Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

พัฒนาการทารก อายุ 11 เดือน

พัฒนาการทารก อายุ 11 เดือน




พัฒนาการทารก อายุ 11 เดือน


พัฒนาการเด่น   “ หนูอยากทำเอง”

  •   ขณะนี้ลูกจะเริ่มเกาะยืน และไต่เดินตามขอบโซฟา ได้เองอย่างคล่องแคล่วขึ้น และในบางครั้ง เขาจะปล่อยมือ และเดินเองได้ 2-3 ก้าว แต่อาจจะไม่มั่นใจก้าวต่อไปจึงหยุด เด็กจะชอบการปีนบันไดมาก เขาจะพยายามปีนขึ้นบันได ไปเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ว่า จะถอยลงบันไดอย่างไร (ใช้เวลาอีกเกือบ 1-2 เดือน ที่จะรู้วิธีนำตัวเองลงบันไดมาได้เอง อย่างปลอดภัย) คุณต้องดูแลใกล้ชิด อย่าปล่อยลูกไว้ใกล้บันไดตามลำพังเป็นอันขาด ระวังตกบันได

  •   ช่วงนี้ลูกจะมีโอกาสหกล้ม หรือเดินกระแทกอะไรบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรุนแรงนัก เด็กบางคนจะอดทน ไม่ร้องไห้ง่ายๆ และคุณควรให้โอกาสเขาได้ลุกขึ้นเอง และตอบสนองกับเขาในเชิงบวก เช่น “ลูกดูซิ ชนถูกตรงนี้อีกแล้ว คราวหน้าระวังนะ” หรือ “ ไม่เป็นไรลูก ลุกขึ้นมา “ จะดีกว่า “โอ๋ โอ๋ เจ็บมากไหมลูก ใครมาแกล้งทำให้ลูกเจ็บ เดี๋ยวจะไปตีให้ร้องเลย” เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ว่า อุบัติเหตุที่ทำให้เขาเจ็บตัวนั้น เกิดขึ้นเพราะเขาไม่ทันระวัง คราวหน้าถ้าเขาระวังก็จะไม่เจ็บตัวอีกจะดีกว่า การสอนให้เขาเข้าใจว่าการที่เขาเจ็บตัวนั้น เป็นเพราะมีคนแกล้ง และจะต้องทำร้ายกลับ เพื่อแก้แค้นที่มาทำให้ลูกเจ็บ

  •  คุณพ่อคุณแม่หลายคนจะตื่นเต้นที่ลูกเริ่มหัดเดิน จึงจะคอยกังวลว่า ลูกเดินเป๋ เดินเท้าปัดๆ (toddler gaits) ทั้งๆ ที่ส่วนใหญ่จะเป็นการเดินของเด็กเล็กที่ยังไม่คล่องนักเท่านั้น โดยจะเห็นว่า ลูกจะเดินขากางๆ และปลายเท้าแบะออกบ้าง (เพื่อการทรงตัว) ทำให้หลายคน ไปวิ่งหาซื้อหรือ ตัดรองเท้าดัดขา (orthopedic shoes) ใส่กัน ซึ่งส่วนใหญ่ จะไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องใช้รองเท้าพิเศษนี้ เพราะเมื่อลูกเดินได้คล่องขึ้น ท่าทางเดินขากางๆ หรือเท้าแบะเล็กน้อยนี้ก็จะหายเองเป็นปกติเมื่อโตขึ้น และที่จริงแล้ว เมื่ออยู่ในบ้าน (ในห้อง)ที่พื้นสะอาดดี เด็กควรจะเดินเท้าเปล่า เพื่อที่จะได้หัดการทรงตัว และฝึกกล้ามเนื้อของขา และเท้าได้ดีขึ้น ให้ระวังพื้น ที่จะลื่นมากๆ เช่น พื้นหินอ่อน พื้นไม้ปาเก้ขัดมัน หรือพื้นที่เปียกลื่น ที่จะทำให้เด็กหกล้มศีรษะกระแทก เป็นอันตรายได้

