. ห้ามตัด งอ บิด หรือกระทำใด ๆ ที่อาจทำให้หนังสือเดินทางอีเล็กทรอนิกส์ยับย่น หรือเปลี่ยนรูปไปจากเดิม
  4. ไม่ควรเก็บหนังสือเดินทางไว้ในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก หรือสนามไฟฟ้าสูง และบริเวณที่มีคลื่นความถี่วิทยุ เช่น โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ หรือไมโครเวฟ
  5. หลีกเลี่ยงการวางวัตถุสิ่งของที่มีน้ำหนักมากบนหนังสือเดินทางอีเล็กทรอนิกส์
  6. ควรเก็บหนังสือเดินทางอีเล็กทรอนิกส์ไว้ในห้องที่แห้ง อากาศเย็น ไม่อับชื้น
  7. หลีกเลี่ยงการนำหนังสือเดินทางอีเล็กทรอนิกส์เข้าใกล้วัตถุที่มีความร้อนซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า 50 องศาเซลเซียส สถานที่มีแสงแดดส่องถึงเป็นเวลานาน สถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เปียกแฉะ สัมผัสน้ำ หรือสถานที่ใกล้สารเคมีต่าง ๆ รวมทั้งสถานที่ที่มีฝุ่นละออง
  8. กระทรวงการต่างประเทศจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับหนังสือเดินทางอีเล็กทรอนิกส์ อันเนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น

คำถาม-คำตอบ
เกี่ยวกับหนังสือเดินทาง

ถาม: หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มีกี่ประเภท?

ตอบ: มี 4 ประเภท ได้แก่
  1. หนังสือเดินทางทูต
  2. หนังสือเดินทางราชการ
  3. หนังสือเดินทางบุคคลทั่วไ/ป
  4. หนังสือเดินทางฮัจญ์


ถาม: ทางไปรษณีย์สามารถยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้หรือไม่?

ตอบ: ไม่ได้ เพราะหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการบันทึกข้อมูลชีวภาพ อาทิ ลายนิ้วมือ รูปใบหน้า ของผู้ร้องจึงต้องมาด้วยตนเอง

ถาม: หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถต่ออายุได้หรือไม่?

ตอบ: ไม่ได้ หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มีอายุใช้งานเพียง 5 ปีและเมื่อหมดอายุแล้วไม่สามารถต่ออายุได้อีก

ถาม: การยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

ตอบ: เอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้
สำหรับผู้ยื่นคำร้องฯที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ต้องยื่นเอกสารเพิ่ม ดังนี้
  • หนังสือเดินทางเล่มปัจจับัน พร้อมสำเนา 1ชุด
  • สำเนาบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
  • รูปถ่ายสีขนาด 2 นิ้ว 1 รูป
  • ซองจดหมายจ่าหน้าซองถึงตัวท่านเองพร้อมติดสแตมป์ 5 ฟรังก์สวิส
  • ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง 50 ฟรังก์สวิส
  • ค่าประทับตราหมายเลขเดิมในหนังสือเดินทาง 5 ฟรังก์สวิสดังนั้นความ ข้อ 5+ 6 เท่ากับ 55 ฟรังก์สวิส
สำหรับผู้ยื่นคำร้องที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ( อายุไม่ครบ 20 ปีบิรบูรณ์) ต้องมายื่นเอกสารเพิ่ม ดังนี้
  • หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน
  • สำเนาบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
  • สำเนาสูติบัตรไทยมาจำนวน 1 ชุด
  • สำเนาทะเบียนสมรส ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
  • สำเนาหน้าบัตรประชาชน ของบิดามารดาจำนวน 1 ชุด
  • รูปถ่ายสีขนาด 2 นิ้ว 1 รูป
  • บิดาและมารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอม ที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น
สำหรับผู้ยื่นคำร้องเป็นพระภิกษุ ต้องยื่นเอกสารเพิ่ม ดังนี้
  • สำเนามติมหาเถรสมาคมอนุมัติการต่ออายุ (ออก) หนังสือเดินทาง ซึ่งระบุชื่อ และฉายาหรือนามสกุล ที่ตรงกับหนังสือเดินทางจำนวน 1 ชุด
  • หนังสือสุทธิ พร้อมสำเนา 1 ชุด
  • ทะเบียนบ้าน พร้อมด้วยสำเนา 1 ชุด


ถาม: การมายื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องทำการนัดหมายล่วงหน้าหรือไม่?

