Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2562

โรคไขมันพอกตับ

โรคไขมันพอกตับ

ไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) คือภาวะที่ไขมันเข้าไปแทรกที่เซลล์ของตับ ซึ่งหากสะสมมากกว่า 5-10% ของน้ำหนักตับ จะถือว่าเป็นภาวะไขมันพอกตับ ทำให้ตับเกิดการอักเสบ หรือเซลล์ตับตาย และเกิดพังผืดภายในตับ จนกลายเป็นโรคตับแข็งในที่สุด ซึ่งหากอาการของโรคดำเนินไปจนถึงภาวะตับแข็ง จะไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาหรือวิธีทางการแพทย์ใด ๆ ทำได้เพียงควบคุมอาการและลดปริมาณไขมันในตับลงโดยการดูแลสุขภาพมากขึ้นตามคำแนะนำของแพทย์
ไขมันพอกตับ
อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบภาวะไขมันพอกตับตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูสภาพตับได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีไขมันต่ำ เป็นต้น นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีตัวยาทางเลือกบางชนิดที่มีการวิจัยพบว่าอาจมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคนี้ แต่ก็ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่ชัดเจน เช่น วิตามินอี Ursodeoxycholic Acid สารสกัดจากพรูนัส มูเม่ (Prunus Mume) ยารักษาโรคเบาหวานบางชนิด เป็นต้น

โดยไขมันพอกตับแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • ภาวะไขมันพอกตับจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Alcohol-related Fatty Liver Disease) เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไปจนทำให้ตับทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และเกิดการสะสมของไขมันที่ตับ
  • ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Non-alcoholic Fatty Liver Disease) เกิดขึ้นจากความผิดปกติของระบบเผาผลาญ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง จนทำให้เกิดไขมันจำนวนมากสะสมอยู่ที่ตับ

อาการของไขมันพอกตับ

อาการของไขมันพอกตับจะไม่แสดงให้เห็นตั้งแต่เริ่มแรก ทว่าจะเริ่มมีอาการที่เป็นผลพวงจากการที่ไขมันสะสมอยู่ในตับจำนวนมาก โดยอาการที่พบได้บ่อยคือ
  • เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • รู้สึกไม่สบายท้อง
  • น้ำหนักลดผิดปกติ ความอยากอาหารลดลง
  • คลื่นไส้
  • มึนงง ความสามารถในการตัดสินใจและสมาธิลดลง
นอกจากนี้ โรคไขมันพอกตับอาจทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น ตับโต เกิดอาการปวดที่บริเวณท้องด้านบนขวา หรือกลางท้อง และอาจพบรอยปื้นคล้ำที่ผิวหนังบริเวณ คอ หรือใต้รักแร้ อีกทั้งหากมีไขมันแทรกอยู่ในเซลล์ของตับมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดพิษในเซลล์ตับทำให้ตับอักเสบและเกิดพังผืดได้อีกด้วย