  • การใช้งานของมือ,นิ้ว และการประสานงานระหว่างมือและสายตา (Hand-eye coordination) ซึ่งเป็นการสั่งงานของสมอง ที่ซับซ้อนขึ้น (Higher brain functions) ทำให้มีการใช้กล้ามเนื้อทั้งมัดใหญ่ และมัดเล็ก จะดีขึ้น และนุ่มนวลขึ้น เด็กยังสนใจ ที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรงและผิวสัมผัสของสิ่งของต่างๆ ที่เขาสามารถจะคว้ามา “ทำการสำรวจ” ได้ เขาจะเริ่มแยกแยะ ของต่างๆ ได้ดีขึ้น และจะเริ่มมีคอนเซปต์ ที่ว่า ของชิ้นเล็กจะสามารถใส่เข้าไปในของชิ้นใหญ่ได้ ขณะที่ของชิ้นใหญ่ จะไม่สามารถใส่เข้าไปในของชิ้นเล็กได้ คุณพ่อคุณแม่หลายคนจะตื่นเต้นที่ลูกชอบ “อ่านหนังสือ (ดูรูป) “ ทำให้เกิดความคาดหวังว่าจะสามารถกระตุ้น ให้เด็กเรียนเร็ว โดยการพยายามใช้ แฟลชการด์ (บัตรตัวอักษร, คำ หรือรูปภาพ) มาสอนเด็กซ้ำๆ เพื่อให้เด็กจำได้ แต่อายุขนาดนี้ นั้นจะยังไม่พร้อม อยากให้คุณแม่เข้าใจให้ถูกต้องว่า “ขบวนการเรียนรู้นั้น เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ” และจะดำเนินไปเอง เมื่อเด็กพร้อม ในช่วงนี้การอ่านหนังสือด้วยกันนั้นจะเป็นในแง่ที่ทำให้เขามีสัมพันธภาพ (bonding) ที่ดีกับคุณ และเป็นการทำให้เขาคุ้นเคยกับหนังสือและการอ่านเท่านั้น

  • ในแง่ของสติปัญญา ( intellectual milestone) ลูกจะเริ่มมีคอนเซปต์ ของระยะและขนาดบ้าง (perspective) เขาจะเริ่มรู้ว่า ของอยู่ใกล้หรือไกล และของที่อยู่ใกล้จะดูเหมือนใหญ่กว่าของที่อยู่ไกลออกไป เด็กบางคนจะเริ่มส่งเสียงที่พอฟังออกว่า เป็นคำที่มีความหมายได้บางคำ ซึ่งเดิมเคยเชื่อว่า จะเป็นสัญญานบอกว่า จะเป็นเด็กฉลาด แต่ในปัจจุบันพบว่า การที่เด็กพูดได้เป็นคำบ้าง ในช่วงอายุนี้ไม่ได้บ่งถึงความฉลาดเป็นพิเศษกว่าเด็กอื่น เพราะว่า ในตอนนี้เด็กจะยังเลียนเสียงผู้ใหญ่แบบนกแก้วฝึกพูดมากกว่าจะเข้าใจในความหมายของคำทั้งหมดที่พูดออกมา ลูกจะรู้จักคำต่างๆ ได้มากกว่า 10 คำ และจะทำตามคำบอกง่ายๆ ได้หลายอย่าง ช่วงนี้คุณจะสามารถเริ่มสอดแทรกคำว่า “คะ, ครับ” หรือทำโทนเสียง ที่สุภาพให้เขาเข้าใจได้ ในเวลาพูดกับเขา

  • ในช่วงนี้ลูกจะนอนน้อยลงในเวลากลางวัน เด็กบางคนจะนอนตอนสายและตื่นมาทานมื้อกลางวัน ซึ่งทำให้เขาง่วงนอนงอแง เมื่อถึงตอนเย็น คุณจะสามารถเริ่มฝึกให้เขาไม่นอนตอนสาย แต่เลื่อนมาเป็นนอนตอนบ่าย หลังมื้อเที่ยงแทน ซึ่งจะทำให้เขาไม่งอแงนักในตอนเย็น และสามารถเข้านอนตอนหัวค่ำได้ และหลับได้นานตอนกลางคืน

  • บทบาทของคุณพ่อและคุณแม่ ที่ช่วยกันในการเลี้ยงดู และเล่นกับเขานั้น มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกัน เพราะไม่ว่าจะเป็นการเล่นแบบอย่างคุณแม่ หรือแบบอย่างคุณพ่อก็จะเป็นการส่งเสริมให้ลูกได้เรียนรู้มากขึ้น และมีความหลากหลาย ในแนวทางความคิด และการกระทำ ฯลฯ ทำให้เขาพร้อม ที่จะออกสู่โลกภายนอกรอบตัวเขามากขึ้น ช่วงนี้ลูกยังต้องการการโอบกอด, การหอมแก้ม และการอยู่ใกล้คุณ,เล่นกับคุณ ไม่ต้องห่วงว่าจะทำให้เขาติดคุณและเสียนิสัยหรือจะเป็นการเอาใจจนเคยตัว เด็กเรียนรู้ผ่านทางการเล่น และการทำซ้ำๆ จนเกิดความชำนาญ บนพื้นฐานของความรัก ความเอาใจใส่ ที่คุณพ่อคุณแม่ให้กับเขา