ตอบ: ต้องนัดหมายล่วงหน้า ทั้งนี้ก็เพื่อผลประโยชน์ของผู้ร้องเอง กล่าวคือ แต่ละวันมีผู้ร้องจำนวนมาก แต่ สถานเอกอัครราชทูตฯ สามารถรับคำร้องได้ในจำนวนที่จำกัด นอกจากนั้นเอกสารของผู้ร้องบางคนไม่ ถูกต้องครบถ้วนทำให้ไม่สามารถยื่นคำร้องได้ยังผลให้ผู้ร้องต้องเสียเวลาและค้าใช้จ่ายในการเดินทางโดย เปล่าประโยชน์ ดังนั้นท่านสามารถนัดหมายออนไลน์ได้ที่ www.thaiembassy.org/bern

ถาม: E-Passport สามารถทำผ่านทางไปรษณีย์ได้ไหม?

ตอบ: ไม่ได้ เพราะว่าต้องมีการเก็บข้อมูลชีวภาพ (เช่น ลายนิ้วมือ รูปถ่าย) เพื่อบันทึกลงในเล่มหนังสือ หนังสือเดินทางดังนั้นจึงต้องมาด้วยตนเอง

ถาม: หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-passport) คือ อะไร แตกต่างจากหนังสือเดินทางแบบเดิมอย่างไร

ตอบ: เป็นหนังสือเดินทางที่มีคุณลักษณะเฉพาะทางเทคนิค (Technical Specifications) ตามข้อกำหนดของ องค์การบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ซึ่งแตกต่างจากหนังสือเดินทางแบบเดิม ดังนี้
  • มีการบันทึกข้อมูลชีวภาพ (biometric data) ได้แก่ลายพิมพ์นิ้วมือ รูปใบหน้า ไว้ใน Contactless Intergrated Circuit ซึ่งฝังอยู่ในเล่มหนังสือเดินทาง
  • สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง Automatic Gate ณ จุดผ่านแดนระหว่างประเทศ โดยมีการตรวจพิสูจน์โดยอัตโนมัติ
  • เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลในหนังสือเดินทางกับผู้ถือหนังสือเดินทางและกับฐานข้อมูลอาชญากร ผู้ก่อการร้าย


ถาม: การนัดหมายล่วงหน้าทำอย่างไร ?

ตอบ: ในปัจจุบันสถานเอกอัครราชทูต ฯ ได้เปิดนัดหมายออนไลน์ ผ่านทางเว็บไซด์ของสถานเอกอัคร- ราชทูต ณ กรุงเบิร์น โดยท่านสามารถทำการนัดหมายออนไลน์ผ่านทางเว็บไซด์ ได้ที่ www.thaiembassy.org/bern หรือสามารถนัดหมายทำหนังสือออนไลน์ได้ทางโทรศัพท์ โทร. 031 970 34 14 – 15 ระหว่างเวลา 09.00-12.00น. และระหว่างเวลา 14.00 – 17.00 น.

ถาม: การขอหนังสือเดินทางสำหรับผู้เยาว์ (อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์) บิดาและมารดา จะต้องเดินทางมาด้วยหรือไม่?

ตอบ: บิดาและมารดาจะต้องมาลงนามในสัญญายินยอมชดใช้ค่าเสียหายต่อเจ้าหน้าที่ด้วยตนเอง

ถาม: เอกสารเดินทางคนต่างด้าวคืออะไรครับ ต่างจากหนังสือเดินทางอย่างไรครับ?

ตอบ : หนังสือเดินทางเป็นเอกสารการเดินทางสำหรับผู้ที่มีสัญชาติไทยค่ะ ส่วนคนต่างด้าว ที่พำนักอยู่ในเมืองไทย มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ที่ออกให้โดย ต.ม. แต่ไม่สามารถขอหนังสือเดินทาง จากประเทศที่ตนเคยมีสัญชาติเดิม สามารถขอเอกสารเดินทางคนต่างด้าว (TD) ซึ่งมีอายุการใช้งาน 1 ปี และสามารถต่ออายุ ได้ที่กองตรวจลงตราฯ เพื่อใช้เดินทาง ไปต่างประเทศชั่วคราวได้ค่ะนอกจากคนต่างด้าวที่มีใบถิ่นที่อยู่แล้ว บุคคลไร้สัญชาติ ที่พำนักอยู่ในประเทศไทยและคนต่างด้าวทีได้รับถิ่นที่อยู่ถาวรภายใต้โครงการลงทุนเป็นกรณี พิเศษ10 ล้านบาท ก็มีสิทธิยื่นขอ TD ได้เช่นกันค่ะ เอกสารประกอบต่างๆ ในการขอ TD ปรากฎ ใน www.consular.go.th หรือ www.mfa.go.th ค่ะ

ถาม: พอได้รับ TD แล้วต้องทำอะไรบ้างครับ?