สาเหตุของไขมันพอกตับ

สาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะไขมันพอกตับเกิดจากการที่ร่างกายสะสมไขมันมากเกินไป หรือเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับระบบเผาผลาญไขมัน ที่เป็นผลมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะดื้ออินซูลิน หรือความผิดปกติของเอนไซม์และตัวรับ (Receptor) ที่อยู่ในร่างกาย จนมีไขมันส่วนเกินไปสะสมอยู่ในเซลล์ตับ กลายเป็นภาวะไขมันพอกตับ
ทั้งนี้ไขมันที่ไปแทรกตามเซลล์ตับอาจไม่ได้เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงโดยตรง แต่อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น
  • การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • โรคอ้วน
  • ภาวะไขมันในเลือดสูง
  • โรคเบาหวาน
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • การอดอาหาร หรือการที่ลดน้ำหนักมากกว่า 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ จากการที่ผู้ป่วยลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่น ๆ หรือการผ่าตัดบายพาสกระเพาะอาหาร
  • การให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
  • ความผิดปกติของลำไส้ในการดูดซึมสารอาหาร (Refeeding Syndrome)
  • โรคไวรัสตับอักเสบบีและซี หรือการติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาต่าง ๆ เช่น อะมิโอดาโรน (Amiodarone) ทาม็อกซิเฟน (Tamoxifen) กลูโคคอร์ติซอล (Glucocorticoids) เททราไซคลิน (Tetracycline) โอเอสโตรเจน (Oestrogens) เมโธเทรกเซท (Methotrexate) และแทลเลียม (Thallium) เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีโรคและภาวะต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยให้เกิดความเสี่ยงไขมันพอกตับสูงขึ้น ได้แก่
  • เป็นผู้สูงอายุ
  • มีภาวะคอเลสเตอรอลสูง
  • ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
  • โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญเมตาบอลิซึม
  • โรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ป่วยมีไขมันสะสมที่บริเวณหน้าท้อง
  • ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome)
  • การหยุดหายใจขณะนอนหลับ
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism)
  • ภาวะขาดฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (Hypopituitarism)

การวินิจฉัยภาวะไขมันพอกตับ

การตรวจร่างกายเป็นวิธีเดียวที่สามารถระบุได้ว่าผู้ป่วยมีภาวะไขมันพอกตับหรือไม่ โดยในขั้นต้นหากแพทย์พบความผิดปกติที่ตับ เช่น คลำที่ท้องแล้วบริเวณตับมีอาการโตผิดปกติ หรือซักประวัติผู้ป่วยแล้ว ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย ความอยากอาหารลดลง เคยมีประวัติดื่มแอลกอฮอล์ มีการใช้ยาหรืออาหารเสริมต่าง ๆ แพทย์ก็จะสั่งตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีทางห้องปฏิบัติการ เช่น

การตรวจเลือด ไม่สามารถระบุภาวะไขมันพอกตับได้ชัดเจน แต่ช่วยให้แพทย์เห็นปริมาณเอนไซม์ของตับที่มากขึ้นผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณและปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของไขมันพอกตับ หรือในบางกรณีก็ทำให้แพทย์เห็นสัญญาณของการอักเสบของตับได้อีกด้วย ประเภทการตรวจเลือดที่แพทย์มักใช้ได้แก่
  • การตรวจนับความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC)
  • การตรวจเอนไซม์และการทำงานของตับ
  • การตรวจหาภาวะตับอักเสบจากไวรัสชนิดเรื้อรัง
  • การตรวจคัดกรองโรคแพ้โปรตีนกลูเตน
  • การตรวจค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (Hemoglobin A1C)
  • การตรวจวัดไขมันในเลือด ทั้งคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์

การดูภาพทางรังสีวินิจฉัย (Imaging Procedures) วิธีนี้จะช่วยให้แพทย์เห็นความผิดปกติของตับจากภาพถ่าย ซึ่งวิธีที่แพทย์ใช้ในเบื้องต้น คือ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) จากนั้นหากแพทย์ต้องการผลที่ละเอียดมากขึ้น แพทย์อาจสั่งเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือการเอกซเรย์ด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (MRI) เพิ่มเติม เพื่อให้เห็นภาพของตับได้ชัดเจนจนสามารถยืนยันผลได้

การเก็บเนื้อเยื่อส่งตรวจ (Biopsy) เป็นวิธีที่ยืนยันผลได้ว่าผู้ป่วยมีภาวะไขมันพอกตับหรือไม่ และสาเหตุเกิดจากกอะไร โดยแพทย์จะทายาชาที่ผิวหนังบริเวณตับ จากนั้นใช้เข็มเจาะเข้าไปเพื่อเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อที่ตับ และนำไปตรวจโดยการส่องกล้องจุลทรรศน์ ผลที่ได้จะมีประสิทธิภาพมากกว่าการตรวจวินิจฉัยวิธีอื่น ๆ