ที่มา  ::   http://www.baby2talk.com


6 ความคิดเห็น:

  1. พัฒนาการทางร่างกายและการส่งเสริม ลูกน้อย 11เดือน

    พัฒนาการทางร่างกายนั้นมีส่วนช่วยมากๆ หรือเป็นตัวหลักเลยก็ว่าได้ที่จะช่วยลูกน้อยในการพัฒนาการทางด้านอื่นๆ หากเราจะยกตัวอย่าง ก็อาทิเช่น เมื่อร่างกายมีพัฒนาการทางร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ย่อมทำให้การเรียนรู้ หรือการทำกิจกรรมต่างๆนั้นทำได้เต็มที่ และในตอนนี้ลูกน้อยของคุณก็ 11 เดือนแล้ว อีกเพียงแค่เดือนเดียวเท่านั้นก็จะครบรอบอีกหนึ่งรอบนับตั้งแต่วันแรกที่พวกเขาลืมตาดูโลกแล้ว หากมองย้อนไปตอนนี้ลูกน้อยของเราทำอะไรได้ตั้งหลายอย่างแล้ว และวันนี้เราจะมาบอกกล่าวเรื่องราวของพัฒนาการทางของลูกน้อยกันต่อ โดยพัฒนาการในบทความนี้เราจะมาขอนำเสนอเรื่อง พัฒนาการทางร่างกาย ว่าวัยนี้ 11 เดือนแล้ว ลูกน้อยสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง และที่เราบอกว่าส่งเสริมในด้านต่างๆ มันจะช่วยส่งเสริมอะไรได้บ้าง เรามาติดตามกันเลย

    พัฒนาการทางร่างกายของลูกน้อยวัย 11 เดือนที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน รวมไปถึงการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของลูกน้อยวัย 11 เดือน ได้แก่

    1. พัฒนาการทางร่างกายของลูกน้อยวัย 11 เดือน คือ ลูกน้อยสามารถยืนเองได้เองแล้ว โดยการยืนคือเขาสามารถเหยียดขาตรงได้ รวมไปถึงสามารถใช้มือยันและยกตัวขึ้นได้อีกด้วย” แต่ในเด็กบางคนนั้นอาจจะยังไม่มีพัฒนาการทางร่างกายที่แข็งแรงถึงขึ้นนั้น อาจจะต้องหาที่ยึดเหนี่ยว หรือหาสิ่งของเพื่อช่วยพยุงและก้มตัวเองได้ อาทิเช่น พวกเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน หรืออาจจะเป็นโต๊ะเก้าอี้ ดังนั้นคุณควรพยายามนำสิ่งที่ยึดเหนี่ยวที่มีล้อเลื่อนออกไป เพราะหากลูกน้อยกำลังพยายามเดิมและไปยึดเกาะสิ่งของที่มีล้อเลื่อนนั้น อาจจะทำให้ลูกน้อยเกาะแล้วไหลออกไป สุดท้ายก็จะนำมาซึ่งอุบัติเหตุนั่นเอง

    2. พัฒนาการทางร่างกายของลูกน้อยวัย 11 เดือน ประการที่ 2 คือ “ลูกน้อยสามารถยืนได้แล้ว หากมองในเรื่องของการนั่งกันบ้าง หากลูกของคุณนั่งยองๆอยู่ ตอนนี้เขาสามารถยืนขึ้นได้จากท่านั่งยองๆแล้วนะ แต่ในส่วนของการนั่ง คือตอนนี้กล้ามเนื้อบริเวณคอไม่ใช่ปัญหาแล้ว เขามีกล้ามเนื้อคอที่แข็งแรงมากขึ้นกว่าเดิม ย่อมทำให้การนั่งปกติสามารถทำได้แล้วนั่นเอง”