ตอบ: อย่างแรกที่ต้องทำคือไปยื่นคำร้องขอ Re-entry Permit จากสำนักงาน ต.ม. ค่ะ สำนักงาน ต.ม. จะออก Re-entry Permit ให้โดยมีอายุเท่ากับ TD จากนั้น ก็นำ TD ไปขอ visa เข้าประเทศที่คุณจะเดินทางไปจากสถานทูตของประเทศนั้นๆ ค่ะ

ถาม: คุณแม่ของผมเป็นคนต่างด้าว แต่ตอนนี้มีหนังสือเดินทางจีนอยู่ด้วย จะขอ TD ได้ไหมครับ?

ตอบ : กรมการกงสุลไม่สามารถออก TD ให้กับบุคคลที่มีหนังสือเดินทางของประเทศอื่นค่ะ ในกรณีเช่นนี้ คุณแม่ของคุณสามารถใช้หนังสือเดินทางจีนเดินทางออกจากเมืองไทยได้ค่ะ แต่ควรปรึกษากับ ต.ม. ก่อนล่วงหน้าให้แน่ใจว่าต้องดำเนินการอะไรหรือไม่ถึงจะสามารถเดินทาง กลับเข้ามาเมืองไทยได้อย่างไม่มีปัญหา

ถาม: คุณพ่อผมเป็นคนต่างด้าว อยากให้ท่านได้รับสัญชาติไทย จะได้เปลี่ยนจากถือ TD เป็นหนังสือเดินทางไทย ต้องทำอย่างไรบ้างครับ?

ตอบ : การได้สัญชาติไทยอยู่ในอำนาจการพิจารณาของกระทรวงมหาดไทยค่ะ คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ ในเมืองไทยและประสงค์จะได้สัญชาติไทย ต้องไปยื่นคำร้องขอที่กองตำรวจสันติบาล สามารถขอคำแนะนำในเบื้องต้นได้ที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุลค่ะ

ถาม: สามารถขอต่ออายุ TD ในต่างประเทศได้ไหมครับ คุณลุงของผมเป็นคนต่างด้าว ใช้ TD เดินทางไปเยี่ยมญาติที่เกาหลีใต้ แล้วไปล้มป่วยอยู่ที่นั่น เกรงว่า TD จะหมดอายุ เสียก่อนที่ท่านจะหายป่วยและเดินทางกลับได้?
ตอบ: ในหลักการแล้ว สถานทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ไม่สามารถต่ออายุ TD ให้ได้ค่ะ หากผู้ที่ถือ TD ไม่เดินทางกลับประเทศไทยระหว่างที่ TD และ Re-entry Permit ยังมีอายุอยู่ สถานะของคนต่าง ด้าว ที่ได้รับใบถิ่นที่อยู่ก็จะได้รับผลกระทบไปด้วยนะคะหากเป็นกรณีที่สุดวิสัยจริงๆ เช่น กรณี หากเจ็บป่วยจริงๆในต่างประเทศ ขอให้ติดต่อสถานทูตสถานกงสุลใหญ่ของไทยที่อยู่ใกล้ ที่สุดพร้อมแสดงหลักฐานประจำตัวต่างๆรวมถึงใบรับรองแพทย์ค่ะและสถานทูตหรือสถานกงสุล กิตติมศักดิ์จะหารือกับกองตรวจลงตราฯ กรมการกงสุลเพื่อช่วยหาทางออกให้ต่อไปค่ะ

ถาม: นอกจากหนังสือเดินทางและเอกสารเดินทางคนต่างด้าวแล้ว ผมเคยได้ยินว่า มีเอกสารที่เรียกว่า Emergency Certificate ด้วย คืออะไรครับ?

ตอบ: Emergency Certificate หรือ EC คือเอกสารการเดินทางที่กองตรวจลงตราฯ กรมการกงสุล ออกให้กับคนต่างชาติในการเดินทางออกจากเมืองไทยแบบฉุกเฉินค่ะ กลุ่มคนต่างชาติที่มีสิทธิ ขอ EC เป็นคนกลุ่มพิเศษที่ไม่สามารถยื่นขอหนังสือเดินทางของประเทศใดๆ ในเมืองไทยได้ เช่น (1) คนต่างชาติที่ทำหนังสือเดินทางหาย และไม่มีสถานทูตของตนตั้งอยู่ในเมืองไทย (2) บุตรของคนต่างชาติที่เกิดในเมืองไทย แต่ไม่ได้รับสัญชาติไทย และไม่มีสถานทูต ของตนตั้งอยู่ในเมืองไทย (3) เด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยที่อยู่ในความดูแลของกรมพัฒนาสังคม และสวัสดิการ (4) คนต่างชาติที่ลี้ภัยทางการเมืองมาอยู่ในเมืองไทย

รวบรวมและเรียบเรียงโดย
นาง วรรณา สุดจิตร เลขานุการเอก ( ฝ่ายกงสุล )
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น



ที่มา  ::      http://thaiembassybern.org/th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น