การรักษาไขมันพอกตับ

การรักษาภาวะไขมันพอกตับมุ่งเน้นไปที่การหันมาดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นอาหารที่มีโปรตีนสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงและอาหารที่มีรสเค็มจัด สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน อาหารที่แนะนำคืออาหารไขมันต่ำ นอกจากนี้ควรรับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ควรลดปริมาณการรับประทานอาหารลงให้เหลือแค่พออิ่มก็จะช่วยควบคุมความรุนแรงของอาการได้
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกายจะทำให้อาการโดยรวมต่าง ๆ ของภาวะไขมันพอกตับดีขึ้น และช่วยให้ความไวต่ออินซูลินของร่างกาย (Insulin Sensitivity) ดีขึ้น ซึ่งดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ควบคุมน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดไขมันในร่างกายได้ โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง และทำให้ไขมันที่แทรกตัวอยู่ภายในตับลดลง แต่หากผู้ป่วยมีภาวะอ้วนจนไม่สามารถลดน้ำหนักได้เท่าที่ควร อาจต้องใช้การผ่าตัดบายพาสกระเพาะอาหารเพื่อช่วยในการลดน้ำหนักด้วย
  • เลิกสูบบุหรี่ การเลิกสูบบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดได้
  • ควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ให้เหมาะสม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากจะยิ่งทำให้อาการรุนแรง จึงควรลดปริมาณการดื่มลงให้เหมาะสมกับเพศและวัย หรือหากเป็นไปได้ แพทย์อาจแนะนำให้เลิกดื่ม ซึ่งจะส่งผลดีที่สุด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่อาจเพิ่มความเสี่ยงให้ตับทำงานหนัก โดยควรปฏิบัติตามฉลากแนะนำการใช้ยาอย่างเคร่งครัด และปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรใด ๆ

นอกจากนี้ ปัจจุบันมียาหลายชนิดที่มีการศึกษาพบว่าอาจเป็นประโยชน์ต่อการรักษาผู้ป่วยภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งผู้บริโภคควรพิจารณาให้ดีก่อนใช้ยาหรืออาหารเสริมใด ๆ โดยควรเลือกใช้ยาหรืออาหารเสริมที่มีผลวิจัยทางการแพทย์รับรอง และใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรเสมอ


ตัวอย่างยาและสารที่ใช้บรรเทาอาการของภาวะไขมันพอกตับ ได้แก่
  • ยาเพิ่มความไวต่ออินซูลิน เช่น ยาไพโอกลิตาโซน เมทฟอร์มิน เป็นต้น แพทย์อาจพิจารณาให้ยานี้ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไขมันพอกตับร่วมด้วย หรือผู้ป่วยที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน โดยมีการศึกษาพบว่ายาทั้ง 2 ชนิดนี้อาจช่วยลดระดับเอนไซม์ตับในเลือดลงได้ ทำให้ตับทำงานได้ดีขึ้น แต่อาจมีผลข้างเคียงทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น จึงต้องใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ยาลดไขมันในเลือดกลุ่มสแตติน (Statin) เช่น อทอร์วาสแตติน เป็นต้น ซึ่งเป็นยาที่แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้ในผู้ป่วยที่ตรวจพบไขมันในเลือดสูงร่วมกับภาวะไขมันพอกตับ และต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เช่นกัน เนื่องจากยากลุ่มนี้สามารถทำให้เกิดภาวะตับอักเสบได้
  • วิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญต่อร่างกาย ซึ่งสันนิษฐานว่าวิตามินอีอาจช่วยยับยั้งกระบวนการเกิดอนุมูลอิสระและการอักเสบที่มีส่วนทำให้อาการของภาวะไขมันพอกตับแย่ลงได้ โดยปริมาณการใช้วิตามินอีที่ช่วยลดการอักเสบของตับในเด็ก คือ 800-1,600 มิลลิกรัมต่อวัน แต่มีงานวิจัยบางชิ้นพบว่าการใช้วิตามินอีในปริมาณสูงติดต่อกันเป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงให้มีเลือดออกในสมอง หรือก่อให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือโรคหัวใจซึ่งไม่ควรรับประทานวิตามินอีเกินวันละ 400 IU
  • สารสกัดพฤกษเคมีจากพืช มีการใช้สมุนไพรต่าง ๆ เพื่อช่วยบำรุงตับและล้างพิษต่อตับกันอย่างหลากหลายมาแต่โบราณกาลทั้งในยุโรปและเอเชีย ซึ่งงานวิจัยทางการแพทย์บางส่วนในปัจจุบันพบว่า สารตามธรรมชาติบางอย่างในพืชอาจมีสรรพคุณดังกล่าวจริง เช่น สารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์ และสารไตรเทอร์ปินอยด์ เป็นต้น โดยสารเหล่านี้อาจมีคุณสมบัติช่วยป้องกันเซลล์ตับถูกทำลายจากสารพิษ โลหะหนัก หรือยาบางชนิด และยังมีกลไกอื่น ๆ ที่ช่วยส่งเสริมให้ตับทำงานได้อย่างสมดุลมากขึ้น เช่น กระตุ้นการสร้างกลูต้าไธโอนในร่างกาย เพื่อให้เกิดกระบวนการต้านอนุมูลอิสระภายในตับ ยับยั้งและลดการอักเสบของตับ ช่วยให้ค่าเอนไซม์ตับลดลง ทำให้ภาวะดื้อต่ออินซูลินดีขึ้น ส่งผลดีต่อระดับน้ำตาลในเลือด และยังสามารถช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้ เป็นต้น ซึ่งตัวอย่างพืชธรรมชาติที่มีการศึกษาว่าอาจมีประสิทธิภาพต่อการรักษาภาวะไขมันพอกตับ ได้แก่ สารสกัดจากพรูนัส มูเม่ (Prunus Mume) หรือสารที่ได้จากแอพริคอตญี่ปุ่นนั่นเอง


ภาวะแทรกซ้อนไขมันพอกตับ
การควบคุมภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ดี จะทำให้ตับอักเสบ โดยการอักเสบนี้จะทำให้เกิดพังผืดในตับ หากไม่ได้รับการรักษาที่ดีและทันท่วงที ก็จะทำให้พังผืดขยายตัวมากขึ้นและลุกลามจนตับเสื่อมสภาพ กลายเป็นโรคตับแข็งในที่สุด ขณะที่ผู้ป่วยไขมันพอกตับ และติดแอลกอฮอล์ หรือไวรัสตับอักเสบซี นั้นมีเสี่ยงต่อโรคตับแข็งมากกว่าคนปกติ และหากไม่รีบรักษาอาจนำไปสู่อาการอื่น ๆ ได้แก่
  • มีของเหลวจำนวนมากในช่องท้อง หรือที่เรียกว่า อาการท้องมาน
  • เส้นเลือดดำในหลอดอาหารโป่งพอง (Esophageal Varices) จนอาจทำให้เกิดการแตกของเส้นเลือด และมีเลือดออกได้
  • มีอาการมึนงง ง่วงเหงาหาวนอน พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง เนื่องจากโรคสมองจากตับ (Hepatic Encephalopathy) ซึ่งเป็นภาวะตับวาย และไม่สามารถกำจัดของเสียในร่างกาย เกิดการคั่งของของเสีย ส่งผลให้สมองทำงานไม่ปกติ
  • ภาวะตับวายระยะสุดท้าย ส่งผลให้ตับหยุดการทำงานโดยสิ้นเชิง
  • มะเร็งตับ เป็นอาการที่มักพบในผู้ป่วยโรคตับแข็ง