    3. พัฒนาการทางร่างกายของลูกน้อยวัย 11 เดือน ประการที่ 3 คือ “จากในตอนแรกที่เราเห็นลูกน้อยของเรานั้นสามารถที่จะคลาน ต้องบอกว่าคลืบคลานขึ้นบันได ตอนนี้ลูกน้อยวัย 11 เดือนนั้นมีความสามารถมากขึ้นไปกว่าเดิม เพราะตอนนี้สามารถเดินขึ้นบันไดได้บ้างแล้ว แต่อาจจะยังไม่คล่องนักก็ตาม”

    4. พัฒนาการทางร่างกายของลูกน้อยวัย 11 เดือน ประการที่ 4 “ตอนนี้ลูกน้อยสามารถที่จะเดินได้โดยจับมือคนอื่นไว้หนึ่งถึงสองมือ ต้องบอกว่าคุณพ่อคุณแม่ทราบแบบนี้แล้ว ก็อย่าลืมช่วยพยุงพวกเขา ลุกขึ้นมาเดิน โดยให้จับมือเรานะ เห็นภาพแบบนั้นแล้วคงจะดูอบอุ่น เป็นครอบครัวที่น่ารักมากๆเลยทีเดียว”


    ...

    ตอบลบ
  2. 5. พัฒนาการทางร่างกายของลูกน้อยวัย 11 เดือน ประการที่ 5 “กล้ามเนื้อมือมีความแข็งแรงกมากขึ้นประจวบกับพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นตามลำดับ ทำให้ตอนนี้ลูกน้อยของคุณๆทั้งหลายสามารถใช้มือตักอาหารอย่างเป็นลำดับขั้นตอนได้แล้ว เพราะว่าจากคราวที่แล้วที่เราเคยบอกกันไว้ในส่วนของพัฒนาการทางสมองว่า ตอนนี้การคิดหรือการเรียนรู้ของพวกเขานั้นมีลำดับขั้นตอนมากขึ้น ส่งผลให้แม้แต่การใช้มือตักอาหารก็ยังเป็นลำดับขั้นตอนมากกว่าเมื่อก่อนอีกด้วย”

    6. พัฒนาการทางร่างกายของลูกน้อยวัย 11 เดือน ประการที่ 6 คือ “ตอนนี้พัฒนาการทางสมองของพวกเขาเริ่มมีมากขึ้น นอกจากจะทำอะไรเป็นลำดับ คือเรียงลำดับในสมองและทำออกมาแล้ว ในเรื่องของการทำหลายๆพร้อมๆกันตอนนี้พวกเขาหรือลูกน้อยของคุณก็สามารถทำได้แล้วนะ โดยการทำอะไรในเวลาเดียวกันได้นั่น อาจจะมองไม่เห็นภาพดังนั้นเราจะลองยกตัวอย่างที่สามารถเป็นไปได้ว่าเด็กวัยนี้ สามารถทำอะไรพร้อมๆกันได้บ้าง อาทิเช่น ลูกน้อยสามารถที่จะนั่งยองๆ ได้แล้ว และในขณะที่ตนเองกำลังนั่งยองๆอยู่นั่นเอง มือของพวกเขาก็สามารถที่จะหยิบของเล่น และส่งให้อีกมือให้ถือไว้ได้อีกด้วย”

    เห็นไหมละว่าตอนนี้ลูกน้อยของคุณมีพัฒนาการทางร่างกายที่มากขึ้นเรื่อยๆตามลำดับ ดังนั้นแล้วในเรื่องของการเคลื่อนไหวทำกิจกรรมต่างๆได้นั้นก็เป็นเรื่องที่ควรส่งเสริมมาก สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือการปล่อยให้พวกเขาได้ลองผิดลองถูกในทุกๆเรื่อง ที่มีฐานของความปลอดภัยรองรับ เช่น อาจจะปล่อยให้พวกเขาสามารถเดินไปไหนมาไหนได้ โดยอำนวยพวกอุปกรณ์ยึดเหนี่ยว โดยจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมนั่นเอง อีกทั้งสิ่งที่ไม่ควรอย่างยิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรทำ เพราะการกระทำต่อไปนี้ย่อมทำให้พัฒนาการทางร่างกายของลูกน้อยลดน้อยลง แต่อาจจะทำให้ลูกน้อยของคุณอาจจะยังไม่สามรถเดินได้ นั่นก็คือ การอุ้มพวกเขาบ่อยๆ เพราะการอุ้มพวกเขาบ่อยๆนั้นทำให้พวกเขาไม่ชอบการเดิน รวมไปถึงเมื่อลูกน้อยต้องการอะไรคุณพ่อคุณแม่ก็รีบสรรหามาให้ หยิบยื่นให้ ทำให้ลูกน้อยของคุณมองว่าการเดินไปหยิบหรือการเดินนั้นเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญเพราะว่าคุณพ่อคุณแม่ก็สามารถที่จะอุ้มและหยิบยื่นของที่ต้องการได้ ห้ามทำแบบนี้เด็ดขาดเลย เพราะว่าจะทำให้พัฒนาการทางร่างกายของลูกน้อยของคุณไม่พัฒนาและอาจจะทำให้เขาเดินได้ช้าอีกด้วย



    .

    ตอบลบ
  3. พัฒนาการทางร่างกายและการส่งเสริม ลูกน้อย 10 เดือน

    ก่อนอื่นต้องขอสวัสดีทุกท่านก่อน วันนี้เรายังคงเหมือนเดิม ยังคงไม่ไปไหนไกล ยังคงจะมารวบรวมความรู้ที่เกี่ยวข้องกันกับการเลี้ยงดูลูกน้อย โดยที่เราบอกกล่าวกันมาตั้งแต่ต้น เราก็ยังคงอยู่ในเรื่องของพัฒนาการทางด้านต่างๆของลูกน้อยเหมือนเดิม แต่มาในบทความนี้ ตอนนี้ ต้องบอกว่าลูกน้อยของคุณอายุกันเท่าไหร่แล้วเอ่ย พวกเขาเริ่มที่จะทำอะไรได้แล้วบ้างนะ ที่ต้องกล่าวแบบนี้เพราะว่าตอนนี้ ลูกน้อย 10 เดือนแล้วนะ แน่นอนว่าความแข็งแรงและความกล้าย่อมมีมากขึ้น แต่อาจจะยังไม่กล้าเต็มร้อย หากเราพูดกันในเรื่องของความแข็งแรง ความกล้า รวมไปถึงการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อแล้ว แน่นอนว่าในตอนนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง “พัฒนาการทางร่างกาย” ของลูกน้อยวัย 10 เดือน ว่าแต่ในลูกน้อยวัย 10 เดือนนี้พวกเขาจะสามารถทำอะไร หรือริเริ่มเรื่องอะไรที่เกี่ยวข้องกับร่างกาย การเคลื่อนไหวบ้างนั้น เรามาติดตามดูกันเลย

    พัฒนาการทางร่างกายของลูกน้อยวัย 10 เดือน ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะสังเกตได้ชัดเจน

    พัฒนาการทางร่างกายของลูกน้อยวัย 10 เดือนที่คุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะสังเกตได้ชัดเจนว่าจะมีอะไรบ้าง รวมไปถึงพัฒนาการทางร่างกายที่คุณพ่อคุณแม่เองสามารถที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายนั้นมีอะไรบ้าง โดยเราจะบอกกันเป็นเรื่องๆไป มาดูกันเลย

    - พัฒนาการทางร่างกายของลูกน้อยวัย 10 เดือน เรื่องแรกคือ พัฒนาการทางร่างกายที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อส่วนขา นั่นคือเรื่องของการยืน, เดิน, และนั่งนั่นเอง

    • การยืนของลูกน้อยวัย 10 เดือน
    หากเราพูดถึงเรื่องของการยืนนั้น จากแต่ก่อนที่ลูกน้อยชองเรานั้นสามารถที่จะยืนได้ แต่ในการยืนนั้นอาจจะไม่ใช่การยืนที่มั่นคง ที่เราบอกว่าไม่มั่นคงนั้นหมายความว่า การยืนของเขาจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องเรือน หรือเฟอร์นิเจอร์เพื่อทำการเกาะหรือพยุงตัวเอง แต่เมื่อมาถึงวัยนี้แล้ว หากเรามองในเรื่องของการยืน คือมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เขาสามารถที่จะยืนเองได้อย่างมั่นคงแล้ว ยืนได้เองโดยไม่ต้องพึ่งอะไรแล้วพึ่งใครนั่นเอง ก็ถือว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งที่ยิ่งใหญ่เลยที่ถือว่าสำเร็จไปแล้วในเรื่องของพัฒนาการทางร่างกายของลูกน้อยที่เกี่ยวข้องกับการเดินนั่นเอง


    ...