การป้องกันไขมันพอกตับ

ไขมันพอกตับเป็นภาวะสุขภาพที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หากมีการดูแลสุขภาพที่ดีพอ และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชชนิดต่าง ๆ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เปลี่ยนมารับประทานอาหารที่มีไขมันดี เช่น ถั่วเปลือกแข็ง อะโวคาโด ปลาทะเล เป็นต้น อีกทั้งควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที ให้เป็นประจำสม่ำเสมอจะช่วยในเรื่องการควบคุมน้ำหนักและกระตุ้นระบบเผาผลาญ หากเป็นผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ก็ควรควบคุมปริมาณการดื่มแต่พอดี โดยผู้ชายควรดื่มไม่เกินวันละ 2 แก้ว และผู้หญิงไม่ควรเกินวันละ 1 แก้ว
สำหรับผู้ที่ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญ อาทิ โรคเบาหวาน ภาวะคอเลสเตอรอลสูง ควรดูแลตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เท่านี้ก็จะช่วยให้ลดความเสี่ยงจากภาวะไขมันพอกตับได้

ที่มา  :: เว็บไซต์ พบแพทย์ - Pobpad

Levarean (เลวารีน)



รู้หรือไม่ ?
"ตับ" เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย
หน้าที่ของตับ ใครก็ทำแทนที่ไม่ได้
ดูแลซะตั้งแต่วันนี้ ด้วยผลิตเสริมอาหาร Levarean (เลวารีน)
GOJI BERRY EXTRACT


Levarean (เลวารีน) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงตับ

เลวารีน รวมสารสกัดจากธรรมชาติเพื่อบำรุงตับโดยเฉพาะ 

✅ มีส่วนช่วยเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของตับ 

ป้องกันสารพิษที่เป็นเหตุให้ตับเสื่อม 

ป้องกันตับอักเสบ ตับแข็ง ดีซ่าน
 
ป้องกันมะเร็งตับ

ป้องกันตับอ่อนอักเสบ

ป้องกันโรคตับแข็ง

ป้องกันตับวาย

ป้องกันไขมันพอกตับ

ป้องกันตับอ่อนอักเสบ

ป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี

ป้องกันฝีที่ตับ

ป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ

ป้องกันมะเร็งท่อน้ำดี

ป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี

ป้องกันโรคท้องมาน

ป้องกันโรคเบาหวาน

มีส่วนช่วยให้การทำงานของตับกลับคืนสู่ระดับปกติ 

อีกทั้งยังช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระได้ดีอีกด้วย



⚡️🔥 ตัวช่วยบำรุงตับ จากธรรมชาติสู่ภายในคุณ  🔥⚡️

ช่วยให้ตับมีสมรรถภาพที่ดีขึ้น ช่วยล้างสารพิษในตับ ป้องกันตับเสื่อมเนื่องจากสารพิษ ช่วยขจัดอนุมูลอิสระของเอ็นไซม์
 #Levarean ตัวช่วยบำรุงตับ
1 กระปุก มี  30 แคปซูล



📌 วิธีทาน :
📌วันละ 1 แคปซูล ก่อนนอน อย่างต่อเนื่องช่วยให้การทำงานของตับดีขึ้น


💕คุณค่าทางโภชนาการ 💕

รวมสารสกัดจากธรรมชาติ เพื่อบำรุงตับโดยเฉพาะ ป้องกันตับอักเสบ ตับแข็ง ดีซ่าน ถุงน้ำดีอักเสบ ช่วยให้การทำงานของตับ
กลับคืนสู่ระดับปกติ

LEVAREAN บำรุงตับ : 1 กล่อง บรรจุ 30 แคปซูล 

ราคา 1,990 บาท


สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 🙏🙏🙏   



 โทร ☎️  ::  082-236-4928   🌸


Line ID  ::   pla-prapasara








http://line.me/ti/p/~pla-prapasara



🌸 รับสมัครผู้นำต้นสายทั่วประเทศ / ตัวแทนจำหน่ายที่นี่ค่ะ 🌸

🌸 สมัครสมาชิกกับทีมงานเรา ## รับทำเว็บไซต์สำหรับการขายให้ฟรี !!! 🌸















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น