    ตอบลบ
  4. • การเดิน
    จากเรื่องของการยืนถือว่าลูกน้อยวัยนี้ มีพัฒนาการทางด้านร่างกายที่ไปในทางที่ดีขึ้น ทำให้พวกเขาสามารถที่จะยืนได้เองแล้ว ถ้าหากว่าเรามองในเรื่องของการเดินนั้น ต้องบอกว่าเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น ทั้งนี้ที่ลูกน้อยไม่สามารถเดินได้อย่างมั่นคงนั้น เหตุผลหลักๆของพวกเขาเลยก็คือ พวกเขายังมีความกลัวที่จะล้ม และไม่มีความมั่นใจมากพอที่ก้าวขานั่นเอง จึงทำให้ในช่วงของลูกน้อยวัย 10 เดือนนั้นหากว่าเราจะพูดในเรื่องของการเดิน สิ่งที่พวกเขาพอจะทำได้ในวัยนี้ก็คือ พวกเขาสามารถที่จะเดินได้บ้างนิดหน่อยโดยอาจจะต้องมีอะไรช่วย แต่ได้เพียงไม่มากหรือเล็กน้อยเท่านั้น อาทิเช่น พวกเขาสามารถที่จะเดินไปรอบๆ เครื่องเรือนได้ สามารถที่จะปีนขึ้นลงเก้าอี้ได้ สามารถที่จะคลานได้โดยที่ขาเหยียดตรงแล้ว และสุดท้ายคือพวกเขาสามารถที่จะก้าวเดินได้ โดยที่มีคนจับทั้งสองมือไว้จูงเดินนั่นเอง ดังนั้น การส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของลูกน้อยวัย 10 เดือนที่คุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะกระทำได้ในตอนนี้คือ “คุณพ่อคุณแม่จะต้องเป็นผู้ใช้สองมือจับมือลูกในการช่วยก้าวเดินนั่นเอง โดยการที่ช่วยเขาเดินนั้นเขาจะมีความมั่นใจในการลองก้าวเดินมากขึ้น และหากว่าลองทำซ้ำบ่อยๆ ลูกน้อยของคุณก็จะมีความมั่นใจในการเดินมากขึ้น อีกทั้งยังไม่กลัวต่อการเดินล้มมากกว่าเดิมอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามส่งเสริมได้ แต่อย่าคาดหวังว่าลูกน้อยของเราจะสามารถเดินได้เก่งในทันใด ขึ้นชื่อว่าพัฒนาการ อาจจะต้องใช้เวลาบ้างเพราะว่าทั้งนี้เด็กบางคนก็อาจจะยังไม่ยืนหรือก้าวให้เห็น แต่อีก 2-3 เดือนต่อไปเชียวละ แต่รับรองว่าเมื่อถึงเวลานั้นพวกเขาจะสามารถก้าวเดินได้อย่างรวดเร็วแน่นอน”

    • การนั่ง
    ต่อมาคือเรื่องของการนั่ง ลูกน้อยของคุณสามารถที่จะนั่งลงจากท่ายืนได้ หรืออาจจะท่านั่งสามารถลงมานอนคว่ำได้นั่นเอง

    - พัฒนาการทางร่างกายของลูกน้อยวัย 10 เดือน ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของกล้ามเนื้อมือ มีอะไรบ้างมาดูกัน

    จากที่เราดูในส่วนของพัฒนาการทางด้านของกล้ามเนื้อขา ในเรื่องของยืน นั่ง เดินกันไปแล้ว ต่อมาคือกล้ามเนื้อมือ นิ้ว เรามาดูกันว่าลูกน้อยของเรานั้นสามารถที่จะทำอะไรได้แล้วบ้างหนอ
    ในตอนนี้ลูกน้อยของคุณสามารถที่จะถือของเล็กๆ สองชิ้นไว้ในมือเดียวได้แล้ว รวมไปถึงใช้มือข้างหนึ่งถือของได้แล้ว และเหลือมืออีกข้างหนึ่งพวกเขาก็สามารถใช้มือนั้นทำอย่างอื่นได้อีกด้วย ยังไม่เพียงเท่านั้นเขายังสามารถที่จะปล่อยของออกจากมือได้แล้ว แต่ก็อาจจะยังงุ่มง่ามอยู่ก็ตามที และสุดท้ายคือถือถ้วยหัดดื่มกินเองได้แล้ว

    เห็นไหมละ ว่าตอนนี้พัฒนาการทางร่างกายของลูกน้อยวัย 10 เดือนถือว่ามาไกลแล้วละ ตั้งแต่วันแรกที่เกิดออกมาจนถึงวันนี้ที่ลูกของเรามีพัฒนาการทางที่ดีขึ้นตามลำดับย่อมทำให้คุณพ่อคุณแม่ที่เคยเหน็ดเหนื่อยจากการเลี้ยงดูก็หายเป็นปกติเลยละ แต่อย่างไรก็ตามเพื่อพัฒนาการของลูกน้อยที่ดีขึ้นอย่าลืมส่งเสริมพัฒนาการพวกเขาด้วยละ


    .

    ตอบลบ
  5. พัฒนาการทางร่างกายและการส่งเสริม ลูกน้อย 9 เดือน

    หากว่าเรามองย้อนไปเมื่อตอนแรกเกิดของลูกน้อย ดิฉันเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายคงจะดีใจไม่ใช่น้อยกับการที่จะมีบ่วงรักคล้องใจกันไม่ให้จากกันไป นั่นก็คือ ลูกน้อยกลอยใจนั่นเอง แต่ปัญหาที่มองดูแล้วอาจจะไม่สามารถใช้คำว่าปัญหาได้ ก็คือภารกิจอันยิ่งใหญ่ที่จะต้องเลี้ยงดูลูกน้อยของคุณให้มีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์รวมไปถึงมีพัฒนาการทางด้านต่างๆได้ดีควบคู่กันไปด้วย และตอนนี้ลูกน้อยของคุณก็เริ่มที่จะสามารถทำอะไรด้วยตัวเองมากขึ้นแล้วละ เพราะตอนนี้คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายทราบหรือไม่ว่า ลูกน้อยอายุ 9 เดือนแล้วนะ วันนี้ดิฉันจึงไม่พลาดที่จะมาขอนำเสนอในเรื่องของพัฒนาการในด้านต่างๆของลูกน้อยวัย 9 เดือนกัน ว่ามีอะไรแบบไหนอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางสร้างความเข้าใจในเรื่องของพัฒนาการของเด็กวัย 9 เดือนให้กับคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น รวมไปถึงการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านต่างๆของลูกน้อยว่าคุณพ่อคุณแม่สามารถทำอะไรให้เขาได้บ้าง ว่าแต่ตอนนี้เป็นตอนแรก จึงขอนำเสนอรายละเอียดในส่วนของพัฒนาการทางร่างกายของลูกน้อยวัย 9 เดือน ว่าแต่จะมีเนื้อหาอย่างไรนั้นเรามาดูกันเลย

    พัฒนาการทางร่างกายของลูกน้อยวัย 9 เดือนที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสัมผัสได้ อย่างชัดเจนมีอะไรบ้างมาดูกัน

    - ลูกน้อยเริ่มที่จะสามารถคลานได้ โดยในการคลานที่ว่านี้คือ ลูกน้อยวัย 9 เดือนนี้อาจจะคลานโดยที่ในส่วนของระยะทางคือคลานอยู่ ณ จุดใดจุดหนึ่งหมุนไปรอบๆหรือในบางครั้งก็อาจจะคลานเพื่อขึ้นบันไดก็เป็นได้

    - ยังคงอยู่ในเรื่องคลานขอลูกน้อยกันต่อ โดยที่เราบอกในส่วนของการคลานกันไปแล้วว่า ลูกน้อยคลานในลักษณะใด คลานหมุนอยู่กับที่ หรือคลานขึ้นบันได แต่อีกส่วนหนึ่งคือท่าทางเวลาที่ลูกน้อยคลาน ต้องบอกว่าวัยนี้ก็ถือว่าเกือบขวบหนึ่งแล้ว กล้ามเนื้อของพวกเขานั้นมีความแข็งแรงขึ้นมากโดยที่ลูกน้อยของคุณจะสามารถคลานโดยแขนขาเหยียดตรงได้ รวมไปถึงในบางครั้งอาจจะถือของเล่นด้วยมือหนึ่งขณะคลานไปด้วยก็ได้ ดังนั้นก็อย่าไปห้ามให้เขาถือของเล่นไปคลานไปเลยคุณพ่อคุณแม่ เพราะเขาคงกำลังฝึกบรือพัฒนาการตัวเองอยู่ยังไงละ

    - ต่อมาคือเรื่องของการยืน เอาละจากหลายๆเดือนที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าความพยายามในการตั้งไข่ของพวกเขานั้นมีมากมายเสียเหลือเกิน และต้องขอบอกว่าในตอนนี้ก็ยังไม่หมดไฟนะ รวมไปถึงการพยายามตั้งไข่ล้มต้มไข่กินนี้ไม่ได้ทำให้เขาเบื่อแต่ตรงกันข้ามกลับทำให้พวกเขาตื่นเต้นมากกว่าเดิมอีกด้วย แม้ว่าในตอนนี้พวกเขาจะมีอายุเพียงแค่9 เดือนอาจจะทำให้เดินได้ไม่มั่นคงหรือยังไม่สามารถเดินได้ด้วยตัวเองมากนัก คุณพ่อคุณแม่อาจจะช่วยจับให้ยืนดู หรืออาจจะมีการเกาะเครื่องเรือนบ้าง แต่อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ก็ควรที่จะส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของลูกน้อยวัย 9 เดือนนี้ในเรื่องของการเดินคือ พยายามให้ความปลอดภัยของเขาในเรื่องของเครื่องเรือน อย่าให้มีล้อเด็ดขาดไม่อย่างนั้นอาจจะเกิดอันตรายได้ และอาจจะมีการคอยระวังหรือสังเกตบ้างเป็นระยะ แต่อย่าเข้าไปช่วยเขา พวกเขาจะพยายามตั้งไข่เดินให้สำเร็จ แต่ในขณะเดียวกัน เด็กบางคนตอนนี้อาจจะสามารถเดินได้ดีแล้ว จนไม่ต้องคอยจับข้าวของ ก็ขอแสดงความยินดีด้วยเพราะพัฒนาการทางร่างกายของลูกน้อยนั้นดีมากๆเชียวละ


    ...

    ตอบลบ
  6. - นั่งลงจากท่ายืนได้ เพราะความสุขของลูกน้อยนั้นเกิดจากการที่พวกเขาได้ยืนนั่นเอง จึงทำให้กิจวัตรประจำวันในช่วงวัย 9 เดือนของพวกเขานั้นมักจะอยู่กับการยืน แต่ยามที่พวกเขาต้องการนั่ง ต้องบอกว่าลูกน้อยของคุณมีความสามารถมากพอที่จะนั่งได้แล้วละ โดยการนั่งก็ตามที่บอกเลย ว่าสามารถนั่งลงจากท่ายืนได้แล้ว เป็นอย่างไรกันบ้าง พัฒนาการทางร่างกายอีกก้าวที่ชัดเจนมากเชียวละ

    - เมื่อเราพูดถึงช่วงขาของลูกน้อยกันไปแล้ว ต่อมาเรามาดูกันที่นิ้วบ้าง ลูกน้อยวัย 9 เดือนนี้เขาจะมีความสนุกสนานมากกับการใช้นิ้วของเขาโดยเฉพาะการใช้นิ้วชี้ ที่ใช้ทั้งการแคะ และแหย่รู รวมไปถึงในตอนนี้พวกเขานอกจากจะใช้นิ้วชี้ได้แล้ว นิ้วโป้งก็สามารถใช้ได้ด้วยเช่นกัน โดยเขาสามารถที่จะหยิบกระดุมหรือเชือกได้ รวมไปถึงสามารถหยิบของต่างๆเข้าปากได้ อาจจะเป็นขนมปังหรือผลไม้นั่นเอง

    - อีกทั้งลูกน้อยวัย 9 เดือนของคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายยังสามารถที่จะถือขวดนมได้เองแล้ว ยังไม่เพียงเท่านั้นลูกน้อยยังสามารถที่จะดื่มนมจากถ้วยที่มีหูจับได้อีกด้วย

    เป็นอย่างไรกันบ้าง กับพัฒนาการทางร่างกายของลูกน้อยที่เราได้เห็นกันในวันนี้ มองดูแล้วดิฉันคิดว่าคุณพ่อคุณแม่คงจะภูมิใจไม่น้อยเลยใช่ไหมละ ที่ลูกน้อยของเราตอนนี้สามารถทำอะไรต่ออะไรได้มากมายหลายอย่างเลยทีเดียว เอาเป็นว่านี่คือลักษณะพัฒนาการทางร่างกายของลูกน้อยวัย 9 เดือนส่วนใหญ่ที่เด็กจะเป็นแบบนี้ กรณีนี้แต่อาจจะไม่ได้เป็นกับทุกคนจึงต้องขอบอกก่อนเด็กบางคนอาจจะมากกว่านี้หรืออาจจะน้อยกว่านี้ ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่ทราบแล้วในส่วนของที่น้อยก็ควรจะส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของลูกน้อยด้วย เพื่อให้พวกเขาเติบโตสมวัยนั่นเอง


    .

    ตอบลบ